นิสัยบัฟเฟตต์/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1827
ผู้ติดตาม: 1

นิสัยบัฟเฟตต์/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ถ้าจะพูดถึงคนที่ร่ำรวยและมีชื่อเสียงมากระดับโลกและจะเป็น “ตำนาน” ที่คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ต่อไปอีกนานนั้น แน่นอนว่าบัฟเฟตต์ต้องเป็นหนึ่งในนั้น นิสัยหรือพฤติกรรมของคนที่อยู่ในระดับนี้ส่วนใหญ่ที่เราได้รับรู้ก็คือ พวกเขามีชีวิตที่หรูหรา อยู่ในสังคมของ “คนชั้นสูง” มีความรู้สึกและวางตัวที่อาจจะเรียกว่า “เย่อหยิ่ง” และ “โอ้อวดตนเอง” เป็นต้น แต่สำหรับบัฟเฟตต์เองแล้ว เขาไม่ได้เป็นอย่างนั้น หรือถ้าจะมีก็น้อยกว่าคนอื่นที่อยู่ในระดับใกล้เคียงมาก ผมไม่รู้ว่าเป็นเรื่องเฉพาะตัวหรือเป็นเพราะว่าบัฟเฟตต์เป็น Value Investor และ VI นั้นโดยธรรมชาติมักจะมีนิสัยหรือพฤติกรรมที่แตกต่างจากคนรวยกลุ่มอื่นตั้งแต่ต้น พอรวยแล้วก็ยังไม่ได้เปลี่ยนนิสัยแบบคนที่รวยจากอาชีพอื่น

มาดูกันว่าบัฟเฟตต์มีนิสัยแบบไหนที่ค่อนข้างจะแปลกจากคนรวยและมีชื่อเสียงอื่น—และคนธรรมดา บางทีนิสัยแบบบัฟเฟตต์นั้นอาจจะเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เขาเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จสูงสุด และถ้าเป็นแบบนั้น การเรียนรู้นิสัยบัฟเฟตต์ก็น่าจะมีประโยชน์กับนักลงทุนที่จะนำมาใช้

นิสัยแรกที่ผมเห็นก็คือ การให้ความรัก นับถือ และเชื่อใจคนอื่นอย่างเต็มที่เมื่อเขาเข้าไปร่วมงานด้วย นั่นคือ เมื่อเขาตัดสินใจเข้าไปซื้อธุรกิจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเบิร์กไชร์แล้ว เขาก็จะไม่เข้าไปแทรกแซงการทำงานและการตัดสินใจเกือบทุกเรื่องยกเว้นเฉพาะการลงทุนใหญ่ ๆ และการจัดสรรกำไรเท่านั้น เขาจะให้ความรัก ความนับถือ และเชื่อใจต่อคนหรือซีอีโอที่บริหารงานมากและดูเหมือนว่าจะไม่เคย “ตั้งคำถาม” อะไรกับการทำงานหรือตัดสินใจของพวกเขาเลย สิ่งที่เขาบอกกับซีอีโอก็คือ ให้พวกเขาคิดและทำเหมือนกับว่าพวกเขานั้นเป็นเจ้าของบริษัทเท่านั้น การให้ความรัก นับถือและเชื่อใจแก่คนอื่นนั้น ทำให้บัฟเฟตต์ได้รับความรัก ความนับถือและเชื่อใจตอบจากคนอื่นเท่า ๆ กัน เห็นได้จากการที่ผู้บริหารหรือซีอีโอของเบิร์กไชร์นั้นมักจะอยู่กับบัฟเฟตต์ไปตลอดไม่ไปไหนและบัฟเฟตต์เองก็แทบจะไม่เคยให้ใครออก เขาบอกว่าระบบของเบิร์กไชร์นั้น “ไม่มีการเกษียณ” สำหรับซีอีโอ

