ไม่มีคำว่าสาย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
- little wing
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 187
- ผู้ติดตาม: 0
ไม่มีคำว่าสาย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 1 เมษายน 2555
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ในเรื่องของการลงทุนในหุ้นนั้น นักวิชาการจำนวนมากมักจะบอกว่ามันเป็นเรื่องที่ “เสี่ยง” กว่าการลงทุนในพันธบัตร เงินฝากธนาคาร หุ้นกู้ เพราะที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเงินต้นจะยัง “อยู่ครบ” เสมอ พร้อมกับดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ล่วงหน้าแน่นอน นอกจากนั้น หุ้นก็ยังถูกมองว่ามีความเสี่ยงกว่าที่ดินหรือทองคำในสายตาของคนทั่วไปในแง่ที่ว่า ทั้งสองอย่างนั้น “จับต้องได้และไม่สึกหรอ” และมันรักษาคุณค่าของมันได้เสมอ ราคาทองคำและที่ดินมีแต่จะ “เพิ่มขึ้น” แม้ว่าในช่วงหลังนี้ราคาทองคำอาจจะมีการ “ปรับตัวลงบ้าง” ในระยะสั้น ๆ แต่ในระยะยาวแล้ว มัน “ไม่เสี่ยง” ผิดกับหุ้นที่ราคาขึ้นลงทุกวัน หุ้นบางตัวนั้น ราคาตกลงไปมากในเวลาสั้น ๆ จนแทบจะหมดค่า หุ้นสำหรับบางคนนั้นคงเหมือนกับ “กระดาษ” ที่ราคาขึ้นลงได้รวดเร็ว บางครั้งขึ้นไปหลายเท่าได้ในเวลาอันสั้น แต่บางครั้งก็สามารถตกลงมาได้มากมายแทบจะไม่มีค่าเหมือน “กระดาษ” ดังนั้น หุ้นจึงเป็นอะไรที่ “เสี่ยงมาก”
ข้างต้นนั้นก็เป็นการวิเคราะห์เรื่องของความเสี่ยงในบางมิติ นั่นก็คือ เป็นการวิเคราะห์โดยอิงอยู่กับการลงทุน “ระยะสั้น” และเป็นการมองทรัพย์สินหรือหุ้นเป็น “รายตัว” แต่ถ้าเรามองการลงทุนเป็น “ระยะยาว” และลงทุนในทรัพย์สินหรือหุ้นเป็นแบบ “พอร์ตโฟลิโอ” หรือกระจายการลงทุนโดยการถือทรัพย์สินหรือหุ้นเป็นกลุ่ม เรื่องของความเสี่ยงก็จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เหตุผลสำคัญก็คือ ในระยะยาวแล้ว มิติสำคัญที่เข้ามาเกี่ยวข้องอีกตัวหนึ่งก็คือ “อัตราเงินเฟ้อ” เพราะนี่จะทำให้เงินมีค่าลดลงแม้ว่าเม็ดเงินของเราจะยังอยู่ครบ ตัวอย่างเช่น ถ้าสมมุติว่าในอีก 20 ปีข้างหน้าอัตราเงินเฟ้อเท่ากับปีละ 3% แต่เงินลงทุนของเราได้ผลตอบแทนปีละ 2% เมื่อครบ 20 ปี เงินลงทุนของเราจะโตขึ้นจาก 100 บาท เป็น 149 บาท แต่ในวันนั้น สินค้าจะขึ้นราคาจาก 100 บาท เป็น 181 บาท ทำให้เรา “ขาดทุน” 32 บาท หรือซื้อของได้น้อยลงไปประมาณ 18% และนี่ก็คือความเสี่ยงของการถือ
ทรัพย์สินที่มีมูลค่าคงที่แต่ไม่เติบโตหรือเติบโตช้ากว่าเงินเฟ้อในระยะยาว
มิติของการลงทุนแบบ “พอร์ตโฟลิโอ” นั้น ช่วยให้การลงทุนมี “ความผันผวน” น้อยลงมากทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การลงทุนในทรัพย์สินอย่างอื่นนั้น อาจจะมองได้ไม่ชัด แต่การลงทุนในหุ้นนั้น ถ้าเราลงทุนในหุ้นเพียงตัวเดียว ความเสี่ยงจะสูงมาก เนื่องจากหุ้นตัวนั้นอาจจะประสบปัญหารุนแรงได้ กิจการอาจจะเจ๊งไปและทำให้ราคาหุ้นกลายเป็นศูนย์ แต่ถ้าเราถือหุ้นหลาย ๆ ตัว โอกาสที่ทุกกิจการจะล้มละลายมีน้อยมาก ดังนั้น