Baby Boomer VS Gen Y/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
Baby Boomer VS Gen Y/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
ในช่วง 2-3 ปีมานี้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งที่รวดเร็วมากจนทำให้หลายคน “งง” ไปหมด นั่นคือการที่ “เด็ก” ที่มักจะไม่ได้มีบทบาทอะไรในสังคมไทย ออกมาเป็น “ผู้นำ” ในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นพิธีกร นักแสดง นักกีฬา ผู้ประกอบการในธุรกิจรุ่นใหม่บางอย่างที่ท้าทายและหลายครั้งเอาชนะคนรุ่นเก่าที่ “สูงอายุ” และมีบทบาทนำในสังคมมาช้านาน และสิ่งหนึ่งที่น่าทึ่งที่สุดก็คือการที่ “เด็ก” ออกมาเป็นผู้นำในการประท้วงทางการเมืองระดับชาติจนหลายคนเกรงว่าจะ “เปลี่ยนประเทศ” ไปในทางที่เด็กต้องการแต่คนรุ่นเก่าเห็นว่าเป็นภัยใหญ่หลวงและต้องป้องกันทุกวิถีทางซึ่งอาจจะเกิดการปะทะกันและกระทบต่อการปกครองและสถานะของประเทศในสายตาของประชาคมโลก
ผมเองคิดว่าปรากฏการนี้ เราไม่ควรเรียกว่าเป็นเรื่องของ “เด็ก” เพราะที่จริงแล้วพวกเขาเป็นผู้ใหญ่แล้วทั้งทางร่างกายและจิตใจ ส่วนใหญ่บรรลุนิติภาวะแล้ว เพียงแต่พวกเขาอายุยังน้อยกว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่นั่นก็อาจจะชดเชยได้ด้วยความรู้ที่ก้าวหน้าและแตกต่างจากคนรุ่นเก่าที่มักจะถูกจำกัดด้วยเทคโนโลยีและอำนาจของรัฐ พวกเขาไม่ใช่เด็ก แต่เป็นคนที่นักสังคมวิทยาเรียกว่าเป็นคน “Gen Y” ดังนั้น เราควรมาวิเคราะห์ดูว่าปรากฏการครั้งนี้ในที่สุดจะดำเนินต่อไปอย่างไร อนาคตของเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของไทยจะไปทางไหน แต่ก่อนอื่น เราจะต้องเข้าใจเรื่องและธรรมชาติของคนแต่ละกลุ่มหรือแต่ละเจนก่อน
Generation แรกก็คือ “Baby Boomer” นี่คือคนที่เกิดที่เกิดปี 1946-1964 หรืออายุตอนนี้ 56-74 ปี เป็นคนที่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่จำนวนคนในโลกเกิดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และนี่คือโลกในยุคอุตสาหกรรมที่มีการผลิตสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันเช่นเครื่องใช้ไฟฟ้าและรถยนต์เพิ่มขึ้นมาก เช่นเดียวกับการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานต่าง ๆ เช่น ถนนหนทาง ไฟฟ้าและน้ำประปาเป็นต้น ในทางการเมืองเองนั้น นี่คือยุคของ “สงครามเย็น” ที่มีการต่อสู้ทางความคิดระหว่างคอมมิวนิสต์กับทุนนิยมอย่างรุนแรง ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างหนึ่งก็คือ มีการ “โฆษณาชวนเชื่อ” อย่างรุนแรงระดับ “ล้างสมอง” ของคนทั้งประเทศเพื่อที่จะเอาชนะคอมมิวนิสต์ ผลก็คือ ความคิดของคนที่เกิดในยุคนี้มีความคล้ายคลึงกันมากและมักจะเป็นคนที่มีความเป็น “อนุรักษ์นิยม” สูงมาก
ยุคที่สองก็คือคน Gen X นี่คือคนที่เกิดในปี 1965-1980 หรืออายุระหว่าง 40-55 ปีในวันนี้ นี่คือคนกลุ่มที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่เมื่อตอนเป็นเด็กเพราะพ่อแม่ต่างก็ไปทำงานกันทั้งคู่ อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็มีชีวิตอยู่ในครอบครัวที่เริ่มจะรวยและมักใช้ชีวิตสมดุลกว่าคนยุคเบบี้บูมที่ทำงานหนักกว่า คนเจนนี้มักจะมีความคิดเป็นอิสระ ไม่ค่อยยึดถือกรอบประเพณีแบบดั้งเดิม เป็นกลุ่มคนที่มีความคิดแบบผู้ประกอบการ แต่ถ้าจะพูดว่าคุณกลุ่มนี้มีแนวคิดที่เป็นจุดเด่นแบบไหนก็อาจจะบอกชัดเจนได้ยาก ดังนั้น พวกเขาจึงถูกตั้งชื่อว่าเป็น เจน “X” คือยุคที่ไม่รู้ว่าควรจะเป็นอย่างไร แต่มีความคิดที่แปลกและผิดเพี้ยนไปจากคนกลุ่มเบบี้บูม บางคนบอกว่าพวกเจน X มีแนวคิด “ปฏิวัติ” อย่างเช่นในอังกฤษที่คนรุ่นนี้มักไม่สนใจหรือมองสถาบันกษัตริย์ในมุมที่แตกต่างจากคนรุ่นก่อน เป็นต้น
