Value Way ฉบับวันที่ 15 ธันวาคม 2551
โดยวิบูลย์ พึงประเสริฐ
เก่งหรือเฮง
มีหนังสือเล่มหนึ่งเขียนไว้ตั้งแต่ปี 2544 หรือเกือบ 7 ปีที่แล้วโดยนาซิม นิโคลัส ทาเล็บ (Nassim Nicholas Taleb) ในชื่อเรื่อง Fooled by Ramdomness แปลเป็นภาษาไทยชื่อ เก่งเทียมฟ้าหรือว่าโชค คาดว่าคงไม่มีวางจำหน่ายตามร้านหนังสือทั่วไปแล้ว หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงการประสบความสำเร็จในการลงทุนเป็นเวลาหลายๆปีติดต่อกันนั้น อาจทำให้นักลงทุนคิดว่าทั้งหมดเกิดจากความสามารถของตนเองล้วนๆ จนเกิดความมั่นใจในวิธีการลงทุนของตนเอง จึงทุ่มเงินจำนวนมากกับการลงทุนเพื่อทำกำไรเหมือนกับที่เคยทำได้มาก่อน แต่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น และเพียงแค่ขาดทุนครั้งเดียวอาจทำให้กำไรหรือเงินที่ได้มาสูญไปจนเกือบหมดสิ้น
ปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดและมีผลกระทบอย่างใหญ่หลวง มักเกิดขึ้นอย่างไม่ทันรู้เนื้อรู้ตัว และโอกาสเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ จนหลายคนคิดว่ามันไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ เหตุการณ์เช่นนี้นาซิมเรียกว่าปรากฏการณ์หงส์ดำ (The Black Swan) ในสมัยโบราณก่อนที่จะมีการค้นพบทวีปออสเตรเลียนั้น ผู้คนสมัยนั้นเชื่อว่าหงส์ทุกตัวในโลกมีสีขาวเพียงสีเดียว และนักวิทยาศาสตร์รวมทั้งนักธรรมชาติวิทยาในสมัยนั้นต่างออกมาสนับสนุนความเชื่อนี้ แต่การค้นพบหงส์สีดำตัวแรกก็ทำให้นักธรรมชาติวิทยาเหล่านั้นแปลกใจไปตามๆกัน
สิ่งสำคัญไม่ใช่การค้นพบหงส์ดำตัวนั้น แต่เป็นการแสดงให้เราเห็นว่ามนุษย์มีข้อจำกัดในการเรียนรู้จากข้อสังเกตและประสบการณ์ของเราเอง เพียงแค่ข้อพิสูจน์เพียงครั้งเดียวก็สามารถล้มล้างความเชื่อที่เรายึดถือมาเป็นเวลาหลายร้อยปี อย่างเรื่องของหงส์ขาว สิ่งที่เราต้องการก็เพียงแค่หงส์ดำตัวเดียวเท่านั้น
ปรากฏการณ์หงส์ดำประกอบไปด้วยสามองค์ประกอบหลักๆดังนี้
ข้อแรก มันไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ มันเป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมาย และอยู่นอกเหนือจากเหตุการณ์ปกติ ข้อมูลต่างๆในอดีตไม่สามารถทำนายถึงโอกาสเกิดขึ้นของเหตุการณ์นั้นได้
ข้อสอง ผลกระทบของเหตุการณ์นั้นจะรุนแรงมาก
และข้อสาม เราคิดว่าเราสามารถอธิบายสาเหตุของเหตุการณ์นั้นได้ก็ต่อเมื่อมันผ่านไปแล้ว
