เซียน 'แวลูอินเวสเตอร์' เริ่มขยับ 'ใครขาย-ข้าช้อป
- kakathi
- Verified User
- โพสต์: 186
- ผู้ติดตาม: 0
เซียน 'แวลูอินเวสเตอร์' เริ่มขยับ 'ใครขาย-ข้าช้อป
โพสต์ที่ 1
เซียน 'แวลูอินเวสเตอร์' เริ่มขยับ 'ใครขาย-ข้าช้อป'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 3 พฤษภาคม 2553 01:00
ปรากฏการณ์ตลาดหุ้นไทยปี 2552 ปรับตัวขึ้นมากว่า 53% (ต้นปี 478.69 จุด ปลายปี 734.54 จุด) ในจำนวนนั้น มีทั้งเศรษฐีใหม่ที่มองเห็นโอกาสในวิกฤติ และผู้ที่ตกขบวนที่ทำกำไรต่ำกว่าผลตอบแทนตลาดรวม จนถึงต้นเดือนมีนาคม 2553 ต่างชาติที่พลาดโอกาสเมื่อปีก่อน เริ่มเข้ามาลุยเก็บหุ้นไทยด้วยยอดซื้อสุทธิรวมกว่า 4 หมื่นล้านบาท (ต้นปี-ปัจจุบัน) ขณะที่ผู้ขายหลักมีสองกลุ่ม คือ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนรายย่อย
หลังตลาดหุ้นฝ่าม็อบเสื้อแดงย่านผ่านฟ้าและสี่แยกราชประสงค์ขึ้นไปได้แค่เพียง 820 จุด ก็โดนระเบิด (วันที่ 10 เมษายน) ถล่มลงมาต่ำสุด 714 จุด หรือตกกว่า 100 จุด ภายใน 5 วันทำการ ก่อนจะเคลื่อนไหวตามข่าวความรุนแรงที่ส่อเค้าบานปลายและไร้จุดจบ ขณะที่วอลุ่มการซื้อขายที่เคยหนาแน่นวันละกว่า 3 หมื่นล้านบาท ลดเหลือไม่ถึง 2 หมื่นล้านบาทต่อวัน
ท่ามกลางความคลุมเครือทางการเมืองและความตื่นตระหนกของนักลงทุนระยะสั้น กลุ่มนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าหรือแวลูอินเวสเตอร์ ต่างกำลังจ้องหาโอกาสเข้าเก็บหุ้นที่เติบโตต่อเนื่องในราคาย่อมเยา พวกเขามองว่านี่เป็นโอกาสเข้าลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนอย่างสมน้ำสมเนื้อก่อนที่รถไฟขบวนนี้จะวิ่งยาวภายใต้ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจกำลังก้าวไปสู่ยุครุ่งโรจน์อีกหลายปีข้างหน้า
ช่วงที่ตลาดหุ้นดิ่งพสุธากลุ่มนักลงทุนหุ้นคุณค่าจัดเสวนาประเมินสถานการณ์และมองวิกฤติครั้งนี้ไม่ใช่วิกฤติแต่เป็นโอกาสของการลงทุน ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร โรลโมเดลแวลูอินเวสเตอร์เมืองไทย เปิดฉากว่า ตลาดหุ้นไทยตอนนี้ปรับลดลงมาเยอะพอสมควรทำให้เริ่มกลับมาจับตาหุ้นดีๆ อีกครั้ง ส่วนตัวมองว่าเศรษฐกิจปีนี้และปีหน้าจะเติบโตต่อเนื่องแน่นอน ตลาดหุ้นก็จะดีตามไปด้วย ตอนนี้มีเงินสดถืออยู่ในมือ 10% ของพอร์ต เงินจำนวนนี้พร้อมที่จะลงทุน
สำหรับวิธีการเลือกหุ้น ดร.นิเวศน์ ย้ำแนวทางเดิม คือ ค้นหา Wonderful Business ในราคาที่สมเหตุผล ต้องเป็นบริษัทที่มีกระแสเงินสดที่ดี และมองเห็นทิศทางการเติบโตในอีก 3-5 ปีข้างหน้า พยายามคัดเลือกหุ้นมาให้ได้ 10 บริษัท และกรองให้เหลือ 3-4 ตัวก็พอ
เซียนแวลูอินเวสเตอร์เมืองไทย บอกว่า การคัดเลือกหุ้นบางครั้งไม่จำเป็นต้องคิดซับซ้อนมากให้คิดเหมือนกับการเลือกจีบผู้หญิง ถ้าเห็นแล้วชอบถูกใจก็เลือกไปได้เลย แล้วถ้าพื้นฐานเปลี่ยนไปค่อยตัดสินใจต่อว่าจะขายดีหรือไม่ ที่ผ่านมาเคยทำวิจัยขึ้นเองเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า เก็บรวบรวมข้อมูลมาตั้งแต่ปี 2543 ถึงปี 2551 พบว่า แม้ในช่วงที่ตลาดเป็นขาขึ้น ผลตอบแทนของพอร์ตหุ้นแบบเน้นคุณค่าอาจจะไม่หวือหวามากนัก แต่ในภาวะที่ตลาดเป็นขาลงหรือผันผวนหนักจะให้ผลตอบแทนที่ "น่าทึ่ง"
สำหรับหุ้นที่เข้าข่ายจะเป็นหุ้นคุณค่าได้จะต้องมีคุณสมบัติสำคัญๆ ดังนี้ ค่าพี/อี เรโช ไม่เกิน 10 เท่า ราคาปิดต่อบุ๊คแวลู (P/BV) ไม่เกิน 1 เท่า และมี Dividend Yield มากกว่า 3% นอกจากนั้นคือความสามารถในการแข่งขัน ผลสำรวจในตลาดหุ้นไทยพบว่ามีบริษัทที่อยู่ในข่ายที่ว่านี้ประมาณ 70 บริษัท
