พลิกฟื้นคืนชีพ กับ หุ้น Turnaround / คนขายของ
- คนขายของ
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 792
- ผู้ติดตาม: 0
พลิกฟื้นคืนชีพ กับ หุ้น Turnaround / คนขายของ
โพสต์ที่ 1
พลิกฟื้นคืนชีพ กับ หุ้น Turnaround โดย คนขายของ
“หุ้นพลิกฟื้นคืนชีพ” หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า “Turnaround Stocks” เป็นหนึ่งในหุ้น 6 ประเภทที่ Peter Lynch ผู้จัดการกองทุนซึ่งมีผลงานเยี่ยมยอดได้กล่าวถึง ในหนังสือการลงทุนของเขาที่ชื่อ “One up on Wall Street” ซึ่งเขาได้เล่าว่าการซื้อหุ้นรถยนต์ Chrysler ตอนต้นปี 1982 ที่ราคา 6 เหรียญ ตอนที่ บริษัทเริ่มมีสัญญาณชัดเจนว่าจะสามารถปลดภาระหนี้สินได้และกำไรจะเริ่มกลับมาเติบโตอีกครั้ง สามารถทำกำไรได้อย่างงามถึง 5 เท่าให้กับกองทุนของเขาภายในระยะเวลาไม่ถึงสองปี ทำให้เกิดคำถามว่า ถ้าเราต้องการลงทุนในกิจการที่กำลังจะพลิกฟื้น จะต้องมีความรู้ความเข้าใจอะไรบ้าง? การ “Turnaournd” ของกิจการนั้นมักมีขั้นตอนอย่างไร? และจุดที่น่าจะเข้าไปลงทุนนั้นอยู่ในช่วงไหน?
เพื่อที่จะเข้าใจเรื่องนี้ให้ดีขึ้น ผมจึงได้อ่าน 10 กรณีศึกษาของการพลิกฟื้นกิจการที่โด่งดังในสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้เข้าใจการพลิกฟื้นกิจการว่าโดยมากมักแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ หนึ่ง ปัญหาขององค์กรซึ่งหมักหมมมานานได้ทำความเสียหายให้แก่กิจการจนคณะกรรมการบริษัทยอมรับไม่ได้ สอง มีการเปลี่ยน แปลงผู้บริหารระดับสูง สาม ผู้บริหารใหม่ ทำการกระชับองค์กร ขายสินทรัพย์ที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก ลดจำนวนพนักงาน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และ สี่ มีการวางกลยุทธ์ใหม่ ออกผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากตลาด ทำให้ผลประกอบการออกมาน่าประทับใจอีกครั้ง
ดังเช่น กรณีการพลิกฟื้นกิจการของ IBM ซึ่งเริ่มมาจากผลประกอบการของบริษัทตกต่ำในช่วงปี 1992 จากกิจการที่มีกำไรต่อไตรมาสสูงถึงหนึ่งพันล้านเหรียญในช่วงปี 1990 กลายมาเป็นขาดทุนเกือบ สามพันล้านในไตรมาสที่สามของปี 1992 และกลายมาเป็นเจ็ดพันล้านในไตรมาสที่สี่ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยน CEO ในไตรมาสที่สองของปี 1993 โดยได้เชิญ Louis Gertner อดีตผู้บริหารจาก RJR Nabisco ยักษ์ใหญ่ในธุรกิจยาสูบและขนมขบเขี้ยวเข้ารับตำแหน่งแทน CEO คนเก่าซึ่งถูกคณะกรรมการบีบให้ ลาออกไป หลังจากที่ Gertner เข้ามาบริหารเขาได้กระชับองค์ โดยมีพนักงาน IBM มากกว่าหนึ่งแสนคน ต้องออกจากงาน
นอกจากนั้น Gertner วางกลยุทธ์องค์กรใหม่ โดยให้ความสำคัญต่อธุรกิจ PC น้อยลง เพราะการแข่งขัน ที่สูงขึ้น และให้บริษัทกลับมาโฟกัสที่ธุรกิจคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe) ซึ่งมีมาร์จิ้นดีกว่า และ มีสัญญา บริการในระยะยาว สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงกับบริษัท หลังจาก Gertner เข้ารับตำแหน่ง CEO ได้ 6 เดือน ราคาหุ้น IBM ก็ถึงจุดต่ำสุดในเดือนกันยายน และถ้าใครซื้อหุ้นได้ ณ จุดนั้น อีกหกปีต่อมา เขาจะได้ ผลตอบแทนสูงถึง 13 เท่า
