ผัดวันประกันพรุ่ง
- ม้าเฉียว
- Verified User
- โพสต์: 350
- ผู้ติดตาม: 0
ผัดวันประกันพรุ่ง
โพสต์ที่ 1
ผัดวันประกันพรุ่ง
ม้าเฉียว 10/02/05
ผมได้อ่านบทความของ อนุวัฒน์ ชลไพศาล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ที่ลงในหนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 3661 (2861) ซึ่งเกี่ยวกับพฤติกรรมผัดวันประกันพรุ่ง (procrastination) อันเห็นได้ทั่วไปของมนุษย์ เช่น เรามักวางแผนว่าในอนาคต (พรุ่งนี้ เดือนหน้า ปีหน้า หรือชาติหน้า) เราจะออมเงินให้มากขึ้น, ออกกำลังกายลดความอ้วน, ตั้งใจอ่านหนังสือ หรือบอกความในใจกับคนที่เราแอบชอบ ฯลฯ แต่เมื่ออนาคตมาถึงเรากลับไม่ปฏิบัติตามแผนที่เคยวางไว้และผัดผ่อนแผนที่เราเคยวางนั้นไปในอนาคตอีกครั้ง ทั้งๆที่เราต่างรู้ดีว่าพฤติกรรมผัดวันประกันพรุ่งทำให้เสียประโยชน์
คุณอนุวัฒน์ ได้อ้างอิงถึงคำอธิบายของนักเศรษฐศาสตร์ 2 คน คือ Ted O"Donoghue แห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล และ Matthew Rabin แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซึ่งพยายามวิจัยเพื่อตอบคำถามว่า เหตุใดคนจึงผัดวันประกันพรุ่ง
นักเศรษฐศาสตร์ทั้ง 2 คน อธิบายพฤติกรรมผัดวันประกันพรุ่งว่ามีองค์ประกอบ 2 อย่าง คือ 1.ความพึงพอใจกับปัจจุบัน (present-biased preference) และ 2.ความไม่สอดคล้องของกาละ (time inconsistency) เช่น หากมีเศรษฐียกมรดกให้ 100 ล้านบาท เราอยากจะได้มรดกในวันนี้, ปีหน้า หรือ 10 ปีข้างหน้า (ลองตอบคำถามนี้ดู) นั่นคือ เรามักจะให้น้ำหนักหรือคุณค่ากับสิ่งที่จะบริโภคในแต่ละช่วงเวลาแตกต่างกัน โดยของสิ่งเดียวกันหากได้บริโภคในปัจจุบันจะมีคุณค่ามากกว่าได้บริโภคในอนาคต (present bias) และยิ่งได้บริโภคล่าช้าเพียงใดคุณค่าจากการบริโภคจะยิ่งน้อยลง
ผมเห็นว่าเรื่องดังกล่าวสามารถนำมาอธิบายพฤติกรรมการลงทุนได้เช่นกัน เช่น เราอาจจะมีการวางแผนการลงทุนที่ดีที่สุดตลอดทุกช่วงเวลา เช่น เมื่อวางแผนการลงทุนโดยเลือกลงทุนหุ้น 3-5 ตัวที่คิดว่าดีที่สุดแล้ว จะถือเพื่อรับเงินปันผลไปตลอดจนกว่าพื้นฐานของหุ้นจะเปลี่ยน แต่เมื่อเวลาผ่านไป (ปัจจุบันเป็นอนาคตของอดีตและอดีตของอนาคต) หุ้นมีราคาเพิ่มขึ้นหลายสิบเปอร์เซ็นต์ คนที่ยึดมั่น (commit) ที่จะปฏิบัติตามแผนที่ดีที่สุดต้องยินดีที่จะถือหุ้นนั้นต่อไป แต่เราอาจจะไม่สามารถยึดมั่นกับแผนดังกล่าว