ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
- little wing
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 187
- ผู้ติดตาม: 0
ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 22 เม.ย. 55
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว วอเร็น บัฟเฟตต์ ออกมาให้ข่าวว่าเขาเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก เขาบอกต่อว่ามันไม่ได้ลามไปจุดอื่นและไม่อันตรายถึงชีวิตและจะยังคงทำงานต่อไปตามปกติ แพทย์และผู้เชี่ยวชาญต่างก็ลงความเห็นว่าเขาคงไม่เป็นอะไร เพราะมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกนั้นสามารถรักษาและประคองไม่ให้ลุกลามไปได้ยาวนานนับเป็นสิบ ๆ ปี ส่วนใหญ่แล้วคนที่เป็นมักจะตายก่อนด้วยโรคอื่น เหนือสิ่งอื่นใด บัฟเฟตต์เองนั้นอายุ 81 ปีแล้ว ด้วยความเชื่อและเหตุผลดังกล่าว หุ้นเบิกไชร์แฮททะเวย์จึงแทบไม่ถูกกระทบเลย ราคาหุ้นลดลงไปเพียง 1.3% ในขณะที่ดัชนีดาวโจนส์เองก็ลดลงประมาณ 0.63% อยู่แล้วในวันนั้น
คำถามที่หลายคนอาจจะนึกขึ้นมาได้ก็คือ ถ้ามะเร็งที่พบนั้นไม่ใช่มะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่หนึ่งแต่มันกลายเป็นมะเร็งตับระยะที่ 3 หรือ 4 และแพทย์ลงความเห็นว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือนล่ะหุ้นเบิกไชร์จะตกลงมาแค่ไหน? เหตุผลก็คือผู้คนต่างก็เชื่อว่าบัฟเฟตต์กับเบิกไชร์นั้นแทบจะเป็น “สิ่งเดียวกัน” แทบจะใช้คำแทนกันได้ เพราะบัฟเฟตต์เป็นคนที่พลิกฟื้นเบิกไชร์จากธุรกิจสิ่งทอที่กำลัง “ตาย” กลายเป็น “บริษัทลงทุน” ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกและสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้นมากอย่างที่น้อยบริษัทจะสามารถทำได้ในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้น ถ้าบัฟเฟตต์ตาย หุ้นเบิกไชร์จะเหลืออะไร? เหนือสิ่งอื่นใด บริษัทเบิกไชร์เองนั้นมีคนเพียงสิบกว่าคน และนอกจากบัฟเฟตต์เองแล้ว ที่เหลือก็เป็นพนักงานด้าน “ธุรการ” ที่ไม่ได้มีความสามารถอะไรในการลงทุนที่ได้รับการพิสูจน์ว่าเก่งใกล้เคียง วอเร็น บัฟเฟตต์ ดังนั้น ถ้า บัฟเฟตต์ ตาย บริษัทเบิกไชร์จะ “เหลืออะไร?” และราคาหุ้นของเบิกไชร์ที่ซื้อขายในราคาหุ้นละประมาณ 121,310 เหรียญในวันนั้นหรือประมาณหุ้นละ 3.8 ล้านบาท จะตกลงมาเท่าไร?
ในการตอบคำถามนั้น ผมอยากให้เรามาดูตัวอย่างของหุ้นแอบเปิลคอมพิวเตอร์ที่น่าจะมีเรื่องราวที่ใกล้เคียงกันมากในวันที่มีการประกาศหรือวันที่รับรู้กันว่าผู้บริหารสูงสุด “กำลังจะตาย” ด้วยโรคร้าย ประการแรกก็คือ สตีป จอบส์ ซึ่งเป็นผู้นำหรือผู้บริหารสูงสุดนั้น มีความสำคัญต่อบริษัทอย่างยิ่งยวดและคนเชื่อว่าสตีป จอบส์ ก็คือแอบเปิล และแอบเปิลก็คือ สตีบ จอบส์ สองคำนี้แทบจะ “ใช้แทนกันได้” เพราะ สตีป จอบส์ นั้น เป็นคนที่พลิกฟื้นธุรกิจของแอบเปิลจากบริษัทที่กำลัง “พ่ายแพ้” ทุกด้าน กลายเป็นบริษัทไฮเท็คมือหนึ่งของโลกที่สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่คนทั้งโลกต่างก็คลั่งใคล้อยากได้ไว้เป็นเจ้าของ ดังนั้น ถ้า สตีป จอบส์ ตาย แอบเปิลจะเหลืออะไร?
เรื่องราวต่อมาก็คือ สตีป จอบส์ เองได้สร้างความมั่งคั่งมโหฬารให้แก่ผู้ถือหุ้นแอบเปิลอย่างที่น้อยบริษัทในตลาดหุ้นจะทำได้มาก่อนในประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับที่บัฟเฟตต์ทำให้กับผู้ถือหุ้นเบิกไชร์ ในช่วงเวลาประมาณ 46 ปี นับจากปี 1966 ถึงปัจจุบัน ราคาหุ้นเบิกไชร์ปรับตัวขึ้นจากราคา 17.5 เหรียญเป็นกว่า 120,000 เหรียญ คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นปีละถึง 21.2% และทำให้ผู้ถือหุ้นจำนวนมากที่ถือหุ้นบริษัทมาตลอดกลายเป็น “มหาเศรษฐีเบิกไชร์” โดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย ส่วนในกรณีของแอบเปิลเองนั้น ในช่วงประมาณ 8 ปี นับจากที่ สตีป จอบส์ กลับเข้ามาบริหารแอบเปิลที่ “กำลังจะตาย” อีกครั้งหนึ่งในช่วงกลางปี 2546 ถึงกลางปี 2554 ในช่วงที่เขา “กำลังจะตาย” หุ้นแอบเปิลปรับตัวขึ้นจากราคาประมาณ 7 เหรียญ เป็น 374 เหรียญ หรือเป็นการเพิ่มขึ้นถึง กว่า 50 เท่า คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นถึงปีละประมาณ 77% คนที่ถือหุ้นแอบเปิลโดยไม่ขายเลยน่าจะต้องกลายเป็น “มหาเศรษฐีแอบเปิล” จำนวนไม่น้อยจากราคาหุ้นที่ขึ้นไป ที่น่าสังเกตยิ่งกว่านั้นก็คือ ทั้งหุ้นเบิกไชร์และแอบเปิลเองนั้น ต่างก็ไม่จ่ายปันผลเลยตลอดช่วงเวลาอันยาวนานดังกล่าวแม้ว่าธุรกิจจะได้กำไรมหาศาลทุกปี
วันที่ สตีป จอบส์ ตายในวันที่ 5 ตุลาคม 2554 หุ้นแอบเปิลแทบไม่ตกลงมาเลยจากราคา 378 เหรียญต่อหุ้น จริงอยู่ ข่าวความเจ็บป่วยของจอบส์นั้นได้ออกมาเป็นระยะ ๆ และตลาดอาจจะรับรู้ข่าวมาตลอด ดังนั้น ราคาหุ้นก็อาจจะสะท้อนมาตลอดอยู่แล้ว แต่กรณีนี้ก็น่าจะเป็นแบบเดียวกับหุ้นเบิกไชร์เช่นกัน เพราะแม้ว่าจะไม่เคยมีข่าวว่าบัฟเฟตต์เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายใด ๆ แต่ด้วยอายุที่ขึ้นต้นด้วยเลข 8 บัฟเฟตต์ก็อาจจะต้องตายในไม่ช้าอย่างแน่นอน หรือไม่อย่างนั้นเขาก็อาจจะต้องปลดเกษียณเพราะทำงานไม่ไหวได้ในเวลาอาจจะไม่เกิน 10 ปี ดังนั้น การที่หุ้นเบิกไชร์แทบไม่กระทบกระเทือนเลยในวันที่เขาให้ข่าวเรื่องมะเร็ง จึงเป็นเรื่อง “ปกติ” เหมือนกับหุ้นแอบเปิลในวันที่จอบส์ตาย
