เครือ เจริญโภคภัณฑ์ ในมุมของฮาร์วาร์ด

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 0

เครือ เจริญโภคภัณฑ์ ในมุมของฮาร์วาร์ด

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เครือ เจริญโภคภัณฑ์ ในมุมของฮาร์วาร์ด

ยาวหน่อยนะครับ
แต่น่าอ่านดี

http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 59085.html

เครือ เจริญโภคภัณฑ์ ในมุมของฮาร์วาร์ด

Blog วิรัตน์ แสงทองคำ
http://viratts.wordpress.com/2009/09/03 ... /#more-118

ซีพีศตวรรษที่21 ภาระสุดท้ายธนินท์ เจียรวนนท์

  เขาเป็นคนเดียวก็ว่าได้ใน สังคมธุรกิจไทย ที่บริหารกิจการจากเล็กจนยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ในช่วงวัยที่เหมาะสม ความคิด และบทเรียนของเขา ที่พยายามเรียนรู้ไม่หยุด โดยเฉพาะการปรับความคิดหลังวิกฤติ 2540 ก่อนจะก้าวสู่ยุคใหม่ จึงเป็นบทเรียนที่น่าศึกษา

ไม่กี่เดือนมานี้ เขาตัดสินใจย้ายที่ทำงานของเขาอย่างเป็นทางการจากอาคารซีพีทาวเวอร์ ริมถนนสีลม มาอยู่ที่อาคารเทเลคอมทาวเวอร์ รัชดาภิเษก ความเปลี่ยนแปลงแค่นี้ คงไม่มีความหมายอะไรนัก หากมองอย่างผิวเผิน แต่สำหรับธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จะตีความหมายอย่างง่ายๆ ไม่ได้

ทางโน้นเข้ารูปเข้ารอย ผมมาทีเอเป็นบริษัทใหญ่ ผมต้องประชุมเกือบทุกวัน สร้างทีมใหม่ โดยมีโอกาสสัมผัสทีมงานว่าใครเก่ง โดยถือว่าเป็นเทรนเนอร์ แต่ ที่ซีพี เราสัมผัสมาหลายสิบปีแล้ว ตั้งแต่ทีเอยังใหม่อยู่ เรามาเป็นอาจารย์ และเป็นลูกศิษย์ โดยมาเรียนรู้ใหม่ เราร่วมกับ กับ Bell Atlantic ต่อไป เรามี KfW เข้ามา ซึ่งเป็นแบงก์ ที่ใหญ่กว่าแบงก์ชาติของเยอรมนี ทำให้มีโอกาสได้เรียนรู้ เขาตอบคำถาม ในการสนทนาครั้งหนึ่งก่อนขึ้นปี 2000 ไม่กี่วัน

อาคารเทเลคอมทาว เวอร์สูงกว่า 30 ชั้น ถูกตกแต่ง และจัดทำระบบสื่อสารภายใน เพื่อเป็นอาคารอัจฉริยะ สำหรับเป็นที่ทำงานของบริษัทเทเลคอม เอเซีย จำกัด (มหาชน) หรือทีเอ โดยห้องหนึ่งในอาคารนี้ก็คือ ห้องปฏิบัติการควบคุม และการบริหารเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐานของกรุงเทพฯ ที่วางไว้ 3 ล้านเลขหมาย ซึ่งมันมีความหมายเป็นสัญลักษณ์ ที่สัมผัสได้ของกิจการเทเลคอม ที่บริหารเครือข่ายอันยิ่งใหญ่ ขณะเดียวกันก็หมายถึงความมั่นคงของ ระบบสื่อสารทางโทรศัพท์ ที่มีปริมาณมากกว่าครึ่งหนึ่งของกรุงเทพฯ เมืองหลวงใหญ่แห่งหนึ่งของภูมิภาค

อาคารแห่งนี้มีระบบรักษาความ ปลอดภัย ค่อนข้างเข้มงวดอาคารหนึ่งในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ไม่รวมการตกแต่งที่พยายามจะใช้วัสดุเกรดพรีเมียม ด้วยบุคลิกของความทันสมัยสอดคล้องกับธุรกิจ ระยะหลังมานี้ เวลาที่ธนินท์ เจียรวนนท์ ให้สัมภาษณ์นิตยสารต่างประเทศ เขามักจะมาที่นี่ และถ่ายรูปในห้องปฏิบัติการที่ดูน่าเกรงขามห้องนั้นเสมอ

ว่ากันว่า คนที่ดูแลการจัดวางระบบภายในของห้องนี้ก็คือ ศุภชัย เจียรวนนท์ ลูกชายคนที่สองของเขา ซึ่งก้าวขึ้นมาเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเทเลคอมเอเซีย (15 มีนาคม 2542) ก่อนหน้าที่เขาจะย้ายที่ทำงานในฐานะประธานกรรมการ เข้ามาทีเดียวกันเพียงประมาณ 6 เดือนต่อมา ทั้งๆ ที่เขาเป็นประธานบริษัทนี้มาตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปี 2532 ลูกชายคนที่สองคนนี้อายุ 33 ปี ผ่านการศึกษาด้านการบริหารจากสหรัฐฯ มีบทบาทสำคัญในการงานด้านต่างๆ ของทีเอมาตั้งแต่ปี 2535 เริ่มต้นดูแลห้องปฏิบัติการที่ว่านี้ในยุคก่อสร้าง (2536-7) ดูแลด้านวางแผน และโครงการในยุคของการเริ่มต้นวางเครือข่าย (2537 -2538) จากนั้นก็ดูแลงานด้านปฏิบัติการ และพัฒนาธุรกิจในยุคที่เริ่มธุรกิจอย่างจริงจัง และเมื่อก้าวขึ้นเป็นผู้จัดการใหญ่ได้เพียง 9 เดือน การเจรจาประนอมหนี้ครั้งสำคัญก็สำเร็จลง โดยภาพรวมก็ต้องมองวิวัฒนาการของทีเอมีส่วนสัมพันธ์ และถือว่าเป็นผลงานของลูกชายคนนี้ของเขาด้วย ธนินท์เองก็ยอมรับกับกลุ่มนักข่าวกลุ่มหนึ่งว่า ลูกชายคนนี้มีความสามารถในการบริหารกิจการที่ใหญ่ที่สุดของกลุ่มซีพี (ดูจากปริมาณสินทรัพย์และโดยเฉพาะหนี้สิน) โดยเขาใช้คำว่า สอบผ่าน

บาง คนคาดว่า หากประธานและผู้จัดการใหญ่ ทำงานร่วมแรงร่วมใจขนาดนี้ ปัญหาของทีเอก็คงแก้ไขอุปสรรคขวากหนามใดๆ โดยง่าย ขณะที่บางคนบอกว่าที่ ธนินท์ เจียรวนนท์ บอกว่าจะลดบทบาทงานประจำลงนั้น แท้ที่จริงก็ใช้ช่วงชีวิตที่เหลืออยู่ เป็นฐาน ให้ลูกชายของเขาเดินสู่วงการ และก้าวขึ้นอย่างมั่นคงต่อไป





ความคิดใหม่

ยิ่ง ไปกว่านั้น ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ธนินท์ เจียรวนนท์ มีความพยายามขยายแนวความคิดว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจเดิม (ธุรกิจเกษตร ปัจจุบันเรียกธุรกิจอาหาร) ของเขากับธุรกิจใหม่นี้มากขึ้น แม้จะยังเป็นที่สงสัยของผู้คนโดยทั่วไป โดยเฉพาะนักลงทุนต่างประเทศ ว่าทั้งสองธุรกิจเกี่ยวพัน และเกื้อกูลกันอย่างไร ที่สำคัญที่สุดก็คือ ทีเอหรือธุรกิจสื่อสารได้กลายเป็นธุรกิจหลักอีกหนึ่งเสาหลักของซีพีไปแล้ว และดูจะมั่นคงมากขึ้นจากนี้ด้วย บทสนทนาของเขาเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศดังขึ้นๆ ธนินท์พูดเรื่องการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารองค์กรธุรกิจของเขา ครั้งแรกๆ ในช่วงเดียวกับที่เขาแต่งตั้งลูกคนที่สองขึ้นเป็นผู้จัดการใหญ่ทีเอ

ซีพีคิดมากในเรื่องนี้ เราคงไม่ได้พูดว่าเลี้ยงไก่แล้วจะไม่ใช้คอมพิวเตอร์ เพราะเราต้องจัดการ ต้องบริหาร มีข้อมูล มี transaction ทุกธุรกิจต้องใช้ ระบบการจัดการ และการบริหาร ที่ผ่านมาเราใช้คน และเอกสารเป็นหลัก ถ้าเราใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น ถ่ายทอดประสบการณ์ของคนลงไปในคอมพิวเตอร์เป็นแอพพลิเคชั่น เป็นซอฟต์แวร์ เราจะอาศัยคนน้อยลง ซึ่งหมายความว่าข้อผิดพลาดจะน้อยลง การใช้เอกสารที่เป็นกระดาษจะน้อยลง ใช้คนน้อยลง สิ่งเหล่านี้แค่ระบบการจัดการ การบริหาร แต่การพัฒนาของสื่อสารโทรคมนาคมมันไปไกลกว่านั้น นอกจากนำมาจัดการบริหารภายในองค์กร คุณสามารถต่อเชื่อมระบบการบริหาร การจัดการองค์กรไปสู่ลูกค้า ไปสู่บริษัทคู่ค้า โดยผ่านระบบสื่อสารโทรคมนาคม มันจะ integrate (รวม) เข้ากันหมด เราต้องเตรียมพร้อมในส่วนนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่า ทำได้ในพริบตาเดียว ต้องเตรียมคนให้พร้อมเอาประสบการณ์ถ่ายทอดลงไปเป็นแอพพลิเคชั่น ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ทีเอ อรรถาธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อเดือนสิงหาคม 2542 ซึ่งเชื่อแน่ว่า คำอธิบายของเขาย่อมมีอิทธิพลต่อบิดาของเขาไม่น้อย


ความคิดเห็นที่ 1 [ถูกใจ] [แจ้งลบ]  

Network Factory

แนวคิดนี้หากจะกล่าวอย่างเป็นระบบขึ้นจากนั้น ก็คงต้องอ้างข้อเขียนชิ้นหนึ่ง ซึ่งเป็นการ ตีความ สาระที่ธนินท์กล่าวอย่างคร่าวๆ ครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม ปีที่แล้ว แนวคิดสอดคล้องกับแนวคิดของการบริหารกิจการเครือข่ายอันกว้างขวางของซีพี จะโดยมีการวางยุทธ์ศาสตร์ธุรกิจใหม่ที่ลึกซึ้งหรือไม่ก็ตาม แนวความคิดใหม่ของกลุ่มซีพี ที่ขยายความโดยธนินท์ เจียรวนนท์ ว่าด้วยแผนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ในการบริหารองค์กรโดยรวม มีร่องรอยของความพยายามในการปรับยุทธ์ศาสตร์องค์กร ภายใต้แรงบีบคั้นครั้งสำคัญทีเดียว

หนึ่ง-ซีพีกำลังเดินแผนการสร้าง องค์กรธุรกิจเครือข่าย (Networked corporation) โดยแต่ละหน่วยในเครือข่ายเกื้อกูลกันไปมา ซึ่งมิใช่โมเดลการแตกตัวทางธุรกิจตามแนวตั้ง และแนวนอนอีกต่อไป กลุ่มซีพีมีอุตสาหกรรมอาหารเป็นฐานที่เข้มแข็ง มีเครือข่ายการผลิต การตลาด กระจายไปทั่วภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีนแผ่นดินใหญ่ เป็นร้อยๆ แห่ง ดูเหมือนว่ากลุ่มนี้พยายามให้การบริหารงานที่อิสระจากกัน ในแต่ละหน่วยจากเดิมนั้น มาเชื่อมกัน แชร์ทรัพยากรต่างๆ ร่วมกัน ภายใต้การบริหารงานที่มีทิศทางร่วมกันเกื้อกูลกันอย่างเต็มที่

สอง-เป็น ความพยายามอย่างเป็นรูปเป็นร่างให้ฐานอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเป็นฐานธุรกิจเก่าแก่ เชื่อมกับเครือข่ายค้าปลีกสมัยใหม่ ซึ่งมีโมเดลชัดเจน ในเมืองไทยจากการขยายตัวนับพันแห่งของร้าน 7-Eleven โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการจัดการข้อมูลการบริหาร การค้าอย่างมีประสิทธิภาพ การค้าแบบใหม่นี้จะทำให้อุตสาหกรรมอาหาร ที่มีเครือข่ายกว้างขวาง มีตลาดที่เข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงมากขึ้น เป็นเครือข่ายที่ทรงพลัง  เมื่อกลางปีที่ผ่านมาซีพีได้จ้าง McKinsey Company ที่ปรึกษาด้านการจัดการ มาให้คำปรึกษาในการปรับโครงสร้างกิจการ ซึ่งธนินท์กล่าวว่า บริษัทกำลังศึกษา ถ้าบริษัทจะก้าวทันต่อโลก เราต้องเข้าใจว่าในโลกนี้บริษัทที่ทันสมัยเขาทำอะไร ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เราจึงจ้างบริษัทที่ปรึกษาขึ้น เหมือนกับเราตรวจเซ็กร่างกายทุกส่วนว่า เรามีอะไรที่ต้องปรับปรุงแก้ไข แล้วเราต้องทำอย่างไรจึงจะก้าวเข้าสู่ศตวรรษใหม่

