หุ้นสถาบันการเงิน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
- little wing
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 187
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นสถาบันการเงิน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 26 มิถุนายน 54
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
หุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินที่ผมจะพูดถึงนั้น ผมรวมถึงกลุ่มต่อไปนี้คือ 1) กลุ่มที่เป็นธนาคารพาณิชย์ 2) กลุ่มที่ทำธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่ง ซึ่งก็คือบริษัทที่ปล่อยกู้ให้กับลูกค้าเพื่อซื้อสินค้าเงินผ่อนทั้งหลาย 3) กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ และ 4) กลุ่มบริษัทประกันภัยและประกันชีวิต ทั้งหมดนี้ผมแทบไม่ได้ซื้อหุ้นเพื่อลงทุนเลยในระยะสิบปีที่ผ่านมาเพราะผมเห็นว่าหุ้นในกลุ่มเหล่านี้มีความเสี่ยงที่ผมไม่ใคร่สบายใจนักที่จะลงทุนระยะยาว และต่อไปนี้คือความคิดของผม
ก่อนที่จะพูดถึงความเสี่ยงผมอยากจะบอกว่า ที่จริงหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินนั้นส่วนใหญ่มีผลประกอบการที่ดีน่าประทับใจ ถ้าดูจากกำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้นก็จะเห็นว่าหุ้นเหล่านี้มีผลกำไรอยู่ในเกณฑ์ที่สูงลิ่วเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของหุ้นในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ในตลาดหลักรัพย์ และเมื่อมองดูถึงความสม่ำเสมอของกำไรก็เห็นว่าบริษัทเหล่านั้นทำได้ค่อนข้างดีพอจะบอกได้ว่าเป็นผลประกอบการที่สามารถคาดการณ์ได้ ประกอบกับการที่บริษัทเหล่านี้มีลูกค้าเป็น “ล้าน ๆ” คน ดังนั้น ความผันผวนของรายได้ก็มักจะมีน้อย ข้อสรุปก็คือ โดยทั่วไปแล้ว เราสามารถหา “มูลค่าที่แท้จริง” ของกิจการ ได้ไม่ยากนักเทียบกับกิจการอื่น ๆ อีกหลายอย่าง พูดง่าย ๆ สามารถใช้ค่า PE และ/หรือ PB มาวัดค่าความถูก/แพงของหุ้นได้
ข้อดีของหุ้นสถาบันการเงินอีกอย่างหนึ่งก็คือ ส่วนใหญ่แล้วบริษัทเหล่านั้นมีกฎหมายและหน่วยงานของรัฐควบคุมอย่างเข้มงวด ดังนั้น ข้อมูลต่าง ๆ ของบริษัทโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีการเงินนั้นค่อนข้างที่จะเชื่อถือได้ เช่นเดียวกัน ผู้บริหารไม่สามารถนำเงินไป “ถลุง” ในกิจการอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องได้ง่ายนัก อีกเรื่องหนึ่งก็คือ นโยบายจ่ายปันผลก็มักจะดีเหตุเพราะว่าบริษัทเหล่านี้มีเงินสดเหลือเฟือที่จะจ่ายปันผล และที่น่าสนใจสุดยอดอีกอย่างหนึ่งก็คือ หุ้นเหล่านี้ จำนวนมากมีค่า PE และ PB ไม่สูง บางบริษัทต่ำมาก ดูไปแล้วน่าจะเป็นหุ้นที่เข้าข่ายเป็นหุ้น “Value” ที่น่าซื้อลงทุนระยะยาว แต่สิ่งที่ทำให้ผมไม่สบายใจนักที่จะลงทุนในหุ้นกลุ่มสถาบันการเงินก็คือ
ประการแรก หุ้นสถาบันการเงินยกเว้นบริษัทหลักทรัพย์นั้น มีการกู้หรือรับฝากเงินจำนวนมาก อัตราการกู้ยืม ในกรณีธนาคารพาณิชย์นั้นสูงมาก อาจจะเป็นเกือบสิบเท่าของเงินในส่วนของผู้ถือหุ้น การกู้มากนั้นเป็นความเสี่ยงมหาศาล เพราะถ้าเงินที่กู้มาและนำไปปล่อยกู้หรือลงทุนต่อเกิดเสียหายกลายเป็น NPL หรือหนี้สูญเพียงแค่ 10% แบงค์นั้นก็หมดทุนหรือล้มแล้ว จริงอยู่ที่ว่าอัตราการเกิด NPL ของแบงค์ในภาวะปกตินั้นมักจะมีน้อยมาก อาจจะเพียง 1-2% และแบงค์ก็มักจะมีการกันสำรองหนี้สูญทุกปีจนเพียงพอหรือเกินพอ แต่นั่นก็คือสภาวการณ์ “ปกติ” แต่ในสถานการณ์ “วิกฤติ” เช่นที่เคยเกิดขึ้นในปี 2540 ลูกหนี้ของแบงค์ต่างก็ “ล้มละลาย” เป็นลูกโซ่ และแบงค์เกือบทั้งหมดแทบเอาตัวไม่รอด หลายแห่งก็ล้มลงไป และนี่ก็คือความเสี่ยงของหุ้นแบงค์