ประเด็นต่อมาที่น่าสนใจก็คือ เบิกไชร์จะเหลืออะไรถ้าไม่มีบัฟเฟตต์ นี่ก็อาจจะคล้าย ๆ กับแอบเปิลที่ไม่มี สตีป จอบส์ หลังจาก จอบส์ ตายหรือกำลังจะตาย ทิม คุก คือคนที่มาแทน เขาอาจจะไม่มีบารมีหรือความสามารถเท่าจอบส์ แต่เขาไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์ เขาเริ่มต้นเมื่อบริษัทแอบเปิล “มีทุกอย่างยกเว้นจอบส์” ดังนั้น การทำงานของเขาก็ง่ายขึ้นเยอะ เขาสามารถออกผลิตภัณฑ์ที่ “ทุกคนรอคอย” ได้แบบเดียวกับที่จอบส์ทำ สินค้าของแอบเปิลขายดีเหมือนเดิม ว่าที่จริงขายดีกว่าเดิมด้วยซ้ำ กำไรไม่ต้องพูดถึง ดีขึ้นมาก ตอนนี้ แอบเปิลก็คือแอบเปิล มันไม่จำเป็นต้องมีจอบส์หรือทิมคุก มันแข็งแกร่งและดีพอที่จะต่อสู้และเอาชนะคู่แข่งได้โดยที่ผู้บริหารสูงสุดไม่จำเป็นที่จะต้องโดดเด่นอีกต่อไป และผมเองก็เชื่อว่าในวันที่บัฟเฟตต์ไม่อยู่แล้ว เบิกไชร์ก็จะยังยิ่งใหญ่อยู่เหมือนเดิม เพราะเบิกไชร์ในวันนั้นจะ “มีทุกอย่างยกเว้นบัฟเฟตต์” เบิกไชร์ยังมีหุ้นของบริษัทที่เป็นซุปเปอร์คอมพานีหรือซุปเปอร์สต็อกระดับโลกที่จะยังสร้างผลงานโดดเด่นไปอีกนานเท่านาน นอกจากนั้น เบิกไชร์ก็จะยังสามารถหาบริษัทที่โดดเด่นลงทุนเพิ่มได้ตลอดเพราะชื่อเสียงและเม็ดเงินมหาศาลที่เบิกไชร์ควบคุมอยู่ที่จะดึงดูดให้บริษัทที่ต้องการเงินเข้ามาหา และด้วยปรัชญาและแนวทางการลงทุนที่ถูกกำหนดและปฏิบัติมานานโดยบัฟเฟตต์ ผมคิดว่าเบิกไชร์น่าจะยังสามารถรักษาผลงานของตนเองไปได้อีกนานแม้ไม่มีบัฟเฟตต์แล้ว
ราคาหุ้นของแอบเปิลหลังจากจอบส์ตายจนถึงวันนี้เป็นเวลาประมาณกว่า 6 เดือน ได้ปรับตัวขึ้นจาก 378 เป็น 573 เหรียญหรือเพิ่มขึ้นราว 52% ในขณะที่ดัชนีดาวโจนส์ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 19% ในเวลาเดียวกันและทำให้หุ้นแอบเปิลเป็นหุ้นที่มีมูลค่าตลาดสูงที่สุดในโลกทิ้งห่างอันดับสองไปมาก นี่เป็นเครื่องยืนยันว่าธุรกิจที่ดีเยี่ยมและเป็นซุปเปอร์สต็อกนั้น มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้บริหารมากนัก แม้ว่าการที่บริษัทกลายเป็นซุปเปอร์สต็อกได้นั้น ก็เพราะมีผู้บริหารที่ดีสุดยอดที่สามารถสร้างบริษัทขึ้นมาเหนือคู่แข่งทั้งมวล โดยนัยนี้ ผมก็คิดว่าหากบัฟเฟตต์เป็นอะไรไป ราคาหุ้นเบิกไชร์ก็อาจจะไม่ถูกกระทบมากนัก ดังนั้น ใครที่ถือหุ้นเบิกไชร์ก็ไม่ต้องกลัวว่าบัฟเฟตต์จะเป็นอะไร เพราะเขาต้องเป็นแน่ในวันใดวันหนึ่ง แต่หุ้นเบิกไชร์นั้นอาจจะไม่เป็นอะไร และก็ แน่นอน เรื่องทั้งหมดนี้ สามารถประยุกต์ใช้ได้กับหุ้นในทุกตลาดรวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย โดยข้อสรุปรวบยอดของผมก็คือ ในช่วงที่บริษัทยังเล็ก และ/หรือ อ่อนด้อยอยู่ ฝีมือของผู้บริหารสูงสุดนั้นอาจจะมีความสำคัญชี้เป็นชี้ตายได้ แต่เมื่อบริษัทก้าวหน้ามาจนถึงจุดสุดยอดหนึ่งแล้ว มันก็สามารถเดินได้ด้วยตนเอง และความสามารถของผู้บริหารเองก็อาจจะไม่ได้สร้างความแตกต่างมากนัก
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว วอเร็น บัฟเฟตต์ ออกมาให้ข่าวว่าเขาเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก เขาบอกต่อว่ามันไม่ได้ลามไปจุดอื่นและไม่อันตรายถึงชีวิตและจะยังคงทำงานต่อไปตามปกติ แพทย์และผู้เชี่ยวชาญต่างก็ลงความเห็นว่าเขาคงไม่เป็นอะไร เพราะมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกนั้นสามารถรักษาและประคองไม่ให้ลุกลามไปได้ยาวนานนับเป็นสิบ ๆ ปี ส่วนใหญ่แล้วคนที่เป็นมักจะตายก่อนด้วยโรคอื่น เหนือสิ่งอื่นใด บัฟเฟตต์เองนั้นอายุ 81 ปีแล้ว ด้วยความเชื่อและเหตุผลดังกล่าว หุ้นเบิกไชร์แฮททะเวย์จึงแทบไม่ถูกกระทบเลย ราคาหุ้นลดลงไปเพียง 1.3% ในขณะที่ดัชนีดาวโจนส์เองก็ลดลงประมาณ 0.63% อยู่แล้วในวันนั้น
คำถามที่หลายคนอาจจะนึกขึ้นมาได้ก็คือ ถ้ามะเร็งที่พบนั้นไม่ใช่มะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่หนึ่งแต่มันกลายเป็นมะเร็งตับระยะที่ 3 หรือ 4 และแพทย์ลงความเห็นว่าเขาจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือนล่ะหุ้นเบิกไชร์จะตกลงมาแค่ไหน? เหตุผลก็คือผู้คนต่างก็เชื่อว่าบัฟเฟตต์กับเบิกไชร์นั้นแทบจะเป็น “สิ่งเดียวกัน” แทบจะใช้คำแทนกันได้ เพราะบัฟเฟตต์เป็นคนที่พลิกฟื้นเบิกไชร์จากธุรกิจสิ่งทอที่กำลัง “ตาย” กลายเป็น “บริษัทลงทุน” ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกและสร้างความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้นมากอย่างที่น้อยบริษัทจะสามารถทำได้ในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้น ถ้าบัฟเฟตต์ตาย หุ้นเบิกไชร์จะเหลืออะไร? เหนือสิ่งอื่นใด บริษัทเบิกไชร์เองนั้นมีคนเพียงสิบกว่าคน และนอกจากบัฟเฟตต์เองแล้ว ที่เหลือก็เป็นพนักงานด้าน “ธุรการ” ที่ไม่ได้มีความสามารถอะไรในการลงทุนที่ได้รับการพิสูจน์ว่าเก่งใกล้เคียง วอเร็น บัฟเฟตต์ ดังนั้น ถ้า บัฟเฟตต์ ตาย บริษัทเบิกไชร์จะ “เหลืออะไร?” และราคาหุ้นของเบิกไชร์ที่ซื้อขายในราคาหุ้นละประมาณ 121,310 เหรียญในวันนั้นหรือประมาณหุ้นละ 3.8 ล้านบาท จะตกลงมาเท่าไร?
ในการตอบคำถามนั้น ผมอยากให้เรามาดูตัวอย่างของหุ้นแอบเปิลคอมพิวเตอร์ที่น่าจะมีเรื่องราวที่ใกล้เคียงกันมากในวันที่มีการประกาศหรือวันที่รับรู้กันว่าผู้บริหารสูงสุด “กำลังจะตาย” ด้วยโรคร้าย ประการแรกก็คือ สตีป จอบส์ ซึ่งเป็นผู้นำหรือผู้บริหารสูงสุดนั้น มีความสำคัญต่อบริษัทอย่างยิ่งยวดและคนเชื่อว่าสตีป จอบส์ ก็คือแอบเปิล และแอบเปิลก็คือ สตีบ จอบส์ สองคำนี้แทบจะ “ใช้แทนกันได้” เพราะ สตีป จอบส์ นั้น เป็นคนที่พลิกฟื้นธุรกิจของแอบเปิลจากบริษัทที่กำลัง “พ่ายแพ้” ทุกด้าน กลายเป็นบริษัทไฮเท็คมือหนึ่งของโลกที่สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่คนทั้งโลกต่างก็คลั่งใคล้อยากได้ไว้เป็นเจ้าของ ดังนั้น ถ้า สตีป จอบส์ ตาย แอบเปิลจะเหลืออะไร?
