รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
ผมเข้าใจว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้เปลี่ยนเกณฑ์การเปิดเผยข้อมูล “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” ของบริษัทจดทะเบียนตั้งแต่ต้นปี 2564 จากที่เคยรายงานชื่อผู้ถือหุ้นทุกคนที่ถือหุ้นตั้งแต่ 0.5% ขึ้นไป เป็นการรายงานเฉพาะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดเพียง 10 อันดับ ผมเองไม่รู้ว่าเหตุผลจริง ๆ คืออะไร แต่ก็รู้สึกว่าข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นคงจะ “น้อยลง” เพราะ “ผู้ถือหุ้นใหญ่” 10 อันดับแรกนั้น ส่วนใหญ่จะมีหุ้นมากกว่า 0.5% ของบริษัท ที่จะมีน้อยกว่า 0.5% ก็มักจะเป็นบริษัทที่เพิ่งเข้าจดทะเบียนไม่นานและ/หรือเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่เจ้าของเดิมไม่ขายหุ้นออกมา เช่นหุ้น AOT OR หรือ BCPG เป็นต้น
การ “ลด” การเปิดเผยข้อมูลชื่อผู้ถือหุ้นครั้งนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ปรากฏขึ้นหลังจากบริษัทปิดสมุดทะเบียนเพื่อกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่จะมีสิทธิเข้าประชุมใหญ่ประจำปีผู้ถือหุ้นและการจ่ายปันผล ได้ทำให้นักลงทุนจำนวนไม่น้อยรู้สึก “หงุดหงิด” และเห็นว่าตลาดไม่ควรเปลี่ยน เพราะสำหรับนักลงทุนแล้ว ข้อมูลรายชื่อ “ผู้ถือหุ้นใหญ่” มีความสำคัญต่อการตัดสินใจลงทุนอยู่ไม่น้อย แม้แต่ในตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐ เวลาที่มีการรายงานว่าบัฟเฟตต์เข้าไปลงทุนในบริษัทไหน หุ้นตัวนั้นก็มักจะวิ่งกระฉูด เช่นเดียวกับเวลาที่กองทุนของอาร์คอินเวสเม้นต์เข้าไปลงทุนในหุ้นตัวไหน หุ้นตัวนั้นก็ปรับตัวขึ้นแรงเหมือนกัน เพราะคนที่ “เล่นหุ้นตามเซียน” นั้น มีมากมายโดยเฉพาะในยามที่ตลาดหุ้นมีการเก็งกำไรสูงมากอย่างในช่วงเร็ว ๆ นี้
นอกจากคนที่ตั้งใจจะ “ลอกหุ้น” เพราะคิดว่าเป็นกลยุทธ์ที่จะทำกำไรได้ดีและเร็วมากแล้ว ก็ยังมีคนอีกหลายกลุ่มและหลายคนที่อยากจะให้ตลาดนำข้อมูลเดิมกลับมาด้วย เพราะเขาได้ใช้ข้อมูลนั้นในการศึกษาและตัดสินใจลงทุนโดยไม่ใช่เป็นการลอกหุ้น แต่เป็นเรื่องของการนำมาศึกษาต่อ พวกเขาอาจจะคิดหาเหตุผลว่าทำไม “เซียน” ซึ่งรวมถึงนักลงทุนส่วนบุคคลรายใหญ่หรือผู้บริหารกองทุนรวมจึงสนใจและเข้ามาลงทุนในหุ้นตัวนั้น นี่เป็นแค่จุดตั้งต้นให้พวกเขาได้ศึกษาต่อไปว่าเขาควรจะลงทุนตามไหม เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ พวกเขาเคยติดตาม “เซียน” เหล่านั้นมานานพอจะรู้ว่าแต่ละคนมีสไตล์การลงทุนอย่างไร และถ้าเขามีความชื่นชอบหรือมีสไตล์แบบเดียวกัน เขาก็สามารถตัดสินใจได้ว่าจะทำอย่างไรกับหุ้นตัวนั้น
