อิสรภาพทางการเงิน และ อิสรภาพทางการงาน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
areliang
Verified User
โพสต์: 432
ผู้ติดตาม: 0

อิสรภาพทางการเงิน และ อิสรภาพทางการงาน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

อิสรภาพทางการเงิน และ อิสรภาพทางการงาน

วันนึงเมื่อหลายปีก่อนนานมากแล้ว มีคนถามผมว่า เอาเงินไปลงทุนในหุ้นแล้ว มีเอาเงินนั้นที่กำไรออกมาใช้หรือขายหุ้นนั้นรึเปล่า ผมก็ตอบไปว่า ไม่ หรือต่อให้ขายก็เอาไปซื้อหุ้นตัวใหม่ เขาเลยพูดกลับมาว่า ถ้าอย่างนั้นมันก็เป็นแค่ตัวเลขอะสิ จะได้กำไรหรือขาดทุนแน่นอนเท่าไหร่ก็ยังไม่รู้ ผมก็ตอบว่า ใช่

แต่ประโยคที่ไม่ได้หลุดไปจากหัวผม นั่นคือ ประโยคที่ว่า “ถ้าอย่างนั้นมันก็เป็นแค่ตัวเลขอะสิ” นั่นทำให้ผมกลับมานั่งคิด มันเป็นแค่ตัวเลขจริงหรือไม่ เลยมองไปที่กระดาษรายงานพอร์ตหุ้น อืม จริงแฮะถ้ามองง่ายๆไปที่กระดาษ ดูยังไงก็มีแต่หนังสือและตัวเลข งั้นคิดใหม่ แล้วคนอื่นล่ะถ้าเขาไม่ลงทุนในหุ้นเลย สมมุติคนทำงาน กินเงินเดือน พอได้เงินเดือนมาโดยส่วนใหญ่สมัยนั้น ก็จะได้รับเงินโดยการโอนเข้าบัญชีเงินฝากมา ซึ่งก็เป็นตัวเลข พอจะใช้ก็ถอนเงิน ถอน atm บ้าง และพอมีเงินเหลือและต้องการออมก็พยายาม เก็บเงินให้มากขึ้นเรื่อยๆ ก็ต้องเก็บโดยฝากใส่ธนาคารซึ่งก็เป็นตัวเลข แต่ภาพยังไม่ค่อยชัดดีเพราะเป็นเพียงจินตนาการของตัวเอง อืม มองภาพเพิ่มที่อะไรดี ก็เลยมองไปที่ผู้ใหญ่ใกล้ตัวที่สุด ทำอาชีพค้าขาย เป็นคนประหยัด ใช้จ่ายพอสมควร พอมีกำไรก็เอาเงินไปฝากธนาคาร แบบวันนี้ก็ฝากเงิน อีกไม่กี่วันก็ฝากเงิน ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน บัญชีเงินฝากกับธนาคาร ก็มีตัวเลขสูงขึ้นเรื่อยๆ และหลายสิบปี ของชีวิตก็ทำอยู่เช่นนี้ และดูเหมือนพึงพอใจที่เห็นตัวเลขในธนาคารเพิ่มขึ้นเรื่อยๆไปพร้อมๆกับความรู้สึกว่ามั่นคง และก็เห็นผู้ใหญ่อีกหลายๆคน ก็ทำแบบนี้ เช่นกัน ดังนั้นดูๆไปสิ่งที่ผู้ใหญ่ทำให้ดูมาจากแต่ก่อน เมื่อเป็นเจตนาสุดท้ายจำนวนมากก็เพื่อให้ตัวเลขในธนาคารสูงขึ้นเรื่อยๆ งั้นต่อไปนี้ เราควรรู้สึกเช่นไรกับ ตัวเลข เพราะในสมุดบัญชีธนาคาร ก็มีเพียง ตัวหนังสือ และ ตัวเลขเช่นกัน

หลังจากวันนั้นเป็นปี คุณคนที่เคยถามผมในวันนั้น เขารู้ว่าเราลงทุนในหุ้น และแทบจะไม่ต้องทำงานอื่นๆ (ดูเหมือนขี้เกียจเนอะ) เขาจึงถามผมว่า อย่างนี้วันๆก็ดูแต่ตัวเลข มันเพิ่มขึ้นก็จริง และวันๆ ก็ไม่ต้องทำอะไรเลย แล้วชีวิตแบบนี้มันดียังไงวะ อืม เอาสิ คำถามนี้ตอบไงดีไม่เคยคิดมาก่อน คิดชั่วพริบตาแล้วตอบไปว่า “อิสระ” ทั้งที่ยังงงงวย กับชีวิตของตัวเองมากอยู่ และตอบต่อไปว่า คำว่าอิสระ มีใครที่ไม่ต้องการบ้างเหรอ ไม่ต้องตื่นมาพร้อมกับคำว่าต้องทำอะไรบางอย่าง แม้ทั้งที่เราไม่อยากทำ ต้องทำตามความต้องการของผู้อื่น แต่ทั้งหมดนี้ยกเว้นให้แก่ คนที่ได้ทำงานที่ตัวเองรัก เพราะคำว่าอิสระคงไม่จำเป็นสำหรับเขา และ เพื่อนผมก็นิ่งไป รวมถึงตัวผมเองด้วย และทั้งหมดนี้ตอบไปทั้งที่ยังงงงวยกับชีวิตตัวเองมากอยู่นะครับ แต่มันทำให้ผม กำลังทำความเข้าใจกับ คำว่า อิสระ ให้มากขึ้นอยู่

คำว่า รวย เป็นคำที่ผมจำได้เป็นคำแรกๆ เมื่อพูดเกี่ยวกับเงิน และคำว่า อิสรภาพทางการเงิน ก็เข้ามาเมื่อผมโตขึ้น เป็นคำที่ดูเรียบหรูขึ้น ดูละโมบโลภมากน้อยลง ดูต้องใช้สติปัญญามากขึ้นถ้าจะทำความเข้าใจ และคำถามที่อยากรู้ที่สุด คือ อิสรภาพทางการเงิน จะเกิดกับเราเมื่อไหร่ เพราะตอนนี้การรับรู้ของผมเริ่มเปลี่ยนไป นั่นคือ คำว่ารวย อยู่ในขั้นที่สูงกว่า อิสรภาพทางการเงิน นั่นแปลว่า ถ้าจะรวย ต้องมีอิสรภาพทางการเงินเสียก่อน จริงป่ะ

อิสระ ภาพ ทาง การเงิน
areliang
Verified User
โพสต์: 432
ผู้ติดตาม: 0

Re: อิสรภาพทางการเงิน และ อิสรภาพทางการงาน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

อิสรภาพทางการเงิน จะเกิดกับเราเมื่อไหร่ ขอถามก่อนว่าคุณๆเคยได้ สัมผัส อิสรภาพทางการเงินบ้างหรือยัง

จะมองให้ยาก มันก็คงยาก แต่ถ้ามองให้ง่ายมันน่าจะง่ายขึ้นนะ

(จุดประสงค์ ที่เขียนนี้ อยากจะแยกภาพ ความเป็นอิสรภาพทางการเงิน และทางการงาน เผื่อจะมีประโยชน์ต่อผู้ไม่รู้ ไม่ได้มีเจตนาไปในทางที่ไม่ดีใดๆ)

อิสระ ถ้าหมายถึง เรามีสิทธิ์ จะเลือก หรือ ไม่เลือกก็ได้ ทำ หรือ ไม่ทำ ใช้ หรือ ไม่ใช้ ยอมหรือ ไม่ยอม ก็ได้ขึ้นกับตัวเรา

ภาพ หรือ สภาพ หมายถึง ภาพ ที่ปรากฏ หรือ สภาพ ที่ปรากฏ

ทางการเงิน ก็ เกี่ยวกับเงิน

ถ้า อิสรภาพทางการเงิน ความหมายเป็นตามนี้ ในความคิดของกระผมเท่านั้น มันเป็นการไม่ยากเลย ถ้าจะสัมผัส อิสรภาพทางการเงิน ถ้าเราอยู่ในหลักที่ว่า มี รายรับ มากกว่า รายจ่าย เราจะยืนอยู่บน สภาพ อิสรภาพทางการเงิน ในช่วงเวลา ขณะนั้นๆ ที่เรามี รายรับ มากกว่า รายจ่าย เช่น

ได้เงินเดือน 20000 บาท และมีรายจ่ายในเดือนนั้น ทั้งหมด 12000 บาท รายรับ มากกว่า รายจ่าย 8000 บาท ซึ่งจะทำให้ เรามีสิทธิ์ จะเลือก หรือ ไม่เลือกก็ได้ ทำ หรือ ไม่ทำ ใช้ หรือ ไม่ใช้ ยอมหรือ ไม่ยอม ก็ได้ขึ้นกับตัวเรา ต่อเงิน 12000 บาท รวมถึง เงินที่เหลืออีก 8000 บาท ดังนี้ ไม่มีสภาพบีบบังคับ ทางการเงินเกิดขึ้นต่อเรา
แต่ถ้าในขณะเวลาที่ เรามี รายรับ น้อยกว่า รายจ่าย

