ลงทุนปลูกป่า สุขใจ ใด้เศรษฐกิจ/กฤษฏา บุญเรือง
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
ลงทุนปลูกป่า สุขใจ ใด้เศรษฐกิจ/กฤษฏา บุญเรือง
โพสต์ที่ 1
บ้านของผมอยู่บนเนินเขา พื้นที่ประมาณแปดไร่ ในเมืองเล็กๆ ห่างจากสนามบินแอตแลนต้าไปทางเหนือประมาณ 1 ชั่วโมง ฤดูนี้มองไปนอกบ้านผ่านหน้าต่างทุกบานจะเห็นต้นไม้สีเขียวสูงต่ำหลายระดับ สัตว์ป่าอยู่รอบบริเวณบ้านอย่างมีความสุข และไม่มีใครรบกวน ได้ยินเสียงและเห็นสัตว์ต่างๆออกมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เราเองก็สุขใจด้วย
ตอนที่มาซื้อบ้านหลังนี้เมื่อ 13 ปีที่แล้ว ผมทำสิ่งที่ผิดพลาดคือ รีบตัดต้นไม้บริเวณหลังบ้านออกบางส่วนเพื่อทำสวนผักและผลไม้ แต่ปีแรกไม่มีเวลาดูแลสวน ไม่ได้คลุมดินโดยเปลือกไม้หรือใบไม้ เมื่อฝนตกลงมาจึงเกิดการชะล้างผิวดินทำให้ดินบริเวณนั้นเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว โชคดีที่ ในปีที่สอง ตื่นตัวรีบเอาใบไม้มาคลุมดินไม่ไม่ให้โดนแสงแดดเผาและฝนชะ พอปีถัดไปสภาพดินจึงฟื้นฟูสมดุลย์ขึ้นมาทันที แสดงให้เห็นว่าธรรมชาติเป็นสิ่งมหัศจรรย์ สิ่งมีชีวิตในดินทำงานทั้งวันทั้งคืน เพื่อเนรมิตให้ป่าสมบูรณ์กลับคืน ผักสวนครัวที่ปลูกไว้ก็ได้ รับประทานตลอดแทบทั้งปี เดี๋ยวนี้พืชผักที่จะซื้อจากตลาดลดลงจนเหลือไม่เกิน 10% การทานอาหารที่มีคุณภาพที่เราปลูกเองทำให้สุขภาพดีและสบายใจครับ
ที่อเมริกา ต้นไม้ใหญ่ไม่ค่อยมีราคาสาเหตุจากเรื่องของอุปสงค์อุปทาน ที่นี่แรงงานแพง เพราะฉะนั้นการตัดต้นไม้เพื่อจำหน่ายหรือใช้ประโยชน์เป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่า ไม่เหมือนเมืองไทย แต่สำหรับผมคิดว่าความสุขที่ได้อยู่กับธรรมชาติ เป็นความคุ้มค่ามากอยู่แล้วครับ
เมื่อเดือนที่แล้ว ได้มีโอกาสกลับไทยไปเยี่ยมศรีษะอโศก ที่อำเภอกันทรลักษน์ จังหวัดศรีสะเกษ ชมสวนพืชผักอินทรีย์และปลอดสารพิษ ยาแผนโบราณทำจากสมุนไพร และผลิตภัณฑ์อื่นๆจากธรรมชาติ ชมวิทยาลัยการอาชีพ รวมทั้งวิชาการแพทย์แผนไทย
ที่นี่เป็นตัวอย่างของการอยู่กับธรรมชาติอย่างแท้จริงสมบูรณ์และสมดุลย์ ผมได้พบปะสนทนากับผู้นำชุมชน และสมาชิกศรีษะอโศกหลายท่าน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เห็นรอยยิ้มที่เบิกบาน การพูดจากันด้วยความไพเราะ เป็นสิ่งที่ประทับใจมาก นอกจากชาวอโศกจะมีปรัชญาและการปฏิบัติที่ถูกต้องแล้ว ยังมีความใกล้ชิดกับป่าที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งอาจจะเอื้ออำนวยให้คนมีความสงบ ท่านผู้ใดไม่มีโอกาสได้ไปที่นั่น ผมขอแนะนำครับ