นิสัยที่สองที่แตกต่างจากคนอื่นของบัฟเฟตต์ก็คือ ความ “จงรักภักดี” ที่มีต่อสิ่งรอบตัว ที่สำคัญก็คือ เมื่อบัฟเฟตต์ซื้อธุรกิจมาแล้ว เขาก็จะเก็บรักษามันไว้ “ตลอดไป” แม้ว่าหลายกิจการนั้นพื้นฐานอาจจะเปลี่ยนไปแล้วเขาก็มักจะไม่ขายทิ้งเหมือนนักลงทุนอื่น เขายังเก็บหุ้นไว้เพราะเขาอยู่กับมันมานานและรู้จักผู้บริหารเป็นอย่างดี เขายินดีที่จะได้รับผลตอบแทนที่ลดลงและในที่สุดอาจจะล้มหายตายจากไป ผมคิดว่าเขาคงคิดว่าเขาได้รับผลตอบแทนจากบริษัทมานานและมากพอแล้ว ดังนั้น ถ้าเขาจะเสียหายบ้างจากการที่ไม่ได้ขายมันไปก่อน มันก็ไม่ได้มีผลกระทบอะไรมากนัก นอกจากเรื่องของธุรกิจแล้ว ผมก็รู้สึกว่าบัฟเฟตต์นั้นชอบทำอะไรซ้ำ ๆ เดิม ๆ เช่น เขาชอบกินอาหารเช่น สเต็กร้านเดิม ๆ ดื่ม โค๊กแบบเดิม ๆ เป็นสิบ ๆ ปีอย่างไม่รู้เบื่อ ดูเหมือนว่าเขาจะ “จงรักภักดี” ต่อสิ่งที่เขาคิดว่าดีอยู่แล้วมาก ความคิดของเขาก็คือ ไม่รู้จะ “เสี่ยง” ไปทำไมกับของใหม่ที่ยังไม่รู้ว่าดีหรือไม่

ความคิดที่อิสระและเป็นตัวของตัวเองสูงมาก นี่คือนิสัยอีกอย่างหนึ่งของบัฟเฟตต์ เขาไม่เคยทำตามคนอื่นหรือตามความคาดหวังของสังคม เขาไม่เคยกลัวที่จะถูกมองว่าเป็นคน “ตกยุค” เช่นในช่วงที่หุ้นไฮเท็คเติบโตเป็น “ฟองสบู่” ช่วงปีทศวรรษปี 1990 ถึง 2000 เขาเองก็ไม่สนใจลงทุนในหุ้นเหล่านั้นเลยเพราะเขาคิดว่ามันเป็นกิจการที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็วมากซึ่งทำให้การคาดการณ์รายได้และกำไรทำได้ยากมากและเขาเองก็ไม่รู้จักธุรกิจดีพอ ผลงานการลงทุนของเขาจึงดูไม่ดีนักเมื่อเทียบกับคนที่ลงทุนในหุ้นไฮเท็คเหล่านั้น เช่นเดียวกัน ในบางช่วงการแข่งขันทางด้านการขายประกันภัยรุนแรงมากและทุกคนต่างก็ขายประกันในราคาที่ “ขาดทุน” เพื่อที่จะสร้างยอดขายให้เติบโตและทำกำไรในระยะสั้น บัฟเฟตต์ปฎิเสธที่จะทำตาม เขา “ยอม” ถูกมองเป็นบริษัทที่กำลัง “ถดถอย” ในขณะที่บริษัทอื่นโตขึ้น แต่แล้วเมื่อเหตุการณ์เปลี่ยนไป ฟองสบู่หุ้นไฮเท็คแตก และบริษัทประกันที่ขายประกันราคาถูกเกินไปต้องขาดทุนหนัก บัฟเฟตต์ก็กลับมามีผลงานที่โดดเด่นขึ้นกว่าเดิม

