Value Way ฉบับวันที่ 24 สิงหาคม 2552
โดยวิบูลย์ พึงประเสริฐ
คิดอย่างกรีนสแปน
ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา อลัน กรีนสแปน อดีตผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชี่ยลไทม์กล่าวว่าเศรษฐกิจของอเมริกายังไม่สามารถฟื้นตัวได้ตราบใดที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ยังไม่ถึงจุดต่ำสุดและผู้บริโภคยังไม่มีความเชื่อมั่น แต่ดูเหมือนว่าอดีตประธานเฟดท่านนี้จะมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อภาพรวมเศรษฐกิจของสหรัฐ
ในบทสัมภาษณ์ล่าสุดเขากล่าวว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาอาจเห็นสัญญานของการเติบโตในสองไตรมาศสุดท้ายของปีนี้ แต่การฟื้นตัวอาจจำกัดในปีหน้า ข้าพเจ้าคิดว่าเราคงจะโอเคในช่วงหกเดือนข้างหน้า มีการฟื้นตัวในตลาดรับสร้างบ้านและตลาดรถยนต์ แต่ความยั่งยืนยังคงไม่แน่นอน
ปกติแล้วยอดขายรถยนต์และยอดขายบ้านเป็นตัวผลักดันให้เศรษฐกิจขยายตัว นโยบายของรัฐบาลสหรัฐในการใช้เงิน 3 พันล้านดอลลาร์สนับสนุนการให้เงินคืนสำหรับการเปลี่ยนรถยนต์เก่าเป็นรถยนต์ใหม่ที่ประหยัดน้ำมันช่วยให้ยอดขายรถยนต์ในประเทศดีขึ้นมาก แต่นโยบายนี้อาจจะไม่ใช่ทางออกในระยะยาว ยกตัวอย่างเช่นในสหภาพยุโรป รัฐบาลประเทศต่างๆโดยเฉพาะรัฐบาลเยอรมันให้การสนับสนุนนโยบายเปลี่ยนรถยนต์ ทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ในเยอรมันได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้น้อยกว่าในอเมริกาหรือญี่ปุ่นมาก แต่เมื่อนโยบายนี้สิ้นสุดลง ยอกขายรถยนต์ในเยอรมันก็กลับมาถดถอยอีกครั้ง
อดีตประธานเฟดท่านนี้บอกว่าตลาดรถยนต์ในอเมริกาเป็นธุรกิจที่อิ่มตัวแล้ว ดูได้จากปริมาณรถยนต์ที่มีทั่วประเทศมีปริมาณมากกว่าจำนวนคนขับรถถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่เครดิตผู้บริโภคยังคงตึงตัว ยอดขายรถยนต์ใหม่มีแนวโน้มที่จะลดลงหลังจากที่โปรแกรมแลกคืนรถยนต์จบไป
สำหรับยอดขายบ้านในอเมริกา การที่โครงการก่อสร้างใหม่ๆได้หยุดลงจะช่วยให้ผู้ประกอบการมีเวลาในการล้างสต๊อคบ้านเก่าที่ค้างอยู่ แต่กรีนสแปนเชื่อว่ายอดการซื้อขายบ้านคงยังไม่กลับไปเท่ากับก่อนวิกฤติซึ่งจะเป็นจุดที่บั่นทอนยอดขายในอนาคต
ถึงแม้ในช่วงที่กรีนสแปนเป็นผู้ว่าการธนาการกลาง ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องที่สุดในประวัติศาสตร์ตั้งแต่ปี 1991 ถึง 2001 แต่ผลงานของเขากลับได้รับการถูกตรวจสอบอย่างหนักในช่วงนี้ นักวิจารณ์กล่าวว่าในช่วงที่เขาเป็นผู้ว่าการธนากลางอยู่นั้น เฟดปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ต่ำเกินไปนับแต่เศรษฐกิจถดถอยในปี 2001 เป็นสาเหตุทำให้เกิดฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในครั้งนี้
กรีนสแปนตอบโต้ต่อข้อกล่าวหานี้โดยกล่าวว่าสาเหตุที่เฟดไม่สามารถเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในช่วงนั้น เนื่องมาจากภาวะเหตุการณ์ในโลกไม่เอื้ออำนวยให้ทำเช่นนั้นได้
