นักลงทุนรายใหญ่ "รังแก" แมงเม่าอย่างไร ?
- vichit
- Verified User
- โพสต์: 15833
- ผู้ติดตาม: 0
นักลงทุนรายใหญ่ "รังแก" แมงเม่าอย่างไร ?
โพสต์ที่ 1
นักลงทุนรายใหญ่ "รังแก" แมงเม่าอย่างไร ?
เมื่อเร็วๆ นี้ ผมได้ฟังการบรรยายสาธารณะของสุทธิพิทักษ์ศาสตราภิชาน ดร.ภาพร เอกอรรถพร แห่งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เรื่อง "กลบัญชี การโยกเงินจากนักลงทุนรายย่อยไปสู่นักลงทุนรายใหญ่" ที่น่าสนใจ จึงขอนำมาเล่าสู่กันฟังเพื่อจะได้ไม่ต้องกินน้ำใบบัวบกวันหลัง
"สุทธิพิทักษ์" คือนามสกุลของ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ส่วน "ศาสตราภิชาน" คือตำแหน่งอาจารย์รับเชิญ ตำแหน่งนี้ก็คือ Chair-Professor ของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศนั่นเอง คือ เชิญมาสอน บรรยาย วิจัย ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
ธุรกิจบัณฑิตย์เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่มีตำแหน่งเช่นนี้ (ที่จุฬาฯ มี ชิน โสภณพนิช ศาสตราภิชาน) มหาวิทยาลัยยังมีอีกสองตำแหน่ง คือ ปรีดี พนมยงค์ ศาสตราภิชาน (คนปัจจุบันที่เป็น คือ ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา) และเกตุทัตศาสตราภิชาน (คนปัจจุบันที่เป็น คือ ศ. ดร.อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ)
ดร.ภาพร บอกว่า ในการลงทุนต้องรู้จักกลโกงที่มีอยู่ดาษดื่นในประเทศไทยให้ดี การโยกเงินเกิดขึ้นก่อนกลบัญชี เพราะกลบัญชีคือการแต่งตัวเลขอย่างจงใจให้ดูดี เป็นวิธีการที่จะทำให้การฉ้อฉลดูดเอาเงินออกจากบริษัท (siphon) ดูไม่น่าเกลียด และทำให้นักลงทุนไม่เห็นในสิ่งที่ควรเห็น
สิ่งที่พูดนี้จะเกี่ยวเฉพาะการโยกเงินสดของบริษัทจากนักลงทุนรายย่อยสู่นักลงทุนรายใหญ่ หรือการเสกเงินในกระป๋องที่เป็นสมบัติรวมของนักลงทุนทุกคนมาอยู่ในกระเป๋าของผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ขอเริ่มต้นจากการที่ผู้ก่อการทำธุรกิจ (ครอบครัวหรือคนกลุ่มหนึ่ง) ใช้ทุนของตนเองตั้งบริษัทประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จากนั้นมีการขายหุ้นหรือระดมทุนให้ประชาชนคนอื่นๆ มาร่วมลงทุนในกิจการนั้นด้วย ซึ่งกลุ่มผู้ก่อการก็จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เมื่อประชุมผู้ถือหุ้นกันผู้ก่อการก็จะกลายเป็น CEO ไป (สมมติว่าเป็นทุนของกลุ่มใหญ่ 60 ล้านบาท ของนักลงทุนรายย่อย 40 ล้านบาท รวมเป็น 100 ล้านบาท)
