อุตสาหกรรมยามวิกฤติ/ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
- oatty
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2444
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมยามวิกฤติ/ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 6 มกราคม 2552
ในช่วงเวลาของวิกฤติเศรษฐกิจ ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมแต่ละกลุ่มนั้นไม่เท่ากัน วิธีที่จะดูว่ายอดขายของอุตสาหกรรมไหนจะลดลงมากหรือน้อยแค่ไหนก็คือ จะต้องดูถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยลงหรือกำลังจะมีรายได้น้อยลงเนื่องจากพวกเขาจำนวนมากได้รับเงินเดือนหรือโบนัสอย่างอื่นน้อยลง หรือบางคนอาจจะต้องตกงาน ลองคิดดูว่าถ้าเรามีรายได้น้อยลงหรือคิดว่าอนาคตรายได้ของเราอาจจะลดลงมากเราจะคิดอย่างไรในการใช้จ่าย จากตรงนี้เราก็พอจะบอกได้ว่าอุตสาหกรรมไหนจะถูกกระทบรุนแรงหรืออุตสาหกรรมไหนจะถูกกระทบน้อย
อุตสาหกรรมแรกที่น่าจะได้รับผลกระทบอย่างหนักที่สุดกลุ่มหนึ่งก็คือ อุตสาหกรรมรถยนต์ เหตุผลก็คือ มันเป็นรายจ่ายรายการที่ค่อนข้างจะสูงและที่สำคัญก็คือ มันเป็นรายการสินค้า “ฟุ่มเฟือย” ที่ยังไม่ค่อยจำเป็นสำหรับคนที่ยังไม่มีรถยนต์ใช้ หรือในกรณีของคนที่มีฐานะพอจะมีรถยนต์ได้และมีรถยนต์ใช้อยู่แล้วและจะต้องเปลี่ยนรถใหม่เนื่องจากรถยนต์คันเดิมเก่าแล้ว ในทั้งสองกรณี เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ พวกเขาก็สามารถเลื่อนการซื้อรถยนต์ออกไปได้อย่างน้อยก็สองสามปีขึ้นไป ดังนั้น เราจึงได้ยินข่าวผู้ผลิตรถยนต์ของอเมริกากำลังมีปัญหาถึงขนาดจะล้มละลายกันทุกบริษัท ในเมืองไทยเอง ในช่วงวิกฤติปี 2540 ยอดขายรถยนต์ก็ลดลงไปมหาศาลจากยอดขายปีละ 6-700,000 คัน เหลือเพียงแสนกว่าคันในปี 2541 ในปี 2552 นี้ก็คาดกันว่ายอดการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยจะลดลงถึง 30% จากปีก่อน
อุตสาหกรรมบ้านจัดสรรเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่จะถูกกระทบหนัก เหตุผลก็คล้ายกับรถยนต์ เพราะบ้านคือรายการที่มีราคาสูงมากที่สุดของคนส่วนใหญ่ นอกจากนั้น การซื้อมักจะต้องอาศัยการผ่อนส่งซึ่งเป็นเรื่องที่ผูกพันระยะยาวมาก ในภาวะที่คนไม่แน่ใจในเรื่องของตำแหน่งงานว่าเขาจะถูกปลดหรือลดเงินเดือนลงหรือไม่ เขาก็มักจะเลื่อนการซื้อออกไปก่อน ในอีกด้านหนึ่ง ในยามที่เศรษฐกิจไม่ดีมาก ๆ ผู้บริโภคก็อาจจะซื้อบ้านในราคาที่ต่ำลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงที่เศรษฐกิจดี ดังนั้น โอกาสที่รายได้ของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะลดลงอย่างน่าตกใจน่าจะมีสูง นอกจากบ้านแล้ว แน่นอน อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเช่นวัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้าและอื่น ๆ ก็จะถูกกระทบตามกันไป
การท่องเที่ยวเป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่อาจจะถูกกระทบโดยเฉพาะการท่องเที่ยวของชาวต่างประเทศที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทย เพราะการท่องเที่ยวนั้นก็เป็นรายการใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงและดูเหมือนจะเป็น “สิ่งฟุ่มเฟือย” เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวนั้นเป็น อุตสาหกรรมที่ “เติบโต” ต่อเนื่องมายาวนาน ส่วนหนึ่งผมคิดว่าเป็นพฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากเรื่องของโลกาภิวัฒน์และความก้าวหน้าของการเดินทางที่รวดเร็วและมีราคาถูกลงมาก อีกส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องของการติดต่อค้าขายหรือความสัมพันธ์ของคนที่มีลักษณะข้ามประเทศมากขึ้น ดังนั้น ธุรกิจการท่องเที่ยวอาจจะมียอดขายไม่ลดลงมามากอย่างที่กลัวกัน
