ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
little wing
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 187
ผู้ติดตาม: 0

ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โลกในมุมมองของ Value Investor 2 เมษายน 54
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

เวลาที่เราพิจารณาหรือวิเคราะห์ว่าราคาของหุ้นตัวหนึ่งเหมาะสมหรือไม่? มันแพงเกินไปหรือถูกเกินไป เราทำอย่างไร? เรารู้ได้อย่างไร? Value Investor โดยเฉพาะที่ “เชี่ยวชาญ” เกี่ยวกับตัวเลขและการคำนวณ รวมถึงการวิเคราะห์อนาคตของกิจการ ก็จะบอกว่าเรา “รู้” เพราะว่าเราสามารถคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงหรือ Intrinsic Value ของกิจการได้ มูลค่าที่แท้จริงนั้น มีวิธีการหาได้หลายแบบ ตัวที่ง่ายที่สุดก็คือการใช้ค่า PE ของหุ้น อาจจะเป็นค่า PE ในอดีตย้อนหลังไปหนึ่งปี หรืออาจจะเป็นค่า PE ที่มองไปในอนาคตหนึ่งปีหรือมากกว่านั้น ตัวอย่างเช่น ถ้าค่า E หรือกำไรต่อหุ้นของปีที่ผ่านมาของบริษัทเท่ากับ 1 บาทต่อหุ้น และบริษัทเป็นกิจการที่ “โตเร็ว” คาดว่ากำไรจะโตถึงปีละ 20% ต่อปีและจะโตไปอีกหลายปี หุ้นแบบนี้น่าจะสามารถมีค่า PE สูงถึงประมาณ 20 เท่า ดังนั้น มูลค่าหุ้นที่เหมาะสมควรที่จะเท่ากับ 1 คูณด้วย 20 หรือ 20 บาทต่อหุ้น หลังจากนั้นเราก็มาดูว่าราคาหุ้นที่ซื้อขายในตลาดเป็นเท่าไร ถ้าราคาหุ้นเท่ากับ 10 บาท เราก็บอกว่านี่คือหุ้นที่มีราคา “ถูก” ควรที่เราจะซื้อไว้ ถ้าราคาหุ้นเท่ากับ 20 บาทต่อหุ้น เราก็บอกว่าราคา “ยุติธรรม” และถ้าราคาหุ้นในขณะนั้นเท่ากับ 30 บาท เราก็บอกว่าหุ้นมีราคา “แพง” กว่าพื้นฐาน

ในหุ้นตัวเดียวกันนั้นเอง แต่วิเคราะห์โดย VI อีกคนหนึ่งอาจจะมองว่า บริษัทอาจจะโตขึ้น 20% ก็จริง แต่เป็นการโตแค่ปีเดียวเนื่องจากเป็นเรื่องของภาวะอุตสาหกรรมที่เอื้ออำนวยไม่ได้เป็นการเติบโตที่ยั่งยืน หลังจากนั้นแล้วการเติบโตก็เป็นปกติประมาณปีละ 10% ดังนั้นค่า PE ของหุ้นจึงควรที่จะเป็น 10 เท่า ดังนั้น สำหรับ VI รายนี้ก็จะบอกว่า ถ้าหุ้นราคา 10 บาท ก็เป็นราคาที่ยุติธรรม ถ้าราคาหุ้นเท่ากับ 20 บาทก็ถือว่าแพงมาก และถ้าราคาเท่ากับ 30 บาทก็ถือว่าแพงสุด ๆ ต้องรีบขายทิ้ง