ราคาของหุ้นก็จะคละเคล้ากันไป บางตัวดี บางตัวอาจจะไม่ค่อยดี แต่โดยรวมแล้ว ราคาหุ้นก็จะเปลี่ยนแปลงไปไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้น แม้ว่าเราจะถือหุ้นเป็นพอร์ตหลาย ๆ ตัวหรือถือกองทุนรวมที่มีหุ้นจำนวนมาก มูลค่าหุ้นก็อาจจะลดลงได้เนื่องจากปัจจัยร้อยแปด แต่ในระยะยาวแล้ว มูลค่าหุ้นโดยรวมก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย และถ้าเราสามารถถือหุ้นได้ถึง 20 ปี โอกาสที่มูลค่าหุ้นจะลดลงนั้นน้อยมาก ในทางตรงกันข้าม โอกาสที่หุ้นจะขึ้นไปสูงจะมีมาก โดยเฉลี่ยแล้ว ผลตอบแทนจะอยู่ที่ประมาณ 10% ต่อปี เงิน 100 บาทจะกลายเป็นประมาณ 673 บาทในเวลา 20 ปี เทียบกับการฝากเงินที่เราจะได้ประมาณ 149 บาทแล้ว ต้องบอกว่าการลงทุนในหุ้นนั้น ดีกว่ามากถ้าเรามีเวลาลงทุนถึง 20 ปี หรือเป็นการลงทุนระยะยาว
ข้อสรุปในขั้นนี้ก็คือ ถ้าเรามีเวลาลงทุนถึง 20 ปีแล้ว การลงทุนในหุ้น โดยการลงทุนแบบเป็นพอร์ตโฟลิโอหรือถือกองทุนรวม จะให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดโดยที่มีความเสี่ยง “ต่ำที่สุด” และนี่ทำให้เราควรถือหุ้นเป็นสัดส่วนที่มากเมื่อเทียบกับทรัพย์สินอย่างอื่น มากเท่าไรนั้นคงขึ้นอยู่กับความมั่งคั่งและความรู้เกี่ยวกับการลงทุนของแต่ละคน แต่ใจผมคิดว่าอย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า 50% ของทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ และคนที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนเป็นอย่างดีจะมีหุ้นเกิน 90% ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก
ประเด็นสำคัญต่อมาก็คือ คนมักจะคิดว่าตนเองแก่แล้วหรือมีอายุมากแล้ว การลงทุนในหุ้นอาจจะเป็นเรื่องที่ “สายเกินไป” แล้ว เขาไม่มีเวลา 10 หรือ 20 ปี ที่จะทำให้การลงทุนในหุ้นเป็นเรื่องที่ “ไม่เสี่ยง” ดังนั้น เขาขอฝากเงินหรือซื้อพันธบัตรดีกว่า นี่อาจจะเป็นเรื่องที่ “ผิดพลาด” เรามาดูกันว่าเพราะอะไร?
เรื่องที่ทำให้คนคิดผิดน่าจะอยู่ที่ประเด็นของ “อายุเกษียณ” หรือเวลาเลิกทำงานที่มักกำหนดไว้ที่ 60 ปี นี่ทำให้เรารู้สึกว่าเราแก่แล้วตั้งแต่อายุใกล้เกษียณที่ 50 ปีขึ้นไป แต่ความเป็นจริงก็คือ อายุของคนกำลังยืนขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับสุขภาพก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ และผมคิดว่า คนรุ่นนี้จำนวนมากน่าจะมีอายุถึง 80 ปีขึ้นไปก่อนตาย นอกจากนั้น ความสามารถในการลงทุนในหุ้นก็น่าจะทำได้จนถึงอายุ 80 ปี และนี่ทำให้ผมคิดว่าการวางแผนเกี่ยวกับการลงทุนของเรานั้น เราควรกำหนดว่าเราจะลงทุนจนถึงอายุ 80 ปี และถ้าเป็นเช่นนั้น คนส่วนใหญ่ที่ยังไม่เกษียณในวันนี้หรือแม้แต่คนที่กำลังเกษียณจึงมีเวลาที่จะลงทุนอีกถึง 20 ปี ซึ่งทำให้การลงทุนในหุ้นเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุด
คำแนะนำของผมสำหรับคนที่คิดว่าตนเอง “แก่” เกินที่จะเริ่มลงทุนก็คือ การลงทุน โดยเฉพาะในแนว Value Investment นั้น ไม่ได้ยากหรือใช้พลังอะไรมากมายนักแต่มันใช้ความสุขุมรอบคอบและใจเย็นยึดมั่นศรัทธาในสิ่งที่เราเห็นว่าถูกต้องซึ่งสิ่งเหล่านี้คนมีอายุไม่ได้เสียเปรียบคนหนุ่มสาวเลย ดังนั้น คนแก่ทำได้แน่นอน แต่จริง ๆ แล้วบางทีคุณอาจจะไม่ได้แก่อย่างที่คุณคิด และถ้าคุณสามารถลงทุนได้อีกถึง 20 ปี คุณก็สามารถเริ่ม “อาชีพใหม่” นี้ได้แม้ว่าคุณจะอายุ 60 ปีแล้ว และถ้าคุณทำได้ดี โอกาสที่คุณจะเป็น “เซียน” และมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นมหาศาลก็ยังมีอยู่
พูดถึงเรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึง แอนน์ ไชเบอร์ ซึ่งผมเคยเขียนถึงนานมาแล้วว่า เธอน่าจะเป็น “ไอดอล” ของนักลงทุน “คนแก่” ทั่วโลก เพราะเธอเริ่มลงทุนเมื่ออายุ 50 ปี โดยที่เธอเป็นเพียงเสมียนและมีเงินเดือนน้อยมากไม่ต้องพูดถึงความรู้ในการเลือกหุ้น เธอเริ่มจากเงินประมาณ 5,000 ดอลลาร์ โดยลงทุนซื้อหุ้นที่เป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ที่ผลิตและขายสินค้าที่เธอรู้จักดีเช่น โคคาโคลา บริษัทยาเช่นเชอริงพลาวก์ เธอซื้อแล้วก็เก็บ ติดตามดูกิจการของบริษัทไปเรื่อย ๆ เมื่อได้เงินปันผลมาก็ลงทุนเพิ่มในหุ้นทบต้นไปเรื่อย ๆ สุดท้ายในวันที่เธอตาย ความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านเหรียญ ซึ่งเธอบริจาคให้กับโรงพยาบาลหมดเนื่องจากเธอไม่เคยแต่งงานและไม่มีญาติพี่น้อง สิ่งที่ทำให้เธอประสบความสำเร็จระดับนั้นก็คือ เวลาในการลงทุนอีก 51 ปี เพราะเธอตายตอนอายุ 101 ปี และผลตอบแทนที่เธอทำได้คือเฉลี่ยปีละประมาณ 17-18% ซึ่งก็เป็นผลตอบแทนที่ดีมาก ๆ แต่ก็เป็นสิ่งที่ Value Investor มีโอกาสทำได้
คนมักจะถามว่า แก่แล้วจะหาเงินมาก ๆ ไปทำอะไร ได้แล้วก็ “ไม่มีโอกาสใช้” หรือคนที่มีเงินเก็บ “พอดี ๆ” ก็อาจจะกลัวว่าจะขาดทุนจากหุ้นแล้วเงินจะไม่เหลือพอใช้จนตาย คำตอบของผมก็คือ เราไม่รู้ว่าจะตายเมื่อไร เราอาจจะคำนวณว่าเราจะตายเมื่ออายุ 80 ปี แต่เราอาจจะอยู่จนถึง 100 ปีก็ได้ และเมื่อถึงเวลานั้นเรายังจะมีเงินพอใช้หรือไม่? ดังนั้น การไม่ลงทุนในหุ้นจึงอาจจะเป็นเรื่องที่เสี่ยงพอ ๆ หรือมากกว่าการลงทุนในหุ้นก็ได้ ข้อสรุปสุดท้ายของผมก็คือ มีโอกาสสูงที่คุณควรลงทุนในหุ้นแม้ว่าคุณจะอายุมากแล้ว ไม่มีคำว่าสายเกินไป
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ในเรื่องของการลงทุนในหุ้นนั้น นักวิชาการจำนวนมากมักจะบอกว่ามันเป็นเรื่องที่ “เสี่ยง” กว่าการลงทุนในพันธบัตร เงินฝากธนาคาร หุ้นกู้ เพราะที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเงินต้นจะยัง “อยู่ครบ” เสมอ พร้อมกับดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ล่วงหน้าแน่นอน นอกจากนั้น หุ้นก็ยังถูกมองว่ามีความเสี่ยงกว่าที่ดินหรือทองคำในสายตาของคนทั่วไปในแง่ที่ว่า ทั้งสองอย่างนั้น “จับต้องได้และไม่สึกหรอ” และมันรักษาคุณค่าของมันได้เสมอ ราคาทองคำและที่ดินมีแต่จะ “เพิ่มขึ้น” แม้ว่าในช่วงหลังนี้ราคาทองคำอาจจะมีการ “ปรับตัวลงบ้าง” ในระยะสั้น ๆ แต่ในระยะยาวแล้ว มัน “ไม่เสี่ยง” ผิดกับหุ้นที่ราคาขึ้นลงทุกวัน หุ้นบางตัวนั้น ราคาตกลงไปมากในเวลาสั้น ๆ จนแทบจะหมดค่า หุ้นสำหรับบางคนนั้นคงเหมือนกับ “กระดาษ” ที่ราคาขึ้นลงได้รวดเร็ว บางครั้งขึ้นไปหลายเท่าได้ในเวลาอันสั้น แต่บางครั้งก็สามารถตกลงมาได้มากมายแทบจะไม่มีค่าเหมือน “กระดาษ” ดังนั้น หุ้นจึงเป็นอะไรที่ “เสี่ยงมาก”