การปรับโครงสร้าง ที่เริ่มปรากฏรูปร่างชัดเจนขึ้นเมื่อรวมกิจการด้านเกษตร ต่างๆ มาอยู่ภายใต้การบริหารของบริษัทเดียว บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ อาหาร (CPF) โดยประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2542 พร้อมสโลแกนว่าจะเป็น Kitchen of the World ซึ่งแม้แต่สำนักข่าว ซิงหัว (Xin-Hua News Agency) ของจีนแผ่นดินใหญ่ ยังให้ความสำคัญกับข่าวนี้ แผนการหนึ่งในแผนการปรับโครงสร้างกิจการนี้

ธนินท์ยอมรับว่าจะต้องลง ทุนอีกหลายร้อยล้านบาท เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลธุรกิจทั้งหมดมาอยู่ร่วมกัน ซึ่งเขาเรียกว่าศตวรรษของข้อมูลข่าวสาร เวลานี้ทำแล้ว จะให้ละเอียดถึงขั้นว่าเราส่ง (ข้อมูล) ไปที่ไหน ข้อมูลตัวไหนจะให้ใครดู ตอนนี้ทุกโรงงานมีหมดเพียงแต่ยังไม่ได้ Link เท่านั้น กำลังวางระบบอยู่ โดยจ้างคนทำอยู่ ต่อไปตื่นเช้าขึ้นมาดูคอมพิวเตอร์ไม่กี่ตัว ผมจะรู้ว่าธุรกิจซีพีจะมีอะไรเกิดขึ้น เขากล่าวอย่างเชื่อมั่น และเป็นที่คาดกันว่า ข้อมูล ทั้งหลายจากกิจการทั่วโลกของซีพี ตามแผนการจะมารวมศูนย์ ที่ตึกเทเลคอมทาวเวอร์แห่งนี้ ซึ่งเป็นอาคารที่พร้อมด้วยเครือข่ายชั้นดี ข้อมูลที่ว่าคงไม่ใช่ข้อมูล เพื่อการจัดการโรงงานที่กระจายอยู่ทั่วโลกเท่านั้น ที่สำคัญก็คือ ข้อมูลจะมีเป้าหมาย เพื่อการขายสินค้าให้มากขึ้น ธนินท์บอกว่าระบบข้อมูลที่ว่า จะจัดระบบแล้วเสร็จภายในปี 2543 นี้ นั่นคือ การพัฒนาจาก Network Factory ไปสู่ Network Marketing Network Marketing

การ ปรับโครงสร้าง CPF ที่ผ่านมา ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง และความคิดครั้งใหญ่ของซีพีอีกครั้งหนึ่ง ภายใต้สถานการณ์ ที่บีบบังคับให้ต้อง Rethink ซึ่งมิใช่ภาพกว้างๆ อย่างที่พูดๆ กันว่าซีพีกลับมาให้ความสำคัญกับธุรกิจการเกษตรมากขึ้น ซึ่งถือเป็นธุรกิจเดิมที่มีความสามารถในการแข่งขัน (Core Competence) โดยพยายามขายหรือลดบทบาทในกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องลงเท่านั้น

หนึ่ง ซีพี ซึ่งถือเป็นธุรกิจไทยธุรกิจแรกๆ ที่มีความสัมพันธ์กับประชาคมเศรษฐกิจโลกมากที่สุดรายหนึ่ง ถูกเรียกร้องเสมอมาให้เปิดเผยข้อมูลตัวเองมากขึ้น ยิ่งเมื่อหลายกิจการถูกแยกย่อยอย่างไม่เป็นระบบเท่าที่ควร ในช่วงที่ผ่านมา เข้าตลาดหุ้นในต่างประเทศ ทั้งฮ่องกง, ไต้หวัน, ลอนดอน และนิวยอร์ก ข้อเรียกร้องนี้จึงดังขึ้นๆ แต่อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ปกติ ซีพีก็ไม่ได้ฟังเสียงเหล่านั้นมากนัก มีเพียงพยายามหาคำตอบเฉพาะหน้าเป็น เรื่องๆ ไป ขณะนั้นซีพีมุ่งสร้างโครงสร้าง เพื่อการบริหารของตนเองเท่านั้น มิใช่ตอบสนองความ โปร่งใส ตามสไตล์ครอบครัวธุรกิจเอเชีย แต่เมื่อสถานการณ์วิกฤติ ความต้องการ เงิน จากต่างประเทศโดยเฉพาะจากตะวันตกมีมากขึ้น ซีพีจึงต้องปรับตัวในแง่นี้ เพื่อจัดองค์กรให้มีความชัดเจนมากขึ้น เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีลักษณะที่แน่ชัด ไม่สับสน ทั้งนี้เพื่อจะได้แสวงหาเงินทุน รวมทั้งทำให้หุ้นของซีพีในตลาดหุ้นหลักของโลกขึ้น โดยเฉพาะการแสวงหาเงินทุนจากตะวันตกได้มากขึ้น บริษัท (ต่างๆ) ไม่ได้ยุบ แต่เอามาอยู่ใต้ CPF เพื่อให้คนติดภาพ CPF ว่าเป็นเรื่องอาหาร ทำให้คนที่จะมาลงทุนโดยเฉพาะกองทุน เราจะแยกให้ชัดออกไป ธนินท์ เจียรวนนท์ ยอมรับเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา ในกรณี CPF ซึ่งเชื่อกันว่า คงไม่ใช่ธุรกิจอาหารเท่านั้น ที่ต้องทำแต่เผอิญธุรกิจอาหารของซีพี มีการจัดองค์กรอย่างสับสนที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มทีเอ ซึ่งมีฝรั่งถือหุ้นแต่ต้น ความจำเป็นต้องชัดเจนจึงถูกกำหนดมาก่อน วงการเชื่อกันว่าซีพีกำลังทำตัวเองให้ โปร่งใส มากขึ้นๆ เป็นลำดับจากนี้ โดยเฉพาะการจัดการกับโครงสร้างบริหารใหม่ ปรากฏการณ์ที่ CPF ทำให้นักลงทุนเริ่มแยกซีพีออกเป็น 2 ซีกหลักๆ แล้ว โดยเริ่มมองเห็นแล้วว่าธุรกิจอาหาร ที่บรรดา ทายาท ของเจียรวนนท์รุ่นใหม่ไม่เข้าไปยุ่งนั้น มีรูปร่างการจัดการที่แน่ชัดมากขึ้น ประเสริฐ พุ่งกุมาร ซึ่งถูกแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการบริหาร CPF นั้น คาดกันว่าจะมาแทน ธนินท์ เจียรวนนท์ ในไม่ช้า ขณะที่ดร.ชิงชัย โลหะวัฒนกุล ดร.หลิน เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ CPF ที่ผ่านมาการวางตัวกรรมการที่ไขว้กันไปหมด กับกิจการที่ถือหุ้นอย่างไม่มีสัดส่วน ทำให้ตลาดหุ้นต่างประเทศไม่เข้าใจ เรื่องราวนี้เคยถูกตั้งข้อสงสัยมาจากตลาดหุ้นในฮ่องกงครั้งหนึ่งแล้ว ผู้รู้เรื่องเล่าให้ฟัง

โครงสร้างใหม่ในประเทศไทย ที่รวมบริษัททั้งหลาย ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรเข้ามาอยู่ใต้บริษัทเดียว มีความแตกต่างจากโครงสร้าง ที่ผ่านมา ที่เน้น การบริหารมากกว่าความชัดเจนในเรื่องโครงสร้าง ผลประโยชน์ธุรกิจ ก็คือ CPF จะเข้าถือหุ้นข้างมากกิจการเกษตรทั้งหมดในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะ เป็น 100% จากนั้น กิจการที่อยู่ในตลาดหุ้น อื่นๆ ก็จะถอนออกจากตลาดหุ้นหมด เพื่อให้นักลงทุนดูเฉ พาะ ที่ CPF เท่านั้น งบการเงินใหม่จะ Consolidate มีภาพ ที่ชัดเจนมากสำหรับธุรกิจอาหารของซีพีในประเทศไทยจากนี้ไป จากแนวความคิดการบริหารการเงิน บุคลากร และสิ่งร่วมต่างๆ จะอยู่ที่ CPF ซึ่งแต่เดิมอยู่บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CPG) ดังนั้น บทบาทของ CPG ซึ่งไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ก็คงเป็น Holding Company ในลักษณะบริษัทลงทุนเท่านั้น ต่อไป โมเดลธุรกิจใหม่คาดกันว่า ก็คงจะขยายต่อไปในประเทศอื่นๆ ด้วยในไม่ช้านี้ ความชัดเจนยังเกิดขึ้นกับพนักงานซีพีหลายหมื่นคนด้วยว่า อะไรกำลังเกิดขึ้น ลูกหม้อ รุ่นบุกเบิกกำลังเข้ามามีบทบาทอย่างเต็มที่ โดยดูว่าธนินท์กำลังจะถอยห่างจากธุรกิจหลักด้วยความมั่นใจมากขึ้น ประเสริฐ พุ่งกุมาร ทำงานบุกเบิกซีพีมาแต่ต้น ในฐานะ ลูกเขย เจียรวนนท์ ทำงานมาค่อนชีวิตมีอายุงานเกือบ 50 ปี มีบทบาทเป็นรองธนินท์มายาวนาน จึงสมควรจะขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุด เพียงแต่วัยของเขามาก จะทำงานบริหารต่อไปได้ไม่มากนัก ชิงชัย เป็นชาวไต้หวัน จบการศึกษาด้านเคมีเกษตร นับได้ว่าเป็นคนรุ่นบุกเบิกธุรกิจครบวงจรของซีพี ที่มีการศึกษามากที่สุด (อายุงานในซีพี 37 ปี) และมีส่วนสำคัญทำให้ธุรกิจอาหารสัตว์ของซีพีพัฒนาไป งานวิชาการ งานค้นคว้าใหม่ๆ ดร.หลินจะมีบทบาทเสมอ ความโปร่งใส และแยกกิจการที่แตกต่างกันออกชัดเจนนี้ เป็นอิทธิพลความคิดโดยตรงจากโมเดลของธุรกิจตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐฯ Mc Kinsey ที่ปรึกษาให้คำปรึกษาทำนองนี้กับเครือซิเมนต์ไทยมาแล้ว ซึ่งผู้บริหารเครือซิเมนต์ไทยยอมรับในอิทธิพลความคิดนี้ โดยให้เหตุผลว่า Market Driven นั้น ความจริงก็คือ ความต้องการเงินทุนจากตะวันตกนั่นเอง

สอง-คำ ว่าธุรกิจอาหาร และ Kitchen of the World มีความหมายมาก ทีเดียวในเชิงความคิด ในช่วงหลายสิบปีมานี้ซีพีให้ความสำคัญในด้านการผลิต เพื่อสร้างอำนาจการผลิตลักษณะครบวงจร ให้มีพลังในการแข่งขัน เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคในลักษณะครอบงำ ต่อมาก็ขยายโมเดลการดำเนินธุรกิจการผลิต ครบวงจร ในลักษณะภูมิศาสตร์มากขึ้น จนกลายเป็นเครือข่ายอันยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกและจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งตรงกับแนวคิดใหม่ของธุรกิจยักษ์ใหญ่ระดับโลก ที่พยายามจัดความสัมพันธ์ระหว่างกิจการ ต่างๆ ในภูมิภาคโดยเรียกว่า Regional Organization เชื่อมโยงการผลิตการตลาดเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะสินค้าคอนซูเมอร์ ซึ่งนับวันซีพีก็กำลังพัฒนาตนเองเป็นธุรกิจคอนซูเมอร์มากขึ้นๆ จากนี้ความคิดกำลังพัฒนาไปสู่การผลิตสินค้าสำเร็จรูป (โดยเฉพาะสินค้า ที่มีแบรนด์เนมของตัวเอง) มากขึ้น มีผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะตลาดมากขึ้นอย่างหลากหลายมาก โดยมุ่งไปที่ผลิตภัณฑ์เข้าสู่ผู้บริโภคโดยตรงมากขึ้น การสร้างเครือข่ายการตลาดจึงเป็นความจำเป็นขั้นใหม่ของซีพีจากนี้ไป สิ่งที่ซีพีกำลังทำเรียกว่า Supply Chain Management พูดง่ายๆ ซีพีกำลัง เคลื่อนย้าย(Shift) จากผู้ผลิตที่มีเครือข่ายการผลิตอาหารระดับโลกรายหนึ่ง มาสู่การสร้างและบริหารเครือข่ายการขายอาหารของโลกอย่างเป็นจริงเป็นจัง ภายใต้การแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ครอบคลุมมากขึ้น ที่สำคัญไม่มี ตลาดใหม่ หรือ พื้นที่ใหม่อันบริสุทธิ์ ให้ซีพีเจาะเข้าไปอีกแล้ว บทเรียนในประเทศจีนกำลังบอกเช่นนั้น ธุรกิจการเกษตรขนาดใหญ่ในจีนของซีพีกำลังประสบกับปัญหาเดิมๆ หลายประการ ซีพีนั้นมีทั้งธุรกิจที่เป็นธุรกิจร่วมทุน หรือเป็นของซีพีเอง หรือธุรกิจอื่นๆ ในมณฑล 28 แห่งจากมณฑลทั้งหมด 31 แห่งทั่วประเทศ รวมมูลค่าทรัพย์สินทั้งสิ้น 1,800 ล้านดอลลาร์ ธีรยุทธ์ พิทยาอิสระกุล ประธานธุรกิจการเกษตรของซีพีกล่าวว่า ธุรกิจร่วมทุนด้านสัตว์ปีกในจีนเพียง ธุรกิจเดียวก็มีรายได้ถึง 2,500 ล้านดอลลาร์ แต่กระนั้น ส่วนต่างของผลกำไร ในธุรกิจดังกล่าวก็มีน้อยมาก คือ เพียง 5% เท่านั้น ดังนั้น แรงกดดันต่อราคาสินค้าประเภทนี้สามารถส่งผลกระทบต่อฐานการผลิตได้อย่างง่าย ดาย บริษัท Shanghai Dajiang ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองเล็กๆ ในแถบชานเมืองชื่อ Songjiang ก็กำลังประสบปัญหาเดียวกัน ทางบริษัทได้ลดราคาอาหารสัตว์ถึง 2 ครั้งในปีนี้เนื่องจากต้องเผชิญกับการแข่งขันอย่างดุเดือดในท้องถิ่นจากคู่ แข่ง อย่าง Hope Group จากมณฑลเสฉวน รายได้ในครึ่งแรกของปี 1997 ของบริษัทลดลงถึง 22% (Business Week, October 1997)
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 0

