ซื้อหุ้นต่างประเทศ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
- oatty
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2444
- ผู้ติดตาม: 0
ซื้อหุ้นต่างประเทศ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 9 สิงหาคม 2552
ในอดีตนั้น การลงทุนในหุ้นสำหรับ Value Investor ค่อนข้างจำกัดอยู่ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น แต่ปัจจุบันเรามีทางเลือกที่จะลงทุนในหุ้นต่างประเทศได้ การลงทุนในต่างประเทศนั้น ดูเหมือนจะไม่ได้ยากอย่างที่หลายคนอาจจะกลัวกันอีกต่อไป เพราะปัจจุบันมีโบรกเกอร์ หลายรายให้บริการการซื้อขายหุ้นต่างประเทศสำหรับนักลงทุนรายย่อยที่มีเงินเพียงประมาณห้าแสนหรือหนึ่งล้านบาทขึ้นไป การซื้อขายก็ทำกันทางอินเตอร์เน็ตที่ไม่ได้แตกต่างจากการซื้อขายหุ้นไทยเท่าใดนัก ผมคงยังไม่วิจารณ์ว่า Value Investor ควรจะลงทุนในหุ้นต่างประเทศหรือไม่ แต่อยากจะวิเคราะห์ถึงข้อดีและข้อเสียของการลงทุนในหุ้นต่างประเทศโดยเฉพาะในกรณีของการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของอเมริกาเป็นหลัก
ข้อดีข้อแรกของการลงทุนในตลาดหุ้นอย่างตลาดนิวยอร์กก็คือ เรามีโอกาสในการเลือกลงทุนในหุ้นจำนวนมาก นอกจากจำนวนของบริษัทที่มีมากมายแล้ว เรายังมีโอกาสหาหุ้นที่มีลักษณะเฉพาะที่เราต้องการลงทุนได้มากมายซึ่งหาไม่ได้จากตลาดหุ้นไทย ยกตัวอย่างเช่น หุ้นของกิจการที่ “ดีเยี่ยม” แบบ “Great Company” ที่มีโอกาสที่จะกลายเป็น “Super Stock” ที่ให้ผลตอบแทนมหาศาลในระยะยาวอย่างที่ วอเร็น บัฟเฟตต์ ชอบลงทุนนั้น ถ้าเรานำมาใช้ในตลาดหุ้นไทย เราอาจจะหาได้ค่อนข้างยาก แต่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น หุ้นที่มีคุณภาพสูงระดับโลกนั้นมีมากมายให้เลือก ไล่ตั้งแต่หุ้น Google ไปถึง ไมโครซอพท์ ที่เป็นหุ้นไฮเท็ค ถึงหุ้นโค๊กที่เด่นทางด้านยี่ห้อ และหุ้นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเงินระดับโลกอย่างหุ้นที่ให้บริการบัตรเครดิตเช่น หุ้นวีซ่า เป็นต้น
ข้อดีข้อสองก็คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐโดยเฉลี่ยในระยะยาวนั้นดูเหมือนจะสูงกว่าผลตอบแทนที่ได้จากตลาดหุ้นไทย โดยที่ผลตอบแทนเฉลี่ยของหุ้นของอเมริกานั้นให้ผลตอบแทนประมาณปีละ 10-11% ในขณะที่ตลาดหุ้นไทยน่าจะให้ผลตอบแทนประมาณปีละ 8-9% ผลต่างประมาณปีละ 2% นั้นในระยะยาวก็ถือว่าค่อนข้างต่างกันมาก และนั่นก็อาจจะเป็นผลจากคุณภาพที่สูงกว่าของบริษัทจดทะเบียนในอเมริกาเทียบกับบริษัทไทย
ข้อดีข้อสามก็คือ การลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศด้วยนั้น ช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนลง เพราะการขึ้นลงของราคาหุ้นของไทยกับหุ้นต่างประเทศนั้นโดยทั่วไปมักจะไม่ตรงกัน บางช่วงที่ตลาดหุ้นไทยคึกคัก หุ้นต่างประเทศอาจจะซบเซา และช่วงที่หุ้นต่างประเทศดี หุ้นไทยอาจจะแย่ โดยรวมแล้ว ถ้าเรามีหุ้นอยู่ในทั้งสองตลาด ผลตอบแทนการลงทุนของเราจะมีความสม่ำเสมอขึ้นหรือก็คือความเสี่ยงลดลง
