เล่นหุ้นตามเซียน-ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4886
- ผู้ติดตาม: 0
เล่นหุ้นตามเซียน-ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 14 พฤษภาคม 54
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
เล่นหุ้นตามเซียน
ในช่วงเร็ว ๆ นี้ แนวทางการลงทุนหรือการเล่นหุ้นที่เป็นที่กล่าวขวัญถึงมากที่สุดน่าจะเป็นการลงทุนแบบ “Value Investment” เพราะหุ้น “Value” หรือหุ้นที่มี “พื้นฐาน” ที่ดี หลาย ๆ ตัวนั้น มีราคาปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่น นอกจากนั้น ปริมาณการซื้อขายหุ้นก็เพิ่มสูงขึ้นมาก หลาย ๆ ตัวกลายเป็นหุ้นยอดนิยมที่มีปริมาณการซื้อขายติดอันดับสูงสุดหนึ่งในสิบของตลาดหุ้นทั้ง ๆ ที่เป็นหุ้นขนาดเล็ก ถ้ามองเฉพาะปริมาณการซื้อขายก็น่าจะพูดได้ว่าหุ้นเหล่านี้เป็นหุ้น “เก็งกำไรอย่างรุนแรง” ไปแล้ว หุ้นที่เรียกว่า “Value” ที่คนเล่นกันทั้งตลาดนั้นเอง ถ้ามองจากข้อมูลตัวเลขและการวิเคราะห์ตามมาตรฐานของ Value Investor “พันธุ์แท้” ก็ดูเหมือนว่าหุ้นเหล่านั้นที่อาจจะ “เคย” เป็นหุ้น Value หมดความเป็น Value ไปแล้วด้วยเหตุผลที่ว่าราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไปเกิน “พื้นฐาน” มาก
อะไรทำให้หุ้นคุณค่ากลายเป็นหุ้นยอดนิยม ? คำตอบผมคิดว่าเกิดจากจำนวนของนักลงทุนที่เป็น Value Investor หรือ VI มีจำนวนมากขึ้นและที่สำคัญกว่าก็คือ มีเม็ดเงินที่ใช้ในการลงทุนมากขึ้นมาก นักลงทุนหน้าใหม่ที่เข้าตลาดในช่วงหลัง ๆ นี้ เริ่มเห็นคุณค่าของการลงทุนในกิจการที่ดีและมีราคาถูกให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับการฝากเงินซึ่งให้ดอกเบี้ยน้อยมาก แต่ปัญหาของนักลงทุนก็คือจะหาหุ้นตัวไหนที่จะเป็นหุ้น “Value” ไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ที่จะวิเคราะห์หุ้นได้อย่างลึกซึ้ง ดังนั้น ทางออกก็คือ คอยดูว่าคนที่วิเคราะห์หุ้นเก่ง ๆ ระดับ “เซียน” ว่าเขาซื้อหุ้นตัวไหน เสร็จแล้วก็ซื้อตาม นี่เป็นวิธีการ “ลอกการบ้าน” ที่ไม่มีครูจับได้ ในอีกด้านหนึ่ง เซียนเอง บ่อยครั้งก็อยากให้ลอกการบ้าน หลาย ๆ คนพยายามกระจายคำตอบให้คนอื่นลอกด้วยเหตุผลที่ว่า ถ้ามีคนซื้อหุ้นตามมาก ๆ หุ้นที่ตนเองซื้อไว้ก็จะมีราคาปรับตัวขึ้น ดังนั้น ทั้งคนลอกการบ้านและคนให้ลอกต่างก็ได้ประโยชน์ โดยเฉพาะในช่วงสั้น ๆ ที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไป และนี่คือสิ่งที่ผมจะพูดถึงการลงทุน “กระแสใหม่” ที่ผมอยากจะเรียกว่าการ “เล่นหุ้นตามเซียน” หรือถ้าจะเรียกให้เท่ขึ้นไปหน่อยก็คือ Celebrity Investment หรือเรียกย่อ ๆ ว่า CI ซึ่งเป็นการเล่นหุ้นตามคนดังหรือ “เซียน VI”
เรื่องการเล่นหุ้นตามเซียนนี้ ปีเตอร์ ลินช์ เขียนไว้ในหนังสือ One Up on Wall Street ว่า เขาไม่แนะนำให้นักลงทุนซื้อหุ้นตามเซียนหรือตัวเขาเอง เหตุผลมี 3 ข้อ คือ 1) เซียนหรือ ปีเตอร์ ลินช์อาจจะผิด (เขาบอกว่าเขาผิดประมาณ 40% ของการเลือกซื้อหุ้น) ข้อ 2) แม้ว่าเขาจะถูก คุณก็ไม่มีทางรู้ว่าเขาจะเปลี่ยนใจเกี่ยวกับหุ้นและขายไปเมื่อไร) และข้อ 3) คุณมีข้อมูลที่ดีกว่า และมันอยู่รอบ ๆ ตัวคุณ สิ่งที่ทำให้มันดีกว่าก็คือ คุณสามารถที่จะติดตามมันได้ เช่นเดียวกับที่ ปีเตอร์ ลินช์ ติดตามหุ้นของเขา อย่างไรก็ตาม คำแนะนำของลินช์เองนั้น ผมคิดว่าคนที่จะปฎิบัติตามน่าจะเป็นคนที่มีความรู้หรือมีความสามารถหรือมีความตั้งใจสูงที่จะศึกษาวิธีการลงทุนแบบ VI ส่วนคนที่ “เล่นหุ้น” นั่นก็คือ คนที่หวังทำกำไรอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้นคงจะไม่เห็นด้วยและคิดว่า CI น่าจะให้ผลได้ดีกว่า