จากการศึกษาการพลิกฟื้นกิจการที่สำคัญของสหรัฐพบว่า จุดที่น่าเข้าไปลงทุนนั้น ไม่ใช่ทันทีที่มีการเปลี่ยนตัวผู้บริหาร แม้ว่าในบางกรณีดูเหมือนว่า บริษัทจะมีความหวังมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงผลประกอบการของบริษัทมักจะถดถอยลงต่อไปอีก เพราะผลของนโยบายของผู้บริหารใหม่ยังไม่ส่งผล ดังเช่นตอนที่ Starbucks (SBUX) ให้ Howard Schultz กลับมาเป็น CEO อีกครั้งตอนต้นปี 2008 ในตอนนั้น ตลาดหุ้นตอบรับการกลับมาของเขา โดย SBUX ราคาขึ้นไปถึง 8% หากใครตื่นเต้นเกินและซื้อหุ้น ไปในวันนั้น เขาจะพบว่า SBUX ยังคงไหลลงต่ออีกถึง 50% ในอีก 11 เดือนต่อมา เพราะผลประกอบการ ไตรมาสสองปีนั้น SBUX ขาดทุนเป็นครั้งแรกตั้งแต่ทำการ IPO
จุดที่น่าเข้าลงทุนในหุ้น “หุ้นพลิกฟื้น” น่าจะเป็นเมื่อนโยบายใหม่ออกดอกออกผล ซึ่งมักกินเวลาอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป โดยให้สังเกตุการเติบโตของกำไรรายไตรมาสเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ไม่ใช่เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว และถ้าจะให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น ควรจะมีการเติบโตติดกันราว 2-3 ไตรมาสขึ้นไป เพราะเคยมีในบางกรณี อย่างเช่น การพลิกฟื้นของ XROX ในปี 2002 ซึ่งกำไรกลับมาโตสองไตรมาสติด กัน แต่ก็กลับไปขาดทุนอีกสองไตรมาส ก่อนจะกลับมาเป็นขาขึ้นอย่างแท้จริง ดังจะเห็นว่าตอน Peter Lynch เข้าซื้อหุ้น Chrysler นั้นเขาไม่ได้ซื้อตอนจุดต่ำที่สุดที่ 1.5 เหรียญ แต่รอให้ขึ้นมาก่อนถึง 6 เหรียญ ซึ่งตอนนั้นความเสี่ยงต่างๆ ค่อนข้างจะคลี่คลายไปหมดแล้ว
การลงทุนในหุ้น “พลิกฟื้น” นั้นต้องมีความเข้าใจในธุรกิจนั้นๆพอสมควร และต้องมีความเข้าใจในแผนงาน ใหม่ของผู้บริหารใหม่เป็นอย่างดีเพื่อที่จะมองออกว่าธุรกิจจะไปรอดหรือไม่ การประเมินมูลค่ากิจการแบบปกติ คงไม่สามารถใช้ได้ ต้องอาศัยความเข้าใจในธุรกิจนั้นๆเป็นหลัก อย่างเช่นหุ้น APPLE ในปี 1997 ก่อน Steve Jobs กลับมาเป็น CEO เป็นหุ้นที่ไม่มี PE เพราะขาดทุนอย่างหนัก ปันผลก็ไม่มี แต่ถ้าใคร มีวิสัยทัศน์มองออกว่า เครื่องตระกูล iMac ที่ Jobs ออกมาในปี 1998 ตามมาด้วย IPOD และ IPHONE ในปีต่อๆมาจะได้ความนิยมไปทั่วโลก เขาจะได้ผลตอบแทนการลงทุน 120 เท่าในระยะเวลา 20 ปี ด้วยผลตอบแทนที่สูงเกินกว่าปกติ ทำให้การลงทุนในหุ้น “Turnaround” จึงเป็นสิ่งที่ดึงดูดนักลงทุนได้เสมอไม่ว่ายุคสมัยใด
“หุ้นพลิกฟื้นคืนชีพ” หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า “Turnaround Stocks” เป็นหนึ่งในหุ้น 6 ประเภทที่ Peter Lynch ผู้จัดการกองทุนซึ่งมีผลงานเยี่ยมยอดได้กล่าวถึง ในหนังสือการลงทุนของเขาที่ชื่อ “One up on Wall Street” ซึ่งเขาได้เล่าว่าการซื้อหุ้นรถยนต์ Chrysler ตอนต้นปี 1982 ที่ราคา 6 เหรียญ ตอนที่ บริษัทเริ่มมีสัญญาณชัดเจนว่าจะสามารถปลดภาระหนี้สินได้และกำไรจะเริ่มกลับมาเติบโตอีกครั้ง สามารถทำกำไรได้อย่างงามถึง 5 เท่าให้กับกองทุนของเขาภายในระยะเวลาไม่ถึงสองปี ทำให้เกิดคำถามว่า ถ้าเราต้องการลงทุนในกิจการที่กำลังจะพลิกฟื้น จะต้องมีความรู้ความเข้าใจอะไรบ้าง? การ “Turnaournd” ของกิจการนั้นมักมีขั้นตอนอย่างไร? และจุดที่น่าจะเข้าไปลงทุนนั้นอยู่ในช่วงไหน?