ดร.ภาพร บอกว่าให้ระวังการ "รังแก" จากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ให้ดี เพราะมีวิธีการผ่องถ่ายหรือดูดเงินของกองกลางมาเข้ากระป๋องตนเองหรือพรรคพวกอยู่ 3 วิธีหลักคือ (1) เอาเงินที่ลงทุนไปคืนมาก่อน (2) หักกำไรเอาไว้ก่อน และ (3) กู้เงินไม่มีดอกเบี้ยหรือไม่จ่ายหนี้
วิธีแรก ของการโกงก็คือ กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทซึ่งขอเรียกว่าบริษัท ก.ไปแอบเปิดบริษัท ข.และคณะกรรมการบริษัท ก. (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนของกลุ่มลงทุนใหญ่ เพราะผู้มีเสียงข้างมากย่อมแต่งตั้งกรรมการบริษัทข้างมากได้เป็นธรรมดา) มีมติให้ไปลงทุนในบริษัท ข. ซึ่งมักเป็นบริษัทลี้ลับนอกตลาดหลักทรัพยฺ์ สมมติเป็นเงิน 60 ล้านบาท บริษัท ข.ซึ่งไม่ได้น่าลงทุนอะไรเลยก็ได้เงินไป 60 ล้านบาท และบริษัท ก.ก็ได้ใบหุ้นแสดงการร่วมทุนกับบริษัท ข.ไป แต่บริษัท ข.จริงๆ เป็นของกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ดังนั้น กลุ่มนี้จึงได้เงินจำนวนนี้สบายแฮไป เรียกว่าได้เงินที่ลงทุนไปแต่แรกกลับคืนแล้ว ต่อไปจะเจ๊งก็ไม่กลัว
ในทางบัญชี บริษัท ก.ก็ยังเข้มแข็งอยู่เพราะเงินสด 60 ล้านบาท นั้นก็แค่แปรรูปเป็นหุ้นแสดงการลงทุนในบริษัท ข. เพียงแต่ว่าในความเป็นจริงผู้ถือหุ้นรายใหญ่เขาเล่นกลสูบเงินออกไปแล้ว แต่แมงเม่าทั้งหลายที่แห่ซื้อหุ้นบริษัท ก.ไว้ หารู้ไม่ว่าบัดนี้ตนเองได้ขยับเข้าใกล้กองไฟไปอีกหนึ่งขั้นแล้ว
วิธีการนี้แพร่หลายในบ้านเรามาก และทำกันมานานอย่างสนุกสนาน ที่รวยๆ กันจนซื้อบ้าน 50-60 ล้านบาท ก็มาจากวิธีนี้ไม่น้อย การสูบเงินแบบนี้ก็ทำกันมากในบริษัทหรือคนที่ร่วมหุ้นกันธรรมดาๆ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ แค่หน้าด้านและจิตใจชั่วร้ายเสียอย่างก็ทำได้อย่างสบายใจ
วิธีที่สอง คือ แอบดูดเอากำไรไว้ก่อนอย่างนอกเหนือจากเงินปันผล สมมติว่านาย ฮ.(ตั้งชื่อเพื่อให้ห่างไกลนาย ก. เพราะกลัวเผลออ่านไม่มีวรรค) เป็นผู้ก่อการธุรกิจและเป็น CEO ของบริษัท ก. วิธีที่ทำก็คือ นาย ฮ.มีเงินเดือนสูงมาก บวกรถประจำตำแหน่ง ค่ารับรอง ค่าคอนโด ค่าประกันชีวิต ค่าสันทนาการ ค่าประกันสุขภาพ ค่าเป็นสมาชิก Golf เรียกว่าสารพัดสิ่งที่เรียกว่า perks และสิทธิพิเศษในการซื้อหุ้นที่ต่ำกว่าราคาตลาด ฯลฯ
โดยผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่มีทางรู้ได้เลย อย่างดีก็แค่รู้เงินเดือนจากการถามในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งอาจเป็นเพียง 1 ใน 4 ของรายได้ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินที่รับจริงรวมกันก็ได้
แค่นี้ยังพอทน แต่ที่มันหนักหนาก็คือ นาย ฮ.หรือกลุ่มพรรคพวกมักมีบริษัทส่วนตัวจำนวนมากที่มาทำธุรกิจวนเวียนอยู่กับบริษัท ก. และเรียกเก็บค่าบริการไม่ว่าจากการทำงานให้จริงหรือปลอม (คือมีแต่ลม แต่บริษัท ก.ต้องจ่ายเงินให้) หรือในราคาแพงสุดสุด หรือประมูลงานของ ก.ได้ทุกที ในราคาสุดแสบ โดยผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่มีทางห้ามปรามได้
นอกจากนี้บริษัท ก.มีลูกบริษัทในเครือมากมาย (พนันได้ว่ากลุ่มนาย ฮ.ลงทุนร่วมทั้งเปิดเผยและแอบแฝง) นาย ฮ.และพรรคพวกบริหารงานหลายบริษัทจนได้เบี้ยประชุมมากมาย และบริษัทแม่คือ ก.จ่ายค่าบริหารจัดการ ค่าเดินทางไปเจรจาต่างประเทศ ค่าบริหารการตลาด ค่ารับรอง ฯลฯ ให้แก่บริษัทลูกเหล่านี้และคนเหล่านี้อย่างหน้าชื่น
ดร.ภาพร บอกว่า ที่มักทำกันก็คือ บริษัทส่วนตัวของ นาย ฮ.และพรรคพวก ซื้อขายสินค้ากับบริษัท ก.อย่างสนุกโดยใช้ราคาเป็นเครื่องมือ "สูบ" ถ้าซื้อทรัพย์สินจาก ก.ก็จะเป็นราคาต่ำมาก แต่ถ้าขายทรัพย์สินให้ ก.ก็จะเป็นราคาสูงมาก ถ้าขายสินค้าให้ ก.ราคาก็จะสูงปรี๊ด แต่ถ้าซื้อจาก ก.มาราคาก็ทิ่มดิน
อย่างนี้ถ้านาย ฮ.และพรรคพวกไม่รวยก็ไม่รู้จะว่าอย่างไรแล้ว แต่คนที่จนลงก็คือแมงเม่าผู้ถือหุ้นรายย่อยทั้งหลาย ควรจะได้รับเงินปันผลมากกว่าเดิม และบริษัทมั่นคงกว่าเดิมแต่ก็ไม่เกิดขึ้น จะแก้ไขข้อเสียเปรียบได้ก็คงต้องแต่งงานร่วมวงศ์อสัญแดหวา (โจร) กับนาย ฮ.กระมัง
วิธีที่สาม ก็คือ นาย ฮ.และผู้บริหารกู้เงินไม่มีดอกเบี้ยจากบริษัท ก. และบ่อยครั้งก็ชักดาบ แต่ก็ไม่มีปัญหาเพราะต่อมายกหนี้ให้โดยถือว่าเป็นโบนัส (ดร.ภาพร บอกว่า ไปดูงบการเงินของบริษัทใหญ่ที่ปรับโครงสร้างหนี้หลังวิกฤตเศรษฐกิจแล้ว จะเห็นชัดเจนว่า ผู้บริหารเหล่านี้เกิดมามีบุญวาสนามากเพราะหนี้ส่วนตัวจำนวนมาก ในที่สุดคนทั้งประเทศจะเป็นผู้รับภาระแทนด้วยเงินภาษีอากร)
บ่อยครั้ง บริษัท ก.กู้เงินจากธนาคาร และนำมาให้นาย ฮ.หรือบริษัทส่วนตัวของนาย ฮ.กู้ยืมเงินต่อด้วยอัตราดอกเบี้ยและมักแทงเป็นหนี้สูญเมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่ง
นี่เป็นเพียงตัวอย่างส่วนน้อย ที่พิสดารมีมากกว่านี้อีก เช่น บริษ้ท ก.เช่าอาคารที่เป็นสมบัติส่วนตัวของนาย ฮ.สัญญา 50 ปี และจ่ายค่าเช่าล่วงหน้า 50 ปีให้นาย ฮ.ด้วย !
