"แพนเอเชียฯ" เปิดกลยุทธ์ปลดหนี้ ล้มได้ ก็ยืนใหม่ได้
- << New >>
- Verified User
- โพสต์: 1147
- ผู้ติดตาม: 0
"แพนเอเชียฯ" เปิดกลยุทธ์ปลดหนี้ ล้มได้ ก็ยืนใหม่ได้
โพสต์ที่ 1
พอดีวันนี้อ่านๆหนังสือพิมพ์อยู่ ไปเจอข่าวนึงเกี่ยวกับบริษัทที่สมาชิกของเราเป็นCEO อยู่ครับ พี่Kensorat
พี่เคนเป็น CEO ที่อายุยังน้อยแต่มีความรู้และประสบการณ์สูงมาก เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หลายบริษัทครับ
น่าจะเป็นข้อคิดและแรงบันดาลใจให้ใครหลายคนได้เลยเอามาแชร์เผื่อมีประโยชน์
"แพนเอเชียฯ" เปิดกลยุทธ์ปลดหนี้ ล้มได้ ก็ยืนใหม่ได้
“โสรัตน์ วณิชวรากิจ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท แพนเอเชีย อุตสาหกรรม จำกัด ผู้ผลิตแผ่นอะครีลิคชั้นนำของประเทศไทย ถือเป็นอีกกรณีที่น่าศึกษา เพราะเคยเป็นผู้ประกอบการที่ต้องแบกรับหนี้มหาศาลหลังจากเกิดวิกฤตปี 2540 แต่ก็สามารถลุกขึ้นยืนได้อีกครั้ง
“หลังเรียนจบจากมหาวิทยาลัยเอแบคในปี 2537 ผมก็เข้ามารับช่วงกิจการของคุณแม่ ซึ่งตอนนั้นธุรกิจเรามียอดขายเพียงแค่ 50 ล้านบาทต่อปี มีคนงานประมาณ 50 คน
ตอนนั้นผมบอกกับคุณแม่ว่า เมื่ออายุ 36 ปี หรืออีก 15 ปีข้างหน้า ผมจะทำให้ธุรกิจของเรามียอดขาย 1,000 ล้านบาทต่อปี คุณแม่ก็เข้ามาตบบ่าแล้วบอกว่า ยังต้องเจออะไรอีกเยอะ เพราะธุรกิจของเราไม่ได้เข้มแข็งมาจากตัวธุรกิจจริงๆ เรามีการกู้เงินนอกระบบค่อนข้างยอะ ซึ่งชีวิตประจำวันตอนที่เข้ามาทำงานใหม่ๆ ก็คือ ต้องไปกินโต๊ะแชร์ เป็นเท้าแชร์ มือแชร์ เต็มไปหมด
เมื่อผมเข้ามารับช่วงก็เริ่มปรับปรุงกิจการ ก็เกิดการซื้อขายกับต่างประเทศ มีการอิมพอร์ตวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาเยอะ เปิด L/C 180 วัน แล้วก็มีการกู้เงิน BIBF คือ กู้เงินตราจากต่างประเทศ
จากการที่มีหนี้นอกระบบ กลายเป็นมีหนี้กับต่างประเทศแทน เป็นเงินสกุลยูเอสดอลลาร์ แต่ก็ได้ผลน่าพอใจ เพราะหลังจากผมเข้ามาปรับปรุงกิจการได้ 3 ปี ธุรกิจก็เติบโตมียอดขายเกือบ 100 ล้านบาท จนกระทั่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 มีการประกาศค่าเงินบาทลอยตัว ก็ทำให้เราเป็นหนี้มหาศาล” โสรัตน์ ย้อนเล่าถึงสาเหตุการเผชิญวิกฤตทางธุรกิจ
จากความฝันของโสรัตน์ที่ต้องการทำให้ธุรกิจมียอดขาย 1,000 ล้านบาทต่อปี ในอีก 15 ปีข้างหน้า เป็นอันต้องล่มสลาย กลับกลายเป็นว่าเขาต้องแบกรับหนี้สินเป็นจำนวนมากแทน ซึ่งผลประกอบการ ณ ตอนนั้น คาดว่าต้องใช้เวลาถึง 40 ปี ในการล้างหนี้เลยทีเดียว
“เราไม่มีทางถอย คือถ้าถอยก็ตกเหว เพราะครอบครัวเราเป็นหนี้มหาศาล ก็เลยต้องลุยไปข้างหน้า ตอนนั้นกลยุทธ์ที่ผมนำมาใช้แก้วิกฤต ก็คือ กลยุทธ์แปล - ล คือ การแปลโจทย์ทางธุรกิจ และแปร - ร คือ การแปรกลยุทธ์ทางธุรกิจ
ผมใช้กลยุทธ์แปล - ล ก่อน คือตอนโดนพิษค่าเงินบาท ตอนนั้นเรายังไม่ได้ส่งออกเลย ค่าเงินจาก 20 กว่าบาทลอยไปกว่า 40 บาท จะถึง 50 บาทต่อ 1 ยูเอสดอลลาห์อยู่แล้ว เราไม่สามารถสู้ได้เลย เพราะเราต้องจ่ายหนี้เป็นยูเอสดอลลาร์
ผมเลยคิดว่าวิธีที่ดีที่สุด ก็คือ ต้องเอายูเอสดอลลาร์มาจ่ายยูเอสดอลลาร์ ฉะนั้นการส่งออกเป็นหนทางเดียวที่จะทำได้ เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ นี่คือการแปลโจทย์
แต่ถ้าผมไปเร่งลดต้นทุน ไปปลดพนักงาน มันไม่ได้แก้ที่เหตุ เพราะเหตุสำคัญ คือ ยูเอสดอลลาร์ ฉะนั้นต้องแปล - ล ก่อน ให้เห็นสถานการณ์ว่าเป็นอย่างไร
พอเห็นแล้ว ผมคิดว่าสิ่งที่ต้องทำ คือ ต้องออกไปทำตลาดต่างประเทศ ผมก็ลุยเลย ไปหลายๆประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์ ดูไบ ตุรกี อเมริกา และยุโรป ขายดะเลย
อันนี้เรียกว่ากลยุทธ์แปร - ร คือ การแปรกลยุทธ์เพื่อใช้แก้ปัญหา
หลังจากทำตรงนั้นก็เริ่มมีออเดอร์จากต่างประเทศเข้ามา มีเงินยูเอสดอลลาร์มาจ่ายหนี้ไปเรื่อยๆ
แต่การทำตลาดส่งออกก็ไม่ง่ายอย่างที่คิด มีความยุ่งยากกว่าตลาดในประเทศมาก เลยทำให้เราต้องปรับปรุงตัวเองให้เก่งขึ้น”
นอกจากโสรัตน์ใช้กลยุทธ์แปล - ล คือ การแปลโจทย์ทางธุรกิจ และแปร - ร คือ การแปรกลยุทธ์ทางธุรกิจ เพื่อแก้วิกฤตที่เกิดขึ้นแล้ว ขณะเดียวกันสิ่งที่เขาต้องทำไปพร้อมๆกัน ก็คือ การเจรจาหนี้แบงก์และการทำความเข้าใจกับพนักงาน
“ในช่วงปี 2540 - 2543 ถือเป็นช่วงที่เหนื่อยมาก กลับมาเมืองไทยก็แค่ขอต่อวีซ่าเท่านั้น แล้วก็ออกไปหาออเดอร์จากต่างประเทศต่อ
ส่วนเวลาที่เหลือ พออยู่เมืองไทยก็ต้องไปเจรจาหนี้แบงก์เป็นหลัก จะปรับโครงสร้างหนี้อย่างไร
และอีกหน้าที่ คือ เล่าให้ลูกน้องฟังว่า เราไปต่างประเทศไปเจออะไรมา ไปเจรจากับแบงก์แล้วเจออะไรบ้าง ที่เหลือเราต้องการอะไร แล้วจะผ่านไปได้อย่างไร ช่วงนั้นถือเป็นช่วงวิกฤตมาก แต่เราก็ได้เรียนรู้อะไรกับมันเยอะมาก”
เรียกได้ว่าการไม่ยอมแพ้กับปัญหาที่เกิดขึ้น บวกกับกลยุทธ์ธุรกิจที่ถูกต้อง ทำให้โสรัตน์ใช้เวลาเพียงแค่ 8 ปีเท่านั้น ก็สามารถล้างหนี้ได้หมด จากเดิมที่คาดว่าจะใช้เวลานานถึง 40 ปี อีกทั้งยังสามารถเปลี่ยนสถานะจากผู้กู้มาเป็นผู้ให้กู้ได้อีกด้วย
“จากบทเรียนที่ได้เรียนรู้จากวิกฤตปี 2540 ทำให้เรามีภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งขึ้น ฉะนั้นพอเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกในรอบใหม่ (2552) เราไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย เพราะเราเตรียมตัวมาก่อน 4 - 5 ปีแล้ว จนทำให้ประสิทธิภาพขององค์กรเราเข้มแข็ง
หลักคิดของผม คือ ถ้าเราไม่เรียนรู้ด้วยตัวเอง เราจะเป็นคนโง่ แต่ถ้าเราเรียนรู้ด้วยตัวเอง เราจะเป็นคนฉลาด และเราจะต้องเรียนรู้ความผิดพลาดของคนอื่นด้วย เราจะเป็นคนมีปัญญา
ทุกวันนี้ผมจึงพยายามไขว่คว้าหากรณีศึกษาต่างๆ เพื่อมาสอนลูกน้องและตัวเราเอง
ปกติคนส่วนใหญ่มักวิเคราะห์คนชนะว่าชนะเพราะอะไร แต่น้อยคนที่จะวิเคราะห์ว่าอีกฝ่ายแพ้เพราะอะไร
ผมเลยมองว่านี่คือการเรียนรู้ความล้มเหลวของคนอื่น เพื่อมาสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง
