หุ้นถูกเรื้อรัง
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 358
- ผู้ติดตาม: 1
หุ้นถูกเรื้อรัง
โพสต์ที่ 1
ผมนั่งไล่ดูราคาหุ้น เปรียบเทียบกับกำไรครึ่งปีแรกที่ผ่านมา และเห็นว่ามีหุ้นจำนวนมากที่มี p/e เพียง 3-6 เท่า ซึ่งที่ระดับ p/e ระดับนี้หากบริษัทที่มี p/e 3-6 เท่านี้ นำเงินสดส่วนเกินหรือกู้เงินจากธนาคารเพื่อมาซื้อหุ้นคืน ผลตอบแทนจากาการซื้อหุ้นคืนนั้นจะเท่ากับส่วนกลับของ p/e คือ e /p ( earning / price ) ซึ่งเป็นผลตอบแทน ( กำไรของบริษัท ) ที่ได้เมื่อเทียบกับราคาที่จ่ายไป ซึ่ง e/p ของหุ้นที่มี p/e 3-6 เท่านั้นเท่ากับ 16 33% เลยทีเดียว ก็เท่ากับว่าเงินสดที่จ่ายออกไปเพื่อซื้อหุ้นคืนก็จะได้ผลตอบแทนสูงถึง 16-33% ซึ่งน่าจะเป็นผลตอบแทนที่น่าสนใจทีเดียวเมื่อเปรียบเทียบกับการนำเงินสดของบริษัทไปลงทุนในตราสารทางการเงิน หรือแม้กระทั่งสำหรับบางบริษัทที่มีความเสี่ยงทางการเงินไม่สูงนักจะกู้เงินจากสถาบันการเงินเพื่อมาซื้อหุ้นคืนเพราะมีต้นทุนทางการเงินเพียงประมาณ 5-8% หรืออย่างน้อยที่สุดหากไม่ซื้อหุ้นคืนก็น่าจะจ่ายปันผล 100% ของกำไรหรือใกล้เคียงซึ่งหุ้นที่จ่ายปันผล 100% ของกำไรหากมี p/e 5 เท่าก็เท่ากับว่าการลงทุนในหุ้นตัวนั้นๆ จะให้ผลตอบแทนจากเงินปันผล 20% ต่อปี ซึ่งผมคิดว่าหุ้นตัวนั้นๆ ไม่น่าจะมี p/e อยู่ที่ 5 เท่าได้นานนักเพราะน่าจะมีนักลงทุนจำนวนหนึ่งที่ซื้อเพราะหวังเงินปันผลและน่าจะทำให้ราคาหุ้นและ p/e ค่อยๆ สูงขึ้นมา
ผมก็เลยมานั่งคิดถึงสาเหตุว่าทำไมบริษัทที่มี p/e 3-6 เท่าเหล่านี้ถึงยังไม่ประกาศซื้อหุ้นคืนเสียที หรือยังไม่จ่ายปันผล 100% ของกำไร และพอจะหาเหตุผลได้ดังนี้ครับ
1 ) กำไรที่เกิดขึ้นในครึ่งปีแรกที่ผ่านมาน่าจะเป็นกำไรที่เกิดแบบไม่ถาวรหรือชั่วครั้งชั่วคราว เช่น อาจจะเป็นหุ้นวัฎจักร ซึ่งหลายๆ ตัวอาจจะถูกมองว่ากำไรในปีนี้ไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกถึงกำไรของปีหน้าและปีถัดๆ ไป ซึ่งการซื้อหุ้นคืนที่ p/e ต่ำในราคารปัจจุบันอาจจะเป็นราคาที่แพงในอีก 2-3 ปีข้างหน้าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผลการดำเนินงานอาจจะถึงขั้นขาดทุนในช่วงธุรกิจขาลง และกำไรในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาของหุ้นหลายๆ ตัวก็เกิดจากกำไรจากสินค้าคงเหลือ หรือ inventory gain ยกตัวอย่างเช่น หุ้นโรงกลั่นหรือเหล็กที่เกือบทุกตัวมีผลกำไรออกมาดีมาก
2 ) หุ้นหลายๆ ตัวแม้มี p/e ต่ำ แต่มีหนี้สินจำนวนมากเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้น และอีกตัวที่ต้องคำนึงคือเปรียบเทียบกับกำไรหรือกระแสเงินสดที่สร้างได้ทั้งปี เช่น อาจจะมีหนี้สินเป็น 5-10 เท่าของกำไรทั้งปี ซึ่งสิ่งที่บริษัทควรจะทำคือการนำเงินไปคืนหนี้สินก่อนเพื่อลดความเสี่ยงทางการเงินของบริษัทโดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกมีภาวะความเสี่ยง