ประเมินมูลค่าหุ้นด้วย Market Cap./ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
ประเมินมูลค่าหุ้นด้วย Market Cap./ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
การประเมินมูลค่าหุ้นแต่ละตัวว่ามันควรมีมูลค่าเท่าไร หรือพูดอีกทางหนึ่งก็คือหุ้นมีราคาแพงหรือราคาถูกเทียบกับพื้นฐานของกิจการนั้น เป็นศาสตร์และศิลป์ที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการลงทุนระยะยาว ตัวเลขที่ใช้กันมากและแพร่หลายที่สุดในทางปฏิบัติก็คือ PE หรือราคาหุ้นเทียบกับกำไรต่อหุ้น ค่า PB หรือราคาหุ้นเทียบกับมูลค่าหุ้นทางบัญชี และ D/P หรือเงินปันผลเทียบกับราคาหุ้น โดยที่หุ้น PE ต่ำเช่นต่ำกว่า 10 เท่าหรือต่ำกว่าค่า PE โดยเฉลี่ยของตลาดหุ้นก็มักจะถือว่าเป็นหุ้นราคาถูก เช่นเดียวกับหุ้นที่มีค่า PB ต่ำกว่า 1 เท่าหรือต่ำกว่าค่า PB เฉลี่ยของตลาดก็ถือว่าเป็นหุ้นที่มีราคาถูก ตรงกันข้าม หุ้นที่มี Dividend Yield หรือ D/P สูง เช่น 4-5% ต่อปีก็ถือว่าเป็นหุ้นที่ถูก อย่างไรก็ตาม ยังมีตัวเลข “ทางเลือก” อื่น ๆ อีกหลาย ๆ ตัวที่นักวิเคราะห์อาจจะใช้ เช่น ตัวเลขราคาหุ้นเทียบกับยอดขายของบริษัท ราคาหุ้นเทียบกับจำนวนลูกค้าอย่างในกรณีของหุ้นในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายทางอินเตอร์เน็ตทั้งหลาย และตัวเลขและเทคนิคอื่น ๆ อีกมากที่ถูกนำมาใช้ในการประเมินมูลค่าหุ้น
แต่ตัวเลขที่ผมคิดว่ามีประโยชน์และผมนำมาใช้ค่อนข้างมาก หรือถ้าจะพูดว่าดูทุกครั้งที่ประเมินมูลค่าหุ้นก็คือ Market Cap. หรือมูลค่าตลาดของหุ้นทั้งหมดของบริษัท เหตุผลที่ผมใช้ตัวเลขนี้ก็เพราะว่านี่คือ “ภาพใหญ่” ของมูลค่าของบริษัทที่ตลาดหุ้น “มอบให้” ความหมายก็คือ ตลาดหุ้นตีมูลค่าของบริษัทว่าถ้าใครอยากจะเป็นเจ้าของบริษัทนี้เขาจะต้องจ่ายเท่าไร? หรือ ถ้าเราต้องการเป็นเจ้าของบริษัทนี้เพียงคนเดียว เราต้องจ่ายเงินซื้อหุ้นทั้งหมดเท่าไร? นี่ก็จะคล้าย ๆ กับเวลาเราไปซื้อกิจการนอกตลาดหลักทรัพย์ที่เราจะเป็นเจ้าของและหวังที่จะทำธุรกิจมีรายได้ กำไร และปันผลจากบริษัทตลอดไปโดยที่ไม่มีโอกาสที่จะขายหุ้นให้คนอื่นในราคาแพงหรือขายทิ้งในราคาถูกได้เลย เราต้องถือหุ้น “ยาวมาก” และดังนั้น เราจะต้องคิดว่าในอนาคตอีกนานบริษัทจะโตขึ้นไปได้แค่ไหน มันคุ้มกับสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันหรือไม่