หุ้นของบริษัทลีสซิ่งและบริษัทที่ให้กู้สำหรับซื้อสินค้าเงินผ่อนนั้น ส่วนใหญ่ก็มีการกู้เงินไม่ต่ำกว่า 4-5 เท่าของเงินทุนของตนเอง การปล่อยกู้ให้กับลูกค้านั้น บริษัทมักจะคิดดอกเบี้ยสูงกว่าแบงค์มากเพราะเป็นการปล่อยกู้ให้กับคนที่มีรายได้น้อยหรือคนที่ยังไม่มีกำลังที่จะซื้อสินค้าราคาสูงเช่นรถยนต์แต่อยากได้สินค้ามาใช้ก่อน ดังนั้น โอกาสที่ลูกหนี้จะกลายเป็นหนี้เสียก็จะสูงกว่ากรณีของแบงค์ ในกรณีที่เศรษฐกิจโดยทั่วไปดี อัตราหนี้เสียก็มักจะไม่สูงนักทำให้ผลประกอบการของบริษัทดี แต่ในบางช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี อาจจะเป็นเพราะพืชผลทางการเกษตรมีราคาตกต่ำ NPL ก็จะเกิดขึ้นจำนวนมาก ผลก็คือ บริษัทอาจจะขาดทุนหนัก บางแห่งอาจจะไปไม่รอด นอกจากนั้น เนื่องจากการที่บริษัทในกลุ่มนี้ไม่ได้ถูกถือว่าเป็นสถาบันการเงินที่มีการรับเงินฝากจากประชาชน การควบคุมจากทางการก็มีน้อย ดังนั้น การบริหารงานภายในบริษัทก็อาจจะหละหลวมหรือมีการทุจริตได้ง่าย นี่ก็เป็นความเสี่ยงในด้านการบริหารงานที่เพิ่มขึ้นมาจากเรื่องของภาวะทางเศรษฐกิจ
ข้อสรุปสั้น ๆ ของผมสำหรับหุ้นสองกลุ่มนี้ก็คือ “มันเป็นธุรกิจที่ดีจนถึงวันที่มันเจ๊ง” ดังนั้น หากจะลงทุนในหุ้นสองกลุ่มนี้ก็คงต้องพิจารณาและติดตามว่ามันจะมีโอกาสที่จะเจ๊งไหม ทั้งจากเรื่องของภาวะเศรษฐกิจและเรื่องของตัวบริษัทในด้านของการบริหารงานภายใน และนำมาเทียบกับราคาหุ้นที่จะเป็นตัวกำหนดผลตอบแทนที่เราจะได้จากการลงทุน
หุ้นในกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์นั้น ความเสี่ยงอยู่ที่การเปิด “เสรี” ธุรกิจหลักทรัพย์ซึ่งจะทำให้บริษัทแต่ละแห่งสามารถคิดค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้นได้อย่างอิสระ นี่จะทำให้รายได้หลักของโบรกเกอร์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากจะมีโบรกเกอร์บางแห่งที่มีลูกค้าและคำสั่งซื้อขายหุ้นน้อยเสนออัตราค่านายหน้าในอัตราที่ต่ำเพื่อดึงดูดให้ลูกค้ามาซื้อขายหุ้นกับตนเอง เมื่อคู่แข่งถูก “ตัดราคา” ค่าบริการ เขาก็จะต้องเสนอราคาที่ต่ำลงเพื่อรักษาลูกค้า ผลก็คือราคาค่าบริการก็จะต่ำลงเรื่อย ๆ จนอาจจะเข้าใกล้ศูนย์ในบางกรณี กำไรของบริษัทหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ก็จะลดลงและไม่สามารถคาดได้ว่าจะเป็นเท่าไร นอกจากเรื่องของค่าคอมมิชชั่นแล้ว ก็อาจจะมีบริษัทหลักทรัพย์ โดยเฉพาะจากต่างประเทศ ที่จะมาเปิดให้บริการเพิ่ม ซึ่งก็จะทำให้เกิดการแย่งส่วนแบ่งตลาดของโบรกเกอร์เดิมอีก ดังนั้น นี่คือความเสี่ยงสำคัญที่คาดการณ์ได้ยากสำหรับหุ้นบริษัทหลักทรัพย์
หุ้นกลุ่มสุดท้ายก็คือ หุ้นของบริษัทประกันภัยและประกันชีวิต หุ้นในกลุ่มประกันภัยนั้น ส่วนใหญ่ก็คือการประกันภัยรถยนต์ ส่วนน้อยและมักจะเป็นเครือของแบงค์จะมีรับประกันภัยบ้านและอสังหาริมทรัพย์อื่นเช่นอาคารและโรงงานต่างๆ ด้วย ในด้านของการประกันภัยรถยนต์นั้น การแข่งขันสูงมาก ทำให้บริษัทส่วนใหญ่มีกำไรที่ไม่ดีนัก บางปีก็ขาดทุน ดังนั้น โดยพื้นฐานแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นกิจการที่ดีอะไรนัก ส่วนบริษัทประกันภัยที่เป็นเครือของธนาคารนั้น มักจะได้เปรียบเนื่องจากจะได้ลูกค้าที่ถูกส่งต่อมาจากแบงค์ที่ให้เงินกู้และบังคับให้ลูกค้าทำประกันทรัพย์สินที่นำมาจำนองที่มักเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่โอกาสในการเคลมต่ำ ผลก็คือ บริษัทเหล่านี้มักจะมีกำไรดีต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม หุ้นก็มักจะไม่ถูก