ยุคที่สามคือคน Gen Y นี่คือคนที่เป็นลูกของคนยุคเบบี้บูมและพวกเจน X ตอนต้น พวกเขาเกิดในช่วงปี 1981-1996 ตอนนี้ก็อายุ 24-39 ปี นี่คือคนยุคแรกที่ใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ ใช้กูเกิลค้นหาข้อมูล และติดต่อสื่อสารด้วยสื่อสังคมสมัยใหม่ พวกเขาถูกเรียกว่าเป็น “Digital Native” คือ “เกิดในโลกยุคดิจิตอล” ดังนั้น จึงคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลมาก อย่างไรก็ตาม พวกเขาต้องเจอกับวิกฤติเศรษฐกิจหลายครั้งซึ่งก่อให้เกิดการตกงานหรือประสบความยากลำบากจากภาวะเศรษฐกิจ เพราะเวลาเกิดปัญหา คนหนุ่มสาวมักจะไม่มีงานทำหรือตกงานมากกว่าคนที่สูงอายุกว่า อีกอย่างหนึ่งที่ไม่เหมือนคนยุคก่อนก็คือ คนเจน Y นั้น มักจะไม่สนใจทำงานกับสถาบันหรือบริษัทขนาดใหญ่และชอบที่จะทำงานเป็นอิสระอานิสงค์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิตอลที่ทำให้พวกเขาสามารถทำงานอิสระหรือทำธุรกิจเองได้ง่าย ในด้านของสังคมเองนั้น คนเจน Y มักจะมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง กล้ายืนยันในความคิดของตนเอง
ผมคงไม่พูดถึงคน Gen Z ที่มีอายุ 8-23 ปีในวันนี้ซึ่งส่วนใหญ่ก็ยังเป็นเด็กอยู่ เพราะพวกที่โตพอถึงอายุ 18 ปีแล้วก็จะมีแนวความคิดคล้ายคน Gen Y ในขณะนี้ เพียงแต่จะแรงกว่าเนื่องจากเกิดมาก็เจอกับโลกของดิจิตอลที่สมบูรณ์แล้ว
ในประเทศไทยเองนั้น ตัวเลขประชากรบอกเราว่าในปัจจุบัน เรามีคนรุ่นเบบี้บูมประมาณ 11.8 ล้านคน โดยคนที่อายุน้อยที่สุดที่ 56 ปีมีประมาณ 9 แสนคน และคนอายุสูงที่สุดที่ 74 ปีมีประมาณ 3 แสนคน และคนทั้งหมดนี้ผมตั้งสมมุติฐานว่ายังคง Active และทำงานในระดับหนึ่ง ที่สำคัญยังมีบทบาทสูงมากในแทบทุกวงการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการเมืองและสิ่งที่เกี่ยวข้องและการเป็นผู้นำสูงสุดทางด้านธุรกิจจำนวนมาก
คนรุ่น เจน X นั้นเป็นรุ่นที่เด็กเกิดในแต่ละปีสูงสุดถึงปีละประมาณ 1 ล้านคน ทำให้มีคนที่เป็นเจน X ถึง 16.4 ล้านคน และในช่วงเวลานี้น่าจะเป็นคนที่มีรายได้สูงสุดและใช้จ่ายมากที่สุด อย่างไรก็ตาม บทบาทของคนเจน X ที่โดดเด่นกลับดูเหมือนว่าจะเป็นรองคนยุคเบบี้บูมอยู่มาก นอกจากนั้น ความคิดของคนเจน X เองก็ดูไม่ชัดเจนว่าพวกเขามีแนวคิดแบบไหน ดูเหมือนว่าน่าจะผสมผสานระหว่างการเป็นเสรีนิยมกับอนุรักษ์นิยม อานิสงค์สำคัญจากการที่สงครามเย็นสงบลงและแนวคิดแบบเสรีนิยมและกระแสของการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก
คนเจน Y ที่เกิดในแต่ละปีนั้น ยังมีจำนวนสูงเกือบ 1 ล้านคนน้อยกว่าเจน X เล็กน้อย ดังนั้น พวกเขาก็มีจำนวนพอ ๆ กับเจน X คือประมาณ 15.2 ล้านคน อย่างไรก็ตาม คนเจน Z ตอนต้น คือคนที่มีอายุตั้งแต่ 18 จนถึง 23 ปี นั้น ผมคิดว่าพวกเขาก็มีแนวความคิดและความเชื่อคล้ายกับคนเจน Y มาก อานิสงค์จากอิทธิพลของอินเตอร์เน็ตและสื่อสังคมรุ่นใหม่ที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้เรียนรู้โลกอย่างเสรีอย่างเต็มที่ โดยที่คนในกลุ่มนี้มีรวมกันประมาณ 5.3 ล้านคน เมื่อรวมกับคนเจน Y ก็ทำให้คนกลุ่มนี้มีเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 20.5 ล้านคน กลายเป็นกลุ่มคนขนาดใหญ่ที่สุดและมากกว่ากลุ่มเบบี้บูมกว่า 73% และนี่ก็อาจจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้คนเจน Y มีบทบาทที่เติบโตแบบก้าวกระโดดในช่วงเร็ว ๆ นี้
ถ้าเรามองไปข้างหน้าและตั้งสมมุติฐานว่าคนในแต่ละเจนนั้น มีมุมมองและความคิดแบบเดิมตามที่เป็นอยู่ในขณะนี้ แล้วปล่อยให้เวลาเดินไปอะไรจะเกิดขึ้น?