ข้อดีข้อที่สี่ ระบบบัญชีและการรายงานต่าง ๆ ของบริษัทในอเมริกามีความโปร่งใสและผู้บริหารสามารถให้ข้อมูลแก่นักลงทุนได้มากกว่าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ยกตัวอย่างเช่น ผู้บริหารสามารถคาดการณ์ผลประกอบการของบริษัทได้เป็นรายไตรมาศซึ่งทำให้นักลงทุนสามารถนำมาใช้ประกอบในการตัดสินใจซื้อขายหุ้นได้ นอกจากนั้น สังคมของนักวิเคราะห์ที่มีการตรวจสอบอย่างเข้มข้นก็ทำให้การคาดการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับผลประกอบการมักจะไม่ค่อย “มั่ว” ถ้าผู้บริหารคาดการณ์ผิดบ่อยหรือผิดไปมากก็จะเสียเครดิต
ข้อเสียของการไปลงทุนนอกประเทศนั้นก็มีไม่น้อยกว่ากัน ข้อแรกก็คือ ความเข้าใจในตัวกิจการหรือบริษัทที่เราจะลงทุนในต่างประเทศนั้นอาจจะมีน้อยกว่าในกรณีของบริษัทในประเทศไทย จริงอยู่ ข้อมูลที่เป็นตัวเลขหรือรายงานต่าง ๆ ของบริษัทต่างประเทศอาจจะดี มีมาก และหาได้ง่ายกว่าโดยที่เราเพียงแต่เข้าไปดูผ่านหน้าเว็บดัง ๆ อย่าง YAHOO FINANCE ได้ แต่ข้อมูลที่เราจำเป็นต้อง “สัมผัส” เช่นในเรื่องของผลิตภัณฑ์ การตลาด หรือการพบปะกับผู้บริหารนั้น เราไม่สามารถทำใด้ นอกจากนั้น สำหรับหลายคนที่ภาษาอังกฤษยังไม่แข็งแรงพอ การทำความเข้าใจในตัวบริษัทก็จะยากขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง
ข้อเสียข้อที่สองก็คือ การซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้นอเมริกามีต้นทุนค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายสูงกว่าในตลาดไทย โดยที่ค่าคอมมิชชั่นรวมกับค่าบริการอื่น ๆ แล้ว อาจจะขึ้นถึง 0.5% ในกรณีที่ซื้อขายครั้งละไม่มาก ในขณะที่ของไทยอยู่ที่ประมาณ 0.2 - 0.27% รวมภาษี อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างนี้ก็อาจจะไม่ถึงกับมากถ้าเราไม่ได้ซื้อขายหุ้นบ่อย
ข้อเสียข้อสามก็คือ การซื้อขายหุ้นในตลาดสหรัฐนั้น เรามีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างเงินดอลลาร์กับเงินบาทซึ่งคาดการณ์ไม่ได้ นอกจากนั้น เราต้องมีการแลกเงินในกรณีซื้อขายครั้งแรกและตอนที่จะเอาเงินกลับซึ่งทำให้เราเสีย Spread หรือส่วนต่างระหว่างราคาซื้อกับราคาขายเงินตราที่ธนาคารคิดกับเราซึ่งก็มักจะต่างกันพอสมควร
ข้อเสียที่สี่ก็คือ การลงทุนในต่างประเทศนั้น กฏก็คือ ถ้าเราได้กำไรจากการขายหุ้นและนำเงินเข้ามาในประเทศในปีภาษีเดียวกัน เราจะต้องนำกำไรที่ได้ไปคิดคำนวณเป็นรายได้ส่วนบุคคลที่จะต้องเสียภาษีรายได้ประจำปี ดังนั้น ถ้าไม่ต้องการเสียภาษีนี้ก็ต้องนำเงินเข้ามาในปีต่อไป ซึ่งทำให้การโอนย้ายเงินไม่คล่องตัวนัก