อีสานใต้บริเวณเทือกเขาพนมดงรักติดต่อชายแดนเขมร เป็นสภาพที่ต้นไม้ใหญ่ยังมีอยู่ และบริเวณหลายอำเภอรอบๆศรีษะอโศก เป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยมากเนื่องจากคุณภาพดินมีสารอาหารที่ดีและยังไม่ถูกทำลายโดยพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว ชาวบ้านแถบนี้ นิยมปลูกพืชสูงต่ำหลายประเภท สลับกันดูเหมือนเป็นป่ามากกว่าดูเป็นไร่
ผู้รู้หลายท่านแนะนำว่า เราควรปลูกต้นไม้หลายระดับความสูง เพื่อเป็นการสร้างป่าที่สมดุลย์ คือมีไม้ล้มลุกที่ใช้เป็นอาหารที่เราเด็ดได้ง่าย มีต้นไม้พุ่มขนาดเล็ก ต้นไม้ยืนต้นที่ไม่สูงมาก และมีไม้ยืนต้นสูงท่วมต้นไม้อื่น วิธีปลูกก็ต้องสลับพันธุ์พืชตามความสูงต่ำ เพราะไม่ต้องการให้ไม้ประเภทเดียวกันเเย่งแสงแดดกัน
แต่อย่างไรก็ตาม เกษตรกรโดยทั่วไปในบ้านเราก็ยังนิยมปลูกพืชล้มลุกเช่น มันสำปะหลัง อ้อย ข้าว หรือข้าวโพด ฯลฯ คือปลูกแบบใดแบบหนึ่งก็ล้วนๆโดยที่ไม่มีพืชยืนต้นอยู่ในสวนเลย สภาพดินจึงถูกทำลายทำให้ดินแห้งแล้ง และหน้าดินส่วนที่ดีก็ถูกน้ำท่วมกวาดเอาไปหมด
มีเพื่อนและรุ่นพี่หลายท่านที่เกษียณแล้วหันมาใช้ชีวิตกับธรรมชาติ ปลูกต้นไม้และทำสวนผักและผลไม้ฯลฯ ทุกครั้งที่ได้คุยกับชาวสวนกิตติมศักดิ์ทั้งหลาย ก็จะสัมผัสได้ชัดเจนเรื่องความสุขกายสบายใจความเบิกบาน และความไม่เครียด คนที่ชอบปลูกต้นไม้เจอกันไม่ต้องอธิบายอะไรมากก็รู้ว่า เป็นความสุขแท้ เสน่ห์ของการอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติโดยเฉพาะต้นไม้ก็คือ เราจะมีอะไรให้เห็นแปลกใหม่ตลอดเวลา ไม่มีอะไรซ้ำเหมือนเดิมแม้แต่ครั้งเดียว ขณะที่เรากำลังนอนอยู่ธรรมชาติก็ผลิต ตื่นเช้ามาเดินเข้าไป สวนก็ยิ้มแฉ่งครับ
สำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจลงทุนเพื่อผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ การปลูกแบบสวนผสมพืชยืนต้นคุ้มค่ามากครับ และความเสี่ยงน้อยมากเนื่องจากปัจจุบัน มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เรามีการเตรียมตัวดีพอ และมีหลายฝ่ายช่วยเหลือ รวมทั้งการช่วยเรื่องการตลาด เพียงท่านให้ความสนใจศึกษาและลงมือทำอย่างตั้งใจ นโยบายของรัฐออกมาชัดเจนส่งเสริมให้คนปลูกป่ามากขึ้น ผลตอบแทนระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวมีแน่นอนครับ หากท่านสนใจข้อมูลเพิ่มเติม ข้อมูลจากภาครัฐที่นี่ดีมากครับ http://forestinfo.forest.go.th/pfd/km1-1.aspx
สำหรับท่านที่มีทุน แต่ไม่อยากจะลงแรง ก็อาจหาพันธมิตรเกษตรกรลงปฏิบัติได้ครับ อบต.และฝ่ายปกครองท้องถิ่นพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือ ร่วมกับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ http://www.fio.co.th/fiopage/index.html ... รบถ้วนครับ