โดยปี 2543 เป็นปีที่มีหุ้นอยู่ในข่ายเป็นหุ้นคุณค่าเพียง 47 บริษัทน้อยที่สุดใน 9 ปี (2543-2551) เพราะเพิ่งฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจ นอกจากนี้พอร์ตของแวลูอินเวสเตอร์ยังมีกำไรเกือบทุกปียกเว้นปี 2551 ที่ขาดทุน 2% ปีที่กำไรสูงสุดคือปี 2549 ที่กำไร 73% คิดเป็นกำไรเฉลี่ยปีละ 34%
ขณะที่การลงทุนตามภาวะตลาดในช่วง 9 ปี มี 4 ปีที่ขาดทุน และปีที่ขาดทุนหนักที่สุดคือปี 2551 ประมาณ 43% ดีที่สุดอยู่ในปี 2546 อยู่ที่ 118% ซึ่งเป็นเพียงปีเดียวที่ผลตอบแทนดีกว่าพอร์ตหุ้นแบบเน้นคุณค่า และมีผลตอบแทนเฉลี่ย 9 ปี อยู่ที่ 4.8% ต่อปี
"ถ้าเราลงทุนแบบแวลูอินเวสเตอร์ ผลตอบแทนเงิน 1 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2543-2551 พอร์ตจะเพิ่มเป็น 13.6 ล้านบาท ในขณะที่ถ้าเล่นหุ้นตามภาวะตลาดพอร์ตจะเพิ่มขึ้นมาเพียงแค่ 1.5 ล้านบาท"
ดร.นิเวศน์ ยอมรับว่า ถ้าจะเริ่มลงทุนแบบเน้นคุณค่าในตอนนี้ผลตอบแทนอาจจะไม่สูงเท่ากับสมัยเริ่มต้นเมื่อปี 2542 อีกแล้ว เพราะตอนนั้นหุ้นราคาถูกมีอยู่เต็มตลาด แต่ตอนนี้ราคาขึ้นมาเยอะแล้ว ถึงอย่างไรยังเป็นแนวทางการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มองหาโอกาสในวิกฤติ และไม่ต้องการรับความผันผวนของภาวะตลาด
ด้านมุมมองจากนักลงทุนกลุ่มไทยวีไอ ดอทคอม อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลที่หันชีวิตมาเป็นนักลงทุนหุ้นคุณค่าเต็มตัว นายแพทย์บำรุง ศรีงาม หรือฉายา "หมอสามัญชน" แบ่งปันแนวคิดการลงทุนให้ฟังว่าส่วนตัวจะทำ การบ้าน (เลือกหุ้น) อย่างหนัก บางครั้งศึกษาข้อมูลเป็นสัปดาห์ เริ่มแรกจะดูก่อนว่าบริษัทไหนธุรกิจน่าจะเป็นขาขึ้น แล้วก็ดูกระแสเงินสด กำไรสุทธิและเงินปันผล
จากนั้นก็ดูว่าธุรกิจที่ทำอยู่นั้นมีใครเป็นคู่แข่งบ้างและมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบอย่างไรบ้าง แล้วถึงเริ่มหาราคายุติธรรมหรือแฟร์แวลู เทียบกับราคาตลาดในปัจจุบันถ้ายังอันเดอร์แวลู (มูลค่ากิจการสูงกว่าราคาตลาด) ก็จะคัดเข้ามากรองอีกที
"ส่วนตัวผมชอบหุ้นที่เป็นวัฏจักรถ้าราคาหุ้นที่ซื้อถึงแฟร์แวลูแล้ว (หุ้นขึ้นถึงราคาที่คำนวณไว้) ผมก็จะขายเลย ส่วนใหญ่จะถือตั้งแต่ 6 เดือนถึงหนึ่งปี"
นายแพทย์บำรุง เป็นหนึ่งใน 3 คนในฐานะผู้ถือหุ้นบุคคลธรรมดาที่ได้รับรางวัล "ผู้ถือหุ้นคุณภาพ" (Valued Shareholder Award) เนื่องจากได้รักษาสิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นที่มีส่วนเป็นเจ้าของบริษัท คอยติดตามการบริหารงานของคณะกรรมการและผู้บริหารอย่างสม่ำเสมอ พอร์ตหุ้นปัจจุบันของคุณหมอมีหุ้นหลักอยู่ 2-3 ตัว และหุ้นรอง 7-8 ตัว (รวมประมาณ 10 ตัว) ปัจจุบันลดวงเงินมาร์จินเหลืออยู่ที่ 130% จากแต่ก่อน 200% เพราะต้องการลดความเสี่ยงให้น้อยลงตามอายุที่มากขึ้น
แวลูอินเวสเตอร์ตัวยงอีกคน มนตรี นิพิฐวิทยา หนึ่งในผู้เขียนคอลัมน์ Value Way ในกรุงเทพธุรกิจ BizWeek และผู้เขียนหนังสือขายดี "ลงทุนทองคำ จับทิศทาง Gold Price จากประวัติศาสตร์" บอกว่า ที่ผ่านมาได้ทยอยลดสัดส่วนหุ้นไทยเหลือเพียง 20% และหันไปซื้อกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ถึง 60% ของพอร์ต และกองทุนอีทีเอฟทองคำอีก 20%