ในเวลาอีก 2 ปีข้างหน้าประเทศไทยก็น่าจะมีการเลือกตั้งซึ่งจะบ่งชี้ว่ารัฐบาลจะมีแนวโน้มไปทางไหนถ้าสมมุติว่าผู้ชนะการเลือกตั้งสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ตามเสียงของผู้แทนราษฎร เราก็จะพบว่าจำนวนของเบบี้บูมก็จะเหลือเพียง 11.1 ล้านคนเพราะคนรุ่นเบบี้บูมจะ “หายไป” เนื่องจากการตายหรือหมดความสามารถหรือไม่อยากที่จะไปเลือกตั้งแล้วประมาณ 6.5 แสนคน ในทางตรงกันข้าม คนเจน Y และ Z ที่มีอายุครบ 18 ปีขึ้นไป กลับมีมากขึ้นอีก 1.6 ล้านคนทำให้มีจำนวนคนที่มีสิทธิเลือกตั้งถึง 22.1 ล้านคน หรือประมาณ 2 เท่าของกลุ่มเบบี้บูม ซึ่งถ้าผู้แทนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ก็จะทำให้ประเทศเปลี่ยนแปลงไปตามแนวคิดของเจน Y เร็วขึ้น
มองไปข้างหน้าที่ไกลไปกว่านั้น ในอีก 5 ปีข้างหน้า คนรุ่นเบบี้บูมที่ยังมีกำลังวังชาพอที่จะมีบทบาทในด้านต่าง ๆ ก็จะลดลงไปประมาณ 2.4 ล้านคนเหลือแค่ 9.4 ล้านคน ในขณะที่คนเจน Y และ Z ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในวันนี้จะเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 4 ล้านคนกลายเป็น 24.5 ล้านคน บทบาทในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของคนเจน Y+Z กลุ่มนี้ จะสูงกว่าคนรุ่นเบบี้บูมอย่างเทียบกันไม่ได้เลย
แต่ถ้าบอกว่าอนาคตระยะยาวของประเทศไทยอีก 10 ปีข้างหน้าล่ะ ประเทศไทยจะมีหน้าตาอย่างไร? คนรุ่นเบบี้บูมในวันนี้จะลดลงไปถึง 5 ล้านคนหรือเกือบครึ่งหนึ่ง เหลือเพียง 6.8 ล้านคน ในทางตรงกันข้าม คนเจน Y+Zที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในวันนี้จะมีคนเพิ่มขึ้นถึง 7.9 ล้านคน ทำให้คนกลุ่มนี้มีมากถึง 28.4 ล้านคน หรือเป็น 4 เท่าของคนรุ่นเบบี้บูม ถึงวันนั้น อิทธิพล แนวความคิดและ “วัฒนธรรม” ที่เป็นของคนรุ่นเบบี้บูมในวันนี้ที่อยู่กับสังคมไทยมานานหลายสิบปีก็คงจะหมดไปถ้าเราตั้งสมมุติฐานว่าคนรุ่นเจน X นั้นไม่ได้มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปจากการที่เป็นเจนที่มีจุดยืนกลาง ๆ ที่ไม่ “ซ้ายหรือขวา” คือไม่ติดยึดอะไรมากและพร้อมที่จะปรับตัวไปกับกระแสใหม่ ๆ ของไทยและโลก ความรู้สึกลึก ๆ ของผมก็คือ ภายใน 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยอาจจะเปลี่ยนไปแบบจำแทบไม่ได้
ผมเองคิดว่าปรากฏการนี้ เราไม่ควรเรียกว่าเป็นเรื่องของ “เด็ก” เพราะที่จริงแล้วพวกเขาเป็นผู้ใหญ่แล้วทั้งทางร่างกายและจิตใจ ส่วนใหญ่บรรลุนิติภาวะแล้ว เพียงแต่พวกเขาอายุยังน้อยกว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศ แต่นั่นก็อาจจะชดเชยได้ด้วยความรู้ที่ก้าวหน้าและแตกต่างจากคนรุ่นเก่าที่มักจะถูกจำกัดด้วยเทคโนโลยีและอำนาจของรัฐ พวกเขาไม่ใช่เด็ก แต่เป็นคนที่นักสังคมวิทยาเรียกว่าเป็นคน “Gen Y” ดังนั้น เราควรมาวิเคราะห์ดูว่าปรากฏการครั้งนี้ในที่สุดจะดำเนินต่อไปอย่างไร อนาคตของเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของไทยจะไปทางไหน แต่ก่อนอื่น เราจะต้องเข้าใจเรื่องและธรรมชาติของคนแต่ละกลุ่มหรือแต่ละเจนก่อน