อย่างไรก็ดี แม้โสรัตน์จะสามารถล้างหนี้ได้สำเร็จ แต่โจทย์ทางธุรกิจที่เขาต้องเผชิญก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น เพราะอุตสาหกรรมอะครีลิคมีการแข่งขันรุนแรงมาก โดยคู่แข่งจะเป็นบริษัทต่างชาติทั้งญี่ปุ่น และยุโรป ซึ่งมีความเข้มแข็งมาก ทำให้บริษัทอะครีลิคที่เป็นของคนไทย ซึ่งเดิมเคยมีอยู่เป็นจำนวนมากค่อยๆล้มหายตายไป
สุดท้ายเหลือเพียงแพนเอเชีย อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นบริษัทคนไทยบริษัทสุดท้ายที่ยังสามารถแข่งขันอยู่ในตลาดนี้ได้
ถามว่าโสรัตน์ยืนหยัดต่อสู้ได้อย่างไร
เขาเปิดเผยว่า เป็นเพราะการกำหนด 7 กลยุทธ์เพื่อใช้แข่งขัน
กลยุทธ์แรก “ปลาน้ำตื้น” จัดกลุ่มลูกค้าเป็นกลุ่มๆ เป็นกลุ่มเล็กๆแต่ชัดเจน โดยพัฒนาสินค้าที่มีอยู่เดิมให้มีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
“ผมไม่เชื่อในทฤษฎีบลูโอเชี่ยน ทะเลสีคราม หรือการหาตลาดใหม่ที่ไม่มีคู่แข่ง เพราะพอทำไปสักพักก็จะมีคนตามเข้ามา สุดท้ายก็กลายเป็นทะเลสีเลือด ผมคิดว่ามันไม่นิรันดร์
เพราะถ้าเราทำสินค้าขึ้นมาตัวหนึ่ง คู่แข่งที่เป็นญี่ปุ่น หรือฝรั่งเห็นว่าดี เขาทำตาม เราก็ตาย เพราะเขามีความพร้อมทั้งในเรื่องทรัพยากร เทคโนโลยี และเงินทุนมากกว่า
ดังนั้น วิธีการต่อสู้ที่ดีที่สุด ก็คือ การไม่ต่อสู้ ฉะนั้นเราจะไม่ต่อสู้กับเขา แต่เราจะต่อสู้กับความต้องการของลูกค้า เราจะหาสินค้าที่ทำกันน้อยๆ คู่แข่งเห็นแล้วคิดว่าไม่คุ้ม ไม่อยากทำ เราจะทำตัวนั้น แต่กำไรดี
สมมติสินค้าปกติกำไร 5% แต่สินค้าพวกนี้จะกำไรอยู่ที่ 50% ยอดขายไม่เยอะ แต่กำไรดี เรียกว่า การทำแบบ less for more คือ ทำน้อยได้มาก แต่เมื่อก่อนเราทำแบบ more for less คือทำมาก แต่ได้น้อย
สินค้าพวกนี้มันเป็นสินค้าเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งทำให้คู่แข่งไม่สนใจ พอเขาไม่สนใจ เขาไม่เข้ามาแข่ง เราก็สามารถที่จะพัฒนาสินค้า รูปแบบต่างๆให้ตรงใจผู้บริโภคได้เต็มที่”
“จากบทเรียนที่ได้เรียนรู้จากวิกฤตปี 2540 ทำให้เรามีภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งขึ้น ฉะนั้นพอเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกในรอบใหม่ (2552) เราไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย เพราะเราเตรียมตัวมาก่อน 4 – 5 ปีแล้ว"
นี่คือกลยุทธ์ปลาน้ำตื้น ซึ่งโสรัตน์ บอกว่า กลยุทธ์นี้จะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัย 3 องค์ประกอบหลัก คือ 1.การตลาดที่เข้าใจ เพราะนี่คือจุดเล็กๆน้อยๆที่มีประโยชน์ ดังนั้น ต้องทำความเข้าใจกับพนักงานเสียก่อน
2.R&D ต้องวิจัยและพัฒนาสินค้าให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า โดยปัจจุบันบริษัทมีทีมนักวิจัย 5 คน โดยตั้งเป้าการวิจัยสินค้าใหม่ 3 ชิ้นต่อปี ส่วนผลงานที่พัฒนาออกมานั้นมีหลากหลาย อาทิ อะครีลิคกันกระสุน อะครีลิคลายผ้า อะครีลิคประหยัดพลังงาน อะครีลิคที่มีความหนา 60 ซม. สำหรับใช้ในพิพิธภัณฑ์ปลา เป็นต้น
และ 3.การผลิต ต้องเปลี่ยนความคิดจากเดิมที่เน้นการผลิตเยอะๆเพื่อลดต้นทุน มาเป็นการผลิตจำนวนน้อยๆ แต่ผลิตให้หลากหลายแล้วควบคุมต้นทุนให้ได้
ขณะที่โสรัตน์เดินหน้าใช้กลยุทธ์ “ปลาน้ำตื้น” เจาะกลุ่มลูกค้า เขาก็เสริมแรงด้วยกลยุทธ์ที่สอง นั่นคือ “คุณภาพตามใจปรารถนา” เป็นการพัฒนาสินค้าให้ดีขึ้นตรงตามความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม
“สินค้าของทุกบริษัทมีสแตนดาร์ดเหมือนกันหมด สวย คุณภาพดี แต่รู้ไหมว่าสินค้าที่มีคุณภาพที่ดีคืออะไร จะบอกว่าใสกว่า หนากว่า ไม่ได้งอ หรือไม่นิ่ม ฯลฯ ลูกค้าแต่ละกลุ่มจะต้องการสินค้าไม่เหมือนกัน เราก็มองว่านี่แหละคือโอกาส
เราเลยเริ่มออกไปทำวิจัยว่าลูกค้าต้องการใช้อะครีลิคแบบไหนบ้าง ก็พบว่า หลากหลายมาก ซึ่งความหลากหลายนี้แต่ก่อนจะถูกกลบด้วยคำว่ามาตรฐาน เพื่อให้ใช้ได้กับทุกกลุ่ม
เราก็เลยบอกว่าทำคุณภาพที่หลากหลายดีกว่า เพราะบางคนเอาไปทำกรอบพระก็แบบหนึ่ง ทำป้ายโฆษณาก็แบบหนึ่ง ไปทำตู้ปลาก็อีกแบบหนึ่ง มันมีความหลากหลายมาก นี่คือคุณภาพตามใจปรารถนา
ตอนนี้สเปคสินค้าเรามีเยอะมาก ซึ่งแลดูจะเป็นความยุ่งยาก แต่ผมคิดว่านี่แหละเป็นเรื่องสำคัญที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้จริงๆ”
และเนื่องจากโสรัตน์ถือว่าลูกค้าเป็นบุคคลสำคัญ กลยุทธ์ที่สามจึงเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบริษัทกับลูกค้า เรียกว่า “รักนะ 24 ชั่วโมง”
“เราดูแลลูกค้าเหมือนพ่อแม่ เหมือนแฟน ฉะนั้นเวลามีเทศกาลสำคัญเราจะส่งของ ส่งคำอวยพรไปให้ลูกค้า เช่น วันเกิดจะมีบัตรอวยพร มีของขวัญวันเกิด หรือเค้กที่ลูกค้าชอบส่งไปให้
เราดูแลลูกค้าอย่างดี ซึ่งบริษัทญี่ปุ่น ฝรั่งเขาไม่ทำ พอลูกค้าซึ้งใจ ประทับใจ คุยอะไรก็ง่ายขึ้น ความสัมพันธ์ก็ดีขึ้น กลยุทธ์รักนะ 24 ชั่วโมงเลยมีพลัง”
สำหรับกลยุทธ์ที่สี่ เรียกว่า “ส่งความคิด” เป็นกิจกรรมการส่งข่าวสารจากผู้บริหารทุกเดือน เพื่อแจ้งเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ เทคโนโลยีใหม่ที่นำมาใช้
“ผมจะเขียนจดหมายส่งไปถึงลูกค้าและซัพพลายเออร์ทุกราย เดือนหนึ่งจะส่งไปประมาณ 300 - 400 ฉบับ เป็นจดหมายบอกเล่าเรื่องราวว่าตลอดหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ผมปรับปรุงกิจการอย่างไร ไปบรรยายที่ไหน ช่วยเหลือสังคมอย่างไร มีแนวคิดอะไร คิดอะไรใหม่ๆได้บ้าง แล้วประยุกต์ใช้ให้เขาดูด้วย
ผู้อ่านก็จะรู้ว่าเรากำลังทำอะไร ปรับปรุงอะไร ได้สินค้าใหม่อะไร เขาก็จะเข้าใจในสิ่งที่เราบอกเล่า
เราจะถือโอกาสแนะเรื่อง Know How และแนะเรื่อง Know Why ด้วย คือคุณไม่ได้รู้แค่ว่าทำอย่างไร แต่คุณจะต้องรู้ว่าทำทำไม เขาก็จะเริ่มเรียนรู้ไปกับเรา ประสบความสำเร็จไปพร้อมๆกับเรา”
และเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ กลยุทธ์ที่ห้าจึงเป็นการรวมพลังกับคู่ค้าเพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการแข่งขัน เรียกว่า “เพื่อนพ้อง”