มนตรีเห็นด้วยกับ ดร.นิเวศน์ว่าหุ้นไทยตอนนี้ลงมาเยอะจนน่าสนใจ ช่วงที่หุ้นขึ้นมาเยอะได้ขายออกไปบ้างแล้ว ตอนนี้กำลังเล็งๆ ที่จะโยกเงินจากทองคำไปซื้อหุ้นไทยอีกครั้งเพราะผลตอบแทนระยะยาวเริ่มน่าสนใจมากขึ้น และผลตอบแทนจากทองคำไม่น่าสนใจมาก
อีกหนึ่งนักลงทุนหุ้นคุณค่าตัวจริง ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ อดีตนายธนาคารที่หันมาเป็นนักลงทุนหุ้นคุณค่าเต็มตัว บอกว่า ส่วนตัวจะเลือกหุ้นที่อยากเป็นเจ้าของ สไตล์การลงทุนจะชอบถือยาวเคยถือหุ้นตัวเดียวนาน 5-6 ปี ก็ทำมาแล้ว
ก่อนหน้านี้เขาเคยระบุในบทสัมภาษณ์แห่งหนึ่งว่า การลงทุนแบบแวลูอินเวสเตอร์ ให้เวลากับเรา ไม่ต้องเฝ้า กลางคืนนอนหลับ เมื่อก่อนนอนไม่ได้ กลางคืนต้องมานั่งดูดัชนีดาวโจนส์ ดูข่าว แต่ตอนนี้ก็สนใจแต่กิจการของเรา และไม่ใช่แค่รูปแบบการลงทุนเท่านั้นที่เป็นแบบเน้นคุณค่า แต่การใช้ชีวิตก็จะเน้นคุณค่าไปด้วย โดยใช้ชีวิตพอเพียง รู้คุณค่าการใช้เงิน ซึ่งจะตรงข้ามกับคนที่เข้ามาเล่นหุ้นแล้วหวังว่าจะรวย
"คนที่เป็นแวลูอินเวสเตอร์จริงๆ จังๆ จะศึกษาธรรมะเพราะชีวิตจะไม่ตื่นเต้น จิตใจจะสงบ และถ้าไม่มีธรรมะมายึดเหนี่ยวไว้ก็จะอยู่ในแนวนี้ไม่ได้ เพราะวีไอจะเป็นเรื่องของจิตใจมาเป็นอันดับหนึ่ง ถ้าหลงติดบ่วงกิเลส ถูกยั่วยวนจากราคาหุ้นก็เป็นวีไอไม่ได้"
ด้วยความที่เคยอยู่ฝ่ายพิจารณาสินเชื่อจึงให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์กระแสเงินสดเป็นหลัก ปัจจุบันฉัตรชัย เลือกที่จะลงทุนในหุ้น 90% ที่เหลือเป็นพันธบัตรรัฐบาล ส่วนตัวยังไม่คิดขายหุ้นที่ถืออยู่ตอนนี้แต่ถ้าราคาตกลงมามากๆ ก็อาจเข้าไปเก็บเพิ่ม
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... าช้อป.html
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 3 พฤษภาคม 2553 01:00
ปรากฏการณ์ตลาดหุ้นไทยปี 2552 ปรับตัวขึ้นมากว่า 53% (ต้นปี 478.69 จุด ปลายปี 734.54 จุด) ในจำนวนนั้น มีทั้งเศรษฐีใหม่ที่มองเห็นโอกาสในวิกฤติ และผู้ที่ตกขบวนที่ทำกำไรต่ำกว่าผลตอบแทนตลาดรวม จนถึงต้นเดือนมีนาคม 2553 ต่างชาติที่พลาดโอกาสเมื่อปีก่อน เริ่มเข้ามาลุยเก็บหุ้นไทยด้วยยอดซื้อสุทธิรวมกว่า 4 หมื่นล้านบาท (ต้นปี-ปัจจุบัน) ขณะที่ผู้ขายหลักมีสองกลุ่ม คือ นักลงทุนสถาบันในประเทศ และนักลงทุนรายย่อย
หลังตลาดหุ้นฝ่าม็อบเสื้อแดงย่านผ่านฟ้าและสี่แยกราชประสงค์ขึ้นไปได้แค่เพียง 820 จุด ก็โดนระเบิด (วันที่ 10 เมษายน) ถล่มลงมาต่ำสุด 714 จุด หรือตกกว่า 100 จุด ภายใน 5 วันทำการ ก่อนจะเคลื่อนไหวตามข่าวความรุนแรงที่ส่อเค้าบานปลายและไร้จุดจบ ขณะที่วอลุ่มการซื้อขายที่เคยหนาแน่นวันละกว่า 3 หมื่นล้านบาท ลดเหลือไม่ถึง 2 หมื่นล้านบาทต่อวัน
ท่ามกลางความคลุมเครือทางการเมืองและความตื่นตระหนกของนักลงทุนระยะสั้น กลุ่มนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าหรือแวลูอินเวสเตอร์ ต่างกำลังจ้องหาโอกาสเข้าเก็บหุ้นที่เติบโตต่อเนื่องในราคาย่อมเยา พวกเขามองว่านี่เป็นโอกาสเข้าลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนอย่างสมน้ำสมเนื้อก่อนที่รถไฟขบวนนี้จะวิ่งยาวภายใต้ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจกำลังก้าวไปสู่ยุครุ่งโรจน์อีกหลายปีข้างหน้า
ช่วงที่ตลาดหุ้นดิ่งพสุธากลุ่มนักลงทุนหุ้นคุณค่าจัดเสวนาประเมินสถานการณ์และมองวิกฤติครั้งนี้ไม่ใช่วิกฤติแต่เป็นโอกาสของการลงทุน ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร โรลโมเดลแวลูอินเวสเตอร์เมืองไทย เปิดฉากว่า ตลาดหุ้นไทยตอนนี้ปรับลดลงมาเยอะพอสมควรทำให้เริ่มกลับมาจับตาหุ้นดีๆ อีกครั้ง ส่วนตัวมองว่าเศรษฐกิจปีนี้และปีหน้าจะเติบโตต่อเนื่องแน่นอน ตลาดหุ้นก็จะดีตามไปด้วย ตอนนี้มีเงินสดถืออยู่ในมือ 10% ของพอร์ต เงินจำนวนนี้พร้อมที่จะลงทุน