เครือ เจริญโภคภัณฑ์ ในมุมของฮาร์วาร์ด

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ค้าปลีก-ค้าส่ง

การเปลี่ยนแปลงทางยุทธ์ศาสตร์ หนึ่งของซีพี ในเรื่องรักษาธุรกิจค้าปลีกไว้อย่างมีความหมาย สมควรอรรถาธิบายอย่างยิ่ง จีนแผ่นดินใหญ่ รักษา และขยาย Lotus ประเทศไทย รักษา และขยาย 7-Eleven แม้ว่าซีพีจะก้าวเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกมาแล้วนับสิบปี แต่วันนี้ ธนินท์ เจียรวนนท์ เข้าใจความสัมพันธ์ของธุรกิจนี้ในเชิงลึกมากขึ้น เช่นเดียวกับเขา ก็ยังให้ความสำคัญในการให้ประเทศไทยเป็นที่ทดลองโมเดลธุรกิจใหม่ ที่ก้าวหน้ากว่าจีนแผ่นดินใหญ่เสมอ ในประเทศ ซีพีได้ตัดสินใจขายหุ้นในห้างโลตัสไป 75% ให้กับ Tesco แห่งอังกฤษ ได้เงินมาถึง 365 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และขายหุ้นเพียงเล็กน้อยของ 7-Eleven ให้สิงคโปร์ (Government Investment Corp.) นั้น มีความหมายแตกต่างกันมากทีเดียว ห้างโลตัสในประเทศไทยได้ โอนอำนาจบริหารจากคนของซีพีเป็นของ Tesco แล้ว ซึ่งซีพีอธิบายให้กับผู้บริหารของเขาฟังว่าแม้จะขายไปส่วนใหญ่ แต่เมื่อ Tesco ขยายสาขา ขยายการลงทุนมากขึ้นในเมืองไทย มูลค่าหุ้นโดยรวม ที่ซีพีถือหุ้นก็มีมูลค่ามากกว่าตอน ที่ซีพีถือหุ้นใหญ่ ซึ่งมีภาระในการขยายกิจการอย่างมาก (ธนินท์บอกว่าต้องลงทุนกว่าหนึ่งหมื่นล้านในการขยายสา ขาสู้กับคู่แข่ง) เนื่องจากเป็นธุรกิจ ที่มีการแข่งขันอย่างสูง โดยเฉพาะแข่งขันกันเองของห้างในยุโรป ซึ่งไม่มีข้อจำกัดเรื่องเงินทุน เช่น ซีพี ขณะเดียวกันธุรกิจค้าปลีก 7-Eleven มีมากกว่า 1,000 สาขาในประเทศไทย ถือว่าเป็นผู้ครอบงำตลาดค้าปลีกอย่างแท้จริง เป็นแนวรุกทางธุรกิจ ที่ซีพีใช้เป็นกลยุทธ์ในธุรกิจอื่นๆ เสมอมา ความเข้มแข็งของเครือข่ายมีมากขึ้น แม้ว่าจะขายให้กับสิงคโปร์ แต่สิงคโปร์รายนี้ก็คือ กองทุนที่หวังผลกำไร ไม่มีความประสงค์จะเข้ามาบริหาร ที่สำคัญ 7-Eleven ได้เงินมาก้อนหนึ่ง เพื่อขยายสาขาออกไป ในขณะที่คนของซีพียังมีอำนาจบริหารอย่างเต็มที่ต่อไป

อีก มุมหนึ่ง พัฒนาการทางสังคมของไทยสูงกว่าจีนแผ่นดินใหญ่ การขายสินค้าบริโภคในประเทศไทย สามารถกระทำได้ทั้ง 24 ชั่วโมงอย่างไม่มีข้อจำกัด การเข้าถึงผู้บริโภคประเทศเล็กๆ อย่างเข้มข้นเช่นนี้ นอกจากสินค้าหลักจะเป็นอาหารสำเร็จรูป ที่ผลิตโดย CPF แล้ว ยังเป็นโมเดลธุรกิจ ที่สามารถจะใช้ประโยชน์จากเครือข่ายอย่างเต็มที่ ทั้งเชื่อมโยงไปสู่โลกการค้า ยุคใหม่ ที่ธนินท์เริ่มพูดเรื่องนี้มากขึ้นๆ 7-Eleven ก็จะเป็นตัวสำคัญตัวหนึ่งของอินเตอร์เน็ต เพราะเงินออนไลน์ในอากาศได้ แต่ของออนไลน์ไม่ได้ ของ ที่จะไปถึงบ้านต้องผ่าน 7- Eleven เพราะเรามีอยู่พันกว่าสาขา ตัวนี้เป็นตัวสำคัญตัวพื้นฐาน คุณจะไปซื้อ ขายกันอย่างไรก็ตาม ผมมารับจ้างบริการ เขากล่าวอีกครั้งหนึ่ง สำหรับประเทศจีน สินค้าเกษตร ( ซึ่งหมายถึงสินค้าขั้นต่างๆ ของอาหาร จนถึงสินค้าสำเร็จรูป) มีปัญหาด้านการตลาด ภายใต้พื้นที่กว้างใหญ่ การค้าขายอย่างโลตัส ที่กระจายตามเมืองต่างๆ ชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งแตกต่างจาก ตามตรอกซอกซอย เช่น 7-Eleven ในประเทศไทย อีกทั้งซีพีมีเครือข่าย การผลิตอาหารระดับต่างๆ ในประเทศจีนจำนวนมาก เครือข่าย ที่กำลังสร้างในจีน ก็คือ เครือข่ายการตลาดที่จำเป็นของพื้นฐานสังคม ที่กำลังเติบโตต่อไป อย่างไรก็ตาม 7-Eleven ในจีนก็เริ่มต้นแล้วในปี 2540 โดยซีพีคาดว่า แผนการนี้จะทำให้เครือข่ายอาหารของเขามีช่องทางเข้าถึงผู้บริโภคจีนมากขึ้น ท่ามกลางการแข่งขัน ที่รุนแรงมากขึ้นในประเทศนั้น ขายอาหาร และ (รับจ้าง) ขายอาหารสมอง ความพยายามเชื่อมโยง แนวความคิดหลัก ของกลุ่มซีพี โดยธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกลุ่ม ในช่วง 1 ปีเศษมานี้ ก็ด้วยการให้คำนิยามธุรกิจ ของซีพีจากนี้ไปว่า ขายอาหาร และอาหารสมอง เป็นสิ่งที่ผู้สนใจ และติดตาม เรื่องซีพียังงุนงงกันอยู่พอสมควร แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจากแนวคิดนี้โดยตรง ปรากฏว่าธนินท์ เจียรวนนท์ ดำเนินบทบาทในการให้ความสำคัญกลุ่มทีเอ ให้ฐานะแกนธุรกิจของด้านสื่อสารได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อผมทักท้วงว่า ซีพีนั้น ยังไม่ได้เป็นผู้ผลิตอาหารสมองเอง อาหารสมอง ในความหมายของธนินท์ ก็คือ โปรแกรมความรู้ ความบันเทิงต่างๆ ที่อยู่ในสื่อยุคใหม่ ตั้งแต่ทีวีจนถึงอินเตอร์เน็ตนั้น เขาก็ยอมรับ และบอกว่า เรานำอาหาร เราเป็นสื่อเป็นสะพานเอาอาหารสมองมาให้คนไทย ไม่ได้เป็นผู้ผลิตอาหารสมองแต่เป็นสื่อ เราเป็นคนขายอาหารสมอง แล้วจะค่อยๆ ดูว่าเราอาจจะเริ่มผลิต ซึ่งจะเป็นอีกก้าวหนึ่ง ความจริงแล้ว ทีเอก็คือ ผู้บริหารเครือข่ายสื่อสาร ส่วนยูบีซี ก็คือ ผู้บริหารเคเบิลทีวี ซึ่งรายการส่วนใหญ่มาจากตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐฯ มาสู่ตลาดไทยเท่านั้น นับได้ว่าแนวความคิดรวบยอดของธุรกิจซีพีในอนาคตก็ไม่ชัดเจนกว่า ที่ เป็น อยู่ ซึ่งเขากำลังทำความชัดเจนกับกลุ่มธุรกิจ ที่เป็นอยู่มากขึ้นเท่านั้น แม้ว่า ธนินท์ เจียรวนนท์ พยายามจะพูดถึงอนาคต โดยเฉพาะเรื่องอินเตอร์เน็ต และอี-คอมเมิร์ซ มากขึ้นก็ตาม

เรื่องอินเตอร์เน็ตยิ่งก้าวหน้าเท่าไร เราใช้ตัวนี้มาโฆษณาสินค้าไทย จะ ทำให้คนที่ไม่เข้าใจเมืองไทยจะเข้าใจมาก ต่อไปแนะนำสินค้าไทยบนอินเตอร์เน็ต เขากล่าวไว้ ซึ่งดูเหมือนจะเชื่อมโยงไป ที่สินค้าอาหารของเขาได้บ้าง แต่สุดท้ายเขาก็บอกว่า ซีพีก็จะสร้างทีเอ ซึ่งการสร้างมอลล์ในอากาศสร้างได้ไม่ยากเหมือนกับ ห้างสรรพสินค้าจริงๆ ที่ต้องลงทุนมหาศาล แต่มอลล์ในอากาศขอให้มีคอมพิวเตอร์ ก็มีสิทธิเข้ามาชอปปิ้ง ไม่ว่าจะอยู่ประเทศไหน คนจึงมองว่าอินเตอร์เน็ตนั้น ยิ่งใหญ่ ในศตวรรษหน้า และบังเอิญ ที่ทีเอเป็นบริษัท ที่พร้อมที่สุดในประเทศไทย ที่จะให้บริการ นักวิเคราะห์หลายคนบอกว่าแนวคิดนี้ยังไม่สามารถชักจูง และให้น้ำหนักกับนักลงทุน ที่จะทำให้หุ้นทีเอสูงขึ้นได้มากกว่าการบรรลุความสำเร็จในการปรับโครงสร้าง หนี้เมื่อปลายปีที่ผ่านมา สู่ศตวรรษ ที่ 21

ตอนนี้เปลี่ยนแผน คือ ทำงานน้อยลง เดินทางมากขึ้น ทำให้บริษัทเข้าสู่ศตวรรษ ที่ 21 โลกซอฟต์แวร์ให้เรียบร้อย หน้าที่ผมตอนนี้ ไม่ได้รีไทร์ก็จริง แต่จะกระจายอำนาจออกไป แบ่งอำนาจ หน้าที่ให้ถูกต้อง เขาพูดอีกครั้งหนึ่ง ถึงแผนการรีไทร์ แต่เมื่อผมแย้งว่า อำนาจในการสั่งการลดลง แต่ อำนาจความคิดมากขึ้น เขาก็บอกว่า ไม่ใช่ถ่อมตัว ความคิดคนเรามีจำกัด คนที่ไม่จำกัด ต้องอาศัยความคิดของหลายๆ คน ยังไม่พอไม่ใช่ความคิดของบริษัท ยังต้องเอาความคิดของโลกมาใช้ให้เป็นประโยชน์

ธนินท์ เจียรวนนท์ ยอมรับความคิดตะวันตกเสมอว่า เขาไม่ลืมว่าความสำเร็จครั้งแรก และครั้งใหญ่ในเรื่องการเกษตร ที่ว่าด้วย Vertical Integration มาจากความคิดตะวันตก ที่เขาสามารถประยุกต์เข้ากับสังคมไทย และเอเชีย อย่างมีพลัง ยิ่งในเวลานี้เขาเป็นผู้นำทางความคิดของกลุ่มซีพี และสังคมธุรกิจไทย เขามักแสดงความคิดใหม่ๆ เพื่อชักจูงให้นักการเมือง และผู้บริหารรัฐคล้อย ตามในเรื่องต่างๆ เสมอนั้น นอกจากจะเป็นความสุขจาก ที่มีคนยกย่องว่าเขา มี Vision แม้แต่นิตยสารตะวันตกก็มักจะยกย่องซีพีในเรื่องนี้ เขากำลังแสวงหาความรู้ใหม่ๆ เรียนรู้ไม่หยุดหย่อน และไม่พอใจกับสิ่งที่เป็นอยู่คือ บุคลิกของผู้นำธุรกิจ ที่ประสบความสำเร็จในช่วงการบริหารของคนคนเดียว