ดังนั้นหุ้นประเภทนี้นอกจากจะไม่ควรจะซื้อหุ้นคืนแล้วก็ยังจะไม่สามารถที่จะปันผลในอัตราสูงเมื่อเปรียบเทียบกับกำไรได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ผมเพิ่งจะอ่านข่าวเจอหุ้นกลุ่มการเกษตรที่ผมคิดว่าเข้าข่ายข้อ 2 นี้ประกาศซื้อหุ้นคืนซึ่งผมเองก็ค่อนข้างแปลกหากจะมีการซื้อหุ้นคืนจากตลาดเกิดขึ้นไปจริงๆ เพราะจำนวนหนี้ที่มีอยู่นั้นมากกว่า 10 เท่าของกำไรที่ทำได้ในแต่ละปีและกำไรแต่ละปีก็ไม่ค่อยมีความแน่นอน
3 ) หุ้นบางตัวอาจจะแม้มีกำไรสูงเมื่อเปรียบเทียบกับราคาหุ้น แต่หากไปดูกระแสเงินสดจะเห็นว่ากระแสเงินสดจากการดำเนินงานติดลบหรือเป็นบวกไม่มากเท่ากำไรทางบัญชี ซึ่งอาจจะเกิดจากลักษณะธุรกิจที่เมื่อรายได้เพิ่มขึ้นจะต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนสูงขึ้นมาก เช่นธุรกิจที่ขายเป็นเงินเชื่อหรือ credit term กับลูกค้า และโดยเฉพาะ credit term ที่ให้กับลูกค้านั้นยาวกว่า credit term ที่ได้จากเจ้าหนี้การค้า หรือหุ้น ที่มีระยะเวลาการผลิตสินค้าและบริการเป็นเวลานานทำให้ inventory day สูง ดังนั้นหุ้นประเภทนี้บางครั้งจะเห็นว่ากำไรดีขึ้นและกำไรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ก็มีหนี้ประเภทหนี้ระยะสั้นที่ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นทุกปีสอดคล้องกับยอดขายที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นหุ้นกลุ่มนี้ก็จะมีอัตราการจ่ายปันผลที่ไม่สูงนักเช่นกันเมื่อเทียบกับกำไร และมักจะไม่มีเงินสดเพียงพอที่จะไปซื้อหุ้นคืนได้
4 ) หุ้นอีกประเภทคือแม้จะมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวก แต่ก็มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูง และเป็นการลงทุนเพื่อคงไว้ซึ่งความสามารถในการแข่งขัน เพราะอยู่ในธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีรวดเร็ว และเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็มักจะแพงกว่าเทคโนโลยีเดิม เช่น สินค้าอิเลคทรอนิกส์บางประเภท ดังนั้นหุ้นประเภทนี้จะนำเงินสดมาจ่ายปันผลทั้งหมดหรือจะซื้อหุ้นคืนไม่ค่อยได้ เงินสดที่ได้จากการดำเนินงานจะต้องถูกกันไว้สำหรับการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักรให้ตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปได้ทัน หุ้นกลุ่มนี้จะดูได้จากงบกระแสเงินสดที่มีเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร หรือ capex สูงกว่าค่าเสื่อมราคาในแต่ละปีค่อนข้างมาก หุ้นพวกนี้แม้จะมี p/e ต่ำ แต่หากเราไปดู ROA ROE เฉลี่ยย้อนหลังจะเห็นว่าค่าดังกล่าวจะค่อนข้างต่ำ และหุ้นเหล่านี้มักจะมี p/bv ต่ำอีกด้วย ซึ่งมักจะเป็นหุ้นที่เมื่อดู ratio คร่าวๆ อย่าง p/e p/bv นั้นดูสะดุดสายตาเป็นอย่างมาก