Generation แรกก็คือ “Baby Boomer” นี่คือคนที่เกิดที่เกิดปี 1946-1964 หรืออายุตอนนี้ 56-74 ปี เป็นคนที่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่จำนวนคนในโลกเกิดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และนี่คือโลกในยุคอุตสาหกรรมที่มีการผลิตสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันเช่นเครื่องใช้ไฟฟ้าและรถยนต์เพิ่มขึ้นมาก เช่นเดียวกับการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานต่าง ๆ เช่น ถนนหนทาง ไฟฟ้าและน้ำประปาเป็นต้น ในทางการเมืองเองนั้น นี่คือยุคของ “สงครามเย็น” ที่มีการต่อสู้ทางความคิดระหว่างคอมมิวนิสต์กับทุนนิยมอย่างรุนแรง ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างหนึ่งก็คือ มีการ “โฆษณาชวนเชื่อ” อย่างรุนแรงระดับ “ล้างสมอง” ของคนทั้งประเทศเพื่อที่จะเอาชนะคอมมิวนิสต์ ผลก็คือ ความคิดของคนที่เกิดในยุคนี้มีความคล้ายคลึงกันมากและมักจะเป็นคนที่มีความเป็น “อนุรักษ์นิยม” สูงมาก
ยุคที่สองก็คือคน Gen X นี่คือคนที่เกิดในปี 1965-1980 หรืออายุระหว่าง 40-55 ปีในวันนี้ นี่คือคนกลุ่มที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่เมื่อตอนเป็นเด็กเพราะพ่อแม่ต่างก็ไปทำงานกันทั้งคู่ อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็มีชีวิตอยู่ในครอบครัวที่เริ่มจะรวยและมักใช้ชีวิตสมดุลกว่าคนยุคเบบี้บูมที่ทำงานหนักกว่า คนเจนนี้มักจะมีความคิดเป็นอิสระ ไม่ค่อยยึดถือกรอบประเพณีแบบดั้งเดิม เป็นกลุ่มคนที่มีความคิดแบบผู้ประกอบการ แต่ถ้าจะพูดว่าคุณกลุ่มนี้มีแนวคิดที่เป็นจุดเด่นแบบไหนก็อาจจะบอกชัดเจนได้ยาก ดังนั้น พวกเขาจึงถูกตั้งชื่อว่าเป็น เจน “X” คือยุคที่ไม่รู้ว่าควรจะเป็นอย่างไร แต่มีความคิดที่แปลกและผิดเพี้ยนไปจากคนกลุ่มเบบี้บูม บางคนบอกว่าพวกเจน X มีแนวคิด “ปฏิวัติ” อย่างเช่นในอังกฤษที่คนรุ่นนี้มักไม่สนใจหรือมองสถาบันกษัตริย์ในมุมที่แตกต่างจากคนรุ่นก่อน เป็นต้น
ยุคที่สามคือคน Gen Y นี่คือคนที่เป็นลูกของคนยุคเบบี้บูมและพวกเจน X ตอนต้น พวกเขาเกิดในช่วงปี 1981-1996 ตอนนี้ก็อายุ 24-39 ปี นี่คือคนยุคแรกที่ใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ ใช้กูเกิลค้นหาข้อมูล และติดต่อสื่อสารด้วยสื่อสังคมสมัยใหม่ พวกเขาถูกเรียกว่าเป็น “Digital Native” คือ “เกิดในโลกยุคดิจิตอล” ดังนั้น จึงคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลมาก อย่างไรก็ตาม พวกเขาต้องเจอกับวิกฤติเศรษฐกิจหลายครั้งซึ่งก่อให้เกิดการตกงานหรือประสบความยากลำบากจากภาวะเศรษฐกิจ เพราะเวลาเกิดปัญหา คนหนุ่มสาวมักจะไม่มีงานทำหรือตกงานมากกว่าคนที่สูงอายุกว่า อีกอย่างหนึ่งที่ไม่เหมือนคนยุคก่อนก็คือ คนเจน Y นั้น มักจะไม่สนใจทำงานกับสถาบันหรือบริษัทขนาดใหญ่และชอบที่จะทำงานเป็นอิสระอานิสงค์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิตอลที่ทำให้พวกเขาสามารถทำงานอิสระหรือทำธุรกิจเองได้ง่าย ในด้านของสังคมเองนั้น คนเจน Y มักจะมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง กล้ายืนยันในความคิดของตนเอง
ผมคงไม่พูดถึงคน Gen Z ที่มีอายุ 8-23 ปีในวันนี้ซึ่งส่วนใหญ่ก็ยังเป็นเด็กอยู่ เพราะพวกที่โตพอถึงอายุ 18 ปีแล้วก็จะมีแนวความคิดคล้ายคน Gen Y ในขณะนี้ เพียงแต่จะแรงกว่าเนื่องจากเกิดมาก็เจอกับโลกของดิจิตอลที่สมบูรณ์แล้ว
ในประเทศไทยเองนั้น ตัวเลขประชากรบอกเราว่าในปัจจุบัน เรามีคนรุ่นเบบี้บูมประมาณ 11.8 ล้านคน โดยคนที่อายุน้อยที่สุดที่ 56 ปีมีประมาณ 9 แสนคน และคนอายุสูงที่สุดที่ 74 ปีมีประมาณ 3 แสนคน และคนทั้งหมดนี้ผมตั้งสมมุติฐานว่ายังคง Active และทำงานในระดับหนึ่ง ที่สำคัญยังมีบทบาทสูงมากในแทบทุกวงการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการเมืองและสิ่งที่เกี่ยวข้องและการเป็นผู้นำสูงสุดทางด้านธุรกิจจำนวนมาก