Market Cap. ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันของบริษัททั้งหมดนั้น มันเป็นเสมือน “ตัวแทน” ความ “ยิ่งใหญ่” หรือ “ความเล็ก” ของแต่ละกิจการในสายตาของนักลงทุนหรือนักเก็งกำไรในตลาดหลักทรัพย์ ตัวอย่างเช่น ณ. วันที่ 19 สิงหาคม 2559 บริษัทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสายตาของนักลงทุนก็คือ ปตท. ที่มีมูลค่าหุ้นถึง 996,848 ล้านบาท รองลงมาคือ SCG หรือปูนซิเมนต์ไทยที่ 614,400 ล้านบาท อันดับ 3 คือ AOT หรือท่าอากาศยานไทย ที่ 567,142 ล้านบาท อันดับ 4 คือ Cp All ที่ 541,231 ล้านบาท อันดับ 5 คือ แบ้งค์ไทยพาณิชย์ที่ 534,751 ล้านบาท อันดับ 6 คือ ADVANC ที่ 511,372 ล้านบาท อันดับ 7 คือ ธนาคารกสิกรไทย ที่ 466,685 ล้านบาท อันดับ 8 คือ BDMS หรือกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพที่ 353,193 ล้านบาท อันดับ 9 คือ ธนาคารกรุงเทพที่ 334,047 ล้านบาท และอันดับ 10 คือ ปตท.สผ. ที่ 325,538 ล้านบาท
ดูจากข้อมูลและตัวเลขแล้วผมก็รู้สึกได้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจและกิจการของประเทศไทยที่ก้าวหน้าขึ้นมามากจากอดีตเมื่อหลายสิบปีก่อน ถ้ามองย้อนหลังไปไกลช่วงที่ตลาดหุ้นไทยเกิดขึ้นเมื่อ 40 ปีที่แล้ว หุ้นที่ใหญ่ที่สุด 10 อันดับน่าจะเกือบทั้งหมดเป็นแบ้งค์ ต่อมาพลังงานก็มีบทบาทมากขึ้นเช่นเดียวกับสื่อสารที่สังคมใช้กันแพร่หลายขึ้นมาก และล่าสุดก็น่าจะเป็นเรื่องของค้าปลีก สุขภาพและการท่องเที่ยวที่เป็นเทรนด์ของคนยุคใหม่ ดูเหมือนว่าตลาดหุ้นและสังคมไทยเองนั้นมีความหลากหลายเพิ่มขึ้นมาก สิบอันดับหุ้นที่ใหญ่ที่สุดประกอบไปด้วยอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้นและเป็นตัวแทนของเศรษฐกิจใน พ.ศ. นี้ โดยที่มีถึง 3 บริษัทที่เติบโตขึ้นไม่ต่ำกว่า 10 เท่าในช่วงเพียงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา นี่ยังไม่นับว่ามีบริษัทที่มี Market Cap. ในระดับ Top 20 ที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีแต่บริษัทเล็ก ๆ ในอดีต
การเปลี่ยนแปลงของบริษัทยักษ์ใหญ่ในระดับ 10 หรือ 20 อันดับที่ใหญ่ที่สุดในตลาดนั้นไม่ใช่เกิดเฉพาะในประเทศไทย ว่าที่จริงในระดับโลกเช่นในอเมริกาเองนั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นรุนแรงยิ่งกว่า เพราะเพียงไม่ถึง 10-20 ปีที่ผ่านมา บริษัทในกลุ่มดิจิตอลเช่น แอปเปิล กูเกิล อเมซอน และเฟซบุค ได้ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่กว่าบริษัทในยุคก่อนรวมถึงวอลมาร์ทและบริษัทพลังงานอย่างเอ็กซอน ไม่ต้องพูดถึงผู้ผลิตเช่น GM GE และธุรกิจรุ่นเก่าอื่น ๆ ที่ Market Cap. มีแต่ทรงหรือเล็กลงเรื่อย ๆ
พูดถึงหุ้นตัวใหญ่มาก ๆ แล้วก็คงต้องมองไปที่หุ้นตัวเล็กบ้าง ผมเองนั้นเวลาว่าง ๆ บ่อยครั้งก็จะ Scan หรือกวาดสายตาดู Market Cap. ของหุ้นทั้งตลาดอยู่เสมอ ระหว่างที่ดูผมก็จะคิดตามไปด้วยว่ามีหุ้นตัวไหนหรือกลุ่มไหนที่มีการปรับตัวของ Market Cap. มากเป็นพิเศษ บ่อยครั้งก็จะรู้สึก “ทึ่ง” ในความเปลี่ยนแปลงที่บางครั้ง “ไม่น่าเชื่อ” เช่น หุ้นตัวเล็ก ๆ บางตัวมี Market Cap. เพิ่มขึ้นมโหฬารในเวลาอันสั้นเช่น