หุ้นบริษัทประกันชีวิตในตลาดมีน้อยแต่เป็นหุ้นที่คึกคักมากในช่วงเร็ว ๆ นี้สำหรับ VI หลายคน เหตุผลก็เพราะว่าธุรกิจประกันชีวิตโดยเฉพาะในช่วงนี้มีการเติบโตค่อนข้างสูง นอกจากนั้น การที่บริษัทเป็นบริษัทในเครือแบงค์ ทำให้สามารถขยายธุรกิจไปได้ง่ายโดยทำผ่านพนักงานของแบงค์ที่เรียกว่า “แบงค์แอสชัวรัน” นั่นคือ ให้พนักงานแบงค์เป็นคนช่วยขายให้กับลูกค้าที่มีเงิน การขายทำได้ง่ายเพราะแบงค์มีข้อมูลของลูกค้าครบ ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำมากทำให้การชักชวนคนทำประกันชีวิตทำได้ง่ายเพราะผลตอบแทนจากกรมธรรม์ดีกว่าการฝากเงิน อย่างไรก็ตาม หุ้นประกันชีวิตมีความเสี่ยงอยู่บ้างเพราะต้องเอาเงินเบี้ยประกันไปลงทุน แม้ว่ามักจะลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำเป็นส่วนใหญ่แต่ความเสี่ยงก็ยังมีอยู่ เหนือสิ่งอื่นใดที่ทำให้ผมยังไม่ลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ก็คือ ราคาหุ้นนั้น ไม่ถูกเลย โดยเฉพาะเมื่อดูจากค่า PB ของหุ้น
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
หุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินที่ผมจะพูดถึงนั้น ผมรวมถึงกลุ่มต่อไปนี้คือ 1) กลุ่มที่เป็นธนาคารพาณิชย์ 2) กลุ่มที่ทำธุรกิจเช่าซื้อและลีสซิ่ง ซึ่งก็คือบริษัทที่ปล่อยกู้ให้กับลูกค้าเพื่อซื้อสินค้าเงินผ่อนทั้งหลาย 3) กลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการเกี่ยวกับการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ และ 4) กลุ่มบริษัทประกันภัยและประกันชีวิต ทั้งหมดนี้ผมแทบไม่ได้ซื้อหุ้นเพื่อลงทุนเลยในระยะสิบปีที่ผ่านมาเพราะผมเห็นว่าหุ้นในกลุ่มเหล่านี้มีความเสี่ยงที่ผมไม่ใคร่สบายใจนักที่จะลงทุนระยะยาว และต่อไปนี้คือความคิดของผม
ก่อนที่จะพูดถึงความเสี่ยงผมอยากจะบอกว่า ที่จริงหุ้นในกลุ่มสถาบันการเงินนั้นส่วนใหญ่มีผลประกอบการที่ดีน่าประทับใจ ถ้าดูจากกำไรต่อส่วนของผู้ถือหุ้นก็จะเห็นว่าหุ้นเหล่านี้มีผลกำไรอยู่ในเกณฑ์ที่สูงลิ่วเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของหุ้นในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ในตลาดหลักรัพย์ และเมื่อมองดูถึงความสม่ำเสมอของกำไรก็เห็นว่าบริษัทเหล่านั้นทำได้ค่อนข้างดีพอจะบอกได้ว่าเป็นผลประกอบการที่สามารถคาดการณ์ได้ ประกอบกับการที่บริษัทเหล่านี้มีลูกค้าเป็น “ล้าน ๆ” คน ดังนั้น ความผันผวนของรายได้ก็มักจะมีน้อย ข้อสรุปก็คือ โดยทั่วไปแล้ว เราสามารถหา “มูลค่าที่แท้จริง” ของกิจการ ได้ไม่ยากนักเทียบกับกิจการอื่น ๆ อีกหลายอย่าง พูดง่าย ๆ สามารถใช้ค่า PE และ/หรือ PB มาวัดค่าความถูก/แพงของหุ้นได้