เพื่อที่จะเข้าใจเรื่องนี้ให้ดีขึ้น ผมจึงได้อ่าน 10 กรณีศึกษาของการพลิกฟื้นกิจการที่โด่งดังในสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้เข้าใจการพลิกฟื้นกิจการว่าโดยมากมักแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ หนึ่ง ปัญหาขององค์กรซึ่งหมักหมมมานานได้ทำความเสียหายให้แก่กิจการจนคณะกรรมการบริษัทยอมรับไม่ได้ สอง มีการเปลี่ยน แปลงผู้บริหารระดับสูง สาม ผู้บริหารใหม่ ทำการกระชับองค์กร ขายสินทรัพย์ที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก ลดจำนวนพนักงาน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น และ สี่ มีการวางกลยุทธ์ใหม่ ออกผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากตลาด ทำให้ผลประกอบการออกมาน่าประทับใจอีกครั้ง
ดังเช่น กรณีการพลิกฟื้นกิจการของ IBM ซึ่งเริ่มมาจากผลประกอบการของบริษัทตกต่ำในช่วงปี 1992 จากกิจการที่มีกำไรต่อไตรมาสสูงถึงหนึ่งพันล้านเหรียญในช่วงปี 1990 กลายมาเป็นขาดทุนเกือบ สามพันล้านในไตรมาสที่สามของปี 1992 และกลายมาเป็นเจ็ดพันล้านในไตรมาสที่สี่ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยน CEO ในไตรมาสที่สองของปี 1993 โดยได้เชิญ Louis Gertner อดีตผู้บริหารจาก RJR Nabisco ยักษ์ใหญ่ในธุรกิจยาสูบและขนมขบเขี้ยวเข้ารับตำแหน่งแทน CEO คนเก่าซึ่งถูกคณะกรรมการบีบให้ ลาออกไป หลังจากที่ Gertner เข้ามาบริหารเขาได้กระชับองค์ โดยมีพนักงาน IBM มากกว่าหนึ่งแสนคน ต้องออกจากงาน
นอกจากนั้น Gertner วางกลยุทธ์องค์กรใหม่ โดยให้ความสำคัญต่อธุรกิจ PC น้อยลง เพราะการแข่งขัน ที่สูงขึ้น และให้บริษัทกลับมาโฟกัสที่ธุรกิจคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe) ซึ่งมีมาร์จิ้นดีกว่า และ มีสัญญา บริการในระยะยาว สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงกับบริษัท หลังจาก Gertner เข้ารับตำแหน่ง CEO ได้ 6 เดือน ราคาหุ้น IBM ก็ถึงจุดต่ำสุดในเดือนกันยายน และถ้าใครซื้อหุ้นได้ ณ จุดนั้น อีกหกปีต่อมา เขาจะได้ ผลตอบแทนสูงถึง 13 เท่า
จากการศึกษาการพลิกฟื้นกิจการที่สำคัญของสหรัฐพบว่า จุดที่น่าเข้าไปลงทุนนั้น ไม่ใช่ทันทีที่มีการเปลี่ยนตัวผู้บริหาร แม้ว่าในบางกรณีดูเหมือนว่า บริษัทจะมีความหวังมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงผลประกอบการของบริษัทมักจะถดถอยลงต่อไปอีก เพราะผลของนโยบายของผู้บริหารใหม่ยังไม่ส่งผล ดังเช่นตอนที่ Starbucks (SBUX) ให้ Howard Schultz กลับมาเป็น CEO อีกครั้งตอนต้นปี 2008 ในตอนนั้น ตลาดหุ้นตอบรับการกลับมาของเขา โดย SBUX ราคาขึ้นไปถึง 8% หากใครตื่นเต้นเกินและซื้อหุ้น ไปในวันนั้น เขาจะพบว่า SBUX ยังคงไหลลงต่ออีกถึง 50% ในอีก 11 เดือนต่อมา เพราะผลประกอบการ ไตรมาสสองปีนั้น SBUX ขาดทุนเป็นครั้งแรกตั้งแต่ทำการ IPO