VI อีกคนหนึ่งอาจมองว่าการใช้ PE ในอดีตสำหรับหุ้นตัวนี้ไม่เหมาะสมเพราะบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงใน “พื้นฐาน” อย่างสำคัญ กำไรที่เห็นยังไม่สะท้อน “พื้นฐานใหม่” ดังนั้นเขาจึงใช้ PE ในอนาคต นั่นก็คือ เขาจะคาดการณ์กำไรในอนาคตของบริษัท ซึ่งเขาคาดว่าจะทำได้ถึง 2 บาทต่อหุ้น และเขาคิดว่าบริษัทจะโตเร็วมากหลังจากนั้นคือโตได้ถึง 20% ต่อปีไปอีกหลายปี ดังนั้น ค่า PE ของหุ้นก็ควรจะเป็น 20 เท่า ซึ่งก็ทำให้มูลค่าที่แท้จริงของหุ้นเท่ากับ 2 คูณด้วย 20 เท่ากับ 40 บาทต่อหุ้น ดังนั้น ถ้าราคาหุ้นในปัจจุบันเท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น หุ้นตัวนี้ก็ถูกสุด ๆ เช่นเดียวกันที่ราคา 20 บาทก็ยังถูกมาก มี Margin of Safety หรือส่วนเผื่อความปลอดภัยถึง 50% และแม้ว่าหุ้นจะราคา 30 บาทต่อหุ้น หุ้นก็ยังถูกอยู่ดีมีโอกาสกำไรได้อีก 33%

ถ้าจะถามว่าใครวิเคราะห์หรือ “ทาย” ถูก? คำตอบก็คือ ในวันที่วิเคราะห์และตัดสินใจซื้อขายหุ้นนั้น ไม่มีใครรู้ คำตอบที่แท้จริงคงจะต้องรอเวลาอีกหลายปี และเมื่อถึงวันนั้น สถานการณ์ก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปอีก อย่างไรก็ตาม เราก็คงจะพอมองออกเมื่อถึงวันนั้นว่าบริษัทเป็นอย่างไร มีกำไรเติบโตแบบไหน และใครน่าจะเป็นคนที่ “ทาย” ถูก และ แน่นอน ราคาหุ้นหลังจากที่ผ่านไปอาจจะ 2-3 ปีหรือ 3-4 ปีจะเป็นเครื่องยืนยันว่าใครน่าจะวิเคราะห์ได้ถูกต้อง แต่ประเด็นก็คือ คนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้นไม่อยากรู้ว่าอีก 3 ปีราคาหุ้นจะเป็นอย่างไร เขาอยากรู้ว่าราคาหุ้นตอนนี้ถูกหรือแพงและมันจะวิ่งขึ้นหรือลงไปหา “มูลค่าที่แท้จริง” และมูลค่าที่แท้จริงคือเท่าไร?

และนี่จึงนำมาสู่ทฤษฎีว่าใครน่าจะวิเคราะห์ได้ถูกต้องที่สุด? VI คนที่หนึ่ง VI คนที่สองหรือคนที่สาม? หรือนักเล่นหุ้นทั่ว ๆ ไปที่เน้นเก็งกำไรเป็นหลักที่บังเอิญเข้ามาเล่นหุ้นตัวเดียวกัน? คำตอบจากการศึกษาโดยการทดลองภายใต้สมมุติฐานหนึ่งเช่น สมมุติว่าคนส่วนใหญ่ที่เข้ามาลงทุนซื้อขายหุ้นเป็นคนที่มีเหตุผลพอสมควรและสามารถควบคุมอารมณ์ได้ในระดับปกติ เป็นคนที่ซีเรียสในการตัดสินใจลงทุนเพราะเป็นเรื่องที่มีผลประโยชน์ของตัวเองเป็นเดิมพัน เป็นต้น คำตอบที่ได้ก็คือ ไม่ใช่ VI ที่ “อนุรักษ์นิยม” ไม่ใช่ VI ที่ “กล้าหาญชาญชัย” ไม่ใช่ VI “ระดับเทพ” และก็ไม่ใช่ “นักเก็งกำไรตัวยง” หรือ “นักเก็งกำไรสมัครเล่น” แต่เป็น “ค่าเฉลี่ย” ของนักลงทุนหรือนักเล่นหุ้นทุกคน และค่าเฉลี่ยที่ว่านี้ก็คือ “ราคาหุ้นในตลาด” เพราะราคาหุ้นในตลาดนั้น เป็นตัวสะท้อน “ความเห็น” ของทุกคน และโดยนัยนี้ มูลค่าหุ้นที่เหมาะสมของหุ้นก็คือ “ราคาหุ้นในตลาด” ดังนั้น หุ้นในตลาดจึงไม่มีคำว่าถูกหรือแพงกว่าพื้นฐาน หุ้นในตลาดนั้น ตามทฤษฎีและภายใต้การทดลองที่มีข้อสมมุติฐานที่มีเหตุผลนั้น มีราคาที่ยุติธรรมเหมาะสมตามพื้นฐานของมัน ไม่มี “เซียน” คนไหนคำนวณมูลค่าหุ้นได้แม่นยำเท่า “ตลาด” และนี่ก็คือ ทฤษฎีที่เรียกว่า “ตลาดหุ้นมีประสิทธิภาพ” ซึ่ง “ทรงพลัง” มาก