คนที่เป็นสื่อทางด้านการเงินและการลงทุนเองนั้น การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ครั้งนี้ก็อาจจะพบว่ารายงานและการศึกษาเกี่ยวกับ “ความมั่งคั่งของนักลงทุน” ที่คิดจากการถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะมีความถูกต้องน้อยลงไปอีกเนื่องจากคนที่ถือหุ้นเกิน 0.5% แต่ต่ำกว่า 10 อันดับแรกของผู้ถือหุ้นสูงสุดจะไม่ถูกรายงาน เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ บริษัทขนาดใหญ่ที่มีลักษณะ “มหาชน” จริง ๆ นั้น รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุด 10 อันดับมักจะเป็นสถาบันหรือเป็นคัสโตเดียนหรือนอมินีที่ถือหุ้นแทนผู้ถือหุ้นอื่นจำนวนมากที่ไม่รู้ว่าเป็นใคร
ส่วนตัวผมเองที่เป็นนักลงทุนแบบ VI ที่เน้นการลงทุนระยะยาวและไม่เคยคิดที่จะใช้ข้อมูลรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นตัวตัดสินว่าหุ้นดีหรือไม่ดีหรือควรซื้อหรือไม่นั้น ผมเองก็สนใจ “รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่” หรือรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นอย่างมี “นัยสำคัญ” ซึ่งรวมถึงคนที่ถือหุ้นตั้งแต่ 0.5% อย่างที่เคยเป็นด้วย ที่จริง แนวทางที่ควรจะเป็นก็คือ ให้รายงานแบบเดิมแต่ถ้าบริษัทไหนมีผู้ถือหุ้นที่ถือถึง 0.5% น้อยกว่า 10 รายก็ให้รายงานผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุด 10 ราย ด้วยวิธีนี้ก็จะทำให้ไม่ต้องตัดรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่แบบเดิมออก และการเปิดเผยข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ก็จะดูดีขึ้นเพราะมันเพิ่มขึ้นไม่ใช่ลดลง
เหตุผลที่ผมสนใจข้อมูลรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีนัยสำคัญก็คือ ผมดูเพื่อเอาไว้ “อ่านหุ้น” ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ถือหุ้นหลัก ๆ จำนวนมากก็คือสถาบันโดยเฉพาะจากต่างประเทศโดยที่มีนักลงทุนส่วนบุคคลที่เป็นคนไทยน้อย แบบนี้ผมก็บอกได้ว่าหุ้นของบริษัทจะเป็นหุ้นที่ทุกอย่าง “อิงกับพื้นฐานที่แท้จริง” ราคาหุ้นจะถูกหรือแพงจะขึ้นอยู่กับพื้นฐานและผลประกอบการของบริษัทและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม เฉพาะอย่างยิ่งก็คือเรื่องภาวะดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อในท้องตลาด เป็นหลัก เราจะสบายใจได้ว่าไม่มีใครไปเชียร์ สร้างสตอรี่หรือปั่นหุ้น ราคาหุ้นโดยทั่วไปก็จะไม่หวือหวาขึ้นลงแรงโดยไม่มีเหตุผลพิเศษเช่นเดียวกับปริมาณการซื้อขายหุ้นที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ
หุ้นขนาดกลางและอาจจะรวมถึงหุ้นขนาดใหญ่บางตัวที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดเป็นบุคคลธรรมดาและผู้ถือหุ้นรอง ๆ ลงมาส่วนใหญ่ก็เป็นบุคคลธรรมดา โดยมีผู้ถือหุ้นที่เป็นสถาบันอยู่บ้างแต่มักจะไม่ใช่ที่เป็นคัสโตเดียนหลัก ๆ ที่เป็นตัวแทนของนักลงทุนต่างประเทศ ในกรณีแบบนี้ผมก็จะต้องระมัดระวังเวลาวิเคราะห์หุ้น เนื่องจากเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นใหญ่หรือแม้แต่นักลงทุนรายใหญ่อาจจะเป็นคน “เล่นหุ้น” และหุ้นอาจจะถูก “จัดการ” หรือ “ปั่น” ให้มีราคาที่สูงกว่าพื้นฐานที่ควรเป็น เพราะนั่นคือผลประโยชน์ของเขา โดยวิธีที่จะทำให้ราคาหุ้นขึ้นไปสูงนั้น ก็มักจะรวมถึงการทำให้กิจการดูดี มีสตอรี่และการเติบโตทั้งปัจจุบันและอนาคตโดยที่ความเป็นจริงอาจจะไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรือน้อยกว่ามาก นอกจากเรื่องของสตอรี่แล้ว ราคาหุ้นก็มักจะเป็นสิ่งที่ถูกใช้ในการชี้นำให้คนมีความลำเอียงว่าบริษัทเป็นกิจการที่ดีเยี่ยมกว่าความเป็นจริงได้โดยเฉพาะกรณีที่หุ้นวิ่งขึ้นไปรุนแรงในเวลาอันสั้น
ข้อมูลผู้ถือหุ้นใหญ่ยังบอกถึงระดับของการ “Corner” หุ้นว่ามีมากน้อยแค่ไหน รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นใครหรืออยู่กลุ่มเดียวกันหรือเปล่า คนใหม่ที่เข้ามาน่าจะเป็นนักลงทุนแนวไหน หลังจากนั้นราคาหุ้นมีพฤติกรรมอย่างไร เช่นเดียวกับปริมาณการซื้อขายหุ้นที่อาจจะเปลี่ยนแปลงไปมากมายแค่ไหน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ถึงจะไม่ได้นำมาใช้แต่ผมก็พยายามมองให้ออกว่าเกิดอะไรกับหุ้นและหุ้นมีพฤติกรรมอย่างไร แน่นอนว่าบางครั้งผมก็เข้าไปวิเคราะห์พื้นฐานของบริษัทบ้างเพื่อจะอ่านว่าเกิดอะไรขึ้นและอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป นี่เป็น “กระบวนการเรียนรู้” ซึ่งบ่อยครั้งก็ไม่ได้เอามาใช้ แต่ช่วยให้ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ทำนองอย่างที่ ชาร์ลี มังเกอร์ พูดว่า “ผมอยากรู้ว่าผมอาจจะตายที่ไหนเพื่อที่ผมจะได้ไม่ไปที่นั่น”
ทั้งหมดที่พูดถึงเรื่องของการเปลี่ยนแปลงการเปิดเผยข้อมูลรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่นั้น ผมเองก็ไม่รู้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของกฎหมาย “ความเป็นส่วนตัว” ของข้อมูลส่วนบุคคลที่กำลังออกมาใหม่หรือไม่ ซึ่งนั่นอาจจะเป็นเหตุผลที่ต้องปรับแก้เรื่องรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีกฎหมายแบบนั้น ถ้าหากว่าตลาดต้องการที่จะคงการเปิดเผยข้อมูลแบบเดิมเอาไว้ ผมคิดว่าก็น่าจะมีทางแก้ได้ บางทีตลาดอาจจะต้องกำหนดเกณฑ์ของการจดทะเบียนซื้อขายหุ้นว่าบริษัทจะยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลผู้ถือหุ้นที่ถือเกิน 0.5% ของบริษัท คนที่เข้ามาลงทุนซื้อขายหุ้นก็อาจจะต้องยอมตามนั้น อะไรทำนองนี้ เหนือสิ่งอื่นใดสำหรับเรื่องการเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้สาธารณชนได้รับรู้เกี่ยวกับผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ถือตั้งแต่ 0.5% ขึ้นไปก็คือ ในขณะที่นักลงทุนทั่วไปไม่รู้ แต่ผมเข้าใจว่าบริษัทเองหรือผู้บริหารบริษัทกลับสามารถขอรายชื่อผู้ถือหุ้นได้ทุกเวลาจากศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ซึ่งนี่ก็ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมของคนภายในบริษัทกับบุคคลภายนอก