นาซิมยกตัวอย่างเหตุการณ์ 9/11 ที่ผู้ก่อการร้ายจี้เครื่องบินชนตึกเวิร์ดเทรดเซนเตอร์ในนิวยอร์คเมื่อปี 2544 เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ ไม่มีใครคาดการณ์ว่ามันจะเกิดขึ้น ผลกระทบของเหตุการณ์นี้รุนแรงมาก ส่งผลกระทบต่อวิธีดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก รวมถึงการเกิดสงครามอัฟกานิสถานและสงครามอิรักในเวลาต่อมา เราไม่สามารถอธิบายสาเหตุของ 9/11 ได้จนเหตุการณ์ได้ผ่านพ้นไปแล้ว ดังนั้น 9/11 จึงเป็นปรากฏการณ์หงส์ดำ
เช่นเดียวกันเหตุการณ์ซัพไพร์มที่ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกลดลงในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ และผลของมันรุนแรงมากจนทำให้เศรษฐกิจของทุกประเทศในโลกได้รับผลกระทบ สหรัฐอเมริกา ยุโรปและเอเซียต่างเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยกันถ้วนหน้า เราสามารถบอกได้ว่าเหตุการณ์นี้เป็นปรากฏการณ์หงส์ดำเช่นเดียวกัน นักลงทุนที่ไม่ได้เตรียมตัวกับเหตุการณ์นอกเหนือความคาดหมายเช่นนี้ย่อมต้องได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นึกย้อนกลับมาถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นไทยในช่วงเกือบหนึ่งปีที่ผ่านมาจะพบว่า ตลาดหุ้นไทยลดลงมากกว่า 50% ทำให้นักลงทุนส่วนใหญ่ขาดทุนกับการลงทุนในตลาดหุ้น จำนวนไม่น้อยต้องคืนกำไรที่หาได้ในช่วงหลายปีกลับให้ตลาดหุ้น ทั้งๆที่นักลงทุนเหล่านั้นต่างทำกำไรได้เป็นจำนวนมากในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา จนทำให้คิดว่าที่ประสบความสำเร็จนั้นมาจากฝีมือของตนล้วนๆ
แต่แล้วเหตุการณ์ซัพไพร์มและความไม่มั่นคงทางการเมืองของไทยก็ตอกย้ำให้นักลงทุนทั้งหลายรู้ว่า สิ่งที่ผ่านมานั้นเเป็นพราะความเก่งหรือเฮงของตนเองกันแน่ บางครั้งนาซิมอาจพูดถูกที่กล่าวเอาไว้ว่า บางครั้งการประสบความสำเร็จในการลงทุนนั้นอาจมาจากโชคล้วนๆก็เป็นไปได้
Value Way : เก่งหรือเฮง โดย วิบูลย์ พึงประเสริฐ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 795
- ผู้ติดตาม: 0
Value Way : เก่งหรือเฮง โดย วิบูลย์ พึงประเสริฐ
โพสต์ที่ 1
Miracle Happens Everyday !
"ปาฎิหารย์คือการเดินบนผืนดินและมีความสุขในทุกย่างก้าว"
"ปาฎิหารย์คือการเดินบนผืนดินและมีความสุขในทุกย่างก้าว"
-
- Verified User
- โพสต์: 1252