การลงทุนแบบ CI นั้น ดูเหมือนว่าจะไม่ยากโดยเฉพาะในยุคที่ข่าวสารต่าง ๆ สามารถกระจายไปได้อย่างรวดเร็วผ่านสื่ออีเล็คโทรนิคส์สมัยใหม่ต่าง ๆ วิธีก็คือ ขั้นแรก ดูว่าใครคือ “เซียน” นี่ก็คือการเข้าไปตามเวบไซ้ต์หรือสื่อต่าง ๆ ที่มีการกล่าวขวัญถึงว่าใครสามารถซื้อขายหุ้นทำกำไรได้มากมายขนาดไหนในระยะเวลาอันสั้น นอกจากนั้น การบอกต่อ ๆ กันในหมู่นักลงทุนก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ เมื่อกำหนดได้แล้วว่าใครคือเซียน สิ่งที่จะต้องทำต่อมาก็คือ คอยติดตามว่าเซียนกำลังจะเข้าซื้อหุ้นตัวไหน ซึ่งบางทีก็ไม่ยาก เพราะเซียนจำนวนไม่น้อยก็พยายามบอกต่ออยู่แล้ว ไม่โดยตรงก็โดยอ้อม ในบางครั้ง ถึงเซียนจะไม่ได้บอก แต่เนื่องจากเซียนได้เข้าซื้อหุ้นบางตัวจนมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ซึ่งจะถูกรายงานในเวบไซ้ต์ของตลาดเมื่อมีการปิดบุ๊คเพื่อการประชุมผู้ถือหุ้น แต่ข้อมูลนี้อาจจะไม่เป็นปัจจุบันมากนัก บางกรณีอาจจะเกิดขึ้นมาแล้วเป็นปีก็เป็นได้
เมื่อกำหนดได้แล้วว่าใครคือเซียน CI แต่ละคนดูเหมือนจะรู้ว่าเซียนแต่ละคนนั้น มี “กระบวนท่า” หรือใช้หลักการลงทุนแนวไหน เช่น ชำนาญทางด้านหุ้นโตเร็ว หุ้นวัฏจักร หุ้นฟื้นตัว หุ้นมีสตอรี่ หรืออื่น ๆ รวมถึงระดับของพอร์ตหรือเม็ดเงินที่มักจะเข้าซื้อหุ้นด้วย ประเด็นก็คือ CI นั้น มักจะซื้อตามเซียนที่มีแนวคิดหรือ “จริต” ที่สอดคล้องกับตัวเองและไม่ตามเซียนที่มีแนวทางอีกแบบหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ถ้าตนเองนั้นชอบเล่นหุ้นแบบสั้น ๆ ไม่เกินปีหรือไม่เกินหนึ่งเดือน โอกาสก็คือ เขาจะไม่สนใจเซียนที่ชอบลงทุนระยะยาว แต่จะชอบเซียนที่เน้นลงทุนในหุ้นที่จะมีผลการดำเนินงานในระยะสั้นที่ดีมากกว่า
เมื่อพบว่าเซียนได้เข้าซื้ออย่างมีนัยสำคัญแล้ว CI “วงใน” นั่นคือ CI ที่อาจจะคุ้นเคยกับเซียนก็จะซื้อตามก่อน ต่อมาข้อมูลที่ว่าเซียนได้เข้าซื้อแล้วก็จะถูก “ถ่ายทอด” ต่อมายัง CI “วงนอก” ที่อาจจะห่างออกมาหน่อยแต่ก็ยังจำกัดอยู่ในกลุ่มคนบางกลุ่มเช่นที่ติดตามเวบไซ้ต์การลงทุนอย่างใกล้ชิดซึ่งจะเริ่มมาซื้อตามหลังจากราคาหุ้นเริ่มเคลื่อนไหวรุนแรงขึ้นพร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเนื่องมาจากการที่มีแรงซื้อเพิ่มขึ้นมามาก กระบวนการนี้จะคล้าย ๆ กับสิ่งที่ จอร์จ โซรอส พูดถึง นั่นคือ กระบวนการ Reflexivity หรือกระบวนการที่คนในตลาดซื้อหุ้นทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้พื้นฐานหรือมุมมองต่อหุ้นเปลี่ยนไป ทำให้คนมาซื้อหุ้นเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งก็จะกลับมาเสริมพื้นฐานหรือมุมมองของหุ้นต่อไปอีกต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่ ในบางครั้งกระบวนการนี้ก็อาจจะรุนแรงมากขึ้นจนราคาหุ้นกลายเป็นฟองสบู่เนื่องจาก CI ชุดสุดท้ายที่เข้ามาเล่น
CI ชุดท้าย ๆ ก็คือนักเล่นหุ้นทั่ว ๆ ไป ที่ได้ข่าวว่าเซียนได้เข้ามาซื้อหุ้นจากสื่อกระแสหลักเช่นหนังสือพิมพ์และอาจจะบทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ พวกเขาจะเข้ามาเก็งกำไรจากความผันผวนของราคาหุ้นเป็นหลัก ด้วยปริมาณการซื้อขายมโหฬารเนื่องจากเป็นการซื้อขายเป็นรายวันหรืออาจจะเป็นรายนาทีCI กลุ่มนี้จะไม่สนใจเลยว่าหุ้นนั้นยังมี Value หรือไม่ สิ่งที่พวกเขาคาดหรือจับตานั้นมีเพียงเรื่องเดียว นั่นก็คือ หุ้นตัวนี้ รายใหญ่หรือจ้าวหรือสปอนเซอร์ ยังเล่นหรือไม่ ถ้ายังเล่น พวกเขาก็พร้อมเข้ามาเสี่ยง ถ้าเลิกก็ “ตัวใครตัวมัน” เหนือสิ่งอื่นใด เขาคิดว่าเขาจะ “ออก” ทันเสมอเนื่องจากปริมาณการซื้อขายหุ้นเมื่อถึงจุดนี้มีสูงมาก อย่างไรก็ตาม หลาย ๆ ครั้ง การตกของหุ้นในจุดนี้จะแรงมากจนหนีไม่ทันก็มี