5 ) หุ้นบางตัวมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวก แต่ก็มีการลงทุนสูง ซึ่งกรณีนี้หุ้นดังกล่าวอาจจะอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง และที่ผ่านมาการลงทุนใหม่ๆ ของบริษัทไม่ว่าจะเป็นการขยายกำลังการผลิต ขยายสาขา หรือการเข้าซื้อกิจการอื่นๆ นั้นให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยที่ค่อนข้างสูง เช่น มี IRR หรือผลตอบแทนของเงินลงทุร 20-30% หรือบางทีอาจจะมากกว่า จนผู้บริหารเห็นว่าน่าจะเก็บเงินไว้ลงทุนน่าจะเกิดประโยชน์กับผู้ถือหุ้นมากกว่าการจ่ายปันผลออกไปมากๆ หรือซื้อหุ้นคืน หุ้นเหล่านี้น่าจะต่างจากข้อ 4 หากเราดู ratio จะเห็นว่า ROE และ ROA เฉลี่ยหลายๆ ปีจะค่อนข้างสูง ( ยกเว้นหุ้นวัฎจักรที่จะดู ROE ROA ไม่ได้ครับ )
6 ) หุ้นบางตัวก็มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวก แต่ก็มีการลงทุนสูง เช่นเดียวกับข้อ 5 แต่การลงทุนของบริษัทที่ผ่านมานั้นมักจะไปลงทุนในสิ่งที่ผู้ถือหุ้นแนว VI อย่างเรารู้สึกว่าเอาเงินมาจ่ายปันผล 100% จะดีกว่า เช่น โครงการใหม่ๆ หรือสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนต่ำ และการลงทุนใหม่ๆ ถ้าในกรณีที่ดีก็ยังได้ผลตอบแทนกลับมาบ้างแต่ถ้าโชคร้ายอาจจะถึงขั้นขาดทุน หรือบางครั้งอาจจะนำไปขยายกำลังการผลิตในช่วงที่บริษัทในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้นๆ ก็มีผลกำไรและกระแสเงินสดที่ดีจึงขยายกำลังการผลิตพร้อมๆ กันซึ่งจะนำมาซึ่งภาวะ oversupply ในอนาคต หุ้นเหล่านี้ก็จะมีลักษณะคล้ายข้อ 4 คือ p/e ต่ำแต่ ROA ROE ก็จะต่ำด้วย
7 ) หุ้นบางตัวอาจจะไม่เข้าข่ายข้อ 1- 6 เลย หรือเข้าข่ายบางข้อ แต่มี free float ต่ำมาก หรือมีสภาพคล่องการซื้อขาย ณ ปัจจุบันที่ต่ำมากจนหากซื้อหุ้นคืนก็จะทำให้ free float ยิ่งต่ำลงไปอีกจนอาจจะไม่ผ่านเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์และยิ่งทำให้สภาพคล่องการซื้อขายหุ้นต่ำลงไปอีก ซึ่งหุ้นในข้อนี้คงจะไม่สามารถซื้อหุ้นคืนได้ สิ่งที่ผู้บริหารพอจะทำได้ก็คงจะเป็นการจ่ายปันผล 100% หรือมากกว่า 100% ของกำไร คือนำกำไรสะสมมาปันผล และหากปันผลจากกำไรสะสมจนหมดแล้วเงินยังท่วมบริษัทอีกก็จะต้องลดทุนแบบในกรณีของที่ CSL ทำซึ่งผมคิดว่าเป็นตัวอย่างการบริหาร capital structure ที่ดีครับ
8 ) หุ้นบางตัวอาจจะไม่เข้าข่ายข้อ 1-7 เลย หรือเข้าข่ายบางข้อ แต่ผู้บริหารไม่มีความรู้ทางการเงินเพียงพอ หรือมีมุมมองที่ conservative มาก จึงพอใจที่จะเก็บเงินสดไว้ในบริษัทจำนวนมากๆ แทนที่จะจ่ายปันผล 100% ของกำไรหรือซื้อหุ้นคืน ซึ่งเราจะเห็นได้จากหุ้นบางตัวที่นั่งทับเงินสดอยู่คือมีเงินสดมากกว่า 50% ของ market cap แต่ก็เป็นอย่างนี้มาหลายปีแล้ว ซึ่งนักลงทุนที่ซื้อเหล่านี้ก็มักจะผิดหวังเพราะหุ้นเหล่านี้ก็มักจะปันผลในอัตราเท่าเดิมและสะสมเงินสดมากขึ้นทุกๆ ปี หลายคนอาจจะคิดว่าวันหนึ่งบริษัทอาจจะนำเงินสดที่มีอยู่จำนวนมากมาจ่ายเป็นเงินปันผลพิเศษให้กับผู้ถือหุ้น แต่อย่าลืมว่า ที่บริษัทมีเงินสดท่วมนั้นก็เป็นเพราะที่ผ่านมาจ่ายปันผลค่อนข้างน้อยมิใช่หรือ?