- ผู้ติดตาม: 0
Value Way : เก่งหรือเฮง โดย วิบูลย์ พึงประเสริฐ
โพสต์ที่ 3
ผมเชื่อว่า
"บุคคลที่เข้าใจในอาชีพของตนเองอย่างลึกซึ้งจนบังเกิดเป็นความรู้แจ้งอย่างแท้จริงโชคมักจะอยู่ข้างเขาเสมอ"
ดร.นิเวศน์เป็นตัวอย่างทียอดเยี่ยมในการพิสูจณ์ความเชื่อของผม คุณคิดว่าการเลือกลงทุนในหุ้นจูเลียสซีซ่าร์ของดร.ก่อนที่ตลาดหุ้นจะตกอย่างระเนระนาดในเดือนทมิฬ(พย)และนักลงทุนส่วนใหญ่กำลังลุ้นnew lowของset แต่หุ้นที่ดร.ได้ลงทุนไว้กำลังลุ้นnew highเป็นเพราะโชคหรือเปล่าครับ55555
"บุคคลที่เข้าใจในอาชีพของตนเองอย่างลึกซึ้งจนบังเกิดเป็นความรู้แจ้งอย่างแท้จริงโชคมักจะอยู่ข้างเขาเสมอ"
ดร.นิเวศน์เป็นตัวอย่างทียอดเยี่ยมในการพิสูจณ์ความเชื่อของผม คุณคิดว่าการเลือกลงทุนในหุ้นจูเลียสซีซ่าร์ของดร.ก่อนที่ตลาดหุ้นจะตกอย่างระเนระนาดในเดือนทมิฬ(พย)และนักลงทุนส่วนใหญ่กำลังลุ้นnew lowของset แต่หุ้นที่ดร.ได้ลงทุนไว้กำลังลุ้นnew highเป็นเพราะโชคหรือเปล่าครับ55555
-
- Verified User
- โพสต์: 1252
- ผู้ติดตาม: 0
Value Way : เก่งหรือเฮง โดย วิบูลย์ พึงประเสริฐ
โพสต์ที่ 4
ขอแก้ไขหน่อยครับ
เดือนทมิฬ(ต.ค)ครับ
เดือนทมิฬ(ต.ค)ครับ
- Coca-Cola
- Verified User
- โพสต์: 326
- ผู้ติดตาม: 0
Value Way : เก่งหรือเฮง โดย วิบูลย์ พึงประเสริฐ
โพสต์ที่ 7
ผมมองเช่นนี้ครับ ทุกๆอย่างในโลกนี้ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น ล้วนเกิดจากปรากฏการณ์ 2 สิ่ง คือ "การกำหนด" และ "เหตุบังเอิญ"
เช่นคุณ ตัน ภาสกรนที ผู้ปลุกปั้นแบรนด์ OISHI มีความตั้งใจจะปั้นร้านอาหารญี่ปุ่นแบรนด์ OISHI (นี่เรียกว่าการกำหนด) และมีโชคที่ในจังหวะดั่งกล่าวเป็นกระแสฟีเวอร์JP. ซึ่งเรียกจังหวะดังกล่าวว่า โอกาส (นี่เรียกว่า เหตุบังเอิญ.. ที่มาเจอกันพอดี)
ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวที่มีทั้ง "การกำหนด" และ "เหตุบังเอิญ" จึงทำให้คุณตัน ปั้นแบรนด์ "OISHI" เป็นผลสำเร็จ
แต่สมมุตว่าจังหวะดังกล่าวนั้น พัดโชค ในเรื่องของฟีเวอร์เกาหลี เข้ามา คุณตัน ก็คงจะออกแบรนด์อร่อยที่เรียกเป็นภาษาเกาหลี แน่ๆ
เราควบคุมให้เหนือกว่าโชคได้ ใน ภาวะเหตุการณ์ที่เกิดซ้ำซ้อน แต่เมื่อภาวะแวดล้อมเปลี่ยน โชคก็จะเหนือกว่าการควบคุม แต่เมื่อภาวะการณ์นั้นมีเวลาที่ยาวนานพอที่จะคุ้นเคย การควบคุมก็จะเหนือกว่าโชค ผมมองว่านี่คือวัฏจักรที่ไม่ซับซ้อน
