Cash Is King / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
- oatty
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2444
- ผู้ติดตาม: 0
Cash Is King / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 27 มกราคม 2552
ทุกครั้งที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ คำว่า Cash Is King หรือ “เงินสดคือพระราชา” จะได้รับการกล่าวถึงเสมอ เพราะในยามวิกฤตินั้น บริษัทธุรกิจและผู้คนในสังคมมักจะ “ขาดเงินสด” กันมากมาย หรือในภาษาทางการเงินเรียกว่า “ขาดสภาพคล่อง” เนื่องจากกำไรมักจะหดหายหรือขาดทุน หนี้ก็มากและการขอกู้เงินใหม่มักถูกปฏิเสธ ผลจากการขาดสภาพคล่องทำให้คนต้องขายทรัพย์สินเพื่อนำเงินสดมาใช้ในการดำเนินงานของกิจการหรือเพื่อการชำระหนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการล้มละลาย นั่นทำให้ทรัพย์สินต่าง ๆ มีราคาลดลงมากอย่างไม่น่าเชื่อ ดังนั้น ในยามวิกฤติจึงเป็นโอกาสที่สำคัญของคนที่มีเงินสดอยู่ในมือมาก ๆ และนั่นคือที่มาของคำว่า “เงินสดคือพระราชาหรือพระเจ้า” มาดูกันว่าเงินสดทำอะไรได้ในยามวิกฤติ
ข้อแรกก็คือ บริษัทที่มีเงินสดมากมักจะไม่เจ๊งในยามที่ธุรกิจซบเซาอย่างหนัก ในเวลาเดียวกัน คู่แข่งในอุตสาหกรรมหลายรายอาจต้องปิดตัวลง หลายบริษัทอาจต้องลดระดับการผลิตลง นี่ทำให้บริษัทที่มีเงินสดมากสามารถขยายตัวหรือกินส่วนแบ่งการตลาดมากขึ้นและแข็งแกร่งขึ้นเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ผมยังจำได้ว่า ในช่วงวิกฤติรอบก่อนในปี 2540 บริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ซึ่งได้รับการเพิ่มทุนจากหุ้นส่วนที่มาจากต่างประเทศทำให้มีเงินสดมาก ได้เสนอกลยุทธ์ “สร้างบ้านเสร็จก่อนขาย” ในขณะที่บริษัทจัดสรรส่วนใหญ่ไม่มีแม้กระทั่งเงินที่จะมาสร้างบ้านที่มีคนจองแล้ว นั่นทำให้แลนด์แอนด์เฮ้าส์สามารถขยายตัวอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นผู้นำอันดับหนึ่งจนถึงทุกวันนี้
ข้อสอง การมีเงินสดมากทำให้บริษัทสามารถซื้อของถูกที่มีคนเสนอขายกันเต็มไปหมด ของถูกที่ว่านั้นอาจรวมไปถึง ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง โรงงาน หรือแม้แต่หุ้นของกิจการต่าง ๆ ทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์ ทรัพย์สินหรือของนั้น อาจเป็นได้ทั้งทรัพย์สินที่บริษัทต้องใช้หรือสามารถนำมาใช้ในการดำเนินการหรือขยายงานหรือทรัพย์สินที่บริษัทซื้อมาเพื่อการลงทุนเฉย ๆ ก็ได้ ผลจากการซื้อนั้น ถ้าทำได้ดี บริษัทก็จะมีความได้เปรียบในระยะต่อไป เพราะต้นทุนที่ได้มานั้นมักจะต่ำกว่าปกติ ทำให้สามารถทำกำไรได้มากกว่าปกติในอนาคตเมื่อวิกฤติผ่านพ้นไปแล้ว
ข้อสาม บริษัทที่มีเงินสดเหลือเฟือนั้น สามารถจ่ายปันผลได้ตามปกติหรือมากกว่าปกติถ้าบริษัทลดการขยายตัว ในขณะที่บริษัทอื่นนั้นมักจะต้องลดการจ่ายปันผลลง ดังนั้น หุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีเงินสดดีก็จะสามารถรักษาระดับราคาหุ้นได้ดีกว่าหุ้นของบริษัทที่มีหนี้มากและมีเงินสดน้อย เพราะในยามวิกฤตินั้น นักลงทุนมักจะมองหาหุ้นที่สามารถจ่ายปันผลและจ่ายได้ในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับราคาหุ้น