ทำไม “ค่าเฉลี่ย” จึงแม่นหรือเก่งกว่า “เซียน” ในการคาดการณ์มูลค่าหุ้นหรืออีกหลาย ๆ เรื่อง คำตอบคงยาวมาก แต่หัวใจสำคัญอยู่ที่ว่า ค่าเฉลี่ยนั้นเกิดจากการนำข้อมูล ความรู้ ความสามารถในการวิเคราะห์ และอื่น ๆ ของแต่ละคนมารวมกัน เปรียบคล้าย ๆ กับการต่อพ่วงคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องเข้าด้วยกันแล้วช่วยกันทำงาน ผลที่ออกมาจึงเหนือกว่าคอมพิวเตอร์ตัวเดียวที่แม้จะเก่งและมีพลังมาก แต่ก็ไม่สามารถเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้ทั้งหมด นี่ฟังดูหลายคนอาจจะไม่ค่อยเชื่อว่าคนหลายคนที่ไม่ได้มานั่ง “สุมหัว” กัน แต่ต่างคนต่างทำจะสามารถนำข้อมูลมารวมกันได้ แต่นี่เป็นเรื่องจริง มีการทดลองแล้วพบว่ามันจริง ผมจำไม่ได้ชัดว่าเป็นเรื่องอะไร แต่จะเป็นแนวต่อไปนี้

สมมุติว่าเราต้องการทำนาย น้ำหนักตัวของคน ๆ หนึ่ง วิธีการก็คือ เราหาผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำหนัก อาจจะเป็นหมอหรือช่างตัดเสื้อก็ได้มาทำนายคนหนึ่ง นอกจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว เราก็ยังมีคนที่จะมาทำนายอีกเป็นหลายสิบคน คนเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็คือคนธรรมดาที่มีน้ำหนักตัวมากบ้างน้อยบ้าง และทำงานอาชีพที่หลากหลายแต่ไม่มีใครเชี่ยวชาญในการคิดประมาณการน้ำหนักตัว พวกเขาแต่ละคนก็จะมีความคิดหรือความรู้บางอย่างเช่นเขาอาจจะรู้ว่าน้ำหนักของตัวเองเป็นเท่าไรและถ้านำมาเปรียบเทียบกับคนที่เขาเห็น น้ำหนักตัวของคนที่เขาเห็นจะเป็นเท่าไรอย่างนี้เป็นต้น ประเด็นสำคัญก็คือ เขาจะต้องตั้งใจที่จะทายให้ถูกจริง ๆ เพราะการทายถูกหรือใกล้เคียงจะมีรางวัลตอบแทนให้ ผลของการประมาณการน้ำหนักตัวที่กล่าวนี้ ปรากฏว่า คนที่ทายได้ใกล้เคียงที่สุดนั้น ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญหรือเซียนเรื่องน้ำหนักตัวครับ แต่เป็นอย่างที่พูดแล้ว นั่นคือ น้ำหนักตัวของคนที่ถูกทายใกล้เคียงกับ “ค่าเฉลี่ย” ของการทายหรือประมาณการของทุกคน เซอร์ไพร้ส์ไหมครับ

ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่าผมเห็นด้วยกับทฤษฎีตลาดหุ้นที่มีประสิทธิภาพนะครับ เพราะถ้าผมเชื่อก็คงไม่มาเป็น VI เลือกหุ้นลงทุนอยู่ทุกวันนี้ ว่าที่จริง ยังมีทฤษฎีอื่น ๆ ที่เชื่อว่าพฤติกรรมของคนนั้นไม่ใช่ว่าจะมีเหตุผลเสมอไป ดังนั้น ราคาหุ้นในตลาดก็อาจจะเพี้ยนไปจากมูลค่าที่แท้จริงได้ และผมจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไปครับ
ming1714
Verified User
โพสต์: 1246
ผู้ติดตาม: 0

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณ ดร.และคุณ little wing มากครับ :D
ร้อยลี้ ต้องมีก้าวแรก....
ภาพประจำตัวสมาชิก
Packky
Verified User
โพสต์: 856
ผู้ติดตาม: 0

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ครับ
:) :) :)
heinz
Verified User
โพสต์: 59
ผู้ติดตาม: 0

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
nattachai
Verified User
โพสต์: 371
ผู้ติดตาม: 0

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณ ดร มากครับ
sakana_sushi
Verified User
โพสต์: 241
ผู้ติดตาม: 0

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 6

โพสต์

จากข้อความของท่านอาจารย์ ข้อความที่อาจารย์บอกว่าเติบโตไปเรื่อยๆ 20% ต่อปี ทำไมถึงให้ PE เท่ากับ 20 ครับ :roll:
"สุขใดยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี"
ภาพประจำตัวสมาชิก
poonpoon7
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 347
ผู้ติดตาม: 0

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ
"Value has a value only if its value is valued"
boats26
Verified User
โพสต์: 86
ผู้ติดตาม: 0

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณมากครับอาจารย์ สำหรับความรู้ดีๆ ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 1

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 9

โพสต์

-
Thank you very very much
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
blueplanet
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 0

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 10

โพสต์

sakana_sushi เขียน:จากข้อความของท่านอาจารย์ ข้อความที่อาจารย์บอกว่าเติบโตไปเรื่อยๆ 20% ต่อปี ทำไมถึงให้ PE เท่ากับ 20 ครับ :roll:
หุ้นที่ดี PEG ต้อง =<1
PEG=PE/%growth
PEG=20/20 = 1
ดังนั้น PE 20 growth ต้อง มากกว่า หรือเท่ากับ 20 % ต่อปี
PEG จึงมีค่า < หรือเท่ากับ 1
ดังนั้นหุ้นที่โต 50% PE จึงสูงได้ถึง 50
Blueplanet
array
Verified User
โพสต์: 65
ผู้ติดตาม: 0

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 1

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 12

โพสต์

blueplanet เขียน:
sakana_sushi เขียน:จากข้อความของท่านอาจารย์ ข้อความที่อาจารย์บอกว่าเติบโตไปเรื่อยๆ 20% ต่อปี ทำไมถึงให้ PE เท่ากับ 20 ครับ :roll:
หุ้นที่ดี PEG ต้อง =<1
PEG=PE/%growth
PEG=20/20 = 1
ดังนั้น PE 20 growth ต้อง มากกว่า หรือเท่ากับ 20 % ต่อปี
PEG จึงมีค่า < หรือเท่ากับ 1
ดังนั้นหุ้นที่โต 50% PE จึงสูงได้ถึง 50
เยี่ยมครับ :cool:
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
ภาพประจำตัวสมาชิก
py106
Verified User
โพสต์: 296
ผู้ติดตาม: 0

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ขอบคุณครับ :B
แวะไปเยี่ยมเยียนกันได้ครับ ^^
http://py106travel.blogspot.com
pornchal
Verified User
โพสต์: 1070
ผู้ติดตาม: 0

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ถ้า Gowth 5% ละครับ แล้วถ้า Gowth 1% ละครับ

PE = 5 และ 1 หรือเปล่า .....