เงินเดือนของ นาย ฮ.และญาติพี่น้องของนาย ฮ.ในบริษัทนั้นรวมกันแล้วในแต่ละเดือนสูงนับเป็นร้อยเป็นพันเท่าของเงินเดือนของพนักงานในบริษัททุกคนรวมกัน
ถามว่าทางการตรวจสอบไม่ได้หรือด้วยวิธีการบัญชี คำตอบคือ ยากมาก เพราะเขาโยกกันไปก่อนแต่งบัญชี แต่จริงๆ ก็ทำได้ด้วยวิชา Forensic Accounting (ทำแบบหมอพรทิพย์ทำกับศพ แต่นี่คือ การ "แกะรอย" เส้นทางเดินของเงินสด การลงบัญชี ข้อมูลรอบข้าง ฯลฯ) แต่เสียเวลามาก และไม่มีใครอยากทำ
วิธีการเหล่านี้ ดร.ภาพร ซึ่งมีประสบการณ์ทำงานในด้านตรวจสอบบัญชีในภาคเอกชนและทำให้ภาครัฐมานานพอควร ตลอดจนสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาหลายปี บอกว่าปัจจุบันก็ยังคงทำกันอยู่อย่างสนุกสนาน
จำเป็นหรือไม่ว่าวิธีการเหล่านี้จะเกิดเฉพาะในบริษัทใหญ่ในตลาดที่ผู้ก่อการและครอบครัวถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 คำตอบคือไม่จำเป็น แค่ถือหุ้นรวมกันร้อยละ 30 ก็สามารถทำให้นาย ฮ.เป็น CEO และแต่งตั้งพรรคพวกเป็นกรรมการเพื่อร่วมกันปู้ยี่ปู้ยำบริษัทในระดับที่พอทำให้บริษัทอยู่ได้ มีกำไร และผู้ถือหุ้นพอใจ
ทั้งนี้ เพราะผู้ถือหุ้นไทยมักไม่ไปประชุมผู้ถือหุ้นกัน และไม่มอบฉันทะให้ใครลงคะแนนแทนด้วย
ดร.ภาพร บอกว่าไม่ใช่ทุกบริษัทในตลาดที่ "สูบ" บริษัทไทยที่มีธรรมาภิบาลก็มีอยู่เหมือนกัน มีคุณธรรมและจริยธรรมพอที่จะไม่ "รังแก" ผู้ถือหุ้นรายย่อยท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่การควบคุม ติดตาม ตรวจจับ กลโกงเหล่านี้เป็นไปได้ยากเย็น และยังไม่เห็นวี่แววว่าจะมีการออกกฎหมายลงโทษหนัก และเอาคนทำผิดติดคุกจริงๆ สักที
กลโกงเหล่านี้ ในบริษัทเล็กๆ ที่ท่านร่วมหุ้นกับเพื่อนก็เกิดขึ้นได้ หากท่านไม่สร้างกติกาป้องกันให้ดี ท่านอาจเสียทั้งเงินและเพื่อนด้วย
http://nidambe11.net/ekonomiz/2004q3/ar ... ug27p1.htm
เมื่อเร็วๆ นี้ ผมได้ฟังการบรรยายสาธารณะของสุทธิพิทักษ์ศาสตราภิชาน ดร.ภาพร เอกอรรถพร แห่งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เรื่อง "กลบัญชี การโยกเงินจากนักลงทุนรายย่อยไปสู่นักลงทุนรายใหญ่" ที่น่าสนใจ จึงขอนำมาเล่าสู่กันฟังเพื่อจะได้ไม่ต้องกินน้ำใบบัวบกวันหลัง