จุดที่น่าเข้าลงทุนในหุ้น “หุ้นพลิกฟื้น” น่าจะเป็นเมื่อนโยบายใหม่ออกดอกออกผล ซึ่งมักกินเวลาอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป โดยให้สังเกตุการเติบโตของกำไรรายไตรมาสเทียบกับไตรมาสที่แล้ว ไม่ใช่เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว และถ้าจะให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น ควรจะมีการเติบโตติดกันราว 2-3 ไตรมาสขึ้นไป เพราะเคยมีในบางกรณี อย่างเช่น การพลิกฟื้นของ XROX ในปี 2002 ซึ่งกำไรกลับมาโตสองไตรมาสติด กัน แต่ก็กลับไปขาดทุนอีกสองไตรมาส ก่อนจะกลับมาเป็นขาขึ้นอย่างแท้จริง ดังจะเห็นว่าตอน Peter Lynch เข้าซื้อหุ้น Chrysler นั้นเขาไม่ได้ซื้อตอนจุดต่ำที่สุดที่ 1.5 เหรียญ แต่รอให้ขึ้นมาก่อนถึง 6 เหรียญ ซึ่งตอนนั้นความเสี่ยงต่างๆ ค่อนข้างจะคลี่คลายไปหมดแล้ว
การลงทุนในหุ้น “พลิกฟื้น” นั้นต้องมีความเข้าใจในธุรกิจนั้นๆพอสมควร และต้องมีความเข้าใจในแผนงาน ใหม่ของผู้บริหารใหม่เป็นอย่างดีเพื่อที่จะมองออกว่าธุรกิจจะไปรอดหรือไม่ การประเมินมูลค่ากิจการแบบปกติ คงไม่สามารถใช้ได้ ต้องอาศัยความเข้าใจในธุรกิจนั้นๆเป็นหลัก อย่างเช่นหุ้น APPLE ในปี 1997 ก่อน Steve Jobs กลับมาเป็น CEO เป็นหุ้นที่ไม่มี PE เพราะขาดทุนอย่างหนัก ปันผลก็ไม่มี แต่ถ้าใคร มีวิสัยทัศน์มองออกว่า เครื่องตระกูล iMac ที่ Jobs ออกมาในปี 1998 ตามมาด้วย IPOD และ IPHONE ในปีต่อๆมาจะได้ความนิยมไปทั่วโลก เขาจะได้ผลตอบแทนการลงทุน 120 เท่าในระยะเวลา 20 ปี ด้วยผลตอบแทนที่สูงเกินกว่าปกติ ทำให้การลงทุนในหุ้น “Turnaround” จึงเป็นสิ่งที่ดึงดูดนักลงทุนได้เสมอไม่ว่ายุคสมัยใด
อดทนไว้ กำไรยั่งยืน
-
- Verified User
- โพสต์: 2712
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลิกฟื้นคืนชีพ กับ หุ้น Turnaround / คนขายของ
โพสต์ที่ 6
สุดยอดเลย ขอบคุณพี่ชายมากๆครับ
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
-
- Verified User
- โพสต์: 5620
- ผู้ติดตาม: 1
Re: พลิกฟื้นคืนชีพ กับ หุ้น Turnaround / คนขายของ
โพสต์ที่ 7
ขอบคุณมากครับ
วินัย + แผนการ + ลงรายละเอียด => ขุดหุ้น
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator
fb fanpage : https://www.facebook.com/stockinvestigator
- เหล็งฮู้ชง
- Verified User
- โพสต์: 275
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลิกฟื้นคืนชีพ กับ หุ้น Turnaround / คนขายของ
โพสต์ที่ 9
ขอบคุณ บทความดีๆครับ
จงอยู่ด้วยความไม่ประมาท
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 160
- ผู้ติดตาม: 0
Re: พลิกฟื้นคืนชีพ กับ หุ้น Turnaround / คนขายของ
โพสต์ที่ 10
ไม่แน่ใจว่าคุณชายเขียนบทความนี้ตอบกระทู้เมื่อเกือบปีที่แล้วของผมรึเปล่า ดีใจที่ได้อ่านบทความนี้มากครับ ผมรู้แล้วด้วยว่าคำถามที่ผมถามวันนั้นคำตอบคืออะไร ไว้อนาคจถ้าผมยังอยู่รอดในตลาดไปนานพอมีประสปการ์ณมากพอ ผมจะเขียนสิ่งที่ผมเจอมาครับ เพราะผมอาจฟรุคก็ได้ ^^