และเห็นด้วยครับที่ว่า ทุกภาวะที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง จะเปลี่ยนหลายๆสิ่ง จากหน้ามือเป็นหลังมือ ณ จังหวะนั้น ที่คนส่วนใหญ๋ไม่สังเกตุเห็นล่วงหน้า โชคมีอิทธิพลอย่างสูง
เช่นคุณ ตัน ภาสกรนที ผู้ปลุกปั้นแบรนด์ OISHI มีความตั้งใจจะปั้นร้านอาหารญี่ปุ่นแบรนด์ OISHI (นี่เรียกว่าการกำหนด) และมีโชคที่ในจังหวะดั่งกล่าวเป็นกระแสฟีเวอร์JP. ซึ่งเรียกจังหวะดังกล่าวว่า โอกาส (นี่เรียกว่า เหตุบังเอิญ.. ที่มาเจอกันพอดี)
ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวที่มีทั้ง "การกำหนด" และ "เหตุบังเอิญ" จึงทำให้คุณตัน ปั้นแบรนด์ "OISHI" เป็นผลสำเร็จ
แต่สมมุตว่าจังหวะดังกล่าวนั้น พัดโชค ในเรื่องของฟีเวอร์เกาหลี เข้ามา คุณตัน ก็คงจะออกแบรนด์อร่อยที่เรียกเป็นภาษาเกาหลี แน่ๆ
เราควบคุมให้เหนือกว่าโชคได้ ใน ภาวะเหตุการณ์ที่เกิดซ้ำซ้อน แต่เมื่อภาวะแวดล้อมเปลี่ยน โชคก็จะเหนือกว่าการควบคุม แต่เมื่อภาวะการณ์นั้นมีเวลาที่ยาวนานพอที่จะคุ้นเคย การควบคุมก็จะเหนือกว่าโชค ผมมองว่านี่คือวัฏจักรที่ไม่ซับซ้อน
และเห็นด้วยครับที่ว่า ทุกภาวะที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง จะเปลี่ยนหลายๆสิ่ง จากหน้ามือเป็นหลังมือ ณ จังหวะนั้น ที่คนส่วนใหญ๋ไม่สังเกตุเห็นล่วงหน้า โชคมีอิทธิพลอย่างสูง
CI(Celebrity Investment) <----- oh! My GOD ผมเกิดมาเพื่อสิ่งนี้
-
- Verified User
- โพสต์: 139
- ผู้ติดตาม: 0
Value Way : เก่งหรือเฮง โดย วิบูลย์ พึงประเสริฐ
โพสต์ที่ 8
ขอ Share ความคิดเห็นด้วยคนครับ ในฐานะที่ช่วงปีที่แล้วได้กำไรมาเยอะ
แต่ปีนี้ก็คืนกำไรกลับไปหมด ยังดีที่ขายออกไปทันเลยไม่เจ๊งหุ้น
ในความคิดของผม ถ้าจะเล่นหุ้นให้ประสบความสำเร็จ น่าจะยึดหลักพระพุทธศาสนา คือทางสายกลาง ครับ คือไม่โลภจนเกินไป, และไม่กลัวจนเกินไป (ศาสนาพุทธสอนให้มีเหตุผล) รวมทั้งพิจารณาการลงทุนในแง่ที่เป็นจริง
อีกทั้งคนที่ประสบความสำเร็จ เช่น ดร.นิเวศน์ จะประกอบด้วยอิทธิบาท
4 (ฉันทะ, วิริยะ, จิตตะ วิมังสา) และคาดหวังและยอมรับผลตอบแทนใน
แง่ของความเป็นจริง
อย่างที่รู้กันครับว่าถ้าเราคาดหวังว่าจะได้กำไรในช่วงสั้นๆ ก็จะมองเป็น
เกมล่าส่วนเกินทุน เมื่อเราได้กำไร เราก็ดีใจคนที่ซื้อจากเราอาจได้กำไรกว่า หรืออาจจะมีความทุกข์ด้วยการขาดทุนก็ได้ จึงเป็น Zero Sum Game ครั้งนี้
