ประชากรกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย (1)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1827
ผู้ติดตาม: 1

ประชากรกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย (1)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

การแก่ตัวลงของประชากรไทย ซึ่งในที่สุดหมายถึงการขาดแคลนแรงงานใน 25 ข้างหน้านั้นน่าจะเป็นเรื่องที่ท้าทายการพัฒนาเศรษฐกิจไทยมากที่สุด

กล่าวคือประเทศไทยนั้นกำลังเสี่ยงต่อการเข้าสู่สภาวะแก่ก่อนรวย แตกต่างจากประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ยุโรปและญี่ปุ่นที่รวยแล้วแก่ หมายความว่าแม้เศรษฐกิจจะไม่ขยายตัวมากแต่ประชาชนเกือบทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่เป็นเลิศแล้ว

ผมได้นำเอาตัวเลขการคาดการณ์ประชากรของไทยจัดทำโดยสภาพัฒน์ฯ มาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งมีข้อสรุปเกี่ยวกับแนวโน้มประชากรของประเทศไทยจากปี 2015 ถึง 2040 ดังนี้
  • 1. ประชากรวันนี้ประมาณ 65 ล้านคนจะเพิ่มขึ้นไปเป็น 66.3 ล้านคนในปี 2025 จากนั้นจะค่อยๆ ลดลงกลับมาเหลือ 65.4 ล้านคนในปี 2035 และ 63.8 ล้านคนในปี 2040 แปลว่าใน 25 ปีข้างหน้า ประชากรไทยจะไม่ขยายตัวเลย แตกต่างจาก 25 ปีที่แล้ว ซึ่งประชากรเพิ่มขึ้นเกือบ 9 ล้านคนจาก 56 ล้านคนในปี 1990 (เพิ่มขึ้นประมาณ 15%) ดังนั้นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในอดีตในเชิงของอุปสงค์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความต้องการซื้อบ้าน-ที่ดิน รถยนต์และการขนส่ง) น่าจะขยายตัวเชื่องช้ากว่าแต่ก่อนอย่างมีนัยสำคัญ

    2. คนที่อยู่ในวัยทำงาน (ซึ่งที่ผ่านมานับคนอายุ 15-59 ปีว่าอยู่ในวัยทำงานลดลงอย่างน่าตกใจจาก 43 ล้านคนในปี 2015 เหลือเพียง 35 ล้านคนในปี 2040 แต่หากมองอย่างเป็นจริงว่าในโลดยุคดิจิตอลที่ประชาชนจะต้องได้รับการศึกษาสูง จึงควรนับคนในวัยทำงานตั้งแต่อายุ 20 ถึง 59 ก็จะพบว่าคนในวัยทำงานลดลงไปอีกคือ 38.5 ล้านคนในปี 2015 และ 32 ล้านคนในปี 2040 กล่าวคืออาจมองได้ว่าคนในวัยทำงานที่จะทำงานได้จริงๆ อาจลดลงจาก 43 ล้านคนในปี 2015 เหลือเพียง 32 ล้านคนในปี 2040 หรือลดลง 11 ล้านคน

    3. แน่นอนว่าจำนวนผู้สูงอายุจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยเห็นมาก่อน กล่าวคือจำนวนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจะเพิ่มจาก 10.5 ล้านคนในปี 2015 มาเป็น 20.5 คนในปี 2040 แต่คนในวัยเด็ก (อายุ 1-14 ปี) ลดลงจาก 11.8 ล้านคนในปี 2015 เหลือเพียง 8 ล้านคนในปี 2040 แปลว่าหากเราไม่ทำอะไรก็จะมีโรงเรียนมากเกินไปและโรงพยาบาลน้อยเกินไป เป็นต้น

