มหาเศรษฐีผู้มีจิตวิญญานกับวิวัฒนาการของสังคม (ดร.ไสว บุญมา)

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Khun-Egg*
Verified User
โพสต์: 139
ผู้ติดตาม: 0

มหาเศรษฐีผู้มีจิตวิญญานกับวิวัฒนาการของสังคม (ดร.ไสว บุญมา)

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เป็นบทความดีๆ ของดร.ไสว บุญมา เกี่ยวกับบิล เกตต์ และวอเรน บัฟเฟต
ที่เกี่ยวกับการรณรงค์ให้เศรษฐีอเมริกัน บริจาคครึ่งหนึ่งของทรัพย์สินเพื่อสัง
คมครับ ผมเห็นเป็นบทความที่ดีมากเลยอยากนำมาให้อ่านกันนะครับ

สัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องมหาเศรษฐีอเมริกันที่มีทรัพย์ระดับพันล้านดอลลาร์ 40 คน ให้คำมั่นสัญญาว่าจะบริจาคอย่างต่ำครึ่งหนึ่งของทรัพย์ที่ตนมีอยู่
เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์เป็นข่าวใหญ่ในสื่อไทยเกือบทุกสื่อ แต่เท่าที่เห็นไม่มีใครได้เจาะลึกลงไปถึงที่ไปที่มาว่ามันเกิดขึ้นอย่างไร และเศรษฐีเหล่านั้นมีข้อคิดอะไรที่น่าสนใจเป็นพิเศษบ้าง จึงขอนำบางอย่างมาเล่า

วอร์เรน บัฟเฟตต์ และ บิล เกตส์ สองเพื่อนซี้ที่อายุต่างกันคราวพ่อกับลูกเป็นต้นคิดและเมื่อปีกว่าๆ ที่ผ่านมา ได้นัดพบลับๆ กับบรรดามหาเศรษฐีครั้งแรกในนครนิวยอร์ก โดยมี เดวิด ร็อกกี้เฟลเลอร์ เป็นเจ้าภาพ หลังจากนั้น ก็มีการพบกันอีกหลายครั้งรวมทั้งบิล เกตส์ บินมาพบลับๆ กับมหาเศรษฐีในเอเชียด้วย จุดมุ่งหมายของการพบกัน ได้แก่ การปรึกษาหารือเรื่องการบริจาคทรัพย์ช่วยเพื่อนมนุษย์ หลังการพบกันครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา พวกเขาได้ข้อตกลงว่า จะเชิญชวนมหาเศรษฐีที่มีทรัพย์ระดับพันล้านดอลลาร์ ให้พิจารณาบริจาคทรัพย์ของตนคนละไม่ต่ำกว่า 50% เพื่อช่วยเพื่อนมนุษย์โดยการเขียนคำมั่นสัญญาลงในเว็บไซต์ ชื่อ www.givingpledge.org

คำมั่นสัญญานี้ไม่มีผลทางกฎหมาย หากเป็นการแสดงเจตนาโดยวอร์เรน บัฟเฟตต์ ประเดิมเป็นคนแรก เขาเขียนว่า เขาจะสละทรัพย์ของเขาไม่ต่ำกว่า 99% ช่วยเพื่อนมนุษย์

ในคำมั่นสัญญาที่ยาวราว 1 หน้ากระดาษ วอร์เรน บัฟเฟตต์ พูดถึงหลายอย่างรวมทั้งสิ่งเหล่านี้ด้วย 1. จริงอยู่ทรัพย์ที่เขาจะให้นั้นมีค่านับหมื่นล้านดอลลาร์ แต่หากวัดกันในด้านของการเสียสละแล้วมันยังน้อยเมื่อเทียบกับคนอื่น ทั้งนี้ เพราะแม้เขาจะยก 99% ของทรัพย์ให้การกุศล เงินที่เหลือยังมากมาย ยังผลให้เขาไม่ต้องเสียสละอะไรที่จำเป็นต่อชีวิตของเขาเลย ต่างกับผู้สละทรัพย์อีกจำนวนมาก ที่แม้จะบริจาคเพียงไม่กี่ดอลลาร์ แต่เงินนั้นอาจมาจากงบประมาณสำหรับซื้ออาหาร ซึ่งผู้บริจาคจะต้องอด 2. หลายๆ คน สละเวลาซึ่งมีค่ายิ่งกว่าทรัพย์เพื่อช่วยผู้อื่น ส่วนเขาสละเฉพาะทรัพย์เท่านั้น 3. เขามองว่าการสะสมของมีค่าทางวัตถุต่างๆ ไม่มีความสำคัญ เพราะสิ่งเหล่านั่นแหละคือโซ่รัดคอของผู้สะสม สิ่งที่มีค่ากว่าวัตถุคือสุขภาพและเพื่อน และ 4. ทรัพย์ที่เขาบริจาคไปนั้น แม้จะเก็บไว้ก็จะไม่ทำให้เขาและลูกๆ มีความสุขเพิ่มขึ้น ตรงข้ามมันจะทำให้เพื่อนมนุษย์จำนวนมากมีชีวิตดีขึ้น

อาจเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ทรัพย์ของมหาเศรษฐีเช่นวอร์เรน บัฟเฟตต์ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปหุ้นบริษัท มูลค่าของทรัพย์จึงขึ้นลงตามราคาของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อปีที่แล้ว นิตยสารฟอร์บส์ประเมินว่า ทรัพย์ของเขามีค่าราว 37,000 ล้านดอลลาร์ หรือกว่าหนึ่งล้านล้านบาท เมื่อปี 2549 วอร์เรน บัฟเฟตต์ ได้ให้คำมั่นสัญญากับ บิล เกตส์ ว่า เขาจะเริ่มบริจาคทรัพย์ของเขาราว 83% ให้แก่มูลนิธิของบิล เกตส์ เพื่อให้มูลนิธินั้นนำไปใช้ในกิจการช่วยเพื่อนมนุษย์ การให้คำมั่นสัญญาครั้งนี้ จึงมีค่าเท่ากับการบริจาคเพิ่ม  

บิล เกตส์ รวมอยู่ในผู้ที่เขียนคำมั่นสัญญาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วด้วย เขาเคยพูดไว้นานแล้วว่า เขาจะยกทรัพย์ราว 95% ให้มูลนิธิเพื่อช่วยเพื่อนมนุษย์ที่เขาและภรรยาตั้งขึ้น อาจเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า เขาและภรรยาได้บริจาคให้มูลนิธินั้นแล้วราว 3 หมื่นล้านดอลลาร์ และมูลนิธินั้นได้นำรายได้ไปบริจาคให้แก่โครงการต่างๆ ทั่วโลกหลายพันล้านดอลลาร์ โดยเฉพาะในด้านการค้นหายาใหม่ๆ นอกจากนั้น  เขายังได้เกษียณจากงาน เมื่ออายุเพียง 53 ปี เพื่ออุทิศเวลาส่วนใหญ่ให้แก่การกุศล  

บิล เกตส์ และภรรยาให้ข้อคิดไว้หลายอย่างเช่นกัน ข้อคิดที่สำคัญสุดน่าจะเป็น 1. พ่อแม่ทุกคนไม่ว่าจะมาจากส่วนไหนของโลกรักลูกและอยากให้ลูกมีโอกาสดีที่สุดในชีวิต เขาทั้งสองมองว่าทุกชีวิตมีค่าเท่ากัน และควรจะมีโอกาสเท่าๆ กัน ที่จะทำให้ความฝันของตนเป็นจริง 2. ในประเทศกำลังพัฒนา ปัญหาเบื้องต้นคือผู้คนเข้าไม่ถึงการสุขอนามัย ยังผลให้เด็กจำนวนมากตายตั้งแต่ยังเป็นทารก งานการกุศลหลักของเขาในโลกกำลังพัฒนา จึงเป็นการค้นหาวิธีที่จะทำให้ทารกรอดตายและโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่แข็งแรง โดยเฉพาะการวิจัยเพื่อค้นหาวัคซีนใหม่ๆ ส่วนในอเมริกาเขาเน้นการศึกษาเป็นหลัก 3. มหาเศรษฐีที่เขามีโอกาสคุยด้วยล้วนพยายามช่วยเหลือเพื่อมนุษย์ และเห็นพ้องต้องกันว่า การให้เป็นปัจจัยที่ทำให้ชีวิตของพวกเขามีค่ายิ่งขึ้น