ข้างต้นนั้นก็เป็นการวิเคราะห์เรื่องของความเสี่ยงในบางมิติ นั่นก็คือ เป็นการวิเคราะห์โดยอิงอยู่กับการลงทุน “ระยะสั้น” และเป็นการมองทรัพย์สินหรือหุ้นเป็น “รายตัว” แต่ถ้าเรามองการลงทุนเป็น “ระยะยาว” และลงทุนในทรัพย์สินหรือหุ้นเป็นแบบ “พอร์ตโฟลิโอ” หรือกระจายการลงทุนโดยการถือทรัพย์สินหรือหุ้นเป็นกลุ่ม เรื่องของความเสี่ยงก็จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เหตุผลสำคัญก็คือ ในระยะยาวแล้ว มิติสำคัญที่เข้ามาเกี่ยวข้องอีกตัวหนึ่งก็คือ “อัตราเงินเฟ้อ” เพราะนี่จะทำให้เงินมีค่าลดลงแม้ว่าเม็ดเงินของเราจะยังอยู่ครบ ตัวอย่างเช่น ถ้าสมมุติว่าในอีก 20 ปีข้างหน้าอัตราเงินเฟ้อเท่ากับปีละ 3% แต่เงินลงทุนของเราได้ผลตอบแทนปีละ 2% เมื่อครบ 20 ปี เงินลงทุนของเราจะโตขึ้นจาก 100 บาท เป็น 149 บาท แต่ในวันนั้น สินค้าจะขึ้นราคาจาก 100 บาท เป็น 181 บาท ทำให้เรา “ขาดทุน” 32 บาท หรือซื้อของได้น้อยลงไปประมาณ 18% และนี่ก็คือความเสี่ยงของการถือ
ทรัพย์สินที่มีมูลค่าคงที่แต่ไม่เติบโตหรือเติบโตช้ากว่าเงินเฟ้อในระยะยาว
มิติของการลงทุนแบบ “พอร์ตโฟลิโอ” นั้น ช่วยให้การลงทุนมี “ความผันผวน” น้อยลงมากทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การลงทุนในทรัพย์สินอย่างอื่นนั้น อาจจะมองได้ไม่ชัด แต่การลงทุนในหุ้นนั้น ถ้าเราลงทุนในหุ้นเพียงตัวเดียว ความเสี่ยงจะสูงมาก เนื่องจากหุ้นตัวนั้นอาจจะประสบปัญหารุนแรงได้ กิจการอาจจะเจ๊งไปและทำให้ราคาหุ้นกลายเป็นศูนย์ แต่ถ้าเราถือหุ้นหลาย ๆ ตัว โอกาสที่ทุกกิจการจะล้มละลายมีน้อยมาก ดังนั้น ราคาของหุ้นก็จะคละเคล้ากันไป บางตัวดี บางตัวอาจจะไม่ค่อยดี แต่โดยรวมแล้ว ราคาหุ้นก็จะเปลี่ยนแปลงไปไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้น แม้ว่าเราจะถือหุ้นเป็นพอร์ตหลาย ๆ ตัวหรือถือกองทุนรวมที่มีหุ้นจำนวนมาก มูลค่าหุ้นก็อาจจะลดลงได้เนื่องจากปัจจัยร้อยแปด แต่ในระยะยาวแล้ว มูลค่าหุ้นโดยรวมก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อย และถ้าเราสามารถถือหุ้นได้ถึง 20 ปี โอกาสที่มูลค่าหุ้นจะลดลงนั้นน้อยมาก ในทางตรงกันข้าม โอกาสที่หุ้นจะขึ้นไปสูงจะมีมาก โดยเฉลี่ยแล้ว ผลตอบแทนจะอยู่ที่ประมาณ 10% ต่อปี เงิน 100 บาทจะกลายเป็นประมาณ 673 บาทในเวลา 20 ปี เทียบกับการฝากเงินที่เราจะได้ประมาณ 149 บาทแล้ว ต้องบอกว่าการลงทุนในหุ้นนั้น ดีกว่ามากถ้าเรามีเวลาลงทุนถึง 20 ปี หรือเป็นการลงทุนระยะยาว