ข้อสี่ บริษัทจดทะเบียนที่มีเงินสดมาก สามารถที่จะ “ซื้อหุ้นคืน” เมื่อหุ้นของบริษัทมีราคาลดต่ำลงมากเกินกว่าพื้นฐาน การซื้อหุ้นคืนช่วยพยุงราคาหุ้นไม่ให้ตกต่ำลงรุนแรงเกินไปโดยเฉพาะในยามที่หุ้นของบริษัทไม่เป็นที่สนใจของนักลงทุนเนื่องจากไม่เห็นข่าวดีเลยในช่วงเวลาที่มองไปข้างหน้า ในอีกด้านหนึ่ง การซื้อหุ้นคืนในยามที่หุ้นมีราคาต่ำมากจะทำให้จำนวนหุ้นของบริษัทน้อยลงไปมาก ซึ่งจะทำให้กำไรต่อหุ้นในงวดการเงินต่อ ๆ ไปสูงขึ้นและจะส่งผลต่อราคาหุ้นของบริษัทที่จะสูงขึ้นในอนาคต
แต่ก็เหมือนกับอีกหลายสิ่ง เงินนั้นคือพระเจ้าก็ต่อเมื่อมันถูกใช้อย่างชาญฉลาด ถ้าบริษัทมีเงินสดมากแต่ไม่ได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แต่เก็บรักษาเอาไว้เฉย ๆ ในบัญชีเงินฝากหรือหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนต่ำ สิ่งเดียวที่บริษัทจะได้ก็คือ ความมั่นคงที่บริษัทจะไม่ล้มละลาย ประโยชน์ที่ได้รับก็จะน้อย ที่แย่ยิ่งกว่านั้นก็คือ บริษัทนำไปใช้ในทางที่ผิดหรือซื้อทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แต่กลับเป็นภาระซึ่งทำให้เงินสดลดลงจนบริษัทเองก็อาจจะประสบปัญหาได้เหมือนกัน
และนี่ก็ทำให้ผมนึกถึงการซื้อหุ้นคืนของบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งในช่วงนี้ที่ผมดูว่าอาจจะเป็นการใช้เงินที่ไม่คุ้มค่า ประการหนึ่งก็คือ บริษัทบางแห่งนั้นไม่ได้มีเงินสดมากมายอาจจะเนื่องจากธุรกิจเองไม่ใช่ธุรกิจที่สร้างกระแสเงินสดได้ดีเพียงแต่ในช่วงเวลาขณะนั้นมีเงินสดเหลืออยู่ ลักษณะแบบนี้ ถ้าในอนาคตธุรกิจย่ำแย่ลง การเงินของบริษัทก็จะมีปัญหา อีกประการหนึ่งก็คือ หุ้นของบริษัทอาจจะไม่ได้มีราคาถูกจริงแม้ว่าราคาจะตกลงมามาก ผู้บริหารอาจจะลืมคิดไปว่าวิกฤติกำลังจะเกิดขึ้นและพื้นฐานของบริษัทกำลังเปลี่ยนไปและราคาหุ้นที่ตกลงมานั้นเหมาะสมแล้ว ผมเองคิดว่า บริษัทที่สมควรจะซื้อหุ้นคืนนั้น ต้องมีความมั่นใจว่าธุรกิจของตนนั้นมี “ธรรมชาติ” ที่เป็นธุรกิจที่มีกระแสเงินสดดี เช่น เป็นธุรกิจที่ขายเงินสดแต่จ่ายค่าสินค้าเป็นเงินเชื่อ หรือเป็นธุรกิจที่มีกำไรต่อยอดขายสูงมาก เป็นต้น นอกจากนั้น จะต้องดูว่าราคาหุ้นที่ซื้อคืนนั้นมีราคาต่ำกว่าพื้นฐานมากจริง ๆ โดยคิดรวมปัจจัยเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจเข้าไปแล้ว
ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ดูเหมือนว่าหุ้นของบริษัทที่มีเงินสดมากและบริษัทที่มีกระแสเงินสดดีจะสามารถรักษาระดับราคาดีกว่าบริษัทที่มีหนี้สูงหรือบริษัทที่มีสภาพคล่องทางการเงินต่ำ นี่ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะกับตลาดหุ้นไทย ตลาดหุ้นทั่วโลกและบทเรียนจากตลาดหุ้นไทยในช่วงวิกฤติคราวที่แล้วแสดงให้เห็นว่า ในยามวิกฤติ บริษัทที่มีเงินสดและกระแสเงินสดมากมักจะเป็น “ผู้ชนะ” และบริษัทที่ผู้บริหารสามารถที่จะใช้เงินสดให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุดก็จะยิ่งเป็นผู้ชนะที่สมบูรณ์แบบ พูดถึงเรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึง เบิร์กไชร์แฮทธาเวย์ บริษัทของ วอเร็น บัฟเฟตต์ วิกฤติรอบนี้ของสหรัฐเกิดขึ้นในช่วงที่เบิร์กไชร์มีเงินสดเต็มกระเป๋า และสิ่งที่เรารู้และยอมรับกันก็คือ บัฟเฟตต์ นั้นคือ “สุดยอดฝีมือของการใช้เงินสด” เราคงต้องรอดูกันต่อไปว่าหลังจากวิกฤติแล้ว บริษัทและหุ้นเบิร์กไชร์ จะเป็นอย่างไร ในระหว่างนี้ ก็ลองมามองดูว่า บริษัทจดทะเบียนไหนในตลาดหุ้นไทยมีเงินสดและกระแสเงินสดมากและพวกเขาใช้มันอย่างไร บางทีเราอาจจะได้หุ้นที่ทำเงินในยามที่เศรษฐกิจกำลังประสบกับความยากลำบากก็ได้
ทุกครั้งที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ คำว่า Cash Is King หรือ “เงินสดคือพระราชา” จะได้รับการกล่าวถึงเสมอ เพราะในยามวิกฤตินั้น บริษัทธุรกิจและผู้คนในสังคมมักจะ “ขาดเงินสด” กันมากมาย หรือในภาษาทางการเงินเรียกว่า “ขาดสภาพคล่อง” เนื่องจากกำไรมักจะหดหายหรือขาดทุน หนี้ก็มากและการขอกู้เงินใหม่มักถูกปฏิเสธ ผลจากการขาดสภาพคล่องทำให้คนต้องขายทรัพย์สินเพื่อนำเงินสดมาใช้ในการดำเนินงานของกิจการหรือเพื่อการชำระหนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการล้มละลาย นั่นทำให้ทรัพย์สินต่าง ๆ มีราคาลดลงมากอย่างไม่น่าเชื่อ ดังนั้น ในยามวิกฤติจึงเป็นโอกาสที่สำคัญของคนที่มีเงินสดอยู่ในมือมาก ๆ และนั่นคือที่มาของคำว่า “เงินสดคือพระราชาหรือพระเจ้า” มาดูกันว่าเงินสดทำอะไรได้ในยามวิกฤติ
ข้อแรกก็คือ บริษัทที่มีเงินสดมากมักจะไม่เจ๊งในยามที่ธุรกิจซบเซาอย่างหนัก ในเวลาเดียวกัน คู่แข่งในอุตสาหกรรมหลายรายอาจต้องปิดตัวลง หลายบริษัทอาจต้องลดระดับการผลิตลง นี่ทำให้บริษัทที่มีเงินสดมากสามารถขยายตัวหรือกินส่วนแบ่งการตลาดมากขึ้นและแข็งแกร่งขึ้นเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ผมยังจำได้ว่า ในช่วงวิกฤติรอบก่อนในปี 2540 บริษัทแลนด์แอนด์เฮ้าส์ซึ่งได้รับการเพิ่มทุนจากหุ้นส่วนที่มาจากต่างประเทศทำให้มีเงินสดมาก ได้เสนอกลยุทธ์ “สร้างบ้านเสร็จก่อนขาย” ในขณะที่บริษัทจัดสรรส่วนใหญ่ไม่มีแม้กระทั่งเงินที่จะมาสร้างบ้านที่มีคนจองแล้ว นั่นทำให้แลนด์แอนด์เฮ้าส์สามารถขยายตัวอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นผู้นำอันดับหนึ่งจนถึงทุกวันนี้
ข้อสอง การมีเงินสดมากทำให้บริษัทสามารถซื้อของถูกที่มีคนเสนอขายกันเต็มไปหมด ของถูกที่ว่านั้นอาจรวมไปถึง ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง โรงงาน หรือแม้แต่หุ้นของกิจการต่าง ๆ ทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์ ทรัพย์สินหรือของนั้น อาจเป็นได้ทั้งทรัพย์สินที่บริษัทต้องใช้หรือสามารถนำมาใช้ในการดำเนินการหรือขยายงานหรือทรัพย์สินที่บริษัทซื้อมาเพื่อการลงทุนเฉย ๆ ก็ได้ ผลจากการซื้อนั้น ถ้าทำได้ดี บริษัทก็จะมีความได้เปรียบในระยะต่อไป เพราะต้นทุนที่ได้มานั้นมักจะต่ำกว่าปกติ ทำให้สามารถทำกำไรได้มากกว่าปกติในอนาคตเมื่อวิกฤติผ่านพ้นไปแล้ว