ธุรกิจส่งออกเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่นักวิเคราะห์จำนวนมากมองว่าจะถูกกระทบหนักเนื่องจากประเทศไทยมีสัดส่วนรายได้จากการส่งออกมหาศาล ข้อนี้ผมคิดว่าคงต้องมองเป็นอุตสาหกรรม ๆ ไป โดยรวมแล้วผมคิดว่าการส่งออกของไทยอาจจะไม่ลดลงหรือลดลงไม่มาก เหตุผลก็คือ สินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่ไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือยที่คนจะลดการใช้ลงในยามวิกฤติ คนอเมริกันหรือยุโรปหรือประเทศที่ร่ำรวยนั้น ในยามวิกฤติพวกเขาอาจจะลดการใช้สินค้าหรือบริการที่มีราคาแพงแต่น่าจะยังใช้สินค้าที่มีราคาถูกอยู่ ดังนั้น โดยรวมแล้วผมคิดว่าการส่งออกซึ่งในขณะที่เขียนนี้ดูเหมือนว่ายอดส่งออกของไทยจะลดลงมากเป็นประวัติการณ์ แต่นี่อาจจะเป็นเรื่องของการชะลอการซื้อสินค้าเพื่อลดสต็อกสินค้า เมื่อสต็อกลดลงแล้วผมคิดว่าผู้นำเข้าก็จะต้องกลับมาสั่งสินค้าใหม่ อย่างไรก็ตามสินค้าส่งออกบางรายการเช่นพวกชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิกส์ที่ต้องเอาไปประกอบเป็นสินค้าคงทนนั้นก็อาจจะถูกกระทบอยู่ เพราะสินค้าเหล่านั้นมักจะถูกเลื่อนการซื้อออกไปในยามวิกฤติ
ธุรกิจที่น่าจะได้รับผลกระทบน้อยแม้ในยามวิกฤติคือธุรกิจที่เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน กลุ่มใหญ่ ๆ น่าจะประกอบด้วยกลุ่มสาธารณูปโภคเช่น ไฟฟ้า น้ำ พลังงาน และรวมถึงการสื่อสารเช่นโทรศัพท์ เหล่านี้คือสิ่งที่คนจำเป็นต้องใช้และมักจะไม่ลดการใช้ลง ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะมันไม่ใช่รายการใหญ่ในการใช้แต่ละครั้งหรือแต่ละวัน เช่นเดียวกัน อาหารและสินค้าอุปโภคประจำวันที่มีราคาไม่สูงก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่น่าจะถูกกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจเพราะคนจะไม่ลดการบริโภคลง และนี่น่าจะรวมไปถึงอุตสาหกรรมบันเทิงที่มีราคาถูกทั้งหลายที่คนจะยังใช้จ่ายอยู่ สุดท้าย ผู้ค้าปลีกที่เป็นผู้ขายสินค้าเหล่านั้นก็น่าจะยังสามารถรักษายอดขายอยู่ได้
และเมื่อพูดถึงสิ่งจำเป็นในชีวิต ผมก็คงต้องพูดต่อถึงธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน การรักษาพยาบาลนั้น แน่นอนเป็นสิ่งจำเป็น อย่างไรก็ตาม วิกฤติเศรษฐกิจก็อาจจะทำให้คนจำนวนหนึ่งหันไปใช้บริการโรงพยาบาลของรัฐหรือซื้อยารักษาตัวเอง ดังนั้น ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนก็อาจจะถูกกระทบบ้างแม้ว่าอาจจะไม่มากนัก เพราะสิ่งทดแทนนั้นอาจจะไม่ดีพอสำหรับคนไข้ที่ยังพอมีกำลังเงินอยู่บ้าง
ทั้งหมดนั้นก็เป็นการวิเคราะห์แบบกว้าง ๆ บางบริษัทในอุตสาหกรรมที่เลวร้ายอาจจะเอาตัวรอดได้ด้วยปัจจัยพิเศษเฉพาะตัว เช่นเดียวกัน บางบริษัทในอุตสาหกรรมที่ถูกกระทบน้อยก็อาจจะเอาตัวไม่รอดเนื่องจากความอ่อนแอของบริษัทเอง ความรู้เรื่องแนวโน้มของกิจการในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจนั้นเป็นประโยชน์มหาศาล เพราะมันหมายถึงการล้มเหลวในการลงทุนหรือการที่สามารถทำกำไรได้มหาศาล อย่าลืมว่าในวิกฤตินั้นมีโอกาส ขึ้นอยู่กับว่าเราไปฉวยที่โอกาสหรือไปประสบกับวิกฤติ