สำหรับวิธีการเลือกหุ้น ดร.นิเวศน์ ย้ำแนวทางเดิม คือ ค้นหา Wonderful Business ในราคาที่สมเหตุผล ต้องเป็นบริษัทที่มีกระแสเงินสดที่ดี และมองเห็นทิศทางการเติบโตในอีก 3-5 ปีข้างหน้า พยายามคัดเลือกหุ้นมาให้ได้ 10 บริษัท และกรองให้เหลือ 3-4 ตัวก็พอ
เซียนแวลูอินเวสเตอร์เมืองไทย บอกว่า การคัดเลือกหุ้นบางครั้งไม่จำเป็นต้องคิดซับซ้อนมากให้คิดเหมือนกับการเลือกจีบผู้หญิง ถ้าเห็นแล้วชอบถูกใจก็เลือกไปได้เลย แล้วถ้าพื้นฐานเปลี่ยนไปค่อยตัดสินใจต่อว่าจะขายดีหรือไม่ ที่ผ่านมาเคยทำวิจัยขึ้นเองเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่า เก็บรวบรวมข้อมูลมาตั้งแต่ปี 2543 ถึงปี 2551 พบว่า แม้ในช่วงที่ตลาดเป็นขาขึ้น ผลตอบแทนของพอร์ตหุ้นแบบเน้นคุณค่าอาจจะไม่หวือหวามากนัก แต่ในภาวะที่ตลาดเป็นขาลงหรือผันผวนหนักจะให้ผลตอบแทนที่ "น่าทึ่ง"
สำหรับหุ้นที่เข้าข่ายจะเป็นหุ้นคุณค่าได้จะต้องมีคุณสมบัติสำคัญๆ ดังนี้ ค่าพี/อี เรโช ไม่เกิน 10 เท่า ราคาปิดต่อบุ๊คแวลู (P/BV) ไม่เกิน 1 เท่า และมี Dividend Yield มากกว่า 3% นอกจากนั้นคือความสามารถในการแข่งขัน ผลสำรวจในตลาดหุ้นไทยพบว่ามีบริษัทที่อยู่ในข่ายที่ว่านี้ประมาณ 70 บริษัท
โดยปี 2543 เป็นปีที่มีหุ้นอยู่ในข่ายเป็นหุ้นคุณค่าเพียง 47 บริษัทน้อยที่สุดใน 9 ปี (2543-2551) เพราะเพิ่งฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจ นอกจากนี้พอร์ตของแวลูอินเวสเตอร์ยังมีกำไรเกือบทุกปียกเว้นปี 2551 ที่ขาดทุน 2% ปีที่กำไรสูงสุดคือปี 2549 ที่กำไร 73% คิดเป็นกำไรเฉลี่ยปีละ 34%
ขณะที่การลงทุนตามภาวะตลาดในช่วง 9 ปี มี 4 ปีที่ขาดทุน และปีที่ขาดทุนหนักที่สุดคือปี 2551 ประมาณ 43% ดีที่สุดอยู่ในปี 2546 อยู่ที่ 118% ซึ่งเป็นเพียงปีเดียวที่ผลตอบแทนดีกว่าพอร์ตหุ้นแบบเน้นคุณค่า และมีผลตอบแทนเฉลี่ย 9 ปี อยู่ที่ 4.8% ต่อปี
"ถ้าเราลงทุนแบบแวลูอินเวสเตอร์ ผลตอบแทนเงิน 1 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2543-2551 พอร์ตจะเพิ่มเป็น 13.6 ล้านบาท ในขณะที่ถ้าเล่นหุ้นตามภาวะตลาดพอร์ตจะเพิ่มขึ้นมาเพียงแค่ 1.5 ล้านบาท"
ดร.นิเวศน์ ยอมรับว่า ถ้าจะเริ่มลงทุนแบบเน้นคุณค่าในตอนนี้ผลตอบแทนอาจจะไม่สูงเท่ากับสมัยเริ่มต้นเมื่อปี 2542 อีกแล้ว เพราะตอนนั้นหุ้นราคาถูกมีอยู่เต็มตลาด แต่ตอนนี้ราคาขึ้นมาเยอะแล้ว ถึงอย่างไรยังเป็นแนวทางการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มองหาโอกาสในวิกฤติ และไม่ต้องการรับความผันผวนของภาวะตลาด
ด้านมุมมองจากนักลงทุนกลุ่มไทยวีไอ ดอทคอม อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลที่หันชีวิตมาเป็นนักลงทุนหุ้นคุณค่าเต็มตัว นายแพทย์บำรุง ศรีงาม หรือฉายา "หมอสามัญชน" แบ่งปันแนวคิดการลงทุนให้ฟังว่าส่วนตัวจะทำ การบ้าน (เลือกหุ้น) อย่างหนัก บางครั้งศึกษาข้อมูลเป็นสัปดาห์ เริ่มแรกจะดูก่อนว่าบริษัทไหนธุรกิจน่าจะเป็นขาขึ้น แล้วก็ดูกระแสเงินสด กำไรสุทธิและเงินปันผล
จากนั้นก็ดูว่าธุรกิจที่ทำอยู่นั้นมีใครเป็นคู่แข่งบ้างและมีข้อได้เปรียบเสียเปรียบอย่างไรบ้าง แล้วถึงเริ่มหาราคายุติธรรมหรือแฟร์แวลู เทียบกับราคาตลาดในปัจจุบันถ้ายังอันเดอร์แวลู (มูลค่ากิจการสูงกว่าราคาตลาด) ก็จะคัดเข้ามากรองอีกที