เรื่องราวต่อมาก็คือ สตีป จอบส์ เองได้สร้างความมั่งคั่งมโหฬารให้แก่ผู้ถือหุ้นแอบเปิลอย่างที่น้อยบริษัทในตลาดหุ้นจะทำได้มาก่อนในประวัติศาสตร์เช่นเดียวกับที่บัฟเฟตต์ทำให้กับผู้ถือหุ้นเบิกไชร์ ในช่วงเวลาประมาณ 46 ปี นับจากปี 1966 ถึงปัจจุบัน ราคาหุ้นเบิกไชร์ปรับตัวขึ้นจากราคา 17.5 เหรียญเป็นกว่า 120,000 เหรียญ คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นปีละถึง 21.2% และทำให้ผู้ถือหุ้นจำนวนมากที่ถือหุ้นบริษัทมาตลอดกลายเป็น “มหาเศรษฐีเบิกไชร์” โดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย ส่วนในกรณีของแอบเปิลเองนั้น ในช่วงประมาณ 8 ปี นับจากที่ สตีป จอบส์ กลับเข้ามาบริหารแอบเปิลที่ “กำลังจะตาย” อีกครั้งหนึ่งในช่วงกลางปี 2546 ถึงกลางปี 2554 ในช่วงที่เขา “กำลังจะตาย” หุ้นแอบเปิลปรับตัวขึ้นจากราคาประมาณ 7 เหรียญ เป็น 374 เหรียญ หรือเป็นการเพิ่มขึ้นถึง กว่า 50 เท่า คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นถึงปีละประมาณ 77% คนที่ถือหุ้นแอบเปิลโดยไม่ขายเลยน่าจะต้องกลายเป็น “มหาเศรษฐีแอบเปิล” จำนวนไม่น้อยจากราคาหุ้นที่ขึ้นไป ที่น่าสังเกตยิ่งกว่านั้นก็คือ ทั้งหุ้นเบิกไชร์และแอบเปิลเองนั้น ต่างก็ไม่จ่ายปันผลเลยตลอดช่วงเวลาอันยาวนานดังกล่าวแม้ว่าธุรกิจจะได้กำไรมหาศาลทุกปี
วันที่ สตีป จอบส์ ตายในวันที่ 5 ตุลาคม 2554 หุ้นแอบเปิลแทบไม่ตกลงมาเลยจากราคา 378 เหรียญต่อหุ้น จริงอยู่ ข่าวความเจ็บป่วยของจอบส์นั้นได้ออกมาเป็นระยะ ๆ และตลาดอาจจะรับรู้ข่าวมาตลอด ดังนั้น ราคาหุ้นก็อาจจะสะท้อนมาตลอดอยู่แล้ว แต่กรณีนี้ก็น่าจะเป็นแบบเดียวกับหุ้นเบิกไชร์เช่นกัน เพราะแม้ว่าจะไม่เคยมีข่าวว่าบัฟเฟตต์เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายใด ๆ แต่ด้วยอายุที่ขึ้นต้นด้วยเลข 8 บัฟเฟตต์ก็อาจจะต้องตายในไม่ช้าอย่างแน่นอน หรือไม่อย่างนั้นเขาก็อาจจะต้องปลดเกษียณเพราะทำงานไม่ไหวได้ในเวลาอาจจะไม่เกิน 10 ปี ดังนั้น การที่หุ้นเบิกไชร์แทบไม่กระทบกระเทือนเลยในวันที่เขาให้ข่าวเรื่องมะเร็ง จึงเป็นเรื่อง “ปกติ” เหมือนกับหุ้นแอบเปิลในวันที่จอบส์ตาย
ประเด็นต่อมาที่น่าสนใจก็คือ เบิกไชร์จะเหลืออะไรถ้าไม่มีบัฟเฟตต์ นี่ก็อาจจะคล้าย ๆ กับแอบเปิลที่ไม่มี สตีป จอบส์ หลังจาก จอบส์ ตายหรือกำลังจะตาย ทิม คุก คือคนที่มาแทน เขาอาจจะไม่มีบารมีหรือความสามารถเท่าจอบส์ แต่เขาไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์ เขาเริ่มต้นเมื่อบริษัทแอบเปิล “มีทุกอย่างยกเว้นจอบส์” ดังนั้น การทำงานของเขาก็ง่ายขึ้นเยอะ เขาสามารถออกผลิตภัณฑ์ที่ “ทุกคนรอคอย” ได้แบบเดียวกับที่จอบส์ทำ สินค้าของแอบเปิลขายดีเหมือนเดิม ว่าที่จริงขายดีกว่าเดิมด้วยซ้ำ กำไรไม่ต้องพูดถึง ดีขึ้นมาก ตอนนี้ แอบเปิลก็คือแอบเปิล มันไม่จำเป็นต้องมีจอบส์หรือทิมคุก มันแข็งแกร่งและดีพอที่จะต่อสู้และเอาชนะคู่แข่งได้โดยที่ผู้บริหารสูงสุดไม่จำเป็นที่จะต้องโดดเด่นอีกต่อไป และผมเองก็เชื่อว่าในวันที่บัฟเฟตต์ไม่อยู่แล้ว เบิกไชร์ก็จะยังยิ่งใหญ่อยู่เหมือนเดิม เพราะเบิกไชร์ในวันนั้นจะ “มีทุกอย่างยกเว้นบัฟเฟตต์” เบิกไชร์ยังมีหุ้นของบริษัทที่เป็นซุปเปอร์คอมพานีหรือซุปเปอร์สต็อกระดับโลกที่จะยังสร้างผลงานโดดเด่นไปอีกนานเท่านาน นอกจากนั้น เบิกไชร์ก็จะยังสามารถหาบริษัทที่โดดเด่นลงทุนเพิ่มได้ตลอดเพราะชื่อเสียงและเม็ดเงินมหาศาลที่เบิกไชร์ควบคุมอยู่ที่จะดึงดูดให้บริษัทที่ต้องการเงินเข้ามาหา และด้วยปรัชญาและแนวทางการลงทุนที่ถูกกำหนดและปฏิบัติมานานโดยบัฟเฟตต์ ผมคิดว่าเบิกไชร์น่าจะยังสามารถรักษาผลงานของตนเองไปได้อีกนานแม้ไม่มีบัฟเฟตต์แล้ว
ราคาหุ้นของแอบเปิลหลังจากจอบส์ตายจนถึงวันนี้เป็นเวลาประมาณกว่า 6 เดือน ได้ปรับตัวขึ้นจาก 378 เป็น 573 เหรียญหรือเพิ่มขึ้นราว 52% ในขณะที่ดัชนีดาวโจนส์ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 19% ในเวลาเดียวกันและทำให้หุ้นแอบเปิลเป็นหุ้นที่มีมูลค่าตลาดสูงที่สุดในโลกทิ้งห่างอันดับสองไปมาก นี่เป็นเครื่องยืนยันว่าธุรกิจที่ดีเยี่ยมและเป็นซุปเปอร์สต็อกนั้น มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้บริหารมากนัก แม้ว่าการที่บริษัทกลายเป็นซุปเปอร์สต็อกได้นั้น ก็เพราะมีผู้บริหารที่ดีสุดยอดที่สามารถสร้างบริษัทขึ้นมาเหนือคู่แข่งทั้งมวล โดยนัยนี้ ผมก็คิดว่าหากบัฟเฟตต์เป็นอะไรไป ราคาหุ้นเบิกไชร์ก็อาจจะไม่ถูกกระทบมากนัก ดังนั้น ใครที่ถือหุ้นเบิกไชร์ก็ไม่ต้องกลัวว่าบัฟเฟตต์จะเป็นอะไร เพราะเขาต้องเป็นแน่ในวันใดวันหนึ่ง แต่หุ้นเบิกไชร์นั้นอาจจะไม่เป็นอะไร และก็ แน่นอน เรื่องทั้งหมดนี้ สามารถประยุกต์ใช้ได้กับหุ้นในทุกตลาดรวมถึงตลาดหุ้นไทยด้วย โดยข้อสรุปรวบยอดของผมก็คือ ในช่วงที่บริษัทยังเล็ก และ/หรือ อ่อนด้อยอยู่ ฝีมือของผู้บริหารสูงสุดนั้นอาจจะมีความสำคัญชี้เป็นชี้ตายได้ แต่เมื่อบริษัทก้าวหน้ามาจนถึงจุดสุดยอดหนึ่งแล้ว มันก็สามารถเดินได้ด้วยตนเอง และความสามารถของผู้บริหารเองก็อาจจะไม่ได้สร้างความแตกต่างมากนัก
-
- Verified User
- โพสต์: 320
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณครับ
ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา…
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว
ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร
แค่บินไปให้ถึงฝัน เท่านั้นพอ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 5
อ่านแล้วก็คิดถึง คุณบุญยง กับ SINGER
คุณบุญยงเคยทำงานที่ SINGER มาก่อน แล้วลาออกไป จนได้กลับมาทำงานที่ SINGER อีกครั้ง เพื่อกอบกู้กิจการที่เกือบจะล้มละลาย จนกลับมาแข็งแรงอีกครั้งหนึ่ง
ผู้ถือหุ้นบางคนก็กังวลว่า ถ้า SINGER ไม่มีคุณบุญยงจะเป็นอย่างไรต่อไป
คุณบุญยงเคยทำงานที่ SINGER มาก่อน แล้วลาออกไป จนได้กลับมาทำงานที่ SINGER อีกครั้ง เพื่อกอบกู้กิจการที่เกือบจะล้มละลาย จนกลับมาแข็งแรงอีกครั้งหนึ่ง
ผู้ถือหุ้นบางคนก็กังวลว่า ถ้า SINGER ไม่มีคุณบุญยงจะเป็นอย่างไรต่อไป
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 957
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 6
เป็นสิ่งที่น่าคิดจริงๆ ไม่ใช่อ่อนล้มลงทันที ยังมีเวลาให้ผู้นำคนต่อไป ได้แสดงฝีมือและต่อยอดได้อีกนานพอดู
แต่อีกด้านหนึ่งที่ผมสงสัยอยู่ ถ้าบิลเกตไม่วางมือเสียก่อน ยังคิดจะบุกเบิกรุกธุรกิจอยู่เหมือนเดิม microsoft ก็น่าจะสร้างอะไร?ออกมาในตลาดให้แข่งขันกับ ios หรือ andriod ได้สนุกกว่านี้ ไหม?
แล้วอีกหนึ่งที่สงสัยอยู่ nokia พลาดท่าในสนามตอนนี้ มันใช้เวลาบ่มเพาะเชื้อมานานเท่าใดถึงแสดงอาการเช่นนี้
ขอบคุณมาก ครับ กระตุ้นให้คิดจริงๆ
แต่อีกด้านหนึ่งที่ผมสงสัยอยู่ ถ้าบิลเกตไม่วางมือเสียก่อน ยังคิดจะบุกเบิกรุกธุรกิจอยู่เหมือนเดิม microsoft ก็น่าจะสร้างอะไร?ออกมาในตลาดให้แข่งขันกับ ios หรือ andriod ได้สนุกกว่านี้ ไหม?