ข้อดีของหุ้นสถาบันการเงินอีกอย่างหนึ่งก็คือ ส่วนใหญ่แล้วบริษัทเหล่านั้นมีกฎหมายและหน่วยงานของรัฐควบคุมอย่างเข้มงวด ดังนั้น ข้อมูลต่าง ๆ ของบริษัทโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีการเงินนั้นค่อนข้างที่จะเชื่อถือได้ เช่นเดียวกัน ผู้บริหารไม่สามารถนำเงินไป “ถลุง” ในกิจการอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องได้ง่ายนัก อีกเรื่องหนึ่งก็คือ นโยบายจ่ายปันผลก็มักจะดีเหตุเพราะว่าบริษัทเหล่านี้มีเงินสดเหลือเฟือที่จะจ่ายปันผล และที่น่าสนใจสุดยอดอีกอย่างหนึ่งก็คือ หุ้นเหล่านี้ จำนวนมากมีค่า PE และ PB ไม่สูง บางบริษัทต่ำมาก ดูไปแล้วน่าจะเป็นหุ้นที่เข้าข่ายเป็นหุ้น “Value” ที่น่าซื้อลงทุนระยะยาว แต่สิ่งที่ทำให้ผมไม่สบายใจนักที่จะลงทุนในหุ้นกลุ่มสถาบันการเงินก็คือ
ประการแรก หุ้นสถาบันการเงินยกเว้นบริษัทหลักทรัพย์นั้น มีการกู้หรือรับฝากเงินจำนวนมาก อัตราการกู้ยืม ในกรณีธนาคารพาณิชย์นั้นสูงมาก อาจจะเป็นเกือบสิบเท่าของเงินในส่วนของผู้ถือหุ้น การกู้มากนั้นเป็นความเสี่ยงมหาศาล เพราะถ้าเงินที่กู้มาและนำไปปล่อยกู้หรือลงทุนต่อเกิดเสียหายกลายเป็น NPL หรือหนี้สูญเพียงแค่ 10% แบงค์นั้นก็หมดทุนหรือล้มแล้ว จริงอยู่ที่ว่าอัตราการเกิด NPL ของแบงค์ในภาวะปกตินั้นมักจะมีน้อยมาก อาจจะเพียง 1-2% และแบงค์ก็มักจะมีการกันสำรองหนี้สูญทุกปีจนเพียงพอหรือเกินพอ แต่นั่นก็คือสภาวการณ์ “ปกติ” แต่ในสถานการณ์ “วิกฤติ” เช่นที่เคยเกิดขึ้นในปี 2540 ลูกหนี้ของแบงค์ต่างก็ “ล้มละลาย” เป็นลูกโซ่ และแบงค์เกือบทั้งหมดแทบเอาตัวไม่รอด หลายแห่งก็ล้มลงไป และนี่ก็คือความเสี่ยงของหุ้นแบงค์
หุ้นของบริษัทลีสซิ่งและบริษัทที่ให้กู้สำหรับซื้อสินค้าเงินผ่อนนั้น ส่วนใหญ่ก็มีการกู้เงินไม่ต่ำกว่า 4-5 เท่าของเงินทุนของตนเอง การปล่อยกู้ให้กับลูกค้านั้น บริษัทมักจะคิดดอกเบี้ยสูงกว่าแบงค์มากเพราะเป็นการปล่อยกู้ให้กับคนที่มีรายได้น้อยหรือคนที่ยังไม่มีกำลังที่จะซื้อสินค้าราคาสูงเช่นรถยนต์แต่อยากได้สินค้ามาใช้ก่อน ดังนั้น โอกาสที่ลูกหนี้จะกลายเป็นหนี้เสียก็จะสูงกว่ากรณีของแบงค์ ในกรณีที่เศรษฐกิจโดยทั่วไปดี อัตราหนี้เสียก็มักจะไม่สูงนักทำให้ผลประกอบการของบริษัทดี แต่ในบางช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี อาจจะเป็นเพราะพืชผลทางการเกษตรมีราคาตกต่ำ NPL ก็จะเกิดขึ้นจำนวนมาก ผลก็คือ บริษัทอาจจะขาดทุนหนัก บางแห่งอาจจะไปไม่รอด นอกจากนั้น เนื่องจากการที่บริษัทในกลุ่มนี้ไม่ได้ถูกถือว่าเป็นสถาบันการเงินที่มีการรับเงินฝากจากประชาชน การควบคุมจากทางการก็มีน้อย ดังนั้น การบริหารงานภายในบริษัทก็อาจจะหละหลวมหรือมีการทุจริตได้ง่าย นี่ก็เป็นความเสี่ยงในด้านการบริหารงานที่เพิ่มขึ้นมาจากเรื่องของภาวะทางเศรษฐกิจ
ข้อสรุปสั้น ๆ ของผมสำหรับหุ้นสองกลุ่มนี้ก็คือ “มันเป็นธุรกิจที่ดีจนถึงวันที่มันเจ๊ง” ดังนั้น หากจะลงทุนในหุ้นสองกลุ่มนี้ก็คงต้องพิจารณาและติดตามว่ามันจะมีโอกาสที่จะเจ๊งไหม ทั้งจากเรื่องของภาวะเศรษฐกิจและเรื่องของตัวบริษัทในด้านของการบริหารงานภายใน และนำมาเทียบกับราคาหุ้นที่จะเป็นตัวกำหนดผลตอบแทนที่เราจะได้จากการลงทุน
หุ้นในกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์นั้น ความเสี่ยงอยู่ที่การเปิด “เสรี” ธุรกิจหลักทรัพย์ซึ่งจะทำให้บริษัทแต่ละแห่งสามารถคิดค่าธรรมเนียมการซื้อขายหุ้นได้อย่างอิสระ นี่จะทำให้รายได้หลักของโบรกเกอร์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากจะมีโบรกเกอร์บางแห่งที่มีลูกค้าและคำสั่งซื้อขายหุ้นน้อยเสนออัตราค่านายหน้าในอัตราที่ต่ำเพื่อดึงดูดให้ลูกค้ามาซื้อขายหุ้นกับตนเอง เมื่อคู่แข่งถูก “ตัดราคา” ค่าบริการ เขาก็จะต้องเสนอราคาที่ต่ำลงเพื่อรักษาลูกค้า ผลก็คือราคาค่าบริการก็จะต่ำลงเรื่อย ๆ จนอาจจะเข้าใกล้ศูนย์ในบางกรณี กำไรของบริษัทหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ก็จะลดลงและไม่สามารถคาดได้ว่าจะเป็นเท่าไร นอกจากเรื่องของค่าคอมมิชชั่นแล้ว ก็อาจจะมีบริษัทหลักทรัพย์ โดยเฉพาะจากต่างประเทศ ที่จะมาเปิดให้บริการเพิ่ม ซึ่งก็จะทำให้เกิดการแย่งส่วนแบ่งตลาดของโบรกเกอร์เดิมอีก ดังนั้น นี่คือความเสี่ยงสำคัญที่คาดการณ์ได้ยากสำหรับหุ้นบริษัทหลักทรัพย์