มหาเศรษฐี 40 คนนั้นมักเป็นนักธุรกิจและเป็นเพียงส่วนน้อยของมหาเศรษฐีพันล้านอเมริกัน ซึ่งนิตยสารฟอร์บส์ประเมินว่า มีอยู่ด้วยกันกว่า 400 คน และมีทรัพย์รวมกันราว 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ สำนักข่าวบางแห่งประเมินว่าคนเหล่านั้นบริจาคเงินเพื่อการกุศลโดยเฉลี่ยประมาณ 10% ของทรัพย์อยู่แล้ว หากการเชิญชวนของวอร์เรน บัฟเฟตต์ และบิล เกตส์ ประสบความสำเร็จ การบริจาคก็จะเพิ่มขึ้นซึ่งอาจถึงเป้าหมายที่ 6 แสนล้านดอลลาร์ก็ได้ แน่นอน เงินจำนวนนี้ย่อมจะมีผลดีมหาศาลต่อการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ณ วันนี้ ยังไม่มีการประเมินว่าเป้าหมายนี้ จะมีโอกาสเป็นไปได้แค่ไหน

หลังจากติดตามเรื่องนี้มาตั้งแต่วันที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ เขียนคำมั่นสัญญาลงในเว็บไซต์เมื่อกลางเดือนมิถุนายน ผมมีความรู้สึกหลายอย่างรวมทั้ง 1. ความเคลื่อนไหวของมหาเศรษฐีเหล่านี้เป็นไปตามที่ปีเตอร์ ดรักเกอร์ หวังไว้ นั่นคือ ภาคประชาสังคมจะต้องเพิ่มความแข็งแกร่ง เพื่อถ่วงดุลของภาครัฐและภาคธุรกิจซึ่งกำลังรวมหัวกันพาสังคมไปในทางที่ไม่ดีนัก นี่คือ นิมิตดี 2. นิมิตดีนี้ยังไม่มีเกิดขึ้นในเมืองไทยอย่างจริงจัง หากมองจากข้อมูลของการสำรวจความเห็นนักธุรกิจไทยเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งพบว่ากิจกรรมของภาคธุรกิจไทยเพื่อช่วยเหลือสังคมราว 90% เป็นไปเพื่อการประชาสัมพันธ์ (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 2 ก.ค.) ความแตกต่างระหว่างนักธุรกิจอเมริกันกับนักธุรกิจไทยเช่นนี้ ย่อมมีผลสำคัญยิ่งต่ออนาคตของเมืองไทย หากเราใช้การอ่านวิวัฒนาการโลกของปีเตอร์ ดรักเกอร์ เป็นกรอบ เรื่องนี้น่าจะเป็นที่ใส่ใจเป็นพิเศษของคณะกรรมการปฏิรูป

    ในเว็บไซต์ giving pledge นี่ผมเข้าไปดูมาแล้วครับ แต่ละคนเป็นนักธุรกิจ
ระดับโลกในวงการต่างๆ แบบว่าไม่ธรรมดาทั้งนั้น เช่น ไมเคิล บลูมเบริก, ลารลี่ เอลิสัน (เจ้าของออราเคิล), เจ้าของ Ebay, Ted Turner, จอร์จ ลูคัส,บาร์รอน ฮิลตัน และอีกมากมาย
    ส่วนที่เป็นนักลงทุน ก็มี วอเรน บัฟเฟต์, ที บูน พิกกินส์, จูเลียน โรเบริตสัน (เจ้าของไทเกอร์ฟัน)  แต่ที่น่าสนใจที่สุดก็คงเป็น John Arnold ซึงเป็นเจ้าของกองทุน  Hedge Fund ทางด้านพลังงาน อายุแค่ 35 เท่านั้น (เด็กจริงๆ) แต่รวย USD 2.7 Billion ติดอันดับ 200 กว่าของ Forb เลยที่เดียว
    ที่สุดก็ขอให้อนิสงค์ผลบุญให้ท่านเหล่านี้รวยๆ ยิ่งขึ้นไปนะครับ แหะๆ
และในอนาคตก็หวังว่าให้เศรษฐีคนไทยได้ขึ้นไปปรากฎรายชื่ออยู่ใน Web นี้บ้าง
        :nm:
nw108
Verified User
โพสต์: 503
ผู้ติดตาม: 0

มหาเศรษฐีผู้มีจิตวิญญานกับวิวัฒนาการของสังคม (ดร.ไสว บุญมา)

โพสต์ที่ 2

โพสต์

:cool:


     คนเก่งเเละดี น่ายกย่องย่องครับ

หวังว่าวันหนึ่งผมจะพอเเละสละได้เช่น บุคคลข้างต้นบ้าง


ขอนับถืออย่างสูงครับ
akekarat
Verified User
โพสต์: 1746
ผู้ติดตาม: 0

มหาเศรษฐีผู้มีจิตวิญญานกับวิวัฒนาการของสังคม (ดร.ไสว บุญมา)