การเป็น CI นั้น ในช่วง 2- 3 ปี มานี้ ซึ่งเป็นช่วงที่หุ้นบูมเป็นกระทิง ดูเหมือนว่าจะเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ทำเงินได้ไม่น้อยสำหรับบางคนโดยเฉพาะที่เป็น CI วงต้น ๆ เหนือสิ่งอื่นใด อาจจะเป็นช่วงที่ยังมีหุ้น Value ที่ยังถูกมากเหลืออยู่ให้เซียนเข้าไปเก็บและเผื่อไปถึง CI ได้ไม่น้อย อย่างไรก็ตาม อนาคตหลังจากนี้ หุ้นที่เป็น Value อาจจะเหลือน้อยหรือแทบหมดแล้ว และเซียนก็อาจจะผิดพลาดได้ ดังนั้น CI ที่เข้าไปซื้อตามอาจจะพบว่าการทำเงินนั้นยากลำบากมากขึ้นจนถึงกับขาดทุนก็เป็นไปได้โดยเฉพาะ CI วงหลัง ๆ สำหรับผมแล้ว การเป็น CI นั้น ยากที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว ดังนั้น สำหรับ VI ที่มุ่งมั่นแล้ว การวิเคราะห์และตัดสินใจด้วยตนเองจะดีกว่าการ “ลอกการบ้าน” แน่นอน แม้ว่าเราจะไม่เก่งเท่าเซียน
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
เล่นหุ้นตามเซียน
ในช่วงเร็ว ๆ นี้ แนวทางการลงทุนหรือการเล่นหุ้นที่เป็นที่กล่าวขวัญถึงมากที่สุดน่าจะเป็นการลงทุนแบบ “Value Investment” เพราะหุ้น “Value” หรือหุ้นที่มี “พื้นฐาน” ที่ดี หลาย ๆ ตัวนั้น มีราคาปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่น นอกจากนั้น ปริมาณการซื้อขายหุ้นก็เพิ่มสูงขึ้นมาก หลาย ๆ ตัวกลายเป็นหุ้นยอดนิยมที่มีปริมาณการซื้อขายติดอันดับสูงสุดหนึ่งในสิบของตลาดหุ้นทั้ง ๆ ที่เป็นหุ้นขนาดเล็ก ถ้ามองเฉพาะปริมาณการซื้อขายก็น่าจะพูดได้ว่าหุ้นเหล่านี้เป็นหุ้น “เก็งกำไรอย่างรุนแรง” ไปแล้ว หุ้นที่เรียกว่า “Value” ที่คนเล่นกันทั้งตลาดนั้นเอง ถ้ามองจากข้อมูลตัวเลขและการวิเคราะห์ตามมาตรฐานของ Value Investor “พันธุ์แท้” ก็ดูเหมือนว่าหุ้นเหล่านั้นที่อาจจะ “เคย” เป็นหุ้น Value หมดความเป็น Value ไปแล้วด้วยเหตุผลที่ว่าราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไปเกิน “พื้นฐาน” มาก
อะไรทำให้หุ้นคุณค่ากลายเป็นหุ้นยอดนิยม ? คำตอบผมคิดว่าเกิดจากจำนวนของนักลงทุนที่เป็น Value Investor หรือ VI มีจำนวนมากขึ้นและที่สำคัญกว่าก็คือ มีเม็ดเงินที่ใช้ในการลงทุนมากขึ้นมาก นักลงทุนหน้าใหม่ที่เข้าตลาดในช่วงหลัง ๆ นี้ เริ่มเห็นคุณค่าของการลงทุนในกิจการที่ดีและมีราคาถูกให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับการฝากเงินซึ่งให้ดอกเบี้ยน้อยมาก แต่ปัญหาของนักลงทุนก็คือจะหาหุ้นตัวไหนที่จะเป็นหุ้น “Value” ไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ที่จะวิเคราะห์หุ้นได้อย่างลึกซึ้ง ดังนั้น ทางออกก็คือ คอยดูว่าคนที่วิเคราะห์หุ้นเก่ง ๆ ระดับ “เซียน” ว่าเขาซื้อหุ้นตัวไหน เสร็จแล้วก็ซื้อตาม นี่เป็นวิธีการ “ลอกการบ้าน” ที่ไม่มีครูจับได้ ในอีกด้านหนึ่ง เซียนเอง บ่อยครั้งก็อยากให้ลอกการบ้าน หลาย ๆ คนพยายามกระจายคำตอบให้คนอื่นลอกด้วยเหตุผลที่ว่า ถ้ามีคนซื้อหุ้นตามมาก ๆ หุ้นที่ตนเองซื้อไว้ก็จะมีราคาปรับตัวขึ้น ดังนั้น ทั้งคนลอกการบ้านและคนให้ลอกต่างก็ได้ประโยชน์ โดยเฉพาะในช่วงสั้น ๆ ที่ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไป และนี่คือสิ่งที่ผมจะพูดถึงการลงทุน “กระแสใหม่” ที่ผมอยากจะเรียกว่าการ “เล่นหุ้นตามเซียน” หรือถ้าจะเรียกให้เท่ขึ้นไปหน่อยก็คือ Celebrity Investment หรือเรียกย่อ ๆ ว่า CI ซึ่งเป็นการเล่นหุ้นตามคนดังหรือ “เซียน VI”
เรื่องการเล่นหุ้นตามเซียนนี้ ปีเตอร์ ลินช์ เขียนไว้ในหนังสือ One Up on Wall Street ว่า เขาไม่แนะนำให้นักลงทุนซื้อหุ้นตามเซียนหรือตัวเขาเอง เหตุผลมี 3 ข้อ คือ 1) เซียนหรือ ปีเตอร์ ลินช์อาจจะผิด (เขาบอกว่าเขาผิดประมาณ 40% ของการเลือกซื้อหุ้น) ข้อ 2) แม้ว่าเขาจะถูก คุณก็ไม่มีทางรู้ว่าเขาจะเปลี่ยนใจเกี่ยวกับหุ้นและขายไปเมื่อไร) และข้อ 3) คุณมีข้อมูลที่ดีกว่า และมันอยู่รอบ ๆ ตัวคุณ สิ่งที่ทำให้มันดีกว่าก็คือ คุณสามารถที่จะติดตามมันได้ เช่นเดียวกับที่ ปีเตอร์ ลินช์ ติดตามหุ้นของเขา อย่างไรก็ตาม คำแนะนำของลินช์เองนั้น ผมคิดว่าคนที่จะปฎิบัติตามน่าจะเป็นคนที่มีความรู้หรือมีความสามารถหรือมีความตั้งใจสูงที่จะศึกษาวิธีการลงทุนแบบ VI ส่วนคนที่ “เล่นหุ้น” นั่นก็คือ คนที่หวังทำกำไรอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้นคงจะไม่เห็นด้วยและคิดว่า CI น่าจะให้ผลได้ดีกว่า