ได้เงินเดือน 20000 บาท และมีรายจ่ายในเดือนนั้น ทั้งหมด 22000 บาท รายรับ น้อยกว่า รายจ่าย 2000 บาท ซึ่งจะทำให้ เรามีสิทธิ์ จะเลือก หรือ ไม่เลือกก็ได้ ทำ หรือ ไม่ทำ ใช้ หรือ ไม่ใช้ ยอมหรือ ไม่ยอม ก็ได้ขึ้นกับตัวเรา ต่อเงิน 20000 บาท ยังคงอยู่ แต่ส่วนรายจ่ายที่มากกว่า 2000 บาท นั้น มีสภาพบีบบังคับ ทางการเงินต่อเรา ทำให้เราหมดสิทธิ์ เลือก หรือ ไม่เลือกก็ได้ ทำ หรือ ไม่ทำ ใช้ หรือ ไม่ใช้ ยอมหรือ ไม่ยอม กับรายจ่าย ที่เพิ่มขึ้นมา อีก 2000 บาทซึ่งนั่นจะทำให้เรา ต้อง ยืม กู้ ซึ่งเข้าสู่สภาพบีบบังคับต้องใช้เงินกลับคืน หรือแม้แต่การตัดใจที่จะไม่ใช้รายจ่าย 2000 บาท นี้ ซึ่งเป็นการฝืนต่อการเลือกของเราเอง ดังนั้นจึงเกิด สภาพบีบบังคับ จึงขาดสภาพอิสระจากบางสิ่งบางอย่าง
pullmeunder
Verified User
โพสต์: 332
ผู้ติดตาม: 0

Re: อิสรภาพทางการเงิน และ อิสรภาพทางการงาน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

อิสระภาพทางการเงิน


สามารถซื้อความสุขในสิ่งที่เงินสามารถซื้อได้

เวลาเจ็บป่วยแล้วไม่เดือดร้อนเรื่องเงิน

สามารถทำสิ่งที่ชอบได้โดยคิดถึงเรื่องกำไรทีหลัง

หากมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นก็มีเงินที่จะพอจะช่วยบรรเทาเรื่องเหลือนี้ได้

ปราศจากความกังวลจากหนี้สิน


สำหรับผมแล้วกำไรที่กระดานหุ้นอาจจะยังจับต้องไม่ได้ก็จริง แต่ ปันผล นี่สิของจริง อิอิ
areliang
Verified User
โพสต์: 432
ผู้ติดตาม: 0

Re: อิสรภาพทางการเงิน และ อิสรภาพทางการงาน

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ดูเหมือนง่าย ไหมครับ นี่จึงเป็นเพียงพื้นฐาน อิสรภาพทางการเงิน ในช่วงเวลา ขณะนั้น และการจะก้าวขึ้นสู่ อิสรภาพทางการเงินที่ยาวนานกว่า ถ้าจะพูดแบบง่ายๆ ก็ เพิ่ม คำว่า “สม่ำเสมอ” เข้าไป นั่นคือ เมื่อเดือนที่หนึ่ง เรามี รายรับ มากว่า รายจ่าย เรามีอิสรภาพทางการเงิน 1 เดือน เมื่อเดือนที่ 2 ถ้าสร้างอิสรภาพทางการเงินได้อีก เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เป็นปี สิ่งที่ทำนี้มันจะแอบเข้าไปในตัวโดยที่ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ หรือ ที่จะเรียกว่า “ติดเป็นนิสัย” แน่นอนว่าความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้เสมอ มันอาจจะเจอกับเดือนที่มีค่าใช้จ่ายสูงและยังเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นมากเสียด้วยซ้ำ จนทำให้เงินออมหมดลง หรือ ติดลบเสียด้วยซ้ำ แต่ถ้ามันไม่มากมายจนเกินความสามารถของรายรับ นิสัย นี้นั่นแหละก็จะทำให้กลับสู่สภาพอิสรภาพทางการเงินแบบไม่ยากนัก และเมื่อดำเนินชีวิต ในรูปแบบที่ยืนอยู่บน อิสระ ได้มากกว่า ไม่อิสระ ย่อมดีกว่า ยืนอยู่บนอิสระได้น้อยกว่าไม่อิสระ