เขาอายุ 62 ปี เป็นผู้นำไม่กี่คนในประเทศไทย หรือในโลก ที่เติบโตจากองค์กรธุรกิจเล็ก และเติบใหญ่อย่างมากในช่วง ที่เขาเป็นผู้บริหารมาตั้งแต่ ปี 2505 ถึงปัจจุบัน ธุรกิจอาหาร ซีพีดูอยู่ทั้งหมดไม่ยอมให้ต่างชาติเข้ามาเลย และตอนนี้เรามีแต่ไปยึดของต่างชาติ เราไปอินโดนีเซีย อินเดีย จีน ตรงนี้เราถือเป็น ผู้นำ และทุกคนก็ยอมรับ แม้แต่อเมริกาก็ยอมรับ ซึ่งเขามีบริษัทต่อสู้กันมานานแล้ว เราก็สู้เขาได้ ตรงนี้ผมถือว่าเราแข็ง และตลอดเวลาเราก็วางแผนอย่างต่อเนื่องอย่างเยี่ยม ดังนั้น ในช่วงวิกฤติ ที่เกิดขึ้น ธุรกิจนี้ไม่สะเทือน นอกจากนั้น เรายังขยาย โดยมองวิกฤตินี้เป็นโอกาส แน่ละเขาก็คงภาคภูมิใจในผลงานของเขาในธุรกิจอาหารดัง ที่เขากล่าวข้างต้น อย่างไรก็ตามเขาก็เน้นเสมอ ว่า ไม่ใช่ว่าเราเก่ง เพียงแต่ทีแรกเราเข้าในธุรกิจอะไร ถ้าเราเข้าธุรกิจผิดพลาด ต่อให้เป็นเทวดาก็ช่วยอะไรไม่ได้

ในวันนี้บางคนที่ใกล้ชิดบอกว่า ธนินท์ เจียรวนนท์ กำลังกังวลอนาคตอยู่กับธุรกิจใหม่ของเขา กับกลุ่มทีเอ เขาถึงทุ่มเทในการศึกษาอย่างมาก คาถา ที่ทำให้เขามีความหวัง ก็คือ คำว่า อาหารสมอง และ ธุรกิจในศตวรรษ ที่ 21″ ทั้งๆ ที่ โมเดลทางความคิด ยังไม่ลงตัวเสียทีเดียว ดังนั้น เวลา ที่เหลืออยู่ ของเขาก็คือ การเรียนรู้เรื่องใหม่อย่างหนักหน่วงมากขึ้น เขามักจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเดินทาง นอกจากเขาเดินทางไปเยี่ยมเยือนกิจการในประเทศต่างๆ แล้ว เป้าหมายสำคัญก็ เพื่อแสวงหาความรู้จากสตาฟ จากนั้น เวลาส่วนใหญ่ของเขาก็ คือ การเดินทางไปสนทนากับผู้นำธุรกิจระดับโลก ที่มีความสัมพันธ์กับเขา

เราอาจได้เปรียบคนอื่นๆ เพราะเรามีโอกาสร่วมทุนกับบริษัทยักษ์ของโลก เช่น Bell Atlantic ที่ร่วมทุนกับทีเอ ซึ่ง หลังปีใหม่จะใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯเพราะเขารวมกัน เราได้เปรียบเพราะเรา คบกับ Semens ที่ใหญ่ที่สุดของยุโรป เพราะมีเทคโนโลยีสูงสุดของเยอรมนี เวลาผมไปผมมีโอกาสพบแชร์แมน ทำให้มีโอกาสได้ไปศึกษา และเรียนรู้ ซึ่งผมเป็นคนชอบศึกษา และเรียนรู้ เขาเน้น

ธนินท์ เจียรวนนท์ ไม่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ แต่เขาสามารถให้ สตาฟของเขาทำหน้าที่ในการสื่อสาร (ดร.สารสิน วีรผล เป็นคนหนึ่ง ที่ติดตามทำหน้าที่บ่อยกว่าคนอื่นๆ) และเลือกสรรข้อ มูลต่างๆ มาให้เขา วิธีของ ผมยังไม่มีสตาฟ ที่ทำหน้าที่ประจำ สตาฟของผมกระจายอยู่ตามหน่วยงาน แต่เป็นที่รู้กันว่าทำงานให้ผม หากเราใช้สตาฟ ที่ไม่เก่งพอจะทำให้เสียหาย มาก ดังนั้น ข้อมูลจะต้องมาจากความเป็นจริง เช่นเดียวกับเขาใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็น เขาบอกว่า ผมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เป็น เหมือนกับผมขับรถไม่เป็น ก็จะจ้างคนขับรถ แม้ว่าผมใช้เป็นผมก็ไม่มีเวลาจะใช้ วิธีที่ดีที่สุด คือ การจ้างหนอนคอมพิวเตอร์ 2 คน แล้วช่วยผมดู วิเคราะห์ให้ผมฟังทุกวัน ส่วนอีเมลผมก็จ้างให้เขาทำ เวลาของผมมีค่า เหมือนกับขับรถ ผมขับรถเป็นก็จ้างคนขับ เพราะนั่งรถก็คิดไปด้วย ถ้า 2 คนไม่พอก็จ้างเพิ่มเป็น 3 คน

ธนินท์ เจียรวนนท์ พยายามรักษาสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย ที่บ้าน ซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จไม่นานมานี้ ที่ย่านบางนา ตลาด ให้กลายเป็นชุมชนของครอบครัวของเขา ลูกๆ ก็อยู่ในบริเวณเดียวกัน เขาเป็นคนรักษาสุขภาพ อย่างยิ่งคนหนึ่ง เขาบอกว่าเขารับประทานอาหารเสริมหลายชนิด นักสังเกตการณ์บางคนเลยมองว่า แท้จริงเขาไม่เตรียมตัวจะรีไทร์ แต่เขาเตรียมจะทำงานหนัก ต่อสู้กับอนาคต ที่ยังไม่อาจจะวางใจได้ ทั้งแนวคิด และการบริหารธุรกิจใหม่ๆ โดยเฉพาะกลุ่มทีเอ ซึ่งมีลูกชายของเขาวางเป็น เดิมพัน ที่นั่น
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 0

เครือ เจริญโภคภัณฑ์ ในมุมของฮาร์วาร์ด

โพสต์ที่ 3

โพสต์

เครือเจริญโภคภัณฑ์ในมุมของฮาร์วาร์ด
[ถูกใจ]  [แจ้งลบ]  

http://viratts.wordpress.com/2009/09/09/cp-harvard/


เครือเจริญโภคภัณฑ์ในมุมของฮาร์วาร์ด


หมายเหตุ
Harvard Business School ได้ศึกษาธุรกิจของซีพี และเขียนเรื่องราวเป็นกรณีศึกษาไว้ เนื้อหาจากนี้ไปก็คือ ข้อความที่เรียบเรียงบางส่วนมาจากเอกสารกรณีศึกษาซีพี ซึ่งมีขึ้นในราวปี 2535 ถือเป็นยุคข้อต่อของการเปลี่ยนแปลงซีพีได้อย่างดี  เอกสารชิ้นนี้มีขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2535

สภาพทั่วไปของกิจการ และความ เป็นมา

Operating Groups

ซี พีมีธุรกิจอยู่ทั้งหมดแปดกลุ่มคือ การเกษตร การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เมล็ดพืช และปุ๋ย การค้าระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมการผลิตปิโตรเคมี การค้าส่ง และค้าปลีก และอสังหาริมทรัพย์ โดยแต่ละกลุ่มมีผู้บริหาร ที่เป็น แกนนำคือ President และเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส ซึ่งเป็นผู้สนับสนุน ตำแหน่งเหล่านี้มีการผลัดเปลี่ยนกันเป็นระยะ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาองค์กรและบุคลากร ในขณะที่กิจกรรมการดำเนินการของกลุ่มขยายตัวด้านกว้างครอบคลุมอุตสาหกรรม หลากหลายแขนง ทั้งหมดนี้มีหลักการนำทางเดียวกันคือ การผนวกประสานในแนวดิ่ง (Vertical integration) และเป็นรูปแบบหลัก ที่ซีพีพัฒนาขึ้นมาใช้ในการสร้างความมั่งคั่งในประเทศกำลังพัฒนา แม้ว่าจะเป็นหลักการกว้างๆ แต่สามารถสรุปแนวทางได้ดังต่อไปนี้

Investment strategy

ความ เสี่ยงอย่างหนึ่งในการดำเนินธุรกิจในประเทศกำลังพัฒนาที่ซีพีเผชิญ อยู่เสมอ ก็คือ การขัดแย้งกับคนในท้องถิ่นหรือรัฐบาล อันเนื่องจากการดำเนินการของบริษัทถูกมองว่ามีลักษณะผูกขาด หรือมุ่งแต่แสวงกำไร ซีพีจัดการกับปัญหาเหล่านี้ด้วยการลงทุนระยะยาวในประเทศกำลังพัฒนา โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศนั้น ๆ และแบ่งปันความมั่งคั่งกัน แทนที่จะมุ่งแต่ประโยชน์ฝ่ายเดียว นอกจากนั้น ซีพียังเอาจริงเอาจังกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ที่จำเป็นสำหรับการสนับสนุนด้านการค้า และพัฒนาคนในท้องถิ่น ที่มีความสามารถให้เข้าไปมีส่วนในการบริหารกิจการด้วย ในด้านเกณฑ์การลงทุน ซีพียึดการประเมินความเสี่ยงจากพื้นฐานที่เป็นจริงในประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเมินปัญหาจากการใช้วิธีการแบบเดิมๆ ในการประเมินการลงทุนในสภาพการณ์ต่างๆ ดังนั้นซีพีจึงหาแหล่งลงทุน โดยมีเกณฑ์สามประการคือ

หนึ่ง- ตลาดจะต้องมีขนาดใหญ่ และกำลังเติบโต และเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญ

สอง-ซีพีจะต้องเชื่อมั่นได้ว่ามีขีดความสามารถที่จะประสบความสำเร็จ และ

สาม-จะ ต้องมีแหล่งทรัพยากรรองรับอย่างเพียงพอ หากได้ครบเกณฑ์ทั้งสามแล้ว ซีพีจะต้องพร้อมที่จะขับเคลื่อนธุรกิจไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ในขั้นแรกโครงสร้างการลงทุนจะมีขนาดเล็กก่อน โดยจะมีการลงทุนเพิ่ม และเพิ่มทรัพยากรอย่างค่อยเป็นค่อยไปเมื่อโครงการต่างๆ พัฒนาไปได้สำเร็จ

Vertical integration

ซี พีเชื่อว่าการผนวกประสานในแนวตั้งช่วยให้ บริษัทควบคุมดีมานด์ และซัปพลายส่วนเกินได้ และเป็นการสนับสนุนให้เกิดการประสานงานของตลาด และทำให้มีอัตราส่วนระหว่างหนี้สินรวมของธุรกิจ และส่วนของผู้ถือหุ้นที่สูงกว่าในเรื่องกำไร และสามารถจัดสรรกำไรระหว่างบริษัทกับสังคมด้วย นอกจากนั้นการผนวกประสานในแนวตั้งยังมีความจำเป็น สำหรับการบุกเบิกตลาดใหม่ๆ ในช่วงที่ประเทศกำลังพัฒนาไป

Technology innovation

ธนินท์เชื่อว่าเทคโนโลยีชั้นนำของโลกเป็นสิ่งสำคัญสำหรับประเทศกำลัง พัฒนาพอๆ กับในประเทศอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ซีพีจึงเสาะหาเทคโนโลยีใหม่ๆ และปรับปรุงให้สอดคล้องกับความต้องการในท้องถิ่น มีอยู่หลายครั้งที่ซีพีมีโอกาสที่จะทำธุรกิจได้ตามเกณฑ์ขนาดตลาดที่ตั้งไว้ และซีพีก็สามารถลงทุนได้ แต่ซีพีกลับขาดโนว์ฮาวที่จะดำเนินการ ในกรณีเหล่านี้ซีพีจะเสาะหาผู้นำทางเทคโนโลยีของโลกในอุตสาหกรรมที่เกี่ยว ข้อง และพยายามที่จะหาวิธีการที่เหมาะสมในการเข้าถึงเทคโนโลยีที่ต้องการ

Innovation and perseverance

มีบ่อยครั้ง ที่ซีพีได้เป็นผู้ริเริ่มนำวิธีการใหม่ๆ ไปใช้ในอุตสาหกรรมที่บริษัทริเริ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเกษตร และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง วิธีการเหล่านี้ได้เปลี่ยนสภาพการณ์พื้นฐานทางธุรกิจของอุตสาหกรรม และยังเปลี่ยนดุลอำนาจของผู้ที่อยู่ในแวดวงธุรกิจโภคภัณฑ์ด้วย ซึ่งสร้างความแคลงใจให้กับผู้ที่เคยชินกับวิธีการหากำไรแบบเดิม ดังนั้นซีพีจึงต้องการวิธีการที่ริเริ่มแบบใหม่ๆ เพื่อให้ได้รับการสนับสนุน จากกระทรวงต่างๆ ตลอดจนเกษตรกร และสาธารณชน ซีพีได้สร้างสมชื่อเสียง ที่โดดเด่นต่อเนื่องในการช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ จนกระทั่งมีเจ้าหน้าที่รัฐบาลต่างประเทศพากันมากรุงเทพฯ เพื่อติดต่อกับซีพี