ข้อเสียสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ ความเสี่ยงในเรื่องของกฏระเบียบและวิธีปฏิบัติโดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับภาษีต่าง ๆ ของการลงทุนซื้อขายหุ้นในต่างประเทศ ในขณะนี้อาจจะมีการสรุปแนวทางปฏิบัติเป็นที่ตกลงกันระหว่างโบรกเกอร์กับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกันแล้ว แต่ก็เช่นเดียวกับอีกหลาย ๆ เรื่อง ความเห็นและความเข้าใจกันในวันนี้อาจจะไม่ได้รับการยอมรับหรือมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไปหรือมีเจ้าหน้าที่คนใหม่เข้ารับหน้าที่ต่อ ความเสี่ยงตรงนี้ไม่มีใครบอกได้ว่าสูงต่ำแค่ไหน แต่ถ้าเกิดขึ้น ความยุ่งยากคงจะมีไม่น้อย และนี่อาจจะเป็นข้อเสียที่สำคัญที่สุดข้อหนึ่งสำหรับคนที่ระมัดระวังและไม่ค่อยไว้วางใจกับระบบของราชการไทยอย่างผม
กล่าวโดยสรุปสำหรับตัวผมเองนั้น ในขั้นนี้ผมคงจะรอดูไปก่อน และตราบใดที่ยังพอหาหุ้นดีที่คุ้มค่าน่าลงทุนในตลาดหุ้นไทยได้พอสมควรผมก็คงไม่ไปลงทุนในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าการลงทุนในต่างประเทศนั้น มีประโยชน์และมีคุณค่าพอสมควรทีเดียว และวันหนึ่งก็อาจจะหนีไม่พ้นที่ผมจะต้องไปลงทุนด้วยเหมือนกัน
ในอดีตนั้น การลงทุนในหุ้นสำหรับ Value Investor ค่อนข้างจำกัดอยู่ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น แต่ปัจจุบันเรามีทางเลือกที่จะลงทุนในหุ้นต่างประเทศได้ การลงทุนในต่างประเทศนั้น ดูเหมือนจะไม่ได้ยากอย่างที่หลายคนอาจจะกลัวกันอีกต่อไป เพราะปัจจุบันมีโบรกเกอร์ หลายรายให้บริการการซื้อขายหุ้นต่างประเทศสำหรับนักลงทุนรายย่อยที่มีเงินเพียงประมาณห้าแสนหรือหนึ่งล้านบาทขึ้นไป การซื้อขายก็ทำกันทางอินเตอร์เน็ตที่ไม่ได้แตกต่างจากการซื้อขายหุ้นไทยเท่าใดนัก ผมคงยังไม่วิจารณ์ว่า Value Investor ควรจะลงทุนในหุ้นต่างประเทศหรือไม่ แต่อยากจะวิเคราะห์ถึงข้อดีและข้อเสียของการลงทุนในหุ้นต่างประเทศโดยเฉพาะในกรณีของการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ของอเมริกาเป็นหลัก
ข้อดีข้อแรกของการลงทุนในตลาดหุ้นอย่างตลาดนิวยอร์กก็คือ เรามีโอกาสในการเลือกลงทุนในหุ้นจำนวนมาก นอกจากจำนวนของบริษัทที่มีมากมายแล้ว เรายังมีโอกาสหาหุ้นที่มีลักษณะเฉพาะที่เราต้องการลงทุนได้มากมายซึ่งหาไม่ได้จากตลาดหุ้นไทย ยกตัวอย่างเช่น หุ้นของกิจการที่ “ดีเยี่ยม” แบบ “Great Company” ที่มีโอกาสที่จะกลายเป็น “Super Stock” ที่ให้ผลตอบแทนมหาศาลในระยะยาวอย่างที่ วอเร็น บัฟเฟตต์ ชอบลงทุนนั้น ถ้าเรานำมาใช้ในตลาดหุ้นไทย เราอาจจะหาได้ค่อนข้างยาก แต่ในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น หุ้นที่มีคุณภาพสูงระดับโลกนั้นมีมากมายให้เลือก ไล่ตั้งแต่หุ้น Google ไปถึง ไมโครซอพท์ ที่เป็นหุ้นไฮเท็ค ถึงหุ้นโค๊กที่เด่นทางด้านยี่ห้อ และหุ้นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเงินระดับโลกอย่างหุ้นที่ให้บริการบัตรเครดิตเช่น หุ้นวีซ่า เป็นต้น
ข้อดีข้อสองก็คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐโดยเฉลี่ยในระยะยาวนั้นดูเหมือนจะสูงกว่าผลตอบแทนที่ได้จากตลาดหุ้นไทย โดยที่ผลตอบแทนเฉลี่ยของหุ้นของอเมริกานั้นให้ผลตอบแทนประมาณปีละ 10-11% ในขณะที่ตลาดหุ้นไทยน่าจะให้ผลตอบแทนประมาณปีละ 8-9% ผลต่างประมาณปีละ 2% นั้นในระยะยาวก็ถือว่าค่อนข้างต่างกันมาก และนั่นก็อาจจะเป็นผลจากคุณภาพที่สูงกว่าของบริษัทจดทะเบียนในอเมริกาเทียบกับบริษัทไทย