แล้วอีกหนึ่งที่สงสัยอยู่ nokia พลาดท่าในสนามตอนนี้ มันใช้เวลาบ่มเพาะเชื้อมานานเท่าใดถึงแสดงอาการเช่นนี้
ขอบคุณมาก ครับ กระตุ้นให้คิดจริงๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 571
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 7
แต่มันก็ยังมีกรณี อย่าง sony หรือ kodak ไม่ใช่เหรอครับ
Apple ในวันนี้ อาจจะยังคงแข็งแกร่งอยู่ แต่ในอีก 5 ปี 10 ปี
อาจจะไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้
Apple ในวันนี้ อาจจะยังคงแข็งแกร่งอยู่ แต่ในอีก 5 ปี 10 ปี
อาจจะไม่เป็นอย่างนั้นก็ได้
-
- Verified User
- โพสต์: 2141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 8
ส่วนผมนึกถึงคุณชมเดือนchatchai เขียน:อ่านแล้วก็คิดถึง คุณบุญยง กับ SINGER
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
A ttitude & Perception
D isclipine
- marcus147
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 615
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 9
แต่ถ้าเป็นผมๆคงเตรียมตัวขายแล้วหละ
ถ้าผมมีหุ้นสองตัวนี้อยู่ เพราะไม่น่าจะร้อนแรงเหมือนสมัยที่มีผู้นำอยู่แล้ว
อาจจะแค่รักษาระดับกำไรไปได้เรื่อยๆ
ยิ่ง apple เป็นบริษัทเทคโนโลยีผมว่ายิ่งเสี่ยง
วิสัยทัศน์ทางไอทีของ สตีฟ จ็อบ หาคนมาแทนได้ยาก
ถ้าผมมีหุ้นสองตัวนี้อยู่ เพราะไม่น่าจะร้อนแรงเหมือนสมัยที่มีผู้นำอยู่แล้ว
อาจจะแค่รักษาระดับกำไรไปได้เรื่อยๆ
ยิ่ง apple เป็นบริษัทเทคโนโลยีผมว่ายิ่งเสี่ยง
วิสัยทัศน์ทางไอทีของ สตีฟ จ็อบ หาคนมาแทนได้ยาก
การลงทุนในตลาดหุ้น ไม่มีทางลัด อยากเก่ง ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
My Blog : http://marcus147.wordpress.com/
My Blog : http://marcus147.wordpress.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 312
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 10
ความเจริญของบริษัทและบุคคล => "เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป"
Value = Quality/Cost
- OutOfMyMind
- Verified User
- โพสต์: 1242
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 12
อย่าง APPLE ผมว่ามีโอกาสร่อนลง ภายใน 5 ปี เพราะบริษัทระดับนี้ ต้องการโคตรมันสมองมานำ
แต่กรณีของปู่่บัพ นั้นแกไม่ได้ลงมือทำแบบ จอบส์ ผลกระทบน่าจะน้อยกว่ามาก หากปู่เป็นอะไรไป เบิร์กไชส์ ก็คงไปต่อได้ แต่ระดับ PE อาจไม่สูงเท่าในปัจจุบัน เพราะมันต้องถูกลดทอนลง เพราะต่อแต่นี้ไป ไม่ใช่เบอร์หนึ่งแล้วที่กุมบังเหียน แต่เป็นเบอร์รอง ๆ ลงมา
แต่กรณีของปู่่บัพ นั้นแกไม่ได้ลงมือทำแบบ จอบส์ ผลกระทบน่าจะน้อยกว่ามาก หากปู่เป็นอะไรไป เบิร์กไชส์ ก็คงไปต่อได้ แต่ระดับ PE อาจไม่สูงเท่าในปัจจุบัน เพราะมันต้องถูกลดทอนลง เพราะต่อแต่นี้ไป ไม่ใช่เบอร์หนึ่งแล้วที่กุมบังเหียน แต่เป็นเบอร์รอง ๆ ลงมา
บทความดีดีสำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่า
https://www.facebook.com/OutOfMyMindOnValueInvestment
https://www.facebook.com/OutOfMyMindOnValueInvestment
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 13
ผมมองว่าjobs เป็นนักฝัน เป็นนักบุกเบิกคนหนึ่ง สิ่งที่เค้าทำไม่ใช่ทำตามภาพใหญ่ของอุตสาหกรรมการแข่งขัน เค้าสร้างมันขึ้นมาเองเลยต่างหาก
สิ่งที่คงเหลือเป็นมรดกวันนี้ คือ ภาวะอุตสาหกรรมมือถือที่เปลี่ยนไปเพราะjobs ได้สร้างมันเอาไว้ ณ วันนี้ appleยังดี แนวโน้มอุตสาหกรรมยังคงเป็นไปในแบบที่jobsสร้างไว้อยู่
ตอนมี jobs อยู่ apple เป็นบริษัทที่มีสถานะในสนามแข่งเป็นผู้ริเริ่ม เป็นผู้create ไม่ใช่สถานะ follower
แล้วถ้าไม่มี jobs อยู่แล้วล่ะ? apple จะมีมือดีที่จะคงสถานะการแข่งขันนี้ไว้ได้หรือไม่???
ถ้าทำไม่ได้ ต่อไป apple จะเป็นยังไง ในอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเช่นนี้
ผมทราบมาว่า ความสำเร็จของ apple มีคนเบื้องหลังมากมาย ไม่ใช่แค่ jobs คนเดียว
แต่คนที่เป็น พลังแห่งการสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างหนึ่งของapple คือjobs
เป็นไปได้มั้ยว่า ในอนาคต apple อาจจะสูญเสียความได้เปรียบนี้ จนอาจต้องกลายสถานะเป็น ผู้ตาม ในที่สุด
ถ้าเป็นยังงั้น บริษัทอาจจะอยู่รอดต่อไปได้ แต่ในอนาคต จะเป็น super stock เหมือนเดิมได้หรือ???
สิ่งที่คงเหลือเป็นมรดกวันนี้ คือ ภาวะอุตสาหกรรมมือถือที่เปลี่ยนไปเพราะjobs ได้สร้างมันเอาไว้ ณ วันนี้ appleยังดี แนวโน้มอุตสาหกรรมยังคงเป็นไปในแบบที่jobsสร้างไว้อยู่
ตอนมี jobs อยู่ apple เป็นบริษัทที่มีสถานะในสนามแข่งเป็นผู้ริเริ่ม เป็นผู้create ไม่ใช่สถานะ follower
แล้วถ้าไม่มี jobs อยู่แล้วล่ะ? apple จะมีมือดีที่จะคงสถานะการแข่งขันนี้ไว้ได้หรือไม่???
ถ้าทำไม่ได้ ต่อไป apple จะเป็นยังไง ในอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเช่นนี้
ผมทราบมาว่า ความสำเร็จของ apple มีคนเบื้องหลังมากมาย ไม่ใช่แค่ jobs คนเดียว
แต่คนที่เป็น พลังแห่งการสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างหนึ่งของapple คือjobs
เป็นไปได้มั้ยว่า ในอนาคต apple อาจจะสูญเสียความได้เปรียบนี้ จนอาจต้องกลายสถานะเป็น ผู้ตาม ในที่สุด
ถ้าเป็นยังงั้น บริษัทอาจจะอยู่รอดต่อไปได้ แต่ในอนาคต จะเป็น super stock เหมือนเดิมได้หรือ???
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
-
- Verified User
- โพสต์: 86
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 14
ขอบคุณมากครับอาจารย์สำหรับบทความ
แต่ก็เห็นด้วยครับหลายๆ ความเห็นว่า ถ้าไม่มีจ๊อปส์ apple คงไม่เหมือนเดิม แต่คงต้องรอดูกันต่อไป ว่า apple จะมีอะไรเด็ดๆ ออกมาให้ตามชมหรือเปล่า เพราะอ่านจากประวัติของจ๊อปส์ เขาเป็นคนพลิก apple จริงๆ
แต่ก็เห็นด้วยครับหลายๆ ความเห็นว่า ถ้าไม่มีจ๊อปส์ apple คงไม่เหมือนเดิม แต่คงต้องรอดูกันต่อไป ว่า apple จะมีอะไรเด็ดๆ ออกมาให้ตามชมหรือเปล่า เพราะอ่านจากประวัติของจ๊อปส์ เขาเป็นคนพลิก apple จริงๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 571
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 15
ผมรู้แต่ถ้าเป็นศิลปินนักวาดภาพระดับโลก ตายปุ๊บ ราคาภาพพุ่งกระฉูดแทบทุกรายครับ.. แหะๆไม่เกี่ยวกัน ชิมิ (ในอดีตถึงกับมีการฆ่าศิลปิน เพื่อให้ราคาภาพที่เศรษฐีซื้อไว้ขึ้นด้วยอ่ะ ปล.ฟังเค้ามาอีกที แต่ผมคิดว่า logic สมเหตุสมผลครับ)chatchai เขียน:อ่านแล้วก็คิดถึง คุณบุญยง กับ SINGER
คุณบุญยงเคยทำงานที่ SINGER มาก่อน แล้วลาออกไป จนได้กลับมาทำงานที่ SINGER อีกครั้ง เพื่อกอบกู้กิจการที่เกือบจะล้มละลาย จนกลับมาแข็งแรงอีกครั้งหนึ่ง
ผู้ถือหุ้นบางคนก็กังวลว่า ถ้า SINGER ไม่มีคุณบุญยงจะเป็นอย่างไรต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 232
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 16