หุ้นขึ้นมา 5-10 เท่าในเวลาเพียงปีเดียวและมีขนาดใหญ่กว่าบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันและมี Business Model หรือรูปแบบการทำธุรกิจใกล้เคียงกันแต่มีขนาดของธุรกิจและกำไรสูงกว่ามาก ในกรณีแบบนี้ส่วนใหญ่แล้วผมก็จะลงความเห็นว่าไม่มีเหตุผลทางพื้นฐานและ Market Cap. ที่เห็นนั้นน่าจะสูงเกินไปและในที่สุดราคาหุ้นก็จะลดลงมาแม้จะไม่รู้ว่าเมื่อไร
นาน ๆ ครั้งผมก็อาจจะพบว่า Market Cap. ของหุ้นบางตัวนั้นต่ำเกินกว่าที่ควรจะเป็นเมื่อเทียบกับหุ้นตัวอื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน อาจจะเนื่องจากปัญหาบางอย่าง แบบนี้ผมก็จะจับตาดูหรือศึกษาละเอียดขึ้นเผื่อว่าอาจจะเป็นโอกาสในการลงทุน บ่อยครั้งผมเปรียบเทียบกับหุ้นในอุตสาหกรรมอื่นด้วยที่มีอิทธิพลหรือส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจในระดับใกล้เคียงกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าเปรียบระหว่างกลุ่มสุขภาพกับกลุ่มสื่อสารที่ต่างก็เป็นเมกาเทรนด์ทั้งคู่ บริษัทในกลุ่มไหนที่จะโตและทำกำไรได้ดีกว่าหรือ “ง่ายกว่า” ในอีกซัก 4-5 ปีข้างหน้า และบริษัทที่เปรียบเทียบกันนั้น บริษัทไหนมีความได้เปรียบที่ยั่งยืนกว่า เป็นต้น และทั้งหมดนั้นผมก็จะมาดูว่า Market Cap. ของ 2 บริษัท นั้นเป็นเท่าไรเพื่อจะดูว่าผมควรจะเลือกลงทุนหุ้นตัวไหนที่ Market Cap. จะโตเร็วกว่าและบริษัทจะใหญ่กว่าในอนาคต
อุตสาหกรรมหรือธุรกิจบางอย่างนั้น โดยธรรมชาติเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ใหญ่หรือใหญ่มากไม่ได้อาจจะเนื่องจากมันอิงอยู่กับคนที่มีความสามารถสูงที่สามารถแตกหรือ “แยกวง” ออกไปทำเองได้ หรือบางทีก็เป็น “Niche” ในอุตสาหกรรมใหญ่ นั่นคือมันมีความโดดเด่นอยู่ในสินค้าเฉพาะที่มีผู้ใช้หรือผู้บริโภคเพียงกลุ่มเล็ก ๆ นาน ๆ ครั้งก็จะมีบริษัทที่สร้างผลงานที่ประทับใจและสามารถสร้างยอดขายและกำไรที่เติบโตขึ้นอย่างมากซึ่งก็มักจะดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาซื้อหุ้นดันราคาให้สูงขึ้นไปอย่างมากจนมี Market Cap. สูงกว่าบริษัทที่มียอดขายและกำไรสูงกว่ามากได้ อย่างไรก็ตาม ลักษณะแบบนี้เราก็ต้องระวังว่าในระยะยาวแล้ว บริษัทก็อาจจะโตขึ้นไปมากไม่ได้ การเติบโตที่เร็วมากจะต้องหยุดลงตามขนาดของตลาดที่เล็กอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น ในที่สุดราคาหุ้นและ Market Cap. ก็จะยืนอยู่ไม่ได้
ทั้งหมดนั้นก็เป็นเพียงบางประเด็นที่สามารถนำเรื่องของ Market Cap. มาใช้ประกอบในการวิเคราะห์และประเมินหุ้นเพื่อที่จะดูว่ามันถูกหรือแพงเมื่อคำนึงถึงการลงทุนระยะยาว มันเป็นวิธีการที่ ไม่ได้แม่นยำเป็นตัวเลขแน่นอน แต่จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราพบ “ความผิดพลาดที่ร้ายแรง” ทั้งทางด้านที่แพงและถูก หน้าที่ของเราก็คือ หลีกเลี่ยงหุ้นที่แพงมาก ๆ มองจาก Market Cap. และเลือกซื้อหุ้นที่ถูกสุด ๆ และอาจจะกลายเป็นหุ้น 10 เด้งในอนาคตอีกหลาย ๆ ปีข้างหน้าที่ Market Cap. จะโตขึ้นตามสถานะทางเศรษฐกิจในวันนั้น