ประเด็นสำคัญที่อาจจะต้องถกเถียงกันก็คือ ข้อมูล “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” นั้น เป็นสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับพื้นฐานของกิจการที่จะมีผลต่อราคาหุ้นหรือไม่? และแค่ไหนถึงจะถือว่าเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ถือหุ้นแค่ 0.2% แต่อยู่ใน 10 อันดับผู้ถือหุ้นใหญ่สุดนั้นถือว่าเป็นรายใหญ่หรือไม่? สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ผมก็ไม่รู้ว่าเคยมีการพูดคุยถกเถียงกันหรือไม่ และส่วนตัวเองก็ไม่แน่ใจว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้องเป็นจริง อย่างเช่นเรื่องของพื้นฐานของกิจการนั้น ถ้าคิดเร็ว ๆ ผมเองก็คิดว่าไม่น่าจะเกี่ยวว่าใครเป็นผู้ถือหุ้น แต่พอมาคิดอีกทีก็ไม่แน่ใจ อย่างหุ้นเทสลานั้น ถ้าผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่ใช่ อีลอน มัสก์ หรือเขาขายหุ้นไปจนเหลือไม่ถึง 10% หรือ 5% แบบนี้ เราจะไม่คิดหรือว่าพื้นฐานของกิจการอาจจะเปลี่ยนไปแล้ว เพราะถ้าไม่มี อีลอน มัสก์ เทสลาอาจจะไม่โดดเด่นอีกต่อไปก็เป็นได้
พูดถึงเรื่องของข้อมูลที่เปิดเผยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยรวมเองนั้น ผมมีความรู้สึกว่าเราเคยเปิดเผยค่อนข้างมากและดีแม้ว่าข้อมูลบางอย่างอาจจะ “ช้า” บ้าง แต่ในระยะหลัง ๆ หลาย ๆ ปีมาแล้วที่ไม่ค่อยมีอะไรเคลื่อนไหว ข้อมูลบางอย่างคนใช้จะต้อง “ซื้อ” อาจจะเนื่องจากความต้องการที่จะสร้างรายได้ให้กับตลาดซึ่งมีแนวโน้มว่าในอนาคตก็อาจจะต้องปรับตัวเป็นบริษัท “ธุรกิจ” และในที่สุดก็อาจจะต้องเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เหมือนกับอีกหลายแห่งในโลก แต่ผมเองกลับคิดว่า เรื่องของข้อมูลนั้น ตลาดควรยอมจ่ายหรือให้ฟรี เพื่อสร้างให้ตลาดมีประสิทธิภาพสูงขึ้นมากกว่า
การ “ลด” การเปิดเผยข้อมูลชื่อผู้ถือหุ้นครั้งนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ปรากฏขึ้นหลังจากบริษัทปิดสมุดทะเบียนเพื่อกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่จะมีสิทธิเข้าประชุมใหญ่ประจำปีผู้ถือหุ้นและการจ่ายปันผล ได้ทำให้นักลงทุนจำนวนไม่น้อยรู้สึก “หงุดหงิด” และเห็นว่าตลาดไม่ควรเปลี่ยน เพราะสำหรับนักลงทุนแล้ว ข้อมูลรายชื่อ “ผู้ถือหุ้นใหญ่” มีความสำคัญต่อการตัดสินใจลงทุนอยู่ไม่น้อย