หุ้นกลุ่มสุดท้ายก็คือ หุ้นของบริษัทประกันภัยและประกันชีวิต หุ้นในกลุ่มประกันภัยนั้น ส่วนใหญ่ก็คือการประกันภัยรถยนต์ ส่วนน้อยและมักจะเป็นเครือของแบงค์จะมีรับประกันภัยบ้านและอสังหาริมทรัพย์อื่นเช่นอาคารและโรงงานต่างๆ ด้วย ในด้านของการประกันภัยรถยนต์นั้น การแข่งขันสูงมาก ทำให้บริษัทส่วนใหญ่มีกำไรที่ไม่ดีนัก บางปีก็ขาดทุน ดังนั้น โดยพื้นฐานแล้วก็ไม่ถือว่าเป็นกิจการที่ดีอะไรนัก ส่วนบริษัทประกันภัยที่เป็นเครือของธนาคารนั้น มักจะได้เปรียบเนื่องจากจะได้ลูกค้าที่ถูกส่งต่อมาจากแบงค์ที่ให้เงินกู้และบังคับให้ลูกค้าทำประกันทรัพย์สินที่นำมาจำนองที่มักเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่โอกาสในการเคลมต่ำ ผลก็คือ บริษัทเหล่านี้มักจะมีกำไรดีต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม หุ้นก็มักจะไม่ถูก
หุ้นบริษัทประกันชีวิตในตลาดมีน้อยแต่เป็นหุ้นที่คึกคักมากในช่วงเร็ว ๆ นี้สำหรับ VI หลายคน เหตุผลก็เพราะว่าธุรกิจประกันชีวิตโดยเฉพาะในช่วงนี้มีการเติบโตค่อนข้างสูง นอกจากนั้น การที่บริษัทเป็นบริษัทในเครือแบงค์ ทำให้สามารถขยายธุรกิจไปได้ง่ายโดยทำผ่านพนักงานของแบงค์ที่เรียกว่า “แบงค์แอสชัวรัน” นั่นคือ ให้พนักงานแบงค์เป็นคนช่วยขายให้กับลูกค้าที่มีเงิน การขายทำได้ง่ายเพราะแบงค์มีข้อมูลของลูกค้าครบ ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำมากทำให้การชักชวนคนทำประกันชีวิตทำได้ง่ายเพราะผลตอบแทนจากกรมธรรม์ดีกว่าการฝากเงิน อย่างไรก็ตาม หุ้นประกันชีวิตมีความเสี่ยงอยู่บ้างเพราะต้องเอาเงินเบี้ยประกันไปลงทุน แม้ว่ามักจะลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำเป็นส่วนใหญ่แต่ความเสี่ยงก็ยังมีอยู่ เหนือสิ่งอื่นใดที่ทำให้ผมยังไม่ลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ก็คือ ราคาหุ้นนั้น ไม่ถูกเลย โดยเฉพาะเมื่อดูจากค่า PB ของหุ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 1601
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นสถาบันการเงิน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณมากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 32
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นสถาบันการเงิน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 12
อาจารย์ น่าจะหมายถึงเพียง หุ้นจำพวกไฟแนนซ์ อย่างเดียวน่ะครับเพราะบุคแวลู ของกลุ่มนี้จะสะท้อนความเป็นจริงได้มากที่สุด เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆcharnengi เขียน:ขอเสริมหน่อยครับ จบที่ pbv บางที มันทำให้เราพลาดหุ้นดีๆหลายๆตัว
Cpall ก็ pbv สูงตลอด ถัาไม่นับช่วงวิกฤต
-
- Verified User
- โพสต์: 210
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นสถาบันการเงิน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 17
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1252