9 ) เหตุผลอื่นๆ ที่ผมอาจจะยังไม่ได้นึกถึงและรอเพื่อนๆ เข้ามาเพิ่มเติมนะครับ
จากเหตุผลที่ผมพอจะนึกได้ 8 ข้อนี้ ผมคิดว่าเหตุผลข้อที่ 5 คงจะเป็นเหตุผลเดียวที่ดูดีที่สุดสำหรับหุ้นที่มี p/e 3-6 เท่าและไม่จ่ายปันผล 100% ของกำไรและไม่ซื้อหุ้นคืน ซึ่งคงถ้าเป็นเหตุผลข้อ 5 เป็นหลักๆ ข้อเดียวผมคิดว่าหุ้นตัวนั้นๆ คงจะมี p/e อยู่ที่ 3-6 เท่าได้ไม่นานนัก เหตุผลที่ดูกลางๆ คงจะเป็นข้อ 7-8 แต่ผมคิดว่าเหตุผลในข้ออื่นๆ ที่ไม่ใช่ข้อ 5 นั้นก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่อธิบายว่าทำไมหุ้นหลายๆ ตลาดจึงให้ p/e เพียงแค่ 3-6 เท่า และบางทีอาจจะเป็น p/e ที่เหมาะสมแล้วสำหรับหุ้นบางตัว และเป็นเหตุผลที่อธิบายว่าหุ้นบางตัวถึงมี p/e ต่ำอยู่ตลอดหรือที่เรียกว่า always cheap หรือหุ้นถูกเรื้อรังครับ
ผมก็เลยมานั่งคิดถึงสาเหตุว่าทำไมบริษัทที่มี p/e 3-6 เท่าเหล่านี้ถึงยังไม่ประกาศซื้อหุ้นคืนเสียที หรือยังไม่จ่ายปันผล 100% ของกำไร และพอจะหาเหตุผลได้ดังนี้ครับ
1 ) กำไรที่เกิดขึ้นในครึ่งปีแรกที่ผ่านมาน่าจะเป็นกำไรที่เกิดแบบไม่ถาวรหรือชั่วครั้งชั่วคราว เช่น อาจจะเป็นหุ้นวัฎจักร ซึ่งหลายๆ ตัวอาจจะถูกมองว่ากำไรในปีนี้ไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกถึงกำไรของปีหน้าและปีถัดๆ ไป ซึ่งการซื้อหุ้นคืนที่ p/e ต่ำในราคารปัจจุบันอาจจะเป็นราคาที่แพงในอีก 2-3 ปีข้างหน้าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผลการดำเนินงานอาจจะถึงขั้นขาดทุนในช่วงธุรกิจขาลง และกำไรในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาของหุ้นหลายๆ ตัวก็เกิดจากกำไรจากสินค้าคงเหลือ หรือ inventory gain ยกตัวอย่างเช่น หุ้นโรงกลั่นหรือเหล็กที่เกือบทุกตัวมีผลกำไรออกมาดีมาก
2 ) หุ้นหลายๆ ตัวแม้มี p/e ต่ำ แต่มีหนี้สินจำนวนมากเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้น และอีกตัวที่ต้องคำนึงคือเปรียบเทียบกับกำไรหรือกระแสเงินสดที่สร้างได้ทั้งปี เช่น อาจจะมีหนี้สินเป็น 5-10 เท่าของกำไรทั้งปี ซึ่งสิ่งที่บริษัทควรจะทำคือการนำเงินไปคืนหนี้สินก่อนเพื่อลดความเสี่ยงทางการเงินของบริษัทโดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกมีภาวะความเสี่ยง ดังนั้นหุ้นประเภทนี้นอกจากจะไม่ควรจะซื้อหุ้นคืนแล้วก็ยังจะไม่สามารถที่จะปันผลในอัตราสูงเมื่อเปรียบเทียบกับกำไรได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ผมเพิ่งจะอ่านข่าวเจอหุ้นกลุ่มการเกษตรที่ผมคิดว่าเข้าข่ายข้อ 2 นี้ประกาศซื้อหุ้นคืนซึ่งผมเองก็ค่อนข้างแปลกหากจะมีการซื้อหุ้นคืนจากตลาดเกิดขึ้นไปจริงๆ เพราะจำนวนหนี้ที่มีอยู่นั้นมากกว่า 10 เท่าของกำไรที่ทำได้ในแต่ละปีและกำไรแต่ละปีก็ไม่ค่อยมีความแน่นอน