Poultry Integration

การพัฒนาอุตสาหกรรมสัตว์ปีกแบบทันสมัย และครบวงจรในประเทศ ไทยเป็นสิ่งที่ซีพีริเริ่มเป็นรายแรก อันนำไปสู่กิจการอุตสาหกรรมการเกษตร ระดับโลกสมัยใหม่ ในช่วงต้นศักราช 2500 ธนินท์มองเห็นโอกาสมหาศาลในการผลิต และจัดจำหน่ายไก่ เนื่องจากผู้บริโภคชาวไทยนิยมบริโภคไก่มากกว่าหมู และเนื้อ แต่ไก่ยังเป็นสินค้าราคาค่อนข้างแพงสำหรับผู้บริโภคทั่วไป จึงนิยมบริโภค เฉพาะเมื่อมีงานเลี้ยงฉลองเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ธนินท์กลับมองว่านี่คือ โอกาสหรือช่องทางธุรกิจขนาดใหญ่ ที่น่าสนใจยิ่ง ธนินท์เห็นโอกาสโดยเริ่มจากการขยายการขายเมล็ดพืช และอาหารสัตว์ เพื่อเลี้ยงไก่ ธนินท์รู้ว่าไทยเป็นแหล่งทรัพยากรทางการเกษตร ที่อุดมสมบูรณ์ จะขาดก็เพียงเทคโนโลยีการเพาะพันธุ์ไก่ และความรู้เชิงกระบวนการในการเปลี่ยนธุรกิจเกี่ยวกับไก่ ที่ยังล้าหลัง ให้เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่ทันสมัย และมีประสิทธิภาพ ธนินท์เริ่มมองหาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เขาได้รู้ว่าอเมริกาเป็นประเทศ ที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงไก่แบบครบวงจร และเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ธนินท์จึงเดินทางไปดูงาน ที่สหรัฐฯ เพื่อเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ ในปี 2513 เขาก็ประสบความสำเร็จในการร่วมมือกับอาร์เบอร์ เอเคอร์ส (Arbor Acres) บริษัทเพาะเลี้ยงสัตว์ปีกชั้นนำของสหรัฐฯ ซึ่งมาช่วยซีพีสร้างธุรกิจเพาะเลี้ยงไก่แบบทันสมัย และครบวงจรในไทย

ภาพรวมของการประสานธุรกิจแบบครบวงจร

การดำเนินธุรกิจเพาะเลี้ยงไก่แบบครบวงจรของซีพีมี 6 ขั้นตอนด้วยกัน เริ่มจากการผลิตเมล็ดพืช การผลิตอาหาร การเลี้ยงสัตว์ การแปรรูป และ การจัดจำหน่าย กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ มีการประสานกันอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนี้

เมล็ดพืช ปัจจัยสำคัญประการแรก ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของอุตสาหกรรมสัตว์ปีกแบบครบวงจรขนาดใหญ่ ก็คือ การมีอาหารสัตว์ราคาถูก ที่ มีคุณภาพ การผลิตอาหารสัตว์ที่ดีต้องอาศัยเมล็ดพืชหลายชนิด และอาหารสัตว์ จะมีราคาถูกได้ก็ต่อเมื่อมีเมล็ดพืชราคาถูกด้วย และราคาเมล็ดพืชจะถูกลงได้ ก็ต่อเมื่อมีความสามารถในการผลิตที่ดี ซีพีเป็นบริษัท ที่เริ่มต้นมาจากธุรกิจด้านเมล็ดพืช จึงเข้าใจดีว่าเมล็ดพืช ที่มีคุณภาพต่ำนั้น ทำให้เกษตรกรไทยมีความสามารถในการผลิตต่ำกว่าเกษตรกรในประเทศอื่น ตัวอย่างเช่นในช่วงต้นทศวรรษ 2500 เกษตรกรไทยมีกำลังผลิตข้าวโพดประมาณ 350 กิโลกรัมต่อไร่ เทียบกับกำลังการผลิตของเกษตรกรสหรัฐฯ ที่ 1.5 เมตริกตันต่อไร่ ซีพีแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการร่วมทุนกับเดคัลบ์ (Dekalb) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเมล็ดพืชชั้นนำของสหรัฐฯ เพื่อพัฒนา เมล็ดพันธุ์ใหม่ๆ ให้กับประเทศไทย โครงการดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง ในปี 2535 การผลิตข้าวโพดโดยเฉลี่ยต่อปีของไทยอยู่ ที่ 400 กิโลกรัมต่อไร่ แต่เกษตรกรของซีพี ซึ่งใช้เมล็ดพันธุ์ชนิดใหม่มีผลผลิตถึง 1.2 เมตริกตันต่อไร่ ชีพีคงให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตพืชเกษตรชนิด ต่างๆ เมื่อเร็วๆ นี้ซีพีได้ช่วยเกษตรกรในโครงการประกัน การรับซื้อ (Contract farmers) จัดสร้างระบบชลประทาน ซึ่งส่งผลดีทั้งกับเกษตรกร และบริษัทเอง

อาหารสัตว์ ซีพีตั้งโรงงานอาหารสัตว์แห่งแรกในป 2496 เมื่อซีพี เข้าสู่ธุรกิจด้านอาหารสัตว์ ก็ได้จัดทำเป็นระบบสัญญารับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร ที่ใช้เมล็ดพันธุ์ และปลูกตามวิธีการมาตรฐานของซีพี

การปศุสัตว์ ไก่ ที่บริโภคกันในปัจจุบันนี้เป็นผลผลิตจากระบบการผสมสายพันธุ์ ที่ทันสมัย โดยมีกระบวนการเริ่มต้นจากสายพันธุ์แท้ (pure-bred line) ซึ่งมีลักษณะที่ดี อาทิ เลี้ยงง่าย เติบโตเร็ว มีความต้านทานโรคดี ฯลฯ สายพันธุ์แท้เหล่านี้จะถูกผสมข้ามสายพันธุ์ จนกระทั่งได้พันธุ์ไก่ ที่เหมาะในเชิงพาณิชย์ การผสมสายพันธุ์ไก่เป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยไก่ถึงสี่รุ่นด้วยกันคือ สายพันธุ์เริ่มต้นเรียกว่า GGP (great grandparent) ไก่รุ่นนี้จะถูกผสมข้าม สายพันธุ์จนได้ไก่รุ่นลูก ที่เรียกว่า GP (grandparent) จากนั้น ก็จะผสมต่อจน ได้ไก่รุ่น PS (parent stock) ซึ่งให้ลูกเป็นไก่แม่พันธุ์ ซีพีเข้าสู่ธุรกิจปศุสัตว์ในปี 2513 โดยอาศัยความร่วมมือของอาร์เบอร์ เอเคอร์ส ในระยะเริ่มแรกซีพีซื้อไก่แม่พันธุ์จากอาร์เบอร์ เอเคอร์ส และเพาะ เลี้ยงไก่จนเติบโต แต่ตอนหลังก็ได้ร่วมทุนกับอาร์เบอร์ เอเคอร์สในการพัฒนาไก่รุ่น PS ในไทย และผลิตไก่รุ่น GP ในเวลาต่อมา เมื่อซีพีต้องการพัฒนาไก่รุ่น GGP เพื่อตอบสนองกิจการที่กำลังเติบโต ในจีน และรัฐบาลจีนก็ต้องการให้มีการเพาะพันธุ์ไก่รุ่น GGP ในประเทศ แทน ที่จะนำเข้า แต่เนื่องจากอาร์เบอร์ เอเคอร์ส ไม่สนใจ ที่จะร่วมทุนกับซีพี ในจีน ซีพีจึงเข้าไปซื้อหุ้นกิจการเอเวียง (Avian) ซึ่งผลิตไก่สายพันธุ์แท้ใน สหรัฐฯ และโอนย้ายเทคโนโลยีเข้าไปในจีนได้สำเร็จ เอเวียงก่อตั้ง และดำเนินการโดยดร.เฮนรี่ ซากลิโอ ซึ่งเคยทำงานอยู่กับอาร์เบอร์ เอเคอร์ส ผู้บริหารของซีพีหลายต่อหลายคนก็เคยร่วมงานกับดร.ซากลิโอเป็นเวลากว่า 20 ปี และซีพีก็ยังคงใช้พันธุ์ไก่ของอาร์เบอร์เอเคอร์ส และเอเวียงเรื่อยมา

การ ผลิตสัตว์ ในช่วงแรก ซีพีมีฟาร์ม ที่ดำเนินการตามกระบวนการ เพื่อเพาะเลี้ยงไก่ ที่ซื้อมาจากอาร์เบอร์เอเคอร์ส อย่างไรก็ตาม ซี พีได้เริ่มสอนให้ เกษตรกรไทยรู้ถึงวิธีการเลี้ยงไก่ด้วย บริษัทได้ริเริ่มระบบสัญญารับซื้อแบบเดียวกับ ที่ใช้กับธุรกิจเมล็ดพืช และอาหารสัตว์ โดยเกษตรกรจะได้รับโนว์ฮาว และอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องต่างๆ อีกทั้งได้รับการประกันสินเชื่อในเรื่องการลงทุนจากซีพี และมีเงื่อนไข ที่ยืดหยุ่นในเรื่องสินเชื่อ เพื่อเป็นทุนดำเนินการ เกษตรกรตามโครงการดังกล่าวแต่ละรายต้องเลี้ยงลูกไก่จำนวน 10,000 ตัว ซีพีรับประกันว่าจะ ซื้อคืนจากเกษตรกร โดยที่มีโครงสร้างการชำระเงินให้กับเกษตรกรในลักษณะ ที่จูงใจให้เกษตรกรเพาะเลี้ยงไก่อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น เกษตรกรยังสามารถชำระค่าวัตถุดิบส่วนใหญ่ภายหลังจาก ที่ขายไก่ให้กับ ซี พีแล้วด้วย

ซีพีใช้ระบบสัญญารับซื้อด้วยเหตุผลสองประการ ประการแรก เกษตรกร ที่เข้าร่วมในโครงการมีวิธีการผลิตแบบประหยัด จึงทำให้ซีพีได้ประโยชน์ จากการผนวกประสานในแนวตั้ง และยังช่วยให้องค์กรไม่ต้องขยายขนาดใหญ่โตเกินไป ประการที่สอง ซึ่งสำคัญมากก็คือ ธนินท์ตั้งใจ ที่จะโอนย้าย เทคโนโลยีไปสู่เกษตรกร เพื่อช่วยให้เกษตรกรได้ปรับปรุงผลผลิตของตน การเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นเป้าหมายเชิงนโยบายสำคัญของไทยนับแต่กลาง ทศวรรษ 1970 เนื่องจากในระยะเวลานั้น ประชากร 75.4% ของประเทศยังชีพ ด้วยการพึ่งพิงด้านการเกษตร ตามโครงการของซีพีนี้ เกษตรกรสามารถเลี้ยง ไก่ได้ถึงหกฝูงต่อปี แต่ละฝูงทำรายได้ให้กับเกษตรกร ได้มากกว่ารายได้ทั้งปีในปีที่ผ่านมา

ในชั้นต้น ระบบสัญญาซื้อคืนถูกคัดค้านจากนักวิชาการ และรัฐบาล ซึ่งมีความกังวลว่าการให้เกษตรกรแต่ละรายเลี้ยงไก่ถึงฝูงละ 10,000 ตัว จะเป็น การกดดันให้เกษตรกรรายย่อยไม่สามารถอยู่ได้ อีกทั้งมีความกังวลว่าซีพีจะ ผูกขาดธุรกิจ ซีพีใช้วิธีการร่วมมือกับรัฐบาล และแสดงให้เห็นว่าหากรัฐบาล ต้องการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และต้องการแข่งขันกับตลาดโลกแล้ว จำเป็นต้องเพิ่มขนาดการผลิตด้านการเกษตร นอกจากนั้น ซีพียังจัดทำ โครงการย่อยอีกหลายโครงการ เพื่อให้การศึกษาแก่เกษตรกร และเปลี่ยนวิถีการผลิตจากแบบยังชีพไปสู่การผลิต เพื่อจำหน่าย โครงการที่เป็นที่รู้จักดีที่สุดก็ คือ โครงการหมู่บ้านการเกษตร ซึ่งเป็นโครงการที่ซีพีประกันเงินกู้ยืม เพื่อการพาณิชย์ให้กับหมู่บ้านการเกษตร ที่ประกอบด้วยครอบครัวเกษตรกรจำนวน หนึ่ง แต่ละครอบครัวประกอบด้วยบ้านหนึ่งหลังบนพื้นที่ 25 ไร่ และมีอุปกรณ์สนับสนุนในการเลี้ยงไก่ เงินกู้ดังกล่าวจะชำระคืนให้ภายหลังดำเนินโครงการไป 7-10 ปีแล้ว และเกษตรกรจะได้กรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์ และ ที่ดินดังกล่าว




ซี พียังทำฟาร์มบริษัท เพื่อทดลองค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้วย บริษัทได้ ติดตั้งระบบทำความเย็นด้วยไอน้ำ ซึ่งช่วยลดอุณหภูมิในโรงเลี้ยงไก่ลง และ ช่วยเพิ่มจำนวนไก่ต่อโรงเลี้ยง รวมทั้งลดอัตราการตายลงด้วย นอกจากนั้น ซีพียังผลิตไก่พันธุ์ไข่ ที่ผลิตไข่ เพื่อการบริโภคด้วย

การแปรรูป ไก่ ซีพีมีกระบวนการแปรรูปไก่ทั้ง ที่ซื้อจากเกษตรกรตามโครงการ และจากฟาร์มของบริษัท โดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และสะอาด โดยไก่จะถูกส่งไปแปรรูปด้วยกระบวนการสาม ขั้นตอน ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ คือ การเชือด การชำแหละ และการแปรรูปโดยขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ มีประสิทธิภาพมากถึงขั้น ที่สามารถแยกส่วน ที่ไม่สามารถขายได้ออกไป เช่น ขน และกระดูก ซึ่งนำไปใช้เป็นแหล่งโปรตีนในอาหารสัตว์ ซีพีได้อาศัยข้อได้เปรียบจากค่าแรงงานไทย ที่ค่อนข้างถูกในบางขั้นตอน ที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้ เช่น การถอดกระดูก ยากิโตริ หรือไก่ย่างญี่ปุ่นชิ้นสี่เหลี่ยม ที่ได้รับความนิยมก็เป็นผลิตผลจาก การแปรรูปไก่ ที่ว่านี้ นอกจากนั้น ซีพียังมีความสามารถในการผลิตไก่แปรรูปแช่แข็ง และไก่ แปรรูปสดด้วย