"สุทธิพิทักษ์" คือนามสกุลของ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ส่วน "ศาสตราภิชาน" คือตำแหน่งอาจารย์รับเชิญ ตำแหน่งนี้ก็คือ Chair-Professor ของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศนั่นเอง คือ เชิญมาสอน บรรยาย วิจัย ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
ธุรกิจบัณฑิตย์เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่มีตำแหน่งเช่นนี้ (ที่จุฬาฯ มี ชิน โสภณพนิช ศาสตราภิชาน) มหาวิทยาลัยยังมีอีกสองตำแหน่ง คือ ปรีดี พนมยงค์ ศาสตราภิชาน (คนปัจจุบันที่เป็น คือ ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา) และเกตุทัตศาสตราภิชาน (คนปัจจุบันที่เป็น คือ ศ. ดร.อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ)
ดร.ภาพร บอกว่า ในการลงทุนต้องรู้จักกลโกงที่มีอยู่ดาษดื่นในประเทศไทยให้ดี การโยกเงินเกิดขึ้นก่อนกลบัญชี เพราะกลบัญชีคือการแต่งตัวเลขอย่างจงใจให้ดูดี เป็นวิธีการที่จะทำให้การฉ้อฉลดูดเอาเงินออกจากบริษัท (siphon) ดูไม่น่าเกลียด และทำให้นักลงทุนไม่เห็นในสิ่งที่ควรเห็น
สิ่งที่พูดนี้จะเกี่ยวเฉพาะการโยกเงินสดของบริษัทจากนักลงทุนรายย่อยสู่นักลงทุนรายใหญ่ หรือการเสกเงินในกระป๋องที่เป็นสมบัติรวมของนักลงทุนทุกคนมาอยู่ในกระเป๋าของผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ขอเริ่มต้นจากการที่ผู้ก่อการทำธุรกิจ (ครอบครัวหรือคนกลุ่มหนึ่ง) ใช้ทุนของตนเองตั้งบริษัทประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จากนั้นมีการขายหุ้นหรือระดมทุนให้ประชาชนคนอื่นๆ มาร่วมลงทุนในกิจการนั้นด้วย ซึ่งกลุ่มผู้ก่อการก็จะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เมื่อประชุมผู้ถือหุ้นกันผู้ก่อการก็จะกลายเป็น CEO ไป (สมมติว่าเป็นทุนของกลุ่มใหญ่ 60 ล้านบาท ของนักลงทุนรายย่อย 40 ล้านบาท รวมเป็น 100 ล้านบาท)
ดร.ภาพร บอกว่าให้ระวังการ "รังแก" จากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ให้ดี เพราะมีวิธีการผ่องถ่ายหรือดูดเงินของกองกลางมาเข้ากระป๋องตนเองหรือพรรคพวกอยู่ 3 วิธีหลักคือ (1) เอาเงินที่ลงทุนไปคืนมาก่อน (2) หักกำไรเอาไว้ก่อน และ (3) กู้เงินไม่มีดอกเบี้ยหรือไม่จ่ายหนี้