ไม่เห็นด้วยกรณีของ APPLE ครับ แต่ของบัฟเฟตเห็นด้วยครับ เพราะธุรกิจที่ซื้อมาแต่ละอันมันยั่งยืนจริง ๆ และปู่เองก็มีตัวตายตัวแทนไว้แล้ว แต่ APPLE ไม่เหมือนกัน เห็นถึงกระแส NEW IPAD และ IPHONE 4S และคาดว่าต่อ ๆ ไป
ค่อย ๆ เสื่อมถอยลงเรื่อย ๆ คล้ายไมโครซอฟตอนแผ่ว ๆ ขาลง เป๊ะ ๆ ไม่มีอะไรใหม่ ๆ ให้ตื่นเต้น แม้ยอดขายจะยังยืนอยู่ในระดับที่ดี แต่กระแส ลดลงไปอย่างรู้สึกได้
เทคโนโลยี เป็นอะไรที่มาเร็ว ไปเร็ว และตลาดต้องตื่นเต้นตลอดเวลา ซึ่งมันน่าจะ peak ไปแล้ว และตอนนี้ เครื่อง mac ก็ไม่ปลอดภัยอีกต่อไป โดนเจาะระบบได้ง่ายดายแล้ว
ค่อย ๆ เสื่อมถอยลงเรื่อย ๆ คล้ายไมโครซอฟตอนแผ่ว ๆ ขาลง เป๊ะ ๆ ไม่มีอะไรใหม่ ๆ ให้ตื่นเต้น แม้ยอดขายจะยังยืนอยู่ในระดับที่ดี แต่กระแส ลดลงไปอย่างรู้สึกได้
เทคโนโลยี เป็นอะไรที่มาเร็ว ไปเร็ว และตลาดต้องตื่นเต้นตลอดเวลา ซึ่งมันน่าจะ peak ไปแล้ว และตอนนี้ เครื่อง mac ก็ไม่ปลอดภัยอีกต่อไป โดนเจาะระบบได้ง่ายดายแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 232
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 17
กรณีใกล้เคียง เกี่ยวกับเทคโนโลยี "เฟซบุ๊ค" กำไรร่วง การเติบโตส่อแผ่ว
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 4&catid=04
อาจจะไม่้เหมือนกันเพราะ APPLE ขายสินค้าจริง ๆ แต่ FB ขายโฆษณา แต่ที่เหมือนกันคือเป็นกระแส
แต่ถ้ากระแสไม่มา พวกนี้จะเสร็จทันที เทคโนโลยี คนคิดค้นสำคัญมาก เป็นหัวใจ ถ้าตันก็จบ
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... 4&catid=04
อาจจะไม่้เหมือนกันเพราะ APPLE ขายสินค้าจริง ๆ แต่ FB ขายโฆษณา แต่ที่เหมือนกันคือเป็นกระแส
แต่ถ้ากระแสไม่มา พวกนี้จะเสร็จทันที เทคโนโลยี คนคิดค้นสำคัญมาก เป็นหัวใจ ถ้าตันก็จบ
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 18
iPAD เป็นสิ่งมหัศจรรย์เลยสำหรับผม
สิ่งนี้คล้ายๆกับ ตอนที่ apple ออก macintosh
ที่มาชิงตลาด จาก ibm pc
แต่เมื่อ microsoft ออก window และพััฒนาไปเรื่อยๆ
window ใน ibm pc และ pc compatible
จำนวนมหาศาลที่ราคา ถูกกว่า macintosh มาก
ปริมาณ ibm pc+pc compat มีมากกว่า macintosh มหาศาล
หลังจากนั้น software ที่ใช้ใน window ก็มากและดีกว่า macintosh
macintos ก็เลยเจ้งสนิท
แต่ iPad จะไม่มีเหมือน macintosh ในอดีตรเพราะ
1.iPAD แพงกว่า tablet ยี่ห้ออื่นๆไม่มาก
2.iPAD ใช้แล้วเท่ห์มาก (โชว์ตอนใช้) แต่ macintosh ใช้ที่บ้านหรือที่ทำงานไม่มีใครเห็น
ถ้าปริมาณการใช้ iPAD ยังมากกว่าทุกยี่ห้ออื่นๆรวมกัน
iPAD จะอยู่ได้อีกนาน
สิ่งนี้คล้ายๆกับ ตอนที่ apple ออก macintosh
ที่มาชิงตลาด จาก ibm pc
แต่เมื่อ microsoft ออก window และพััฒนาไปเรื่อยๆ
window ใน ibm pc และ pc compatible
จำนวนมหาศาลที่ราคา ถูกกว่า macintosh มาก
ปริมาณ ibm pc+pc compat มีมากกว่า macintosh มหาศาล
หลังจากนั้น software ที่ใช้ใน window ก็มากและดีกว่า macintosh
macintos ก็เลยเจ้งสนิท
แต่ iPad จะไม่มีเหมือน macintosh ในอดีตรเพราะ
1.iPAD แพงกว่า tablet ยี่ห้ออื่นๆไม่มาก
2.iPAD ใช้แล้วเท่ห์มาก (โชว์ตอนใช้) แต่ macintosh ใช้ที่บ้านหรือที่ทำงานไม่มีใครเห็น
ถ้าปริมาณการใช้ iPAD ยังมากกว่าทุกยี่ห้ออื่นๆรวมกัน
iPAD จะอยู่ได้อีกนาน
Blueplanet
-
- Verified User
- โพสต์: 571
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 19
Jobs เป็นผู้นำเสมอ เรียกว่าเป็น Industry Leader ของ อุตสาหกรรม IT
Gadgets ตระกูล I-Devices ทั้ง Ipod Iphone Ipad และ Mac Book Air
I OS ที่แย่งส่วนแบ่งตลาดมาจาก Windows มาได้อย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งที่ ใครๆ
ในตอนนั้นก็คิดว่า Windows เป็นยักษ์ที่ครองอาณาจักรของ OS เป็นแล้ว
แม้กระทั่ง Linux ก็ยังไม่สามารถ ทำให้ Windows สะเทือน แต่ Jobs ทำได้
ในปัจจุบัน ช่องว่างระหว่างผู้ใช้ Apple Products และ ผลิตภัณฑ์อื่นๆ
ได้ฝังรากลึก ในการสร้างเส้นแบ่ง Status ทางสังคมไปแล้ว ซึ่ง สิ่งที่ Jobs
สร้างขึ้น มันเป็นสิ่งที่แข็งแกร่งกว่านวัตกรรมทางด้าน Technology
นั่นทำให้ Apple มี Invisible Wall ที่คู่แข่งยังไม่มี และ ยากที่จะสร้างขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม หาก Apple เริ่มหยุด และ ไม่เข้าใจในจุดนี้ กำแพงที่แข็งแกร่ง
ยังไงก็ต้องเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ใครๆ ก็กล่าวว่า การชุบชีวิต apple
ของ Jobs เป็นงานที่ยากยิ่ง แต่สิ่งที่เรามักได้ยินเสมอ คือ
"การสร้าง Brand นั้นยาก แต่การรักษา Brand ให้ยั่งยืนอยู่ได้นั้นยากยิ่งกว่า"
Gadgets ตระกูล I-Devices ทั้ง Ipod Iphone Ipad และ Mac Book Air
I OS ที่แย่งส่วนแบ่งตลาดมาจาก Windows มาได้อย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งที่ ใครๆ
ในตอนนั้นก็คิดว่า Windows เป็นยักษ์ที่ครองอาณาจักรของ OS เป็นแล้ว
แม้กระทั่ง Linux ก็ยังไม่สามารถ ทำให้ Windows สะเทือน แต่ Jobs ทำได้
ในปัจจุบัน ช่องว่างระหว่างผู้ใช้ Apple Products และ ผลิตภัณฑ์อื่นๆ
ได้ฝังรากลึก ในการสร้างเส้นแบ่ง Status ทางสังคมไปแล้ว ซึ่ง สิ่งที่ Jobs
สร้างขึ้น มันเป็นสิ่งที่แข็งแกร่งกว่านวัตกรรมทางด้าน Technology
นั่นทำให้ Apple มี Invisible Wall ที่คู่แข่งยังไม่มี และ ยากที่จะสร้างขึ้นได้
อย่างไรก็ตาม หาก Apple เริ่มหยุด และ ไม่เข้าใจในจุดนี้ กำแพงที่แข็งแกร่ง
ยังไงก็ต้องเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ใครๆ ก็กล่าวว่า การชุบชีวิต apple
ของ Jobs เป็นงานที่ยากยิ่ง แต่สิ่งที่เรามักได้ยินเสมอ คือ
"การสร้าง Brand นั้นยาก แต่การรักษา Brand ให้ยั่งยืนอยู่ได้นั้นยากยิ่งกว่า"
- VI Wannabe
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1014
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 20
technology firm ขาด visionary ไป
กับ ถ้าบริษัทลงทุนขาด great stock(business) picker ไป
ผมว่าชัดนะว่าอันไหนหนักกว่ากัน?
อันไหนมี impact บน Competitive Advantage มากกว่ากัน?
กับ ถ้าบริษัทลงทุนขาด great stock(business) picker ไป
ผมว่าชัดนะว่าอันไหนหนักกว่ากัน?
อันไหนมี impact บน Competitive Advantage มากกว่ากัน?
"Attempt to be fearful when others are greedy and to be greedy only when others are fearful"
"It's far better to buy a wonderful company at a fair price than a fair company at a wonderful price"
"It's far better to buy a wonderful company at a fair price than a fair company at a wonderful price"
-
- Verified User
- โพสต์: 1070
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 21
แอบเปิ้ล กับ เบิกไซร์ คงมาเปรียบเทียบกันไม่ได้นะ...ในความคิดของผม
แอบเปิ้ลมีพนักงานกี่คน เบิกไชร์ มีพนักงานกี่คน
บัฟเฟตต์ ตาย กับ จ๊อบตาย กระทบต่อบริษัทไม่เท่ากันแน่นอน..
อันนี้ เห็นแตกต่างจาก อาจารย์ ดร ครับ...
แอบเปิ้ลมีพนักงานกี่คน เบิกไชร์ มีพนักงานกี่คน
บัฟเฟตต์ ตาย กับ จ๊อบตาย กระทบต่อบริษัทไม่เท่ากันแน่นอน..
อันนี้ เห็นแตกต่างจาก อาจารย์ ดร ครับ...