การลงทุนแบบ CI นั้น ดูเหมือนว่าจะไม่ยากโดยเฉพาะในยุคที่ข่าวสารต่าง ๆ สามารถกระจายไปได้อย่างรวดเร็วผ่านสื่ออีเล็คโทรนิคส์สมัยใหม่ต่าง ๆ วิธีก็คือ ขั้นแรก ดูว่าใครคือ “เซียน” นี่ก็คือการเข้าไปตามเวบไซ้ต์หรือสื่อต่าง ๆ ที่มีการกล่าวขวัญถึงว่าใครสามารถซื้อขายหุ้นทำกำไรได้มากมายขนาดไหนในระยะเวลาอันสั้น นอกจากนั้น การบอกต่อ ๆ กันในหมู่นักลงทุนก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ เมื่อกำหนดได้แล้วว่าใครคือเซียน สิ่งที่จะต้องทำต่อมาก็คือ คอยติดตามว่าเซียนกำลังจะเข้าซื้อหุ้นตัวไหน ซึ่งบางทีก็ไม่ยาก เพราะเซียนจำนวนไม่น้อยก็พยายามบอกต่ออยู่แล้ว ไม่โดยตรงก็โดยอ้อม ในบางครั้ง ถึงเซียนจะไม่ได้บอก แต่เนื่องจากเซียนได้เข้าซื้อหุ้นบางตัวจนมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ซึ่งจะถูกรายงานในเวบไซ้ต์ของตลาดเมื่อมีการปิดบุ๊คเพื่อการประชุมผู้ถือหุ้น แต่ข้อมูลนี้อาจจะไม่เป็นปัจจุบันมากนัก บางกรณีอาจจะเกิดขึ้นมาแล้วเป็นปีก็เป็นได้
เมื่อกำหนดได้แล้วว่าใครคือเซียน CI แต่ละคนดูเหมือนจะรู้ว่าเซียนแต่ละคนนั้น มี “กระบวนท่า” หรือใช้หลักการลงทุนแนวไหน เช่น ชำนาญทางด้านหุ้นโตเร็ว หุ้นวัฏจักร หุ้นฟื้นตัว หุ้นมีสตอรี่ หรืออื่น ๆ รวมถึงระดับของพอร์ตหรือเม็ดเงินที่มักจะเข้าซื้อหุ้นด้วย ประเด็นก็คือ CI นั้น มักจะซื้อตามเซียนที่มีแนวคิดหรือ “จริต” ที่สอดคล้องกับตัวเองและไม่ตามเซียนที่มีแนวทางอีกแบบหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ถ้าตนเองนั้นชอบเล่นหุ้นแบบสั้น ๆ ไม่เกินปีหรือไม่เกินหนึ่งเดือน โอกาสก็คือ เขาจะไม่สนใจเซียนที่ชอบลงทุนระยะยาว แต่จะชอบเซียนที่เน้นลงทุนในหุ้นที่จะมีผลการดำเนินงานในระยะสั้นที่ดีมากกว่า
เมื่อพบว่าเซียนได้เข้าซื้ออย่างมีนัยสำคัญแล้ว CI “วงใน” นั่นคือ CI ที่อาจจะคุ้นเคยกับเซียนก็จะซื้อตามก่อน ต่อมาข้อมูลที่ว่าเซียนได้เข้าซื้อแล้วก็จะถูก “ถ่ายทอด” ต่อมายัง CI “วงนอก” ที่อาจจะห่างออกมาหน่อยแต่ก็ยังจำกัดอยู่ในกลุ่มคนบางกลุ่มเช่นที่ติดตามเวบไซ้ต์การลงทุนอย่างใกล้ชิดซึ่งจะเริ่มมาซื้อตามหลังจากราคาหุ้นเริ่มเคลื่อนไหวรุนแรงขึ้นพร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเนื่องมาจากการที่มีแรงซื้อเพิ่มขึ้นมามาก กระบวนการนี้จะคล้าย ๆ กับสิ่งที่ จอร์จ โซรอส พูดถึง นั่นคือ กระบวนการ Reflexivity หรือกระบวนการที่คนในตลาดซื้อหุ้นทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้พื้นฐานหรือมุมมองต่อหุ้นเปลี่ยนไป ทำให้คนมาซื้อหุ้นเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งก็จะกลับมาเสริมพื้นฐานหรือมุมมองของหุ้นต่อไปอีกต่อเนื่องกันไปเป็นลูกโซ่ ในบางครั้งกระบวนการนี้ก็อาจจะรุนแรงมากขึ้นจนราคาหุ้นกลายเป็นฟองสบู่เนื่องจาก CI ชุดสุดท้ายที่เข้ามาเล่น
CI ชุดท้าย ๆ ก็คือนักเล่นหุ้นทั่ว ๆ ไป ที่ได้ข่าวว่าเซียนได้เข้ามาซื้อหุ้นจากสื่อกระแสหลักเช่นหนังสือพิมพ์และอาจจะบทวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ พวกเขาจะเข้ามาเก็งกำไรจากความผันผวนของราคาหุ้นเป็นหลัก ด้วยปริมาณการซื้อขายมโหฬารเนื่องจากเป็นการซื้อขายเป็นรายวันหรืออาจจะเป็นรายนาทีCI กลุ่มนี้จะไม่สนใจเลยว่าหุ้นนั้นยังมี Value หรือไม่ สิ่งที่พวกเขาคาดหรือจับตานั้นมีเพียงเรื่องเดียว นั่นก็คือ หุ้นตัวนี้ รายใหญ่หรือจ้าวหรือสปอนเซอร์ ยังเล่นหรือไม่ ถ้ายังเล่น พวกเขาก็พร้อมเข้ามาเสี่ยง ถ้าเลิกก็ “ตัวใครตัวมัน” เหนือสิ่งอื่นใด เขาคิดว่าเขาจะ “ออก” ทันเสมอเนื่องจากปริมาณการซื้อขายหุ้นเมื่อถึงจุดนี้มีสูงมาก อย่างไรก็ตาม หลาย ๆ ครั้ง การตกของหุ้นในจุดนี้จะแรงมากจนหนีไม่ทันก็มี
