Value Way ฉบับวันที่ 16 พฤศจิกายน 2552
โดยวิบูลย์ พึงประเสริฐ
บราซิลมหาอำนาจในอนาคต
จากประเทศที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจ หนี้สาธารณะ การว่างงานและเงินเฟ้อสูงในช่วงทศวรรษ 1980 ปัจจุบันบราซิลเป็นประเทศที่ฟื้นตัวจากวิกฤติซัพไพร์มรอบนี้ได้เร็วกว่าประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่อื่นๆ คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของบราซิลจะมีการขยายตัว 3.1% ในปี 2010 จากจีดีพีที่ติดลบเล็กน้อยในปีนี้ที่ -0.3%
บราซิลเป็นประเทศแรกๆในโลกที่หันมาให้การสนับสนุนพลังงานทดแทนน้ำมันก่อนหน้าประเทศอื่นกว่า 20 ปี ในช่วงที่บราซิลมีปัญหาเศรษฐกิจในช่วง 1980 รัฐบาลบราซิลสมัยนั้นซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการทหาร ได้เริ่มการรณรงค์ใช้เอทานอลสำหรับรถยนต์แทนการใช้น้ำมัน เพราะบราซิลเป็นประเทศที่ผลิตอ้อยมากที่สุดในโลก รัฐบาลจึงส่งเสริมให้เอทานอลผลิตมาจากอ้อย ในช่วงแรกการใช้เอทานอลทดแทนน้ำมันในประเทศไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก เนื่องจากราคาน้ำมันเริ่มลดลง ทำให้ต้นทุนการผลิตเอทานอลมีราคาสูงกว่าน้ำมันสำเร็จรูป ราคาเอาทานอลจึงไม่สามารถแข่งขันกับน้ำมันได้ ผู้บริโภคจึงให้การตอบรับน้อย รวมทั้งรถยนต์ที่สามารถใช้เอทานอลได้ยังมีไม่แพร่หลายมากนัก
แต่รัฐบาลบราซิลไม่ย่อท้อ ยังคงให้การสนับสนุนการผลิตเอทานอลจากอ้อยเพื่อทดแทนน้ำมันที่ยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศอยู่ต่อไป เอทานอลส่วนเกินของการผลิตจึงจำเป็นต้องทำการส่งออกเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆแทนที่จะนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ จุดเปลี่ยนของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงของบราซิลเริ่มต้นในช่วงทศวรรษ 1990 วิศวกรของจีเอ็มสามารถพัฒนาระบบของเครื่องยนต์ให้สามารถใช้เชื้อเพลิงเอทานอลและน้ำมันสำเร็จรูปได้พร้อมๆกันในเวลาเดียวกัน ในสัดส่วนเท่าไหร่ก็ได้โดยเครื่องยนต์จะปรับอัตราการจุดระเบิดให้พอเหมาะกับเชื้อเพลิงที่ผสมกันอยู่ในถังโดยอัตโนมัติ โดยเครื่องยนต์แบบธรรมดาไม่สามารถทำได้ รถยนต์ชนิดนี้เรียกว่ารถยนต์แบบระบบเชื้อเพลิงผันแปรได้ (Flex-fuel Car)
เมื่อราคาน้ำมันเริ่มสูงขึ้น ราคาเอทาอลเริ่มแข่งขันได้ รวมทั้งในถนนมีรถนต์ที่สามารถเติมเอทานอลแบบไม่จำกัดสัดส่วนเป็นจำนวนมาก ทำให้การใช้เอทานอลเป็นที่นิยมอย่างสูงในบราซิล จนปัจจุบันบราซิลไม่จำเป็นต้องนำเข้านำ้มันดิบอีกต่อไป ผลกระทบจากราคานำ้มันที่สูงเกือบ 100 เหรียญต่อบาร์เรลที่ทำให้ประเทศอื่นๆเดือดร้อนกันทุกหย่อมหญ้าโดยเฉพาะกับประเทศที่ต้องนำเข้าน้ำมัน(อย่างประเทศไทย) กลับไม่มีผลกระทบกับเศรษฐกิจของบราซิลแต่อย่างใด
นอกเหนือจากนั้นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของบราซิล (Petrobas) ยังได้ค้นพบแหล่งนำ้มันนอกชายฝั่งของบราซิลในทะเลลึกใต้ขั้นหินที่ตามปกติเทคโนโลยีสมัยก่อนจะไม่สามารถเจาะผ่านได้ หลุมน้ำมันของบราซิลแหล่งนี้มีปริมาณสำรองจำนวนมาก ถ้าสำรวจทั้งหมดจะทำให้บราซิลมีปริมาณสำรองน้ำมันเป็นอันดับสองของโลกรองจากซาอุดิอารเบีย ปัจจุบันบราซิลเริ่มทำการส่งออกน้ำมันได้แล้วและคาดว่าจะเข้าร่วมกลุ่มโอเปคในเร็วๆนี้
ถึงแม้บราซิลจะส่งออกอาหารและพลังานเป็นจำนวนมาก แต่่สัดส่วนการส่งออกต่อจีดีพีเป็นเพียงแค่หนึ่งในสี่เท่านั้น แสดงให้เห็นว่าตลาดผู้บริโภคในประเทศเป็นตลาดที่ใหญ่และจะช่วยให้เศรษฐกิจของบราซิลเติบโตไปข้างหน้าได้โดยไม่ต้องพ่ึงการฟื้นตัวของประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาหรือยุโรป ไม่แปลกใจว่าในปีนี้ตลาดหุ้นบราซิลเพิ่มขึ้นถึง 77% มีการคาดการณ์ว่าในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า บราซิลจะป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลก เราคงบอกว่าบราซิลเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกได้อย่างแน่นอน
บราซิล...มหาอำนาจในอนาคต:ValueWay วิบูลย์ พึงประเสริฐ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 795
- ผู้ติดตาม: 0
บราซิล...มหาอำนาจในอนาคต:ValueWay วิบูลย์ พึงประเสริฐ
โพสต์ที่ 1
Miracle Happens Everyday !