รบกวนด้วยครับ
The One
ภาพประจำตัวสมาชิก
Rocker
Verified User
โพสต์: 4886
ผู้ติดตาม: 0

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ขอบคุณครับ

ดร กําลังพูดถึงวิชา Behavioral Finance ครับ ตลาดจะไม่มีประสิทธิภาพ เพราะ นักลงทุนได้ข้อมูลไม่เท่าเทียมกัน มุมมองในการวิเคราะห์ต่างกัน ทัศนคติต่างกัน การรับรู้ต่างกัน การตีความแปลความต่างกัน ความคาดหวังต่างกัน Bias ต่างๆแถมมี อารมยม์ มาปรุงแต่ง โลภ กลัว ทําให้หุ้น ขึ้น เกิน มูลค่าและ ลงตํ่ากว่ามูลค่าได้

ส่วนตัวผมเชื่อตลาดมี ประสิทธิภาพแบบ Semi-Strong Form เนื่องจาก ราคาหุ้นมักสะท้อนข่าวปัจจุบัน พอประกาศข่าวราคาตอบสนองทันที ต่อข่าว งบการเงิน ควบรวม แตกpar แจกวอร์ เพิ่มทุน

ลักษณะ Semi-Strong Form ของหุ้นจะตอบสนองหลังข่าวออก

ตย Cpall ประกาศตัด Lotus หุ้นวิ่งทันที เดือน พ.ย 2551 จาก 9 บาท มาจนปัจจุบัน 40 บาท ราคายังยืนได้
Big C ซื้อ คาร์ฟูร์
TUF ซื้อ MWB
Banpu ซื้อ Contenial Coal Australia
PTTEP ปัญหาไฟไหม้แท่งเจาะนํามัน ที่ มอนทาร่า
Bgh ควบรวม เปาโล พญาไท วิ่งทันที จาก 38 ไป 45 บาท ภายใน 1วัน
ล่าสุด True เพิ่มทุน 1.3หมื่นล้าน ตกทันทีจาก 6.4บาทเหลือ 5 กว่าๆ
STA ประกาศ งบกําไรโตมาก หุ้นก็วิ่ง ราคายางพุ่งเป็นต้น
TOP เกิดซึนามิ ญี่ปุ่ร ทําให้คาดค่าการกลั่นพุ่ง ราคาพุ่งจาก 75 มา 84 บาท


ส่วนตัวไม่เชื่อตลาด จะมี ประสิทธิภาพ Strong Form เพราะ ราคาหุ้นจะสะท้อนอนาคตซึ่งราคาจะเท่ากับ มูลค่าทํากําไรไม่ได้ ส่วน Weak Form ราคาหุ้นจะสะท้อนข่าวในอดีต ข่าวปัจจุบันประกาศมา ก็ไม่มีผลต่อราคาหุ้น

จากการศึกษาต่างๆเคยพบว่า ราคาหุ้นจะตอบสนองต่อข่าว ที่ไม่ได้คาดการณ์ก่อนเป็นพิเศษ เช่น ข่าวควบรวม เพิ่มทุน แตกพาร์ ซื้อหุ้นคืน ชําระหนี้ ขายหุ้น Delisting เหตุการณ์ต่างๆ ซึนามิ แบบคาดไม่ถึง .... เพราะเวลาคนมันตกใจ อารมย์ มักมาก่อนสติ แถมเวลาในการตีความหมายข้อมูล วิเคราะห์มีไม่มาก ครับ

ส่วนข่าว พวก ประกาศตามตาราง เช่น งบการเงิน ประชุมผู้ถือหุ้น จะมีผลต่อราคาแต่ไม่รุนแรงเท่าข้างต้น เพราะ บางอย่าง นักลงทุนมักมีการคาดการณ์ไว้บ้างแล้ว ตีความหมายข้อมูลไว้บ้างแล้ว พอทราบผลดีผลเสียแล้ว รับรู้กันถ้วนหน้าแล้ว
ภาพประจำตัวสมาชิก
Rocker
Verified User
โพสต์: 4886
ผู้ติดตาม: 0

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 16

โพสต์

หุ้นที่มี สถาบัน กองทุนถือ เล่น ราคามักจะสะท้อนไว กว่าข่าวออกนะครับ เพราะพวกนั้นมี นักวิเคราะห์มืออาชืพติดตามอยู่แถมได้ข้อมูลไว กว่าพวกเราอีก บางทีข่าวยังไม่ออกเลย มี การเคาะซื้อ Pttep Banpu Tcap ไม้ใหญ่ๆมาแล้ว
Bid เต็มทุกอณู สู้ทุกราคา