The One
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 22
โลกนี้ไม่มีอะไรแน่นะครับคุณ blueplanetblueplanet เขียน: iPAD เป็นสิ่งมหัศจรรย์เลยสำหรับผม
สิ่งนี้คล้ายๆกับ ตอนที่ apple ออก macintosh
ที่มาชิงตลาด จาก ibm pc
แต่เมื่อ microsoft ออก window และพััฒนาไปเรื่อยๆ
window ใน ibm pc และ pc compatible
จำนวนมหาศาลที่ราคา ถูกกว่า macintosh มาก
ปริมาณ ibm pc+pc compat มีมากกว่า macintosh มหาศาล
หลังจากนั้น software ที่ใช้ใน window ก็มากและดีกว่า macintosh
macintos ก็เลยเจ้งสนิท
แต่ iPad จะไม่มีเหมือน macintosh ในอดีตรเพราะ
1.iPAD แพงกว่า tablet ยี่ห้ออื่นๆไม่มาก
2.iPAD ใช้แล้วเท่ห์มาก (โชว์ตอนใช้) แต่ macintosh ใช้ที่บ้านหรือที่ทำงานไม่มีใครเห็น
ถ้าปริมาณการใช้ iPAD ยังมากกว่าทุกยี่ห้ออื่นๆรวมกัน
iPAD จะอยู่ได้อีกนาน
สงสัยคุณ blue คงลืม IBM compatible ภาค tablet และ smartphone ไป
ลืมไปแล้วหรือครับหุ่นกระป๋อง R2D2 ตัวเขียว ที่ jobs บ่น (หรือตะโกนไม่รู้) ด้วยความแค้นว่า ถ้าหากยังไม่เป็นอะไรไป จะเอาคืนให้ได้ เพราะเล่นก๊อปหน้าตา GUI (graphic user interface) ไปเห็นๆ ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยแบบเดียวกับ software ibm compatible ที่ Gates ทำหน้า GUI เป็น windows+mouse หน้าตาคล้าย Mac/Apple Lisa ที่มาจาก Jobs ไปเอามาจากศูนย์วิจัย xerox อีกต่อ (กำเนิดจากซีร๊อกซ์ เป็นลาง ยังกะว่าจะติดเชื้อการ copy กัน )
iPad/iPhone ครองใจสาวกเหนียวแน่น เหมือนคนใช้ Mac ตรงที่พิถีพิถัน hardware ทั้งวัสดุเปลือกตัวโครง การออกแบบทำให้เป็นสินค้าแฟชั่นได้ด้วย อย่างที่คุณ blue บอกว่า "ใช้แล้วเท่ห์มาก (โชว์ตอนใช้)" เพราะของดีจริง
look ดีกว่า ที่ทำให้เรียบง่าย ใช้งานง่าย ที่คนเขียนประวัติ jobs ใช้คำว่า minimalize ไม่มีปุ่มรกเกะกะเหมือน smart phone ค่ายอื่น (ตรงข้มกับ BB ค่าย RIM) และ model ดูมีแค่เหมือนหนึ่งเดียว เปลี่ยนไปนิดหน่อยตอนออกใหม่ จาก iPad มาถึง new IPad จากเริ่ม iPhone มา 1G...4GS หน้าตาไม่ค่อยเปลี่ยนมาก และสีอย่างมากก็แค่แยกสองสี ก็แค่ขาวกับดำตอนหลัง
และ hardware ที่ีทำงานจริงคือแผงวงจรภายในก็เนี๊ยบ กับการที่สร้างมาเพื่อ software iOS ระบบปิดของตัวเองโดยเฉพาะ
เพื่อนผมหลายคนที่มี tablet หลายเครื่อง (น่าหมั่นใส้ไอ้พวกคาบช้อนทองมาเกิด เครื่องที่ไม่ชอบก็โยนให้หลานหรือญาติเอาไปเล่นเกม) ล้วนแต่บอกว่า ใช้ iPad ลื่นไหลกว่าแอนดรอยด์จริงๆ จึงไม่ใช่แค่หลงเปลือก ไม่ได้เป็นสาวกแบบหน้ามืดตามัว
ส่วน android หลากหลายมาก เพราะปล่อยขาย ความที่เป็นระบบเปิดของ android ทำให้ในตลาด positioning อยู่ตรงไหนไม่รู้ เหมือน IBM compatible PC
คนมีกะตังค์พูดกดันว่า ดูเหมือนจะเป็นได้แก่อุปกรณ์ Gadget "กาก ๆ" ... ว่าเข้านั่น
แต่โลกไม่ได้หวานขนาดนั้น ถึง Android ไม่ได้เจ๋งแบบสินค้า premium แต่แย่งตลาดมหาศาลของ iPad ไปเยอะมาก ตัวเลข market share สูงขึ้นทุกวัน เพราะไอ้ความ open เป็นเหมือนไวรัสแพร่ระบาด แบบ IBM compatible PC
จาก OS ที่ไร้ความหมาย กลายเป็นศัตรูหมายเลข 1 มานานพอควรแล้ว
android ก็ยิ่งแกร่งเหมือน windows เพราะยิ่งระบาด ก็ยิ่งได้กำไรผลพวงจาก software / apps ไม่ได้สน พิถีพิถันศิลปกรรมการออกแบบตัวเครื่องอย่าง jobs ทำ เพราะเมื่อก่อนไม่มีทางเลือก ใน 'ตลาดที่จำใจ' ต้องซื้อของแพงเมื่อก่อน รวมถึงคนที่ไม่มีปัญญาซื้อเมื่อก่อน ตลาด mass กลางถึงล่าง จึงหันมาใช้ android
แต่ด้าน hardware design มาเจอนักสร้างเอเชียอย่างเกาหลีแบบ samsung มาแย่งตลาดบน ทำให้ apple ทนอยู่ไม่ไหว ไล่ฟ้องเหมือนกัน จนบางประเทศ Galaxy Tab ไม่ได้วางขายแล้ว
iPad/iPhone อาจอยู่ได้นานซักระยะ แต่ทีมงานต้องเหนื่อยด้วยอยู่เฉยกินความภาคภูมิใจจากบูญเก่าสมัย Jobs ไม่ได้ ถ้าไม่งั้นก็จะเป็นแบบ Yahoo หรือ Nokia ที่เคยเป็น iinovator และ trend setter ต้องสนองตลาด แล้วมีนวัตกรรมออกมาตีของเดิมของตัวเองที่ไม่ได้เป็นนวัตกรรมอีกต่อไปแล้ว เพราะมีคนเลียนแบบได้แล้ว
สินค้าเทคโนโลยีเป็นแบบนี้ทั้งนั้น
คนถือหุ้นเทคโนโลยี นิ่งไม่ได้เลย เพราะพื้นฐานอาจเปลี่ยนเร็วมาก ถ้าขาดการพัฒนานวัตกรรม
เพราะไม่ได้เป็นแบบน้ำหวานคาร์บอเนตแบบโค้ก/เป๊บซี่ ที่เป็นร้อยปีมาแล้ว ก็ยังแค่กินส่วนต่าง กินค่ารอยัลตี้ แค่ส่งหัวเชื้อไปให้บริษัทรับช่วง เอาไปผสมน้ำอัดแก้สบรรจุขวด/กระป๋อง ต้องเน้นฟาดฟันด้วยการตลาด music/sport marketing แค่้นั้น ไม่มี factor ด้านนวัตกรรมมาเกี่ยว
ที่เราเคยได้ยินกันไง ว่า Buffett ไม่ชอบหุ้นไฮเทค ตรงที่มันวูบวาบอย่างที่ว่า การประเมินค่า FCF ทำ DCF แทบจะกลายเป็นหมอดูทำนายฝันไปเลย
แค่แป๊บเดียว ไม่ถึงปี พื้นฐานมักเปลี่ยนไปง่ายๆ นี่
ขาดเจ้าพ่อ vision อย่างท่าน VI Wannabe บอก คน apple ต้องรักษาตำแหน่งตัวเองอย่างเหนื่อยแน่
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 23
ดูตัวเลข android vs iOS
ตลาด smart phone ก่อน
ไปอ่านบทความนี้นะครับ เป็น blog ของ nielsen จะเห็นว่าฟาดฟันกันหนักหน่วงเลยทีเดียว บางเดือน market share android เหนือกว่า iOS อยู่สูงมาก จน iPhone ออก 4S ออกมา ถึงกลับมาสูสีได้อีกครั้ง
http://blog.nielsen.com/nielsenwire/con ... n-android/
ผมดึงรูปมาให้ดู
ส่วน Tablet นั้น Android ยังเป็นรอง แต่ดู market share สูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างน่าวิตกสำหรับคน apple
iOS ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จากผู้สร้าง ครองเกือบ 90% ลดลงต่ำกว่า 50% ในที่สุด (ยังเป็นแค่การคาดการณ์ แต่เราก็เห็นกันอยู่ ว่า android ออกมาล้นตลาด เพราะมีลูกค้าทุกระดับ)
http://telecomnewspk.com/2011/04/apple- ... 7-in-2015/
อีกแหล่ง forbes เอาข้อมูลจาก gartner เหมือนข้างบน
เอา iiOS เป็นพระเอก แต่โดนบีบจากคู่แข่งรอบด้านมาแย่ง Android ทำได้ดีกว่าที่ gartner พยากรณ์ไว้
(งานวิจัยของ gartner เป็นที่ได้รับการยอมรับเสมอ เรื่อง techology trend)
http://www.forbes.com/sites/toddhixon/2 ... s-of-2011/
ตลาด smart phone ก่อน
ไปอ่านบทความนี้นะครับ เป็น blog ของ nielsen จะเห็นว่าฟาดฟันกันหนักหน่วงเลยทีเดียว บางเดือน market share android เหนือกว่า iOS อยู่สูงมาก จน iPhone ออก 4S ออกมา ถึงกลับมาสูสีได้อีกครั้ง
http://blog.nielsen.com/nielsenwire/con ... n-android/
ผมดึงรูปมาให้ดู
ส่วน Tablet นั้น Android ยังเป็นรอง แต่ดู market share สูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างน่าวิตกสำหรับคน apple
iOS ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จากผู้สร้าง ครองเกือบ 90% ลดลงต่ำกว่า 50% ในที่สุด (ยังเป็นแค่การคาดการณ์ แต่เราก็เห็นกันอยู่ ว่า android ออกมาล้นตลาด เพราะมีลูกค้าทุกระดับ)
http://telecomnewspk.com/2011/04/apple- ... 7-in-2015/
อีกแหล่ง forbes เอาข้อมูลจาก gartner เหมือนข้างบน