“เราคิดว่าการทำงานคงอยู่แบบหนึ่งเดียวไม่ได้ สินค้าของเราจะทำโปรโมชั่นร่วมกับคู่ค้า รวมพลังกันเป็นแผง เพราะเรามั่นใจว่าถ้าซัพพลายเออร์เราแข็งแรง สินค้าที่ไปถึงลูกค้าเราจะแข็งแรง เราจะไม่สู้กันแบบหนึ่งต่อหนึ่งเป็นซูโม แต่เราจะสู้กันแบบทีมนักฟุตบอล”
ส่วนกลยุทธ์ที่หกที่โสรัตน์กำหนดขึ้นมา ก็คือ “ไปที่ไหนก็เจอเรา” เป็นการโปรโมทสินค้าผ่านสื่อต่างๆ เหมือนเป็นคอนซูเมอร์โปรดักส์
“เป็นกลยุทธ์ที่เราทำการโปรโมทผ่านสื่อต่างๆ ป้ายโฆษณาต่างๆ ตกแต่งร้านให้สวยงาม เวลาลูกค้าเดินไปที่ไหนก็จะเจอเรา
เรามีการทำกิจกรรมให้กับลูกค้า ซึ่งคู่แข่งเขาไม่ได้ทำขนาดนี้ เพราะสินค้าเราเป็นสินค้าอุตสาหกรรม แต่เราทำเหมือนคอนซูเมอร์โปรดักส์”
และกลยุทธ์สุดท้ายเรียกว่า “สุขจากการแบ่งปัน” ซึ่งเป็นกิจกรรมเพื่อสังคม
“เป็น CSR ที่เราเอากำไรของการขายสินค้ามาทำกิจกรรมเพื่อสังคม เช่น โครงการทดแทนพระคุณแม่ให้บัวพ้นน้ำ โดยเรามองว่าจะสร้างเด็กให้เป็นบัวพ้นน้ำ ซึ่งการเป็นบัวพ้นน้ำนั้นมี 2 อย่าง คือจะต้องมีความรู้ในทางโลก และทางธรรม เราก็เลยสร้างห้องสมุด และห้องจริยธรรมให้กับโรงเรียนต่างๆ เป็นต้น”
ทั้งนี้ จากการใช้กลยุทธ์ทั้ง 7 ของโสรัตน์ ทำให้บริษัท แพนเอเชีย อุตสาหกรรม สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคง โดยปัจจุบันมีบริษัทในเครือถึง 6 บริษัท มีพนักงานทั้งหมดประมาณ 500 คน
และที่สำคัญเมื่อปีที่ผ่านมาบริษัทสามารถปิดยอดขายได้เกือบ 920 ล้านบาท ซึ่งเป็นช่วงที่โสรัตน์มีอายุครบ 36 ปีพอดี ก็ถือว่าใกล้เคียงกับเป้าหมายที่เขาเคยตั้งไว้
“เราเติบโตด้วยกำไร ยอดขายเรานิ่งมาสัก 2 - 3 ปีแล้ว แต่กำไรของเราเติบโตปีละ 25% มา 5 ปีซ้อนแล้ว คือยอดขายอยู่ที่ 900 กว่าล้าน รวม 6 บริษัทในเครือ เพราะเราเน้นขายสินค้าที่แตกต่าง แล้วสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า
เราไม่ได้เน้นที่จะเพิ่มยอดขายให้เยอะ เพื่อให้กำไรเยอะขึ้น แต่เราเน้นการหากลุ่มลูกค้าที่ตอบสนองได้ดีกว่า กำไรมากขึ้น โดยการควบคุมค่าใช้จ่าย ควบคุมค่าเสียหาย ควบคุมเงินที่ตกตามโรงงานที่มีอยู่เยอะแยะ ปรับปรุงให้ดีขึ้น”
ต้องบอกว่าด้วยวัยเพียง 37 ปี กับบทบาทของผู้นำองค์กรที่สามารถนำพาธุรกิจให้ผ่านพ้นวิกฤต และสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงนั้น ทำให้โสรัตน์เป็นนักธุรกิจหนุ่มอีกหนึ่งคนที่น่าจับตามองไม่น้อยทีเดียว
“พลังที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ผมยืนหยัดต่อสู่มาได้ถึงทุกวันนี้ ก็คือ พลังแห่งความอบอุ่นของคุณแม่ ซึ่งคอยให้กำลังใจตลอดเวลา เป็นความอบอุ่นที่ผมคิดว่าเป็นทรัพย์สินที่ยิ่งใหญ่ที่ทำให้เราสามารถเดินต่อไปได้อย่างเข้มแข็ง” โสรัตน์ สรุปทิ้งท้าย
ข้อมูลโดย นิตยสาร SMEs PLUS ฉบับประจำเดือนมิถุนายน 2553
http://www.manager.co.th/SMEs/ViewNews. ... 0000171819
พี่เคนเป็น CEO ที่อายุยังน้อยแต่มีความรู้และประสบการณ์สูงมาก เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่หลายบริษัทครับ
น่าจะเป็นข้อคิดและแรงบันดาลใจให้ใครหลายคนได้เลยเอามาแชร์เผื่อมีประโยชน์
"แพนเอเชียฯ" เปิดกลยุทธ์ปลดหนี้ ล้มได้ ก็ยืนใหม่ได้
“โสรัตน์ วณิชวรากิจ” กรรมการผู้จัดการ บริษัท แพนเอเชีย อุตสาหกรรม จำกัด ผู้ผลิตแผ่นอะครีลิคชั้นนำของประเทศไทย ถือเป็นอีกกรณีที่น่าศึกษา เพราะเคยเป็นผู้ประกอบการที่ต้องแบกรับหนี้มหาศาลหลังจากเกิดวิกฤตปี 2540 แต่ก็สามารถลุกขึ้นยืนได้อีกครั้ง
“หลังเรียนจบจากมหาวิทยาลัยเอแบคในปี 2537 ผมก็เข้ามารับช่วงกิจการของคุณแม่ ซึ่งตอนนั้นธุรกิจเรามียอดขายเพียงแค่ 50 ล้านบาทต่อปี มีคนงานประมาณ 50 คน
ตอนนั้นผมบอกกับคุณแม่ว่า เมื่ออายุ 36 ปี หรืออีก 15 ปีข้างหน้า ผมจะทำให้ธุรกิจของเรามียอดขาย 1,000 ล้านบาทต่อปี คุณแม่ก็เข้ามาตบบ่าแล้วบอกว่า ยังต้องเจออะไรอีกเยอะ เพราะธุรกิจของเราไม่ได้เข้มแข็งมาจากตัวธุรกิจจริงๆ เรามีการกู้เงินนอกระบบค่อนข้างยอะ ซึ่งชีวิตประจำวันตอนที่เข้ามาทำงานใหม่ๆ ก็คือ ต้องไปกินโต๊ะแชร์ เป็นเท้าแชร์ มือแชร์ เต็มไปหมด
เมื่อผมเข้ามารับช่วงก็เริ่มปรับปรุงกิจการ ก็เกิดการซื้อขายกับต่างประเทศ มีการอิมพอร์ตวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาเยอะ เปิด L/C 180 วัน แล้วก็มีการกู้เงิน BIBF คือ กู้เงินตราจากต่างประเทศ
จากการที่มีหนี้นอกระบบ กลายเป็นมีหนี้กับต่างประเทศแทน เป็นเงินสกุลยูเอสดอลลาร์ แต่ก็ได้ผลน่าพอใจ เพราะหลังจากผมเข้ามาปรับปรุงกิจการได้ 3 ปี ธุรกิจก็เติบโตมียอดขายเกือบ 100 ล้านบาท จนกระทั่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 มีการประกาศค่าเงินบาทลอยตัว ก็ทำให้เราเป็นหนี้มหาศาล” โสรัตน์ ย้อนเล่าถึงสาเหตุการเผชิญวิกฤตทางธุรกิจ
จากความฝันของโสรัตน์ที่ต้องการทำให้ธุรกิจมียอดขาย 1,000 ล้านบาทต่อปี ในอีก 15 ปีข้างหน้า เป็นอันต้องล่มสลาย กลับกลายเป็นว่าเขาต้องแบกรับหนี้สินเป็นจำนวนมากแทน ซึ่งผลประกอบการ ณ ตอนนั้น คาดว่าต้องใช้เวลาถึง 40 ปี ในการล้างหนี้เลยทีเดียว
“เราไม่มีทางถอย คือถ้าถอยก็ตกเหว เพราะครอบครัวเราเป็นหนี้มหาศาล ก็เลยต้องลุยไปข้างหน้า ตอนนั้นกลยุทธ์ที่ผมนำมาใช้แก้วิกฤต ก็คือ กลยุทธ์แปล - ล คือ การแปลโจทย์ทางธุรกิจ และแปร - ร คือ การแปรกลยุทธ์ทางธุรกิจ
ผมใช้กลยุทธ์แปล - ล ก่อน คือตอนโดนพิษค่าเงินบาท ตอนนั้นเรายังไม่ได้ส่งออกเลย ค่าเงินจาก 20 กว่าบาทลอยไปกว่า 40 บาท จะถึง 50 บาทต่อ 1 ยูเอสดอลลาห์อยู่แล้ว เราไม่สามารถสู้ได้เลย เพราะเราต้องจ่ายหนี้เป็นยูเอสดอลลาร์
ผมเลยคิดว่าวิธีที่ดีที่สุด ก็คือ ต้องเอายูเอสดอลลาร์มาจ่ายยูเอสดอลลาร์ ฉะนั้นการส่งออกเป็นหนทางเดียวที่จะทำได้ เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ นี่คือการแปลโจทย์
แต่ถ้าผมไปเร่งลดต้นทุน ไปปลดพนักงาน มันไม่ได้แก้ที่เหตุ เพราะเหตุสำคัญ คือ ยูเอสดอลลาร์ ฉะนั้นต้องแปล - ล ก่อน ให้เห็นสถานการณ์ว่าเป็นอย่างไร