ข้อสรุปในขั้นนี้ก็คือ ถ้าเรามีเวลาลงทุนถึง 20 ปีแล้ว การลงทุนในหุ้น โดยการลงทุนแบบเป็นพอร์ตโฟลิโอหรือถือกองทุนรวม จะให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุดโดยที่มีความเสี่ยง “ต่ำที่สุด” และนี่ทำให้เราควรถือหุ้นเป็นสัดส่วนที่มากเมื่อเทียบกับทรัพย์สินอย่างอื่น มากเท่าไรนั้นคงขึ้นอยู่กับความมั่งคั่งและความรู้เกี่ยวกับการลงทุนของแต่ละคน แต่ใจผมคิดว่าอย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า 50% ของทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ และคนที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนเป็นอย่างดีจะมีหุ้นเกิน 90% ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก
ประเด็นสำคัญต่อมาก็คือ คนมักจะคิดว่าตนเองแก่แล้วหรือมีอายุมากแล้ว การลงทุนในหุ้นอาจจะเป็นเรื่องที่ “สายเกินไป” แล้ว เขาไม่มีเวลา 10 หรือ 20 ปี ที่จะทำให้การลงทุนในหุ้นเป็นเรื่องที่ “ไม่เสี่ยง” ดังนั้น เขาขอฝากเงินหรือซื้อพันธบัตรดีกว่า นี่อาจจะเป็นเรื่องที่ “ผิดพลาด” เรามาดูกันว่าเพราะอะไร?
เรื่องที่ทำให้คนคิดผิดน่าจะอยู่ที่ประเด็นของ “อายุเกษียณ” หรือเวลาเลิกทำงานที่มักกำหนดไว้ที่ 60 ปี นี่ทำให้เรารู้สึกว่าเราแก่แล้วตั้งแต่อายุใกล้เกษียณที่ 50 ปีขึ้นไป แต่ความเป็นจริงก็คือ อายุของคนกำลังยืนขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับสุขภาพก็ดีขึ้นเรื่อย ๆ และผมคิดว่า คนรุ่นนี้จำนวนมากน่าจะมีอายุถึง 80 ปีขึ้นไปก่อนตาย นอกจากนั้น ความสามารถในการลงทุนในหุ้นก็น่าจะทำได้จนถึงอายุ 80 ปี และนี่ทำให้ผมคิดว่าการวางแผนเกี่ยวกับการลงทุนของเรานั้น เราควรกำหนดว่าเราจะลงทุนจนถึงอายุ 80 ปี และถ้าเป็นเช่นนั้น คนส่วนใหญ่ที่ยังไม่เกษียณในวันนี้หรือแม้แต่คนที่กำลังเกษียณจึงมีเวลาที่จะลงทุนอีกถึง 20 ปี ซึ่งทำให้การลงทุนในหุ้นเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุด
คำแนะนำของผมสำหรับคนที่คิดว่าตนเอง “แก่” เกินที่จะเริ่มลงทุนก็คือ การลงทุน โดยเฉพาะในแนว Value Investment นั้น ไม่ได้ยากหรือใช้พลังอะไรมากมายนักแต่มันใช้ความสุขุมรอบคอบและใจเย็นยึดมั่นศรัทธาในสิ่งที่เราเห็นว่าถูกต้องซึ่งสิ่งเหล่านี้คนมีอายุไม่ได้เสียเปรียบคนหนุ่มสาวเลย ดังนั้น คนแก่ทำได้แน่นอน แต่จริง ๆ แล้วบางทีคุณอาจจะไม่ได้แก่อย่างที่คุณคิด และถ้าคุณสามารถลงทุนได้อีกถึง 20 ปี คุณก็สามารถเริ่ม “อาชีพใหม่” นี้ได้แม้ว่าคุณจะอายุ 60 ปีแล้ว และถ้าคุณทำได้ดี โอกาสที่คุณจะเป็น “เซียน” และมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นมหาศาลก็ยังมีอยู่
พูดถึงเรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึง แอนน์ ไชเบอร์ ซึ่งผมเคยเขียนถึงนานมาแล้วว่า เธอน่าจะเป็น “ไอดอล” ของนักลงทุน “คนแก่” ทั่วโลก เพราะเธอเริ่มลงทุนเมื่ออายุ 50 ปี โดยที่เธอเป็นเพียงเสมียนและมีเงินเดือนน้อยมากไม่ต้องพูดถึงความรู้ในการเลือกหุ้น เธอเริ่มจากเงินประมาณ 5,000 ดอลลาร์ โดยลงทุนซื้อหุ้นที่เป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ที่ผลิตและขายสินค้าที่เธอรู้จักดีเช่น โคคาโคลา บริษัทยาเช่นเชอริงพลาวก์ เธอซื้อแล้วก็เก็บ ติดตามดูกิจการของบริษัทไปเรื่อย ๆ เมื่อได้เงินปันผลมาก็ลงทุนเพิ่มในหุ้นทบต้นไปเรื่อย ๆ สุดท้ายในวันที่เธอตาย ความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านเหรียญ ซึ่งเธอบริจาคให้กับโรงพยาบาลหมดเนื่องจากเธอไม่เคยแต่งงานและไม่มีญาติพี่น้อง สิ่งที่ทำให้เธอประสบความสำเร็จระดับนั้นก็คือ เวลาในการลงทุนอีก 51 ปี เพราะเธอตายตอนอายุ 101 ปี และผลตอบแทนที่เธอทำได้คือเฉลี่ยปีละประมาณ 17-18% ซึ่งก็เป็นผลตอบแทนที่ดีมาก ๆ แต่ก็เป็นสิ่งที่ Value Investor มีโอกาสทำได้
คนมักจะถามว่า แก่แล้วจะหาเงินมาก ๆ ไปทำอะไร ได้แล้วก็ “ไม่มีโอกาสใช้” หรือคนที่มีเงินเก็บ “พอดี ๆ” ก็อาจจะกลัวว่าจะขาดทุนจากหุ้นแล้วเงินจะไม่เหลือพอใช้จนตาย คำตอบของผมก็คือ เราไม่รู้ว่าจะตายเมื่อไร เราอาจจะคำนวณว่าเราจะตายเมื่ออายุ 80 ปี แต่เราอาจจะอยู่จนถึง 100 ปีก็ได้ และเมื่อถึงเวลานั้นเรายังจะมีเงินพอใช้หรือไม่? ดังนั้น การไม่ลงทุนในหุ้นจึงอาจจะเป็นเรื่องที่เสี่ยงพอ ๆ หรือมากกว่าการลงทุนในหุ้นก็ได้ ข้อสรุปสุดท้ายของผมก็คือ มีโอกาสสูงที่คุณควรลงทุนในหุ้นแม้ว่าคุณจะอายุมากแล้ว ไม่มีคำว่าสายเกินไป
-
- Verified User
- โพสต์: 2690
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ไม่มีคำว่าสาย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 3
-
- Verified User
- โพสต์: 571
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ไม่มีคำว่าสาย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 10
กว่าที่ผมจะเข้ามาสู่การลงทุนก็อายุ 33 แล้ว บ่อยครั้งที่คิดว่าน่าจะเข้ามา
เร็วกว่านี้ เห็นหลายคนยังเด็กแต่ก็เริ่มลงทุนกันแล้ว พอมาคิดอีกทีก็คิดว่า
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัจจัยหลายอย่างมันเปลี่ยนไป ถ้าข้อมูลข่าวสารต่างๆ ยัง
เข้าถึงยาก และ มาตรฐานบัญชี ยังไม่มีระบบอย่างปัจจุบัน การลงทุนก็อาจไม่
ได้ต้อนรับนักลงทุนรุ่นใหม่ๆ อายุน้อยๆ เหมือนอย่างปัจจุบัน
คิดอีกทีก็อาจเป็นช่วงจังหวะที่ดีที่สุดสำหรับตัวเองก็ได้ ที่เริ่มลงทุนในช่วงที่
วัยอยู่ในช่วงนี้ ที่ความคิดอะไรต่างๆ เปลี่ยนไปพอสมควรจากช่วงที่เรียนจบ
ใหม่ๆ ซึ่งสมัยนั้น ส่วนใหญ่เริ่มมองหางานทำ เรียนต่อ ป โท หาแฟน เที่ยว
และ ยังสนุกกับชีวิต ซึ่งตัวเองก็ผ่านมาหมดไม่ได้พลาดอะไรไป
ปัจจุบันทำงานประจำ รายได้ประจำเหมือนกระแสเงินสด ส่วนสินทรัพย์ และ
ความมั่งคั่ง มาจากการลงทุนโดยส่วนใหญ่
อย่างที่อาจารย์บอก ไม่มีใครแก่เกินไปที่จะลงทุน น้ำยังเหลืออีกตั้งครึ่งแก้ว
มันไม่ได้หมดไปแล้วครึ่งแก้วเสียหน่อย
เร็วกว่านี้ เห็นหลายคนยังเด็กแต่ก็เริ่มลงทุนกันแล้ว พอมาคิดอีกทีก็คิดว่า
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัจจัยหลายอย่างมันเปลี่ยนไป ถ้าข้อมูลข่าวสารต่างๆ ยัง
เข้าถึงยาก และ มาตรฐานบัญชี ยังไม่มีระบบอย่างปัจจุบัน การลงทุนก็อาจไม่
ได้ต้อนรับนักลงทุนรุ่นใหม่ๆ อายุน้อยๆ เหมือนอย่างปัจจุบัน
คิดอีกทีก็อาจเป็นช่วงจังหวะที่ดีที่สุดสำหรับตัวเองก็ได้ ที่เริ่มลงทุนในช่วงที่