และแสดงพฤติกรรมโดยการขายหุ้นออกมา เพราะให้คุณค่ากับปัจจุบันมากกว่าอนาคต (กำไรอยู่ในมือเห็นๆแล้ว ปล่อยไปอาจจะหดหายก็ได้ ขายเอากำไรก่อนซะดีกว่า) เมื่อขายหุ้นเสร็จแล้วก็จะเริ่มวางแผนการลงทุนใหม่อีกครั้ง เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ พฤติกรรมดังกล่าวมีผลทำให้ แผนการลงทุนที่ดีที่สุดในอดีต (ex-ante optimum plan) เป็นคนละชุดกับแผนที่ดีที่สุดในปัจจุบัน (ex-post optimum plan) ซึ่งพฤติกรรมนี้อธิบายจากเหตุผลเรื่องความไม่สอดคล้องของกาละ และด้วยความพึงพอใจกับปัจจุบัน เราจึงผัดผ่อนแผนที่ดีที่สุดไปในอนาคตอีกครั้ง และผัดผ่อนไปไม่มีที่สิ้นสุด
ไม่ว่านักลงทุนที่อ่อนต่อโลก (naive) ที่ไม่ตระหนักถึงปัญหาการควบคุมตนเอง หรือนักลงทุนที่จัดเจนโลก (sophisticated) ที่ตระหนักถึงปัญหาการควบคุมตนเอง ก็ยังสามารถเลือกพฤติกรรมผัดวันประกันพรุ่งได้เหมือนๆกัน ไม่ว่าในกรณีของการวางแผนการลงทุนดังที่ยกตัวอย่างข้างต้น หรือพฤติกรรมการซื้อขายหุ้น เช่น วิเคราะห์ดีแล้วว่าหุ้นตัวนั้นตัวนี้ดี แต่ก็ไม่กล้าซื้อซักที คอยผัดวันประกันพรุ่ง ไม่ซื้อซักที เพราะกลัวมันไม่ขึ้น หรือคิดว่าอีกนานกว่ามันจะขึ้น จนกระทั่งหุ้นตัวนั้นขึ้นมากแล้ว โดยที่เราอาจไม่รู้ตัวหรือยังลังเลที่จะซื้อ เพราะกลัวว่าราคามันจะลง จนพลาดโอกาสในการลงทุนดีๆไปในที่สุด หรือเมื่อลงทุนไปอาจจะไม่ใช่การลงทุนที่ดีอีกแล้วก็ได้ เพราะซื้อในราคาที่มีส่วนลดไม่มาก หรือในกรณีที่มีปัจจัยเข้ามากระทบกิจการที่เราลงทุน จนพื้นฐานเปลี่ยนแปลง และราคาหุ้นก็เริ่มตกลงมาเรื่อยๆ เราก็จะผัดวันประกันพรุ่ง ไม่ยอมขายซักที เพราะเข้าใจผิดว่าเป็นแค่ผลกระทบระยะสั้น หรือคิดว่าน่าจะมีการรีบาวร์ แต่รอแล้วรอเล่าก็ไม่มีรีบาวร์ซักที จนขาดทุนเป็นอันมาก
ม้าเฉียว 10/02/05
ผมได้อ่านบทความของ อนุวัฒน์ ชลไพศาล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ที่ลงในหนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ หน้า 6 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 3661 (2861) ซึ่งเกี่ยวกับพฤติกรรมผัดวันประกันพรุ่ง (procrastination) อันเห็นได้ทั่วไปของมนุษย์ เช่น เรามักวางแผนว่าในอนาคต (พรุ่งนี้ เดือนหน้า ปีหน้า หรือชาติหน้า) เราจะออมเงินให้มากขึ้น, ออกกำลังกายลดความอ้วน, ตั้งใจอ่านหนังสือ หรือบอกความในใจกับคนที่เราแอบชอบ ฯลฯ แต่เมื่ออนาคตมาถึงเรากลับไม่ปฏิบัติตามแผนที่เคยวางไว้และผัดผ่อนแผนที่เราเคยวางนั้นไปในอนาคตอีกครั้ง ทั้งๆที่เราต่างรู้ดีว่าพฤติกรรมผัดวันประกันพรุ่งทำให้เสียประโยชน์