ข้อดีข้อสามก็คือ การลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศด้วยนั้น ช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนลง เพราะการขึ้นลงของราคาหุ้นของไทยกับหุ้นต่างประเทศนั้นโดยทั่วไปมักจะไม่ตรงกัน บางช่วงที่ตลาดหุ้นไทยคึกคัก หุ้นต่างประเทศอาจจะซบเซา และช่วงที่หุ้นต่างประเทศดี หุ้นไทยอาจจะแย่ โดยรวมแล้ว ถ้าเรามีหุ้นอยู่ในทั้งสองตลาด ผลตอบแทนการลงทุนของเราจะมีความสม่ำเสมอขึ้นหรือก็คือความเสี่ยงลดลง
ข้อดีข้อที่สี่ ระบบบัญชีและการรายงานต่าง ๆ ของบริษัทในอเมริกามีความโปร่งใสและผู้บริหารสามารถให้ข้อมูลแก่นักลงทุนได้มากกว่าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย ยกตัวอย่างเช่น ผู้บริหารสามารถคาดการณ์ผลประกอบการของบริษัทได้เป็นรายไตรมาศซึ่งทำให้นักลงทุนสามารถนำมาใช้ประกอบในการตัดสินใจซื้อขายหุ้นได้ นอกจากนั้น สังคมของนักวิเคราะห์ที่มีการตรวจสอบอย่างเข้มข้นก็ทำให้การคาดการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับผลประกอบการมักจะไม่ค่อย “มั่ว” ถ้าผู้บริหารคาดการณ์ผิดบ่อยหรือผิดไปมากก็จะเสียเครดิต
ข้อเสียของการไปลงทุนนอกประเทศนั้นก็มีไม่น้อยกว่ากัน ข้อแรกก็คือ ความเข้าใจในตัวกิจการหรือบริษัทที่เราจะลงทุนในต่างประเทศนั้นอาจจะมีน้อยกว่าในกรณีของบริษัทในประเทศไทย จริงอยู่ ข้อมูลที่เป็นตัวเลขหรือรายงานต่าง ๆ ของบริษัทต่างประเทศอาจจะดี มีมาก และหาได้ง่ายกว่าโดยที่เราเพียงแต่เข้าไปดูผ่านหน้าเว็บดัง ๆ อย่าง YAHOO FINANCE ได้ แต่ข้อมูลที่เราจำเป็นต้อง “สัมผัส” เช่นในเรื่องของผลิตภัณฑ์ การตลาด หรือการพบปะกับผู้บริหารนั้น เราไม่สามารถทำใด้ นอกจากนั้น สำหรับหลายคนที่ภาษาอังกฤษยังไม่แข็งแรงพอ การทำความเข้าใจในตัวบริษัทก็จะยากขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง
ข้อเสียข้อที่สองก็คือ การซื้อขายหุ้นในตลาดหุ้นอเมริกามีต้นทุนค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายสูงกว่าในตลาดไทย โดยที่ค่าคอมมิชชั่นรวมกับค่าบริการอื่น ๆ แล้ว อาจจะขึ้นถึง 0.5% ในกรณีที่ซื้อขายครั้งละไม่มาก ในขณะที่ของไทยอยู่ที่ประมาณ 0.2 - 0.27% รวมภาษี อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างนี้ก็อาจจะไม่ถึงกับมากถ้าเราไม่ได้ซื้อขายหุ้นบ่อย
ข้อเสียข้อสามก็คือ การซื้อขายหุ้นในตลาดสหรัฐนั้น เรามีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างเงินดอลลาร์กับเงินบาทซึ่งคาดการณ์ไม่ได้ นอกจากนั้น เราต้องมีการแลกเงินในกรณีซื้อขายครั้งแรกและตอนที่จะเอาเงินกลับซึ่งทำให้เราเสีย Spread หรือส่วนต่างระหว่างราคาซื้อกับราคาขายเงินตราที่ธนาคารคิดกับเราซึ่งก็มักจะต่างกันพอสมควร
ข้อเสียที่สี่ก็คือ การลงทุนในต่างประเทศนั้น กฏก็คือ ถ้าเราได้กำไรจากการขายหุ้นและนำเงินเข้ามาในประเทศในปีภาษีเดียวกัน เราจะต้องนำกำไรที่ได้ไปคิดคำนวณเป็นรายได้ส่วนบุคคลที่จะต้องเสียภาษีรายได้ประจำปี ดังนั้น ถ้าไม่ต้องการเสียภาษีนี้ก็ต้องนำเงินเข้ามาในปีต่อไป ซึ่งทำให้การโอนย้ายเงินไม่คล่องตัวนัก
