เก่งหรือเฮง (2) โดยวิบูลย์ พึงประเสริฐ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
PERFECT LUCKY
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 795
ผู้ติดตาม: 0

เก่งหรือเฮง (2) โดยวิบูลย์ พึงประเสริฐ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

Value Way ฉบับวันที่ 22 ธันวาคม 2551
โดยวิบูลย์ พึงประเสริฐ
เก่งหรือเฮง (2)

บทความฉบับที่แล้วกล่าวถึงหนังสือ Fooled by Ramdomness เขียนโดยนาซิม นิโคลัส ทาเล็บ (Nassim Nicholas Taleb) ในเรื่องของความบังเอิญในการทำกำไรจากการลงทุน มีนักลงทุนจำนวนมากประสบความสำเร็จจากการลงทุนในตลาดหุ้นมาเป็นเวลานานหลายปี จนคิดว่ามาจากฝีมือของตนเองล้วนๆ แต่ความจริงแล้วเขาเหล่านั้นอาจเพียงแค่โชคดีก็ได้

ในหนังสือดังกล่าวได้เขียนเอาไว้ถึงอุปนิสัยของนักลงทุนที่รวยด้วยโชคแต่ต้องหมดตัวในเวลาต่อมาไว้ดังนี้

ตั้งเป้าว่าความเชื่อของตนมีความถูกต้องมากเกินไป พวกเขาไม่เคยมองถึงข้อเท็จจริงที่ว่าการซื้อขายโดยการอิงจากตัวแปรทางเศรษฐกิจที่เคยใช้ได้ผลในอดีตอาจเป็นแค่เรื่องบังเอิญเท่านั้น ที่แย่กว่านั้นก็คือการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจอาจเป็นการปกปิดความบังเอิญที่ซ่อนอยู่ก็เป็นได้ เขาอาจเข้ามาในตลาดตอนที่วิธีการของเขาใช้ได้ผล แต่เขาไม่เคยทดสอบว่าจะเกิดอะไรขึ้นในทิศทางตรงกันข้าม บางช่วงเศรษฐกิจทำให้นักเล่นหุ้นผิดหวัง และในบางครั้งเศรษฐกิจกลับช่วยพวกเขาก็มี

ในช่วงต้นยุค 1980 เงินดอลลาร์มีมูลค่าสูงเกินจริง นักค้าเงินซึ่งใช้สัญชาตญานทางเศรษฐกิจเพื่อทำการซื้อขายเงินสกุลต่างประเทศล้วนแต่จบเห่ไปตามๆกัน แต่ต่อมาคนที่ทำแบบเดียวกันกลับรวยขึ้น (หลังจากที่กลุ่มแรกม้วนเสื่อไปแล้ว) นี่เป็นเรื่องของความบังเอิญ เหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันก็คือ ใครที่พยายามช้อนซื้อหุ้นระยะสั้นของญี่ปุ่นในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 ก็เจอโชคร้ายแบบเดียวกัน ต่อมามีไม่กี่คนเท่านั้นที่เอาตัวรอดจนสามารถหักกลบลบหนี้ของตนได้กลังจากที่ต้องเจอกับสภาพตลาดพังในช่วงทศวรรษ 1990 อีกครั้ง ในช่วงที่เขียนหนังสือเล่มนี้ มีกลุ่มนักค้าหุ้นที่เรียกกันว่ามหภาคกำลังร่วงเหมือนแมลงวันอยู่ และมีนักลงทุนระดับตำนาน (ที่จริงต้องเรียกว่าโชคดีมากกว่า) อย่างจูเลียน โรเบิร์ตสันต้องพับฐานไปในปี 2000 หลังจากที่เป็นดาวดวงเด่นมานาน สิ่งที่เห็นได้ชัดก็คือไม่มีอะไรขาดความแม่ยำเกินไปกว่าการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจเพื่อซื้อขายหุ้นหรือพันธบัตรอีกแล้ว

มีแนวโน้มที่จะพยายามเปลี่ยนเรื่อง เมื่อนักเล่นหุ้นเริ่มขาดทุน พวกเขาจะกลายเป็นนักลงทุนระยะยาว จากนั้นก็มีการเปลี่ยนสภาพกลับไปกลับมาระหว่างนักเล่นหุ้นกับนักลงทุนเพื่อทำให้สอดคล้องกับชะตาที่พลิกผันของตนเอง การลงทุนในระยะาวไม่ใช่เรื่องที่ผิดที่อย่างใด แต่เราต้องไม่นำไปสับสนปนเปกับการซื้อขายในระยะสั้น ผู้คนจำนวนมากกลายเป็นนักลงทุนระยะยาวหลังจากที่เขาเริ่มขาดทุน พวกเขาพยายามผัดผ่อนการตัดสินใจขายหุ้นทิ้งออกไป ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิเสธความจริง

ไม่มีแผนงานล่วงหน้าว่าจะทำอะไรเมื่อเกิดขาดทุนขึ้นมา พวกเขาไม่ได้ตระหนักถึงความเป็นไปได้ดังกล่าว คนจำนวนมากซื้อหุ้นเพิ่มขึ้นหลังจากที่ตลาดตกลงอย่างหนัก แต่ไม่ใช่การซื้อที่สอดตล้องกับแผนงานที่วางเอาไว้ล่วงหน้า

ขาดการตัดสินใจที่เด็ดเดี่ยว ส่วนมากเนื่องมากจากขาดการทบทวนสภาพเพื่อหยุดยั้งภาวะขาดทุน นักเล่นหุ้นไม่ชอบขายในตอนที่เคยมีราคาดีกว่านี้ พวกเขาไม่เคยมองว่าบางทีวิธีการในการจำแนกมูลค่าของพวกเขาอาจจะผิดก็ได้ แต่พยายามมองว่าการที่ตลาดตกสอดคล้องกับวิธีการวัดมูลค่าของพวกเขาแล้ว พวกเขาอาจคิดถูกก็เป็นได้ แต่ทว่าพวกเขาไม่ได้เตรียมเงินส่วนหนึ่งเอาไว้รับมือกับความเป็นไปได้ที่วิธีการของพวกเขาอาจมีข้อบกพร่อง

ปฏิเสธความจริง เมื่อมีการขาดทุนเกิิดขึ้น พวกเขาไม่สามารถยอมรับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นอย่างชัดเจน ราคาหุ้นที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอสูญเสียความเป็นจริงไปแล้วถูกแทนที่ด้วยมูลค่าที่เป็นนามธรรม นี่เป็นรูปแบบปฏิเสธความจริงปกติทั่วไป พวกเขาบอกตัวเองว่านี่เป็นผลมาจากการจ่ายชำระหนี้ปกติ หรือยอดขายลดลงชั่วคราวเท่านั้นเอง พวกเขาปฏิเสธข่าวสารที่มาจากข้อเท็จจริงอยู่ตลอดเวลา

ทำไมนักเล่นหุ้นที่ทำผิดพลาดจึงกลายมาเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จได้ สาเหตุมาจากหลักการง่ายๆของความบังเอิญนั่นเอง เรามองว่าพวกเขาเก่งเนื่องจากพวกเขาทำงเินได้ แต่ทว่าใครก็สามารถทำงเินจากตลาดการเงินอันเป็นผลมาจากความบังเอิญล้วนๆได้
Miracle Happens Everyday !
"ปาฎิหารย์คือการเดินบนผืนดินและมีความสุขในทุกย่างก้าว" :)
โพสต์โพสต์