เศรษฐกิจแย่แล้วทำไมหุ้นจึงปรับตัวขึ้น? (1)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1827
ผู้ติดตาม: 1

เศรษฐกิจแย่แล้วทำไมหุ้นจึงปรับตัวขึ้น? (1)/ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ในไตรมาส 2 นั้น มีการคาดการณ์อย่างแพร่หลายว่าเศรษฐกิจจะตกต่ำอย่างมากเพราะการระบาดของ COVID-19 โดยประเทศหลักรวมถึงประเทศไทย

ประเมินว่าจีดีพีในไตรมาส 2 จะติดลบประมาณ 10-15% แต่ในไตรมาส 2 เรากลับเห็นดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากเห็นได้จากตารางข้างล่าง

รูปภาพ

จะเห็นได้ว่าจากจุดต่ำสุดของดัชนี S&P500 ของสหรัฐเมื่อวันที่ 23 มี.ค. ที่ 2,237 จุดนั้น ดัชนี S&P500 ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 3,386 จุดเมื่อวันที่ 7 ก.ค.หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 29% ส่วนดัชนีที่สำคัญอีกอันหนึ่งคือ Nasdaq นั้นปรับตัวสูงขึ้นกว่าจุดสูงสุดเดิมก่อนที่สหรัฐเผชิญกับ COVID-19 ไปแล้ว โดยก่อน COVID-19 ระบาด Nasdaq ทำจุดสูงสุดเมื่อวันที่ 19 ก.พ. และจากจุดนั้นมาถึงวันที่ 7 ก.ค.นั้น ดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้นไปแล้ว 6% แต่ที่น่าสนใจมากกว่าคือ

1.ทำไมดัชนี S&P500 จึงปรับตัวขึ้นอย่างมากจากจุดต่ำสุดที่ 2,237 จุดมาเป็น 3,180 จุด ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจในไตรมาส 2 ย่ำแย่และการติดเชื้อ COVID-19 ที่สหรัฐก็ถีบตัวสูงขึ้นอย่างมากจากที่ดัชนีตกต่ำที่สุดเมื่อวันที่ 23 มี.ค. ซึ่งในช่วงมี.ค.นั้น มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันที่สหรัฐเพิ่มขึ้นจากศูนย์ ตอนต้นเดือนมาเป็น 10,000 คนต่อวันตอนปลายเดือนและจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ก็แทบจะไม่ลดลงจากระดับ 20,000 คนต่อวันติดต่อกัน มาจนปลายเดือนมิ.ย. และจากนั้นจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ก็ปรับเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดมาเป็นวันละ 50,000 คนต่อวันในเดือน ก.ค. (ดูรูปด้านล่าง)

รูปภาพ

2.ในขณะเดียวกันประเทศไทยซึ่งปลอดเชื้อโดยไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศเลยมาเป็นเวลา 40 วันแล้ว แต่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของไทยกับปรับตัวได้ไม่ดีเท่ากับ S&P500 ของสหรัฐ กล่าวคือจากจุดสูงสุดเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2020 (ก่อน COVID-19 ระบาด) ดัชนี SET ขึ้นไปแตะที่ 1,600 และปรับลดลงมาถึงจุดต่ำสุดเมื่อ 19 มี.ค. ที่ 1,016 จุด ลดลงไป 36.5% (ในขณะที่ S&P500 ลดลงไป 33.% จากจุดสูงสุดไปสู่จุดต่ำสุด) และในช่วงที่ดัชนี SET ปรับตัวจากจุดต่ำสุดที่ 1,016 จุดไปถึงวันที่ 7 ก.ค.นั้นก็ปรับตัวเพิ่มขึ้น 26.6% ซึ่งไม่ดีเท่ากับ S&P500 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปแล้ว 29% จากจุดต่ำสุดไปยังวันที่ 7 ก.ค.สรุปคือดัชนี SET ในวันที่ 7 ก.ค.ยังต่ำกว่าจุดสูงสุดก่อน COVID-19 ระบาดประมาณ 14% แต่ดัชนี S&P500 ต่ำกว่าจุดสูงสุดก่อน COVID-19 ระบาดเพียง 4%

สหรัฐมีประชากรมากกว่าไทยประมาณ 5 เท่าตัว (330 ล้านคนกับ 68 ล้านคน) แปลว่าหากไทยตกอยู่ในสภาวะคล้ายคลึงกับสหรัฐก็จะเสมือนว่าไทยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่วันละประมาณ 8,000-10,000 คน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นดัชนี SET คงจะตกต่ำกว่าปัจจุบันอย่างมาก

แต่ประเด็นที่น่าแปลก คือทำไมเมื่อสภาวะการติดเชื้อของสหรัฐย่ำแย่ขนาดนี้แล้วหุ้นของสหรัฐจึงปรับตัวขึ้นได้ดีกว่าหุ้นไทยที่ปลอด COVID-19 มากว่า 1 เดือนแล้ว….. ผมจะพยายามหาคำตอบมาในตอนหน้า แต่คำตอบที่เป็นไปได้ไม่น้อยคือ ตลาดหุ้นมองโลกในแง่ดีเกินไปและเมื่อพบว่าการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นและระบบสาธารณสุขไม่สามารถดูแลผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นได้อย่างทั่วถึง ก็จะมีความเสี่ยงให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจโลกสะดุดตัวลงได้ในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า แต่จะสังเกตได้ว่านักลงทุนยัง “ขวัญดี” อยู่จึงมักมีการให้คำแนะนำว่าควรจะ “buy on dips” ซึ่งผมจะขอขยายความในครั้งหน้าว่ามีปัจจัยอื่นๆ อะไรอีกที่ทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจครับ
โพสต์โพสต์