ยักษ์ใหญ่ในยุคไฮเทค / โดย คนขายของ
หากท่านใดยังจำภาพยนต์ชื่อ “TITANIC” ซึ่งเป็นเรื่องของ “แจ๊ค” กับ “โรส” บนเรื่อสำราญที่ เดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติค โรสพบรักกับแจ๊คในขณะที่ตัวเองมีคู่หมั้นอยู่แล้ว ซึ่งคู่มั่นของ โรสมีฐานะที่เรียกได้ว่าเป็นระดับมหาเศรษฐีและอยู่ในธุรกิจเหล็ก หนังบอกเล่าความมั่งคั่งของคู่มั่น ของโรสผ่านการใช้ชีวิตหรูหราบนเรือสำราญ และการมอบเพชรรูปหัวใจให้แก่หญิงสาวที่เขารัก ในช่วงปี 1912 ซึ่งเป็นปีที่เรือ TITANIC ประสบเหตุไม่คาดฝันนั้น อุตสาหกรรมเหล็กมีการ ขยายตัวที่สูงมาก แม้ผ่านช่วงสงครามโลกมาถึงสองครั้ง แต่ก็ยังขยายตัวได้ดี ในปี 1955 บริษัท เหล็กอย่าง U.S. Steel เป็นบริษัทที่มีรายได้ใหญ่เป็นอันดับสามในสหรัฐ แต่ในปัจจุบันมูลค่า กิจการเหลือเพียงแค่ราว หนึ่งในร้อยส่วนของบริษัทค้าปลีกออนไลน์อย่าง AMAZON.COM
ในช่วงปี 2006 หรือเมื่อสิบปีที่แล้ว บริษัทที่มีมูลค่ากิจการสูงสุด 6 บริษัทของโลก มีถึง 3 บริษัทที่ มาจากอุตสาหกรรมพลังงาน มี 1 บริษัทเป็นธนาคาร 1 บริษัทเป็นเทคโนโลยี และ 1 บริษัทเป็น ลักษณะโฮลดิ้งที่ทำกิจการหลากหลาย แต่พอมาในปีปัจจุบัน ดูเหมือนนักลงทุนจะมีมุมมองที่แตกต่างจากเดิม เพราะล่าสุด จากตัวเลขมูลค่ากิจการ ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2016 บริษัทที่มีมูลค่ากิจการสูงที่สุดในโลก 6 บริษัท เป็นบริษัทเทคโนโลยีถึง 5 บริษัท คือ หนึ่ง Apple สอง บริษัทแม่ของ Google คือ Alphabet สาม Microsoft สี่ AMAZON และ ห้า Facebook และมีบริษัทพลังงาน เหลืออยู่เพียงบริษัทเดียวคือ Exxon Mobil ทำไมถึงเป็นเช่นนี้? ทำไมบริษัทการบินอย่าง Boeing บริษัท รถยนต์อย่าง TOYOTA หรือ บริษัทโฮลดิ้งอย่าง GE ถึงไม่ติดอันดับกับเขา?
เมื่อพิจารณาบริษัทอันดับ 1 คือ Apple 2 คือ Alphabet และ 3 คือ Microsoft ผมพบว่าทั้งสามบริษัทมีส่วนที่เหมือนกันคือ เป็นเจ้าของ “ระบบปฏิบัติการ (Operating System)” ทั้งสามบริษัท เมื่อพิจารณาจากมุมมองเรื่องความยั่งยืนของบริษัทพบว่า ธุรกิจ OS นั้นเป็นธุรกิจที่มีผู้เล่นเข้า มาใหม่น้อยมาก และเนื่องจากบริษัทเป็นเจ้าของโปรแกรมที่เรียกได้ว่าเป็นหัวใจของระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้บริษัทสามารถขยายธุรกิจไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ เช่น อุตสาหกรรมการผลิตแบบอัตโนมัติ, อุตสาหกรรมยานยนต์แบบไร้คนขับ หรือ อุตสาหกรรมขนส่ง ในขณะที่คู่แข่งรายเดิมที่อยู่ในอุตสาหกรรมนั้นๆ ยากที่จะแข่งขันด้วยได้ เพราะไม่มีความรู้ด้าน IT นอกจากนั้น เจ้าของระบบปฏิบัติการยังสามารถทำให้อุปกรณ์ต่างๆที่ต่อพ่วง ทำงานกันเป็นทีมเดียว กันได้ เหมือนดั่งวาทยากรผู้ควบคุมวงออเครสตร้า ซึ่งเมื่ออุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ล้วนเชื่อมต่อกัน ผ่านอินเตอร์เนต ผู้ที่เป็นเจ้าของระบบปฏิบัติการจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในอนาคต
นอกจากการวิเคราะห์เชิงความสามารถในการแข่งขันข้างต้นแล้ว ยังพบว่าบริษัทเหล่านี้มีลักษณะที่น่าประทับใจเมื่อมองในแง่ของการวิเคราะห์สถานะทางการเงินด้วย เพราะว่าบริษัทเหล่านี้มีกระแส เงินสดอิสระที่สูงมาก สต๊อกสินค้า หรือ สินทรัพย์ที่อยู่ในรูปของโรงงานหรืออาคาร คิดเป็นส่วนน้อย อย่างเช่น Microsoft มีสินทรัพย์ที่เป็นเงินสดหรือใกล้เคียงเงินสดสูงถึง 1.1 แสน ล้านเหรียญ แต่มีสินค้าคงคลังเพียง 2 พันล้านเหรียญ และ มีที่ดิน อาคาร และ อุปกรณ์ราว 2 หมื่นล้านเหรียญ หนี้สินก็อยู่ในระดับต่ำ ทำให้มีโอกาสที่ซื้อกิจการ หรือ ลงทุนในการทำวิจัย ใหม่ๆได้อีกมาก นอกจากนั้นทั้งสามบริษัทมีอัตรากำไรสุทธิที่สูงราว 20% ซึ่งสูงกว่า ตัวเลขของ บริษัทรถยนต์อย่าง GM ที่ทำได้ 6% บริษัทสินค้าอุปโภค P&G ที่ 12% หรือ บริษัทเครื่องดื่ม อย่างโค้กที่ 16%
ในยุคที่การผลิตมีความรุ่งเรือง บริษัทที่สามารถทำการประหยัดจากขนาด (Economies of Scales) จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นอย่างมาก เพราะบริษัทสามารถสร้างความสามารถในการแข่งขันได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าคู่แข่ง แต่ในโลกที่เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ทมีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่ บริษัทที่มี Economies of Scope ซึ่งหมายถึง บริษัทที่มี องค์ความรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วสามารถนำมาต่อยอดออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย จะได้เปรียบกว่าบริษัทเน้นการเป็นเลิศด้านการผลิตเป็นหลัก ทั้งนี้เพราะว่า ในยุคต่อไป ไม่ว่าจะผลิตได้ถูกขนาดไหน แต่ถ้าไม่สามารถเชื่อมต่อได้กับอุปกรณ์อื่นๆ แชร์ไป Facebook ก็ไม่ได้ ลูกค้าคงยากที่จะตัดสินใจซื้อ