ในช่วงเวลาของวิกฤติเศรษฐกิจ ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมแต่ละกลุ่มนั้นไม่เท่ากัน วิธีที่จะดูว่ายอดขายของอุตสาหกรรมไหนจะลดลงมากหรือน้อยแค่ไหนก็คือ จะต้องดูถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยลงหรือกำลังจะมีรายได้น้อยลงเนื่องจากพวกเขาจำนวนมากได้รับเงินเดือนหรือโบนัสอย่างอื่นน้อยลง หรือบางคนอาจจะต้องตกงาน ลองคิดดูว่าถ้าเรามีรายได้น้อยลงหรือคิดว่าอนาคตรายได้ของเราอาจจะลดลงมากเราจะคิดอย่างไรในการใช้จ่าย จากตรงนี้เราก็พอจะบอกได้ว่าอุตสาหกรรมไหนจะถูกกระทบรุนแรงหรืออุตสาหกรรมไหนจะถูกกระทบน้อย
อุตสาหกรรมแรกที่น่าจะได้รับผลกระทบอย่างหนักที่สุดกลุ่มหนึ่งก็คือ อุตสาหกรรมรถยนต์ เหตุผลก็คือ มันเป็นรายจ่ายรายการที่ค่อนข้างจะสูงและที่สำคัญก็คือ มันเป็นรายการสินค้า “ฟุ่มเฟือย” ที่ยังไม่ค่อยจำเป็นสำหรับคนที่ยังไม่มีรถยนต์ใช้ หรือในกรณีของคนที่มีฐานะพอจะมีรถยนต์ได้และมีรถยนต์ใช้อยู่แล้วและจะต้องเปลี่ยนรถใหม่เนื่องจากรถยนต์คันเดิมเก่าแล้ว ในทั้งสองกรณี เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ พวกเขาก็สามารถเลื่อนการซื้อรถยนต์ออกไปได้อย่างน้อยก็สองสามปีขึ้นไป ดังนั้น เราจึงได้ยินข่าวผู้ผลิตรถยนต์ของอเมริกากำลังมีปัญหาถึงขนาดจะล้มละลายกันทุกบริษัท ในเมืองไทยเอง ในช่วงวิกฤติปี 2540 ยอดขายรถยนต์ก็ลดลงไปมหาศาลจากยอดขายปีละ 6-700,000 คัน เหลือเพียงแสนกว่าคันในปี 2541 ในปี 2552 นี้ก็คาดกันว่ายอดการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยจะลดลงถึง 30% จากปีก่อน
อุตสาหกรรมบ้านจัดสรรเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่จะถูกกระทบหนัก เหตุผลก็คล้ายกับรถยนต์ เพราะบ้านคือรายการที่มีราคาสูงมากที่สุดของคนส่วนใหญ่ นอกจากนั้น การซื้อมักจะต้องอาศัยการผ่อนส่งซึ่งเป็นเรื่องที่ผูกพันระยะยาวมาก ในภาวะที่คนไม่แน่ใจในเรื่องของตำแหน่งงานว่าเขาจะถูกปลดหรือลดเงินเดือนลงหรือไม่ เขาก็มักจะเลื่อนการซื้อออกไปก่อน ในอีกด้านหนึ่ง ในยามที่เศรษฐกิจไม่ดีมาก ๆ ผู้บริโภคก็อาจจะซื้อบ้านในราคาที่ต่ำลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงที่เศรษฐกิจดี ดังนั้น โอกาสที่รายได้ของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะลดลงอย่างน่าตกใจน่าจะมีสูง นอกจากบ้านแล้ว แน่นอน อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเช่นวัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้าและอื่น ๆ ก็จะถูกกระทบตามกันไป
การท่องเที่ยวเป็นอีกอุตสาหกรรมหนึ่งที่อาจจะถูกกระทบโดยเฉพาะการท่องเที่ยวของชาวต่างประเทศที่เข้ามาเที่ยวในประเทศไทย เพราะการท่องเที่ยวนั้นก็เป็นรายการใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูงและดูเหมือนจะเป็น “สิ่งฟุ่มเฟือย” เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม การท่องเที่ยวนั้นเป็น อุตสาหกรรมที่ “เติบโต” ต่อเนื่องมายาวนาน ส่วนหนึ่งผมคิดว่าเป็นพฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากเรื่องของโลกาภิวัฒน์และความก้าวหน้าของการเดินทางที่รวดเร็วและมีราคาถูกลงมาก อีกส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องของการติดต่อค้าขายหรือความสัมพันธ์ของคนที่มีลักษณะข้ามประเทศมากขึ้น ดังนั้น ธุรกิจการท่องเที่ยวอาจจะมียอดขายไม่ลดลงมามากอย่างที่กลัวกัน