คนรุ่น เจน X นั้นเป็นรุ่นที่เด็กเกิดในแต่ละปีสูงสุดถึงปีละประมาณ 1 ล้านคน ทำให้มีคนที่เป็นเจน X ถึง 16.4 ล้านคน และในช่วงเวลานี้น่าจะเป็นคนที่มีรายได้สูงสุดและใช้จ่ายมากที่สุด อย่างไรก็ตาม บทบาทของคนเจน X ที่โดดเด่นกลับดูเหมือนว่าจะเป็นรองคนยุคเบบี้บูมอยู่มาก นอกจากนั้น ความคิดของคนเจน X เองก็ดูไม่ชัดเจนว่าพวกเขามีแนวคิดแบบไหน ดูเหมือนว่าน่าจะผสมผสานระหว่างการเป็นเสรีนิยมกับอนุรักษ์นิยม อานิสงค์สำคัญจากการที่สงครามเย็นสงบลงและแนวคิดแบบเสรีนิยมและกระแสของการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก
คนเจน Y ที่เกิดในแต่ละปีนั้น ยังมีจำนวนสูงเกือบ 1 ล้านคนน้อยกว่าเจน X เล็กน้อย ดังนั้น พวกเขาก็มีจำนวนพอ ๆ กับเจน X คือประมาณ 15.2 ล้านคน อย่างไรก็ตาม คนเจน Z ตอนต้น คือคนที่มีอายุตั้งแต่ 18 จนถึง 23 ปี นั้น ผมคิดว่าพวกเขาก็มีแนวความคิดและความเชื่อคล้ายกับคนเจน Y มาก อานิสงค์จากอิทธิพลของอินเตอร์เน็ตและสื่อสังคมรุ่นใหม่ที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้เรียนรู้โลกอย่างเสรีอย่างเต็มที่ โดยที่คนในกลุ่มนี้มีรวมกันประมาณ 5.3 ล้านคน เมื่อรวมกับคนเจน Y ก็ทำให้คนกลุ่มนี้มีเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 20.5 ล้านคน กลายเป็นกลุ่มคนขนาดใหญ่ที่สุดและมากกว่ากลุ่มเบบี้บูมกว่า 73% และนี่ก็อาจจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้คนเจน Y มีบทบาทที่เติบโตแบบก้าวกระโดดในช่วงเร็ว ๆ นี้
ถ้าเรามองไปข้างหน้าและตั้งสมมุติฐานว่าคนในแต่ละเจนนั้น มีมุมมองและความคิดแบบเดิมตามที่เป็นอยู่ในขณะนี้ แล้วปล่อยให้เวลาเดินไปอะไรจะเกิดขึ้น?
ในเวลาอีก 2 ปีข้างหน้าประเทศไทยก็น่าจะมีการเลือกตั้งซึ่งจะบ่งชี้ว่ารัฐบาลจะมีแนวโน้มไปทางไหนถ้าสมมุติว่าผู้ชนะการเลือกตั้งสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ตามเสียงของผู้แทนราษฎร เราก็จะพบว่าจำนวนของเบบี้บูมก็จะเหลือเพียง 11.1 ล้านคนเพราะคนรุ่นเบบี้บูมจะ “หายไป” เนื่องจากการตายหรือหมดความสามารถหรือไม่อยากที่จะไปเลือกตั้งแล้วประมาณ 6.5 แสนคน ในทางตรงกันข้าม คนเจน Y และ Z ที่มีอายุครบ 18 ปีขึ้นไป กลับมีมากขึ้นอีก 1.6 ล้านคนทำให้มีจำนวนคนที่มีสิทธิเลือกตั้งถึง 22.1 ล้านคน หรือประมาณ 2 เท่าของกลุ่มเบบี้บูม ซึ่งถ้าผู้แทนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ก็จะทำให้ประเทศเปลี่ยนแปลงไปตามแนวคิดของเจน Y เร็วขึ้น
มองไปข้างหน้าที่ไกลไปกว่านั้น ในอีก 5 ปีข้างหน้า คนรุ่นเบบี้บูมที่ยังมีกำลังวังชาพอที่จะมีบทบาทในด้านต่าง ๆ ก็จะลดลงไปประมาณ 2.4 ล้านคนเหลือแค่ 9.4 ล้านคน ในขณะที่คนเจน Y และ Z ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในวันนี้จะเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 4 ล้านคนกลายเป็น 24.5 ล้านคน บทบาทในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของคนเจน Y+Z กลุ่มนี้ จะสูงกว่าคนรุ่นเบบี้บูมอย่างเทียบกันไม่ได้เลย
