เติบโตด้วย M&A/วีระพงษ์ ธัม

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1827
ผู้ติดตาม: 1

เติบโตด้วย M&A/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

    การซื้อหรือควบรวมกิจการ (Merger & Acquisition, M&A) มักจะได้รับความสนใจเป็นข่าวหน้าหนึ่งของธุรกิจอยู่เสมอ ๆ เพราะมันเต็มไปด้วยความน่าตื่นเต้น เรื่องราวที่ดูยิ่งใหญ่ ภาพการจับมือของธุรกิจขนาดยักษ์ การฉายแผนการเติบโตแบบก้าวกระโดด ในช่วงปี 2015 การทำ M&A เติบโตสูงขึ้นทำลายสถิติสูงสุดเดิม ในประเทศไทยเรามีการเข้าซื้อกิจการขนาดใหญ่ในหลาย ๆ ธุรกิจ คงจะเร็วเกินไปถ้าจะตอบว่าความสำเร็จเป็นอย่างไรในอนาคต แต่ถ้าดูจากสถิติ M&A ในอดีต บทความของ Harvard Business Review คงช่วยตอบได้ว่าทำไมการควบรวมกิจการกว่า 80% จบด้วยความล้มเหลว และเราเรียนรู้อะไรจากมันได้บ้าง

    แรงกระตุ้นของการ M&A คือ ดอกเบี้ยที่ต่ำมาก ทำให้ต้นทุนการเงินต่ำลงแบบไม่เคยเป็นมาก่อน และ “ราคาหุ้นบริษัท” ในตลาดหุ้นที่สูง ช่วยให้การซื้อกิจการนั้นมีความคุ้มค่าในเชิงตัวเลขทั้งฝั่งผู้ซื้อและผู้ขาย เช่นถ้าบริษัทมีขนาด 100 ล้าน กำไร 2.5 ล้าน (ซื้อขายบน PE 40 เท่า) แล้วซื้อธุรกิจอื่นในราคา 100 ล้าน ซึ่งมีกำไรอยู่ 5 ล้าน เมื่อนำมารวมกันมูลค่าแทนที่จะเป็น 200 ล้าน แต่กลับเป็น 300 ล้าน (กำไร 7.5 ล้าน x PE 40เท่า) มูลค่าหุ้นของบริษัทเพิ่มโดยบริษัทแทบจะไม่ต้องทำอะไร

    แต่ความเป็นจริง โลกไม่ได้สวยขนาดนั้น ตัวอย่างเช่นสมรภูมิโทรศัพท์มือถือ ช่วงรุ่งเรืองสุดขีดในช่วงปี 2012-2015 ผู้ผลิต Software อยากได้ Hardware เพื่อต่อยอดความเข้มแข็งของตัวเอง ผลลัพท์ในปัจจุบันคือ Microsoft บันทึกขาดทุนจากการซื้อ Nokia ไป 97% ของมูลค่าที่ซื้อ Google ขาย Motorola ในราคา 2,900 ล้านเหรียญ จากราคาที่ซื้อมา 12,500 ล้านเหรียญไม่กี่ปีก่อน แต่ในทางกลับกัน Google เคยซื้อบริษัทที่เป็นเจ้าของ Android ในราคาเพียงแค่ 50 ล้านเหรียญ ก่อนที่มันจะกลายเป็นอันดับหนึ่งในระบบปฏิบัติการบนมือถือ อะไรคือความแตกต่างของการ M&A ในสองกรณีนี้

    สิ่งแรกคือ บริษัทที่กำลังจะซื้อกิจการอื่นๆ มักจะคิดว่าตัวเองอยู่ในสถานะ “ขอ” และ “อยากได้” อะไรบางอย่าง ตามสถิติของ KPMG อันดับต้น ๆ คือ อยากได้ลูกค้า อยากได้ธุรกิจใหม่ และอยากได้ เทคโนโลยี ซึ่งล้วนอยากได้ ในสิ่งที่บริษัทตัวเองไม่มีอยู่ จึงทำให้บริษัทที่อยู่เป็นฝั่งผู้ขาย สามารถเรียกราคาขายได้ในราคาแพง โดยนำเอามูลค่าที่บริษัทฝั่งผู้ขายน่าจะสร้างได้ในอนาคตมาใส่ในราคาขาย และหลายครั้งก็ขายในราคาแพงกว่ามูลค่าเสียอีก หลังจากนั้นเมื่อผู้บริหารใหม่เข้ามาบริหาร เป็นความเสียเปรียบอีก หาก “ผู้บริหารเดิม” ใส่เกียร์ว่าง หรือแย่กว่านั้นคือหายไปทำธุรกิจมาแข่ง