3 ) หุ้นบางตัวอาจจะแม้มีกำไรสูงเมื่อเปรียบเทียบกับราคาหุ้น แต่หากไปดูกระแสเงินสดจะเห็นว่ากระแสเงินสดจากการดำเนินงานติดลบหรือเป็นบวกไม่มากเท่ากำไรทางบัญชี ซึ่งอาจจะเกิดจากลักษณะธุรกิจที่เมื่อรายได้เพิ่มขึ้นจะต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนสูงขึ้นมาก เช่นธุรกิจที่ขายเป็นเงินเชื่อหรือ credit term กับลูกค้า และโดยเฉพาะ credit term ที่ให้กับลูกค้านั้นยาวกว่า credit term ที่ได้จากเจ้าหนี้การค้า หรือหุ้น ที่มีระยะเวลาการผลิตสินค้าและบริการเป็นเวลานานทำให้ inventory day สูง ดังนั้นหุ้นประเภทนี้บางครั้งจะเห็นว่ากำไรดีขึ้นและกำไรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ก็มีหนี้ประเภทหนี้ระยะสั้นที่ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้นทุกปีสอดคล้องกับยอดขายที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นหุ้นกลุ่มนี้ก็จะมีอัตราการจ่ายปันผลที่ไม่สูงนักเช่นกันเมื่อเทียบกับกำไร และมักจะไม่มีเงินสดเพียงพอที่จะไปซื้อหุ้นคืนได้
4 ) หุ้นอีกประเภทคือแม้จะมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวก แต่ก็มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูง และเป็นการลงทุนเพื่อคงไว้ซึ่งความสามารถในการแข่งขัน เพราะอยู่ในธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีรวดเร็ว และเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็มักจะแพงกว่าเทคโนโลยีเดิม เช่น สินค้าอิเลคทรอนิกส์บางประเภท ดังนั้นหุ้นประเภทนี้จะนำเงินสดมาจ่ายปันผลทั้งหมดหรือจะซื้อหุ้นคืนไม่ค่อยได้ เงินสดที่ได้จากการดำเนินงานจะต้องถูกกันไว้สำหรับการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักรให้ตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปได้ทัน หุ้นกลุ่มนี้จะดูได้จากงบกระแสเงินสดที่มีเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร หรือ capex สูงกว่าค่าเสื่อมราคาในแต่ละปีค่อนข้างมาก หุ้นพวกนี้แม้จะมี p/e ต่ำ แต่หากเราไปดู ROA ROE เฉลี่ยย้อนหลังจะเห็นว่าค่าดังกล่าวจะค่อนข้างต่ำ และหุ้นเหล่านี้มักจะมี p/bv ต่ำอีกด้วย ซึ่งมักจะเป็นหุ้นที่เมื่อดู ratio คร่าวๆ อย่าง p/e p/bv นั้นดูสะดุดสายตาเป็นอย่างมาก