แต่ถ้าบอกว่าอนาคตระยะยาวของประเทศไทยอีก 10 ปีข้างหน้าล่ะ ประเทศไทยจะมีหน้าตาอย่างไร? คนรุ่นเบบี้บูมในวันนี้จะลดลงไปถึง 5 ล้านคนหรือเกือบครึ่งหนึ่ง เหลือเพียง 6.8 ล้านคน ในทางตรงกันข้าม คนเจน Y+Zที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในวันนี้จะมีคนเพิ่มขึ้นถึง 7.9 ล้านคน ทำให้คนกลุ่มนี้มีมากถึง 28.4 ล้านคน หรือเป็น 4 เท่าของคนรุ่นเบบี้บูม ถึงวันนั้น อิทธิพล แนวความคิดและ “วัฒนธรรม” ที่เป็นของคนรุ่นเบบี้บูมในวันนี้ที่อยู่กับสังคมไทยมานานหลายสิบปีก็คงจะหมดไปถ้าเราตั้งสมมุติฐานว่าคนรุ่นเจน X นั้นไม่ได้มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปจากการที่เป็นเจนที่มีจุดยืนกลาง ๆ ที่ไม่ “ซ้ายหรือขวา” คือไม่ติดยึดอะไรมากและพร้อมที่จะปรับตัวไปกับกระแสใหม่ ๆ ของไทยและโลก ความรู้สึกลึก ๆ ของผมก็คือ ภายใน 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยอาจจะเปลี่ยนไปแบบจำแทบไม่ได้
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1399
- ผู้ติดตาม: 1
Re: Baby Boomer VS Gen Y/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 2
- ผมเป็น gen x ตอนปลาย เกิดมากับครอบครัวยากจนสุดขีด
- อายุ 17 ก็เริ่มเขียนโปรแกรม ตลอด 15 ปีนับจากจบป.ตรี อยู่หน้าคอมมากกว่าดูหน้าเมีย
เวลา 8-15 ชม.อยู่กับคอม แต่หลังสุขภาพไม่ดีต้องลดลง
- เสรีนิยม ไม่ชอบความไม่เท่าเทียมและโดยเฉพาะเรื่องการใช้กระบวนการยุติธรรมที่เองเอียง
- ไม่เชื่อเรื่องปริญญาโท เอก จึงไม่เรียนต่อ
2 ปีเด็กๆอาจจะไม่ชนะ อีก 5 ปีชนะแน่นอน จะ compromise วันนี้ยังมีที่พอได้ อีก 5-10 ปีจะไม่มีพื้นที่ให้ compromise อะไรที่เอาของหลวงไปเป็นของตัวเอง ต้องทวงคืนทั้งหมด
อย่าให้จบด้วยความรุนแรงเลย วันนี้ยังมีเวลาคุยกัน
ประเทศจะเจริญได้เมื่อกฎหมายศักดิ์สิทธิ์ และกฎหมายต้องเขียนด้วยนักปรัชญา ไม่ใช่ด้วยนักปกครอง ผมเรียนกฎหมายผมชอบมากเมื่อก่อนนักกฎหมายมีทั้งนักวิทยาศาตร์ระดับโลก เช่น อลิสโตเติล มุมมองเฉียบแหลม ทุกวันนี้ไทยเอาพวกขี้โกงเขียนกฎหมาย
เล่าให้ฟังว่า gen x ตอนปลายคิดยังไงครับ
- อายุ 17 ก็เริ่มเขียนโปรแกรม ตลอด 15 ปีนับจากจบป.ตรี อยู่หน้าคอมมากกว่าดูหน้าเมีย
เวลา 8-15 ชม.อยู่กับคอม แต่หลังสุขภาพไม่ดีต้องลดลง
- เสรีนิยม ไม่ชอบความไม่เท่าเทียมและโดยเฉพาะเรื่องการใช้กระบวนการยุติธรรมที่เองเอียง
- ไม่เชื่อเรื่องปริญญาโท เอก จึงไม่เรียนต่อ
2 ปีเด็กๆอาจจะไม่ชนะ อีก 5 ปีชนะแน่นอน จะ compromise วันนี้ยังมีที่พอได้ อีก 5-10 ปีจะไม่มีพื้นที่ให้ compromise อะไรที่เอาของหลวงไปเป็นของตัวเอง ต้องทวงคืนทั้งหมด
อย่าให้จบด้วยความรุนแรงเลย วันนี้ยังมีเวลาคุยกัน
ประเทศจะเจริญได้เมื่อกฎหมายศักดิ์สิทธิ์ และกฎหมายต้องเขียนด้วยนักปรัชญา ไม่ใช่ด้วยนักปกครอง ผมเรียนกฎหมายผมชอบมากเมื่อก่อนนักกฎหมายมีทั้งนักวิทยาศาตร์ระดับโลก เช่น อลิสโตเติล มุมมองเฉียบแหลม ทุกวันนี้ไทยเอาพวกขี้โกงเขียนกฎหมาย
เล่าให้ฟังว่า gen x ตอนปลายคิดยังไงครับ
มาคุยกันได้ที่นี่ครับ https://www.facebook.com/value.investing.freedom
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2770
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Baby Boomer VS Gen Y/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 3
ผมน่าจะอยู่ประมาณปลายๆ gen x เหมือนกัน (ไม่ทันแบบเรียน มานีมานะ เป็นรุ่นแรกที่ใช้แก้วกับกล้า)