นิสัยที่สี่ของบัฟเฟตต์ก็คือ เขากำหนดขอบเขตและมาตรฐานของตนเองหรือพูดหยาบ ๆ ก็คือ เป็นตัวของตัวเองสูง เขาไม่สนใจและไม่จำเป็นที่จะต้องรู้ทุกเรื่องหรือทุกอุตสาหกรรม เพราะเขาเลือกเฉพาะอุตสาหกรรมและบริษัทที่เขารู้เท่านั้น เขากำหนด Circle of Competent หรือขอบเขตความสามารถของเขาที่เขาจะทำได้ดีและเขาจะไม่ออกจากขอบเขตนี้ สิ่งที่บัฟเฟตต์ทำนั้น เขาก็จะหาธุรกิจหรือบริษัทที่ดูได้ง่ายเข้าใจง่ายและไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง เขาพูดว่าเขาพยายามหารั้วเตี้ย ๆ ซักหนึ่งฟุตเพื่อที่ว่าเขาจะได้ข้ามมันไปง่าย ๆ เขาไม่ต้องการรั้วสูง ๆ เพื่อที่จะแสดงความสามารถในการกระโดดข้ามมัน ดังนั้น เราจึงเห็นหุ้นที่บัฟเฟตต์ลงทุนนั้น ส่วนมากจึงเป็นหุ้นของธุรกิจธรรมดามากเช่น บริษัทขายซ้อสมะเขือเทศ ร้านเฟอร์นิเจอร์ ร้านขายเครื่องประดับเพชร บริษัทรถไฟ ธนาคาร และอื่น ๆ ที่เข้าใจไม่ยากและไม่เห็นจะมีอะไรน่าตื่นเต้นในยุคที่เครื่องมือสื่อสารอย่างไอแพดเปลี่ยนรุ่นทุก 2- 3 ปีและมีฟีเจอร์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา

มาตรฐานที่บัฟเฟตต์ใช้เองนั้น เขาบอกว่าเขาไม่สนใจมาตรฐานของสังคมหรือคนอื่น เขาไม่สนใจว่าคนอื่นจะมองตนเองอย่างไร เขาแนะนำว่านักลงทุนควรที่จะมี Inner Score Card หรือมาตรฐานที่อยู่ภายในใจของเรา นั่นก็คือ ไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับคนอื่นหรือสนใจว่าคนอื่นเขาจะมองเราอย่างไร เราควรที่จะกำหนดมาตรฐานของตนเองว่าเราตั้งเป้าไว้เหมาะสมและทำได้ตามเป้าหรือไม่ เช่น ถ้าเราคิดว่าเราควรทำผลตอบแทนการลงทุนได้ปีละ 12% ทบต้นโดยการลงทุนในหุ้นที่มีระดับความความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เช่นต้องลงทุนในหุ้นไม่ต่ำกว่า 5-6 ตัวและไม่มีหุ้นตัวใดที่มีสัดส่วนสูงเกิน 30% ในกรณีแบบนี้ เราก็ต้องพยายามทำให้สำเร็จ ไม่ใช่ว่าพอเห็นคนอื่นกำลังทำผลตอบแทนดีเยี่ยมกว่าเรา เราก็พยายามไปเปรียบเทียบกับเขาเพราะกลัวว่าเราจะถูกมองว่าไม่มีความสามารถเท่า เพราะถ้าเราคิดอย่างนั้น กลยุทธ์และวิธีการต่าง ๆ ก็จะรวนไปหมด และเราก็อาจจะไม่มีความสุขในการลงทุนหรือทำงาน

นิสัยสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงและแปลกไปจากเพื่อนระดับเดียวกันของเขาก็คือ บัฟเฟตต์นั้นแม้ว่าจะรวยเป็นอันดับ 1-3 ของโลกมานาน แต่เขาเป็นคนที่มีความสมถะและประหยัดมาก ดูเหมือนว่าเขาจะชอบผู้บริหารที่เน้นการลดต้นทุนการดำเนินงานโดยเฉพาะในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลัก เขาไม่ชอบความฟุ่มเฟือยในทุกกรณี เขาไม่ชอบผู้บริหารที่กินเงินเดือนสูงมากโดยที่ไม่ได้อิงกับผลการดำเนินงานของบริษัท ตัวบัฟเฟตต์เองนั้นถ้าจำไม่ผิดเขารับเงินเดือนในฐานะของซีอีโอเบิร์กไชร์ปีละแค่ 100,000 เหรียญซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับบริษัทที่ใหญ่ขนาดเป็น 1 ใน 10 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา ส่วนตัวบัฟเฟตต์เองนั้น ทุกวันนี้เขาก็ยังอยู่บ้านเดิมที่อยู่มาหลายสิบปีที่เขาซื้อมาในราคาไม่กี่หมื่นเหรียญและน่าจะเป็นบ้านระดับชนชั้นกลาง เขายังขับรถเองและใช้ชีวิตเหมือนคนชั้นกลางเป็นส่วนใหญ่