ขอเชียร์ให้ทุกท่านเริ่มปลูกต้นไม้และสร้างป่าไว้เป็นอนุสรณ์ให้ครอบครัวและจะเป็นสมบัติของโลกด้วยครับ
ตอนที่มาซื้อบ้านหลังนี้เมื่อ 13 ปีที่แล้ว ผมทำสิ่งที่ผิดพลาดคือ รีบตัดต้นไม้บริเวณหลังบ้านออกบางส่วนเพื่อทำสวนผักและผลไม้ แต่ปีแรกไม่มีเวลาดูแลสวน ไม่ได้คลุมดินโดยเปลือกไม้หรือใบไม้ เมื่อฝนตกลงมาจึงเกิดการชะล้างผิวดินทำให้ดินบริเวณนั้นเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว โชคดีที่ ในปีที่สอง ตื่นตัวรีบเอาใบไม้มาคลุมดินไม่ไม่ให้โดนแสงแดดเผาและฝนชะ พอปีถัดไปสภาพดินจึงฟื้นฟูสมดุลย์ขึ้นมาทันที แสดงให้เห็นว่าธรรมชาติเป็นสิ่งมหัศจรรย์ สิ่งมีชีวิตในดินทำงานทั้งวันทั้งคืน เพื่อเนรมิตให้ป่าสมบูรณ์กลับคืน ผักสวนครัวที่ปลูกไว้ก็ได้ รับประทานตลอดแทบทั้งปี เดี๋ยวนี้พืชผักที่จะซื้อจากตลาดลดลงจนเหลือไม่เกิน 10% การทานอาหารที่มีคุณภาพที่เราปลูกเองทำให้สุขภาพดีและสบายใจครับ
ที่อเมริกา ต้นไม้ใหญ่ไม่ค่อยมีราคาสาเหตุจากเรื่องของอุปสงค์อุปทาน ที่นี่แรงงานแพง เพราะฉะนั้นการตัดต้นไม้เพื่อจำหน่ายหรือใช้ประโยชน์เป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่า ไม่เหมือนเมืองไทย แต่สำหรับผมคิดว่าความสุขที่ได้อยู่กับธรรมชาติ เป็นความคุ้มค่ามากอยู่แล้วครับ
เมื่อเดือนที่แล้ว ได้มีโอกาสกลับไทยไปเยี่ยมศรีษะอโศก ที่อำเภอกันทรลักษน์ จังหวัดศรีสะเกษ ชมสวนพืชผักอินทรีย์และปลอดสารพิษ ยาแผนโบราณทำจากสมุนไพร และผลิตภัณฑ์อื่นๆจากธรรมชาติ ชมวิทยาลัยการอาชีพ รวมทั้งวิชาการแพทย์แผนไทย
ที่นี่เป็นตัวอย่างของการอยู่กับธรรมชาติอย่างแท้จริงสมบูรณ์และสมดุลย์ ผมได้พบปะสนทนากับผู้นำชุมชน และสมาชิกศรีษะอโศกหลายท่าน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เห็นรอยยิ้มที่เบิกบาน การพูดจากันด้วยความไพเราะ เป็นสิ่งที่ประทับใจมาก นอกจากชาวอโศกจะมีปรัชญาและการปฏิบัติที่ถูกต้องแล้ว ยังมีความใกล้ชิดกับป่าที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งอาจจะเอื้ออำนวยให้คนมีความสงบ ท่านผู้ใดไม่มีโอกาสได้ไปที่นั่น ผมขอแนะนำครับ
อีสานใต้บริเวณเทือกเขาพนมดงรักติดต่อชายแดนเขมร เป็นสภาพที่ต้นไม้ใหญ่ยังมีอยู่ และบริเวณหลายอำเภอรอบๆศรีษะอโศก เป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยมากเนื่องจากคุณภาพดินมีสารอาหารที่ดีและยังไม่ถูกทำลายโดยพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว ชาวบ้านแถบนี้ นิยมปลูกพืชสูงต่ำหลายประเภท สลับกันดูเหมือนเป็นป่ามากกว่าดูเป็นไร่