"ส่วนตัวผมชอบหุ้นที่เป็นวัฏจักรถ้าราคาหุ้นที่ซื้อถึงแฟร์แวลูแล้ว (หุ้นขึ้นถึงราคาที่คำนวณไว้) ผมก็จะขายเลย ส่วนใหญ่จะถือตั้งแต่ 6 เดือนถึงหนึ่งปี"
นายแพทย์บำรุง เป็นหนึ่งใน 3 คนในฐานะผู้ถือหุ้นบุคคลธรรมดาที่ได้รับรางวัล "ผู้ถือหุ้นคุณภาพ" (Valued Shareholder Award) เนื่องจากได้รักษาสิทธิในฐานะผู้ถือหุ้นที่มีส่วนเป็นเจ้าของบริษัท คอยติดตามการบริหารงานของคณะกรรมการและผู้บริหารอย่างสม่ำเสมอ พอร์ตหุ้นปัจจุบันของคุณหมอมีหุ้นหลักอยู่ 2-3 ตัว และหุ้นรอง 7-8 ตัว (รวมประมาณ 10 ตัว) ปัจจุบันลดวงเงินมาร์จินเหลืออยู่ที่ 130% จากแต่ก่อน 200% เพราะต้องการลดความเสี่ยงให้น้อยลงตามอายุที่มากขึ้น
แวลูอินเวสเตอร์ตัวยงอีกคน มนตรี นิพิฐวิทยา หนึ่งในผู้เขียนคอลัมน์ Value Way ในกรุงเทพธุรกิจ BizWeek และผู้เขียนหนังสือขายดี "ลงทุนทองคำ จับทิศทาง Gold Price จากประวัติศาสตร์" บอกว่า ที่ผ่านมาได้ทยอยลดสัดส่วนหุ้นไทยเหลือเพียง 20% และหันไปซื้อกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (FIF) ถึง 60% ของพอร์ต และกองทุนอีทีเอฟทองคำอีก 20%
มนตรีเห็นด้วยกับ ดร.นิเวศน์ว่าหุ้นไทยตอนนี้ลงมาเยอะจนน่าสนใจ ช่วงที่หุ้นขึ้นมาเยอะได้ขายออกไปบ้างแล้ว ตอนนี้กำลังเล็งๆ ที่จะโยกเงินจากทองคำไปซื้อหุ้นไทยอีกครั้งเพราะผลตอบแทนระยะยาวเริ่มน่าสนใจมากขึ้น และผลตอบแทนจากทองคำไม่น่าสนใจมาก
อีกหนึ่งนักลงทุนหุ้นคุณค่าตัวจริง ฉัตรชัย วงแก้วเจริญ อดีตนายธนาคารที่หันมาเป็นนักลงทุนหุ้นคุณค่าเต็มตัว บอกว่า ส่วนตัวจะเลือกหุ้นที่อยากเป็นเจ้าของ สไตล์การลงทุนจะชอบถือยาวเคยถือหุ้นตัวเดียวนาน 5-6 ปี ก็ทำมาแล้ว
ก่อนหน้านี้เขาเคยระบุในบทสัมภาษณ์แห่งหนึ่งว่า การลงทุนแบบแวลูอินเวสเตอร์ ให้เวลากับเรา ไม่ต้องเฝ้า กลางคืนนอนหลับ เมื่อก่อนนอนไม่ได้ กลางคืนต้องมานั่งดูดัชนีดาวโจนส์ ดูข่าว แต่ตอนนี้ก็สนใจแต่กิจการของเรา และไม่ใช่แค่รูปแบบการลงทุนเท่านั้นที่เป็นแบบเน้นคุณค่า แต่การใช้ชีวิตก็จะเน้นคุณค่าไปด้วย โดยใช้ชีวิตพอเพียง รู้คุณค่าการใช้เงิน ซึ่งจะตรงข้ามกับคนที่เข้ามาเล่นหุ้นแล้วหวังว่าจะรวย
"คนที่เป็นแวลูอินเวสเตอร์จริงๆ จังๆ จะศึกษาธรรมะเพราะชีวิตจะไม่ตื่นเต้น จิตใจจะสงบ และถ้าไม่มีธรรมะมายึดเหนี่ยวไว้ก็จะอยู่ในแนวนี้ไม่ได้ เพราะวีไอจะเป็นเรื่องของจิตใจมาเป็นอันดับหนึ่ง ถ้าหลงติดบ่วงกิเลส ถูกยั่วยวนจากราคาหุ้นก็เป็นวีไอไม่ได้"
ด้วยความที่เคยอยู่ฝ่ายพิจารณาสินเชื่อจึงให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์กระแสเงินสดเป็นหลัก ปัจจุบันฉัตรชัย เลือกที่จะลงทุนในหุ้น 90% ที่เหลือเป็นพันธบัตรรัฐบาล ส่วนตัวยังไม่คิดขายหุ้นที่ถืออยู่ตอนนี้แต่ถ้าราคาตกลงมามากๆ ก็อาจเข้าไปเก็บเพิ่ม
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... าช้อป.html
" "
- Packky
- Verified User
- โพสต์: 856
- ผู้ติดตาม: 0
เซียน 'แวลูอินเวสเตอร์' เริ่มขยับ 'ใครขาย-ข้าช้อป
โพสต์ที่ 6
-
- Verified User
- โพสต์: 1922
- ผู้ติดตาม: 0
เซียน 'แวลูอินเวสเตอร์' เริ่มขยับ 'ใครขาย-ข้าช้อป
โพสต์ที่ 12
ใช้ชื่อนี้ในไทยวี ดีกว่าครับwinkung เขียน:555+
- SEHJU
- Verified User
- โพสต์: 1238
- ผู้ติดตาม: 0
เซียน 'แวลูอินเวสเตอร์' เริ่มขยับ 'ใครขาย-ข้าช้อป
โพสต์ที่ 18
ตอนนี้มีเงินสดถืออยู่ในมือ 10% ของพอร์ต...