แต่ตัวเลขที่ผมคิดว่ามีประโยชน์และผมนำมาใช้ค่อนข้างมาก หรือถ้าจะพูดว่าดูทุกครั้งที่ประเมินมูลค่าหุ้นก็คือ Market Cap. หรือมูลค่าตลาดของหุ้นทั้งหมดของบริษัท เหตุผลที่ผมใช้ตัวเลขนี้ก็เพราะว่านี่คือ “ภาพใหญ่” ของมูลค่าของบริษัทที่ตลาดหุ้น “มอบให้” ความหมายก็คือ ตลาดหุ้นตีมูลค่าของบริษัทว่าถ้าใครอยากจะเป็นเจ้าของบริษัทนี้เขาจะต้องจ่ายเท่าไร? หรือ ถ้าเราต้องการเป็นเจ้าของบริษัทนี้เพียงคนเดียว เราต้องจ่ายเงินซื้อหุ้นทั้งหมดเท่าไร? นี่ก็จะคล้าย ๆ กับเวลาเราไปซื้อกิจการนอกตลาดหลักทรัพย์ที่เราจะเป็นเจ้าของและหวังที่จะทำธุรกิจมีรายได้ กำไร และปันผลจากบริษัทตลอดไปโดยที่ไม่มีโอกาสที่จะขายหุ้นให้คนอื่นในราคาแพงหรือขายทิ้งในราคาถูกได้เลย เราต้องถือหุ้น “ยาวมาก” และดังนั้น เราจะต้องคิดว่าในอนาคตอีกนานบริษัทจะโตขึ้นไปได้แค่ไหน มันคุ้มกับสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันหรือไม่
Market Cap. ที่เห็นอยู่ในปัจจุบันของบริษัททั้งหมดนั้น มันเป็นเสมือน “ตัวแทน” ความ “ยิ่งใหญ่” หรือ “ความเล็ก” ของแต่ละกิจการในสายตาของนักลงทุนหรือนักเก็งกำไรในตลาดหลักทรัพย์ ตัวอย่างเช่น ณ. วันที่ 19 สิงหาคม 2559 บริษัทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสายตาของนักลงทุนก็คือ ปตท. ที่มีมูลค่าหุ้นถึง 996,848 ล้านบาท รองลงมาคือ SCG หรือปูนซิเมนต์ไทยที่ 614,400 ล้านบาท อันดับ 3 คือ AOT หรือท่าอากาศยานไทย ที่ 567,142 ล้านบาท อันดับ 4 คือ Cp All ที่ 541,231 ล้านบาท อันดับ 5 คือ แบ้งค์ไทยพาณิชย์ที่ 534,751 ล้านบาท อันดับ 6 คือ ADVANC ที่ 511,372 ล้านบาท อันดับ 7 คือ ธนาคารกสิกรไทย ที่ 466,685 ล้านบาท อันดับ 8 คือ BDMS หรือกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพที่ 353,193 ล้านบาท อันดับ 9 คือ ธนาคารกรุงเทพที่ 334,047 ล้านบาท และอันดับ 10 คือ ปตท.สผ. ที่ 325,538 ล้านบาท
ดูจากข้อมูลและตัวเลขแล้วผมก็รู้สึกได้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจและกิจการของประเทศไทยที่ก้าวหน้าขึ้นมามากจากอดีตเมื่อหลายสิบปีก่อน ถ้ามองย้อนหลังไปไกลช่วงที่ตลาดหุ้นไทยเกิดขึ้นเมื่อ 40 ปีที่แล้ว หุ้นที่ใหญ่ที่สุด 10 อันดับน่าจะเกือบทั้งหมดเป็นแบ้งค์ ต่อมาพลังงานก็มีบทบาทมากขึ้นเช่นเดียวกับสื่อสารที่สังคมใช้กันแพร่หลายขึ้นมาก และล่าสุดก็น่าจะเป็นเรื่องของค้าปลีก สุขภาพและการท่องเที่ยวที่เป็นเทรนด์ของคนยุคใหม่ ดูเหมือนว่าตลาดหุ้นและสังคมไทยเองนั้นมีความหลากหลายเพิ่มขึ้นมาก สิบอันดับหุ้นที่ใหญ่ที่สุดประกอบไปด้วยอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้นและเป็นตัวแทนของเศรษฐกิจใน พ.