ผู้รู้หลายท่านแนะนำว่า เราควรปลูกต้นไม้หลายระดับความสูง เพื่อเป็นการสร้างป่าที่สมดุลย์ คือมีไม้ล้มลุกที่ใช้เป็นอาหารที่เราเด็ดได้ง่าย มีต้นไม้พุ่มขนาดเล็ก ต้นไม้ยืนต้นที่ไม่สูงมาก และมีไม้ยืนต้นสูงท่วมต้นไม้อื่น วิธีปลูกก็ต้องสลับพันธุ์พืชตามความสูงต่ำ เพราะไม่ต้องการให้ไม้ประเภทเดียวกันเเย่งแสงแดดกัน
แต่อย่างไรก็ตาม เกษตรกรโดยทั่วไปในบ้านเราก็ยังนิยมปลูกพืชล้มลุกเช่น มันสำปะหลัง อ้อย ข้าว หรือข้าวโพด ฯลฯ คือปลูกแบบใดแบบหนึ่งก็ล้วนๆโดยที่ไม่มีพืชยืนต้นอยู่ในสวนเลย สภาพดินจึงถูกทำลายทำให้ดินแห้งแล้ง และหน้าดินส่วนที่ดีก็ถูกน้ำท่วมกวาดเอาไปหมด
มีเพื่อนและรุ่นพี่หลายท่านที่เกษียณแล้วหันมาใช้ชีวิตกับธรรมชาติ ปลูกต้นไม้และทำสวนผักและผลไม้ฯลฯ ทุกครั้งที่ได้คุยกับชาวสวนกิตติมศักดิ์ทั้งหลาย ก็จะสัมผัสได้ชัดเจนเรื่องความสุขกายสบายใจความเบิกบาน และความไม่เครียด คนที่ชอบปลูกต้นไม้เจอกันไม่ต้องอธิบายอะไรมากก็รู้ว่า เป็นความสุขแท้ เสน่ห์ของการอยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติโดยเฉพาะต้นไม้ก็คือ เราจะมีอะไรให้เห็นแปลกใหม่ตลอดเวลา ไม่มีอะไรซ้ำเหมือนเดิมแม้แต่ครั้งเดียว ขณะที่เรากำลังนอนอยู่ธรรมชาติก็ผลิต ตื่นเช้ามาเดินเข้าไป สวนก็ยิ้มแฉ่งครับ
สำหรับท่านผู้อ่านที่สนใจลงทุนเพื่อผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ การปลูกแบบสวนผสมพืชยืนต้นคุ้มค่ามากครับ และความเสี่ยงน้อยมากเนื่องจากปัจจุบัน มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้เรามีการเตรียมตัวดีพอ และมีหลายฝ่ายช่วยเหลือ รวมทั้งการช่วยเรื่องการตลาด เพียงท่านให้ความสนใจศึกษาและลงมือทำอย่างตั้งใจ นโยบายของรัฐออกมาชัดเจนส่งเสริมให้คนปลูกป่ามากขึ้น ผลตอบแทนระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาวมีแน่นอนครับ หากท่านสนใจข้อมูลเพิ่มเติม ข้อมูลจากภาครัฐที่นี่ดีมากครับ http://forestinfo.forest.go.th/pfd/km1-1.aspx
สำหรับท่านที่มีทุน แต่ไม่อยากจะลงแรง ก็อาจหาพันธมิตรเกษตรกรลงปฏิบัติได้ครับ อบต.และฝ่ายปกครองท้องถิ่นพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือ ร่วมกับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ http://www.fio.co.th/fiopage/index.html ... รบถ้วนครับ
ขอเชียร์ให้ทุกท่านเริ่มปลูกต้นไม้และสร้างป่าไว้เป็นอนุสรณ์ให้ครอบครัวและจะเป็นสมบัติของโลกด้วยครับ
- theerasak24
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 621
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ลงทุนปลูกป่า สุขใจ ใด้เศรษฐกิจ/กฤษฏา บุญเรือง