ข้อสาม บริษัทที่มีเงินสดเหลือเฟือนั้น สามารถจ่ายปันผลได้ตามปกติหรือมากกว่าปกติถ้าบริษัทลดการขยายตัว ในขณะที่บริษัทอื่นนั้นมักจะต้องลดการจ่ายปันผลลง ดังนั้น หุ้นของบริษัทจดทะเบียนที่มีเงินสดดีก็จะสามารถรักษาระดับราคาหุ้นได้ดีกว่าหุ้นของบริษัทที่มีหนี้มากและมีเงินสดน้อย เพราะในยามวิกฤตินั้น นักลงทุนมักจะมองหาหุ้นที่สามารถจ่ายปันผลและจ่ายได้ในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับราคาหุ้น
ข้อสี่ บริษัทจดทะเบียนที่มีเงินสดมาก สามารถที่จะ “ซื้อหุ้นคืน” เมื่อหุ้นของบริษัทมีราคาลดต่ำลงมากเกินกว่าพื้นฐาน การซื้อหุ้นคืนช่วยพยุงราคาหุ้นไม่ให้ตกต่ำลงรุนแรงเกินไปโดยเฉพาะในยามที่หุ้นของบริษัทไม่เป็นที่สนใจของนักลงทุนเนื่องจากไม่เห็นข่าวดีเลยในช่วงเวลาที่มองไปข้างหน้า ในอีกด้านหนึ่ง การซื้อหุ้นคืนในยามที่หุ้นมีราคาต่ำมากจะทำให้จำนวนหุ้นของบริษัทน้อยลงไปมาก ซึ่งจะทำให้กำไรต่อหุ้นในงวดการเงินต่อ ๆ ไปสูงขึ้นและจะส่งผลต่อราคาหุ้นของบริษัทที่จะสูงขึ้นในอนาคต
แต่ก็เหมือนกับอีกหลายสิ่ง เงินนั้นคือพระเจ้าก็ต่อเมื่อมันถูกใช้อย่างชาญฉลาด ถ้าบริษัทมีเงินสดมากแต่ไม่ได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์แต่เก็บรักษาเอาไว้เฉย ๆ ในบัญชีเงินฝากหรือหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนต่ำ สิ่งเดียวที่บริษัทจะได้ก็คือ ความมั่นคงที่บริษัทจะไม่ล้มละลาย ประโยชน์ที่ได้รับก็จะน้อย ที่แย่ยิ่งกว่านั้นก็คือ บริษัทนำไปใช้ในทางที่ผิดหรือซื้อทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แต่กลับเป็นภาระซึ่งทำให้เงินสดลดลงจนบริษัทเองก็อาจจะประสบปัญหาได้เหมือนกัน
และนี่ก็ทำให้ผมนึกถึงการซื้อหุ้นคืนของบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งในช่วงนี้ที่ผมดูว่าอาจจะเป็นการใช้เงินที่ไม่คุ้มค่า ประการหนึ่งก็คือ บริษัทบางแห่งนั้นไม่ได้มีเงินสดมากมายอาจจะเนื่องจากธุรกิจเองไม่ใช่ธุรกิจที่สร้างกระแสเงินสดได้ดีเพียงแต่ในช่วงเวลาขณะนั้นมีเงินสดเหลืออยู่ ลักษณะแบบนี้ ถ้าในอนาคตธุรกิจย่ำแย่ลง การเงินของบริษัทก็จะมีปัญหา อีกประการหนึ่งก็คือ หุ้นของบริษัทอาจจะไม่ได้มีราคาถูกจริงแม้ว่าราคาจะตกลงมามาก ผู้บริหารอาจจะลืมคิดไปว่าวิกฤติกำลังจะเกิดขึ้นและพื้นฐานของบริษัทกำลังเปลี่ยนไปและราคาหุ้นที่ตกลงมานั้นเหมาะสมแล้ว ผมเองคิดว่า บริษัทที่สมควรจะซื้อหุ้นคืนนั้น ต้องมีความมั่นใจว่าธุรกิจของตนนั้นมี “ธรรมชาติ” ที่เป็นธุรกิจที่มีกระแสเงินสดดี เช่น เป็นธุรกิจที่ขายเงินสดแต่จ่ายค่าสินค้าเป็นเงินเชื่อ หรือเป็นธุรกิจที่มีกำไรต่อยอดขายสูงมาก เป็นต้น นอกจากนั้น จะต้องดูว่าราคาหุ้นที่ซื้อคืนนั้นมีราคาต่ำกว่าพื้นฐานมากจริง ๆ โดยคิดรวมปัจจัยเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจเข้าไปแล้ว
ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ดูเหมือนว่าหุ้นของบริษัทที่มีเงินสดมากและบริษัทที่มีกระแสเงินสดดีจะสามารถรักษาระดับราคาดีกว่าบริษัทที่มีหนี้สูงหรือบริษัทที่มีสภาพคล่องทางการเงินต่ำ นี่ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะกับตลาดหุ้นไทย ตลาดหุ้นทั่วโลกและบทเรียนจากตลาดหุ้นไทยในช่วงวิกฤติคราวที่แล้วแสดงให้เห็นว่า ในยามวิกฤติ บริษัทที่มีเงินสดและกระแสเงินสดมากมักจะเป็น “ผู้ชนะ” และบริษัทที่ผู้บริหารสามารถที่จะใช้เงินสดให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุดก็จะยิ่งเป็นผู้ชนะที่สมบูรณ์แบบ พูดถึงเรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึง เบิร์กไชร์แฮทธาเวย์ บริษัทของ วอเร็น บัฟเฟตต์ วิกฤติรอบนี้ของสหรัฐเกิดขึ้นในช่วงที่เบิร์กไชร์มีเงินสดเต็มกระเป๋า และสิ่งที่เรารู้และยอมรับกันก็คือ บัฟเฟตต์ นั้นคือ “สุดยอดฝีมือของการใช้เงินสด” เราคงต้องรอดูกันต่อไปว่าหลังจากวิกฤติแล้ว บริษัทและหุ้นเบิร์กไชร์ จะเป็นอย่างไร ในระหว่างนี้ ก็ลองมามองดูว่า บริษัทจดทะเบียนไหนในตลาดหุ้นไทยมีเงินสดและกระแสเงินสดมากและพวกเขาใช้มันอย่างไร บางทีเราอาจจะได้หุ้นที่ทำเงินในยามที่เศรษฐกิจกำลังประสบกับความยากลำบากก็ได้
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4741
- ผู้ติดตาม: 1
Cash Is King / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 3
อ่านแล้วหัวผมวิ่งติ้วเลยครับ พยายามหา ว่าอาจารย์ใบ้หู้นตัวไหนอีกอาทิตย์นี้ :lol:
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
Cash Is King / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 4
เรื่องของเงินสดของกิจการ
หากขาดเงินสด(สภาพคล่อง) กิจการดำเนินการได้ยากลำบาก
หากมีเงินสดเหลือเฟ้อ เอาไปทำอะไรดี
บ้างทีบริษัทก็เอาไปซื้อหุ้นของบริษัทเอง เพื่อพยุงราคาไม่ให้ต่ำไป
แต่มันได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าหรือไม่
บ้างที่ก็เอาไปซื้อกิจการอื่นๆ เช่น บริษัท เบิร์กไชร์แฮทธาเวย์ เป็นต้น
มุมมองของดร.นิเวศน์ ยังเฉียบคมเหมือนเดิม
หากขาดเงินสด(สภาพคล่อง) กิจการดำเนินการได้ยากลำบาก
หากมีเงินสดเหลือเฟ้อ เอาไปทำอะไรดี
บ้างทีบริษัทก็เอาไปซื้อหุ้นของบริษัทเอง เพื่อพยุงราคาไม่ให้ต่ำไป
แต่มันได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าหรือไม่
บ้างที่ก็เอาไปซื้อกิจการอื่นๆ เช่น บริษัท เบิร์กไชร์แฮทธาเวย์ เป็นต้น
มุมมองของดร.นิเวศน์ ยังเฉียบคมเหมือนเดิม
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 1
Cash Is King / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 5
อ. ใบ้ตัวเดิมละครับ คือไม่พูดนั่นแหละ :D
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 244
- ผู้ติดตาม: 0
Cash Is King / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 7
ใบ้ตัวไหนเนี่ย ใครพอให้ hint ผมได้บ้างไหมครับ
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4741