ฟังดูเหมือนน้อยเลยนะพวกเรา!!!
ฟังดูเหมือนน้อยเลยนะพวกเรา!!!
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
เซียน 'แวลูอินเวสเตอร์' เริ่มขยับ 'ใครขาย-ข้าช้อป
โพสต์ที่ 19
เด็ดครับ
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
-
- Verified User
- โพสต์: 224
- ผู้ติดตาม: 1
เซียน 'แวลูอินเวสเตอร์' เริ่มขยับ 'ใครขาย-ข้าช้อป
โพสต์ที่ 24
เป็นแนวคิดที่สุดยอด เสือนอนกินกลุ่มนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าหรือแวลูอินเวสเตอร์ ต่างกำลังจ้องหาโอกาสเข้าเก็บหุ้นที่เติบโตต่อเนื่องในราคาย่อมเยา
หุ้นที่เข้าข่ายจะเป็นหุ้นคุณค่าได้จะต้อง มีคุณสมบัติสำคัญๆ ดังนี้ ค่าพี/อี เรโช
ไม่เกิน 10 เท่า ราคาปิดต่อบุ๊คแวลู (P/BV) ไม่เกิน 1 เท่า และมี Dividend Yield
มากกว่า 3% นอกจากนั้นคือความสามารถในการแข่งขัน
:cheers: :cheers: :cheers:การลงทุนแบบแวลูอินเวสเตอร์ ให้เวลากับเรา ไม่ต้องเฝ้า กลางคืนนอนหลับ
เมื่อก่อนนอนไม่ได้ กลางคืนต้องมานั่งดูดัชนีดาวโจนส์ ดูข่าว แต่ตอนนี้ก็สนใจ
แต่กิจการของเรา และไม่ใช่แค่รูปแบบการลงทุนเท่านั้นที่เป็นแบบเน้นคุณค่า
แต่การใช้ชีวิตก็จะเน้นคุณค่าไปด้วย โดยใช้ชีวิตพอเพียง รู้คุณค่าการใช้เงิน ซึ่ง
จะตรงข้ามกับคนที่เข้ามาเล่นหุ้นแล้วหวังว่าจะรวย
สุดยอด ขอบคุณครับ"คนที่เป็นแวลูอินเวสเตอร์จริงๆ จังๆ จะศึกษาธรรมะเพราะชีวิตจะไม่ตื่นเต้น
จิตใจจะสงบ และถ้าไม่มีธรรมะมายึดเหนี่ยวไว้ก็จะอยู่ในแนวนี้ไม่ได้ เพราะวี
ไอจะเป็นเรื่องของจิตใจมาเป็นอันดับหนึ่ง ถ้าหลงติดบ่วงกิเลส ถูกยั่วยวน
จากราคาหุ้นก็เป็นวีไอไม่ได้"
- VSนักลงทุนอริยะ
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 349
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เซียน 'แวลูอินเวสเตอร์' เริ่มขยับ 'ใครขาย-ข้าช้อป
โพสต์ที่ 26
พี่ฉัตร สุดยอดครับ ธรรมะคือ VI , VI คือ ธรรมะ
ไม่คิดจะชนะ จึงชนะ
ต้องรักษาความไม่แพ้ จึงจะชนะ
ต้องอย่าให้ขาดทุน จึงจะกำไร
ต้องศึกษาความล้มเหลว จึงจะสำเร็จ
ต้องรู้นิสัยคนขี้เกียจ จึงจะขยัน
ไม่คิดจะชนะ จึงชนะ
ต้องรักษาความไม่แพ้ จึงจะชนะ
ต้องอย่าให้ขาดทุน จึงจะกำไร
ต้องศึกษาความล้มเหลว จึงจะสำเร็จ
ต้องรู้นิสัยคนขี้เกียจ จึงจะขยัน
-
- Verified User
- โพสต์: 61
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เซียน 'แวลูอินเวสเตอร์' เริ่มขยับ 'ใครขาย-ข้าช้อป
โพสต์ที่ 27
เห็นด้วยกับพี่ฉัตรชัยมากค่ะว่าการลงทุนแบบ VI จะต้องมีธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ไม่งั้นใจคงรู้ไม่เท่าทันความโลภแน่ๆ จริงๆราคาหุ้นเป็นเครื่องมือที่ดีในการภาวนาเหมือนกันนะคะ(อันนี้ความคิดเห็นส่วนตัว อาจจะไม่ถูกนักก็ได้) เคยสังเกตุใจตัวเองในวันที่ราคาหุ้นแกว่งไปแกว่งมา วันแรกราคา 10 บาท รู้สึกเฉยๆ วันต่อมาขึ้นเป็น 12 บาท ดีใจมากมาย วันที่สามกลับมา 10บาทอีกรอบ เสียใจสุดๆ ณ ราคาที่เท่ากันคือ 10บาท ใจเรายังไม่เหมือนกัน เห็นถึงความไม่เที่ยงชัดมากๆ เห็นบ่อยๆไปก็จะชิน แล้วใจมันจะยอมรับเองว่าโลกนี้ไม่มีอะไรที่นอกเหนือไตรลักษณ์ไปได้