โพสต์ที่ 2
ขอบคุณครับผมก็เริ่มปลูกแล้วเหมือนกันครับ ไว้เดินย่ำเท้าไปมารอบโคนต้นไม้หลังเกษียณ เพลินใจดีครับ ไม่ต้องวุ่นวายมากนักกับความเจริญที่เข้ามาหาเราทุกขณะครับ
"เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะยังคงทำสิ่งต่างๆ ต่อไปตราบใดที่มันยังให้ความรื่นรมย์และคุณก็ทำมันได้ดี"
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1339
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ลงทุนปลูกป่า สุขใจ ใด้เศรษฐกิจ/กฤษฏา บุญเรือง
โพสต์ที่ 3
เดือนที่แล้ว ลงต้นสักไป900ต้น พยูง500ต้น ตะเคียน100ต้น นอกนั้นเป็นชิงชัน มะค่าโมง มะค่าแหลม ยางนา ประดู่ อีก2-3ร้อยต้น
ดันเจอฝนแล้งช่วงนี้. ต้องเอาขวด1.5ลิตรมาปักโคนต้นให้นำ้ประทังไว้ก่อนจนกว่าฝนจะมา
รอดสัก50%ก็พอใจแล้ว
ดันเจอฝนแล้งช่วงนี้. ต้องเอาขวด1.5ลิตรมาปักโคนต้นให้นำ้ประทังไว้ก่อนจนกว่าฝนจะมา
รอดสัก50%ก็พอใจแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 874
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ลงทุนปลูกป่า สุขใจ ใด้เศรษฐกิจ/กฤษฏา บุญเรือง
โพสต์ที่ 4
ตะเคียน
ถ้าเป็นตะเคียนทอง อาจมีปัญหาเรื่องโรคแมลงกินยอดจนต้นตายได้
ตะเคียนทรายจะมีปัญหาน้อยกว่าฮะ
พะยูง
กว่าจะมีแก่นไม้ที่ใช้งานได้ก็น่าจะสามสิบปี
ผมเคยปลูกตั้งแต่ต้นเท่าดินสอจนคนโอบไม่รอบ
แต่โดนโค่นทิ้งไปแล้ว ไม่ทันดูว่ามีแก่นใหญ่แค่ไหน
ถ้าเป็นตะเคียนทอง อาจมีปัญหาเรื่องโรคแมลงกินยอดจนต้นตายได้
ตะเคียนทรายจะมีปัญหาน้อยกว่าฮะ
พะยูง
กว่าจะมีแก่นไม้ที่ใช้งานได้ก็น่าจะสามสิบปี
ผมเคยปลูกตั้งแต่ต้นเท่าดินสอจนคนโอบไม่รอบ
แต่โดนโค่นทิ้งไปแล้ว ไม่ทันดูว่ามีแก่นใหญ่แค่ไหน
samatah
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 148
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ลงทุนปลูกป่า สุขใจ ใด้เศรษฐกิจ/กฤษฏา บุญเรือง
โพสต์ที่ 6
เริ่มต้นปลูกไม่ยากครับ
แต่การดูแลที่จะทำให้ต้นไม้เติบโตได้ ยากกว่ามาก
อุปสรรคเยอะแยะ ต้องใช้ความพยายาม และความอดทนอย่างมาก โดยเฉพาะในระยะ 1-2 ปี แรก
แต่เมื่อได้เห็นต้นไม้ที่เราปลูกต้นใหญ่แล้ว จะคุ้มค่ามาก เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ยังไงก็ไม่ขาดทุน ถ้าไม่ยอมแพ้ก่อน
แต่การดูแลที่จะทำให้ต้นไม้เติบโตได้ ยากกว่ามาก
อุปสรรคเยอะแยะ ต้องใช้ความพยายาม และความอดทนอย่างมาก โดยเฉพาะในระยะ 1-2 ปี แรก
แต่เมื่อได้เห็นต้นไม้ที่เราปลูกต้นใหญ่แล้ว จะคุ้มค่ามาก เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ยังไงก็ไม่ขาดทุน ถ้าไม่ยอมแพ้ก่อน