โพสต์ที่ 3

โพสต์

น่าเสียดาย ประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรที่มีธรรมาภิบาลมากพอ
ที่จะรับผิดชอบใช้เงินให้ถูกทาง ในกรณีที่มีการบริจาคได้
ดังนั้น เรื่องนี้คงเกิดขึ้นได้ยากในประเทศเรา
rOlita
Verified User
โพสต์: 17
ผู้ติดตาม: 0

มหาเศรษฐีผู้มีจิตวิญญานกับวิวัฒนาการของสังคม (ดร.ไสว บุญมา)

โพสต์ที่ 4

โพสต์

akekarat เขียน:น่าเสียดาย ประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรที่มีธรรมาภิบาลมากพอ
ที่จะรับผิดชอบใช้เงินให้ถูกทาง ในกรณีที่มีการบริจาคได้
ดังนั้น เรื่องนี้คงเกิดขึ้นได้ยากในประเทศเรา
เห็นด้วยครับ หน่วยงานที่ผู้บริหารหน่วยงานนั้นมีธรรมาภิบาล
พอแต่ผมคิดว่ายังน้อยนะครับถ้าเทียบกับหน่วยงานที่ผู้บริหารไม่ซื่อ
ภาพประจำตัวสมาชิก
st33tnw
Verified User
โพสต์: 91
ผู้ติดตาม: 0

มหาเศรษฐีผู้มีจิตวิญญานกับวิวัฒนาการของสังคม (ดร.ไสว บุญมา)

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอยกย่องคนที่มีความคิดดี ๆ แบบนี้ครับ
Warantact
Verified User
โพสต์: 1160
ผู้ติดตาม: 0

มหาเศรษฐีผู้มีจิตวิญญานกับวิวัฒนาการของสังคม (ดร.ไสว บุญมา)

โพสต์ที่ 6

โพสต์

สุดยอดดดด บริจาค99% แต่ไม่จนลงเลย อย่างเท่
Windy
Verified User
โพสต์: 543
ผู้ติดตาม: 0

มหาเศรษฐีผู้มีจิตวิญญานกับวิวัฒนาการของสังคม (ดร.ไสว บุญมา)

โพสต์ที่ 7

โพสต์

อยากให้มีองค์กรการกุศลที่การบริการมีประสิทธิภาพด้วยครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Paul VI
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 10548
ผู้ติดตาม: 1

มหาเศรษฐีผู้มีจิตวิญญานกับวิวัฒนาการของสังคม (ดร.ไสว บุญมา)

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณสำหรับ บทความครับ  :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
j21
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 690
ผู้ติดตาม: 0

มหาเศรษฐีผู้มีจิตวิญญานกับวิวัฒนาการของสังคม (ดร.ไสว บุญมา)

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอบคุณครับ   :D
เด็กใหม่ไฟแรง
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1575
ผู้ติดตาม: 0

มหาเศรษฐีผู้มีจิตวิญญานกับวิวัฒนาการของสังคม (ดร.ไสว บุญมา)

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ผมเองขอชืนชมในจิตเมตตาของมหาเศรษฐีอเมริกันและอื่นๆด้วยครับ
............
ส่วนตัวคิดว่าคนไทยทำบูญหรือช่วยเหลือคนอื่นไม่น้อยนะครับ
เพียงแต่รูปแบบการทำบูญอาจจะไม่เหมือนกันกับฝรั่ง
การทุ่มเทเวลาให้กับการกุศล การช่วยเหลือคนอื่น
การช่วยงานศาสนา เป็นอุบาสกอุบาสิกา
และอื่นๆอีกนับไม่ถ้วนของคนไทย น่าชื่นชมไม่น้อยกว่ากันนะครับ
เพียงแต่ว่าเศรษฐีจริงๆในเมืองไทย
ส่วนหนึ่งยังคงเน้นที่ธุนกิจ ซึ่งบางอย่างอาจจะคาบเกี่ยวศีลธรรมที่ดี
อาจจะส่งผลให้ความคิดเรื่องการทำบุญกุศล ลดความสำคัญลงไป
............
แต่ก็ชื่นชมคนที่ไม่ได้มีทรัพย์มาก แต่ทำบุญกุศลด้วยปัจจัยอื่นๆ
ซึ่งอาจจะมีค่ามากกว่าทรัพย์ก็ได้ครับ
ดู clip รายการ money talk ย้อนหลังได้ที่
http://www.facebook.com/MoneyTalkTV
โพสต์โพสต์