คุณอนุวัฒน์ ได้อ้างอิงถึงคำอธิบายของนักเศรษฐศาสตร์ 2 คน คือ Ted O"Donoghue แห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล และ Matthew Rabin แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซึ่งพยายามวิจัยเพื่อตอบคำถามว่า เหตุใดคนจึงผัดวันประกันพรุ่ง
นักเศรษฐศาสตร์ทั้ง 2 คน อธิบายพฤติกรรมผัดวันประกันพรุ่งว่ามีองค์ประกอบ 2 อย่าง คือ 1.ความพึงพอใจกับปัจจุบัน (present-biased preference) และ 2.ความไม่สอดคล้องของกาละ (time inconsistency) เช่น หากมีเศรษฐียกมรดกให้ 100 ล้านบาท เราอยากจะได้มรดกในวันนี้, ปีหน้า หรือ 10 ปีข้างหน้า (ลองตอบคำถามนี้ดู) นั่นคือ เรามักจะให้น้ำหนักหรือคุณค่ากับสิ่งที่จะบริโภคในแต่ละช่วงเวลาแตกต่างกัน โดยของสิ่งเดียวกันหากได้บริโภคในปัจจุบันจะมีคุณค่ามากกว่าได้บริโภคในอนาคต (present bias) และยิ่งได้บริโภคล่าช้าเพียงใดคุณค่าจากการบริโภคจะยิ่งน้อยลง
ผมเห็นว่าเรื่องดังกล่าวสามารถนำมาอธิบายพฤติกรรมการลงทุนได้เช่นกัน เช่น เราอาจจะมีการวางแผนการลงทุนที่ดีที่สุดตลอดทุกช่วงเวลา เช่น เมื่อวางแผนการลงทุนโดยเลือกลงทุนหุ้น 3-5 ตัวที่คิดว่าดีที่สุดแล้ว จะถือเพื่อรับเงินปันผลไปตลอดจนกว่าพื้นฐานของหุ้นจะเปลี่ยน แต่เมื่อเวลาผ่านไป (ปัจจุบันเป็นอนาคตของอดีตและอดีตของอนาคต) หุ้นมีราคาเพิ่มขึ้นหลายสิบเปอร์เซ็นต์ คนที่ยึดมั่น (commit) ที่จะปฏิบัติตามแผนที่ดีที่สุดต้องยินดีที่จะถือหุ้นนั้นต่อไป แต่เราอาจจะไม่สามารถยึดมั่นกับแผนดังกล่าว และแสดงพฤติกรรมโดยการขายหุ้นออกมา เพราะให้คุณค่ากับปัจจุบันมากกว่าอนาคต (กำไรอยู่ในมือเห็นๆแล้ว ปล่อยไปอาจจะหดหายก็ได้ ขายเอากำไรก่อนซะดีกว่า) เมื่อขายหุ้นเสร็จแล้วก็จะเริ่มวางแผนการลงทุนใหม่อีกครั้ง เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ พฤติกรรมดังกล่าวมีผลทำให้ แผนการลงทุนที่ดีที่สุดในอดีต (ex-ante optimum plan) เป็นคนละชุดกับแผนที่ดีที่สุดในปัจจุบัน (ex-post optimum plan) ซึ่งพฤติกรรมนี้อธิบายจากเหตุผลเรื่องความไม่สอดคล้องของกาละ และด้วยความพึงพอใจกับปัจจุบัน เราจึงผัดผ่อนแผนที่ดีที่สุดไปในอนาคตอีกครั้ง และผัดผ่อนไปไม่มีที่สิ้นสุด