- VSนักลงทุนอริยะ
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 349
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เซียน 'แวลูอินเวสเตอร์' เริ่มขยับ 'ใครขาย-ข้าช้อป
โพสต์ที่ 28
เห็นด้วยกับคุณ an an นะครับ
ก็เหมือน แต่ก่อนไม่มีเธอก็ไม่เป็นไร แต่เดี๋ยวนี้ทำไมไม่ได้
^^
ก็เหมือน แต่ก่อนไม่มีเธอก็ไม่เป็นไร แต่เดี๋ยวนี้ทำไมไม่ได้
^^
-
- Verified User
- โพสต์: 23
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เซียน 'แวลูอินเวสเตอร์' เริ่มขยับ 'ใครขาย-ข้าช้อป
โพสต์ที่ 29
ผมว่า มัน แบบว่า เว่อร์ มากนะครับ การลงทุนแบบ VI
ตามหลัก เลย การลงทุนแบบวอเรน บัฟเฟต (VI) ไม่สามารถทำได้ในทางทฤษฎี ผมคิดกลับไปกลับมาอยู่หลายรอบ ลองสร้างโมเดลใส่ ตัวเลขเข้าไป จะรู้ว่า การลงทุนล้วนๆ มันเป็นไปไม่ได้ นอกจากมีเงินสดเข้ามาในบัญชี (ถ้าคุณไม่ใส่เงินต้นเข้าไปมากๆ หรือพอประมาณ มันจะคุ้มกับการดำรงชีวิตอยู่ในแต่ละวัน เดือน ปี ได้อย่างไร)แต่ถ้าใส่เงินสดมากๆ คุณต้องมีเงินเดือนสูงๆ เงินสุดสูงๆ หรือกู้มาลงทุน (อาจใช้มาร์จิ้น) ทำให้การลงทุนมันแทบเป็นไปไม่ได้ หรือระดมทุนผ่านญาติ (อันนี้ผมไม่ได้พวกบริษัทการเงินที่สามารถระดมทุนได้เองนะครับ)
แต่อย่างว่าแหละครับ มันเป็นเรื่องของความคิดล้วนๆ ว่า เราทำได้ เหมือนที่ วอเรน บัฟเฟต เค้าคิดอยู่เสมอ ว่าเป็นคนรวยแน่ๆ (วอเรนไม่ได้รวยตอนอายุ ต้นๆเหมือนบิลเกตนะครับ) กว่าเค้าจะรวยระดับโลก อายุก็มากแล้ว เหมือนหลายๆคนในอเมริกา แต่วอเรน มีความน่าทึ่งอันสุดยอด คือ รวยติดต่อกันนั่นเองครับ แม้ว่า เศรษฐีคนอื่นใน อเมริกาถ้าคิดย้อนกลับจะรวยกว่าแกก็ตามในสมัยนั้น(1970) แต่วอเรน ก็ยังเล่นเกมของตนเองเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน มูลค่าธุรกิจของวอเรน จึงเติบโตมหาศาลจากเม็ดเงินนอก ที่มาลงทุนกับบริษัทของวอเรนเอง และถ้าใครตามอ่านเรื่องราวบริษัทของวอเรนจะพบว่า จริงๆแล้ว วอเรน ถือหุ้นในบริษัท เกือบทุกประเภท ผ่านทาง ลูกน้องคนเก่งที่ไว้ใจได้ (รายละเอียดไม่ทราบนะครับว่าตัวใดบาง แต่หลากหลายมาก) แต่ที่เราเห็นเป็นแค่เศษเดียวเท่านั้นเอง เพราะว่ายึดติดกับคำว่า VI ก็เท่านั้น
ปล. สิ่งที่น่าสังเกตที่สุด ของบริษัทที่ลงทุนอย่าง VI คือ เงินเริ่มต้นสูงพอประมาณแต่ไม่ได้สูงเสียดฟ้า แล้วใช้เงินนั่นแหละ เป็นตัวแสดงผลตอบแทนทบต้นในแต่ละปีหักค่าธรรมเนียมแล้วด้วย และนั่นคือสิ่งสุดยอด ของการลงทุนแบบ เกรแฮมและดอดจ์ที่สร้างขึ้นมา
ปล.2 ข้อสังเกตอีกอย่าง เมื่อศึกษา ประวัติผลตอบแทนของปีเตอร์ลินซ์ กลับ งง มาก เหตุ ใช้แนวทางศึกษาแบบจริงจึงถึงแก่น (ตรงข้ามกับเกรแฮมที่ไม่ค่อยเน้นผู้บริหารยกเว้นบริษัททีเด็ดของเค้าที่กล้าถือถึง25% ของเงินลงทุนแต่นอกนั้นเค้าเน้นปลอดภัยจริงๆ) แต่กลับให้ผลตอบแทนที่สูงมาก ความเก่งกาจของปีเตอร์ลินซ์นอกจากคัดเลือกหุ้นได้สุดยอดแล้ว อีกอย่างที่คนไม่สังเกตหรือไม่ได้เผยแพร่เป็นทักษะหลักคือ การบริหารพอร์ตจัดสรรเงินลงทุน ที่ผมกลับไปนั่งคิดไปมา โยนความคิดพลิกไปมาในสมอง นี่ถึงกับ งง เพราะว่า ทางทฤษฎีมันเป็นไปไม่ได้ ถ้าจะใช้สูตรหรือโมเดลในการวิเคราะห์แล้วปฏิบัติตามนั้นแบบ เป๊ะๆ ต้องเป็นทางปฏิบัติ เชิงไดนามิค เท่านั้น ลื่นไหลไปตามสถานการณ์มีหลักการคร่าวๆคอยกำกับกรอบเท่านั้น