ศ. นี้ โดยที่มีถึง 3 บริษัทที่เติบโตขึ้นไม่ต่ำกว่า 10 เท่าในช่วงเพียงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา นี่ยังไม่นับว่ามีบริษัทที่มี Market Cap. ในระดับ Top 20 ที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีแต่บริษัทเล็ก ๆ ในอดีต
การเปลี่ยนแปลงของบริษัทยักษ์ใหญ่ในระดับ 10 หรือ 20 อันดับที่ใหญ่ที่สุดในตลาดนั้นไม่ใช่เกิดเฉพาะในประเทศไทย ว่าที่จริงในระดับโลกเช่นในอเมริกาเองนั้น การเปลี่ยนแปลงนั้นรุนแรงยิ่งกว่า เพราะเพียงไม่ถึง 10-20 ปีที่ผ่านมา บริษัทในกลุ่มดิจิตอลเช่น แอปเปิล กูเกิล อเมซอน และเฟซบุค ได้ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่กว่าบริษัทในยุคก่อนรวมถึงวอลมาร์ทและบริษัทพลังงานอย่างเอ็กซอน ไม่ต้องพูดถึงผู้ผลิตเช่น GM GE และธุรกิจรุ่นเก่าอื่น ๆ ที่ Market Cap. มีแต่ทรงหรือเล็กลงเรื่อย ๆ
พูดถึงหุ้นตัวใหญ่มาก ๆ แล้วก็คงต้องมองไปที่หุ้นตัวเล็กบ้าง ผมเองนั้นเวลาว่าง ๆ บ่อยครั้งก็จะ Scan หรือกวาดสายตาดู Market Cap. ของหุ้นทั้งตลาดอยู่เสมอ ระหว่างที่ดูผมก็จะคิดตามไปด้วยว่ามีหุ้นตัวไหนหรือกลุ่มไหนที่มีการปรับตัวของ Market Cap. มากเป็นพิเศษ บ่อยครั้งก็จะรู้สึก “ทึ่ง” ในความเปลี่ยนแปลงที่บางครั้ง “ไม่น่าเชื่อ” เช่น หุ้นตัวเล็ก ๆ บางตัวมี Market Cap. เพิ่มขึ้นมโหฬารในเวลาอันสั้นเช่น หุ้นขึ้นมา 5-10 เท่าในเวลาเพียงปีเดียวและมีขนาดใหญ่กว่าบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันและมี Business Model หรือรูปแบบการทำธุรกิจใกล้เคียงกันแต่มีขนาดของธุรกิจและกำไรสูงกว่ามาก ในกรณีแบบนี้ส่วนใหญ่แล้วผมก็จะลงความเห็นว่าไม่มีเหตุผลทางพื้นฐานและ Market Cap. ที่เห็นนั้นน่าจะสูงเกินไปและในที่สุดราคาหุ้นก็จะลดลงมาแม้จะไม่รู้ว่าเมื่อไร
นาน ๆ ครั้งผมก็อาจจะพบว่า Market Cap. ของหุ้นบางตัวนั้นต่ำเกินกว่าที่ควรจะเป็นเมื่อเทียบกับหุ้นตัวอื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน อาจจะเนื่องจากปัญหาบางอย่าง แบบนี้ผมก็จะจับตาดูหรือศึกษาละเอียดขึ้นเผื่อว่าอาจจะเป็นโอกาสในการลงทุน บ่อยครั้งผมเปรียบเทียบกับหุ้นในอุตสาหกรรมอื่นด้วยที่มีอิทธิพลหรือส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจในระดับใกล้เคียงกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าเปรียบระหว่างกลุ่มสุขภาพกับกลุ่มสื่อสารที่ต่างก็เป็นเมกาเทรนด์ทั้งคู่ บริษัทในกลุ่มไหนที่จะโตและทำกำไรได้ดีกว่าหรือ “ง่ายกว่า” ในอีกซัก 4-5 ปีข้างหน้า และบริษัทที่เปรียบเทียบกันนั้น บริษัทไหนมีความได้เปรียบที่ยั่งยืนกว่า เป็นต้น และทั้งหมดนั้นผมก็จะมาดูว่า Market Cap. ของ 2 บริษัท นั้นเป็นเท่าไรเพื่อจะดูว่าผมควรจะเลือกลงทุนหุ้นตัวไหนที่ Market Cap. จะโตเร็วกว่าและบริษัทจะใหญ่กว่าในอนาคต