เราอาจจะได้ แต่ครั้งต่อไปเราอาจแพ้เจ้ามือ
สำหรับคนที่ประสบความสำเร็จอย่างยาวนานในการลงทุน เช่น Warren
Buffet จะมีจิตเจตนาที่ดี คือการนำกำไรมาให้ทาน และทำประโยชน์เพื่อสังคม คือ การบริจาค ซึ่งเป็นทานบารมี ซึ่งเมื่อมีการให้และแบ่งปัน ความโลภก็จะลดลง และทำให้การพิจารณาความเสี่ยงในการลงทุนได้ดีขึ้น โอกาสผิดพลาดในการลงทุนก็จะมีต่ำลง ทำให้โชค (พระเจ้า ฯลฯ) อยู่ข้างกับ Warren ตลอด
แต่อย่างไรก็ตาม ขอยอมรับส่วนตัวเองก็ยังขจัดความโลภไปไม่ได้ ครับ
ได้กำไรเท่านู้น ก็จะเอาเท่านั้น สุดท้ายเลยทุนหายกำไรหด แถมยังไม่ค่อยได้
บริจาคมากเท่าที่ควร ตอนที่มีกำไร เพราะมัวแต่นึกว่า เมื่อเรากำไรได้เยอะเท่านู้น เท่านี้แล้ว เราถึงจะบริจาคให้มากขึ้น
สุดท้ายเลยแย่เพราะไอ้เจ้าความโลภนี่เอง
แต่ปีนี้ก็คืนกำไรกลับไปหมด ยังดีที่ขายออกไปทันเลยไม่เจ๊งหุ้น
ในความคิดของผม ถ้าจะเล่นหุ้นให้ประสบความสำเร็จ น่าจะยึดหลักพระพุทธศาสนา คือทางสายกลาง ครับ คือไม่โลภจนเกินไป, และไม่กลัวจนเกินไป (ศาสนาพุทธสอนให้มีเหตุผล) รวมทั้งพิจารณาการลงทุนในแง่ที่เป็นจริง
อีกทั้งคนที่ประสบความสำเร็จ เช่น ดร.นิเวศน์ จะประกอบด้วยอิทธิบาท
4 (ฉันทะ, วิริยะ, จิตตะ วิมังสา) และคาดหวังและยอมรับผลตอบแทนใน
แง่ของความเป็นจริง
อย่างที่รู้กันครับว่าถ้าเราคาดหวังว่าจะได้กำไรในช่วงสั้นๆ ก็จะมองเป็น
เกมล่าส่วนเกินทุน เมื่อเราได้กำไร เราก็ดีใจคนที่ซื้อจากเราอาจได้กำไรกว่า หรืออาจจะมีความทุกข์ด้วยการขาดทุนก็ได้ จึงเป็น Zero Sum Game ครั้งนี้
เราอาจจะได้ แต่ครั้งต่อไปเราอาจแพ้เจ้ามือ
สำหรับคนที่ประสบความสำเร็จอย่างยาวนานในการลงทุน เช่น Warren
Buffet จะมีจิตเจตนาที่ดี คือการนำกำไรมาให้ทาน และทำประโยชน์เพื่อสังคม คือ การบริจาค ซึ่งเป็นทานบารมี ซึ่งเมื่อมีการให้และแบ่งปัน ความโลภก็จะลดลง และทำให้การพิจารณาความเสี่ยงในการลงทุนได้ดีขึ้น โอกาสผิดพลาดในการลงทุนก็จะมีต่ำลง ทำให้โชค (พระเจ้า ฯลฯ) อยู่ข้างกับ Warren ตลอด
แต่อย่างไรก็ตาม ขอยอมรับส่วนตัวเองก็ยังขจัดความโลภไปไม่ได้ ครับ
ได้กำไรเท่านู้น ก็จะเอาเท่านั้น สุดท้ายเลยทุนหายกำไรหด แถมยังไม่ค่อยได้
บริจาคมากเท่าที่ควร ตอนที่มีกำไร เพราะมัวแต่นึกว่า เมื่อเรากำไรได้เยอะเท่านู้น เท่านี้แล้ว เราถึงจะบริจาคให้มากขึ้น
สุดท้ายเลยแย่เพราะไอ้เจ้าความโลภนี่เอง