วิธีแรก ของการโกงก็คือ กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทซึ่งขอเรียกว่าบริษัท ก.ไปแอบเปิดบริษัท ข.และคณะกรรมการบริษัท ก. (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนของกลุ่มลงทุนใหญ่ เพราะผู้มีเสียงข้างมากย่อมแต่งตั้งกรรมการบริษัทข้างมากได้เป็นธรรมดา) มีมติให้ไปลงทุนในบริษัท ข. ซึ่งมักเป็นบริษัทลี้ลับนอกตลาดหลักทรัพยฺ์ สมมติเป็นเงิน 60 ล้านบาท บริษัท ข.ซึ่งไม่ได้น่าลงทุนอะไรเลยก็ได้เงินไป 60 ล้านบาท และบริษัท ก.ก็ได้ใบหุ้นแสดงการร่วมทุนกับบริษัท ข.ไป แต่บริษัท ข.จริงๆ เป็นของกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่
ดังนั้น กลุ่มนี้จึงได้เงินจำนวนนี้สบายแฮไป เรียกว่าได้เงินที่ลงทุนไปแต่แรกกลับคืนแล้ว ต่อไปจะเจ๊งก็ไม่กลัว
ในทางบัญชี บริษัท ก.ก็ยังเข้มแข็งอยู่เพราะเงินสด 60 ล้านบาท นั้นก็แค่แปรรูปเป็นหุ้นแสดงการลงทุนในบริษัท ข. เพียงแต่ว่าในความเป็นจริงผู้ถือหุ้นรายใหญ่เขาเล่นกลสูบเงินออกไปแล้ว แต่แมงเม่าทั้งหลายที่แห่ซื้อหุ้นบริษัท ก.ไว้ หารู้ไม่ว่าบัดนี้ตนเองได้ขยับเข้าใกล้กองไฟไปอีกหนึ่งขั้นแล้ว
วิธีการนี้แพร่หลายในบ้านเรามาก และทำกันมานานอย่างสนุกสนาน ที่รวยๆ กันจนซื้อบ้าน 50-60 ล้านบาท ก็มาจากวิธีนี้ไม่น้อย การสูบเงินแบบนี้ก็ทำกันมากในบริษัทหรือคนที่ร่วมหุ้นกันธรรมดาๆ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นบริษัทใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์ แค่หน้าด้านและจิตใจชั่วร้ายเสียอย่างก็ทำได้อย่างสบายใจ
วิธีที่สอง คือ แอบดูดเอากำไรไว้ก่อนอย่างนอกเหนือจากเงินปันผล สมมติว่านาย ฮ.(ตั้งชื่อเพื่อให้ห่างไกลนาย ก. เพราะกลัวเผลออ่านไม่มีวรรค) เป็นผู้ก่อการธุรกิจและเป็น CEO ของบริษัท ก. วิธีที่ทำก็คือ นาย ฮ.มีเงินเดือนสูงมาก บวกรถประจำตำแหน่ง ค่ารับรอง ค่าคอนโด ค่าประกันชีวิต ค่าสันทนาการ ค่าประกันสุขภาพ ค่าเป็นสมาชิก Golf เรียกว่าสารพัดสิ่งที่เรียกว่า perks และสิทธิพิเศษในการซื้อหุ้นที่ต่ำกว่าราคาตลาด ฯลฯ
โดยผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่มีทางรู้ได้เลย อย่างดีก็แค่รู้เงินเดือนจากการถามในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งอาจเป็นเพียง 1 ใน 4 ของรายได้ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินที่รับจริงรวมกันก็ได้