แม้แต่ในตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐ เวลาที่มีการรายงานว่าบัฟเฟตต์เข้าไปลงทุนในบริษัทไหน หุ้นตัวนั้นก็มักจะวิ่งกระฉูด เช่นเดียวกับเวลาที่กองทุนของอาร์คอินเวสเม้นต์เข้าไปลงทุนในหุ้นตัวไหน หุ้นตัวนั้นก็ปรับตัวขึ้นแรงเหมือนกัน เพราะคนที่ “เล่นหุ้นตามเซียน” นั้น มีมากมายโดยเฉพาะในยามที่ตลาดหุ้นมีการเก็งกำไรสูงมากอย่างในช่วงเร็ว ๆ นี้
นอกจากคนที่ตั้งใจจะ “ลอกหุ้น” เพราะคิดว่าเป็นกลยุทธ์ที่จะทำกำไรได้ดีและเร็วมากแล้ว ก็ยังมีคนอีกหลายกลุ่มและหลายคนที่อยากจะให้ตลาดนำข้อมูลเดิมกลับมาด้วย เพราะเขาได้ใช้ข้อมูลนั้นในการศึกษาและตัดสินใจลงทุนโดยไม่ใช่เป็นการลอกหุ้น แต่เป็นเรื่องของการนำมาศึกษาต่อ พวกเขาอาจจะคิดหาเหตุผลว่าทำไม “เซียน” ซึ่งรวมถึงนักลงทุนส่วนบุคคลรายใหญ่หรือผู้บริหารกองทุนรวมจึงสนใจและเข้ามาลงทุนในหุ้นตัวนั้น นี่เป็นแค่จุดตั้งต้นให้พวกเขาได้ศึกษาต่อไปว่าเขาควรจะลงทุนตามไหม เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ พวกเขาเคยติดตาม “เซียน” เหล่านั้นมานานพอจะรู้ว่าแต่ละคนมีสไตล์การลงทุนอย่างไร และถ้าเขามีความชื่นชอบหรือมีสไตล์แบบเดียวกัน เขาก็สามารถตัดสินใจได้ว่าจะทำอย่างไรกับหุ้นตัวนั้น
คนที่เป็นสื่อทางด้านการเงินและการลงทุนเองนั้น การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ครั้งนี้ก็อาจจะพบว่ารายงานและการศึกษาเกี่ยวกับ “ความมั่งคั่งของนักลงทุน” ที่คิดจากการถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะมีความถูกต้องน้อยลงไปอีกเนื่องจากคนที่ถือหุ้นเกิน 0.5% แต่ต่ำกว่า 10 อันดับแรกของผู้ถือหุ้นสูงสุดจะไม่ถูกรายงาน เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ บริษัทขนาดใหญ่ที่มีลักษณะ “มหาชน” จริง ๆ นั้น รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุด 10 อันดับมักจะเป็นสถาบันหรือเป็นคัสโตเดียนหรือนอมินีที่ถือหุ้นแทนผู้ถือหุ้นอื่นจำนวนมากที่ไม่รู้ว่าเป็นใคร
ส่วนตัวผมเองที่เป็นนักลงทุนแบบ VI ที่เน้นการลงทุนระยะยาวและไม่เคยคิดที่จะใช้ข้อมูลรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นตัวตัดสินว่าหุ้นดีหรือไม่ดีหรือควรซื้อหรือไม่นั้น ผมเองก็สนใจ “รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่” หรือรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นอย่างมี “นัยสำคัญ” ซึ่งรวมถึงคนที่ถือหุ้นตั้งแต่ 0.5% อย่างที่เคยเป็นด้วย ที่จริง แนวทางที่ควรจะเป็นก็คือ ให้รายงานแบบเดิมแต่ถ้าบริษัทไหนมีผู้ถือหุ้นที่ถือถึง 0.5% น้อยกว่า 10 รายก็ให้รายงานผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุด 10 ราย ด้วยวิธีนี้ก็จะทำให้ไม่ต้องตัดรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่แบบเดิมออก และการเปิดเผยข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ก็จะดูดีขึ้นเพราะมันเพิ่มขึ้นไม่ใช่ลดลง