การเป็น CI นั้น ในช่วง 2- 3 ปี มานี้ ซึ่งเป็นช่วงที่หุ้นบูมเป็นกระทิง ดูเหมือนว่าจะเป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ทำเงินได้ไม่น้อยสำหรับบางคนโดยเฉพาะที่เป็น CI วงต้น ๆ เหนือสิ่งอื่นใด อาจจะเป็นช่วงที่ยังมีหุ้น Value ที่ยังถูกมากเหลืออยู่ให้เซียนเข้าไปเก็บและเผื่อไปถึง CI ได้ไม่น้อย อย่างไรก็ตาม อนาคตหลังจากนี้ หุ้นที่เป็น Value อาจจะเหลือน้อยหรือแทบหมดแล้ว และเซียนก็อาจจะผิดพลาดได้ ดังนั้น CI ที่เข้าไปซื้อตามอาจจะพบว่าการทำเงินนั้นยากลำบากมากขึ้นจนถึงกับขาดทุนก็เป็นไปได้โดยเฉพาะ CI วงหลัง ๆ สำหรับผมแล้ว การเป็น CI นั้น ยากที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว ดังนั้น สำหรับ VI ที่มุ่งมั่นแล้ว การวิเคราะห์และตัดสินใจด้วยตนเองจะดีกว่าการ “ลอกการบ้าน” แน่นอน แม้ว่าเราจะไม่เก่งเท่าเซียน
- Packky
- Verified User
- โพสต์: 856
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เล่นหุ้นตามเซียน-ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 2
ขอบคุณมากครับ
- kabu
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2149
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เล่นหุ้นตามเซียน-ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 3
ขอบคุณมากครับ
"หนทางเดียวที่จะก้าวพ้นขอบเขตของความเป็นไปได้ คือก้าวเข้าสู่ความเป็นไปไม่ได้", Arthur C. Clarke
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
สมุดบันทึก: http://kabuvi.wordpress.com/
- NAI-A SIKHIU
- Verified User
- โพสต์: 584
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เล่นหุ้นตามเซียน-ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 4
คุ้นๆ นะเนี้ย
นครจันทึก จารึกภาพ ๔,๐๐๐ ปี สี่เขี้ยวต้นตำนาน คู่บ้านลำตะคลอง
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เล่นหุ้นตามเซียน-ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 5
ขอบคุณครับ
ทันเหตุการณ์มากๆเลย
ทันเหตุการณ์มากๆเลย
-
- Verified User
- โพสต์: 39
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เล่นหุ้นตามเซียน-ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 6
เกาะติดทุกสถานการณ์
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4741
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เล่นหุ้นตามเซียน-ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 12
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 340
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เล่นหุ้นตามเซียน-ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 15
-
- Verified User
- โพสต์: 1024
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เล่นหุ้นตามเซียน-ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 16
แน่นด้วยสาระเหมือนเช่นเคย
"เพราะเรียบง่าย จึงชนะ"
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4886
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เล่นหุ้นตามเซียน-ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 17
ดร ท่านทราบถึงวิธีการ ของหุ้นที่เป็นกระแสVI ทุกตัวครับ แต่จะพูดหรือเปล่าแค่นั้น ครับ ท่านผู้นํา VI เราเฉียบขาดครับ
สมัยนี้เล่นตามแห่กันมากกว่าเมื่อก่อนมากครับ ผมมองว่าการตัดสินใจเองเอง คิดเอง หาหุ้นเอง ดีกว่่าตามแห่ ถึงผลตอบแทนเราไม่เท่าเซียนแต่อย่างน้อย ฝีมือเราก็พัฒนาขึ้น ลองชาว thaivi แห่ไปหุ้นไหนสิ ส่วนใหญ่จะขึ้น หุ้นหลายตัวที่ติดกระแสลมจึงtrade ด้วยความคาดหวังหรือสะท้อนอนาคต ไป 1-2 ปี
พอ Eps วิ่งตาม Price ไม่ทัน ถ้าผลการดําเนินงานออกมาตามคาดก็เจ๊าไปแต่ถ้าไม่ละก็ ..... ราคารวมExpectation ไว้แล้ว...