หลายคนคงเถียงในใจว่านิสัยส่วนตัวของบัฟเฟตต์นั้นไม่น่าจะเกี่ยวกับความสามารถในการลงทุนของเขา แต่ผมเองเชื่อว่านิสัยส่วนตัวกับการลงทุนนั้นคงจะมีอะไรเกี่ยวข้องกันอยู่ ผมเองได้อ่านประวัติของ VI ระดับโลกและได้ศึกษา VI เด่น ๆ หลายคนในตลาดหุ้นไทยที่ผมรู้จัก ผมพบว่านิสัยของพวกเขาหลาย ๆ คนนั้น มีบางส่วนคล้าย ๆ กับของ บัฟเฟตต์ ที่กล่าวถึง ผมคิดว่านิสัยบางอย่างนั้นเอื้ออำนวยให้คน ๆ นั้นกลายเป็นนักลงทุนและเข้าใจและตัดสินใจในการลงทุนได้ดีขึ้น นิสัยบางอย่างก็ขัดแย้งกับการเป็นนักลงทุนและทำให้เขาเป็นนักลงทุนที่ดีได้ยาก ดังนั้น ก่อนที่จะลงทุนโดยเฉพาะในแนว VI เราควรวิเคราะห์นิสัยของตนเองก่อนว่า เรามีแนวโน้มที่จะเป็น VI ที่ดีได้ไหม
Rubick
Verified User
โพสต์: 25
ผู้ติดตาม: 0

Re: นิสัยบัฟเฟตต์/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณครับ
imerlot
Verified User
โพสต์: 2690
ผู้ติดตาม: 0

Re: นิสัยบัฟเฟตต์/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณบทความครับ






..
นิสัย นักอ่าน 500หน้า/วัน
แล้วความรู้มันจะสะสมเหมือนดอกเบี้ยทบต้น

ลุงบัฟก็สอนบ่อยครับ...


...
ใน
The Warren Buffett formula: How you can get smarter
โดย
Shane Parrish
source:
http://theweek.com/articles/460783/warr ... ow-smarter
How to get smarter

Read. A lot.

Warren Buffett says, "I just sit in my office and read all day."

What does that mean? He estimates that he spends 80 percent of his working day reading and thinking.

"You could hardly find a partnership in which two people settle on reading more hours of the day than in ours," Charlie Munger commented.

When asked how to get smarter, Buffett once held up stacks of paper and said he "read 500 pages like this every day. That's how knowledge builds up, like compound interest."

:arrow:
Eventually finding and reading productive material became second nature, a habit. As he began his investing career, he would read even more, hitting 600, 750, even 1,000 pages a day.

Combs discovered that Buffett's formula worked, giving him more knowledge that helped him with what became his primary job — seeking the truth about potential investments.
“Read 500 pages like this every day,” said Buffett, or words to that effect. “That's how knowledge works. It builds up, like compound interest. All of you can do it, but I guarantee not many of you will do it.”

Remarkably, Combs began doing just that, keeping track of how many pages and what he read each day. Eventually finding and reading productive material became second nature, a habit. As he began his investing career, he would read even more, hitting 600, 750, even 1,000 pages a day.
http://www.omaha.com/money/investors-ea ... 0da03.html
...
ลูกหิน
Verified User
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 0

Re: นิสัยบัฟเฟตต์/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
โพสต์โพสต์