ข้อเสียสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ ความเสี่ยงในเรื่องของกฏระเบียบและวิธีปฏิบัติโดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับภาษีต่าง ๆ ของการลงทุนซื้อขายหุ้นในต่างประเทศ ในขณะนี้อาจจะมีการสรุปแนวทางปฏิบัติเป็นที่ตกลงกันระหว่างโบรกเกอร์กับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกันแล้ว แต่ก็เช่นเดียวกับอีกหลาย ๆ เรื่อง ความเห็นและความเข้าใจกันในวันนี้อาจจะไม่ได้รับการยอมรับหรือมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไปหรือมีเจ้าหน้าที่คนใหม่เข้ารับหน้าที่ต่อ ความเสี่ยงตรงนี้ไม่มีใครบอกได้ว่าสูงต่ำแค่ไหน แต่ถ้าเกิดขึ้น ความยุ่งยากคงจะมีไม่น้อย และนี่อาจจะเป็นข้อเสียที่สำคัญที่สุดข้อหนึ่งสำหรับคนที่ระมัดระวังและไม่ค่อยไว้วางใจกับระบบของราชการไทยอย่างผม
กล่าวโดยสรุปสำหรับตัวผมเองนั้น ในขั้นนี้ผมคงจะรอดูไปก่อน และตราบใดที่ยังพอหาหุ้นดีที่คุ้มค่าน่าลงทุนในตลาดหุ้นไทยได้พอสมควรผมก็คงไม่ไปลงทุนในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าการลงทุนในต่างประเทศนั้น มีประโยชน์และมีคุณค่าพอสมควรทีเดียว และวันหนึ่งก็อาจจะหนีไม่พ้นที่ผมจะต้องไปลงทุนด้วยเหมือนกัน
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
-
- Verified User
- โพสต์: 1252
- ผู้ติดตาม: 0
ซื้อหุ้นต่างประเทศ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 2
ยุทธจักรหุ้นโลก กำลังรอคอยท่านอ.อยู่ครับ จีนกับอินเดียก็น่าสนใจในการลงทุนมากครับ
ถ้าท่านอ.ได้เป็นมหาเศรษฐีแล้วการสละเงินสักเล็กน้อยในการไปรับประทานอาหารกับท่านปู่บัฟเฟตต์อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ท่านทั้งสองเป็นเพื่อนสนิทเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นกับท่านเกตต์ก็เป็นได้ครับ แต่บางสิ่งที่เงินนำพามาได้อาจทำให้ท่านอ.มีความสุขได้มากขึ้น ก็คือกิจกรรมที่น่าสนใจบางอย่างเช่นการลงทุนในนาฬิการาคาแพง(อย่างที่คุณไตรภพใส่ออกรายการ) แน่นอนว่าคงจะให้ผลตอบแทนการลงทุนมากเท่าที่ตลาดหุ้นให้ได้ยาก แต่คงจะช่วยเพิ่มความสำราญให้กับผู้หลงใหลในนาฬิกาได้มาก :idea:
ปล.ที่ว่าเป็นกิจกรรมนั้นเพราะถ้าท่านให้เวลายามว่างศึกษาเรื่องนาฬิการาคาแพงเป็นอย่างดีจะทำให้ท่านสนุกมากขึ้นเวลาไปเลือกซิ้อโดยลองคาดการณ์ล่วงหน้าว่าในอนาคต(เช่น5ปีข้างหน้า)นาฬิกาTOP5หรือTOP10ใดจะให้ผลตอบแทนคุ้มค่าในการลงทุนมากที่สุดแล้วก็เลือกเรือนที่ท่านชอบในนั้นมา
เมื่อเวลาผ่านไปสิ่งที่เกิดขึ้นใกล้เคียงกับที่ท่านคาดไว้ก็จะทำให้ท่านมีความสุขมากขึ้นได้และถึงเวลาที่ท่านจะได้นาฤกาเรือนใหม่อีกแล้วหลักจากผลตอบเรือนที่ได้คาดไว้เป็นที่น่าpor jai kub
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1575
- ผู้ติดตาม: 0
ซื้อหุ้นต่างประเทศ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 3