การจัดจำหน่าย ซีพีจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไก่ทั้งเนื้อสด และแบบแช่แข็งในรูปแบบหลากหลายทั้งในตลาดภายในประเทศ และตลาดต่างประเทศ สินค้า ที่ผลิตภายใต้แบรนด์มีทั้งไก่ทั้งตัว ไก่ชิ้น และผลิตภัณฑ์แปรรูป ที่มีมูลค่าเพิ่ม เช่น ชุดอาหารเย็นสำเร็จรูป ยอดขายในตลาดต่างประเทศก็มาจากสินค้า ที่มีมูลค่าเพิ่มเช่นกัน ภายใต้การนำของซีพี ประเทศไทย จึงเป็นซัปพลายเออร์สัตว์ปีกรายใหญ่ที่สุดให้กับญี่ปุ่น แซงหน้าสหรัฐฯ ภายในประเทศ มีการจัดจำหน่ายไก่โดยอาศัยช่องทางทั้งแบบค้าส่ง และค้าปลีก นอกเหนือจากการซัปพลาย ให้กับกิจการค้าปลีกอิสระแล้ว ซีพี ยังเป็นซัปพลายเออร์ให้กับเชนซูเปอร์มาร์เก็ต และแม็คโคร แวร์เฮ้าส คลับส์ด้วย ซีพียังเป็นผู้ขายไก่ให้กับเชนร้านอาหารอีกหลายแห่ง รวมทั้งเชน ร้านอาหารในประเทศ อย่างเชสเตอร์กริลล์ และไก่ย่างห้าดาว รวมไปถึงเคนตั๊กกี้ ฟรายด์ ชิกเก้น และซีพีก็เป็นซัปพลายเออร์ให้กับเชนเคเอฟซีอีกหลาย แห่งในหลายประเทศแถบนี้ด้วย

การเติบโตของบริษัท นอกเหนือจากการดำเนินธุรกิจแบบครบวงจรโดยเริ่มต้นจากการค้าเมล็ดพืชในช่วง สองทศวรรษ ที่ผ่านมา ธนินท์ยังใช้แนวทางการขยายตัวเชิงรุกไปสู่ธุรกิจอื่นๆ และภูมิภาคอื่นๆ ด้วย การขยายตัวในเชิงภูมิศาสตร์ ซีพีขยายตัวจนเป็นบริษัทข้ามชาติ ซึ่งมีการดำเนินงานอยู่ทั่วโลก บริษัทมีธุรกิจเกี่ยวกับเมล็ดพืช อาหารสัตว์ การปศุสัตว์ และธุรกิจการค้าอยู่ในมาเลเซีย อินโดนีเซีย ไต้หวัน และสิงคโปร์ มีกิจการอาหารสัตว์ในโปรตุเกส และ ตุรกี ซึ่งเป็นฐานของซีพีในตลาดอีซี อีกทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้าไปทั่วโลกทั้งในญี่ปุ่น ฮ่องกง เบลเยียม และสหรัฐฯ โดยใช้สหรัฐฯ เป็นฐานทางด้านเทคโนโลยีสำหรับไก่แม่พันธุ์ด้วย

ในขณะที่ซีพีวางตำแหน่งของกิจการอย่างดีในการเติบโต ในอนาคตในตลาดโลก บริษัทยังวางตำแหน่งได้อย่างดีในการขยายตัวในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว รวมทั้งในอินโดจีน และจีน แนวโน้ม ที่เคยเกิดขึ้นเมื่อหลายทศวรรษก่อนในสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นการมีรายได้เพิ่มขึ้น การขยายตัวของชนชั้นกลาง และผู้หญิงทำงานกำลังเกิดขึ้นทั่วไป ในประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย แนวโน้มดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงดีมานด์ที่เพิ่มขึ้นของอาหารประเภทโปรตีน และอาหารพร้อมปรุง และการที่ผู้บริโภคจะซื้อหา อาหารทำครัวน้อยลง แต่นิยมจับจ่ายสินค้าจากซูเปอร์มาร์เก็ตมากขึ้น ซีพีจึงเก็บเกี่ยวผลกำไรจากการพัฒนาต่างๆ เหล่านี้

ซีพีเริ่มดำเนิน ธุรกิจในจีน ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 2520 มีทั้งธุรกิจการเกษตร และอุตสาหกรรมในเกือบทุกมณฑลในจีน โครงการทางด้านการ เกษตรในจีนมีทั้งอาหารสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์ปีก และการจัดจำหน่ายอาหาร นอกจากนั้น บริษัทยังทำการค้าสินค้าทางการเกษตรอย่างเอาจริงเอาจัง เพื่อให้ได้แหล่งวัตถุดิบ และซัปพลายสินค้าตามต้องการ รวมทั้งยังแปลงผลกำไร ที่ได้เป็นเงินตราสกุลแข็ง โดยรัฐบาลจีน ก็ให้ความสนับสนุนการเกษตร และเสนอแรงจูงใจด้านการตลาดในธุรกิจสาขานี้ด้วย นอกจากโครงการด้านการเกษตรแล้ว ซีพียังผลิตและจำหน่ายมอเตอร์ ไซค์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และเบียร์ในจีน การบริโภคสิ่งเหล่านี้คาดว่าจะเพิ่ม ขึ้นอีกเนื่องจากชาวจีนมีแนวโน้มรายได้เพิ่มขึ้น ซีพียังมีโฮลดิ้งส์ทางด้านอสังหาริมทรัพย์ และกำลังพัฒนาโครงการทั้งทางด้านที่อยู่อาศัย การพาณิชย์ และ อุตสาหกรรม ซีพีได้เข้าสู่ธุรกิจด้านโทรคมนาคม และมีแผนการที่จะยิงดาวเทียม เพื่อการโทรคมนาคม อีกสองดวงในอนาคตอันใกล้

ธนินท์มีความเห็นว่าประสบการณ์ในช่วงต้นของบริษัทในจีน และจากบรรพบุรุษชาวจีนของเขาได้ทำให้ซีพี มีข้อได้เปรียบอย่างชัดเจนเหนือผู้มาใหม่ในตลาดจีน ซีพีมีความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งกับเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานสำคัญๆ ของรัฐบาล ธนินท์เชื่อว่าซีพีจะมีโอกาสเติบโตอีกมากในจีน ทั้งนี้อัตราการบริโภคสัตว์ปีกในจีนยังคงอยู่ที่ 7 ปอนด์ต่อคนต่อปีเท่านั้น ยอดขายในปี 2543 ของซีพี ในจีนคาดว่าอยู่ในราว 600 ล้านดอลลาร์ และจะเติบโตในอัตรา 30% ถึง 40% ต่อปีกำไรสุทธิ คาดว่าจะอยู่ระหว่าง 10% ถึง 15% การแตกแขนงธุรกิจ ในขณะที่ซีพีเติบโตในตลาดโลก บริษัทได้ขยายตัวทั้งทางด้านการเกษตร และแตกแขนงกิจการเข้าสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย จากธุรกิจโภคภัณฑ์การเกษตร ซีพีขยายตัวทั้งแนวนอนและแนวตั้ง เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับสถานภาพทางธุรกิจของบริษัท และเพิ่มพูนโอกาสทางการตลาดใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเชนเชสเตอร์ และได้ไลเซนส์จากเคนตั๊กกี้ ฟรายด์ ชิกเก้น สร้างตลาดอาหารฟาสต์ฟู้ดสำหรับธุรกิจสัตว์ปีก แบบครบวงจร ซีพียังเข้าสู่ธุรกิจเกี่ยวกับหมู กุ้ง สวนผลไม้ และจระเข้ด้วย นอกจากการขยายตัวภายในภาคการเกษตรแล้ว

ซีพีได้เข้าสู่อุตสาหกรรมที่ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเกษตรด้วย ตามความเห็นของธนินท์ การทำ Synergy จากธุรกิจด้านการเกษตรไม่ใช่วิธีการในการขยายตัวของซีพี สิ่งแรกที่ซีพีพิจารณาก็คือ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญในการตลาดที่กำลังเติบโต และสิ่งที่บริษัทจะประเมินทิศทางต่อไปก็คือ พิจารณาว่าทรัพยากร และทักษะความชำนาญแบบใด ที่จำเป็นสำหรับการสร้างโอกาส จากนั้นจึงเปรียบเทียบทรัพยากรและทักษะเหล่านั้น กับขีดความสามารถที่บริษัทมีอยู่ มีบางครั้งที่การดำเนินธุรกิจด้านการเกษตรได้สร้างโอกาสไปสู่การแตกแขนงไป สู่ธุรกิจที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง ตัวอย่างเช่น ซีพีได้ซื้อที่ดินจำนวนมากรอบบริเวณกรุงเทพฯ เพื่อดำเนินธุรกิจด้านอุตสาหกรรมการเกษตร แต่เมื่อเวลาผ่านไป กรุงเทพฯ ขยายตัวจนราคาอสังหาริมทรัพย์รอบๆ เพิ่มสูงขึ้นอย่างมหาศาล ที่ดินของซีพีมีมูลค่ามากกว่าที่จะทำการเกษตร ซีพีจึงตัดสินใจย้ายธุรกิจการเกษตรออกไป และพลิกตัวเองเข้าสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีอยู่หลายครั้ง

ซีพีใช้ เงินทุนบวกกับความรอบรู้ในตลาดท้องถิ่นสร้างโอกาสใหม่ๆ ซึ่งบริษัทยังขาดทักษะทางด้านเทคโนโลยี ในกรณีเช่นนี้ ซีพีจะใช้วิธีซื้อเทคโนโลยีที่ยังขาดจากผู้ที่เป็นผู้นำของโลก ข้อตกลงที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีมีหลายรูปแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการร่วมทุน การซื้อไลเซนส์ หรือการซื้อแฟรนไชส์ ส่วนเหตุผลที่ว่าทำไมซีพีจึงประสบความสำเร็จในการเสาะหาผู้ร่วมธุรกิจ

ธนินท์ บอกเป็นเพราะส่วนใหญ่แล้วบริษัทไม่ได้ทำธุรกิจแบบเอาแต่ได้ฝ่าย เดียว แต่ยินดีที่จะแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน ธนินท์ยังทำให้ซีพีประสบความสำเร็จในแง่ของความพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อ ภารกิจด้วย ตัวอย่างเช่น ก่อนที่จะเสนอตัวเป็นผู้ร่วมหุ้นส่วนของเบียร์ไฮเนเก้นในจีน ซีพีได้ลงทุนสร้างโรงงานผลิตเบียร์ ที่ทันสมัยไว้รองรับแล้ว

ดร.อาชว์ เตาลานนท์ executive vice president ของซีพีชี้ว่ามีองค์ประกอบสำคัญสามประการในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ ประการแรกคือ ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีบุคลากร มีปรัชญาองค์กร และมีวิสัยทัศน์แบบเดียวกัน สอง ทั้งสองฝ่ายต้องร่วมกันสร้างมูลค่าเพิ่มที่โดดเด่น และแบ่งปันผลประโยชน์รวม ทั้งความเสี่ยงร่วมกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วซีพีเป็นฝ่ายที่ดำเนินการเกี่ยวกับการเข้าสู่ตลาด และผู้ที่มาร่วมธุรกิจเป็นฝ่ายที่นำเทคโนโลยีมาผนวกเข้าด้วยกัน นอกจากนั้น บริษัททั้งสองฝ่ายจะต้องการให้โครงการประสบความสำเร็จ และมุ่งเน้นให้เกิดผลลัพธ์ในทางที่ดีมากกว่าทางที่เสีย

อนาคต

ธนินท์ นับเป็นผู้ที่สร้างความสำเร็จให้กับซีพี และเขายังคงมองอนาคตกิจการต่อไปว่า คงเลี่ยงไม่ได้ที่เราจะเป็นผู้นำของโลกทางด้านอาหารสัตว์ และเป็นผู้ผลิตไก่ และกุ้งรายใหญ่ที่สุด นี่ไม่ใช่เป้าหมายของเรา แต่เป็นข้อเท็จจริงที่เราจะต้องเป็นเบอร์หนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ซีพีเป็นกิจการยักษ์ใหญ่จริง แต่ก็ยังนับว่าเป็นบริษัท ที่เล็กหากเปรียบเทียบกับคู่แข่ง ที่มีขนาดใหญ่กว่า อย่างคาร์กิล (49 พันล้านดอลลาร์) และคอนอะกร้า (20 พันล้านดอลลาร์) แต่กระนั้น ธนินท์ก็ยืนยันคำพูดของเขาโดยประเมินจากขนาด และอัตราการเติบโตในตลาดหลักของเขา ธนินท์รู้ดีว่าอัตราการเติบโตในอนาคตของเขาจะต้องมาจากต่างประเทศ เมล็ดพืชต่างๆ มีการปลูกอย่างดี เราใช้ไทยเป็นพื้นที่ทดลอง แต่ในอนาคตเราจะมุ่งระดับต่างประเทศมากขึ้น ภายในสิ้นทศวรรษนี้จะไม่มีซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งไหนเลย ที่ไม่มีผลิตภัณฑ์ของซีพีบนชั้นวางสินค้าหรือในตู้แช่

ในขณะที่ ธนินท์ครุ่นคิดถึงอนาคต เขาไม่ได้กังวลเกี่ยวกับโอกาส ที่จะรักษาอัตราการเติบโตเอาไว้ เขากลับคิดหาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับบริหารจัดการกับสิ่งท้าทายการเติบโต โดยมีประเด็นดังนี้