ส่วนหุ้น Mai สถาบันไม่ค่อยซื้อจะ ตอบสนองช้ากว่า แต่ถ้ามี vi ตามเยอะๆก็คงตอบสนองไวมั้งครับ
หลังหุ้น ilink uec ums trt เงียบไปเลยนะ
MaiFuen
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 385
ผู้ติดตาม: 1

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ขอบคุณมากครับ :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
koh
Verified User
โพสต์: 273
ผู้ติดตาม: 0

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 18

โพสต์

งั้นก้อ...
หุ้นที่คนส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นหุ้นที่เติบโตได้ในระยะยาว ก็ มีโอกาสที่MR.Marketจะประเมินมูลค่าผิดได้น้อยครั้งและผิดในระยะเวลาสั้นๆกว่าใช่มั๊ยครับ

แต่..

กิจการเล็กๆ คนไม่ค่อยสนใจ ไม่ค่อยมีบทวิเคราะห์ น่าจะมีโอกาสที่MR.Marketจะประเมินมูลค่าผิดได้มากครั้งและผิดในระยะเวลาที่ยาวนานกว่า ทำให้มีโอกาสในการซื้อมากกว่า
ใช่มั๊ยครับ
:? :8)
springs
Verified User
โพสต์: 49
ผู้ติดตาม: 0

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ อีกครั้งครับ
blueplanet
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 0

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 20

โพสต์

pornchal เขียน:ถ้า Gowth 5% ละครับ แล้วถ้า Gowth 1% ละครับ

PE = 5 และ 1 หรือเปล่า .....

รบกวนด้วยครับ
PEG คือ การให้ความสำคัญ ของ PE และ Growth ซึ่งเป็นการคำนวณที่ง่ายมาก
ที่ยากคือประเมิน Growth ว่า เท่าไหร่ ส่วน PE ที่ผ่านมาใครๆก็รู้
ดังนั้น ถ้า Growth ต่ำมาก คือไม่โตเลย หุ้นตัวนั้น ก็จะราคาต่ำ ส่วนต่ำแค่ไหนก็อยู่ที่คนซื้อคนขาย
แต่คงไม่มีใคขายจน PE เข้าใกล้ 1
ในแง่ความจริง ถ้าหุ้นตัวนั้น จ่ายปันผลดี คือเจ้าของจ่ายเต็มที่
แม้จะไม่Growth เลย ผมก็ยินดีซื้อ ตั้ง แต่ PE 5 ลงมา (Growt ไม่ติดลบ)
ตามทฤษฏี ก็เป็นอย่างที่คุณ pornchal ถาม
แต่หลักจริงๆของทฤษฎี คือ การให้ข้อคิดที่จะซื้อหุ้นหรือถือหุ้น ที่ PE 20 30 40 50
เพราะ ถ้าไม่เอา Growth มาคิดเลย หุ้นในตลาด PE ก็คงไม่เกิน 15
แต่นี่เรามี CPN PE 56 JAS PE 27 CPALL PE 26 SABINA PE 156
ซึ่ง ถ้าคิด PE อย่างเดียว คนซื้อ คงโง่มาก
Blueplanet
ภาพประจำตัวสมาชิก
jo7393
Verified User
โพสต์: 2486
ผู้ติดตาม: 0

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร  ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม  และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่

อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
ภาพประจำตัวสมาชิก
koh
Verified User
โพสต์: 273
ผู้ติดตาม: 0