    ในทางกลับกัน หากฝั่งผู้ซื้อ เป็น “ผู้ให้” เช่นนำเอาประสบการณ์ เอาเทคโนโลยี เอาตลาด ไปแบ่งปันให้กับธุรกิจที่จะซื้อ เรื่องราวจะกลับกันเหมือนที่เกิดขึ้นในกรณีของ Google ซื้อ Android เมื่อ Google นำเอาทรัพยากรที่สำคัญไปให้ Android จนเกิดความเข้มแข็งอย่างรวดเร็ว หรืออย่างในกรณี GE ที่เอาประสบการณ์ของผู้บริหารและเทคนิคการจัดการที่เยี่ยมยอดไปแบ่งปันให้ธุรกิจใหม่ที่เพิ่งซื้ออย่างธุรกิจการเงิน ทำให้ GE Capital ก้าวขึ้นมาเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ของบริษัทได้

    หรือในอีกกรณีหนึ่ง เช่น Pepsi ซื้อ Frito Lay ในช่วงปี 1960 ในเวลานั้น Pepsi Co ได้ถ่ายทอดทักษะของการจัดการ Logistic ให้ Frito Lay จนทำให้มันฝรั่ง Lay วางอยู่ในชั้นวางสินค้าทั่วโลกอย่างรวดเร็ว และทำให้มันฝรั่งทอดคู่กับน้ำอัดลมได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่พอเราเปรียบเทียบกับกรณี Pepsi Co ซื้อ Quaker ในปี 2000 ทักษะเหล่านี้ไม่ได้ช่วย Quaker เลย เพราะ Logistic ไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป ยิ่งไปกว่านั้น Pepsi Co “อยากได้” ธุรกิจ สุขภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตัวเองไม่ถนัด และจบลงด้วยการเป็น M&A ที่ล้มเหลว

    การมอง M&A ที่ดี จึงต้องมองในฝั่ง “ผู้ขาย” มากกว่าว่า ผู้ขายอยากได้อะไรจากผู้ซื้อบ้าง และสิ่งนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพวกเขาหรือไม่ ถ้าผู้ขายไม่อยากได้อะไรเลยยกเว้นเงินอย่างเดียว การซื้อครั้งนี้จะได้ผลดีต่อผู้ซื้อต่อเมื่อ “เงินทุน” เป็นสิ่งหายาก เช่นในกรณีของธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง ๆ ธนาคารไม่ปล่อยกู้ บทบาทของ “เงินทุน” ที่ชาญฉลาดจึงสามารถสร้างดีล M&A ที่ดีได้เช่นกัน แม้ว่าพวกเขาอาจจะไม่ได้ให้อะไรนอกเหนือจากเงินทุนเลย อย่างเช่นเงินจาก Venture Capital

    อีกอย่างหนึ่งคือ เราจำเป็นต้องรู้แรงจูงใจของเกม บางครั้งการ M&A ที่ล้มเหลว อาจจะสร้างความเจ็บปวดให้นักลงทุน แต่ไม่ใช่สำหรับผู้บริหาร ซึ่งได้โบนัสก้อนโตไปเรียบร้อยไม่ว่าดีลนี้จะเป็นดีลที่ยอดเยี่ยมหรือไม่ หรือสำหรับ “นักเก็งกำไร” ข่าว M&A สร้างกำไรได้อย่างงดงาม แต่สำหรับบริษัทและนักลงทุนระยะยาว การทำ M&A คือการตัดสินใจครั้งใหญ่ ยิ่งดีลใหญ่เท่าไหร่ เรายิ่งต้องให้ความสำคัญ คงไม่มีใครอยากให้งานแต่งงานจบด้วยการหย่าร้าง แต่เราอยากเห็นมันเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างอะไรที่ยิ่งใหญ่ด้วยกันต่างหาก
[/size]
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: เติบโตด้วย M&A/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 2