วัยอยู่ในช่วงนี้ ที่ความคิดอะไรต่างๆ เปลี่ยนไปพอสมควรจากช่วงที่เรียนจบ
ใหม่ๆ ซึ่งสมัยนั้น ส่วนใหญ่เริ่มมองหางานทำ เรียนต่อ ป โท หาแฟน เที่ยว
และ ยังสนุกกับชีวิต ซึ่งตัวเองก็ผ่านมาหมดไม่ได้พลาดอะไรไป
ปัจจุบันทำงานประจำ รายได้ประจำเหมือนกระแสเงินสด ส่วนสินทรัพย์ และ
ความมั่งคั่ง มาจากการลงทุนโดยส่วนใหญ่
อย่างที่อาจารย์บอก ไม่มีใครแก่เกินไปที่จะลงทุน น้ำยังเหลืออีกตั้งครึ่งแก้ว
มันไม่ได้หมดไปแล้วครึ่งแก้วเสียหน่อย
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ไม่มีคำว่าสาย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 11
ขอขอบพระคุณอาจารย์มากๆครับ ได้เตือนสติและให้คิดถึงวันข้างหน้า
- กล้วยไม้ขาว
- Verified User
- โพสต์: 1074
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ไม่มีคำว่าสาย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 12
บทความชิ้นนี้เขียนดีมากๆ เลยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 42
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ไม่มีคำว่าสาย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 13
ขอบพระคุณมากครับ สร้างกำลังใจเสมอครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 227
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ไม่มีคำว่าสาย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 14
ขอบคุณครับ
- PrasertsakK
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 292
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ไม่มีคำว่าสาย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 18
ขอบคุณอีกครั้ง สำหรับบทความดี ๆครับ
http://prasertsakk.blogspot.com/
การลงทุน ความมั่งคั่ง ความสุข มิตรภาพ
การลงทุน ความมั่งคั่ง ความสุข มิตรภาพ
-
- Verified User
- โพสต์: 60
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ไม่มีคำว่าสาย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 20
ดร. เคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องอายุกับการลงทุนในบทความชื่อ "เกมคนแก่" อยู่ในหนังสือ ชนะอย่างเต่า
"คนแก่นั้นกลัวขาดทุน ในขณะที่คนหนุ่มสาวมักจะเน้นหุ้นที่จำ 'ทำกำไร' ได้เร็ว ดังนั้น คนอายุน้อยมักจะเน้นไปที่หุ้นเก็งกำไรมากกว่า บางคนอาจจะมองว่า นี่ไม่ใช่ข้อได้เปรียบของคนแก่ แต่ผมเชื่อคำพูดของบัฟเฟต์ที่ว่า การลงทุนนั้น สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ 'อย่าขาดทุน' "
"คนแก่นั้นกลัวขาดทุน ในขณะที่คนหนุ่มสาวมักจะเน้นหุ้นที่จำ 'ทำกำไร' ได้เร็ว ดังนั้น คนอายุน้อยมักจะเน้นไปที่หุ้นเก็งกำไรมากกว่า บางคนอาจจะมองว่า นี่ไม่ใช่ข้อได้เปรียบของคนแก่ แต่ผมเชื่อคำพูดของบัฟเฟต์ที่ว่า การลงทุนนั้น สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ 'อย่าขาดทุน' "
- Petey
- Verified User
- โพสต์: 47
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ไม่มีคำว่าสาย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 21