สิ่งสำคัญที่ทำให้เขามั่นใจต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐคือการลดลงของสินค้าคงคลังในช่วงที่ผ่านมา ตัวเลขการบริโภคของสหรัฐสูงกว่าผลผลิตของผู้ประกอบการอยู่ 1.25 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้สภานภาพสมดุล ผู้ผลิตต้องทำการผลิตสินค้าให้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ผลผลิตมวลรวมของสหรัฐ (จีดีพี) เติบโตในช่วง 4 ถึง 5 เปอร์เซนต์ในช่วงหนึ่งไตรมาศ หรือ 2.5 เปอร์เซ็นต์ถ้าผู้ประกอบการทำการผลิตในช่วงหกเดือน นั่นหมายความว่าในช่วงไตรมาศสามและสี่ของปีนี้ จีดีพีของสหรัฐมีโอกาสพลิกกลับมาเป็นบวกได้ หลังจากที่ต้องประสบกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยถึงสี่ไตรมาศอย่างต่อเนื่อง
จะเห็นว่าถึงแม้กรีนสแปนจะไม่ได้ดำรงตำแหน่งประธานธนาคารกลางแล้วก็ตาม แต่อิทธิพลของเขาต่อความคิดนักเศรษฐศาสตร์รุ่นปัจจุบันยังคงมีอยู่ เขาคิดอย่างไร ให้สัมภาษณ์อะไร ผู้คนยังคงให้ความสนใจอย่างใกล้ชิด สำหรับนักลงทุนแล้ว ข้อมูลที่กรีนสแปนกล่าวมานั้นถือว่ามีประโยชน์มากสำหรับการตัดสินใจในการลงทุน
คิดอย่างกรีนสแปน :ValueWay วิบูลย์ พึงประเสริฐ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 795
- ผู้ติดตาม: 0
คิดอย่างกรีนสแปน :ValueWay วิบูลย์ พึงประเสริฐ
โพสต์ที่ 1
Miracle Happens Everyday !
"ปาฎิหารย์คือการเดินบนผืนดินและมีความสุขในทุกย่างก้าว"
"ปาฎิหารย์คือการเดินบนผืนดินและมีความสุขในทุกย่างก้าว"
- กล้วยไม้ขาว
- Verified User
- โพสต์: 1074
- ผู้ติดตาม: 1
คิดอย่างกรีนสแปน :ValueWay วิบูลย์ พึงประเสริฐ
โพสต์ที่ 2
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1252
- ผู้ติดตาม: 0
คิดอย่างกรีนสแปน :ValueWay วิบูลย์ พึงประเสริฐ
โพสต์ที่ 3
ขอบคุณครับ คิดอย่างกรีนสแปนจะเหมาะกับviไหมเพราะหลักการของviไม่สนใจศก.มหาภาคอยู่แล้ว อิอิ
ไม่น่าเอาคุณปู่มาเป็นเเพะรับบาปเลยที่กล่าวว่า
"สาเหตุทำให้เกิดฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เพราะ เฟดปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ต่ำในยุคปู่กรีนสแปน" ผมเชื่อว่าธนาคารเป็นผู้ทำให้เกิดวิกฤตด้วยมือตนเองเพราะปล่อยกู้สินเชื่อภาคอสังหาให้กับบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือต่ำอย่างไม่รอบคอบเองจึงเป็นเช่นนี้
ไม่น่าเอาคุณปู่มาเป็นเเพะรับบาปเลยที่กล่าวว่า
"สาเหตุทำให้เกิดฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ซึ่งนำไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เพราะ เฟดปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่ต่ำในยุคปู่กรีนสแปน" ผมเชื่อว่าธนาคารเป็นผู้ทำให้เกิดวิกฤตด้วยมือตนเองเพราะปล่อยกู้สินเชื่อภาคอสังหาให้กับบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือต่ำอย่างไม่รอบคอบเองจึงเป็นเช่นนี้