ธุรกิจส่งออกเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่นักวิเคราะห์จำนวนมากมองว่าจะถูกกระทบหนักเนื่องจากประเทศไทยมีสัดส่วนรายได้จากการส่งออกมหาศาล ข้อนี้ผมคิดว่าคงต้องมองเป็นอุตสาหกรรม ๆ ไป โดยรวมแล้วผมคิดว่าการส่งออกของไทยอาจจะไม่ลดลงหรือลดลงไม่มาก เหตุผลก็คือ สินค้าส่งออกของไทยส่วนใหญ่ไม่ใช่สินค้าฟุ่มเฟือยที่คนจะลดการใช้ลงในยามวิกฤติ คนอเมริกันหรือยุโรปหรือประเทศที่ร่ำรวยนั้น ในยามวิกฤติพวกเขาอาจจะลดการใช้สินค้าหรือบริการที่มีราคาแพงแต่น่าจะยังใช้สินค้าที่มีราคาถูกอยู่ ดังนั้น โดยรวมแล้วผมคิดว่าการส่งออกซึ่งในขณะที่เขียนนี้ดูเหมือนว่ายอดส่งออกของไทยจะลดลงมากเป็นประวัติการณ์ แต่นี่อาจจะเป็นเรื่องของการชะลอการซื้อสินค้าเพื่อลดสต็อกสินค้า เมื่อสต็อกลดลงแล้วผมคิดว่าผู้นำเข้าก็จะต้องกลับมาสั่งสินค้าใหม่ อย่างไรก็ตามสินค้าส่งออกบางรายการเช่นพวกชิ้นส่วนอิเล็กโทรนิกส์ที่ต้องเอาไปประกอบเป็นสินค้าคงทนนั้นก็อาจจะถูกกระทบอยู่ เพราะสินค้าเหล่านั้นมักจะถูกเลื่อนการซื้อออกไปในยามวิกฤติ
ธุรกิจที่น่าจะได้รับผลกระทบน้อยแม้ในยามวิกฤติคือธุรกิจที่เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน กลุ่มใหญ่ ๆ น่าจะประกอบด้วยกลุ่มสาธารณูปโภคเช่น ไฟฟ้า น้ำ พลังงาน และรวมถึงการสื่อสารเช่นโทรศัพท์ เหล่านี้คือสิ่งที่คนจำเป็นต้องใช้และมักจะไม่ลดการใช้ลง ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะมันไม่ใช่รายการใหญ่ในการใช้แต่ละครั้งหรือแต่ละวัน เช่นเดียวกัน อาหารและสินค้าอุปโภคประจำวันที่มีราคาไม่สูงก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่น่าจะถูกกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจเพราะคนจะไม่ลดการบริโภคลง และนี่น่าจะรวมไปถึงอุตสาหกรรมบันเทิงที่มีราคาถูกทั้งหลายที่คนจะยังใช้จ่ายอยู่ สุดท้าย ผู้ค้าปลีกที่เป็นผู้ขายสินค้าเหล่านั้นก็น่าจะยังสามารถรักษายอดขายอยู่ได้
และเมื่อพูดถึงสิ่งจำเป็นในชีวิต ผมก็คงต้องพูดต่อถึงธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน การรักษาพยาบาลนั้น แน่นอนเป็นสิ่งจำเป็น อย่างไรก็ตาม วิกฤติเศรษฐกิจก็อาจจะทำให้คนจำนวนหนึ่งหันไปใช้บริการโรงพยาบาลของรัฐหรือซื้อยารักษาตัวเอง ดังนั้น ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนก็อาจจะถูกกระทบบ้างแม้ว่าอาจจะไม่มากนัก เพราะสิ่งทดแทนนั้นอาจจะไม่ดีพอสำหรับคนไข้ที่ยังพอมีกำลังเงินอยู่บ้าง
ทั้งหมดนั้นก็เป็นการวิเคราะห์แบบกว้าง ๆ บางบริษัทในอุตสาหกรรมที่เลวร้ายอาจจะเอาตัวรอดได้ด้วยปัจจัยพิเศษเฉพาะตัว เช่นเดียวกัน บางบริษัทในอุตสาหกรรมที่ถูกกระทบน้อยก็อาจจะเอาตัวไม่รอดเนื่องจากความอ่อนแอของบริษัทเอง ความรู้เรื่องแนวโน้มของกิจการในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจนั้นเป็นประโยชน์มหาศาล เพราะมันหมายถึงการล้มเหลวในการลงทุนหรือการที่สามารถทำกำไรได้มหาศาล อย่าลืมว่าในวิกฤตินั้นมีโอกาส ขึ้นอยู่กับว่าเราไปฉวยที่โอกาสหรือไปประสบกับวิกฤติ
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
- SEHJU
- Verified User
- โพสต์: 1238
- ผู้ติดตาม: 0
อุตสาหกรรมยามวิกฤติ/ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 3
ขอบคุณมากครับ...