โพสต์

จริงๆ deal google ขาย moto ลึกซึ้งกว่าที่เห็นนะครับ ลองอ่านดู

http://www.forbes.com/sites/jeanbaptist ... fac1aac25f
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
nut776
Verified User
โพสต์: 3350
ผู้ติดตาม: 0

Re: เติบโตด้วย M&A/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 3

โพสต์

อย่าง android เรียก take over ป่าวคับ

เท่าที่เคยได้ยิน วัฒนธรรม google เป็นแบบ อยากทำไรกะซื้อเลย
(ถ้าซื้อได้นะ)
show me money.
ภาพประจำตัวสมาชิก
<< New >>
Verified User
โพสต์: 1147
ผู้ติดตาม: 0

Re: เติบโตด้วย M&A/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 4

โพสต์

"ถ้าบริษัทมีขนาด 100 ล้าน กำไร 2.5 ล้าน (ซื้อขายบน PE 40 เท่า) แล้วซื้อธุรกิจอื่นในราคา 100 ล้าน ซึ่งมีกำไรอยู่ 5 ล้าน เมื่อนำมารวมกันมูลค่าแทนที่จะเป็น 200 ล้าน แต่กลับเป็น 300 ล้าน (กำไร 7.5 ล้าน x PE 40เท่า) มูลค่าหุ้นของบริษัทเพิ่มโดยบริษัทแทบจะไม่ต้องทำอะไร"

คือถ้าไม่ทำไรเลย เป็นholdingเฉยๆ ผลมันก็จะออกเป็นแบบมูลค่าเพิ่มขึ้นตามเนื้อหาข้างบน

แต่พวกบริษัทที่ยกตัวอย่างมาเหมือนเค้าจะซื้อเพื่อประโยชน์อันอื่นรึเปล่าครับ
อยากสูงต้องเขย่ง อยากเก่งต้องขยัน
harikung
Verified User
โพสต์: 2236
ผู้ติดตาม: 0

Re: เติบโตด้วย M&A/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เหมือนบทความนี้เนื้อหาส่วนนึงมาจากหนังสือ harvard business review ซึ่งเท่าที่ผมอ่านดูเหมือนผู้เขียนจะเน้นเรื่องquantitativeมากๆ ซึ่งในความเปนจริงๆแล้วยังทีปัจจัยเรื่องอื่นๆเช่น know howที่มีความสำคัญเหมือนกันที่ผู้acquireต้องการจากบ.ที่ไปacquireมา

ปล.ถ้าจำผิดขออภัย แค่อ่านแล้วมันคุ้นๆ
นักเลงคีย์บอร์ด4.0
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1522
ผู้ติดตาม: 1

Re: เติบโตด้วย M&A/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 6

โพสต์

picatos เขียน:จริงๆ deal google ขาย moto ลึกซึ้งกว่าที่เห็นนะครับ ลองอ่านดู

http://www.forbes.com/sites/jeanbaptist ... fac1aac25f
เราอยู่ในฐานะนักลงทุน ก็ค่อนข้างวิเคราะห์ยากเหมือนกันว่าตกลง Patent ที่ได้ มันมี value เท่าไหร่
ส่วนการขายผมไม่ได้ดูในรายละเอียด แต่ที่แน่ ๆ คนเขียน hbr ก็ค่อนข้างมองลบ ส่วน forbes ก็มองบวก
เพราะเป็นแรงจูงใจของเนื้อหาที่ต้องอิงกับ theme บทความครับ

แต่จุดประสงค์หลักในเชิงกลยุทธ์ ผมเข้าใจว่า google คงอยากเข้าธุรกิจ hardware โดยการ acquire know-how ของ Motorola
ซึ่งค่อนข้าง fail ครับ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1522
ผู้ติดตาม: 1