1. รูปแบบธุรกิจในประเทศกำลังพัฒนาอย่างซีพี ซึ่งเคยประสบความสำเร็จในอดีต จะประสบความสำเร็จต่อไปในอนาคตได้อย่างไร ในตลาดที่อิ่มตัวมากขึ้น และมีการแข่งขันมากขึ้นอย่างในเอเชีย และควรจะมีการเปลี่ยน แปลงรูปแบบธุรกิจอย่างไรบ้าง

2. จากระบบสินค้าโภคภัณฑ์ซีพีมีกิจการทางด้านการผลิตอาหาร การแปรรูป และการจัดจำหน่าย ธนินท์กำลังคิดว่ากิจกรรมประเภทไหน ที่จะนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่าในอนาคต

3. จะทำอย่างไรให้การลงทุนในไทย และประเทศในเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และประเทศอื่นๆ เป็นไปอย่างสมดุล

4. ซีพีควรจะควบคุมธุรกิจที่แตกแขนงออกไปเป็นจำนวนมากหรือไม่ โครงสร้างการบริหารที่เป็นอยู่สามารถรองรับการบริหารธุรกิจด้วยดีหรือไม่

5. ซีพีควรจะหาผู้บริหารที่มีความสามารถเพียงพอที่จะทำงานในบริษัท ที่ดำเนินการในประเทศต่างๆ เพิ่มมากขึ้นหรือไม่

6. ผู้บริหารระดับสูงในปัจจุบันมีการทำงานร่วมกันเป็นอย่างดี ความสัมพันธ์เช่นนี้จะคงอยู่ต่อไปได้อย่างไรในขณะที่จำนวนผู้บริหารมีมาก ขึ้น

7. มีสิ่งท้าทายอะไรใหม่ๆ บ้างในการที่นำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แม้ว่าครอบครัวเจียรวนนท์มีแผนการที่จะควบคุมการบริหารกิจ การไว้ในมือ แต่ธนินท์ก็ยังไม่รู้แน่ว่าจะมีแรงกดดันอะไรอีกบ้างจากตลาดหลักทรัพย์

คัดมาจากหนังสือยุทธ์ศาสตร์เอาตัวรอด 2545  
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 0

เครือ เจริญโภคภัณฑ์ ในมุมของฮาร์วาร์ด

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ธนินท์ เจียรวนนท์


   หากถามผมว่า ผู้นำนักธุรกิจคนใด  แสดงบทบาทเชิงตัวแทน การปรับตัวของธุรกิจไทย  ในช่วง3-4ทศวรรษสำคัญที่ผ่านมาได้อย่างน่าทึ่ง   ก็คงยกให้ ธนินท์ เจียรวนนท์

บทบาท

บางทีการศึกษาเรื่องราว ของคนๆหนึ่ง จากข้อมูลพื้นๆ(ส่วน ใหญ่เป็นสถิติหรือข้อมูลประวัติบุคคลสั้นๆ) ก็อาจจะมีมิติที่ลึกซ่อนอยู่   แม้ว่าผมจะติดตามเรื่องราวของธนินท์ เจียรวนนท์ มานาน  เมื่อกลับมาพิจารณาข้อมูลพื้นๆ ก็ยังพบเรื่องราวที่น่าสนใจ

ธนินท์ เจียรวนนท์ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปซีพีในวัยเพียง 25ปีเท่านั้น แม้ว่ามีการวิเคราะห์กันว่า ในการบริหารธุรกิจครอบครัว พี่ชายสามคน ย่อมมีอำนาจตัดสินใจมากกว่า โดยเฉพาะพวกเขามีบทบาทในการสร้างกิจการมาก่อน อย่างไรตาม บทบาทในตำแหน่งนี้มีความสำคัญมากน้อยขึ้นอยู่กับ การแสดงบทบาทของเขาเอง ผมคาดว่าจากประสบการณ์ในสหสามัคคีค้าสัตว์ และบทบาทในการบริหารงานอย่างแข็งขันด้วย ธนินท์ จึงเป็นผู้บริหารที่ได้รับการยอมรับพอสมควร แม้ว่ามีอายุน้อยที่สุดคนหนึ่ง ไม่เพียงมองจากซีพี ถือเป็นกิจการที่เติบโตพอสมควรในเวลานั้น หากในระดับสังคมธุรกิจไทยด้วย

ในฐานะกรรมการผู้จัดการเครือเจริญโภคภัณฑ์  เมื่อปี 2522 ถือเป็นช่วงได้รับการยอมรับอย่างเต็มที่ ประหนึ่งให้ตำแหน่งเป็นของขวัญเมื่ออายุครบ 40   ปีพอดี   เวลานั้นซีพีขยายตัวอย่างมาก เป็นอาณาจักรธุรกิจใหญ่ ทั้งในประเทศและในย่านเอเชียอาคเนย์ ในด้านการบริหาร ซีพีปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ตั้งเครือเจริญโภคภัณฑ์ ไม่เพียงเป็น Holding company   ยังมีการปรับโครงสร้างการบริหาร โดยการนำบุคคลภายนอกที่มีความรู้ ประสบการณ์เข้ามาเสริมทีมงานบริหารกิจการทีมีบริษัทในเครือจำนวนมาก

สำหรับช่วงอายุ 50 ปี (ในปี2532) ถือเป็นการฉลองความสำเร็จด้วยตำแหน่งใหม่ที่ดูคล้ายๆกิจการระดับโลก   Chief Executive Officer (CEO) ในเวลาเดียวบทบาทของพี่ชายของเขาก็ลดลงอย่างมากแล้ว    ความสำคัญที่แท้จริงคือ การปรับตัวเข้ากับสังคมธุรกิจโลก ช่วงนั้นสื่อในโลกตะวันตก กล่าวถึงธนินท์ อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ Far Eastern Economic Review (2533) Forbes (2534) Fortune, Financial Times (2535) ที่สำคัญในปีเดียวกันนั้น Harvard Business School ได้ทำกรณีศึกษาซีพีด้วย

ธนินท์  เจียรวนนท์  เป็นผู้นำธุรกิจไทยคนแรกๆ ที่สื่อระดับโลกกล่าวถึงอย่างมากมาย

จากคุณ : Ii'8N
เขียนเมื่อ : 8 ส.ค. 53 21:50:50 [แก้ไข]






ความคิดเห็นที่ 7 [ถูกใจ] [แจ้งลบ]  

อิทธิพลทางความคิด

การศึกษาแนวทางการบริหารของผู้นำ ควรให้ความสำคัญศึกษาอิทธิพล ทางความคิด ในมิติสัมพันธ์ ประสบการณ์ กับสังคม

โอกาส ของชาวจีนโพ้น ทะเล  ประสบการณ์วัยรุ่นที่เติบโตในสังคมไทยในช่วงยากลำบากหลังสงครามโลกครั้งที่ สอง ถือว่าสำคัญมาก  บิดาของเขาจำต้องอยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่เป็นหลัก แต่ก็แสวงหาโอกาสทางธุรกิจได้  เมื่อเขามีโอกาสข้ามน้ำข้ามทะเลมาเรียนหนังสือในจีนแผ่นดินใหญ่และฮ่องกง   เขาได้มองเห็นภาพที่เป็นจริงของโอกาสทางธุรกิจ เห็นภาพที่เป็นจริงของการก่อร่างสร้างกิจการของบิดา    โครงสร้างความสัมพันธ์นี้เป็นบทเรียนที่มีอิทธิพลต่อความคิดของเสมอ โดยเฉพาะในการแสวงหาโอกาสในช่วงสถานการณ์ผันแปร

ซีพีมีแนวทางการ ดำเนินธุรกิจที่ชัดเจนมาแต่ต้นในการเชื่อมโอกาสทั้งจีน และไทยเข้าด้วยกัน ในช่วงการเปลี่ยนแปลงอย่างสับสนวุ่นวายในจีนแผ่นดินใหญ่หลังการปกครองโดย คอมมิวนิสต์ ซีพีก็ปักหลังที่อ่องกง เวลาเดียวกันก็แสวงหาโอกาสในเครือข่ายชาวจีนโพ้นทะเล ไม่ว่าจะเป็นที่ใต้หวั่น  อินโดนเชีย หรือสิงคโปร์ แต่สุดท้ายเมื่อถึงเวลาสมควรก็เข้าปักหลักในแผ่นดินใหญ่    เช่นเดียวกันเมื่อเมืองไทยมีปัญหา ไม่ว่าทางการเมือง หรือแรงต้านมาก เขาก็แสวงหาโอกาสจากที่อื่น

ความสำเร็จของธนินท์ และซีพี มาจากแนวทางนี้มาดำเนินต่อเนื่องมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงทุกวันนี้

ความ รู้จากสหรัฐ ฯลฯ ในช่วงเริ่มต้นเข้ามาทำงานซีพี เป็นช่วงที่อิทธิพลสหรัฐมีต่อประเทศไทยย่างมาก ตั้งแต่ระดับนโยบายทางเศรษฐกิจ   และการขยายเข้ามาลงทุนของบริษัทอเมริกันในช่วงนั้น   ในฐานะธนินท์เคยทำงานในหน่วยของราชการที่มีกระทบต่อจากอิทธิพลสหรัฐระดับ นโยบาย ไปจนถึง มองเห็นปรากฏการณ์ของสังคมธุรกิจแวดล้อม การพัฒนาระบบสาธารณูปโภคที่กระทบต่อวิถีของชนบท เป็นรากฐานของการสร้างกิจการเลี้ยงไก่ สุดท้ายความรู้จากสหรัฐฯว่าด้วยการเกษตรแบบอุตสาหกรรม ซีพีเชื่อมั่นและนำมาประยุกต์ด้วยความสำเร็จนั้น   อิทธิพลของสหรัฐในมิติทางเทคโนโลยีและการจัดการทางธุรกิจ จึงมีอิทธิพลต่อธนินท์ เจียรวนนท์เสมอมา

ประสบการณ์ในการนำความรู่ การเลี้ยงไก่ครบวงจร จากสหรัฐ นำมาใช้ในสังคมไทยไม่เพียงสร้างโอกาสใหม่เท่านั้น หากเป็นโมเดลที่ประสบความสำเร็จครั้งใหญ่ในยุคก้าวกระโดดครั้งแรกของซีพีเลย ทีเดียว

ธนินท์เริ่มมองหาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เขาได้รู้ว่าอเมริกาเป็นประเทศ ที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงไก่แบบครบวงจร และเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ธนินท์จึงเดินทางไปดูงาน ที่สหรัฐฯ เพื่อเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ ในปี 2513 เขาก็ประสบความสำเร็จในการร่วมมือกับอาร์เบอร์ เอเคอร์ส (Arbor Acres) บริษัทเพาะเลี้ยงสัตว์ปีกชั้นนำของสหรัฐฯ ซึ่งมาช่วยซีพีสร้างธุรกิจเพาะเลี้ยงไก่แบบทันสมัย และครบวงจรในไทย

ซี พีใช้ระบบสัญญารับซื้อ(Contract farming)ด้วยเหตุผลสองประการ ประการแรก เกษตรกรที่เข้าร่วมในโครงการมีวิธีการผลิตแบบประหยัด จึงทำให้ซีพีได้ประโยชน์ จากการผนวกประสานในแนวตั้ง(Vertical integration) และยังช่วยให้องค์กรไม่ต้องขยายขนาดใหญ่โตเกินไป ประการที่สอง ซึ่งสำคัญมากก็คือ ธนินท์ตั้งใจ ที่จะโอนย้าย เทคโนโลยีไปสู่เกษตรกร เพื่อช่วยให้เกษตรกรได้ปรับปรุงผลผลิต การเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรเป็นเป้าหมายเชิงนโยบายสำคัญของไทยนับแต่กลาง ทศวรรษ 1970 เนื่องจากในระยะเวลานั้น ประชากร 75.4% ของประเทศยังชีพ ด้วยการพึ่งพิงด้านการเกษตร(ข้อความบางส่วนมาจากเครือ เจริญโภคภัณฑ์ในมุมของฮาร์วาร์ด)

ในมิติการศึกษาของบุตร-บุตรี ธนินท์ เชื่อมั่นระบบการศึกษาของสหรัฐ ลูกๆของเขาทั้งหมด ผ่านการศึกษาระดับมัธยมตอนปลายและมหาวิทยาลัยที่สหรัฐทั้งสิน(ดู ธนินท์ เจียรววนท์ หาโรงเรียนให้ลูก)

ประสบการณ์สำคัญอีกครั้ง ในการสร้างอาณาจักรซีพียุคใหม่ ข้ามพรมแดนอาณาจักรธุรกิจอาหาร ไปสู่ธุรกิจกระแสโลกสื่อสาร ซีพีก็ใช้ความรู้ของธุรกิจสื่อสาระดับโลกจากสหรัฐ-Bell Atlantic (ตามรวมกิจการกลายเป็นVerizon)

อย่างไรก็ตาม ธนินท์ แม้จะมองว่าความรู้จากสหรัฐสำคัญ ในระยะต่อมาเขาก็แสวงหาความรู้ และเทคโนโลยี ขยายวงจากที่ต่างๆของโลก  อาทิ   ประกับภัยจากAlliances แห่งเยอรมัน    อุตสาหกรรมพลาสติก จาก Solvay เบลเยี่ยม ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ แม้ซื้อลิขสิทธิ์จากสหรัฐ แต่โนวฮาวพัฒนาโดยญี่ปุ่น    จนถึงเทคโนโลยีอาหาร จากญี่ปุ่น โดยเฉพาะ เทคโนโลยีผลิตไก่แช่แข็งคุณภาพสูง ที่เรียกว่า Individual Quick Freezing หรือ IQF