เหตุผลที่ผมสนใจข้อมูลรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีนัยสำคัญก็คือ ผมดูเพื่อเอาไว้ “อ่านหุ้น” ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ถือหุ้นหลัก ๆ จำนวนมากก็คือสถาบันโดยเฉพาะจากต่างประเทศโดยที่มีนักลงทุนส่วนบุคคลที่เป็นคนไทยน้อย แบบนี้ผมก็บอกได้ว่าหุ้นของบริษัทจะเป็นหุ้นที่ทุกอย่าง “อิงกับพื้นฐานที่แท้จริง” ราคาหุ้นจะถูกหรือแพงจะขึ้นอยู่กับพื้นฐานและผลประกอบการของบริษัทและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม เฉพาะอย่างยิ่งก็คือเรื่องภาวะดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อในท้องตลาด เป็นหลัก เราจะสบายใจได้ว่าไม่มีใครไปเชียร์ สร้างสตอรี่หรือปั่นหุ้น ราคาหุ้นโดยทั่วไปก็จะไม่หวือหวาขึ้นลงแรงโดยไม่มีเหตุผลพิเศษเช่นเดียวกับปริมาณการซื้อขายหุ้นที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ
หุ้นขนาดกลางและอาจจะรวมถึงหุ้นขนาดใหญ่บางตัวที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดเป็นบุคคลธรรมดาและผู้ถือหุ้นรอง ๆ ลงมาส่วนใหญ่ก็เป็นบุคคลธรรมดา โดยมีผู้ถือหุ้นที่เป็นสถาบันอยู่บ้างแต่มักจะไม่ใช่ที่เป็นคัสโตเดียนหลัก ๆ ที่เป็นตัวแทนของนักลงทุนต่างประเทศ ในกรณีแบบนี้ผมก็จะต้องระมัดระวังเวลาวิเคราะห์หุ้น เนื่องจากเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นใหญ่หรือแม้แต่นักลงทุนรายใหญ่อาจจะเป็นคน “เล่นหุ้น” และหุ้นอาจจะถูก “จัดการ” หรือ “ปั่น” ให้มีราคาที่สูงกว่าพื้นฐานที่ควรเป็น เพราะนั่นคือผลประโยชน์ของเขา โดยวิธีที่จะทำให้ราคาหุ้นขึ้นไปสูงนั้น ก็มักจะรวมถึงการทำให้กิจการดูดี มีสตอรี่และการเติบโตทั้งปัจจุบันและอนาคตโดยที่ความเป็นจริงอาจจะไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรือน้อยกว่ามาก นอกจากเรื่องของสตอรี่แล้ว ราคาหุ้นก็มักจะเป็นสิ่งที่ถูกใช้ในการชี้นำให้คนมีความลำเอียงว่าบริษัทเป็นกิจการที่ดีเยี่ยมกว่าความเป็นจริงได้โดยเฉพาะกรณีที่หุ้นวิ่งขึ้นไปรุนแรงในเวลาอันสั้น
ข้อมูลผู้ถือหุ้นใหญ่ยังบอกถึงระดับของการ “Corner” หุ้นว่ามีมากน้อยแค่ไหน รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นใครหรืออยู่กลุ่มเดียวกันหรือเปล่า คนใหม่ที่เข้ามาน่าจะเป็นนักลงทุนแนวไหน หลังจากนั้นราคาหุ้นมีพฤติกรรมอย่างไร เช่นเดียวกับปริมาณการซื้อขายหุ้นที่อาจจะเปลี่ยนแปลงไปมากมายแค่ไหน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ถึงจะไม่ได้นำมาใช้แต่ผมก็พยายามมองให้ออกว่าเกิดอะไรกับหุ้นและหุ้นมีพฤติกรรมอย่างไร แน่นอนว่าบางครั้งผมก็เข้าไปวิเคราะห์พื้นฐานของบริษัทบ้างเพื่อจะอ่านว่าเกิดอะไรขึ้นและอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป นี่เป็น “กระบวนการเรียนรู้” ซึ่งบ่อยครั้งก็ไม่ได้เอามาใช้ แต่ช่วยให้ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ทำนองอย่างที่ ชาร์ลี มังเกอร์ พูดว่า “ผมอยากรู้ว่าผมอาจจะตายที่ไหนเพื่อที่ผมจะได้ไม่ไปที่นั่น”