พอเห็นแล้ว ผมคิดว่าสิ่งที่ต้องทำ คือ ต้องออกไปทำตลาดต่างประเทศ ผมก็ลุยเลย ไปหลายๆประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์ ดูไบ ตุรกี อเมริกา และยุโรป ขายดะเลย
อันนี้เรียกว่ากลยุทธ์แปร - ร คือ การแปรกลยุทธ์เพื่อใช้แก้ปัญหา
หลังจากทำตรงนั้นก็เริ่มมีออเดอร์จากต่างประเทศเข้ามา มีเงินยูเอสดอลลาร์มาจ่ายหนี้ไปเรื่อยๆ
แต่การทำตลาดส่งออกก็ไม่ง่ายอย่างที่คิด มีความยุ่งยากกว่าตลาดในประเทศมาก เลยทำให้เราต้องปรับปรุงตัวเองให้เก่งขึ้น”
นอกจากโสรัตน์ใช้กลยุทธ์แปล - ล คือ การแปลโจทย์ทางธุรกิจ และแปร - ร คือ การแปรกลยุทธ์ทางธุรกิจ เพื่อแก้วิกฤตที่เกิดขึ้นแล้ว ขณะเดียวกันสิ่งที่เขาต้องทำไปพร้อมๆกัน ก็คือ การเจรจาหนี้แบงก์และการทำความเข้าใจกับพนักงาน
“ในช่วงปี 2540 - 2543 ถือเป็นช่วงที่เหนื่อยมาก กลับมาเมืองไทยก็แค่ขอต่อวีซ่าเท่านั้น แล้วก็ออกไปหาออเดอร์จากต่างประเทศต่อ
ส่วนเวลาที่เหลือ พออยู่เมืองไทยก็ต้องไปเจรจาหนี้แบงก์เป็นหลัก จะปรับโครงสร้างหนี้อย่างไร
และอีกหน้าที่ คือ เล่าให้ลูกน้องฟังว่า เราไปต่างประเทศไปเจออะไรมา ไปเจรจากับแบงก์แล้วเจออะไรบ้าง ที่เหลือเราต้องการอะไร แล้วจะผ่านไปได้อย่างไร ช่วงนั้นถือเป็นช่วงวิกฤตมาก แต่เราก็ได้เรียนรู้อะไรกับมันเยอะมาก”
เรียกได้ว่าการไม่ยอมแพ้กับปัญหาที่เกิดขึ้น บวกกับกลยุทธ์ธุรกิจที่ถูกต้อง ทำให้โสรัตน์ใช้เวลาเพียงแค่ 8 ปีเท่านั้น ก็สามารถล้างหนี้ได้หมด จากเดิมที่คาดว่าจะใช้เวลานานถึง 40 ปี อีกทั้งยังสามารถเปลี่ยนสถานะจากผู้กู้มาเป็นผู้ให้กู้ได้อีกด้วย
“จากบทเรียนที่ได้เรียนรู้จากวิกฤตปี 2540 ทำให้เรามีภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งขึ้น ฉะนั้นพอเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกในรอบใหม่ (2552) เราไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย เพราะเราเตรียมตัวมาก่อน 4 - 5 ปีแล้ว จนทำให้ประสิทธิภาพขององค์กรเราเข้มแข็ง
หลักคิดของผม คือ ถ้าเราไม่เรียนรู้ด้วยตัวเอง เราจะเป็นคนโง่ แต่ถ้าเราเรียนรู้ด้วยตัวเอง เราจะเป็นคนฉลาด และเราจะต้องเรียนรู้ความผิดพลาดของคนอื่นด้วย เราจะเป็นคนมีปัญญา
ทุกวันนี้ผมจึงพยายามไขว่คว้าหากรณีศึกษาต่างๆ เพื่อมาสอนลูกน้องและตัวเราเอง
ปกติคนส่วนใหญ่มักวิเคราะห์คนชนะว่าชนะเพราะอะไร แต่น้อยคนที่จะวิเคราะห์ว่าอีกฝ่ายแพ้เพราะอะไร
ผมเลยมองว่านี่คือการเรียนรู้ความล้มเหลวของคนอื่น เพื่อมาสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตัวเอง
อย่างไรก็ดี แม้โสรัตน์จะสามารถล้างหนี้ได้สำเร็จ แต่โจทย์ทางธุรกิจที่เขาต้องเผชิญก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น เพราะอุตสาหกรรมอะครีลิคมีการแข่งขันรุนแรงมาก โดยคู่แข่งจะเป็นบริษัทต่างชาติทั้งญี่ปุ่น และยุโรป ซึ่งมีความเข้มแข็งมาก ทำให้บริษัทอะครีลิคที่เป็นของคนไทย ซึ่งเดิมเคยมีอยู่เป็นจำนวนมากค่อยๆล้มหายตายไป
สุดท้ายเหลือเพียงแพนเอเชีย อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นบริษัทคนไทยบริษัทสุดท้ายที่ยังสามารถแข่งขันอยู่ในตลาดนี้ได้
ถามว่าโสรัตน์ยืนหยัดต่อสู้ได้อย่างไร
เขาเปิดเผยว่า เป็นเพราะการกำหนด 7 กลยุทธ์เพื่อใช้แข่งขัน
กลยุทธ์แรก “ปลาน้ำตื้น” จัดกลุ่มลูกค้าเป็นกลุ่มๆ เป็นกลุ่มเล็กๆแต่ชัดเจน โดยพัฒนาสินค้าที่มีอยู่เดิมให้มีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
“ผมไม่เชื่อในทฤษฎีบลูโอเชี่ยน ทะเลสีคราม หรือการหาตลาดใหม่ที่ไม่มีคู่แข่ง เพราะพอทำไปสักพักก็จะมีคนตามเข้ามา สุดท้ายก็กลายเป็นทะเลสีเลือด ผมคิดว่ามันไม่นิรันดร์
เพราะถ้าเราทำสินค้าขึ้นมาตัวหนึ่ง คู่แข่งที่เป็นญี่ปุ่น หรือฝรั่งเห็นว่าดี เขาทำตาม เราก็ตาย เพราะเขามีความพร้อมทั้งในเรื่องทรัพยากร เทคโนโลยี และเงินทุนมากกว่า
ดังนั้น วิธีการต่อสู้ที่ดีที่สุด ก็คือ การไม่ต่อสู้ ฉะนั้นเราจะไม่ต่อสู้กับเขา แต่เราจะต่อสู้กับความต้องการของลูกค้า เราจะหาสินค้าที่ทำกันน้อยๆ คู่แข่งเห็นแล้วคิดว่าไม่คุ้ม ไม่อยากทำ เราจะทำตัวนั้น แต่กำไรดี
สมมติสินค้าปกติกำไร 5% แต่สินค้าพวกนี้จะกำไรอยู่ที่ 50% ยอดขายไม่เยอะ แต่กำไรดี เรียกว่า การทำแบบ less for more คือ ทำน้อยได้มาก แต่เมื่อก่อนเราทำแบบ more for less คือทำมาก แต่ได้น้อย
สินค้าพวกนี้มันเป็นสินค้าเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งทำให้คู่แข่งไม่สนใจ พอเขาไม่สนใจ เขาไม่เข้ามาแข่ง เราก็สามารถที่จะพัฒนาสินค้า รูปแบบต่างๆให้ตรงใจผู้บริโภคได้เต็มที่”
“จากบทเรียนที่ได้เรียนรู้จากวิกฤตปี 2540 ทำให้เรามีภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งขึ้น ฉะนั้นพอเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกในรอบใหม่ (2552) เราไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย เพราะเราเตรียมตัวมาก่อน 4 – 5 ปีแล้ว"
นี่คือกลยุทธ์ปลาน้ำตื้น ซึ่งโสรัตน์ บอกว่า กลยุทธ์นี้จะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัย 3 องค์ประกอบหลัก คือ 1.การตลาดที่เข้าใจ เพราะนี่คือจุดเล็กๆน้อยๆที่มีประโยชน์ ดังนั้น ต้องทำความเข้าใจกับพนักงานเสียก่อน
2.R&D ต้องวิจัยและพัฒนาสินค้าให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า โดยปัจจุบันบริษัทมีทีมนักวิจัย 5 คน โดยตั้งเป้าการวิจัยสินค้าใหม่ 3 ชิ้นต่อปี ส่วนผลงานที่พัฒนาออกมานั้นมีหลากหลาย อาทิ อะครีลิคกันกระสุน อะครีลิคลายผ้า อะครีลิคประหยัดพลังงาน อะครีลิคที่มีความหนา 60 ซม. สำหรับใช้ในพิพิธภัณฑ์ปลา เป็นต้น
และ 3.การผลิต ต้องเปลี่ยนความคิดจากเดิมที่เน้นการผลิตเยอะๆเพื่อลดต้นทุน มาเป็นการผลิตจำนวนน้อยๆ แต่ผลิตให้หลากหลายแล้วควบคุมต้นทุนให้ได้
ขณะที่โสรัตน์เดินหน้าใช้กลยุทธ์ “ปลาน้ำตื้น” เจาะกลุ่มลูกค้า เขาก็เสริมแรงด้วยกลยุทธ์ที่สอง นั่นคือ “คุณภาพตามใจปรารถนา” เป็นการพัฒนาสินค้าให้ดีขึ้นตรงตามความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่ม