สิ่งที่กระตุ้น ความโลภ ความกลัว คนได้ดีที่สุดจนทําให้การตัดสินใจบิดเบือนคือ การเคลื่อนไหวของราคาหุ้น
สมัยนี้เล่นตามแห่กันมากกว่าเมื่อก่อนมากครับ ผมมองว่าการตัดสินใจเองเอง คิดเอง หาหุ้นเอง ดีกว่่าตามแห่ ถึงผลตอบแทนเราไม่เท่าเซียนแต่อย่างน้อย ฝีมือเราก็พัฒนาขึ้น ลองชาว thaivi แห่ไปหุ้นไหนสิ ส่วนใหญ่จะขึ้น หุ้นหลายตัวที่ติดกระแสลมจึงtrade ด้วยความคาดหวังหรือสะท้อนอนาคต ไป 1-2 ปี
พอ Eps วิ่งตาม Price ไม่ทัน ถ้าผลการดําเนินงานออกมาตามคาดก็เจ๊าไปแต่ถ้าไม่ละก็ ..... ราคารวมExpectation ไว้แล้ว...
สิ่งที่กระตุ้น ความโลภ ความกลัว คนได้ดีที่สุดจนทําให้การตัดสินใจบิดเบือนคือ การเคลื่อนไหวของราคาหุ้น
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4886
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เล่นหุ้นตามเซียน-ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 18
จริงๆแนวนั้นมีมานานมากแล้วนะครับ ในไทยก็ เช่น ตั้งแต่สมัย เก็งกําไรหนักๆอย่างปี 1700 จุด ที่ ขาใหญ่มักจะปล่อยข่าวผ่านห้องค้าว่ากําลังเก็บหุ้นตัวไหน แล้ว รายย่อยก็แห่กันตาม จําสมัยเสี่ย......... ทั้งหลายได้ไหมครับpornchal เขียน:ต่อไปก้อจะมี SCI (Speculative CI) ...
ขอบคุณครับ..
ในเมืองนอก ก็เช่น สมัย อย่าง Jesse Livermoore ที่เวลาซื้อหุ้นทีไร พอข่าวกระจายไป คนก็แห่ซื้อตาม
การขึ้นของหุ้นตอกยํ้าความคิดมวลชลว่าพวกเค้าคิดถูก คนเชื่อแบบนั้นก็ยิ่งแห่กันซื้อ เป็น reflexivity เสริมกันไป เวลาขายก็เช่นกัน ก็จะมีทั้งขายตาม force sell short sell ร่วมๆกันหุ้นก็ยิ่งลง แต่จะเป็นลักษณะ ม้วนเดียวจบ
คงนึกภาพออกนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1230
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เล่นหุ้นตามเซียน-ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 19
+1. Good comment krubRocker เขียน:ดร ท่านทราบถึงวิธีการ ของหุ้นที่เป็นกระแสVI ทุกตัวครับ แต่จะพูดหรือเปล่าแค่นั้น ครับ ท่านผู้นํา VI เราเฉียบขาดครับ
สมัยนี้เล่นตามแห่กันมากกว่าเมื่อก่อนมากครับ ผมมองว่าการตัดสินใจเองเอง คิดเอง หาหุ้นเอง ดีกว่่าตามแห่ ถึงผลตอบแทนเราไม่เท่าเซียนแต่อย่างน้อย ฝีมือเราก็พัฒนาขึ้น ลองชาว thaivi แห่ไปหุ้นไหนสิ ส่วนใหญ่จะขึ้น หุ้นหลายตัวที่ติดกระแสลมจึงtrade ด้วยความคาดหวังหรือสะท้อนอนาคต ไป 1-2 ปี
พอ Eps วิ่งตาม Price ไม่ทัน ถ้าผลการดําเนินงานออกมาตามคาดก็เจ๊าไปแต่ถ้าไม่ละก็ ..... ราคารวมExpectation ไว้แล้ว...