Re: เติบโตด้วย M&A/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 7

โพสต์

nut776 เขียน:อย่าง android เรียก take over ป่าวคับ

เท่าที่เคยได้ยิน วัฒนธรรม google เป็นแบบ อยากทำไรกะซื้อเลย
(ถ้าซื้อได้นะ)
take over คือ acquisition ในภาษาพูดครับ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1522
ผู้ติดตาม: 1

Re: เติบโตด้วย M&A/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 8

โพสต์

<< New >> เขียน:"ถ้าบริษัทมีขนาด 100 ล้าน กำไร 2.5 ล้าน (ซื้อขายบน PE 40 เท่า) แล้วซื้อธุรกิจอื่นในราคา 100 ล้าน ซึ่งมีกำไรอยู่ 5 ล้าน เมื่อนำมารวมกันมูลค่าแทนที่จะเป็น 200 ล้าน แต่กลับเป็น 300 ล้าน (กำไร 7.5 ล้าน x PE 40เท่า) มูลค่าหุ้นของบริษัทเพิ่มโดยบริษัทแทบจะไม่ต้องทำอะไร"

คือถ้าไม่ทำไรเลย เป็นholdingเฉยๆ ผลมันก็จะออกเป็นแบบมูลค่าเพิ่มขึ้นตามเนื้อหาข้างบน

แต่พวกบริษัทที่ยกตัวอย่างมาเหมือนเค้าจะซื้อเพื่อประโยชน์อันอื่นรึเปล่าครับ
อันนี้มี case อยู่เยอะในช่วง conglomorate era ครับ ส่วนมากก็อ้างว่ามี synergy แต่เอาเข้าจริง ๆ ก็ไม่มี

ส่วนที่มีประโยชน์อื่น ๆ ผมคิดว่ามี แต่เป็นส่วนน้อย ซึ่งถ้าเป็น M&A ที่สำเร็จ มูลค่าทั้งสองกิจการควรจะเพิ่มทวีคูณ

ส่วน case ทั่ว ๆ ไปประโยชน์หลักคือการทำราคาหุ้น หรือ market cap ซึ่งไม่ยั่งยืนครับ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1522
ผู้ติดตาม: 1

Re: เติบโตด้วย M&A/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 9

โพสต์

harikung เขียน:เหมือนบทความนี้เนื้อหาส่วนนึงมาจากหนังสือ harvard business review ซึ่งเท่าที่ผมอ่านดูเหมือนผู้เขียนจะเน้นเรื่องquantitativeมากๆ ซึ่งในความเปนจริงๆแล้วยังทีปัจจัยเรื่องอื่นๆเช่น know howที่มีความสำคัญเหมือนกันที่ผู้acquireต้องการจากบ.ที่ไปacquireมา

ปล.ถ้าจำผิดขออภัย แค่อ่านแล้วมันคุ้นๆ
ผมคิดว่าโดยรวม ๆ บทความค่อนข้างจะเป็นด้าน qualitative มากกว่า มี case พวก pixar/disney, fb/whatsapp อะไรพวกนี้ด้วย
ที่เขียนผมไม่พอ และผมไปพูดถึง case อื่น ๆ ด้วย ที่เลยยิ่งไม่พอ

มีในเรื่อง valuation ด้วย แต่คิดแบบหยาบ ๆ ซึ่งผมก็คิดว่าไม่ใช่เนื้อหาหลักของบทความ

จริง ๆ เนื้อหาหลักคือเรื่อง know-how นี่แหละครับ
ว่าถ้าเราคิดจะ know-how acquirer มักจะเป็น loser game
แต่ถ้าเป็น know-how provider นี่ถึงเป็น winner game
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1522
ผู้ติดตาม: 1

Re: เติบโตด้วย M&A/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 10

โพสต์

จริง ๆ ผมไม่ค่อยได้เล่นเวปบอร์ดเท่าไหร่แล้ว ปีนี้แทบไม่ได้เปิดเลย ยกเว้นตอนที่จะเปิดรับสมัครหลักสูตรอบรม

แต่พอเห็น comment ดี ๆ เอาว่าถ้ามี comment เรื่องบทความ มาคุยกันได้ครับ ผมจะพยายามกลับมาตอบทุกอัน

แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ ส่วนมากผมชอบคิดผิดครับ ช่วยแก้ให้ผมด้วย :oops: :oops:
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
nut776
Verified User
โพสต์: 3350
ผู้ติดตาม: 0

Re: เติบโตด้วย M&A/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 11

โพสต์

Linzhi เขียน:
nut776 เขียน:อย่าง android เรียก take over ป่าวคับ

เท่าที่เคยได้ยิน วัฒนธรรม google เป็นแบบ อยากทำไรกะซื้อเลย
(ถ้าซื้อได้นะ)
take over คือ acquisition ในภาษาพูดครับ
ขอบคุณมากคับ
show me money.
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: เติบโตด้วย M&A/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 12

โพสต์

Linzhi เขียน:
picatos เขียน:จริงๆ deal google ขาย moto ลึกซึ้งกว่าที่เห็นนะครับ ลองอ่านดู

http://www.forbes.com/sites/jeanbaptist ... fac1aac25f
เราอยู่ในฐานะนักลงทุน ก็ค่อนข้างวิเคราะห์ยากเหมือนกันว่าตกลง Patent ที่ได้ มันมี value เท่าไหร่
ส่วนการขายผมไม่ได้ดูในรายละเอียด แต่ที่แน่ ๆ คนเขียน hbr ก็ค่อนข้างมองลบ ส่วน forbes ก็มองบวก
เพราะเป็นแรงจูงใจของเนื้อหาที่ต้องอิงกับ theme บทความครับ

แต่จุดประสงค์หลักในเชิงกลยุทธ์ ผมเข้าใจว่า google คงอยากเข้าธุรกิจ hardware โดยการ acquire know-how ของ Motorola
ซึ่งค่อนข้าง fail ครับ
ผมเข้าใจว่า google take moto นี่ต้องการจะแยกส่วนขายอยู่แล้ว ช่วงนั้น samsung เริ่มแข็งกร้าวกับ google และคดีฟ้องร้องก็เยอะเหลือเกิน ดีลนี้เป้าหมาย google อยู่ที่สิทธิบัตรของ moto กับ Lab ATAP ส่วนธุรกิจ อื่นๆ ก็จัดการขายทิ้ง moto ที่เอาเข้ามาทำก่อนช่วงนึงก็เพื่อ ปัดฝุ่น ปรับ positioning แล้วเอาปืนไปใส่มือ lenovo เพื่อไม่ให้ samsung ซ่าจนเกินไป

อันนี้เท่าที่ผมเข้าใจนะครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: เติบโตด้วย M&A/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 13

โพสต์

เขียนไม่เคลียร์

สิทธิบัตรนี่ เพื่อเอามาใช้เป็นอาวุธในการป้องกันสงครามการฟ้องร้องระหว่างบริษัทครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1522
ผู้ติดตาม: 1

Re: เติบโตด้วย M&A/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 14

โพสต์

picatos เขียน:เขียนไม่เคลียร์

สิทธิบัตรนี่ เพื่อเอามาใช้เป็นอาวุธในการป้องกันสงครามการฟ้องร้องระหว่างบริษัทครับ
ตามแฟนพันธุ์แท้ Google ครับ ผมแค่ระดับ user

แต่การแข่งขัน hardware จริง ๆ ตอนนี้เหลือค่ายฝรั่งอยู่เจ้าเดียวแล้ว คือ apple
แนบไฟล์

ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
ภาพประจำตัวสมาชิก
picatos
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3352
ผู้ติดตาม: 1

Re: เติบโตด้วย M&A/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 15

โพสต์

Linzhi เขียน:
picatos เขียน:เขียนไม่เคลียร์

สิทธิบัตรนี่ เพื่อเอามาใช้เป็นอาวุธในการป้องกันสงครามการฟ้องร้องระหว่างบริษัทครับ
ตามแฟนพันธุ์แท้ Google ครับ ผมแค่ระดับ user