ไม่ว่านักลงทุนที่อ่อนต่อโลก (naive) ที่ไม่ตระหนักถึงปัญหาการควบคุมตนเอง หรือนักลงทุนที่จัดเจนโลก (sophisticated) ที่ตระหนักถึงปัญหาการควบคุมตนเอง ก็ยังสามารถเลือกพฤติกรรมผัดวันประกันพรุ่งได้เหมือนๆกัน ไม่ว่าในกรณีของการวางแผนการลงทุนดังที่ยกตัวอย่างข้างต้น หรือพฤติกรรมการซื้อขายหุ้น เช่น วิเคราะห์ดีแล้วว่าหุ้นตัวนั้นตัวนี้ดี แต่ก็ไม่กล้าซื้อซักที คอยผัดวันประกันพรุ่ง ไม่ซื้อซักที เพราะกลัวมันไม่ขึ้น หรือคิดว่าอีกนานกว่ามันจะขึ้น จนกระทั่งหุ้นตัวนั้นขึ้นมากแล้ว โดยที่เราอาจไม่รู้ตัวหรือยังลังเลที่จะซื้อ เพราะกลัวว่าราคามันจะลง จนพลาดโอกาสในการลงทุนดีๆไปในที่สุด หรือเมื่อลงทุนไปอาจจะไม่ใช่การลงทุนที่ดีอีกแล้วก็ได้ เพราะซื้อในราคาที่มีส่วนลดไม่มาก หรือในกรณีที่มีปัจจัยเข้ามากระทบกิจการที่เราลงทุน จนพื้นฐานเปลี่ยนแปลง และราคาหุ้นก็เริ่มตกลงมาเรื่อยๆ เราก็จะผัดวันประกันพรุ่ง ไม่ยอมขายซักที เพราะเข้าใจผิดว่าเป็นแค่ผลกระทบระยะสั้น หรือคิดว่าน่าจะมีการรีบาวร์ แต่รอแล้วรอเล่าก็ไม่มีรีบาวร์ซักที จนขาดทุนเป็นอันมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 1688
- ผู้ติดตาม: 0
ผัดวันประกันพรุ่ง
โพสต์ที่ 2
สุดยอดครับบทความนี้
==หากบริษัทไม่ได้อยู่ในตลาดฯ หุ้นยังน่าซื้อหรือไม่ ==
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
ผัดวันประกันพรุ่ง
โพสต์ที่ 3
ท่านม้าเฉียว สอบตกภาษาไทย :lol: :lol:
ผลัดวันประกันพรุ่งนะครับ ไม่ใช่ ผัด แบบผัดไทย
พูดถึงเรื่องนี้เวลาซื้อหุ้น ผมไม่ค่อยผลัดวันประกันพรุ่งนะ
แต่เวลาขายนี่ซิมีปัญหามาก คือต้องการขายได้ที่ไฮท์กันทุกคน
ที่ขายเพราะมูลค่าก็เริ่มจะสมเหตุสมผลแล้ว แต่ขายไปแล้ว ขึ้นต่อทุกที
บางตัวก็ขึ้นต่อเป็นเท่าตัว ให้คนที่ขายไปเจ็บกระดองใจ
คงเป็นอย่างที่ว่า คือผลัดวันประกันพรุ่งแผนที่ดีที่สุด
มีไอเดียไหมครับ ว่าจะละลายพฤษติกรรมอย่างนี้ได้อย่างไร..
ผลัดวันประกันพรุ่งนะครับ ไม่ใช่ ผัด แบบผัดไทย
พูดถึงเรื่องนี้เวลาซื้อหุ้น ผมไม่ค่อยผลัดวันประกันพรุ่งนะ
แต่เวลาขายนี่ซิมีปัญหามาก คือต้องการขายได้ที่ไฮท์กันทุกคน
ที่ขายเพราะมูลค่าก็เริ่มจะสมเหตุสมผลแล้ว แต่ขายไปแล้ว ขึ้นต่อทุกที
บางตัวก็ขึ้นต่อเป็นเท่าตัว ให้คนที่ขายไปเจ็บกระดองใจ
คงเป็นอย่างที่ว่า คือผลัดวันประกันพรุ่งแผนที่ดีที่สุด
มีไอเดียไหมครับ ว่าจะละลายพฤษติกรรมอย่างนี้ได้อย่างไร..