สิ่งที่กระตุ้น ความโลภ ความกลัว คนได้ดีที่สุดจนทําให้การตัดสินใจบิดเบือนคือ การเคลื่อนไหวของราคาหุ้น
ปัญหาที่สร้างให้เกิดการวิจารณ์ มันเกิดจาก 2 เหตุผล
1. เกิดกระแสการวิ่งของราคาหุ้น จึงเกิดความสงสัยว่า มีใครปัั่นราคาหุ้นหรือไม่
2. หลายคนเริ่มรู้สึกว่าราคาเกินกว่า fundamental อย่างไม่สมเหตุสมผล
ผู้ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย เจ้าของ vi. celebrities vi นักลงทุนทางเทคนิค นักเก็งกำไร แต่ใครล่ะ
แต่ที่ผมเห็นได้ซึ่งไม่เกี่ยวกับว่าปั่นหุ้นหรือไม่ คือ เซียน มักจะเป็นผู้ได้เปรียบเสมอ เพราะมักสร้างเหตุผลจูงใจได้ดีกว่า ซื้อที่ราคาต่ำกว่า รู้ fair price. Cut loss and take profit เป็น แล้วเขาผิดตรงไหนที่จะได้ผลตอบแทนที่ดี อยากให้พวกเรายินดีกับทุกคนที่ได้ผลตอบแทนที่ดีแล้าเราจะมีความสุขมากขึ้นแทนที่จะอิจฉาเขา เมื่อเขาเป็นเซียนได้เราก็น่าจะพัฒนาตัวเองให้เป็นเซียนได้เหมือนกัน แต่ถ้าเห็นว่าเกินศักยภาพก็ลอกการบ้านอย่างไตร่ตรองและขอเป็นวงต้นๆ ก็ยังน่าพิจารณา
ท้ายสุดก็ขอให้vi. มีจิตเป็นกุศล เมื่อถึงจุดที่มีอิสรภาพทางการเงินก็แบ่งส่วนเกินให้กับผู้ด้อยโอกาสในสังคม
- Saran
- Verified User
- โพสต์: 2377
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เล่นหุ้นตามเซียน-ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 22
ขอบคุณมากๆครับ เตือนสติได้ดีจริงๆ
ปัญหาหลักของการลงทุนแนว VI น่าจะอยู่ที่ช่วงเริ่มต้นนะ หากลองศึกษาหาหุ้น หาข้อมูลได้ด้วยตัวเองแล้วซัก 4-5 ตัวแล้ว ก็น่าจะต่อยอดหารูปแบบการลงทุนสไตร์ของตัวเองได้
แต่ปัญหามือใหม่ที่เข้ามาลงทุนในช่วงนี้คือ ที่ผ่านมาตลาดเป็นกระทิงขาขึ้น จะทำใจไม่ได้หากหุ้นที่ตัวเองกำลังวิเคราะห์อยู่วิ่งขึ้นไปแล้ว เสียทั้งโอกาสทำกำไรและเวลาสู้ไปหาหุ้นที่เหล่า VI เล่นกันอยู่เลยดีกว่า เลยกลายเป็นเล่นแบบ CI ไปโดยปริยาย
จะกลายเป็นบอกตัวเองว่าลงทุนแนว VI แต่ทำตัวเป็น CI หาค่า fair value ไม่เป็น ไม่รู้จุดเด่นจุดด้อยของบริษัทที่ลงทุนอย่างแท้จริง
ปัญหาหลักของการลงทุนแนว VI น่าจะอยู่ที่ช่วงเริ่มต้นนะ หากลองศึกษาหาหุ้น หาข้อมูลได้ด้วยตัวเองแล้วซัก 4-5 ตัวแล้ว ก็น่าจะต่อยอดหารูปแบบการลงทุนสไตร์ของตัวเองได้
แต่ปัญหามือใหม่ที่เข้ามาลงทุนในช่วงนี้คือ ที่ผ่านมาตลาดเป็นกระทิงขาขึ้น จะทำใจไม่ได้หากหุ้นที่ตัวเองกำลังวิเคราะห์อยู่วิ่งขึ้นไปแล้ว เสียทั้งโอกาสทำกำไรและเวลาสู้ไปหาหุ้นที่เหล่า VI เล่นกันอยู่เลยดีกว่า เลยกลายเป็นเล่นแบบ CI ไปโดยปริยาย
จะกลายเป็นบอกตัวเองว่าลงทุนแนว VI แต่ทำตัวเป็น CI หาค่า fair value ไม่เป็น ไม่รู้จุดเด่นจุดด้อยของบริษัทที่ลงทุนอย่างแท้จริง
-
- Verified User
- โพสต์: 495
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เล่นหุ้นตามเซียน-ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 25
55555
ดูๆไปแล้ว ก้เหมือน ไปโรงเรียนเลยครับ
แล้วคุณครูสั่งให้ทำการบ้าน
คนกลุ่มนึงก็จะพยายามทำเอง แล้วก็ มาเช็คกับเพื่อนที่ทำเองเหมือนกันว่า ได้เหมือนกันมั้ย
คนกลุ่มนึงพยายามแล้วแต่ทำไม่ได้ ก็เลย เลือกไปลอกเพื่อน กลุ่มนี้แบ่งได้อีก 2 กลุ่มย่อย
คือ 2.1. พวกที่มั่นใจว่า ต้นฉบับถูกแน่นอน ลอกเลย ไม่ลืมหูลืมตา ลอกขนาดว่าชื่อยังเขียนตาม
2.2. พวกที่มาลอกแล้วดูว่า อะไรที่ต้นฉบับคิดออก แต่เค้านั้นคิดไม่ออก กลุ่มนี้มักจะเจอข้อผิดพลาดของต้นฉบับบ่อยๆ ไม่ใช่เพราะว่า เค้าเก่งกว่านะครับ แต่เพราะเค้าจะลอกจนเข้าใจว่า เค้าคิดอะไร และ ต้นฉบับคิดอะไร
ฉนั้นเวลาโจทย์แบบเดิมอีกครั้ง พวกนี้จะทำได้โดยไม่ต้องพึ่งต้นฉบับอีกครั้ง เพราะพวกเค้าเข้าใจถึงกระบวนการคิดของทำหาคำตอบแล้ว