moneytalk daily กำลังเชิญผู้เชี่ยวชาญการสะสมและลงทุนนาฬิกามาออกรายการครับ
อาจจะทำให้ ดร.นิเวศน์ สนใจบ้างก็ได้ครับ
แต่ส่วนตัวผมว่า ยาก............ครับ
อาจจะทำให้ ดร.นิเวศน์ สนใจบ้างก็ได้ครับ
แต่ส่วนตัวผมว่า ยาก............ครับ
ดู clip รายการ money talk ย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
-
- Verified User
- โพสต์: 362
- ผู้ติดตาม: 0
ซื้อหุ้นต่างประเทศ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 4
น่าจะเป็นการขยายขอบเขตความมั่งคั่งของ ท่านอ. ละครับ
หรือไม่ก็เป็นการ Think Global Act Local
หรือไม่ก็เป็นการ Think Global Act Local
- crazyrisk
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4562
- ผู้ติดตาม: 0
ซื้อหุ้นต่างประเทศ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 5
สองคน ยลตามช่อง
คนหนึ่ง มอง เห็นโคลนตม
คนหนึ่งตาแหลมคม เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย
ดร. เก็บได้หมดทุกเม็ดจริงๆครับ
สุดยอดครับ
คนหนึ่ง มอง เห็นโคลนตม
คนหนึ่งตาแหลมคม เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย
ดร. เก็บได้หมดทุกเม็ดจริงๆครับ
สุดยอดครับ
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
- Linzhi
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1522
- ผู้ติดตาม: 1
ซื้อหุ้นต่างประเทศ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 6
ETF ก็น่าสนใจนะครับ ซื้อหุ้นรายตัวตปท. ผมว่าถ้าไม่จัดพอร์ตดี ๆ และเข้าใจกิจการมาก ๆ ก็เสี่ยงมาก
เคยศึกษาอยู่พักนึง พอหุ้นไทยราคาตกปลายปี โปรเจคเลยเลื่อนไปแบบไม่มีกำหนด :lol:
เคยศึกษาอยู่พักนึง พอหุ้นไทยราคาตกปลายปี โปรเจคเลยเลื่อนไปแบบไม่มีกำหนด :lol:
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
-
- Verified User
- โพสต์: 393
- ผู้ติดตาม: 0
ซื้อหุ้นต่างประเทศ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 7
ดร ครับ ข้อเสียของหุ้นตปทข้อ 3&4 ถ้ามี บช off-shore ไม่ต้องกังวลน่ะครับ เข้าใจว่า ดร ก็คงทราบดีเช่นกัน
ผมเติมข้อเสียอีกอย่างว่า inheritant tax สูงมาก แล้วแต่กรณีแต่โดยเฉลี่ยประมาณ 30% ครับ
ผมเติมข้อเสียอีกอย่างว่า inheritant tax สูงมาก แล้วแต่กรณีแต่โดยเฉลี่ยประมาณ 30% ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 592
- ผู้ติดตาม: 0
ซื้อหุ้นต่างประเทศ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 8
ในอเมริกายังเหลือแค่บางรัฐนี่ครับA man from the Islay เขียน:ผมเติมข้อเสียอีกอย่างว่า inheritant tax สูงมาก แล้วแต่กรณีแต่โดยเฉลี่ยประมาณ 30% ครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/Inheritance_tax
-
- Verified User
- โพสต์: 393
- ผู้ติดตาม: 0
ซื้อหุ้นต่างประเทศ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 9
ทุกบัญชีที่ถือหุ้น US, ไม่ว่าจะเป็น on/offshore account, ถ้าเกิดเจ้าของบัญชีเสียชีวิต คนที่เป็น benefitiary ของคนที่เสียชีวิตจะโดน tax โดยประมาณ 30%.