เอา iiOS เป็นพระเอก แต่โดนบีบจากคู่แข่งรอบด้านมาแย่ง Android ทำได้ดีกว่าที่ gartner พยากรณ์ไว้
(งานวิจัยของ gartner เป็นที่ได้รับการยอมรับเสมอ เรื่อง techology trend)
http://www.forbes.com/sites/toddhixon/2 ... s-of-2011/
- KGYF
- Verified User
- โพสต์: 399
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 24
ขอบคุณ ดร. มากครับ
เทคโนโลยี ถ้าถึงยุคเปลี่ยน เทรนด์เปลี่ยน ต่อให้เป็นเบอร์หนึ่ง ก็อยู่ไม่ได้ครับ
ตัวอย่าง
เครื่องพิมพ์ดีด = คอมพิวเตอร์
kodak = ฟิล์ม = ดิจิตอล
เทป = เครื่องเล่นซีดี = mp3
ฯลฯ
เทคโนโลยี ถ้าถึงยุคเปลี่ยน เทรนด์เปลี่ยน ต่อให้เป็นเบอร์หนึ่ง ก็อยู่ไม่ได้ครับ
ตัวอย่าง
เครื่องพิมพ์ดีด = คอมพิวเตอร์
kodak = ฟิล์ม = ดิจิตอล
เทป = เครื่องเล่นซีดี = mp3
ฯลฯ
" สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ = การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง "
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 25
คุณ Ii'8N ความรู้เยอะและละเอียดมาก
ZTE กับ หัวเหว่ย น่าจะเป็นคู่แข่งที่สำคัญ ของ iPad
ผมเห็น Tablet ของ ZTE ก็สวยดี ที่สำคัญถูกอย่างมีนัยะสำคัญ
เหมือน สมัย แรกๆ ที่คอมพิวเตอร์ได้หวัน มาทำให้ Apple I ,Apple II เจ้ง
และเจ้งสนิทตอน IBM ออก IBM PC และช้ PC Dos ของ Microsoft
Androi น่าจะเป็น OS ที่ iOS กลัว
ZTE กับ หัวเหว่ย น่าจะเป็นคู่แข่งที่สำคัญ ของ iPad
ผมเห็น Tablet ของ ZTE ก็สวยดี ที่สำคัญถูกอย่างมีนัยะสำคัญ
เหมือน สมัย แรกๆ ที่คอมพิวเตอร์ได้หวัน มาทำให้ Apple I ,Apple II เจ้ง
และเจ้งสนิทตอน IBM ออก IBM PC และช้ PC Dos ของ Microsoft
Androi น่าจะเป็น OS ที่ iOS กลัว
Blueplanet
-
- Verified User
- โพสต์: 571
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 26
แต่ข้อเสียของ os ที่เป็น open source อย่าง
Android ก็คือ ความเสถียร ของระบบ ซึ่ง ทำให้
ผู้ผลิตแต่ละราย ต้อง ไปพัฒนา rom ของตัวเอง
ทำให้แต่ละ version ที่ออกมายัง มีหลายเผ่าพันธ์
ของ droid อีก ไม่รวม พวก it geeks ที่พัฒนา rom
มาใช้กันเอง ผมจึงเชื่อว่า apple ไม่ได้คิดว่า android
จะมาแย่งตลาด แต่อาจจะทำให้คนที่เริ่มใช้ tablet pc
แต่เบื่อหน่ายกับปัญหาต่างๆ เหล่านั้นกลับมาใช้ apple
และภัคดีกับ apple ยิ่งขึ้น
Android ก็คือ ความเสถียร ของระบบ ซึ่ง ทำให้
ผู้ผลิตแต่ละราย ต้อง ไปพัฒนา rom ของตัวเอง
ทำให้แต่ละ version ที่ออกมายัง มีหลายเผ่าพันธ์
ของ droid อีก ไม่รวม พวก it geeks ที่พัฒนา rom
มาใช้กันเอง ผมจึงเชื่อว่า apple ไม่ได้คิดว่า android
จะมาแย่งตลาด แต่อาจจะทำให้คนที่เริ่มใช้ tablet pc
แต่เบื่อหน่ายกับปัญหาต่างๆ เหล่านั้นกลับมาใช้ apple
และภัคดีกับ apple ยิ่งขึ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 1155
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 27
สมัย vdo tape มีการแข่งขันระหว่าง beta mag ของ sony กับ vsh ของ(เปิดเสรี)
เทคนิเชี่ยนส่วนมาก บอกว่า beta mag ดีกว่าแต่ในระยะยาวแล้ว beta mag ก็สู้ vsh ไม่ได้
เมื่อมีคนใช้ vsh มากกว่า soft ware ของ vsh ก็เลยมากกว่า สุดท้าย beta mag ก็แพ้
android (ของกูเกิ้ล) เลยใช้วิธีเดียวกับ ที่ vsh ล้ม beta mag
และหวังว่า android จะล้ม iOS แบบเดียวกัน
แม้ผลประโยชน์ ที่ google ได้ จะน้อยมาก (ผมไม่รู้ว่า google ได้อะไร)
แต่อย่างน้อย iOS ก็จะไม่ยิ่งใหญ่ เหมือนสมัย window ครองตลาด พีซี
จนใครๆ ก็แทบจะไม่มีที่ยืน ใน ธุรกิจนี้
เทคนิเชี่ยนส่วนมาก บอกว่า beta mag ดีกว่าแต่ในระยะยาวแล้ว beta mag ก็สู้ vsh ไม่ได้
เมื่อมีคนใช้ vsh มากกว่า soft ware ของ vsh ก็เลยมากกว่า สุดท้าย beta mag ก็แพ้
android (ของกูเกิ้ล) เลยใช้วิธีเดียวกับ ที่ vsh ล้ม beta mag
และหวังว่า android จะล้ม iOS แบบเดียวกัน
แม้ผลประโยชน์ ที่ google ได้ จะน้อยมาก (ผมไม่รู้ว่า google ได้อะไร)
แต่อย่างน้อย iOS ก็จะไม่ยิ่งใหญ่ เหมือนสมัย window ครองตลาด พีซี
จนใครๆ ก็แทบจะไม่มีที่ยืน ใน ธุรกิจนี้
Blueplanet
- KGYF
- Verified User
- โพสต์: 399
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 28
blueplanet เขียน:สมัย vdo tape มีการแข่งขันระหว่าง beta mag ของ sony กับ vsh ของ(เปิดเสรี)
เทคนิเชี่ยนส่วนมาก บอกว่า beta mag ดีกว่าแต่ในระยะยาวแล้ว beta mag ก็สู้ vsh ไม่ได้
เมื่อมีคนใช้ vsh มากกว่า soft ware ของ vsh ก็เลยมากกว่า สุดท้าย beta mag ก็แพ้
android (ของกูเกิ้ล) เลยใช้วิธีเดียวกับ ที่ vsh ล้ม beta mag
และหวังว่า android จะล้ม iOS แบบเดียวกัน
แม้ผลประโยชน์ ที่ google ได้ จะน้อยมาก (ผมไม่รู้ว่า google ได้อะไร)
แต่อย่างน้อย iOS ก็จะไม่ยิ่งใหญ่ เหมือนสมัย window ครองตลาด พีซี
จนใครๆ ก็แทบจะไม่มีที่ยืน ใน ธุรกิจนี้
sony เลยมาเอาคืน ที่ BD ชิมิครับ
" สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ = การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง "
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
-
- Verified User
- โพสต์: 423
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 29
ถ้าพูดถึงเฉพาะตลาด smart phone กับ tablet ผมว่า apple จะยังอยู่ในตลาด smart phone และ tablet ได้อีกหลายปีครับ คนที่จะแย่ไปก่อนคือ พวก RIM (blackberry) , windows mobile , symbian (อันนี้แย่ไปแล้วครับ ) พวกนี้จะต้องโดน หุ่นกระป๋องเขียว กับผลไม้แหว่ง กินmarket share จนอยู่ไม่ได้ และสุดท้าย ก็จะเหลือแค่ หุ่นกระป๋องเขียวกับ ผลไม้แหว่ง แย่ง mkt share กันเอง ซึ่งไม่แน่อาจจะไม่มีใครเป็นผู้แพ้ ผู้ชนะครับ คงคล้ายๆกับ pepsi กับ coke ที่มีรายย่อยๆออกมาสู้เรื่อยๆ แต่ก็ไม่ได้มีใครแย่ลงไปซักคน (แต่ตอนนี้ผมก็ชอบ big cola นะ )
แต่ในอนาคตสิ ผมว่าสำคัญกว่าครับ เมื่อขาด vision ที่จะเป็นคนบุกเบิกสิ่งใหม่ๆในตลาด IT ไป apple จะอยู่อย่างไร? จะหากินกับตลาดเดิมๆที่ จ๊อปส์ เป็นคนปูทางไว้ให้ได้นานแค่ไหน
และที่น่าสนใจกว่านั้นคือ เมื่อไหร่จะมีคนแบบ จ๊อปส์ คนต่อไป และคนนี้จะเป็นผู้นำของบริษัทไหน ผมว่าตรงนี้น่าจับตามองมากครับ แค่คิดก็ตื่นเต้นแล้วครับ ผมอยากเห็นวันนั้นมากๆ และจะตื่นเต้นกว่านั้นถ้าผมได้มีโอกาสถือหุ้นของบริษัทที่จะเป็น จ๊อปส์ คนต่อไป
แต่ในอนาคตสิ ผมว่าสำคัญกว่าครับ เมื่อขาด vision ที่จะเป็นคนบุกเบิกสิ่งใหม่ๆในตลาด IT ไป apple จะอยู่อย่างไร? จะหากินกับตลาดเดิมๆที่ จ๊อปส์ เป็นคนปูทางไว้ให้ได้นานแค่ไหน
และที่น่าสนใจกว่านั้นคือ เมื่อไหร่จะมีคนแบบ จ๊อปส์ คนต่อไป และคนนี้จะเป็นผู้นำของบริษัทไหน ผมว่าตรงนี้น่าจับตามองมากครับ แค่คิดก็ตื่นเต้นแล้วครับ ผมอยากเห็นวันนั้นมากๆ และจะตื่นเต้นกว่านั้นถ้าผมได้มีโอกาสถือหุ้นของบริษัทที่จะเป็น จ๊อปส์ คนต่อไป
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเดินทางสายนี้คือ จิตใจที่มั่นคงและแน่วแน่.....ส่วนความรู้เป็นสิ่งที่สามารถไขว่คว้าเพื่อตามให้ทันผู้อื่นได้ สู้ต่อไป...