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 22

โพสต์

แต่เป็น “ค่าเฉลี่ย” ของนักลงทุนหรือนักเล่นหุ้นทุกคน และค่าเฉลี่ยที่ว่านี้ก็คือ “ราคาหุ้นในตลาด” เพราะราคาหุ้นในตลาดนั้น เป็นตัวสะท้อน “ความเห็น” ของทุกคน และโดยนัยนี้ มูลค่าหุ้นที่เหมาะสมของหุ้นก็คือ “ราคาหุ้นในตลาด” ดังนั้น หุ้นในตลาดจึงไม่มีคำว่าถูกหรือแพงกว่าพื้นฐาน หุ้นในตลาดนั้น ตามทฤษฎีและภายใต้การทดลองที่มีข้อสมมุติฐานที่มีเหตุผลนั้น มีราคาที่ยุติธรรมเหมาะสมตามพื้นฐานของมัน ไม่มี “เซียน” คนไหนคำนวณมูลค่าหุ้นได้แม่นยำเท่า “ตลาด” และนี่ก็คือ ทฤษฎีที่เรียกว่า “ตลาดหุ้นมีประสิทธิภาพ” ซึ่ง “ทรงพลัง” มาก
สงสัยอยู่นิดนึงครับ
ความเห็นของนักลงทุนหนึ่งคนไม่ใช่แค่หนึ่งเสียงในการโหวตนี่ครับ หากนักลงทุนคนนั้นมีจำนวนเงินทุนจำนวนมากกว่ามาก จะทำให้น้ำหนักการโหวตเอนเอียงไปในทางนั้น

งั้นค่าเฉลี่ย ที่แสดงเป็นราคา ก็เป็นแค่ค่าเฉลี่ยตามกำลังเงินที่มีจำนวนมากกว่าใช่มั๊ยครับ เช่น ตามการโหวตของกองทุนต่างประเทศ หรือนักลงทุนรายใหญ่(หากเป็นหุ้นที่มีฟรีโฟรทไม่มากนัก) :?
shinjiro
Verified User
โพสต์: 54
ผู้ติดตาม: 0

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 23

โพสต์

blueplanet เขียน:
sakana_sushi เขียน:จากข้อความของท่านอาจารย์ ข้อความที่อาจารย์บอกว่าเติบโตไปเรื่อยๆ 20% ต่อปี ทำไมถึงให้ PE เท่ากับ 20 ครับ :roll:
หุ้นที่ดี PEG ต้อง =<1
PEG=PE/%growth
PEG=20/20 = 1
ดังนั้น PE 20 growth ต้อง มากกว่า หรือเท่ากับ 20 % ต่อปี
PEG จึงมีค่า < หรือเท่ากับ 1
ดังนั้นหุ้นที่โต 50% PE จึงสูงได้ถึง 50
สงสัยมานานแล้วว่า ทำไม หุ้น Growth ที่ดีต้อง PEG <=1 พยายามหาคำตอบมานานแต่ก็คิดไม่ออกครับ รบกวนด้วยนะครับ
blueplanet
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 0

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 24

โพสต์

"สงสัยมานานแล้วว่า ทำไม หุ้น Growth ที่ดีต้อง PEG <=1 พยายามหาคำตอบมานานแต่ก็คิดไม่ออกครับ รบกวนด้วยนะครับ"
ผมใช้คำผิดครับ
จริงๆต้องพูดว่าหุ้นที่PEG<=1คือหุ้นที่ไม่แพงถ้ามากกว่า1ก็แพงเกินไปที่จะซื้อ
ไม่ใช่ว่าดีหรือไม่ดี
Blueplanet
shinjiro
Verified User
โพสต์: 54
ผู้ติดตาม: 0

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 25

โพสต์

blueplanet เขียน:"สงสัยมานานแล้วว่า ทำไม หุ้น Growth ที่ดีต้อง PEG <=1 พยายามหาคำตอบมานานแต่ก็คิดไม่ออกครับ รบกวนด้วยนะครับ"
ผมใช้คำผิดครับ
จริงๆต้องพูดว่าหุ้นที่PEG<=1คือหุ้นที่ไม่แพงถ้ามากกว่า1ก็แพงเกินไปที่จะซื้อ
ไม่ใช่ว่าดีหรือไม่ดี
ขอบคุณครับคุณ blueplanet

แต่ก็ยังสงสัยอยู่ดีครับว่าเอาอะไรมาวัดว่าแพงหรือไม่แพงนะครับ

เพราะเท่าที่อ่าน peter lynch เค้าพูดเหมือนเป็น rule of thumb ของเค้าเอง โดยไม่ได้บอกเหตุผล (หรือว่าผมอ่านพลาดไปก็ไม่ทราบ)