“สินค้าของทุกบริษัทมีสแตนดาร์ดเหมือนกันหมด สวย คุณภาพดี แต่รู้ไหมว่าสินค้าที่มีคุณภาพที่ดีคืออะไร จะบอกว่าใสกว่า หนากว่า ไม่ได้งอ หรือไม่นิ่ม ฯลฯ ลูกค้าแต่ละกลุ่มจะต้องการสินค้าไม่เหมือนกัน เราก็มองว่านี่แหละคือโอกาส
เราเลยเริ่มออกไปทำวิจัยว่าลูกค้าต้องการใช้อะครีลิคแบบไหนบ้าง ก็พบว่า หลากหลายมาก ซึ่งความหลากหลายนี้แต่ก่อนจะถูกกลบด้วยคำว่ามาตรฐาน เพื่อให้ใช้ได้กับทุกกลุ่ม
เราก็เลยบอกว่าทำคุณภาพที่หลากหลายดีกว่า เพราะบางคนเอาไปทำกรอบพระก็แบบหนึ่ง ทำป้ายโฆษณาก็แบบหนึ่ง ไปทำตู้ปลาก็อีกแบบหนึ่ง มันมีความหลากหลายมาก นี่คือคุณภาพตามใจปรารถนา
ตอนนี้สเปคสินค้าเรามีเยอะมาก ซึ่งแลดูจะเป็นความยุ่งยาก แต่ผมคิดว่านี่แหละเป็นเรื่องสำคัญที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้จริงๆ”
และเนื่องจากโสรัตน์ถือว่าลูกค้าเป็นบุคคลสำคัญ กลยุทธ์ที่สามจึงเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบริษัทกับลูกค้า เรียกว่า “รักนะ 24 ชั่วโมง”
“เราดูแลลูกค้าเหมือนพ่อแม่ เหมือนแฟน ฉะนั้นเวลามีเทศกาลสำคัญเราจะส่งของ ส่งคำอวยพรไปให้ลูกค้า เช่น วันเกิดจะมีบัตรอวยพร มีของขวัญวันเกิด หรือเค้กที่ลูกค้าชอบส่งไปให้
เราดูแลลูกค้าอย่างดี ซึ่งบริษัทญี่ปุ่น ฝรั่งเขาไม่ทำ พอลูกค้าซึ้งใจ ประทับใจ คุยอะไรก็ง่ายขึ้น ความสัมพันธ์ก็ดีขึ้น กลยุทธ์รักนะ 24 ชั่วโมงเลยมีพลัง”
สำหรับกลยุทธ์ที่สี่ เรียกว่า “ส่งความคิด” เป็นกิจกรรมการส่งข่าวสารจากผู้บริหารทุกเดือน เพื่อแจ้งเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ เทคโนโลยีใหม่ที่นำมาใช้
“ผมจะเขียนจดหมายส่งไปถึงลูกค้าและซัพพลายเออร์ทุกราย เดือนหนึ่งจะส่งไปประมาณ 300 - 400 ฉบับ เป็นจดหมายบอกเล่าเรื่องราวว่าตลอดหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ผมปรับปรุงกิจการอย่างไร ไปบรรยายที่ไหน ช่วยเหลือสังคมอย่างไร มีแนวคิดอะไร คิดอะไรใหม่ๆได้บ้าง แล้วประยุกต์ใช้ให้เขาดูด้วย
ผู้อ่านก็จะรู้ว่าเรากำลังทำอะไร ปรับปรุงอะไร ได้สินค้าใหม่อะไร เขาก็จะเข้าใจในสิ่งที่เราบอกเล่า
เราจะถือโอกาสแนะเรื่อง Know How และแนะเรื่อง Know Why ด้วย คือคุณไม่ได้รู้แค่ว่าทำอย่างไร แต่คุณจะต้องรู้ว่าทำทำไม เขาก็จะเริ่มเรียนรู้ไปกับเรา ประสบความสำเร็จไปพร้อมๆกับเรา”
และเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ กลยุทธ์ที่ห้าจึงเป็นการรวมพลังกับคู่ค้าเพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการแข่งขัน เรียกว่า “เพื่อนพ้อง”
“เราคิดว่าการทำงานคงอยู่แบบหนึ่งเดียวไม่ได้ สินค้าของเราจะทำโปรโมชั่นร่วมกับคู่ค้า รวมพลังกันเป็นแผง เพราะเรามั่นใจว่าถ้าซัพพลายเออร์เราแข็งแรง สินค้าที่ไปถึงลูกค้าเราจะแข็งแรง เราจะไม่สู้กันแบบหนึ่งต่อหนึ่งเป็นซูโม แต่เราจะสู้กันแบบทีมนักฟุตบอล”
ส่วนกลยุทธ์ที่หกที่โสรัตน์กำหนดขึ้นมา ก็คือ “ไปที่ไหนก็เจอเรา” เป็นการโปรโมทสินค้าผ่านสื่อต่างๆ เหมือนเป็นคอนซูเมอร์โปรดักส์
“เป็นกลยุทธ์ที่เราทำการโปรโมทผ่านสื่อต่างๆ ป้ายโฆษณาต่างๆ ตกแต่งร้านให้สวยงาม เวลาลูกค้าเดินไปที่ไหนก็จะเจอเรา
เรามีการทำกิจกรรมให้กับลูกค้า ซึ่งคู่แข่งเขาไม่ได้ทำขนาดนี้ เพราะสินค้าเราเป็นสินค้าอุตสาหกรรม แต่เราทำเหมือนคอนซูเมอร์โปรดักส์”
และกลยุทธ์สุดท้ายเรียกว่า “สุขจากการแบ่งปัน” ซึ่งเป็นกิจกรรมเพื่อสังคม
“เป็น CSR ที่เราเอากำไรของการขายสินค้ามาทำกิจกรรมเพื่อสังคม เช่น โครงการทดแทนพระคุณแม่ให้บัวพ้นน้ำ โดยเรามองว่าจะสร้างเด็กให้เป็นบัวพ้นน้ำ ซึ่งการเป็นบัวพ้นน้ำนั้นมี 2 อย่าง คือจะต้องมีความรู้ในทางโลก และทางธรรม เราก็เลยสร้างห้องสมุด และห้องจริยธรรมให้กับโรงเรียนต่างๆ เป็นต้น”
ทั้งนี้ จากการใช้กลยุทธ์ทั้ง 7 ของโสรัตน์ ทำให้บริษัท แพนเอเชีย อุตสาหกรรม สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคง โดยปัจจุบันมีบริษัทในเครือถึง 6 บริษัท มีพนักงานทั้งหมดประมาณ 500 คน
และที่สำคัญเมื่อปีที่ผ่านมาบริษัทสามารถปิดยอดขายได้เกือบ 920 ล้านบาท ซึ่งเป็นช่วงที่โสรัตน์มีอายุครบ 36 ปีพอดี ก็ถือว่าใกล้เคียงกับเป้าหมายที่เขาเคยตั้งไว้
“เราเติบโตด้วยกำไร ยอดขายเรานิ่งมาสัก 2 - 3 ปีแล้ว แต่กำไรของเราเติบโตปีละ 25% มา 5 ปีซ้อนแล้ว คือยอดขายอยู่ที่ 900 กว่าล้าน รวม 6 บริษัทในเครือ เพราะเราเน้นขายสินค้าที่แตกต่าง แล้วสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า
เราไม่ได้เน้นที่จะเพิ่มยอดขายให้เยอะ เพื่อให้กำไรเยอะขึ้น แต่เราเน้นการหากลุ่มลูกค้าที่ตอบสนองได้ดีกว่า กำไรมากขึ้น โดยการควบคุมค่าใช้จ่าย ควบคุมค่าเสียหาย ควบคุมเงินที่ตกตามโรงงานที่มีอยู่เยอะแยะ ปรับปรุงให้ดีขึ้น”
ต้องบอกว่าด้วยวัยเพียง 37 ปี กับบทบาทของผู้นำองค์กรที่สามารถนำพาธุรกิจให้ผ่านพ้นวิกฤต และสามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงนั้น ทำให้โสรัตน์เป็นนักธุรกิจหนุ่มอีกหนึ่งคนที่น่าจับตามองไม่น้อยทีเดียว
“พลังที่สำคัญที่สุดที่ทำให้ผมยืนหยัดต่อสู่มาได้ถึงทุกวันนี้ ก็คือ พลังแห่งความอบอุ่นของคุณแม่ ซึ่งคอยให้กำลังใจตลอดเวลา เป็นความอบอุ่นที่ผมคิดว่าเป็นทรัพย์สินที่ยิ่งใหญ่ที่ทำให้เราสามารถเดินต่อไปได้อย่างเข้มแข็ง” โสรัตน์ สรุปทิ้งท้าย
ข้อมูลโดย นิตยสาร SMEs PLUS ฉบับประจำเดือนมิถุนายน 2553
http://www.manager.co.th/SMEs/ViewNews. ... 0000171819
อยากสูงต้องเขย่ง อยากเก่งต้องขยัน
- VSนักลงทุนอริยะ
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 349
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "แพนเอเชียฯ" เปิดกลยุทธ์ปลดหนี้ ล้มได้ ก็ยืนใหม่ได้
โพสต์ที่ 3
ขอบคุณนะครับ คุณน้อง new
เค้าสัมภาษณ์ไว้สักพักแล้วล่ะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อน ๆ ทุกคนนะครับ แต่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับธุรกิจน่ะครับ ไม่ใช่ การลงทุน เท่าไรนะครับ แต่ก็เป็นกรณีแห่งความจริง เพื่อสร้างแรงผลักดันและแรงบันดาลใจให้กับเพื่อน ๆ ทุก ๆ คนนะครับ