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- ม้าเฉียว
- Verified User
- โพสต์: 350
- ผู้ติดตาม: 0
ผัดวันประกันพรุ่ง
โพสต์ที่ 4
ท่านลูกอีสาน ท่านไม่ใช่คนเดียวที่เข้าใจผิดหรอก
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
คำ : ผัดวันประกันพรุ่ง
เสียง : ผัด-วัน-ปฺระ-กัน-พฺรุ่ง
นิยาม : ขอเลื่อนเวลาออกไปครั้งแล้วครั้งเล่า
หรือตรวจสอบได้ที่ http://rirs3.royin.go.th/riThdict/lookup.html
วันหลังก็ใช้ให้ถูกนะครับ ไม่ใช่ "ผลัดวันประกันพรุ่ง"นะท่าน
ในเรื่องการขายหุ้นนี่ถ้าท่านวิเคราะห์ดีแล้วว่าหุ้นมันราคาขึ้นมาถึงระดับที่เหมาะสมแล้ว ท่านจึงขาย ถ้าเกิดการขายแล้วมันยังขึ้นอีก ก็ให้ถือซะว่า ทำบุญร่วมกันมาเท่านี้ แต่ที่ขาดไม่ได้คือ ท่าน(รวมทั้งข้าน้อย) คงต้องไปทบทวนดูซิว่า วิธีการพิจารณา หรือวิเคราะห์หาราคาที่เหมาะสมแก่การขายของเรานี้บกพร่องหรือเปล่า ถ้าไม่ ก็ให้คิดซะว่า หุ้นที่เราขายไปนั้น ที่ราคามันยังขึ้นต่อไปได้อีกเป็นเรื่องบังเอิญมากกว่า 10 ปีถึงจะมีหุ้นแบบนี้ซักตัวก็เป็นได้ เพราะอย่างไรซะหนทางแห่งการลงทุนมันยาวไกลนัก อย่างน้อยก็จนกว่าเราจะตาย การขายเมื่อเราเห็นว่าราคามันสมเหตุสมผล ก็เป็นเหตุผลที่น่าฟังอย่างยิ่ง ซึ่งการตัดสินใจขายด้วยเหตุผลนี้100 ครั้งอาจจะมีการขาย 1 ครั้ง ที่ทำให้เราพลาดโอกาสได้กำไรอย่างงามที่คาดไม่ถึง กำไรอาจจะเท่าตัวอย่างทีท่านว่าก็เป็นได้ แต่อย่างน้อยการขาย 99 ครั้งที่เหลือ ก็น่าจะให้ผลตอบแทนที่สมเหตุสมผล พอหอมปากหอมคอมิใช่เหรอ แถมโอกาสที่จะเกิดความเสียหายต่อเงินถุงเงินถังของท่านก็มีโอกาสเกิดขึ้นน้อย หรือจะยกตัวอย่างง่าย คือ
การขายหุ้นด้วยเหตุผลที่ราคา 100 บาท อาจทำให้ท่านพลาดโอกาสได้กำไรเพิ่มอีก 50 บาท ซึ่งมีความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น 10%
แต่การขายที่ราคา 100 บาทนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ท่านขาดทุน 10 บาท ซึ่งมีความน่าจะเป็น 90% ท่านจะเลือกขายหรือไม่ขายที่ราคา 100 บาทดีหละท่าน ลองคิดดู
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
คำ : ผัดวันประกันพรุ่ง
เสียง : ผัด-วัน-ปฺระ-กัน-พฺรุ่ง
นิยาม : ขอเลื่อนเวลาออกไปครั้งแล้วครั้งเล่า
หรือตรวจสอบได้ที่ http://rirs3.royin.go.th/riThdict/lookup.html
วันหลังก็ใช้ให้ถูกนะครับ ไม่ใช่ "ผลัดวันประกันพรุ่ง"นะท่าน