แต่โดยมากเลี่ยงได้เพราะใส่ชื่อได้ 4 คนในบัญชี ถ้าเสียชีวิตก็จะโดน tax 30% ของ 1/4 ของทั้งหมด
หรือถ้าเกิดกำลังจะเสียชีวิต (ป่วยหนัก) คนที่อยู่อีก 3 คนทำเรื่องโอนย้าย assests ออกมาจากคนนั้นก็ได้ครับ ยกเว้นเดินทางพร้อมกันหมด แล้วเกิดอุบัติเหตุ กรณนี้ช่วยไม่ได้
ไม่ได้กำหนดว่ารัฐไหนครับ เพราะไม่ได้เป็นอสังหาริมทรัพย์
แต่โดยมากเลี่ยงได้เพราะใส่ชื่อได้ 4 คนในบัญชี ถ้าเสียชีวิตก็จะโดน tax 30% ของ 1/4 ของทั้งหมด
หรือถ้าเกิดกำลังจะเสียชีวิต (ป่วยหนัก) คนที่อยู่อีก 3 คนทำเรื่องโอนย้าย assests ออกมาจากคนนั้นก็ได้ครับ ยกเว้นเดินทางพร้อมกันหมด แล้วเกิดอุบัติเหตุ กรณนี้ช่วยไม่ได้
ไม่ได้กำหนดว่ารัฐไหนครับ เพราะไม่ได้เป็นอสังหาริมทรัพย์
-
- Verified User
- โพสต์: 1252
- ผู้ติดตาม: 0
ซื้อหุ้นต่างประเทศ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 10
การได้รับความรู้ผ่านสื่อมากมายของท่านอ. ทำให้ผมคิดได้ว่าสไตล์การลงทุนของปีเตอร์ลินซ์นั้นคงจะทำให้ท่านอ.สบายใจได้มากที่สุด เพราะฉะนั้นตลาดหุ้นฮ่องกงกับเวียดนามอาจเหมาะกับท่านเพราะว่าเดินทางสะดวกไปกลับภายในได้ ถ้าจีนกลับภายในวันได้แต่ท่านอ.คงจะเหนื่อยหน่อย ชิวๆคงต้องให้เวลาซัก2วันครับ
มีคำถามที่น่าสนใจถ้าท่านเชิญคุณหมอสมมาเป็นกูรูรับเชิญอีก ในหนังสือเขียนว่าถ้ามนุษย์ใช้กำลังสติได้10%จะเป็นอัจฉริยะ ไม่ทราบว่ามีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์มารองรับไหมครับ
Taxนอกนี่ไม่เบาเลยลงทุนไทยสบายกว่ากันเยอะ
มีคำถามที่น่าสนใจถ้าท่านเชิญคุณหมอสมมาเป็นกูรูรับเชิญอีก ในหนังสือเขียนว่าถ้ามนุษย์ใช้กำลังสติได้10%จะเป็นอัจฉริยะ ไม่ทราบว่ามีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์มารองรับไหมครับ
Taxนอกนี่ไม่เบาเลยลงทุนไทยสบายกว่ากันเยอะ
-
- Verified User
- โพสต์: 21
- ผู้ติดตาม: 0
ซื้อหุ้นต่างประเทศ / ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 11
ตอนนี้หุ้น US น่าสนใจมั้ยครับ ช่วงเศรษฐกิจกำลังฟื้น