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นสถาบันการเงิน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 19
ขอบคุณท่านอ.มากคับสำหรับบทความและงานสัมมนาดีดีที่มอบให้เสมอมา
หลังจากได้ดูเทปงานสัมมนาเมื่อไม่นานมานี้ทำให้ผมคิดได้เลยว่าาหุ้นกลุ่มแบงค์ท่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีอาจจะต้องเลือกใช้กลยุทธ์นกฟีนิกซ์นั่นก็คือรอเข้าลงทุนในช่วงที่กำลังจะเกิดใหม่จากกองเถ่าถ่านเช่นหุ้นแบงค์ขนาดเล็กบริษัทหนึ่งที่เชี่ยวชาญในธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อหลังจากผ่านวิกฤตแฮมเบเกอร์เป็นพิษมาได้ก็สร้างผลตอบแทนให้อย่างงดงามกับนักลงทุนที่กล้าเข้าไปลงทุนในช่วงกำลังเกิดใหม่อีกครั้ง เรื่องpbvในภาวะที่นายตลาดยังรักษาอารมณ์ได้อยู่ก็ตีราคาได้อย่างสมเหตุสมผลอยู่บ้างนะคับกับธุรกิจที่มีอนาคตสดใสและผู้บริหารก็บริหารได้อย่างดีเยี่ยมจนบริษัทกลายเป็นSuperStockได้อ่ะคับ
หลังจากได้ดูเทปงานสัมมนาเมื่อไม่นานมานี้ทำให้ผมคิดได้เลยว่าาหุ้นกลุ่มแบงค์ท่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีอาจจะต้องเลือกใช้กลยุทธ์นกฟีนิกซ์นั่นก็คือรอเข้าลงทุนในช่วงที่กำลังจะเกิดใหม่จากกองเถ่าถ่านเช่นหุ้นแบงค์ขนาดเล็กบริษัทหนึ่งที่เชี่ยวชาญในธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อหลังจากผ่านวิกฤตแฮมเบเกอร์เป็นพิษมาได้ก็สร้างผลตอบแทนให้อย่างงดงามกับนักลงทุนที่กล้าเข้าไปลงทุนในช่วงกำลังเกิดใหม่อีกครั้ง เรื่องpbvในภาวะที่นายตลาดยังรักษาอารมณ์ได้อยู่ก็ตีราคาได้อย่างสมเหตุสมผลอยู่บ้างนะคับกับธุรกิจที่มีอนาคตสดใสและผู้บริหารก็บริหารได้อย่างดีเยี่ยมจนบริษัทกลายเป็นSuperStockได้อ่ะคับ
สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบนโลกใบนี้คือความว่างเปล่า สูงจากว่างเปล่าคือก่อเกิดเปลี่ยนแปลง
http://www.fungdham.com/sound/popup-sou ... up-75.html
http://goo.gl/VjQ4cG
http://www.fungdham.com/sound/popup-sou ... up-75.html
http://goo.gl/VjQ4cG
-
- Verified User
- โพสต์: 803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นสถาบันการเงิน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 22
Asset of Bank and insurance firm are reflect in current value than trader firm. That why bank and insurance can use price to book value to valuation. Dr. Is correct laew krub.charnengi เขียน:ขอเสริมหน่อยครับ จบที่ pbv บางที มันทำให้เราพลาดหุ้นดีๆหลายๆตัว
Cpall ก็ pbv สูงตลอด ถัาไม่นับช่วงวิกฤต
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 232
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นสถาบันการเงิน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 23
ช่วยขยายความให้ทีได้ไหมครับ อยากทราบเกี่ยวกับการตีมูลค่า Assurance ด้วยครับ ว่า ทำไมถึงควรใช้ P/B เพราะเท่าที่เห็น มักจะนำเงินลงทุนไปลงในตราสารหนี้ซึ่งเสี่ยงน้อย ?chiraponge เขียน: Asset of Bank and insurance firm are reflect in current value than trader firm. That why bank and insurance can use price to book value to valuation. Dr. Is correct laew krub.
Things are almost never clear on Wall Street,
or when they are, then it’s too late to profit from them.
or when they are, then it’s too late to profit from them.