PE คือ ราคาหุ้น / EPS โดย ถ้า EPS ไม่เปลี่ยนแปลงในอนาคต PE จะบอกว่าจะคืนทุนกี่ปี
%Growth บอกว่า EPS ปีต่อไป เทียบกับ EPS ปีก่อนหน้า โดยมีสมมุติฐานว่าน่าจะโตใน rate นี้ไปอีกหลายๆปี เพราะบริษัทอยู่ใน Growth phase

มันเป็นจริงที่ PE สามารถสูงขึ้นได้ อีกหากว่า EPS มีการเติบโต แต่มันงงที่ทำไม เมื่อค่า PE สูงกว่า %การเติบโต ถึงเรียกว่าแพงเกินกว่าที่จะซื้อละครับ คิดยังไงก็ยังงงอยู่ดี

ต้องขอรบกวนอีกครั้งนะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
KGYF
Verified User
โพสต์: 399
ผู้ติดตาม: 0

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 26

โพสต์

ขอบคุณมากครับ


:bow: :bow: :bow:
" สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ = การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง "

" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
Financeseed
Verified User
โพสต์: 1304
ผู้ติดตาม: 0

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 27

โพสต์

ขอบคุณครับ
มองวิกฤต หาโอกาส
http://link-seed.blogspot.com/
blueplanet
Verified User
โพสต์: 1155
ผู้ติดตาม: 0

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 28

โพสต์

ใช้ Excell จะเห็นชัด
สมมติ ทุกบริษัทกำไร เท่ากัน ที่ 100 บาท ต่อหุ้นในปีที่ 1
A B C
Growth 10% 20% 30%
1 100 100 100
2 110 120 130
3 121 144 169
4 133 173 220
5 146 207 286
6 161 249 371
7 177 299 483
8 195 358 627
9 214 430 816
10 236 516 1,060
ปีที่ 10 B จะกำไรมากกว่า A 2.19เท่า C จะกำไรมากกว่า A 4.5 เท่า
ดังนั้น ราคาหุ้น A ไม่ควรเกิน 1000 PE=10 Growth=10%
ดังนั้น ราคาหุ้น B ไม่ควรเกิน 2000 PE=20 Growth=20%
ดังนั้น ราคาหุ้น C ไม่ควรเกิน3000 PE=30 Growth=30%
ซึ่งถ้าดูในปีที่ 10 แล้ว ราคาหุ้นทั้ง 3 ตัวแม้ PE จะต่างกันมาก พอนานๆ หุ้น Growth สูงมากๆ
และสามารถรักษาGrowthได้ ก็น่าซื้อ
Blueplanet
ภาพประจำตัวสมาชิก
unnop.t
Verified User
โพสต์: 924
ผู้ติดตาม: 1

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 29

โพสต์

ขอบคุณสำหรับบทความครับ

โดยส่วนตัวก็ยังเชื่อว่า ระยะสั้นตลาดเป็นเครื่องลงคะแนน ระยะยาวตลาดคือเครื่องชั่งน้ำหนัก

ต่อไปทฤษฎี Behavioral Finance คงมาแทน EMH ในอนาคตมั้ง

ถ้า EMH เป็นจริงตลอดเวลา Hamberger Crisis ก็คงไม่เกิดแน่นอน
ตลาดหุ้นมักจะหลอกเราด้วย ความโลภ และความกลัว.....
ภาพประจำตัวสมาชิก
Saran
Verified User
โพสต์: 2377
ผู้ติดตาม: 1

Re: ราคาหุ้นที่เหมาะสม/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 30

โพสต์

ขอบคุณสำหรับบทความครับ

เดี๋ยวนี้ผมสังเกตว่า ตั้งแต่การติดต่อสื่อสารเร็วมากขึ้น แต่ล่ะคนหาข้อมูลกันง่ายมากขึ้น ส่งผลราคาหุ้นวิ่งเข้าหา Fair Value เร็วกว่าเมื่อก่อนแต่จะมีความผันผวนมากๆครับ
โพสต์โพสต์