5 ) หุ้นบางตัวมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวก แต่ก็มีการลงทุนสูง ซึ่งกรณีนี้หุ้นดังกล่าวอาจจะอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง และที่ผ่านมาการลงทุนใหม่ๆ ของบริษัทไม่ว่าจะเป็นการขยายกำลังการผลิต ขยายสาขา หรือการเข้าซื้อกิจการอื่นๆ นั้นให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยที่ค่อนข้างสูง เช่น มี IRR หรือผลตอบแทนของเงินลงทุร 20-30% หรือบางทีอาจจะมากกว่า จนผู้บริหารเห็นว่าน่าจะเก็บเงินไว้ลงทุนน่าจะเกิดประโยชน์กับผู้ถือหุ้นมากกว่าการจ่ายปันผลออกไปมากๆ หรือซื้อหุ้นคืน หุ้นเหล่านี้น่าจะต่างจากข้อ 4 หากเราดู ratio จะเห็นว่า ROE และ ROA เฉลี่ยหลายๆ ปีจะค่อนข้างสูง ( ยกเว้นหุ้นวัฎจักรที่จะดู ROE ROA ไม่ได้ครับ )
6 ) หุ้นบางตัวก็มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวก แต่ก็มีการลงทุนสูง เช่นเดียวกับข้อ 5 แต่การลงทุนของบริษัทที่ผ่านมานั้นมักจะไปลงทุนในสิ่งที่ผู้ถือหุ้นแนว VI อย่างเรารู้สึกว่าเอาเงินมาจ่ายปันผล 100% จะดีกว่า เช่น โครงการใหม่ๆ หรือสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนต่ำ และการลงทุนใหม่ๆ ถ้าในกรณีที่ดีก็ยังได้ผลตอบแทนกลับมาบ้างแต่ถ้าโชคร้ายอาจจะถึงขั้นขาดทุน หรือบางครั้งอาจจะนำไปขยายกำลังการผลิตในช่วงที่บริษัทในธุรกิจหรืออุตสาหกรรมนั้นๆ ก็มีผลกำไรและกระแสเงินสดที่ดีจึงขยายกำลังการผลิตพร้อมๆ กันซึ่งจะนำมาซึ่งภาวะ oversupply ในอนาคต หุ้นเหล่านี้ก็จะมีลักษณะคล้ายข้อ 4 คือ p/e ต่ำแต่ ROA ROE ก็จะต่ำด้วย
7 ) หุ้นบางตัวอาจจะไม่เข้าข่ายข้อ 1- 6 เลย หรือเข้าข่ายบางข้อ แต่มี free float ต่ำมาก หรือมีสภาพคล่องการซื้อขาย ณ ปัจจุบันที่ต่ำมากจนหากซื้อหุ้นคืนก็จะทำให้ free float ยิ่งต่ำลงไปอีกจนอาจจะไม่ผ่านเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์และยิ่งทำให้สภาพคล่องการซื้อขายหุ้นต่ำลงไปอีก ซึ่งหุ้นในข้อนี้คงจะไม่สามารถซื้อหุ้นคืนได้ สิ่งที่ผู้บริหารพอจะทำได้ก็คงจะเป็นการจ่ายปันผล 100% หรือมากกว่า 100% ของกำไร คือนำกำไรสะสมมาปันผล และหากปันผลจากกำไรสะสมจนหมดแล้วเงินยังท่วมบริษัทอีกก็จะต้องลดทุนแบบในกรณีของที่ CSL ทำซึ่งผมคิดว่าเป็นตัวอย่างการบริหาร capital structure ที่ดีครับ
8 ) หุ้นบางตัวอาจจะไม่เข้าข่ายข้อ 1-7 เลย หรือเข้าข่ายบางข้อ แต่ผู้บริหารไม่มีความรู้ทางการเงินเพียงพอ หรือมีมุมมองที่ conservative มาก จึงพอใจที่จะเก็บเงินสดไว้ในบริษัทจำนวนมากๆ แทนที่จะจ่ายปันผล 100% ของกำไรหรือซื้อหุ้นคืน ซึ่งเราจะเห็นได้จากหุ้นบางตัวที่นั่งทับเงินสดอยู่คือมีเงินสดมากกว่า 50% ของ market cap แต่ก็เป็นอย่างนี้มาหลายปีแล้ว ซึ่งนักลงทุนที่ซื้อเหล่านี้ก็มักจะผิดหวังเพราะหุ้นเหล่านี้ก็มักจะปันผลในอัตราเท่าเดิมและสะสมเงินสดมากขึ้นทุกๆ ปี หลายคนอาจจะคิดว่าวันหนึ่งบริษัทอาจจะนำเงินสดที่มีอยู่จำนวนมากมาจ่ายเป็นเงินปันผลพิเศษให้กับผู้ถือหุ้น แต่อย่าลืมว่า ที่บริษัทมีเงินสดท่วมนั้นก็เป็นเพราะที่ผ่านมาจ่ายปันผลค่อนข้างน้อยมิใช่หรือ?