- blackninja
- Verified User
- โพสต์: 176
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นสถาบันการเงิน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 25
ข้อสรุปสั้น ๆ ของผมสำหรับหุ้นสองกลุ่มนี้ก็คือ “มันเป็นธุรกิจที่ดีจนถึงวันที่มันเจ๊ง”
ผมงงตรงนี้อะคับ มันมีบริษัทที่เจ๊งแล้วดีด้วยหรือเปล่าคับ
ผมงงตรงนี้อะคับ มันมีบริษัทที่เจ๊งแล้วดีด้วยหรือเปล่าคับ
- sathaporne
- Verified User
- โพสต์: 1661
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นสถาบันการเงิน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 26
ผมเข้าใจว่า คำว่าดีคงหมายถึงว่าในยามปกติ บริษัทมีกำไรดีเรื่อยๆ อัตราส่วนอะไรก็ดูดีไปหมดblackninja เขียน:ข้อสรุปสั้น ๆ ของผมสำหรับหุ้นสองกลุ่มนี้ก็คือ “มันเป็นธุรกิจที่ดีจนถึงวันที่มันเจ๊ง”
ผมงงตรงนี้อะคับ มันมีบริษัทที่เจ๊งแล้วดีด้วยหรือเปล่าคับ
แต่เนื่องจากบริษัทเหล่านี้มีความเสี่ยง ถ้าเกิดความเสี่ยงนั้นเกิดขึ้นมาจริงๆ
อาจทำให้บรษัทเสียหายจนถึงเจ๊งได้ อะไรประมาณนั้นครับ
- Alastor
- Verified User
- โพสต์: 2590
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นสถาบันการเงิน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 27
การใช้ PB ratio ในการประเมินราคา มันเป็นเรื่องทางทฤษฎีที่เก่าแล้วมากครับ ผมว่ามันมี fraud นะ เพราะในฝั่ง Asset นั้น มิได้ถูกบันทึกตาม fair value แต่อย่างใด เช่น BLA บันทึกเงินลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวเป็น Held-to-maturity ซึ่งแสดงตามราคาทุน ยิ่งฝั่ง Liability นี่จบกันเลยไม่รู้ว่า fair value เป็นเท่าไหร่ ดังนั้น Equity ซึ่งเท่ากับ Asset - Liability ก็ไม่ใช่ค่าที่สะท้อนมูลค่ายุติธรรมได้ จะใช้ PB Ratio วัดได้อย่างไรละครับ?chiraponge เขียน:Asset of Bank and insurance firm are reflect in current value than trader firm. That why bank and insurance can use price to book value to valuation. Dr. Is correct laew krub.charnengi เขียน:ขอเสริมหน่อยครับ จบที่ pbv บางที มันทำให้เราพลาดหุ้นดีๆหลายๆตัว
Cpall ก็ pbv สูงตลอด ถัาไม่นับช่วงวิกฤต
ผมว่านะ หุ้น bank ที่ยากจริงๆคือการอ่านงบการเงิน เพราะวัด ratio ต่างๆ ไม่เหมือนบริษัทผลิตสินค้าหรือให้บริการอื่นๆเลย ใช้รายได้เป็นตัวตั้งไม่ได้ต้องใช้สินเชื่อ มีเรื่องการสำรองหนี้เสีย การสำรองมูลค่าหลักทรัพย์ยึดคืน การขายทอดตลาด ในด้านของกระแสเงินสดก็นับการฝากเงินกับการปล่อยกู้ใน OCF ด้วย ทำให้คนที่อ่านงบไม่เป็นออกทะเลได้ง่ายๆ ฐานลูกค้าของ bank เองก็หลากหลาย รวมๆแล้วเหมือนภาคธุรกิจโดยรวมของประเทศไทยมากกว่า แถมหุ้น bank ส่วนใหญ่เป็น Big-cap ซึ่งมี beta ใกล้ๆ 1 ทำให้เวลา SET Index ลดลง หุ้นก็ลงไปด้วย
ทั้งอ่านงบยาก แถมราคายังไปตาม SET Index ซะมากด้วย แบบนี้ไม่รู้จะวิเคราะห์โดยละเอียดอย่างไร และ ไม่รู้จะทำไปให้เหนื่อยทำไมด้วย ที่ผมมองไว้มี 2 วิธีลงทุนใน bank คือ เดินตามผู้ใหญ่ กับ ซื้อกระจายตัว ซึ่งคิดๆดูก็ไม่ได้เหมาะกับตัวผมเองเท่าไหร่นะ แต่ว่านะกิจการธนาคารเนี่ยน่าเป็นเจ้าของมากๆครับ ลองไม่ใช้ 7-11 ซัก 1 ปี กับไม่ใช้ bank ซัก 1 ปีสิครับ แบบว่าเงินเดือนก็ให้เจ้านายจ่ายมาเป็นธนบัตรเลยนะ ผมว่าอย่างหลังชีวิตจะลำบากกว่าเยอะ bank เดี๋ยวนี้ไม่ใช้แค่ Saving&Loan แล้วครับ มันเป็นเครื่องจักรทางการเงินที่ครบวงจร คือคุณขาดมันไม่ได้อ่ะ ไม่เชื่อทดลองได้ครับ อนาคตคุณจะเห็น bank ที่มั่นคงมากๆและรายได้ก้อนใหญ่จะมาจาก fee ทำให้การใช้ PB ratio ไม่เหมาะอีกต่อไป (ก็สินทรัพย์มันไม่ได้สร้างรายได้หลักแล้วนิ) ส่วนตัวผมก็ปวดหัวอยู่เพราะอยากได้แต่ไม่รู้จะซื้อตอนไหนดี -_-'