ในเรื่องการขายหุ้นนี่ถ้าท่านวิเคราะห์ดีแล้วว่าหุ้นมันราคาขึ้นมาถึงระดับที่เหมาะสมแล้ว ท่านจึงขาย ถ้าเกิดการขายแล้วมันยังขึ้นอีก ก็ให้ถือซะว่า ทำบุญร่วมกันมาเท่านี้ แต่ที่ขาดไม่ได้คือ ท่าน(รวมทั้งข้าน้อย) คงต้องไปทบทวนดูซิว่า วิธีการพิจารณา หรือวิเคราะห์หาราคาที่เหมาะสมแก่การขายของเรานี้บกพร่องหรือเปล่า ถ้าไม่ ก็ให้คิดซะว่า หุ้นที่เราขายไปนั้น ที่ราคามันยังขึ้นต่อไปได้อีกเป็นเรื่องบังเอิญมากกว่า 10 ปีถึงจะมีหุ้นแบบนี้ซักตัวก็เป็นได้ เพราะอย่างไรซะหนทางแห่งการลงทุนมันยาวไกลนัก อย่างน้อยก็จนกว่าเราจะตาย การขายเมื่อเราเห็นว่าราคามันสมเหตุสมผล ก็เป็นเหตุผลที่น่าฟังอย่างยิ่ง ซึ่งการตัดสินใจขายด้วยเหตุผลนี้100 ครั้งอาจจะมีการขาย 1 ครั้ง ที่ทำให้เราพลาดโอกาสได้กำไรอย่างงามที่คาดไม่ถึง กำไรอาจจะเท่าตัวอย่างทีท่านว่าก็เป็นได้ แต่อย่างน้อยการขาย 99 ครั้งที่เหลือ ก็น่าจะให้ผลตอบแทนที่สมเหตุสมผล พอหอมปากหอมคอมิใช่เหรอ แถมโอกาสที่จะเกิดความเสียหายต่อเงินถุงเงินถังของท่านก็มีโอกาสเกิดขึ้นน้อย หรือจะยกตัวอย่างง่าย คือ
การขายหุ้นด้วยเหตุผลที่ราคา 100 บาท อาจทำให้ท่านพลาดโอกาสได้กำไรเพิ่มอีก 50 บาท ซึ่งมีความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้น 10%
แต่การขายที่ราคา 100 บาทนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ท่านขาดทุน 10 บาท ซึ่งมีความน่าจะเป็น 90% ท่านจะเลือกขายหรือไม่ขายที่ราคา 100 บาทดีหละท่าน ลองคิดดู
- ม้าเฉียว
- Verified User
- โพสต์: 350
- ผู้ติดตาม: 0
ผัดวันประกันพรุ่ง
โพสต์ที่ 5
ส่วนปัญหาการผัดวันประกันพรุ่ง เกี่ยวกับแผนการลงทุนที่ตระเตรียมไว้อย่างดีที่สุดนั้น ยากแท้ที่จะแก้ได้ เราอาจทำได้เพียงแค่ระวังใจตัวเองให้มาก หรือไม่งั้นต้องซื้อหุ้นเพียงตัวใดตัวหนึ่งให้มีสัดส่วนหุ้นของเรามากพอที่จะขอไปเป็นกรรมการละท่าน เมื่อเราเข้าไป inside แล้วน่าจะช่วยแก้ปัญหาได้
-
- Verified User
- โพสต์: 1688
- ผู้ติดตาม: 0
ผัดวันประกันพรุ่ง
โพสต์ที่ 6
การไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
สติ การตื่นอยู่เสมอช่วยได้ครับ
ทุกๆวัน ทุกๆเดือน ทุกๆปี ผมจะทบทวนแผนการลงทุน
อยู่กับปัจจุบัน
เวลาปัจจุบันเท่านั้นที่เป็นของเรา
สามารถ ซื้อ ถือ ขายหุ้นได้
เมื่อเหตุการณ์นั้นๆมาถึง