- ผู้ติดตาม: 1
Cash Is King / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 8
หลายบริษัทเหมือนกันนะครับที่มีเงินสดในมือเยอะ แต่ว่า "
น้อง UMS เข้าข่ายข้อนี้ไหมครับ
อันนี้ไม่มั่นใจ อะครับ มีบริษัทไหนบ้างข้อสาม บริษัทที่มีเงินสดเหลือเฟือนั้น สามารถจ่ายปันผลได้ตามปกติหรือมากกว่าปกติถ้าบริษัทลดการขยายตัว
น้อง UMS เข้าข่ายข้อนี้ไหมครับ
:lol: :lol:ข้อสอง การมีเงินสดมากทำให้บริษัทสามารถซื้อของถูกที่มีคนเสนอขายกันเต็มไปหมด ของถูกที่ว่านั้นอาจรวมไปถึง ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง โรงงาน หรือแม้แต่หุ้นของกิจการต่าง ๆ ทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์ ทรัพย์สินหรือของนั้น อาจเป็นได้ทั้งทรัพย์สินที่บริษัทต้องใช้หรือสามารถนำมาใช้ในการดำเนินการหรือขยายงานหรือทรัพย์สินที่บริษัทซื้อมาเพื่อการลงทุนเฉย ๆ ก็ได้ ผลจากการซื้อนั้น ถ้าทำได้ดี บริษัทก็จะมีความได้เปรียบในระยะต่อไป เพราะต้นทุนที่ได้มานั้นมักจะต่ำกว่าปกติ ทำให้สามารถทำกำไรได้มากกว่าปกติในอนาคตเมื่อวิกฤติผ่านพ้นไปแล้ว
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
-
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
Cash Is King / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 9
ใครที่ถือเงินสดอยู่ตอนนี้ก็อาจเป็น Cash Is King นะ :D
-
- Verified User
- โพสต์: 413
- ผู้ติดตาม: 0
Cash Is King / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 10
[quote="Invisible_heart"]ใครที่ถือเงินสดอยู่ตอนนี้ก็อาจเป็น Cash Is King
Even Sir Isaac Newton loss in stock market
"You can't predict the future, because the future depends on how you react to it."
ซื้อหุ้นเมื่อคนส่วนใหญ่หมดศรัทธาในหุ้นและเทขายอยู่ นั่นคือเวลาตี5ในการจ่ายตลาด....จาก สอง ว. ผู้ยิ่งใหญ่
"You can't predict the future, because the future depends on how you react to it."
ซื้อหุ้นเมื่อคนส่วนใหญ่หมดศรัทธาในหุ้นและเทขายอยู่ นั่นคือเวลาตี5ในการจ่ายตลาด....จาก สอง ว. ผู้ยิ่งใหญ่
-
- Verified User
- โพสต์: 413
- ผู้ติดตาม: 0
Cash Is King / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 16
แต่ว่าเค้าขายได้หลายรอบต่อปีนะครับ เงินหมุนหลายรอบ เงินก้อนนึงสร้างกำไรเดือนละ2% ปีนึงก้อ20%สบายๆkin เขียน:ว่าแต่ค้าปลีกมันกำไรต่อยอดขายต่ำนิ
ผมคิดเองง่ายๆอ่ะนะครับ เหมือนแม่ค้าเวลาขายของใกล้จะหมด จะลดราคาหรือแถมฟรี เพราะอยากได้เงินต้นไปซื้อสินค้าใหม่มาหมุนขายใหม่อีกรอบ
เอ๊ะ มาดูอีกที พี่ kin หมายถึงประโยคอันนี้แน่เลย..
เป็นธุรกิจที่ขายเงินสดแต่จ่ายค่าสินค้าเป็นเงินเชื่อ หรือเป็นธุรกิจที่มีกำไรต่อยอดขายสูงมาก
อันนี้ผมว่า อ. หมายถึง สอง ธุรกิจมั๊งครับ 1.ขายเงินสด...หรือ...2.กำไรต่อยอดขายสูง
Even Sir Isaac Newton loss in stock market
"You can't predict the future, because the future depends on how you react to it."