    4. แต่ที่สำคัญคือจำนวนประชากรที่พึ่งพาประชากรที่อยู่ในวัยทำงานจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก กล่าวคือคนในวัยทำงานที่ต้องทำงานให้เกิดผลผลิตเพียงพอที่จะเลี้ยงตัวเองและมีผลผลิตเหลือเพียงพอในการเลี้ยงดูคนที่ไม่ได้ทำงานจะมีจำนวนลดลง ในขณะที่คนในวัยเด็ก (อายุ 1-14 ปี) บวกกับคนสูงวัย (อายุ 60+) ที่จะต้องได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากคนในวัยทำงานจะเพิ่มขึ้นในเชิงสถิตินั้น ในปี 2015 จะมีคนงาน 1.9 คนช่วยกันทำงานเลี้ยงดูกลุ่มคนแก่และเด็ก 1 คน แต่ในปี 2040 จะเหลือคนทำงานเพียง 1.2 คนที่จะต้องเลี่ยงดูกลุ่มคนแก่และเด็ก 1 คน
จากตารางเป็นการคำนวณการพึ่งพาซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้คือในปี 2015 ผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน 3.6 คนมีภาระต้องเลี้ยงดูผู้อยู่ในวัยเด็ก 1 คน แต่ในอนาคตนั้นภาระตรงนี้ลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพราะจำนวนเด็กลดลง ทำให้มีผู้อยู่ในวัยทำงาน 4.3 คนต่อเด็ก 1 คนในปี 2040 แต่ในทางตรงกันข้ามจำนวนผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน จะมีภาระต่อผู้สูงวัยมากขึ้น กล่าวคือในปี 2015 จำนวนผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน 4.1 คนต่อผู้สูงอายุ 1 คน แต่ในปี 2040 นั้น มีผู้ท่าอยู่ในวัยทำงานเพียง 1.7 คนต่อผู้สูงอายุ 1 คน และหากนำเอาทั้งผู้ที่อยู่ในวัยเด็กและผู้สูงอายุมารวมกันแล้ว ก็จะเห็นว่าโดยเฉลี่ยในประเทศไทย จำนวนผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน 3.8 คนจะมีภาระต้องเลี้ยงดูผู้อยู่ในวัยเด็ก 1 คนและผู้สูงอายุ 1 คนในปี 2015 และภาระนี้จะเพิ่มขึ้นเพราะจำนวนคนอยู่ในวัยทำงานจะลดลงเหลือเพียง 2.4 คนในปี 2040

“ภาระ” ที่กล่าวถึงนี้เป็นภาระที่ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานจะต้องมีผลผลิตเพียงพอที่จะเลี้ยงตัวเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและยังมีผลผลิตส่วนเกินเหลือให้ผู้สูงอายุและผู้ที่อยู่ในวัยเด็กมีความเป็นอยู่ที่ดีพร้อมกันไปด้วย เมื่อคนในวัยทำงานมีจำนวนลดลง ผลผลิตต่อหัวก็จะต้องเพิ่มขึ้นอย่างมากและต่อเนื่อง ตรงนี้แปลว่าประเทศไทยในวันนี้ (ไม่ใช่วันหน้า) จะต้องลงทุนและทิ้งมรดกคือความรู้ ความสามารถให้กับลูกหลาน ต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ คลอดจนเครื่องมือ เครื่องจักร ระบบการบริหารจัดการที่ดี ฯลฯ เอาไว้ให้กับลูกหลานของเราที่ปัจจุบันเพิ่มเริ่มการศึกษามัธยมปลายหรือเพิ่งเกิด เพื่อให้เขามีศักยภาพใน 25 ปีข้างหน้า ในการผลิตสินค้าและบริการเพียงพอที่จะเลี้ยงคนไทยทั้ง 65 ล้านคนที่จะยังมีชีวิตอยู่ในอนาคตครับ
WIWATW
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 243
ผู้ติดตาม: 0

Re: ประชากรกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย (1)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ภาระของคน วัยทำงาน วัยหนุ่มสาว จะตกเป็นของ หุ่นยนต์ต่อไป
โพสต์โพสต์