"ปาฎิหารย์คือการเดินบนผืนดินและมีความสุขในทุกย่างก้าว"
"ปาฎิหารย์คือการเดินบนผืนดินและมีความสุขในทุกย่างก้าว"
- kurapica
- Verified User
- โพสต์: 587
- ผู้ติดตาม: 0
บราซิล...มหาอำนาจในอนาคต:ValueWay วิบูลย์ พึงประเสริฐ
โพสต์ที่ 2
จริงแท้แน่นอน เกี่ยวกับเรื่องเอทาน่อล
ไม่มีพืชใดสู้อ้อยได้ในการผลิตเอทาน่อล
ถึงแม้ว่า อ้อย 1 กิโลกรัม จะผลิตเอทาน่อลได้น้อยกว่า มันสัมปะหลัง 1 กิโลกรัม
แต่ในพื้นที่ 1 ไร่ ถ้าปลูกอ้อยทั้งหมด จะสามารถผลิต เอทาน่อลได้เยอะที่สุด
เยอะกว่าพืชอื่นๆในพื้นที่ปลูก 1 ไร่เท่ากัน
แล้วบราซิลมีพื้นที่ปลูกอ้อยมหาศาลมาก เป็นประเทศที่สามารถกำหนดราคาน้ำตาลในตลาดโลกได้เลย
ถ้าน้ำมันแพงบราซิลก็จะเอาอ้อยไปทำเอทาน่อลมากขึ้น น้ำตาลที่ส่งออกก็จะน้อยลง ทำให้ราคาน้ำตาลสูงขึ้น
ไทยเรา แม้จะเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับต้นๆ แต่เมื่อเทียบปริมาณกับบราซิลแล้ว
ยังห่างกันมากโข
ราคาน้ำตาลจะดีหรือไม่ต้องรอดูท่าที บราซิลและประเทศผู้ผลิตและบริโภคใหญ่ๆ อย่าง จีน อินเดีย
ไม่มีพืชใดสู้อ้อยได้ในการผลิตเอทาน่อล
ถึงแม้ว่า อ้อย 1 กิโลกรัม จะผลิตเอทาน่อลได้น้อยกว่า มันสัมปะหลัง 1 กิโลกรัม
แต่ในพื้นที่ 1 ไร่ ถ้าปลูกอ้อยทั้งหมด จะสามารถผลิต เอทาน่อลได้เยอะที่สุด
เยอะกว่าพืชอื่นๆในพื้นที่ปลูก 1 ไร่เท่ากัน
แล้วบราซิลมีพื้นที่ปลูกอ้อยมหาศาลมาก เป็นประเทศที่สามารถกำหนดราคาน้ำตาลในตลาดโลกได้เลย
ถ้าน้ำมันแพงบราซิลก็จะเอาอ้อยไปทำเอทาน่อลมากขึ้น น้ำตาลที่ส่งออกก็จะน้อยลง ทำให้ราคาน้ำตาลสูงขึ้น
ไทยเรา แม้จะเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับต้นๆ แต่เมื่อเทียบปริมาณกับบราซิลแล้ว
ยังห่างกันมากโข
ราคาน้ำตาลจะดีหรือไม่ต้องรอดูท่าที บราซิลและประเทศผู้ผลิตและบริโภคใหญ่ๆ อย่าง จีน อินเดีย
- siebelize
- Verified User
- โพสต์: 451
- ผู้ติดตาม: 1
บราซิล...มหาอำนาจในอนาคต:ValueWay วิบูลย์ พึงประเสริฐ
โพสต์ที่ 4
เห็นว่ามี สามสี่ที่นี่ครับ ที่มีกองทุน ตัว BRICjung_oh เขียน:ไปลงทุนหุ้นบราซิลกันดีไหมครับ
ซื้อตอนน้อีก 10 ปี น่าจะแหล่ม
มีกองไหน ลงทุนแค่บราชิลไหมคับ
แต่มันก็เหมาเข่งมากับประเทศอื่นด้วย
แต่ว่า บราซิลเดี่ยวๆแล้ว ยังไม่เห็นนะครับ
ว่าแต่ว่า ที่บอกว่าสัดส่วนการส่งออกที่เหลืออีก 75% เนี่ย
มันเป็นนักฟุตบอลรึเปล่าครับ :lol: :lol: :lol: :lol:
-
- Verified User
- โพสต์: 1
- ผู้ติดตาม: 0