บทความดีๆขออาจารย์สามารถ "เปลี่ยนชีวิต" แมลงเม่าที่บินอย่างไร้จุดหมาย จากแต่ก่อนที่ชีวิต
ผลักดันด้วยความโลภ ที่ไหนมีไฟวูบวาบ ก็บินเข้าหา ถึงตอนนี้ได้แปลงร่างเป็นเต่าตัวน้อยๆ
ที่มีสติ ตัดสินใจโดยใช้"แก่น"เป็นหลักยึด มีความสุขกับปัจจุบัน และสามารถรอคอยการ"ชนะแบบเต่า"ได้
ขอบคุณอาจารย์มากครับ ที่กรุณาช่วยสั่งสอนลูกๆหลานๆ ผมถือว่าเป็นโชคดีอย่างหนึ่งของชีวิต
ที่ได้เจอหลักการ VI ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ในทุกๆอย่างของชีวิต ไม่ใช่เพียงแค่การลงทุนเท่านั้น
ผลักดันด้วยความโลภ ที่ไหนมีไฟวูบวาบ ก็บินเข้าหา ถึงตอนนี้ได้แปลงร่างเป็นเต่าตัวน้อยๆ
ที่มีสติ ตัดสินใจโดยใช้"แก่น"เป็นหลักยึด มีความสุขกับปัจจุบัน และสามารถรอคอยการ"ชนะแบบเต่า"ได้
ขอบคุณอาจารย์มากครับ ที่กรุณาช่วยสั่งสอนลูกๆหลานๆ ผมถือว่าเป็นโชคดีอย่างหนึ่งของชีวิต
ที่ได้เจอหลักการ VI ที่สามารถนำไปปรับใช้ได้ในทุกๆอย่างของชีวิต ไม่ใช่เพียงแค่การลงทุนเท่านั้น
If you only think of things that you haven't got...
You could have it all and still never have enough...
So don't worry, be happy...
You could have it all and still never have enough...
So don't worry, be happy...
- chukieat30
- Verified User
- โพสต์: 3531
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ไม่มีคำว่าสาย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 23
ยอดเยี่ยมมากครับ สมแล้วที่ท่านอาจารย์เป็นต้นตำรับคิดใหญ่ไม่เคยคิดเล็ก
คนคิดเล็กมักจะอ้างโน่นอ้างนี่ ว่าแก่ไปบ้าง เด็กไปบ้าง
คนจริง ทำจริงผิดก้คือผิด ถูกก้คือถูก
ถ้าไม่ล้ม จะเดินเป็นได้ยังไง นี่แหล่ะ มนุษย์
คนคิดเล็กมักจะอ้างโน่นอ้างนี่ ว่าแก่ไปบ้าง เด็กไปบ้าง
คนจริง ทำจริงผิดก้คือผิด ถูกก้คือถูก
ถ้าไม่ล้ม จะเดินเป็นได้ยังไง นี่แหล่ะ มนุษย์
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
-
- Verified User
- โพสต์: 6
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ไม่มีคำว่าสาย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 27
ผมยังมีเวลาอีกตั้ง 50 ปี
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4741
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ไม่มีคำว่าสาย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 28
บทความนี้ถูกใจคนแก่ อย่างผมด้วย ครับอาจารย์
ผมเริ่มลงทุนหุ้น 37 จะเปลี่ยน "อาชีพใหม่" 42 ครับ
ผมเริ่มลงทุนหุ้น 37 จะเปลี่ยน "อาชีพใหม่" 42 ครับ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
-
- Verified User
- โพสต์: 390
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ไม่มีคำว่าสาย/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 30
ขอบคุณ ท่าน ดร.นิเวศน์ ฯ และ ท่าน เจ้าของกระทู้ มากครับ
เป็นอีกหนึ่งบทความของ ดร.นิเวศน์ ฯ ที่ชอบมากครับ
เป็นอีกหนึ่งบทความของ ดร.นิเวศน์ ฯ ที่ชอบมากครับ