ในทางตรงข้าม Leasing วิเคราะห์ง่ายกว่า โดยเฉพาะกิจการที่ขายสินทรัพย์ที่ยึดมาเร็วๆ โอกาสการแต่งงบจะน้อยเพราะสำรองโน่นนี่ไม่ค่อยได้ผล สินค้าที่เป็นหลักประกันก็ติดตามได้ค่อนข้างง่ายว่าสภาพตลาดเป็นยังไง เรื่องโดนเจ้าของโกงนี่ ผมว่ามันก็ต้องระวังกันทุกบริษัทแหละครับ ส่วนตัวผมเน้นที่มี related party transaction น้อยๆไว้ก่อน แต่ก็เหมือนกลุ่ม bank ที่งบจะอ่านยากกว่า บริษัทผลิต/บริการ แต่ยังไงก็อ่านง่ายกว่า bank ครับ
ประกันภัย/ประกันชีวิตนี่ ผมว่าปีนี้น่าจะเป็นปีทองของประกันภัยนะนะ เพราะรายได้จะมาจากสองทางคือธุรกิจประกัน กับ เงินลงทุน ปีนี้ดอกเบี้ยขึ้นหลังจากที่ yield ต่ำมากๆมานาน ตอนนี้ที่เห็นคือบางบริษัทมีการรอจังหวะว่าถ้าดอกเบี้ยขึ้นถึง peak เมื่อไหร่ เงินลงทุนที่แต่เดิมเป็นเงินฝาก/ตราสารหนี้อายุสั้นมากๆ จะโดนโยกไปเป็นตราสารหนี้ระยะยาวที่มี yield สูงกว่ามาก บริษัทประกันจะมีรายได้จากการลงทุนเพิ่มอย่างมากเลย การประกันภัยรถยนต์เท่าที่ดูก็ทำกำไรกันได้นะครับ อย่าไปเลือกบริษัทที่เบี้ยประกันไม่โตก็พอแล้วเพราะการที่เบี้ยโตจะทำให้สินทรัพย์ลงทุนเพิ่มตามไปด้วย มีโอกาสได้กำไรเพิ่มจากเงินลงทุนเข้าไปอีก ผมเคยถือหุ้นบริษัทประกันที่เบี้ยไม่โตนี่ รอปีสองปีหุ้นยังไม่ขึ้นเลยครับ แบบว่า PB ratio ต่ำจริง แต่มันต่ำยาวเลย (ตอนนั้นผมก็เลือกเพราะ PB ratio มันต่ำนี่แหละ ตามตำราๆ) ใครจะมาลงทุนถ้ารู้ว่าเพดานราคามันแค่ Book value หล่ะครับ เดี๋ยวซวยเป็นไม้สุดท้ายพอดี
ฝั่งประกันชีวิต ผมคิดว่าบริษัทพวกนี้มี growth สูงเลยน่าลงทุน ผมเลยไม่เห็นด้วยที่ใช้ PB ratio ด้วยเหตุผลข้างต้นว่าวิธีนี้ fraud และ PB ratio หรือจะวิธี EV ก็ไม่ได้คำนึงถึง Growth ในอนาคตด้วย ซึ่งค่อนข้างแปลกที่มีคนใช้นะ เพราะเหตุผลที่ลงทุนในหุ้นประกันชีวิตคือ "เชื่อว่าอุตสาหกรรมจะเติบโตอย่างรวดเร็ว" แต่ PB กับ EV ไม่คำนึงถึง Growth ในอนาคต แล้วเอามาใช้ทำไมหว่า??? มัน ลักหลั่นย้อนแย้ง นะผมว่า (ยืมคำมาจาก หงสาจอมราชัน ) ส่วนตัวผมใช้ FWD PE กับ DCF (FCF-to-firm) คุ้นๆว่ามี Justified-PB ratio อีกวิธีนึงที่คิด growth ด้วย แต่จำได้ว่า growth ต้อง mature แล้ว เลยใช้กับประกันชีวิตคงไม่ได้ครับ
ส่วนพวก broker นี่ผมเห็นด้วยกับ ดร.เลยครับ ผมยอมแพ้กลุ่มนี้ +_+
Wir sind das Rar, der Stolz und der Wert
- sonnesaint
- Verified User
- โพสต์: 127
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นสถาบันการเงิน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 29
เห็นภาพเลยblackninja เขียน:ข้อสรุปสั้น ๆ ของผมสำหรับหุ้นสองกลุ่มนี้ก็คือ “มันเป็นธุรกิจที่ดีจนถึงวันที่มันเจ๊ง”
ผมงงตรงนี้อะคับ มันมีบริษัทที่เจ๊งแล้วดีด้วยหรือเปล่าคับ
จะรู้ว่ามันไม่ดี ก็วันที่เราขาดทุนนั่นเอง
ด้วยความเคารพ
suriya
suriya
- Alastor
- Verified User
- โพสต์: 2590
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นสถาบันการเงิน/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 30
ยังไม่ได้ certificate ครับ พอดีก่อนสอบรอบที่ผ่านมานอน ICU ซะก่อน วันสอบยังให้น้ำเกลืออยู่เลยครับ ไว้ปีหน้าพยายามใหม่ T-Tcharnengi เขียน:ระดับ CFA มาให้ความรู้ น้อมรับไว้ครับพ่ี
Pbv ไม่ค่อยมีประโยชน์จริงๆ ผมเคยยึด Pbv มาหลายปี ใครไม่เชื่อต้องลองเองครับ
Wir sind das Rar, der Stolz und der Wert