ผลต่อเศรษฐกิจจากการลดภาษีรายได้นิติบุคคลของสหรัฐ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1827
ผู้ติดตาม: 1

ผลต่อเศรษฐกิจจากการลดภาษีรายได้นิติบุคคลของสหรัฐ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โค้ด: เลือกทั้งหมด

    นักลงทุนทั่วโลกคงจะเฝ้าจับตาดูกระบวนการพิจารณาร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีของสหรัฐอย่างใกล้ชิด เพราะจะมีผลอย่างยิ่งต่อราคาหุ้น หัวใจของร่างกฎหมายดังกล่าว คือ การปรับลดภาษีรายได้นิติบุคคลจาก 35% เป็น 20%  แปลกันง่ายๆ ว่า หากผ่านออกมาเป็นกฎหมายได้จริง ราคาหุ้นก็ควรจะต้องปรับตัวเพิ่มขึ้น 15% เพราะรัฐบาลสหรัฐ เพิ่มกำไรให้กับทุกบริษัทในสหรัฐอีกบริษัทละ 15% ต่อปี 

    ปัญหาคือ ภาระทางการคลังที่เพิ่มขึ้นในเชิงเศรษฐกิจ และการเมืองนั้น จะบริหารจัดการกันอย่างไร 

    ในเชิงการเมืองส่วนหนึ่ง จึงต้องลดภาษีลงให้กับบุคคลธรรมดาด้วย จึงจะอ้างได้ว่าสง่างามและเป็นธรรมกับส่วนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดภาษีให้กับชนชั้นกลาง และผู้มีรายได้น้อย

    แต่ร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีของพรรครีพับลิิกัน ก็ยังให้ประโยชน์กับคนรวยเป็นหลักอยู่ดี โดยคำนวณได้ว่าร่างกฎหมายดังกล่าวทั้งของสภาล่างและวุฒิสภานั้น แม้จะยังมีประเด็นที่แตกต่างกันอยู่ในสาระสำคัญหลายประการ แต่จะทำให้รัฐบาลขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นอีก 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ ใน 10 ปี ข้างหน้า โดยประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์ จะเป็นผลมาจากการลดภาษีให้กับบริษัทสหรัฐ และ 5 แสนล้านดอลลาร์ จะเกิดจากการลดภาษีบุคคลให้กับประชาชน

    นอกจากนั้น การลดภาษีนิติบุคคลจะเป็นการลดภาษีแบบถาวร แต่การลดภาษีบุคคลธรรมดา บางส่วนจะต้องปรับขึ้นกลับไปที่อัตราเดิมภายใน 10 ปี กล่าวคือ การลดภาษีครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับคนรวยเป็นหลัก เพราะคนรวยเป็นเจ้าของบริษัท (เป็นผู้ถือหุ้น) ในขณะที่คนจนเป็นลูกจ้างบริษัท

    แน่นอนว่าพรรครีพับลิกันจะต้องยืนยันว่า ร่างกฎหมายปฏิรูปภาษี ซึ่งมีการลดภาษีนิติบุคคลเป็นเรื่องหลักนั้น เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับสหรัฐ และจะกระตุ้นการลงทุน ทำให้เกิดการจ้างงาน การขึ้นเงินเดือน และการขยายตัวเพิ่มขึ้นของเศรษฐกิจ ไม่ใช่เอื้อประโยชน์ให้กับคนรวยดังที่พรรคเดโมแครตกล่าวอ้าง

    ตรงนี้อาจนำเอาประสบการณ์ของไทยมาลองเทียบเคียงดูได้ เพราะประเทศไทยก็ได้ลดภาษีรายได้นิติบุคคลลงจาก 35% เหลือ 20% เมื่อปี 2011 ซึ่งตั้งแต่ปลายปี 2011 จนกระทั่งไตรมาส 3 ของปีนี้นั้น เงินเดือนเฉลี่ยของผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นจาก 10,425 บาท มาเป็น13,878 บาท หรือเพิ่มขึ้น 33%

    แต่ในช่วงเดียวกัน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 1,025 จุดมาเป็น 1,700จุด หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 66% หรือ 2 เท่าตัวของการปรับขึ้นของเงินเดือน

    นอกจากนั้นมูลค่าของหุ้นตามราคาตลาด (market capitalization) ของตลาดทุนก็ยังเพิ่มขึ้นจาก 8.4 ล้านล้านบาทมาเป็น 17 ล้านล้านบาท ในช่วงเดียวกัน กล่าวคือ เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว

    การที่มูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้นนั้น ย่อมจะเป็นประโยชน์กับคนรวยมากกว่าผู้มีรายได้น้อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเศรษฐกิจโดยรวมจะไม่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีรายได้นิติบุคคล เพราะการลดภาษีช่วยกระตุ้นการลงทุนได้จริง แต่การแบ่งปันผลพวงของการลงทุนนั้น อาจจะไม่ได้ทำให้ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนลดลง ซึ่งตรงนี้ก็ควรต้องพิจารณาเก็บภาษีจากคนรวย(ภาษีรายได้บุคคลธรรมดา) เพิ่มขึ้น

    แต่ดูเหมือนว่า ร่างกฎหมายของพรรครีพับลิกันจะช่วยลดภาษีรายได้บุคคลธรรมดาให้กับคนรวยไม่น้อยกว่าคนจนหรือมากกว่าด้วยซ้ำ

    อย่างไรก็ดี ยังมีสาระสำคัญที่แตกต่างกันอยู่ระหว่างร่างของสภาล่าง และร่างของวุฒิสภา ที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมือนกัน จึงจะต้องรอให้เห็นร่างที่ผ่านการเห็นชอบของทั้ง 2 สภาก่อน จึงจะสามารถประเมินได้ว่าบุคคลธรรมดา ที่เป็นคนรวย และคนจนนั้นได้รับการลดภาษีมากน้อย และแตกต่างกันหรือไม่เพียงใด

    ตรงนี้หากมองดูผิวเผินแล้วอาจคิดว่าโอกาสที่ร่างกฎหมาย ซึ่งเอื้อคนรวยเป็นหลักนั้น ไม่น่าจะได้รับความเห็นชอบจากสภาได้ แต่พรรครีพับลิกันจำเป็นจะต้องมีผลงานทางเศรษฐกิจเพื่อนำไปหาเสียงตอนปลายปี 2018 ที่จะมีเลือกตั้งสภาล่างทั่วประเทศ (435 คน) และวุฒิสมาชิก กับผู้ว่าการมลรัฐอีกประเภทละกว่า 30 ตำแหน่งอีกด้วย

    ที่จะต้องจับตาอย่างใกล้ชิดที่สุดคือวุฒิสภา ซึ่งพรรครีพับลิกันมีเสียงเกินกึ่งหนึ่งเพียง 2 เสียงคือ 52 ต่อ 48 ว่า จะสามารถผ่านร่างกฎหมายของตนได้หรือไม่ และเมื่อผ่านแล้ว ก็ยังต้องตั้งคณะกรรมาธิการร่วม 2 สภา เพื่อปรับปรุงร่างกฎหมายที่แตกต่างกัน 2 ฉบับ ให้มีสาระเหมือนกันเป็นฉบับเดียว และนำไปลงคะแนนเสียงให้ผ่านเสียงข้างมากในแต่ละสภาอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะนำเสนอให้ประธานาธิบดีทรัมป์ลงนามให้ความเห็นชอบออกมาเป็นกฎหมายได้

    ทั้งนี้มีเวลาดำเนินการดังกล่าวเพียง 3 สัปดาห์ ในขณะที่รัฐสภาก็ยังต้องผ่านกฎหมายชั่วคราวเพื่ออนุมัติงบประมาณให้รัฐบาลสหรัฐเปิดดำเนินการต่อไปได้ภายในวันที่ 8 ธ.ค. (หากทำไม่ได้ก็จะต้องปิดการทำงานของรัฐบาลลงชั่วคราว)

    นอกจากนั้นก็ยังต้องออกกฎหมายเพื่อขยายเพดานหนี้ของภาครัฐพร้อมกันไปอีกด้วย    
[/size]
ภาพประจำตัวสมาชิก
thaloengsak
Verified User
โพสต์: 2716
ผู้ติดตาม: 1

Re: ผลต่อเศรษฐกิจจากการลดภาษีรายได้นิติบุคคลของสหรัฐ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เข้าใจว่าอัตราภาษี (Effective Tax Rate) ไม่ได้เท่ากันทุกอุตสาหกรรม (20-35%)
ผลกระทบจากการลดภาษี ต่อ กำไรบริษัท น่าจะมีเพียงแค่ 6.7% เท่านั้น (อ้างอิง Bloomberg Forecast)
ลงทุนเพื่อชีวิต
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

Re: ผลต่อเศรษฐกิจจากการลดภาษีรายได้นิติบุคคลของสหรัฐ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ย้ายจากทุนของรัฐ ไปเป็นทุนของเอกชน
:)
:)
โพสต์โพสต์