แต่คนในรุ่นผมมีทั้งเสรีนิยมสุดๆ จนถึงอนุรักษ์นิยมสุดๆ น่าจะพอๆกัน ผมรู้สึกเหมือนกันว่าคนรุ่นผมเป็นอะไรที่รวมกลุ่มกันไม่ได้ มีทั้งคนชอบอำนาจนิยม เช่นการรับน้อง การเข้าระบบโซตัส หลายคนพยายามดึงรั้งระบบดั้งเดิมเอาไว้ทั้งๆที่อาจไม่ตอบโจทย์ในอนาคต แต่ถ้าระบบหายไปก็เหมือนจะขาดที่ยึดมั่นทางจิตใจเลยต้องรักษาไว้
ส่วนคนที่ไม่เห็นด้วยก็ไม่ได้รวมกลุ่มกันต่อต้าน ใช้แต่พลังเงียบไม่ไปสุงสิงด้วย สุดท้ายก็ไม่ได้ช่วยอะไรกับสังคมอยู่ดี
เป็นแบบนี้อยู่นานหลายปี ตั้งแต่สมัยประถม มัธยม มหาลัย ทำงาน แนวคิดอนุรักษ์นิยม vs เสรีนิยม เป็นสิ่งที่หลอกหลอนชาว gen x มาโดยตลอด
ถ้ามองมุมนี้ พวก gen y หรือที่ผมชอบเรียกว่า millenials ตามยุคสมัยที่เกิด นั้นจะชัดกว่าด้านความเป็นเสรีนิยม มีการรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องสิทธิของคนอื่น เหตุการณ์เช่นนี้เกิดทั้งในไทยและต่างประเทศ เป็นเหมือนจิตวิญญาณแห่งยุคสมัย (Zeitgeist) แสดงออกถึงทั้งชีวิต สังคม การเมือง และการลงทุน
จะเห็นว่าชาว millennials นี้จะลงทุนไม่หมือนยุคก่อนๆ สมัยรุ่นผมรับความเสี่ยงได้พอประมาณ การใช้ peg ลงทุนถือว่ามีความเสี่ยงสูง แต่เด็กสมัยนี้มองการลงทุนโดยไม่ดู pe, peg กันแล้ว ดูกันที่ ps, market cap กันเป็นหลัก มองอนาคตกันเป็นหลักสิบปี เรียกได้ว่า moon shot นั้นเป็นมาตรฐาน และ mars shot คืออนาคต
แต่คนในรุ่นผมมีทั้งเสรีนิยมสุดๆ จนถึงอนุรักษ์นิยมสุดๆ น่าจะพอๆกัน ผมรู้สึกเหมือนกันว่าคนรุ่นผมเป็นอะไรที่รวมกลุ่มกันไม่ได้ มีทั้งคนชอบอำนาจนิยม เช่นการรับน้อง การเข้าระบบโซตัส หลายคนพยายามดึงรั้งระบบดั้งเดิมเอาไว้ทั้งๆที่อาจไม่ตอบโจทย์ในอนาคต แต่ถ้าระบบหายไปก็เหมือนจะขาดที่ยึดมั่นทางจิตใจเลยต้องรักษาไว้
ส่วนคนที่ไม่เห็นด้วยก็ไม่ได้รวมกลุ่มกันต่อต้าน ใช้แต่พลังเงียบไม่ไปสุงสิงด้วย สุดท้ายก็ไม่ได้ช่วยอะไรกับสังคมอยู่ดี
เป็นแบบนี้อยู่นานหลายปี ตั้งแต่สมัยประถม มัธยม มหาลัย ทำงาน แนวคิดอนุรักษ์นิยม vs เสรีนิยม เป็นสิ่งที่หลอกหลอนชาว gen x มาโดยตลอด
ถ้ามองมุมนี้ พวก gen y หรือที่ผมชอบเรียกว่า millenials ตามยุคสมัยที่เกิด นั้นจะชัดกว่าด้านความเป็นเสรีนิยม มีการรวมตัวกันเพื่อเรียกร้องสิทธิของคนอื่น เหตุการณ์เช่นนี้เกิดทั้งในไทยและต่างประเทศ เป็นเหมือนจิตวิญญาณแห่งยุคสมัย (Zeitgeist) แสดงออกถึงทั้งชีวิต สังคม การเมือง และการลงทุน
จะเห็นว่าชาว millennials นี้จะลงทุนไม่หมือนยุคก่อนๆ สมัยรุ่นผมรับความเสี่ยงได้พอประมาณ การใช้ peg ลงทุนถือว่ามีความเสี่ยงสูง แต่เด็กสมัยนี้มองการลงทุนโดยไม่ดู pe, peg กันแล้ว ดูกันที่ ps, market cap กันเป็นหลัก มองอนาคตกันเป็นหลักสิบปี เรียกได้ว่า moon shot นั้นเป็นมาตรฐาน และ mars shot คืออนาคต
Vi IMrovised
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 289
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Baby Boomer VS Gen Y/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 4
ผมก็เจน X ปลายครับ เกิดมาจากครอบครัวคนจีนอพยพ ได้รับการศึกษาถึงป.ตรีหลังจากนั้นต้องขวนขวายเอง รุ่นผมเรียนต่อโทกันเยอะมากทั้งในและต่างประเทศ
ผมโตมาจากการต้องดูแลตัวเองเนื่องจากเข้ามาเรียนกรุงเทพตั้งแต่อายุ 12 กับพี่ๆ ขณะที่พ่อแม่ต้องหากินอยู่ต่างจังหวัด ต้องดูแลตัวเอง คิดเอง รับผิดชอบเองเกือบทุกเรื่องยกเว้นเรื่องเงินที่พ่อแม่ให้ใช้จ่าย เลยทำให้เป็นคนที่รักความอิสระสูง เป็นตัวของตัวเอง หรือที่เขาเรียกว่าเอาแต่ใจในบางครั้ง