ไม่ลังเลที่จะกระทำ เช่น ซื้อหุ้นโรงแรมที่หมายตาไว้ ตอนเกิดซาร์ ซึนามิ
ซื้อหุ้นซีพี ตอนเกิด หวัดนก
ขายหุ้นร้านหนังสือ และนสพ เมื่อแน่ใจว่าผลกำไรไม่เป็นไปตามคาด
เมื่อเจอหุ้นที่เข้ากฏเกณท์ที่ตั้งไว้ บางครั้งราคาไม่ถูกพอแต่ไม่แพงไปนัก
ก็เข้าลงทุนในวันนี้เลย แต่ต้องมีแผนการรองรับเพื่อลดต้นทุน เป็นต้น
หากผิดพลาดก็เป็นอดีต แต่สิ่งที่วันนี้ทำได้คือทบทวนข้อผิดพลาด
อนาคตก็คือแผนที่เราวางไว้ เมื่อมันมาถึง ก็ไขว่คว้าเอาไว้
การศึกษาปฏิบัตธรรม ก็ช่วยในการลงทุนอย่างน่าอัศจรรย์
สติ การตื่นอยู่เสมอช่วยได้ครับ
ทุกๆวัน ทุกๆเดือน ทุกๆปี ผมจะทบทวนแผนการลงทุน
อยู่กับปัจจุบัน
เวลาปัจจุบันเท่านั้นที่เป็นของเรา
สามารถ ซื้อ ถือ ขายหุ้นได้
เมื่อเหตุการณ์นั้นๆมาถึง
ไม่ลังเลที่จะกระทำ เช่น ซื้อหุ้นโรงแรมที่หมายตาไว้ ตอนเกิดซาร์ ซึนามิ
ซื้อหุ้นซีพี ตอนเกิด หวัดนก
ขายหุ้นร้านหนังสือ และนสพ เมื่อแน่ใจว่าผลกำไรไม่เป็นไปตามคาด
เมื่อเจอหุ้นที่เข้ากฏเกณท์ที่ตั้งไว้ บางครั้งราคาไม่ถูกพอแต่ไม่แพงไปนัก
ก็เข้าลงทุนในวันนี้เลย แต่ต้องมีแผนการรองรับเพื่อลดต้นทุน เป็นต้น
หากผิดพลาดก็เป็นอดีต แต่สิ่งที่วันนี้ทำได้คือทบทวนข้อผิดพลาด
อนาคตก็คือแผนที่เราวางไว้ เมื่อมันมาถึง ก็ไขว่คว้าเอาไว้
การศึกษาปฏิบัตธรรม ก็ช่วยในการลงทุนอย่างน่าอัศจรรย์
==หากบริษัทไม่ได้อยู่ในตลาดฯ หุ้นยังน่าซื้อหรือไม่ ==
- ม้าเฉียว
- Verified User
- โพสต์: 350
- ผู้ติดตาม: 0
ผัดวันประกันพรุ่ง
โพสต์ที่ 7
เห็นด้วยอย่างยิ่งกับท่านต.หยวนเปียว โดยเฉพาะ การปฏิบัติธรรม ซึ่งข้าน้อยจะเน้นการฝึกจิตเป็นพิเศษ ข้าน้อยชอบปล่อยให้จิตของตัวเองล่องลอยไป โดยไม่ต้องพยายามรั้งมันเอาไว้กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วใช้จิตอีกส่วนหนึ่งคอยเฝ้าสังเกต และติดตามไปไม่ให้ห่าง ข้าน้อยพึ่งรู้ว่า การเฝ้าสังเกตจิตของตัวเองนี่มันช่างเป็นกิจกรรมที่รื่นเริงมาก และทำให้ข้าน้อยมีสติที่แข็งแกร่งขึ้น (พร้อมๆกับพอร์ตการลงทุนที่งอกงามไปเรื่อยๆ)
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
ผัดวันประกันพรุ่ง
โพสต์ที่ 8
อ้าว..กลายเป็นผมสอบตกเหรอเนี่ย
งงจริงๆ ภาษาเรา ผมเข้าใจผิดซะตั้งนาน
ขอบคุณท่านม้า.. :lol:
ก็หุ้นตัวดี RGR ไงท่านม้าเฉียว
เจอคลื่นยักษ์ เจออีสบ
ไหงราคาพุ่งพรวดๆ
แต่ผมได้กลิ่นทะแม่งๆ เหมือนมีใครแกล้งท่าน Bill Heinecke..