9 ) เหตุผลอื่นๆ ที่ผมอาจจะยังไม่ได้นึกถึงและรอเพื่อนๆ เข้ามาเพิ่มเติมนะครับ
จากเหตุผลที่ผมพอจะนึกได้ 8 ข้อนี้ ผมคิดว่าเหตุผลข้อที่ 5 คงจะเป็นเหตุผลเดียวที่ดูดีที่สุดสำหรับหุ้นที่มี p/e 3-6 เท่าและไม่จ่ายปันผล 100% ของกำไรและไม่ซื้อหุ้นคืน ซึ่งคงถ้าเป็นเหตุผลข้อ 5 เป็นหลักๆ ข้อเดียวผมคิดว่าหุ้นตัวนั้นๆ คงจะมี p/e อยู่ที่ 3-6 เท่าได้ไม่นานนัก เหตุผลที่ดูกลางๆ คงจะเป็นข้อ 7-8 แต่ผมคิดว่าเหตุผลในข้ออื่นๆ ที่ไม่ใช่ข้อ 5 นั้นก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่อธิบายว่าทำไมหุ้นหลายๆ ตลาดจึงให้ p/e เพียงแค่ 3-6 เท่า และบางทีอาจจะเป็น p/e ที่เหมาะสมแล้วสำหรับหุ้นบางตัว และเป็นเหตุผลที่อธิบายว่าหุ้นบางตัวถึงมี p/e ต่ำอยู่ตลอดหรือที่เรียกว่า always cheap หรือหุ้นถูกเรื้อรังครับ
- dunkphunkorn
- Verified User
- โพสต์: 161
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นถูกเรื้อรัง
โพสต์ที่ 6
ขอบคุณพี่ IH มากครับ ตอนแรกผมก็สงสัยว่าทำไมหุ้นที่ถูก
มันก็ถูกอยู่วันยังค่ำ ได้อ่านบทความของพี่ ก็ทำให้พอทราบเหตุผล
พอสมควรแล้วครับ เขียนบทความดีๆ แบบนี้เรื่อยๆนะครับ พี่ IH :D
มันก็ถูกอยู่วันยังค่ำ ได้อ่านบทความของพี่ ก็ทำให้พอทราบเหตุผล
พอสมควรแล้วครับ เขียนบทความดีๆ แบบนี้เรื่อยๆนะครับ พี่ IH :D
นักลงทุนฝึกหัดครับ
- thaloengsak
- Verified User
- โพสต์: 2716
- ผู้ติดตาม: 1
Re: หุ้นถูกเรื้อรัง
โพสต์ที่ 11
ขอบพระคุณมากครับ
- Paul Octopus
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นถูกเรื้อรัง
โพสต์ที่ 13
[quote="greatshot"]TR & TCB ไม่ทราบว่าควรอยู่ใน หมวดไหนดีครับ? ผมพลาดมากที่มาซื้อทั้งสองตัวนี้ไว้ครับ ราคามีแต่ลงไม่เคยขึ้นเลย[/quote]
ถ้าดูงบดุลมีอันต้องหลงใหลเหมือนกันหมดครับ โดยเฉพาะ TR ผมว่า Retained earning มูลค่ายังมากกว่าราคาหุ้นทั้งหมดรวมกันอีกด้วยซ้ำไป
ผมก็มีหุ้นนี้แต่น้อยมาก เอาไว้เตือนใจตัวเอง เอาไว้ศีกษานิสัยผู้บริหารฯ
จากประสบการณ์ "ธรรมมาภิบาล" ผู้บริหารสำคัญสุดๆ
มันมีความหมายกว้าง
รวมถึง ธรรมมาภิบาลต่อผู้ถือหุ้น และ สังคม ด้วย ไม่ใช้ต่อกิจการ และ ลูกค้าเท่านั้น
เป็นความเห็นเล็กๆจากเพื่อนที่เข้าใจความรู้สึกครับ
ถ้าดูงบดุลมีอันต้องหลงใหลเหมือนกันหมดครับ โดยเฉพาะ TR ผมว่า Retained earning มูลค่ายังมากกว่าราคาหุ้นทั้งหมดรวมกันอีกด้วยซ้ำไป
ผมก็มีหุ้นนี้แต่น้อยมาก เอาไว้เตือนใจตัวเอง เอาไว้ศีกษานิสัยผู้บริหารฯ
จากประสบการณ์ "ธรรมมาภิบาล" ผู้บริหารสำคัญสุดๆ
มันมีความหมายกว้าง
รวมถึง ธรรมมาภิบาลต่อผู้ถือหุ้น และ สังคม ด้วย ไม่ใช้ต่อกิจการ และ ลูกค้าเท่านั้น
เป็นความเห็นเล็กๆจากเพื่อนที่เข้าใจความรู้สึกครับ
- harlembeats
- Verified User
- โพสต์: 96
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นถูกเรื้อรัง
โพสต์ที่ 16
ของเก่า เอามานั่งอ่านใหม่ ก็เตือนสติอีกรอบ ขอบคุณครับคุณ IH