แค่นี้ยังพอทน แต่ที่มันหนักหนาก็คือ นาย ฮ.หรือกลุ่มพรรคพวกมักมีบริษัทส่วนตัวจำนวนมากที่มาทำธุรกิจวนเวียนอยู่กับบริษัท ก. และเรียกเก็บค่าบริการไม่ว่าจากการทำงานให้จริงหรือปลอม (คือมีแต่ลม แต่บริษัท ก.ต้องจ่ายเงินให้) หรือในราคาแพงสุดสุด หรือประมูลงานของ ก.ได้ทุกที ในราคาสุดแสบ โดยผู้ถือหุ้นรายย่อยไม่มีทางห้ามปรามได้
นอกจากนี้บริษัท ก.มีลูกบริษัทในเครือมากมาย (พนันได้ว่ากลุ่มนาย ฮ.ลงทุนร่วมทั้งเปิดเผยและแอบแฝง) นาย ฮ.และพรรคพวกบริหารงานหลายบริษัทจนได้เบี้ยประชุมมากมาย และบริษัทแม่คือ ก.จ่ายค่าบริหารจัดการ ค่าเดินทางไปเจรจาต่างประเทศ ค่าบริหารการตลาด ค่ารับรอง ฯลฯ ให้แก่บริษัทลูกเหล่านี้และคนเหล่านี้อย่างหน้าชื่น
ดร.ภาพร บอกว่า ที่มักทำกันก็คือ บริษัทส่วนตัวของ นาย ฮ.และพรรคพวก ซื้อขายสินค้ากับบริษัท ก.อย่างสนุกโดยใช้ราคาเป็นเครื่องมือ "สูบ" ถ้าซื้อทรัพย์สินจาก ก.ก็จะเป็นราคาต่ำมาก แต่ถ้าขายทรัพย์สินให้ ก.ก็จะเป็นราคาสูงมาก ถ้าขายสินค้าให้ ก.ราคาก็จะสูงปรี๊ด แต่ถ้าซื้อจาก ก.มาราคาก็ทิ่มดิน
อย่างนี้ถ้านาย ฮ.และพรรคพวกไม่รวยก็ไม่รู้จะว่าอย่างไรแล้ว แต่คนที่จนลงก็คือแมงเม่าผู้ถือหุ้นรายย่อยทั้งหลาย ควรจะได้รับเงินปันผลมากกว่าเดิม และบริษัทมั่นคงกว่าเดิมแต่ก็ไม่เกิดขึ้น จะแก้ไขข้อเสียเปรียบได้ก็คงต้องแต่งงานร่วมวงศ์อสัญแดหวา (โจร) กับนาย ฮ.กระมัง
วิธีที่สาม ก็คือ นาย ฮ.และผู้บริหารกู้เงินไม่มีดอกเบี้ยจากบริษัท ก. และบ่อยครั้งก็ชักดาบ แต่ก็ไม่มีปัญหาเพราะต่อมายกหนี้ให้โดยถือว่าเป็นโบนัส (ดร.ภาพร บอกว่า ไปดูงบการเงินของบริษัทใหญ่ที่ปรับโครงสร้างหนี้หลังวิกฤตเศรษฐกิจแล้ว จะเห็นชัดเจนว่า ผู้บริหารเหล่านี้เกิดมามีบุญวาสนามากเพราะหนี้ส่วนตัวจำนวนมาก ในที่สุดคนทั้งประเทศจะเป็นผู้รับภาระแทนด้วยเงินภาษีอากร)
บ่อยครั้ง บริษัท ก.กู้เงินจากธนาคาร และนำมาให้นาย ฮ.หรือบริษัทส่วนตัวของนาย ฮ.กู้ยืมเงินต่อด้วยอัตราดอกเบี้ยและมักแทงเป็นหนี้สูญเมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่ง
นี่เป็นเพียงตัวอย่างส่วนน้อย ที่พิสดารมีมากกว่านี้อีก เช่น บริษ้ท ก.เช่าอาคารที่เป็นสมบัติส่วนตัวของนาย ฮ.สัญญา 50 ปี และจ่ายค่าเช่าล่วงหน้า 50 ปีให้นาย ฮ.ด้วย !