ผมว่า CI ก็คือ คนกลุ่มที่พยายามแล้วแต่ทำไม่ได้ ก็เลย เลือกไปลอกเพื่อน แต่คนแบบ 2.1 จะมีมากกว่า 2.2
มันก็เลยมีปัญหาเวลา ถ้าตัวแปร เปลี่ยนเค้าจะไม่รู้เลยว่า คำตอบควรจะเปลี่ยนไปด้วย
ดูๆไปแล้ว ก้เหมือน ไปโรงเรียนเลยครับ
แล้วคุณครูสั่งให้ทำการบ้าน
คนกลุ่มนึงก็จะพยายามทำเอง แล้วก็ มาเช็คกับเพื่อนที่ทำเองเหมือนกันว่า ได้เหมือนกันมั้ย
คนกลุ่มนึงพยายามแล้วแต่ทำไม่ได้ ก็เลย เลือกไปลอกเพื่อน กลุ่มนี้แบ่งได้อีก 2 กลุ่มย่อย
คือ 2.1. พวกที่มั่นใจว่า ต้นฉบับถูกแน่นอน ลอกเลย ไม่ลืมหูลืมตา ลอกขนาดว่าชื่อยังเขียนตาม
2.2. พวกที่มาลอกแล้วดูว่า อะไรที่ต้นฉบับคิดออก แต่เค้านั้นคิดไม่ออก กลุ่มนี้มักจะเจอข้อผิดพลาดของต้นฉบับบ่อยๆ ไม่ใช่เพราะว่า เค้าเก่งกว่านะครับ แต่เพราะเค้าจะลอกจนเข้าใจว่า เค้าคิดอะไร และ ต้นฉบับคิดอะไร
ฉนั้นเวลาโจทย์แบบเดิมอีกครั้ง พวกนี้จะทำได้โดยไม่ต้องพึ่งต้นฉบับอีกครั้ง เพราะพวกเค้าเข้าใจถึงกระบวนการคิดของทำหาคำตอบแล้ว
ผมว่า CI ก็คือ คนกลุ่มที่พยายามแล้วแต่ทำไม่ได้ ก็เลย เลือกไปลอกเพื่อน แต่คนแบบ 2.1 จะมีมากกว่า 2.2
มันก็เลยมีปัญหาเวลา ถ้าตัวแปร เปลี่ยนเค้าจะไม่รู้เลยว่า คำตอบควรจะเปลี่ยนไปด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 1808
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เล่นหุ้นตามเซียน-ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 27
เห็นด้วยมากครับRocker เขียน:คิดเอง หาหุ้นเอง ดีกว่่าตามแห่ ถึงผลตอบแทนเราไม่เท่าเซียนแต่อย่างน้อย ฝีมือเราก็พัฒนาขึ้น
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet
สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย
http://www.sarut-homesite.net/
สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย
http://www.sarut-homesite.net/
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4886
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เล่นหุ้นตามเซียน-ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 29
สมัยนี้ เด็กเรียนเก่งต้องการให้ลอกมากครับ ใครๆก็ลอกได้ผ่าน Facebook Twitter ของ เด็กเนิร์ดเหล่านั้น แต่มันมีค่าใช้จ่ายแฝงในการลอกนะครับ
แต่ถ้าเป็นการลอกและช่วยกันหาข้อมูล แบบ Group Assignment นั่นก็อีกเรื่องนะครับ อย่างน้อยคุณก็ออกแรงทําการบ้าน รู้ที่มาที่ไป รู้จะซื้อขายเพราะอะไรเมื่อไหร่
แต่ถ้าเป็นการลอกและช่วยกันหาข้อมูล แบบ Group Assignment นั่นก็อีกเรื่องนะครับ อย่างน้อยคุณก็ออกแรงทําการบ้าน รู้ที่มาที่ไป รู้จะซื้อขายเพราะอะไรเมื่อไหร่
- san
- Verified User
- โพสต์: 1675
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เล่นหุ้นตามเซียน-ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 30
ปี 2528-29
เพื่อนผม นาย ก ลอกคำตอบข้อสอบจาก นาย ข
ผลเกรด
vvvvv
นาย ข ผู้ให้ลอก ได้ F
นาย ก ผู้ขอลอก ได้ A
เนื่องจาก นาย ก ลอกแล้ว modi
ดังนั้นการลอกที่ดีคือ ลอกแล้วพัฒนา ครับ
การลอกไม่สามารถหมดไปจากโลกใบนี้หรอกครับ
ห้ามแทบตาย ยังไงๆ ก็มีคนลอกครับ
เพื่อนผม นาย ก ลอกคำตอบข้อสอบจาก นาย ข
ผลเกรด
vvvvv
นาย ข ผู้ให้ลอก ได้ F
นาย ก ผู้ขอลอก ได้ A
เนื่องจาก นาย ก ลอกแล้ว modi
ดังนั้นการลอกที่ดีคือ ลอกแล้วพัฒนา ครับ
การลอกไม่สามารถหมดไปจากโลกใบนี้หรอกครับ
ห้ามแทบตาย ยังไงๆ ก็มีคนลอกครับ
ขอบคุณ รุ่นพี่ๆ รุ่นน้องๆ ครูบา อาจารย์ ในนี้ ที่แนะนำเรื่อง วิธีการลงทุนที่ดี นะครับ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ
อ. โจ กับ พี่พอใจ ยังเป็นขวัญใจ เสมอครับ
วันนี้ อ. โจ ได้ลง นสพ ด้วย .....อิอิอิ