สิ่งต่างๆเหล่านั้นเลยหล่อหลอมให้ผมชอบใช้ชีวิตแบบวีไอ เพราะอิสระสูงไม่ต้องขึ้นกับใคร แต่หลังจากผมใช้ชีวิตแบบเปลี่ยนอาชีพไปเรื่อยเพื่อหาตัวเองยี่สิบกว่าปีหลังจากเรียนจบ จนบางครั้งย้อนหลังกลับไปดูเหมือนเอาดีไม่ได้สักอาชีพ555
ตอนมาพบอาชีพวีไอ fulltime ก็ไม่เหมือนคนอื่น ที่ส่วนใหญ่เขาจะสร้างพอร์ตจนมีอิสระภาพทางการเงินระดับหนึ่งแล้ว แต่ผมตอนนั้นเงินเก็บน้อยมากแต่ด้วยความอิ่มกับหลากหลายอาชีพและตอนนั้นไม่มีครอบครัว จึงทำแบบไม่ได้คิดมากหรือที่คนหลายคนเรียกว่าบ้าหรือไม่รอบคอบ ไม่มีความมั่นคง
ความคิดเห็นเรื่องเสรีนิยมก็คงสูงในชีวิตส่วนตัว แต่ในระบบสังคมใหญ่กลับผสมผสาน ชอบดูเป็นเรื่องๆไปมากกว่าเพราะแต่ละยุคสมัยมันก็มีข้อดีและข้อเสียผสมกันไป ในความเป็นจริงมันคงไม่มีระบบไหนที่ดีสมบูรณ์แบบ คงต้องดูเหตุและผลในแต่ละประเด็นๆไปว่ามันเหมาะสมกับคนไทยและบริบทของเราหรือไหม เพราะทุกสิ่งมันเป็นแค่ความคิดความเชื่อซึ่งอาจถูกผิดตามการเวลาที่เปลี่ยนไป มันอาจดีในปัจุบันแต่อาจไม่ดีในสองสามปีข้างหน้าก็ได้ เลยไม่อยากยึดติดกับมันมากไปและเป็นการฝึกการปล่อยวางจากความคิดด้วย
ผมโตมาจากการต้องดูแลตัวเองเนื่องจากเข้ามาเรียนกรุงเทพตั้งแต่อายุ 12 กับพี่ๆ ขณะที่พ่อแม่ต้องหากินอยู่ต่างจังหวัด ต้องดูแลตัวเอง คิดเอง รับผิดชอบเองเกือบทุกเรื่องยกเว้นเรื่องเงินที่พ่อแม่ให้ใช้จ่าย เลยทำให้เป็นคนที่รักความอิสระสูง เป็นตัวของตัวเอง หรือที่เขาเรียกว่าเอาแต่ใจในบางครั้ง
สิ่งต่างๆเหล่านั้นเลยหล่อหลอมให้ผมชอบใช้ชีวิตแบบวีไอ เพราะอิสระสูงไม่ต้องขึ้นกับใคร แต่หลังจากผมใช้ชีวิตแบบเปลี่ยนอาชีพไปเรื่อยเพื่อหาตัวเองยี่สิบกว่าปีหลังจากเรียนจบ จนบางครั้งย้อนหลังกลับไปดูเหมือนเอาดีไม่ได้สักอาชีพ555
ตอนมาพบอาชีพวีไอ fulltime ก็ไม่เหมือนคนอื่น ที่ส่วนใหญ่เขาจะสร้างพอร์ตจนมีอิสระภาพทางการเงินระดับหนึ่งแล้ว แต่ผมตอนนั้นเงินเก็บน้อยมากแต่ด้วยความอิ่มกับหลากหลายอาชีพและตอนนั้นไม่มีครอบครัว จึงทำแบบไม่ได้คิดมากหรือที่คนหลายคนเรียกว่าบ้าหรือไม่รอบคอบ ไม่มีความมั่นคง
ความคิดเห็นเรื่องเสรีนิยมก็คงสูงในชีวิตส่วนตัว แต่ในระบบสังคมใหญ่กลับผสมผสาน ชอบดูเป็นเรื่องๆไปมากกว่าเพราะแต่ละยุคสมัยมันก็มีข้อดีและข้อเสียผสมกันไป ในความเป็นจริงมันคงไม่มีระบบไหนที่ดีสมบูรณ์แบบ คงต้องดูเหตุและผลในแต่ละประเด็นๆไปว่ามันเหมาะสมกับคนไทยและบริบทของเราหรือไหม เพราะทุกสิ่งมันเป็นแค่ความคิดความเชื่อซึ่งอาจถูกผิดตามการเวลาที่เปลี่ยนไป มันอาจดีในปัจุบันแต่อาจไม่ดีในสองสามปีข้างหน้าก็ได้ เลยไม่อยากยึดติดกับมันมากไปและเป็นการฝึกการปล่อยวางจากความคิดด้วย
- IndyVI
- Verified User
- โพสต์: 14944
- ผู้ติดตาม: 2
Re: Baby Boomer VS Gen Y/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 5
FM.96.5 | รู้ใช้เข้าใจเงิน
คุยกับ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผลกระทบโควิดระบาดละลอกใหม่ต่อตลาดหุ้นไทย
https://youtu.be/EAE3Gpyk2cQ?t=1073
คุยกับ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผลกระทบโควิดระบาดละลอกใหม่ต่อตลาดหุ้นไทย
https://youtu.be/EAE3Gpyk2cQ?t=1073
Investment success doesn’t come from “buying good things,” but rather from “buying things well.
# Howard Mark #
# Howard Mark #