ซื้อหุ้นเมื่อคนส่วนใหญ่หมดศรัทธาในหุ้นและเทขายอยู่ นั่นคือเวลาตี5ในการจ่ายตลาด....จาก สอง ว. ผู้ยิ่งใหญ่
"You can't predict the future, because the future depends on how you react to it."
ซื้อหุ้นเมื่อคนส่วนใหญ่หมดศรัทธาในหุ้นและเทขายอยู่ นั่นคือเวลาตี5ในการจ่ายตลาด....จาก สอง ว. ผู้ยิ่งใหญ่
-
- Verified User
- โพสต์: 1252
- ผู้ติดตาม: 0
Cash Is King / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 17
ถ้าเพิ่มเติมอีกหัวข้ออีกนิดอ่านแล้วรู้สึกยิ่งใหญ่จะดีไหมครับเช่น
"Cash Is KingKong" :lol:
"Cash Is KingKong" :lol:
- holidaytours
- Verified User
- โพสต์: 349
- ผู้ติดตาม: 0
Cash Is King / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 18
ผมว่าปัญหาของวีไอบางคนคือเราไม่รู้ว่าหุ้นจะขึ้นหรือลง
ส่วนมากเราจะดูกิจการถ้าพบราคาที่ถูกใจก็จะซื้อ
เวลาหุ้นตกหนักจิง ๆ ก็น่าจะไม่ค่อยมีเงินกันนะคับ
ผมถึงคิดว่าบัฟเฟต์แกสุดยอดจิง ๆ
มีเงินซื้อหุ้นเวลาหุ้นลงหนัก ๆ ได้ตลอดเลย
สุดยอดไปเลยคับ
:lol: :lol:
ส่วนมากเราจะดูกิจการถ้าพบราคาที่ถูกใจก็จะซื้อ
เวลาหุ้นตกหนักจิง ๆ ก็น่าจะไม่ค่อยมีเงินกันนะคับ
ผมถึงคิดว่าบัฟเฟต์แกสุดยอดจิง ๆ
มีเงินซื้อหุ้นเวลาหุ้นลงหนัก ๆ ได้ตลอดเลย
สุดยอดไปเลยคับ
:lol: :lol:
-
- Verified User
- โพสต์: 680
- ผู้ติดตาม: 0
Cash Is King / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 19
ผมว่าบ.ต่างๆ ที่ซื้อหุ้นตัวเองตอนหุ้นตกนะคิดถูกแล้ว
เรื่องนี้ผมก็คิดต่างกับ ดร.นิเวศน์อีกครั้ง
ตอน ศก.แย่ๆ ดบ.ต่ำมากๆ แค่ 1-2 เปอร์เซนต์ต่อปี
เอาไปซื้อหุ้นตัวเอง...ก็ได้ผลตอบแทนเข้าบริษัทเท่ากับเงินปันผลจ่ายแล้ว
อย่างน้อยๆ ก็ 5 เปอร์เซนต์ขึ้นไป (สำหรับบ.ดีๆ )
ซึ่งบริษัทแต่ละแห่ง เขาก็รู้ตัวเองดีอยู่แล้ว ว่ามีสภาพคล่องเพียงพอไหม
ดูอย่าง SPALI, LPN ที่เข้าซื้อหุ้นตัวเองสิครับ...กำไรกันไปกี่เท่าแล้ว
เรื่องนี้ผมก็คิดต่างกับ ดร.นิเวศน์อีกครั้ง
ตอน ศก.แย่ๆ ดบ.ต่ำมากๆ แค่ 1-2 เปอร์เซนต์ต่อปี
เอาไปซื้อหุ้นตัวเอง...ก็ได้ผลตอบแทนเข้าบริษัทเท่ากับเงินปันผลจ่ายแล้ว
อย่างน้อยๆ ก็ 5 เปอร์เซนต์ขึ้นไป (สำหรับบ.ดีๆ )
ซึ่งบริษัทแต่ละแห่ง เขาก็รู้ตัวเองดีอยู่แล้ว ว่ามีสภาพคล่องเพียงพอไหม
ดูอย่าง SPALI, LPN ที่เข้าซื้อหุ้นตัวเองสิครับ...กำไรกันไปกี่เท่าแล้ว