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ผู้นำกับหุ้น/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 30
http://www.blognone.com/node/31990
Forrester บอกแอปเปิลจะเสื่อมถอยแบบโซนี่ในไม่ช้า
By: mk
FounderAndroidRed HatWindows
mk's blog on 26/04/12 15:46 Tags:
Apple
CEO
Forrester
Sony
Apple
George Colony ซีอีโอของบริษัทวิจัยชื่อดัง Forrester เขียนบทวิเคราะห์ลงบล็อกของบริษัทว่าแอปเปิลจะเริ่มเสื่อมถอยลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ด้วยเหตุผลว่าขาดผู้นำที่โดดเด่นอย่างสตีฟ จ็อบส์
Colony อ้างทฤษฎีการบริหารระดับองค์กรของ Max Weber ในหนังสือ The Theory of Social and Economic Organization ว่าองค์กรใดๆ สามารถจัดหมวดเป็นหนึ่งในสามประเภท ได้แก่ องค์กรที่มีกฎระเบียบและโครงสร้างเป็นแบบแผน (เช่น รัฐบาลหรือบริษัทแบบ IBM), องค์กรที่ยึดธรรมเนียมประเพณี (เช่น ศาสนจักร) และองค์กรที่ยิดอิงกับผู้นำที่โดดเด่น มีพรสวรรค์และคาริสมา (แอปเปิลอยู่ในหมวดนี้)
ปัญหาขององค์กรแบบที่สามคือการสืบทอดอำนาจที่มักมีปัญหา เพราะผู้นำรุ่นต่อมาจำเป็นต้องโดดเด่นในระดับเดียวกันด้วย ซึ่งเป็นพรสวรรค์ที่สอนกันไม่ได้ และ Colony เห็นว่า Tim Cook ขาดคุณสมบัติในเรื่องนี้ (เขาบอกว่า Jonathan Ive หรือ Scott Forstall เหมาะกว่า)
เขาบอกว่าโมเมนตัมของแอปเปิลที่จ็อบส์สร้างเอาไว้ จะคงอยู่ได้อีก 24-48 เดือน และถ้าไม่มีผู้นำที่โดดเด่นขึ้นมาทดแทน แอปเปิลจะเปลี่ยนจาก "บริษัทที่ยิ่งใหญ่" (great company) ลงมาเหลือแค่ "บริษัทที่ดี" (good company) ที่ถดถอยลงทั้งในเชิงนวัตกรรมและรายได้
เขายกตัวอย่างบริษัทที่เคยประสบชะตากรรมนี้มาก่อน ได้แก่
โซนี่ (หลังยุคซีอีโอ Akio Morita ผู้ก่อตั้งบริษัท)
โพลารอยด์ (หลังยุคซีอีโอ Edwin H. Land ผู้ก่อตั้งบริษัท)
แอปเปิลยุคแรก (หลังสตีฟ จ็อบส์ออกจากบริษัท)
ดิสนีย์ (20 ปีให้หลังจากวอลต์ ดิสนีย์ เสียชีวิต)
Colony บอกว่าแอปเปิลจะซ้ำรอยบริษัทเหล่านี้เช่นกัน
ที่มา - Forrester Blog
http://blogs.forrester.com/george_colon ... apple_sony
Apple = Sony
Posted by George Colony on April 25, 2012
Blog post info and actions
75 Recommendations
Print
Email
163 comments
Blog post body
Apple will decline in the post Steve Jobs era. Here's why.
Sociologist Max Weber created a typology of organizations in his 1947 book The Theory of Social and Economic Organization. He described three categories: 1) Legal/bureaucratic (think IBM or the U.S. government), 2) Traditional (e.g., the Catholic Church) and 3) Charismatic (run by special, magical individuals).
Charismatic organizations are headed by people with the "gift of grace" (charisma from the Greek). "He is set apart from ordinary men and treated as endowed with supernatural, superhuman, or at least specifically exceptional powers or qualities." Followers and disciples have absolute trust in the leader, fed by that leader's access to nearly magical powers. "Charismatic authority repudiates the past, and is in this sense a specifically revolutionary force."
Sound familiar? Quoting from Adam Lashinky's book Inside Apple: "...Jobs made all the decisions." "He was the final arbiter on matters of taste." Lashinky points out that Apple was an entrepreneurial company, "...but its people generally are not entrepreneurs -- and they are not encouraged to be." In other words, there was one charismatic entrepreneur at the center (note Lashinsky's org chart from Fortune magazine, above) with followers connected via "...an emotional form of communal relationship" in the words of Weber, with the leader.
One of the primary challenges with charismatic organizations is succession. In bureaucratic organizations codified processes like elections yield new leaders. In traditional organizations, long-held rituals (smoke emitting from the Sistine Chapel) elevate the new head. In charismatic organizations, the magical leader must be succeeded by another charismatic -- the emotional connection of employees and (in the case of Apple) customers demands it. Apple has chosen a proven and competent executive to succeed Jobs. But his legal/bureaucratic approach will prove to be a mismatch for an organization that feeds off the gift of grace. What about Apple University, Jobs' attempt to prepare the company for when he was gone? Back to Weber: "Charisma can only be awakened and tested, it cannot be learned or taught."
Without knowing them personally, I would look to Apple executives Jon Ive or Scott Forstall to be CEO. From on far they appear to have some of the charisma and outspoken design sense to legitimately lead the company.
When Steve Jobs departed, he took three things with him: 1) singular charismatic leadership that bound the company together and elicited extraordinary performance from its people; 2) the ability to take big risks, and 3) an unparalleled ability to envision and design products. Apple's momentum will carry it for 24-48 months. But without the arrival of a new charismatic leader it will move from being a great company to being a good company, with a commensurate step down in revenue growth and product innovation. Like Sony (post Morita), Polaroid (post Land), Apple circa 1985 (post Jobs), and Disney (in the 20 years post Walt Disney), Apple will coast, and then decelerate.
Forrester บอกแอปเปิลจะเสื่อมถอยแบบโซนี่ในไม่ช้า
By: mk
FounderAndroidRed HatWindows
mk's blog on 26/04/12 15:46 Tags:
Apple
CEO
Forrester
Sony
Apple
George Colony ซีอีโอของบริษัทวิจัยชื่อดัง Forrester เขียนบทวิเคราะห์ลงบล็อกของบริษัทว่าแอปเปิลจะเริ่มเสื่อมถอยลงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ด้วยเหตุผลว่าขาดผู้นำที่โดดเด่นอย่างสตีฟ จ็อบส์
Colony อ้างทฤษฎีการบริหารระดับองค์กรของ Max Weber ในหนังสือ The Theory of Social and Economic Organization ว่าองค์กรใดๆ สามารถจัดหมวดเป็นหนึ่งในสามประเภท ได้แก่ องค์กรที่มีกฎระเบียบและโครงสร้างเป็นแบบแผน (เช่น รัฐบาลหรือบริษัทแบบ IBM), องค์กรที่ยึดธรรมเนียมประเพณี (เช่น ศาสนจักร) และองค์กรที่ยิดอิงกับผู้นำที่โดดเด่น มีพรสวรรค์และคาริสมา (แอปเปิลอยู่ในหมวดนี้)
ปัญหาขององค์กรแบบที่สามคือการสืบทอดอำนาจที่มักมีปัญหา เพราะผู้นำรุ่นต่อมาจำเป็นต้องโดดเด่นในระดับเดียวกันด้วย ซึ่งเป็นพรสวรรค์ที่สอนกันไม่ได้ และ Colony เห็นว่า Tim Cook ขาดคุณสมบัติในเรื่องนี้ (เขาบอกว่า Jonathan Ive หรือ Scott Forstall เหมาะกว่า)
เขาบอกว่าโมเมนตัมของแอปเปิลที่จ็อบส์สร้างเอาไว้ จะคงอยู่ได้อีก 24-48 เดือน และถ้าไม่มีผู้นำที่โดดเด่นขึ้นมาทดแทน แอปเปิลจะเปลี่ยนจาก "บริษัทที่ยิ่งใหญ่" (great company) ลงมาเหลือแค่ "บริษัทที่ดี" (good company) ที่ถดถอยลงทั้งในเชิงนวัตกรรมและรายได้
เขายกตัวอย่างบริษัทที่เคยประสบชะตากรรมนี้มาก่อน ได้แก่
โซนี่ (หลังยุคซีอีโอ Akio Morita ผู้ก่อตั้งบริษัท)
โพลารอยด์ (หลังยุคซีอีโอ Edwin H. Land ผู้ก่อตั้งบริษัท)
แอปเปิลยุคแรก (หลังสตีฟ จ็อบส์ออกจากบริษัท)
ดิสนีย์ (20 ปีให้หลังจากวอลต์ ดิสนีย์ เสียชีวิต)
Colony บอกว่าแอปเปิลจะซ้ำรอยบริษัทเหล่านี้เช่นกัน
ที่มา - Forrester Blog
http://blogs.forrester.com/george_colon ... apple_sony
Apple = Sony
Posted by George Colony on April 25, 2012
Blog post info and actions
75 Recommendations
163 comments
Blog post body
Apple will decline in the post Steve Jobs era. Here's why.
Sociologist Max Weber created a typology of organizations in his 1947 book The Theory of Social and Economic Organization. He described three categories: 1) Legal/bureaucratic (think IBM or the U.S. government), 2) Traditional (e.g., the Catholic Church) and 3) Charismatic (run by special, magical individuals).
Charismatic organizations are headed by people with the "gift of grace" (charisma from the Greek). "He is set apart from ordinary men and treated as endowed with supernatural, superhuman, or at least specifically exceptional powers or qualities." Followers and disciples have absolute trust in the leader, fed by that leader's access to nearly magical powers. "Charismatic authority repudiates the past, and is in this sense a specifically revolutionary force."
Sound familiar? Quoting from Adam Lashinky's book Inside Apple: "...Jobs made all the decisions." "He was the final arbiter on matters of taste." Lashinky points out that Apple was an entrepreneurial company, "...but its people generally are not entrepreneurs -- and they are not encouraged to be." In other words, there was one charismatic entrepreneur at the center (note Lashinsky's org chart from Fortune magazine, above) with followers connected via "...an emotional form of communal relationship" in the words of Weber, with the leader.
One of the primary challenges with charismatic organizations is succession. In bureaucratic organizations codified processes like elections yield new leaders. In traditional organizations, long-held rituals (smoke emitting from the Sistine Chapel) elevate the new head. In charismatic organizations, the magical leader must be succeeded by another charismatic -- the emotional connection of employees and (in the case of Apple) customers demands it. Apple has chosen a proven and competent executive to succeed Jobs. But his legal/bureaucratic approach will prove to be a mismatch for an organization that feeds off the gift of grace. What about Apple University, Jobs' attempt to prepare the company for when he was gone? Back to Weber: "Charisma can only be awakened and tested, it cannot be learned or taught."
Without knowing them personally, I would look to Apple executives Jon Ive or Scott Forstall to be CEO. From on far they appear to have some of the charisma and outspoken design sense to legitimately lead the company.
When Steve Jobs departed, he took three things with him: 1) singular charismatic leadership that bound the company together and elicited extraordinary performance from its people; 2) the ability to take big risks, and 3) an unparalleled ability to envision and design products. Apple's momentum will carry it for 24-48 months. But without the arrival of a new charismatic leader it will move from being a great company to being a good company, with a commensurate step down in revenue growth and product innovation. Like Sony (post Morita), Polaroid (post Land), Apple circa 1985 (post Jobs), and Disney (in the 20 years post Walt Disney), Apple will coast, and then decelerate.