แต่การแข่งขัน hardware จริง ๆ ตอนนี้เหลือค่ายฝรั่งอยู่เจ้าเดียวแล้ว คือ apple
Hardware เป็นธุรกิจที่อยู่ยากในระยะยาวครับ ผมว่า คือ แข่ง Hardware ต้องแข่งระหว่างคู่แข่งรายใหม่ที่จะเข้ามาในอนาคต กับ Technology ใหม่ที่จะมา Disrupt Technology ปัจจุบัน

ถ้าดู Trend การพัฒนา Platform ตอนนี้ทุกคนกำลังมุ่งหน้าไปที่ AR หรือ VR เพราะ เอาเข้าจริงๆ แล้ว มือถือ เป็นแค่ Temporary Platform ก่อนที่จะข้ามไปสู่ยุคต่อไป

ในขณะที่ Software เป็นอะไรที่ Sustainable กว่า ทำให้ธุรกิจที่เคย Focus H/W อย่าง IBM ก็ต้องมาเน้น Service เสียมากกว่า พวก Service/Software พวกนี้มันมี Network Effect บ้าง Switching Cost ที่สูงกว่า เลยอยู่ได้ยาวกว่า... ผมว่า
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
rayvi
Verified User
โพสต์: 581
ผู้ติดตาม: 0

Re: เติบโตด้วย M&A/วีระพงษ์ ธัม

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ก่อนอื่นขอขอบคุณเจ้าของบทความและพี่ๆ ทุกคนนะครับ ความเห็นมีประโยชน์มากๆ เลยครับ

ผมคิดว่า "ขอ" "อยากได้" "ให้" พวกนี้เป็นเรื่อง synergy

ผมยกตัวอย่างกรณีที่คุ้นๆ ตอนนั้น GE ซื้อ BAY
ซึ่ง BAY ไม่มีความสามารถในการสร้างพอร์ตสินเชื่อรายย่อยเลย ทั้งที่ลงทุนสาขาปรับภาพลักษณ์ และอื่นๆ (ไม่เก่ง)

ในขณะที่ GE ตอนนั้นมี บ. ผมจำชื่อไม่ได้ครับ น่าจะ GE Retail Finance ทำตลาดสินเชื่อรายย่อย แต่ไม่ค่อยมีสาขา และไม่สามารถ funding เงินฝากได้เพราะ license
การที่ GE ซื้อ BAY ที่ได้เลยคือ spread ที่สูงขึ้น ในขณะที่ใช้ช่องทางที่ BAY มีทำตลาดได้พอร์ตโตขึ้น
นอกจากนั้น ยังเอาพอร์ตที่ BAY มี เอาความรู้จากการทำ retail finance สำเร็จมาหลายประเทศ เอามาใช้สร้างพอร์ตโตขึ้น

นอกจากเรื่องสินเชื่อ ยังมีพวก fee base income ที่เอา knowhow มาช่วยเพิ่มรายได้

ผมไม่รู้ว่าจะเรียกอย่างไร เพราะบางทีอาจจะเป็นทั้งผู้อยากได้ และผู้ให้ และผู้ขอในเวลาเดียวกัน
แต่โดยรวมคือการ synergy ที่อาจจะแชร์ competitive advantage ที่ตัวเองมี pooling resource หรือนำ knowhow มาใช้

ในฐานะนักลงทุนผมว่าพื้นฐานอันดับแรกคือเข้าใจว่าบริษัท มีอะไรดี อาจเป็น resource, capability, license หรือ อื่นๆ และมันจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริงไหม ซึ่งบางดีลฟังดูก็พอจะรู้เลยว่าน่าจะเกิด synergy ได้มาก กลับกันบางทีบางบริษัททำ M&A แล้วก็พยายามอธิบายว่าจะเกิด synergy อะไร แต่ฟังยังไงก็ไม่คล้อยตาม

ส่วนประโยชนที่ได้ จากคำว่า synergy ฟังดูอาจจะดีกับทั้ง 2 ฝ่าย(บริษัท) แต่จริงๆ แล้วก็ไม่จำเป็น เพราะจริงๆแล้ว จะดีกับ ผถหญ. ของบริษัทที่ต้องการทำ M&A มากกว่า

ขอบคุณครับ
โพสต์โพสต์