สาระสำคัญของความรู้จากต่างประเทศ มีมิติกว้างขวาง   ไม่เพียงเทคโนโลยี หากรวมไปการจัดการ โมเดล และระบบทางธุรกิจด้วย   แนวทางการขยายตัวแบบครบวงจร หรือการควบคุมภาวะตลาดได้ระดับระดับหนึ่ง   เป็นบทเรียนทรงคุณค่าของธนินท์ เจียรวนนท์   โมเดล Vertical integration ในอุตสาหกรรมอาหาร       การรุกเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกอย่างปูพรม และConvergence lifestyle ของTrue    ดูเหมือนมีร่องรอยความคิดเดียวกัน

เข้า ใจนโยบายและกล รัฐ     ประสบการณ์การทำงานที่สหสามัคคีค้าสัตว์  นอกจากจะสร้างความสมพันธ์กับระบบราชการไทยแล้ว ยังสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับแวดวงวิชาการด้านเกษตรของรัฐด้วย    ธนินท์ มองข้าม ความสัมพันธ์อย่างฉาบฉวยนั้น  ไปสู่ ความเจ้าใจกลไก  การทำงานของระบบราชการ  ซีพีถือเป็นองค์กรธุรกิจทีมีความสัมพันธ์แนบแน่น กับระบบราชการเกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน   เข้าใจกลไก   กระบวนการผลิตนโยบายใหม่ และความรู้ใหม่ๆจากระบบราชการด้วย  เขาเคยกล่าวกับผมเองว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีคุณูปการต่อซีพีไม่น้อยในการผลิตบุคคลการด้านการเกษตรให้

ประสบการณ์ สำคัญเรื่องหนึ่ง ของธนินท์ เจียรวนนท์ คงหนีไม่พ้นเรื่องสัมปทานโทรศัพท์พื้นฐานในเขตปริมณฑล สามล้านเลขหมาย ที่ผ่านการเจรจาต่อรองหลายรัฐบาล

ไม่ว่าใครจะมองในมิติหลากหลายอย่าง ไร  แต่ก็คือปรากฏการณ์ที่ต้องยอมรับว่า เกิดขึ้นจริงในกระบวนการอำนาจในประเทศไทย ธุรกิจขนาดใหญ่  เช่น ซีพี ย่อมไม่ไร้เดียงสาในเรื่องนี้    เช่นเดียวกันแนวทางธุรกิจซีพี   ต้องการระบบการเมืองหรืออำนาจรัฐที่จัดระบบอย่างมั่นคงพอสมควรด้วย

ความสมดุล  ประสบการณ์ในการสร้างสรรค์โมเดลธุรกิจของซีพี ในช่วงที่ผ่านมา ย่อมมีอีกด้านหนึ่งเสมอ   บทเรียนกรณีContract Farming เป็นเรื่องที่ธนินท์ เจียรวนนท์ เข้าใจและต้องปรับตัวอย่างในเวลาต่อไป แต่ยังคงเป็นบทเรียนที่ทันสมัยอยู่

แม้ในการศึกษาของ  Harvard  ก็ยังกล่าวถึงเรื่องนี้เอาไว้  ในชั้นต้น ระบบสัญญาซื้อคืนถูกคัดค้านจากนักวิชาการ และรัฐบาล ซึ่งมีความกังวลว่าการให้เกษตรกรแต่ละรายเลี้ยงไก่ถึงฝูงละ 10,000 ตัว จะเป็น การกดดันให้เกษตรกรรายย่อยไม่สามารถอยู่ได้ อีกทั้งมีความกังวลว่าซีพีจะ ผูกขาดธุรกิจ ซีพีใช้วิธีการร่วมมือกับรัฐบาล และแสดงให้เห็นว่าหากรัฐบาล ต้องการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และต้องการแข่งขันกับตลาดโลกแล้ว จำเป็นต้องเพิ่มขนาดการผลิตด้านการเกษตร นอกจากนั้น ซีพียังจัดทำ โครงการย่อยอีกหลายโครงการ เพื่อให้การศึกษาแก่เกษตรกร และเปลี่ยนวิถีการผลิตจากแบบยังชีพไปสู่การผลิต เพื่อจำหน่าย

เมื่อปี  2545 ผมเขียนถึงธนินท์ และซีพี หลายชิ้น ส่วนหนึ่งเสนอภาพการติดตามความเคลื่อนไหวที่มีกระทบต่อวงกว้าง โดยเฉพาะการเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีก

ซีพีกำลังเผชิญปัญหาที่ใหญ่พอ สมควร มาจากแรงต้านวิวัฒนาการค้าปลีก เพราะเป็นการต่อสู้ระดับนโยบายของรัฐ เข้าใจว่าเรื่องนี้ ธนินท์ เจียรวนนท์ คงต้องออกแรงไม่น้อยไปกว่าการได้มาซึ่งสัมปทานโทรศัพท์พื้นฐานในเมืองหลวง

การเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ เพื่อเข้าแทรกแทนที่ธุรกิจค้าปลีกแบบเดิมซึ่งล้าหลังมาก ซีพีอาศัยเทคโนโลยีหรือโนว์ฮาวการค้าปลีกของคนอื่นๆ เพื่อมีน้ำหนักในการควบคุมมากพอ จึงใช้ยุทธวิธีเข้าลงทุนธุรกิจนี้กับเจ้าของเทคโนโลยีหลายราย และหลายระดับ เริ่มตั้งแต่การค้าปลีกขนาดใหญ่ ด้วยการลงทุนร่วมกับ Tesco แห่งสหราชอาณาจักร และ Makro แห่งฮอลแลนด์ มาจนถึงค้าปลีกขนาดเล็ก ซึ่งเข้าปะทะกับระบบการค้าแบบเดิมที่เรียกว่า โชว์ห่วย โดยตรง เข้าร่วมทุนกับ 7-Eleven แห่งญี่ปุ่น ด้วยแนวทางนี้ซีพีจึงสามารถสร้างโมเมนตัมที่แรงพอสมควร เพื่อเข้าสู่กระแสวิวัฒนาการค้าปลีก

จากนั้นซีพีพยายามลดบทบาทใน ธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่   มาให้ความสำคัญ 7-Eleven ประหนึ่งเป็นการปรับตัว ลดผลกระทบ แต่ดูเหมือนแผนการของซีพีราบรื่นกว่าที่คิด

ว่าด้วยการ จัดการความสมดุล แนวทางหนึ่ง ธนินท์ เจียรวนนท์   เคยแสดงไว้  นั่นคือพยายามคงขนาดและอิทธิพลธุรกิจในแต่ละประเทศอย่างเหมาะสม

พิเคราะห์ ภาพทั้งหมดข้างต้นกับสถานการณ์ปัจจุบัน    แนวทางธุรกิจเชิงรุกในประเทศคงเป็นไปยากมาก     และเป็นเรื่องที่เข้าใจได้  กรณีซีพี เพิ่งประกาศแผนการลงทุนครั้งใหญ่   ใน จีน  เวียดนาม   และ  อินเดีย  (ดูรายละเอียด ข่าว  Corporate communication ใน www.cpthailand.com)

ข้อมูลจำเพาะ

ธนินท์ เจียรวนนท์   (2482 ปัจจุบัน)

การศึกษา

2492   โรงเรียนสารสิทธิ์วิทยา บ้านโป่ง ราชบุรี

2496   Shantou Secondary School เมืองชัวเถา มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน

2498-2501 Commercial School ประเทศฮ่องกง

ประสบการณ์

2501แคชเชียร์ร้านเจริญโภคภัณฑ์

2501 ตั้งโรงงานอาหารสัตว์แห่งแรกในประทศไทย

2502 ตั้งกิจการที่ฮ่องกง เป็นเครือข่าย ส่งออกสินค้าเกษตรจาก ไทย ไป ฮ่องกง, จีน และสิงคโปร์

2504หัวหน้าผู้ค้าสัตว์ปีกและไข่ บริษัทสหสามัคคีค้าสัตว์ จำกัด

2506ผู้จัดการทั่วไป เจริญโภคภัณฑ์

2512 ซีพีทดลองเลี้ยงไก่พันธ์ใหม่ Arbor Acres จากสหรัฐฯ

2514 ตั้งบริษัทอาร์เบอร์ เอเคอร์ส (ประเทศไทย) พัฒนาการเลี้ยงไก่สมัยใหม่

2514 เริ่มกิจการที่ไต้หวัน

2515 ตั้งโรงงานที่ อินโดนีเชีย

2516 ส่งออกไก่ไปญี่ปุ่นนครั้งแรก

2517 เปิดโครงการ Contract Farming   และเริ่มกิจการที่มาเลเซีย

2519 ตั้งโรงงานอาหารสัตว์ที่สิงคโปร์

2522กรรมการผู้จัดการ เครือเจริญโภคภัณฑ์

2522 ซีพีเข้าสู่ประเทศจีนอย่างจริงจัง

2530 CP (Taiwan) เข้าตลาดหุ้นไต้หวัน

2531 CP.Pokpand กิจการลงทุนในจีนแผ่นดินใหญ่ จดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกง และต่อมาอีก 2 ปีจดทะเบียนในตลาดหุ้นลอนดอน

2531 ร่วมทุนกับ Solvay (Belgium) เข้าสู่อุตสาหกรรม พลาสติค และร่วมทุนกับ Makro (Netherland) ในธุรกิจค้าส่ง

2531 ซื้อแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven

2532 ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์      

2533 ร่วมทุนกับ Bell Atlantic เริ่มต้นธุรกิจสื่อสาร

ตีพิพม์ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่  11-18  กันยายน 2552
ภาพประจำตัวสมาชิก
kelop
Verified User
โพสต์: 80
ผู้ติดตาม: 0

เครือ เจริญโภคภัณฑ์ ในมุมของฮาร์วาร์ด

โพสต์ที่ 5

โพสต์

:shock:  น่าทึ่งจริงๆ ว่าแล้วก็ save เก็บไว้ อีกสักสิบปีจะเอาออกมาอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 0

เครือ เจริญโภคภัณฑ์ ในมุมของฮาร์วาร์ด

โพสต์ที่ 6

โพสต์

อุตสาหกรรม ครบวงจร ของซีพี
http://viratts.wordpress.com/2009/09/01 ... 7%E0%B8%8B

ธนินท์ เจียรวนนท์ หาโรงเรียนให้ลูก
[http://viratts.wordpress.com/2009/09/03/thanin-school

อิทธิพลซีพี
http://viratts.wordpress.com/2009/09/17 ... 0%B8%B5-2/
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

เครือ เจริญโภคภัณฑ์ ในมุมของฮาร์วาร์ด

โพสต์ที่ 7

โพสต์

หวัดดีครับ ผมคนเอาไปแปะเองแหละครับใน pantip
มีอีกกระทู้ที่บอก professor ที่เอา case study ไปสอน เป็นคนทำ Case Study ของ HBS เกี่ยวกับธุรกิจการเกษตร และยังใช้สอนอยู่ทุกปี
ล่าสุดที่เำิ่พิ่งสอนไป วันที่ 16 เมษาที่ผ่านมา นี่เอง


ชื่อท่านคือ Professor Ray A. Goldberg

http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 78699.html

>>> เรื่องนี้คนรักไก่คงชอบ: โฉมหน้า Professor จาก Harvard Business School ที่เอา CP เป็น Case Study
ภาพประจำตัวสมาชิก
j21
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 690
ผู้ติดตาม: 0

เครือ เจริญโภคภัณฑ์ ในมุมของฮาร์วาร์ด

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณครับ  :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
leaderinshadow
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1765
ผู้ติดตาม: 0

เครือ เจริญโภคภัณฑ์ ในมุมของฮาร์วาร์ด

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอบคุณครับ

ตัวจริงมาเองเลย  :bow:
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

เครือ เจริญโภคภัณฑ์ ในมุมของฮาร์วาร์ด

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ตัวจริงต้องคุณวิรัตน์ แสงทองคำ ที่ผมติดตามอ่านมาตั้งแต่อยู่ผู้จัดการ ปัจจุบันเห็นในมติชน
ที่ชอบอ่านอีก ก็ประวัติเจ้าสัวเจริญ




ผมมีหุ้นตัวนี้ (CPF) เก็บ มา 2 ครั้ง เดิมมี 30% -40% มาเก็บกลางทางเพิ่มจนกลายเป็น 55% ของ port :lol:
มี bias โปรดพิจารณา  

ส่วน CPALL เก็บไม่ได้สักที MOS สูงไป แต่ก็ทดลองซื้อเพื่อศึกษา 100 หุ้น แป๊บเดียว (อาจเป็นผลจากตลาดช้างบินได้ ไม่เกี่ยวกับฝีมือ) กำไรเกือบ 15% :roll:

TRUE ก็ชอบ เพราะส่วนตัวมีความรู้สื่อสาร แต่ไม่อยากไปยุ่งเลย เหมือนเข้าทำนองรู้มากจะยากนาน เห็นมันผิดธรรมชาติเกินไป
:twisted:
OneFineDay
Verified User
โพสต์: 15
ผู้ติดตาม: 0

เครือ เจริญโภคภัณฑ์ ในมุมของฮาร์วาร์ด

โพสต์ที่ 11

โพสต์

อ่านแล้วสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนอย่างเราได้อีกโขเลย:D  ขอบคุณที่เอาบทความดี ๆ มาลงนะคะ (ดีกว่าอ่านเจอคน post ทะเลาะกันเยอะเลย พอดีเพิ่งได้เข้ามาสำรวจห้องนี้น่ะ)
โพสต์โพสต์