โดยส่วนตัว อยากจะให้เพื่อน ๆ นักลงทุนทุกคน มีกิจการเล็ก ๆ อย่างผม เป็นของตนเองน่ะครับ ผมว่า จะทำให้การลงทุนมีเสน่ห์ขึ้นมากเพราะเราก็เป็นเจ้าของอยู่ และ จะทำการบริหารกิจการมีเสน่ห์จากการนำมาปฏิบัติใช้ในการศึกษากรณีกิจการต่าง ๆ ด้วยครับ
:lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
เค้าสัมภาษณ์ไว้สักพักแล้วล่ะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อน ๆ ทุกคนนะครับ แต่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับธุรกิจน่ะครับ ไม่ใช่ การลงทุน เท่าไรนะครับ แต่ก็เป็นกรณีแห่งความจริง เพื่อสร้างแรงผลักดันและแรงบันดาลใจให้กับเพื่อน ๆ ทุก ๆ คนนะครับ
โดยส่วนตัว อยากจะให้เพื่อน ๆ นักลงทุนทุกคน มีกิจการเล็ก ๆ อย่างผม เป็นของตนเองน่ะครับ ผมว่า จะทำให้การลงทุนมีเสน่ห์ขึ้นมากเพราะเราก็เป็นเจ้าของอยู่ และ จะทำการบริหารกิจการมีเสน่ห์จากการนำมาปฏิบัติใช้ในการศึกษากรณีกิจการต่าง ๆ ด้วยครับ
:lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
ความสุขสงบและมีประโยชน์ต่อผู้อื่น คือคุณค่าในชีวิตของผมครับ
- naris
- Verified User
- โพสต์: 6726
- ผู้ติดตาม: 1
Re: "แพนเอเชียฯ" เปิดกลยุทธ์ปลดหนี้ ล้มได้ ก็ยืนใหม่ได้
โพสต์ที่ 5
มีประโยชน์มากครับคุณเคน โดยเฉพาะคนที่ยังหลงทางอยู่ในธุรกิจที่ไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่ม คงจะหันมาสนใจลูกน้องและลูกค้าให้มากกว่าเดิมkensorat เขียน:ขอบคุณนะครับ คุณน้อง new
เค้าสัมภาษณ์ไว้สักพักแล้วล่ะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อน ๆ ทุกคนนะครับ แต่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับธุรกิจน่ะครับ ไม่ใช่ การลงทุน เท่าไรนะครับ แต่ก็เป็นกรณีแห่งความจริง เพื่อสร้างแรงผลักดันและแรงบันดาลใจให้กับเพื่อน ๆ ทุก ๆ คนนะครับ
โดยส่วนตัว อยากจะให้เพื่อน ๆ นักลงทุนทุกคน มีกิจการเล็ก ๆ อย่างผม เป็นของตนเองน่ะครับ ผมว่า จะทำให้การลงทุนมีเสน่ห์ขึ้นมากเพราะเราก็เป็นเจ้าของอยู่ และ จะทำการบริหารกิจการมีเสน่ห์จากการนำมาปฏิบัติใช้ในการศึกษากรณีกิจการต่าง ๆ ด้วยครับ
:lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
- KGYF
- Verified User
- โพสต์: 399
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "แพนเอเชียฯ" เปิดกลยุทธ์ปลดหนี้ ล้มได้ ก็ยืนใหม่ได้
โพสต์ที่ 6
จอหงวน เขียน:แพนเอเซียอุตสาหกรรม ไม่ใช่ PAF นะครับ
PAF นี่ แพนเอเซียฟุตแวร์ ของกลุ่มสหพัฒน์ ยังขาดทุนมหาศาล สาละวันเตี้ยลง จนต้องย้ายไปลาวแล้ว
ทีแรก ผมนึกว่าเป็น บ.เีดียวกันนะเนี่ย ก็ยังว่า ไปเปิดดูงบแล้ว ทำไมมันคนละเรื่องกับบทสัมภาษณ์
ขอบคุณที่แจ้งให้ทราบครับ
" สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ = การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง "
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
- VSนักลงทุนอริยะ
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 349
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "แพนเอเชียฯ" เปิดกลยุทธ์ปลดหนี้ ล้มได้ ก็ยืนใหม่ได้
โพสต์ที่ 8
thanks for K naris and K wpong na krub for seeing the value from this story. for me, this is not
"family business" now but it is "family in business" krub
"family business" now but it is "family in business" krub
ความสุขสงบและมีประโยชน์ต่อผู้อื่น คือคุณค่าในชีวิตของผมครับ
- << New >>
- Verified User
- โพสต์: 1147
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "แพนเอเชียฯ" เปิดกลยุทธ์ปลดหนี้ ล้มได้ ก็ยืนใหม่ได้
โพสต์ที่ 9
เห็นด้วยครับ การที่จะล้างหนี้ระดับนั้นจนมีสถานะได้ในระดับนี้นี่ สุดยอดจริงๆwpong เขียน:ชื่นชมในความสามารถรอบด้านครับ พี่เคน
เรื่องคิดผมว่าหาคนคิดได้เยอะพอควร แตคนที่ทำจนประสบผลสำเร็จอย่างพี่เคน หายากครับ
อยากสูงต้องเขย่ง อยากเก่งต้องขยัน
- newbie_12
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2912
- ผู้ติดตาม: 1
Re: "แพนเอเชียฯ" เปิดกลยุทธ์ปลดหนี้ ล้มได้ ก็ยืนใหม่ได้
โพสต์ที่ 11
เยี่ยมครับ สู้ไม่ถอยจริงๆ
ว่างๆอยากเข้าไปซึมซับความรู้ จากประสบการณ์ทำธุรกิจบ้างครับผม
ว่างๆอยากเข้าไปซึมซับความรู้ จากประสบการณ์ทำธุรกิจบ้างครับผม
.
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง
----------------------------
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง
----------------------------
- unnop.t
- Verified User
- โพสต์: 924
- ผู้ติดตาม: 1
Re: "แพนเอเชียฯ" เปิดกลยุทธ์ปลดหนี้ ล้มได้ ก็ยืนใหม่ได้
โพสต์ที่ 12
ชื่นชมความไม่ท้อถอยสู้จนผ่านวิกฤตมาได้ครับ
ประโยคนี้ของ Warren Buffet คงเหมาะสำหรับคุณเคน
" I'm the better investor because I'm businessman and I'm the better businessman because I'm investor."
ปล. รอฟังข้อสรุปอีก 7 ข้อของ H-Tech อยู่ครับ
ประโยคนี้ของ Warren Buffet คงเหมาะสำหรับคุณเคน
" I'm the better investor because I'm businessman and I'm the better businessman because I'm investor."
ปล. รอฟังข้อสรุปอีก 7 ข้อของ H-Tech อยู่ครับ
ตลาดหุ้นมักจะหลอกเราด้วย ความโลภ และความกลัว.....
-
- Verified User
- โพสต์: 455
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "แพนเอเชียฯ" เปิดกลยุทธ์ปลดหนี้ ล้มได้ ก็ยืนใหม่ได้
โพสต์ที่ 13
ขอคารวะ เลยครับ
... และขอสารภาพตามตรงเลย
ตอนแรกทีอ่านความเห็นของพี่บ่อยๆ จะมีคิดภาพประมาณว่าคนเก่ง ขี้โม้นิดๆ สานต่อธุรกิจครอบครัว
หลักการดี ทฤษฎีเยอะ...
แต่พอได้รู้รายละเอียดจริงแล้ว นับถือเป็นอย่างยิ่งเลยครับ
... และขอสารภาพตามตรงเลย
ตอนแรกทีอ่านความเห็นของพี่บ่อยๆ จะมีคิดภาพประมาณว่าคนเก่ง ขี้โม้นิดๆ สานต่อธุรกิจครอบครัว
หลักการดี ทฤษฎีเยอะ...
แต่พอได้รู้รายละเอียดจริงแล้ว นับถือเป็นอย่างยิ่งเลยครับ
เด็กฝึกงาน...