ทั้งหมดที่พูดถึงเรื่องของการเปลี่ยนแปลงการเปิดเผยข้อมูลรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่นั้น ผมเองก็ไม่รู้ว่ามีความเกี่ยวข้องกับเรื่องของกฎหมาย “ความเป็นส่วนตัว” ของข้อมูลส่วนบุคคลที่กำลังออกมาใหม่หรือไม่ ซึ่งนั่นอาจจะเป็นเหตุผลที่ต้องปรับแก้เรื่องรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีกฎหมายแบบนั้น ถ้าหากว่าตลาดต้องการที่จะคงการเปิดเผยข้อมูลแบบเดิมเอาไว้ ผมคิดว่าก็น่าจะมีทางแก้ได้ บางทีตลาดอาจจะต้องกำหนดเกณฑ์ของการจดทะเบียนซื้อขายหุ้นว่าบริษัทจะยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลผู้ถือหุ้นที่ถือเกิน 0.5% ของบริษัท คนที่เข้ามาลงทุนซื้อขายหุ้นก็อาจจะต้องยอมตามนั้น อะไรทำนองนี้ เหนือสิ่งอื่นใดสำหรับเรื่องการเปิดเผยข้อมูลเพื่อให้สาธารณชนได้รับรู้เกี่ยวกับผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ถือตั้งแต่ 0.5% ขึ้นไปก็คือ ในขณะที่นักลงทุนทั่วไปไม่รู้ แต่ผมเข้าใจว่าบริษัทเองหรือผู้บริหารบริษัทกลับสามารถขอรายชื่อผู้ถือหุ้นได้ทุกเวลาจากศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ซึ่งนี่ก็ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมของคนภายในบริษัทกับบุคคลภายนอก
ประเด็นสำคัญที่อาจจะต้องถกเถียงกันก็คือ ข้อมูล “ผู้ถือหุ้นรายใหญ่” นั้น เป็นสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับพื้นฐานของกิจการที่จะมีผลต่อราคาหุ้นหรือไม่? และแค่ไหนถึงจะถือว่าเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ถือหุ้นแค่ 0.2% แต่อยู่ใน 10 อันดับผู้ถือหุ้นใหญ่สุดนั้นถือว่าเป็นรายใหญ่หรือไม่? สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ผมก็ไม่รู้ว่าเคยมีการพูดคุยถกเถียงกันหรือไม่ และส่วนตัวเองก็ไม่แน่ใจว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้องเป็นจริง อย่างเช่นเรื่องของพื้นฐานของกิจการนั้น ถ้าคิดเร็ว ๆ ผมเองก็คิดว่าไม่น่าจะเกี่ยวว่าใครเป็นผู้ถือหุ้น แต่พอมาคิดอีกทีก็ไม่แน่ใจ อย่างหุ้นเทสลานั้น ถ้าผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่ใช่ อีลอน มัสก์ หรือเขาขายหุ้นไปจนเหลือไม่ถึง 10% หรือ 5% แบบนี้ เราจะไม่คิดหรือว่าพื้นฐานของกิจการอาจจะเปลี่ยนไปแล้ว เพราะถ้าไม่มี อีลอน มัสก์ เทสลาอาจจะไม่โดดเด่นอีกต่อไปก็เป็นได้