เงินเดือนของ นาย ฮ.และญาติพี่น้องของนาย ฮ.ในบริษัทนั้นรวมกันแล้วในแต่ละเดือนสูงนับเป็นร้อยเป็นพันเท่าของเงินเดือนของพนักงานในบริษัททุกคนรวมกัน
ถามว่าทางการตรวจสอบไม่ได้หรือด้วยวิธีการบัญชี คำตอบคือ ยากมาก เพราะเขาโยกกันไปก่อนแต่งบัญชี แต่จริงๆ ก็ทำได้ด้วยวิชา Forensic Accounting (ทำแบบหมอพรทิพย์ทำกับศพ แต่นี่คือ การ "แกะรอย" เส้นทางเดินของเงินสด การลงบัญชี ข้อมูลรอบข้าง ฯลฯ) แต่เสียเวลามาก และไม่มีใครอยากทำ
วิธีการเหล่านี้ ดร.ภาพร ซึ่งมีประสบการณ์ทำงานในด้านตรวจสอบบัญชีในภาคเอกชนและทำให้ภาครัฐมานานพอควร ตลอดจนสอนหนังสือในมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาหลายปี บอกว่าปัจจุบันก็ยังคงทำกันอยู่อย่างสนุกสนาน
จำเป็นหรือไม่ว่าวิธีการเหล่านี้จะเกิดเฉพาะในบริษัทใหญ่ในตลาดที่ผู้ก่อการและครอบครัวถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 คำตอบคือไม่จำเป็น แค่ถือหุ้นรวมกันร้อยละ 30 ก็สามารถทำให้นาย ฮ.เป็น CEO และแต่งตั้งพรรคพวกเป็นกรรมการเพื่อร่วมกันปู้ยี่ปู้ยำบริษัทในระดับที่พอทำให้บริษัทอยู่ได้ มีกำไร และผู้ถือหุ้นพอใจ
ทั้งนี้ เพราะผู้ถือหุ้นไทยมักไม่ไปประชุมผู้ถือหุ้นกัน และไม่มอบฉันทะให้ใครลงคะแนนแทนด้วย
ดร.ภาพร บอกว่าไม่ใช่ทุกบริษัทในตลาดที่ "สูบ" บริษัทไทยที่มีธรรมาภิบาลก็มีอยู่เหมือนกัน มีคุณธรรมและจริยธรรมพอที่จะไม่ "รังแก" ผู้ถือหุ้นรายย่อยท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่การควบคุม ติดตาม ตรวจจับ กลโกงเหล่านี้เป็นไปได้ยากเย็น และยังไม่เห็นวี่แววว่าจะมีการออกกฎหมายลงโทษหนัก และเอาคนทำผิดติดคุกจริงๆ สักที
กลโกงเหล่านี้ ในบริษัทเล็กๆ ที่ท่านร่วมหุ้นกับเพื่อนก็เกิดขึ้นได้ หากท่านไม่สร้างกติกาป้องกันให้ดี ท่านอาจเสียทั้งเงินและเพื่อนด้วย
http://nidambe11.net/ekonomiz/2004q3/ar ... ug27p1.htm
- kmphol
- Verified User
- โพสต์: 417
- ผู้ติดตาม: 0
นักลงทุนรายใหญ่ "รังแก" แมงเม่าอย่างไร ?
โพสต์ที่ 2
ขอบคุณครับ
ไม่รู้ว่ากลโกงแบบนี้
บริษัทเล็ก กับใหญ่
อันไหนโอกาสเกิดขึ้นมากกว่ากัน
อันไหนมีการตรวจสอบจากสาธารณชนที่เข้มข้นกว่ากัน
ได้ยินแบบนี้ก็รู้สึกขยาดกับตลาดทุนบ้านเราเหมือนกัน
ที่รายย่อย ต้องช่วยตัวเองทุกอย่าง
ไม่รู้ว่ากลโกงแบบนี้
บริษัทเล็ก กับใหญ่
อันไหนโอกาสเกิดขึ้นมากกว่ากัน
อันไหนมีการตรวจสอบจากสาธารณชนที่เข้มข้นกว่ากัน
ได้ยินแบบนี้ก็รู้สึกขยาดกับตลาดทุนบ้านเราเหมือนกัน
ที่รายย่อย ต้องช่วยตัวเองทุกอย่าง
- thumbman2001
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 8116
- ผู้ติดตาม: 1
นักลงทุนรายใหญ่ "รังแก" แมงเม่าอย่างไร ?
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณครับ
น่าจะมีการรวบรวมรายชื่อหรือนามสกุลที่ต้องระมัดระวังอย่างสูง
ไว้ด้วยครับ จะได้ไม่ไปข้องแวะครับ
น่าจะมีการรวบรวมรายชื่อหรือนามสกุลที่ต้องระมัดระวังอย่างสูง
ไว้ด้วยครับ จะได้ไม่ไปข้องแวะครับ