อุตสาหกรรมหรือธุรกิจบางอย่างนั้น โดยธรรมชาติเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ใหญ่หรือใหญ่มากไม่ได้อาจจะเนื่องจากมันอิงอยู่กับคนที่มีความสามารถสูงที่สามารถแตกหรือ “แยกวง” ออกไปทำเองได้ หรือบางทีก็เป็น “Niche” ในอุตสาหกรรมใหญ่ นั่นคือมันมีความโดดเด่นอยู่ในสินค้าเฉพาะที่มีผู้ใช้หรือผู้บริโภคเพียงกลุ่มเล็ก ๆ นาน ๆ ครั้งก็จะมีบริษัทที่สร้างผลงานที่ประทับใจและสามารถสร้างยอดขายและกำไรที่เติบโตขึ้นอย่างมากซึ่งก็มักจะดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาซื้อหุ้นดันราคาให้สูงขึ้นไปอย่างมากจนมี Market Cap. สูงกว่าบริษัทที่มียอดขายและกำไรสูงกว่ามากได้ อย่างไรก็ตาม ลักษณะแบบนี้เราก็ต้องระวังว่าในระยะยาวแล้ว บริษัทก็อาจจะโตขึ้นไปมากไม่ได้ การเติบโตที่เร็วมากจะต้องหยุดลงตามขนาดของตลาดที่เล็กอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น ในที่สุดราคาหุ้นและ Market Cap. ก็จะยืนอยู่ไม่ได้
ทั้งหมดนั้นก็เป็นเพียงบางประเด็นที่สามารถนำเรื่องของ Market Cap. มาใช้ประกอบในการวิเคราะห์และประเมินหุ้นเพื่อที่จะดูว่ามันถูกหรือแพงเมื่อคำนึงถึงการลงทุนระยะยาว มันเป็นวิธีการที่ ไม่ได้แม่นยำเป็นตัวเลขแน่นอน แต่จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราพบ “ความผิดพลาดที่ร้ายแรง” ทั้งทางด้านที่แพงและถูก หน้าที่ของเราก็คือ หลีกเลี่ยงหุ้นที่แพงมาก ๆ มองจาก Market Cap. และเลือกซื้อหุ้นที่ถูกสุด ๆ และอาจจะกลายเป็นหุ้น 10 เด้งในอนาคตอีกหลาย ๆ ปีข้างหน้าที่ Market Cap. จะโตขึ้นตามสถานะทางเศรษฐกิจในวันนั้น
-
- Verified User
- โพสต์: 5620
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ประเมินมูลค่าหุ้นด้วย Market Cap./ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวราก
โพสต์ที่ 2
ขอบพระคุณมากครับ
วินัย + แผนการ + ลงรายละเอียด => ขุดหุ้น
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 91
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประเมินมูลค่าหุ้นด้วย Market Cap./ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวราก
โพสต์ที่ 3
ขอบคุณครับ อาจารย์
นักลงทุนที่ดี คือ นักลงทุนที่รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเอง
-
- Verified User
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ประเมินมูลค่าหุ้นด้วย Market Cap./ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวราก
โพสต์ที่ 5
ขอบคุณครับ