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 232
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "แพนเอเชียฯ" เปิดกลยุทธ์ปลดหนี้ ล้มได้ ก็ยืนใหม่ได้
โพสต์ที่ 14
ได้อ่านแล้ว ต้องขอคารวะ พี่เคนหนึ่งจอกจริงๆ เยี่ยมมากครับ
การเรียนรู้ประสบการณ์จากคนอื่นๆ ทั้งที่ประสบความสำเร็จ และ ล้มเหลว
สามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจของเราได้ดีจริงๆครับ
การเรียนรู้ประสบการณ์จากคนอื่นๆ ทั้งที่ประสบความสำเร็จ และ ล้มเหลว
สามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจของเราได้ดีจริงๆครับ
- Jazzman
- Verified User
- โพสต์: 388
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "แพนเอเชียฯ" เปิดกลยุทธ์ปลดหนี้ ล้มได้ ก็ยืนใหม่ได้
โพสต์ที่ 15
ขอบคุณที่แบ่งปันคับ ผมชอบกลยุทธ ของคุณเคน มาก ที่ส่ง email update ให้ลูกค้า ทั้งกิจกรรม และ การพัฒนา ต่างๆ ทำให้ลูกค้า รู้ข่าวสาร และพัฒนาการต่างๆของเรา ทำให้เข้าใจเรามากขึ้น และ คนที่ยังไม่ได้เป็นลูกค้า ก็ยังได้ข้อมูลข่าวสาร และกลายมาเป็นลูกค้าเราในอนาคต สงสัยต้องขอเอาไปใช้นะคับ พี่เคน ยอดเยี่ยมมาก
ลงทุนในสิ่งที่เพิ่ม " ค่า " ไปเรื่อยๆ
- VSนักลงทุนอริยะ
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 349
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "แพนเอเชียฯ" เปิดกลยุทธ์ปลดหนี้ ล้มได้ ก็ยืนใหม่ได้
โพสต์ที่ 16
ใช่แล้ว คุณ jazzman กลยุทธ์นี้ได้รับการตอบรับที่ดีมากเลยครับ ลูกค้าติดใจอ่านติดต่อทุกเดือนเลยครับ เพราะในด้านท้ายของจดหมายจะมีการ brief book 1 เล่ม and real application in my work ครับ ผมเขียนจดหมาย MD ถึงคู่ค้าคู่คิดมาได้ 6 ปีติดต่อกันโดยไม่ขาดสักฉบับเลยครับ
ต่อไปก็เลยกระจายไปสู่ suppliers (ทำให้การซื้อขายคุยกันได้ง่ายขึ้นเยอะครับ แลดูจะเข้าใจกันมากขึ้น ก็ถือเป็นอำนาจต่อรองอย่างหนึ่งนะครับ) ธนาคาร หน่วยงานราชการที่เราประสานอยู่ ที่ปรึกษาต่าง ๆ และ มหาลัยต่าง ๆ ที่เราทำ co-research ร่วมอยู่ด้วยครับ
เขียนครั้งเดียว สามารถ leverage ข้อมูลได้ทุกภาคส่วนของธุรกิจเลยครับ และยังสามารถเป็นตัวอย่างและสร้างแรงบันดาลใจให้กับอีกหลาย ๆ คน หลาย ๆ องค์กร ได้อีก
ชื่นใจที่ได้ทำสิ่งดี ๆ ครับ (ลองดูตัวอย่างใน www.ceoken.com) ได้นะครับ
copy ได้เลยนะครับ เพื่อช่วยกันสร้างสิ่งดี ๆ สู่สังคมครับ
:lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
ต่อไปก็เลยกระจายไปสู่ suppliers (ทำให้การซื้อขายคุยกันได้ง่ายขึ้นเยอะครับ แลดูจะเข้าใจกันมากขึ้น ก็ถือเป็นอำนาจต่อรองอย่างหนึ่งนะครับ) ธนาคาร หน่วยงานราชการที่เราประสานอยู่ ที่ปรึกษาต่าง ๆ และ มหาลัยต่าง ๆ ที่เราทำ co-research ร่วมอยู่ด้วยครับ
เขียนครั้งเดียว สามารถ leverage ข้อมูลได้ทุกภาคส่วนของธุรกิจเลยครับ และยังสามารถเป็นตัวอย่างและสร้างแรงบันดาลใจให้กับอีกหลาย ๆ คน หลาย ๆ องค์กร ได้อีก
ชื่นใจที่ได้ทำสิ่งดี ๆ ครับ (ลองดูตัวอย่างใน www.ceoken.com) ได้นะครับ
copy ได้เลยนะครับ เพื่อช่วยกันสร้างสิ่งดี ๆ สู่สังคมครับ
:lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
ความสุขสงบและมีประโยชน์ต่อผู้อื่น คือคุณค่าในชีวิตของผมครับ
- VSนักลงทุนอริยะ
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 349
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "แพนเอเชียฯ" เปิดกลยุทธ์ปลดหนี้ ล้มได้ ก็ยืนใหม่ได้
โพสต์ที่ 17
คุณ unnop.t ครับ เดี๋ยวรอให้ Htech เริ่มนิ่งก่อน แล้วผมจะ update อีก 7 กลยุทธ์ที่เหลือนะครับ
ขอบคุณที่ติดต่อนะครับบบบ
:lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
ขอบคุณที่ติดต่อนะครับบบบ
:lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
ความสุขสงบและมีประโยชน์ต่อผู้อื่น คือคุณค่าในชีวิตของผมครับ
- PRO_BABY
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1584
- ผู้ติดตาม: 0
- mario
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 720
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "แพนเอเชียฯ" เปิดกลยุทธ์ปลดหนี้ ล้มได้ ก็ยืนใหม่ได้
โพสต์ที่ 19
สุดยอดครับพี่เคน
The basic ideas of investing are to look at stocks as business,
use the market's fluctuations to your advantage,
and seek a margin of safety.
Investing is not about big returns ,it's about safety of principal and satisfactory returns.
use the market's fluctuations to your advantage,
and seek a margin of safety.
Investing is not about big returns ,it's about safety of principal and satisfactory returns.
- VSนักลงทุนอริยะ
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 349
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "แพนเอเชียฯ" เปิดกลยุทธ์ปลดหนี้ ล้มได้ ก็ยืนใหม่ได้
โพสต์ที่ 20
mario ก็มาด้วยนะ ขอบใจนะ น้องกานนนนนนน
จริง ๆ พี่เคนจะโทรไปคุยตั้งหลายครั้งแล้ว จะปรึกษาเรื่อง การลงทุน หน่อยนะจ๊ะ
ตอนนี้พี่เคน ok กับธุรกิจแล้ว กำลังจะคิด project หนึ่งเกี่ยวกับ การลงทุน น่ะจ๊ะ
กำลังจะจัดตั้ง investment company ในอนาคตนี้ล่ะ โดยจะเข้าไปศึกษากิจการขนาดเล็ก แล้วเข้าไป turnaround บริษัทโดยใช้ความรู้ความสามารถของเราน่ะจ๊ะ
แล้วก็อยากจะได้พรรคพวกเข้ามาร่วมด้วย
เค้าเรียกว่า "Create the winner strategy" ให้เป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ มีธรรมภิบาล มีการดูแลลูกน้องที่ดี ลูกค้าและคู่ค้าที่ดีด้วย พร้อมมี CSR ที่มีประโยชน์ต่อสังคมไทย เมื่อกิจการดีขึ้นแล้ว ก็ค่อยนำแผนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ นำเสนอ กองทุนต่าง ๆ อีกครั้ง
แล้วเมื่อกิจการ investment company เติบโตขึ้น เราก็จะเข้าตลาดหลักทรัพย์อีกครั้ง โดยปณิฐานของบริษัท ต้องพัฒนาธุรกิจไทยให้ก้าวไกลปักธงไตรรงค์ที่ต่างแดน
ก็อาจจะเป็นบริษัทแรก ๆ ที่ position ตนเอง เป็น investment company แบบจริง ๆ จัง ๆ
ดีปะ
กำลังหาผู้ร่วมงานอยู่จ้า
mario สนปะ
:lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
จริง ๆ พี่เคนจะโทรไปคุยตั้งหลายครั้งแล้ว จะปรึกษาเรื่อง การลงทุน หน่อยนะจ๊ะ
ตอนนี้พี่เคน ok กับธุรกิจแล้ว กำลังจะคิด project หนึ่งเกี่ยวกับ การลงทุน น่ะจ๊ะ
กำลังจะจัดตั้ง investment company ในอนาคตนี้ล่ะ โดยจะเข้าไปศึกษากิจการขนาดเล็ก แล้วเข้าไป turnaround บริษัทโดยใช้ความรู้ความสามารถของเราน่ะจ๊ะ
แล้วก็อยากจะได้พรรคพวกเข้ามาร่วมด้วย
เค้าเรียกว่า "Create the winner strategy" ให้เป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ มีธรรมภิบาล มีการดูแลลูกน้องที่ดี ลูกค้าและคู่ค้าที่ดีด้วย พร้อมมี CSR ที่มีประโยชน์ต่อสังคมไทย เมื่อกิจการดีขึ้นแล้ว ก็ค่อยนำแผนยุทธศาสตร์ต่าง ๆ นำเสนอ กองทุนต่าง ๆ อีกครั้ง
แล้วเมื่อกิจการ investment company เติบโตขึ้น เราก็จะเข้าตลาดหลักทรัพย์อีกครั้ง โดยปณิฐานของบริษัท ต้องพัฒนาธุรกิจไทยให้ก้าวไกลปักธงไตรรงค์ที่ต่างแดน
ก็อาจจะเป็นบริษัทแรก ๆ ที่ position ตนเอง เป็น investment company แบบจริง ๆ จัง ๆ
ดีปะ
กำลังหาผู้ร่วมงานอยู่จ้า
mario สนปะ
:lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
ความสุขสงบและมีประโยชน์ต่อผู้อื่น คือคุณค่าในชีวิตของผมครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 379
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "แพนเอเชียฯ" เปิดกลยุทธ์ปลดหนี้ ล้มได้ ก็ยืนใหม่ได้
โพสต์ที่ 23
kensorat เขียน:ขอบคุณนะครับ คุณน้อง new
เค้าสัมภาษณ์ไว้สักพักแล้วล่ะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อน ๆ ทุกคนนะครับ แต่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับธุรกิจน่ะครับ ไม่ใช่ การลงทุน เท่าไรนะครับ แต่ก็เป็นกรณีแห่งความจริง เพื่อสร้างแรงผลักดันและแรงบันดาลใจให้กับเพื่อน ๆ ทุก ๆ คนนะครับ
โดยส่วนตัว อยากจะให้เพื่อน ๆ นักลงทุนทุกคน มีกิจการเล็ก ๆ อย่างผม เป็นของตนเองน่ะครับ ผมว่า จะทำให้การลงทุนมีเสน่ห์ขึ้นมากเพราะเราก็เป็นเจ้าของอยู่ และ จะทำการบริหารกิจการมีเสน่ห์จากการนำมาปฏิบัติใช้ในการศึกษากรณีกิจการต่าง ๆ ด้วยครับ
:lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
ขอคาราวะด้วยความจริงใจ เก่งจริงๆครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 325
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "แพนเอเชียฯ" เปิดกลยุทธ์ปลดหนี้ ล้มได้ ก็ยืนใหม่ได้
โพสต์ที่ 24
เข้ามาชื่นชมคุณ Kensorat อีกหนึ่งคนครับ..