พูดถึงเรื่องของข้อมูลที่เปิดเผยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยรวมเองนั้น ผมมีความรู้สึกว่าเราเคยเปิดเผยค่อนข้างมากและดีแม้ว่าข้อมูลบางอย่างอาจจะ “ช้า” บ้าง แต่ในระยะหลัง ๆ หลาย ๆ ปีมาแล้วที่ไม่ค่อยมีอะไรเคลื่อนไหว ข้อมูลบางอย่างคนใช้จะต้อง “ซื้อ” อาจจะเนื่องจากความต้องการที่จะสร้างรายได้ให้กับตลาดซึ่งมีแนวโน้มว่าในอนาคตก็อาจจะต้องปรับตัวเป็นบริษัท “ธุรกิจ” และในที่สุดก็อาจจะต้องเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เหมือนกับอีกหลายแห่งในโลก แต่ผมเองกลับคิดว่า เรื่องของข้อมูลนั้น ตลาดควรยอมจ่ายหรือให้ฟรี เพื่อสร้างให้ตลาดมีประสิทธิภาพสูงขึ้นมากกว่า
- ส.สลึง
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3750
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 2
เห็นด้วยฮะ ข้อมูลไม่ต้อง Real Time
ช้าก็ไม่เป็นไร
เปิดรายชื่อ ผถห. ตั้งแต่ 0.5% ดูโปร่งใสกว่า
ช้าก็ไม่เป็นไร
เปิดรายชื่อ ผถห. ตั้งแต่ 0.5% ดูโปร่งใสกว่า
"วิถีรักษ์โลก บ้าน 1 หลัง รถ 1 คัน สาว 1 คน กางเกงใน 1 ตัว" <( ̄︶ ̄)> ...
Re: รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 5
โทษนะครับ อันนี้ถามเป็นความรู้จริงๆนะครับว่า กรณีแบบนี้ตลาดหลักทรัพย์เค้าไม่ต้องออกมาชี้แจงเหตุผลหรือข้อกฎหมายอะไรเลย แบบนี้ก็ได้เหรอครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Re: รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท/ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 6
ถ้าเปิด 0.5% มีปัญหาพวกบริษัทที่ การกระจายหุ้นไปอยู่กับกลุ่มที่มากกว่า 0.5% บางบริษัท 3 อันดับเท่านั้น
แต่หากมีจำนวนมาก หลายคน แบบเบี้ยหัวแตกก็ยาวเลย
แต่หากเปิด 10 อันดับแรก บริษัทที่กระจายน้อยก็จะเห็นเป็น 10 อันดับ แต่หากบริษัทไหนที่มีเพียบถือใกล้ๆกัน ก็เห็น 10 อันดับเท่านั้น
ทางที่ดี คือ เอาเกณฑ์ทั้งสองมารวมกัน ได้ประโยชน์มากที่สุด
อันนี้จาก Clubhouse เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว จาก 0.5% เป็น 10 อันดับ จำนวนผู้ที่มีรายชื่อเพิ่มขึ้น
เพราะบริษัทที่จุกตัว จะเปิดออกมาเพียบ แต่ทว่า พวกบริษัทที่กระจายดี เบี้ยหัวแตกก็ลดลง ตามที่บอกไว้
แต่หากมีจำนวนมาก หลายคน แบบเบี้ยหัวแตกก็ยาวเลย
แต่หากเปิด 10 อันดับแรก บริษัทที่กระจายน้อยก็จะเห็นเป็น 10 อันดับ แต่หากบริษัทไหนที่มีเพียบถือใกล้ๆกัน ก็เห็น 10 อันดับเท่านั้น
ทางที่ดี คือ เอาเกณฑ์ทั้งสองมารวมกัน ได้ประโยชน์มากที่สุด
อันนี้จาก Clubhouse เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว จาก 0.5% เป็น 10 อันดับ จำนวนผู้ที่มีรายชื่อเพิ่มขึ้น
เพราะบริษัทที่จุกตัว จะเปิดออกมาเพียบ แต่ทว่า พวกบริษัทที่กระจายดี เบี้ยหัวแตกก็ลดลง ตามที่บอกไว้