เขียนมาซะยาว ขอเก็บไปใส่บล๊อคของตัวเองนะครับ อิอิ
ตามหลัก เลย การลงทุนแบบวอเรน บัฟเฟต (VI) ไม่สามารถทำได้ในทางทฤษฎี ผมคิดกลับไปกลับมาอยู่หลายรอบ ลองสร้างโมเดลใส่ ตัวเลขเข้าไป จะรู้ว่า การลงทุนล้วนๆ มันเป็นไปไม่ได้ นอกจากมีเงินสดเข้ามาในบัญชี (ถ้าคุณไม่ใส่เงินต้นเข้าไปมากๆ หรือพอประมาณ มันจะคุ้มกับการดำรงชีวิตอยู่ในแต่ละวัน เดือน ปี ได้อย่างไร)แต่ถ้าใส่เงินสดมากๆ คุณต้องมีเงินเดือนสูงๆ เงินสุดสูงๆ หรือกู้มาลงทุน (อาจใช้มาร์จิ้น) ทำให้การลงทุนมันแทบเป็นไปไม่ได้ หรือระดมทุนผ่านญาติ (อันนี้ผมไม่ได้พวกบริษัทการเงินที่สามารถระดมทุนได้เองนะครับ)
แต่อย่างว่าแหละครับ มันเป็นเรื่องของความคิดล้วนๆ ว่า เราทำได้ เหมือนที่ วอเรน บัฟเฟต เค้าคิดอยู่เสมอ ว่าเป็นคนรวยแน่ๆ (วอเรนไม่ได้รวยตอนอายุ ต้นๆเหมือนบิลเกตนะครับ) กว่าเค้าจะรวยระดับโลก อายุก็มากแล้ว เหมือนหลายๆคนในอเมริกา แต่วอเรน มีความน่าทึ่งอันสุดยอด คือ รวยติดต่อกันนั่นเองครับ แม้ว่า เศรษฐีคนอื่นใน อเมริกาถ้าคิดย้อนกลับจะรวยกว่าแกก็ตามในสมัยนั้น(1970) แต่วอเรน ก็ยังเล่นเกมของตนเองเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน มูลค่าธุรกิจของวอเรน จึงเติบโตมหาศาลจากเม็ดเงินนอก ที่มาลงทุนกับบริษัทของวอเรนเอง และถ้าใครตามอ่านเรื่องราวบริษัทของวอเรนจะพบว่า จริงๆแล้ว วอเรน ถือหุ้นในบริษัท เกือบทุกประเภท ผ่านทาง ลูกน้องคนเก่งที่ไว้ใจได้ (รายละเอียดไม่ทราบนะครับว่าตัวใดบาง แต่หลากหลายมาก) แต่ที่เราเห็นเป็นแค่เศษเดียวเท่านั้นเอง เพราะว่ายึดติดกับคำว่า VI ก็เท่านั้น
ปล. สิ่งที่น่าสังเกตที่สุด ของบริษัทที่ลงทุนอย่าง VI คือ เงินเริ่มต้นสูงพอประมาณแต่ไม่ได้สูงเสียดฟ้า แล้วใช้เงินนั่นแหละ เป็นตัวแสดงผลตอบแทนทบต้นในแต่ละปีหักค่าธรรมเนียมแล้วด้วย และนั่นคือสิ่งสุดยอด ของการลงทุนแบบ เกรแฮมและดอดจ์ที่สร้างขึ้นมา
ปล.2 ข้อสังเกตอีกอย่าง เมื่อศึกษา ประวัติผลตอบแทนของปีเตอร์ลินซ์ กลับ งง มาก เหตุ ใช้แนวทางศึกษาแบบจริงจึงถึงแก่น (ตรงข้ามกับเกรแฮมที่ไม่ค่อยเน้นผู้บริหารยกเว้นบริษัททีเด็ดของเค้าที่กล้าถือถึง25% ของเงินลงทุนแต่นอกนั้นเค้าเน้นปลอดภัยจริงๆ) แต่กลับให้ผลตอบแทนที่สูงมาก ความเก่งกาจของปีเตอร์ลินซ์นอกจากคัดเลือกหุ้นได้สุดยอดแล้ว อีกอย่างที่คนไม่สังเกตหรือไม่ได้เผยแพร่เป็นทักษะหลักคือ การบริหารพอร์ตจัดสรรเงินลงทุน ที่ผมกลับไปนั่งคิดไปมา โยนความคิดพลิกไปมาในสมอง นี่ถึงกับ งง เพราะว่า ทางทฤษฎีมันเป็นไปไม่ได้ ถ้าจะใช้สูตรหรือโมเดลในการวิเคราะห์แล้วปฏิบัติตามนั้นแบบ เป๊ะๆ ต้องเป็นทางปฏิบัติ เชิงไดนามิค เท่านั้น ลื่นไหลไปตามสถานการณ์มีหลักการคร่าวๆคอยกำกับกรอบเท่านั้น
เขียนมาซะยาว ขอเก็บไปใส่บล๊อคของตัวเองนะครับ อิอิ