เรื่องเป็น Investment Company ในการ Turnaround บริษัทฯ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ในการช่วยกันสร้างธุรกิจไทยให้เติบใหญ่และแข็งเรง โดยการแบ่งปันของคนไทยด้วยกัน..ผมเคยอ่านหนังสือพิมพ์ที่เป็นงานวิจัยหรือนวัตกรรมของนิสิตนักศึกษาในการทำเครื่องจักร หรือ วัสดุแปรรูปต่าง บางครั้งยังนึกเลยว่า idea ดีมาก ไม่รู้จะมีคนไปต่อยอดให้สามารถทำเป็นเชิงการค้าได้หรือเปล่า..อย่างเช่นเครื่องหนังปลาตะเพียน ได้ลายเหมือนกับหนังงู หรือโต๊ะเก้าอี้จากแกลบ จากกล่อง UHT (ธุรกิจ recycle UHT ในบราซิลใหญ่มาก ผมเคยผ่านตาจากสารคดี) หากมีคนส่งเสริม ผมว่าเราน่าจะได้ธุรกิจที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ มากขึ้น
อยากเห็นธุรกิจไทยเติบใหญ่ ต่อสู้กับต่างชาติได้อย่างภาคภูมิเช่นเดียวกันครับ
เรื่องเป็น Investment Company ในการ Turnaround บริษัทฯ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ดีมากๆ ในการช่วยกันสร้างธุรกิจไทยให้เติบใหญ่และแข็งเรง โดยการแบ่งปันของคนไทยด้วยกัน..ผมเคยอ่านหนังสือพิมพ์ที่เป็นงานวิจัยหรือนวัตกรรมของนิสิตนักศึกษาในการทำเครื่องจักร หรือ วัสดุแปรรูปต่าง บางครั้งยังนึกเลยว่า idea ดีมาก ไม่รู้จะมีคนไปต่อยอดให้สามารถทำเป็นเชิงการค้าได้หรือเปล่า..อย่างเช่นเครื่องหนังปลาตะเพียน ได้ลายเหมือนกับหนังงู หรือโต๊ะเก้าอี้จากแกลบ จากกล่อง UHT (ธุรกิจ recycle UHT ในบราซิลใหญ่มาก ผมเคยผ่านตาจากสารคดี) หากมีคนส่งเสริม ผมว่าเราน่าจะได้ธุรกิจที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ มากขึ้น
อยากเห็นธุรกิจไทยเติบใหญ่ ต่อสู้กับต่างชาติได้อย่างภาคภูมิเช่นเดียวกันครับ
- VSนักลงทุนอริยะ
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 349
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "แพนเอเชียฯ" เปิดกลยุทธ์ปลดหนี้ ล้มได้ ก็ยืนใหม่ได้
โพสต์ที่ 25
ใช่เลยครับ นี่แหละคือความฝันของผม และของหลาย ๆ คนด้วยนะครับ
ผมอยากจะทำให้เป็นจริง แต่ขอเตรียมการ เตรียมเงิน เตรียมทุน ก่อนนะครับ เพราะรู้ว่า คงต้องลองผิดลองถูกมากมายครับ เพราะจึงเตรียมใจที่จะเป็นเงินที่ต้องทำใจเป็นศูนย์ก่อนน่ะครับ แต่อย่างน้อย ก็จุดประกายโครงการดี ๆ บริษัทเล็ก ๆ ดี ๆ ให้มีโอกาสหายใจได้บ้าง เพราะผมเคยเป็นบริษัทเล็ก ๆ มาก่อน เหนื่อยครับ ไม่มี connection, เงินทุน knowhow, knowwhy, knowwho and knownothing แต่ถ้าเดินยุทธศาสตร์ได้ถูกต้องตาม กาละ เทศะ บุคคล
โครงการนี้ ก็จะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อสังคมไทยครับ เพื่อคนไทย เพื่อเมืองไทย และเพื่อผู้ถือหุ้นคนไทยครับ
แล้วเห็นด้วยเนี่ย ถ้าเกิดขึ้นจริง จะร่วมกันไหมครับ
ขอบคุณที่ช่วยกันออกความคิด-เห็น นะครับ
:lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
ผมอยากจะทำให้เป็นจริง แต่ขอเตรียมการ เตรียมเงิน เตรียมทุน ก่อนนะครับ เพราะรู้ว่า คงต้องลองผิดลองถูกมากมายครับ เพราะจึงเตรียมใจที่จะเป็นเงินที่ต้องทำใจเป็นศูนย์ก่อนน่ะครับ แต่อย่างน้อย ก็จุดประกายโครงการดี ๆ บริษัทเล็ก ๆ ดี ๆ ให้มีโอกาสหายใจได้บ้าง เพราะผมเคยเป็นบริษัทเล็ก ๆ มาก่อน เหนื่อยครับ ไม่มี connection, เงินทุน knowhow, knowwhy, knowwho and knownothing แต่ถ้าเดินยุทธศาสตร์ได้ถูกต้องตาม กาละ เทศะ บุคคล
โครงการนี้ ก็จะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อสังคมไทยครับ เพื่อคนไทย เพื่อเมืองไทย และเพื่อผู้ถือหุ้นคนไทยครับ
แล้วเห็นด้วยเนี่ย ถ้าเกิดขึ้นจริง จะร่วมกันไหมครับ
ขอบคุณที่ช่วยกันออกความคิด-เห็น นะครับ
:lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
ความสุขสงบและมีประโยชน์ต่อผู้อื่น คือคุณค่าในชีวิตของผมครับ
- VSนักลงทุนอริยะ
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 349
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "แพนเอเชียฯ" เปิดกลยุทธ์ปลดหนี้ ล้มได้ ก็ยืนใหม่ได้
โพสต์ที่ 26
new เป็นบุคคลที่ถูกเลือกไว้อยู่แล้วครับ ไม่ต้องห่วงนะครับ
การทำดี ต้องเลือกคนดี ๆ ก่อนอื่นครับ
:lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
การทำดี ต้องเลือกคนดี ๆ ก่อนอื่นครับ
:lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
ความสุขสงบและมีประโยชน์ต่อผู้อื่น คือคุณค่าในชีวิตของผมครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 75
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "แพนเอเชียฯ" เปิดกลยุทธ์ปลดหนี้ ล้มได้ ก็ยืนใหม่ได้
โพสต์ที่ 27
หากคุณ เคน มีเวลาผมว่าการเขียนหนังสือเล่าประสบการณ์ แบบครบถ้วนสักเล่ม ไม่ว่าจะเป็นในแง่ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ หรือ มุมมองการลงทุน คงเป็นประโยชน์ไม่น้อยเลยน่ะครับ
ยอดเยี่ยมครับ
ยอดเยี่ยมครับ
หากเราถือหุ้นที่ดีแล้ว เหตุผลเดียวที่ขาดทุนเพราะเรายังถือมันไม่นานพอ
- VSนักลงทุนอริยะ
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 349
- ผู้ติดตาม: 0
Re: "แพนเอเชียฯ" เปิดกลยุทธ์ปลดหนี้ ล้มได้ ก็ยืนใหม่ได้
โพสต์ที่ 29
ถ้า IPO แล้ว คุณจอหงวน จะร่วมด้วยหรือเปล่าล่ะครับ
:lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
:lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
ความสุขสงบและมีประโยชน์ต่อผู้อื่น คือคุณค่าในชีวิตของผมครับ