งงจริงๆ ภาษาเรา ผมเข้าใจผิดซะตั้งนาน
ขอบคุณท่านม้า.. :lol:
ก็หุ้นตัวดี RGR ไงท่านม้าเฉียว
เจอคลื่นยักษ์ เจออีสบ
ไหงราคาพุ่งพรวดๆ
แต่ผมได้กลิ่นทะแม่งๆ เหมือนมีใครแกล้งท่าน Bill Heinecke..
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- อาเม่า
- Verified User
- โพสต์: 44
- ผู้ติดตาม: 0
ผัดวันประกันพรุ่ง
โพสต์ที่ 10
หลงเข้ามาขอรับ ด้วยสติปัญญาที่เลอะเลือนเต็มที ข้าน้อยรู้สึกได้ถึง
พลังปราณอันลุ่มลึกที่แผ่ซ่านจากทุกถ้อยกระบวนความ
ถึงแม้นไม่มีวาสนาจักทำความเข้าใจได้เสมอเหมือนท่านทั้งหลาย
ข้าน้อยขอแสดงความชื่นชมด้วยคารวะจิตขอรับ
พลังปราณอันลุ่มลึกที่แผ่ซ่านจากทุกถ้อยกระบวนความ
ถึงแม้นไม่มีวาสนาจักทำความเข้าใจได้เสมอเหมือนท่านทั้งหลาย
ข้าน้อยขอแสดงความชื่นชมด้วยคารวะจิตขอรับ
As a wise friend told me long ago, “If you want to get a reputation as a good businessman, be sure to get into a good business.” by Warren Buffett
- Tongue
- Verified User
- โพสต์: 725
- ผู้ติดตาม: 0
ผัดวันประกันพรุ่ง
โพสต์ที่ 11
เห็นด้วยอย่างยิ่งกับท่านต.หยวนเปียว โดยเฉพาะ การปฏิบัติธรรม ซึ่งข้าน้อยจะเน้นการฝึกจิตเป็นพิเศษ ข้าน้อยชอบปล่อยให้จิตของตัวเองล่องลอยไป โดยไม่ต้องพยายามรั้งมันเอาไว้กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แล้วใช้จิตอีกส่วนหนึ่งคอยเฝ้าสังเกต และติดตามไปไม่ให้ห่าง ข้าน้อยพึ่งรู้ว่า การเฝ้าสังเกตจิตของตัวเองนี่มันช่างเป็นกิจกรรมที่รื่นเริงมาก และทำให้ข้าน้อยมีสติที่แข็งแกร่งขึ้น
ข้าน้อยอิจฉาท่านม้าเฉียวเป็นยิ่งนัก
เห็นที ข้าพเจ้าต้องหาทางลงดาบ กับ สภาพจิต อัน ไร้สมาธิ ของข้าพเจ้าโดยด่วนแล้ว
ขอคารวะอีกกระทู้ หัวโนแล้ว
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4940
- ผู้ติดตาม: 1
ผัดวันประกันพรุ่ง
โพสต์ที่ 13
เข้ามา คาระวะ ผมละ ผัด ตลอดเลย
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
- BOONPARUEY
- Verified User
- โพสต์: 184
- ผู้ติดตาม: 0
ผัดวันประกันพรุ่ง
โพสต์ที่ 16
:lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
... " บุญ คือ เสบียงของคนไม่ประมาท " พุทธตรัส ...