สิ่งที่พูดง่าย แต่ทำได้ยาก นั่นก็คือคำว่า สม่ำเสมอ คำว่า สม่ำเสมอ นั่นคือ สมมุติเมื่อเราต้องเดินข้ามสะพานข้ามลำธารแห่งหนึ่งทุกวันและตั้งใจมั่นว่าเราจะคอยโยนก้อนหินลงลำธารทุกวัน วันละก้อน และเมื่อวันใดเราเกิดลืมโยนก้อนหิน เราจะไม่ได้แก้ไขโดยคิดเสียว่า พรุ่งนี้เราจะโยนก้อนหินลงไปสองก้อนก็ค่าเท่ากัน

แต่ละก้าวที่เราหวัง และอยากจะเดินเข้าไปหา บางเรื่องเราก็ไม่สามารถเดินดุ่ยๆเข้าไปแล้วจะถึง การเดินทางที่จะสำเร็จได้จะต้องมีการเตรียมพร้อมถึงองค์ประกอบต่างๆที่เป็นส่วนประกอบของความสำเร็จ
ภาพประจำตัวสมาชิก
murder_doll
Verified User
โพสต์: 1644
ผู้ติดตาม: 1

Re: อิสรภาพทางการเงิน และ อิสรภาพทางการงาน

โพสต์ที่ 5

โพสต์

อิสระภาพทางการเงิน หนักแน่นเหมือนหินผา แต่เบาเหมือนปุยนุ่น
เงินทองเป็นของมายา
ข้าวปลาคือของจริง
ภาพประจำตัวสมาชิก
TBJTBT
Verified User
โพสต์: 404
ผู้ติดตาม: 0

Re: อิสรภาพทางการเงิน และ อิสรภาพทางการงาน

โพสต์ที่ 6

โพสต์

pullmeunder เขียน: สำหรับผมแล้วกำไรที่กระดานหุ้นอาจจะยังจับต้องไม่ได้ก็จริง แต่ ปันผล นี่สิของจริง อิอิ
เห็นด้วยกับประโยคนี้ อย่างถึงที่สุดครับ
"Unrealized ดั่งมายา ปันผลมา สิของจริง"
wanna
Verified User
โพสต์: 68
ผู้ติดตาม: 0

Re: อิสรภาพทางการเงิน และ อิสรภาพทางการงาน

โพสต์ที่ 7

โพสต์

Areliang เขียนแบบคนมีอิสระภาพทางการเงิน
และอิสระภาพทางการงานจริง ๆ

อยากให้ถึงวันนั้นบ้างจริง ๆ ^^
panwasit
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 430
ผู้ติดตาม: 0

Re: อิสรภาพทางการเงิน และ อิสรภาพทางการงาน

โพสต์ที่ 8

โพสต์

รอเหมือนกันครับ

อิสรภาพการเงิน มีเงินใช้ โดยไม่ต้องหาเพิ่ม

อิสรภาพการงาน ได้ทำงานที่อยากทำ มีความสุข ดีกว่าเสียเวลาไปวันๆ
ปล ความเห็นส่วนตัว
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 1

Re: อิสรภาพทางการเงิน และ อิสรภาพทางการงาน

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ขอผมหลุดจากงาน รูทีน สิ้นเดือนหน้า จะเข้ามาแชร์ เรื่องนี้ครับ

"อิสระภาพทางการ กับ อิสระภาพทางการงาน"
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
dr1
Verified User
โพสต์: 874
ผู้ติดตาม: 1

Re: อิสรภาพทางการเงิน และ อิสรภาพทางการงาน

โพสต์ที่ 10

โพสต์

จำเขามาจากหลายแห่งว่า...

อิสรภาพทางการเงิน

passive income มากกว่ารายจ่าย
passive incomeคือ
ดอกเบี้ย ปันผล ค่าเช่า ค่าลิขสิทธ์

อิสรภาพทางการงาน

ได้ทำงานที่อยากทำโดยไม่ต้องคิดเรื่องเงิน
(หรือจะไม่ต้องทำงานก็ได้ มีเงินใช้)
ทำงานที่รัก แปลว่าอิสระ
รักงานที่ทำ แปลว่าความสุข
samatah
areliang
Verified User
โพสต์: 432
ผู้ติดตาม: 0

Re: อิสรภาพทางการเงิน และ อิสรภาพทางการงาน

โพสต์ที่ 11

โพสต์

สิ่งที่ผูกกัน หรือ ยึดติดกัน

รายจ่าย นั้น ผูกติดกับตัวเราเอง รวมถึงสิ่งที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย

รายรับ นั้นเกิดจากที่เราทำอะไรบางอย่าง หรือ ทำงาน และ ได้รับเงินเป็นผลตอบแทน

ซึ่งน่าจะแปลได้ว่า รายรับ นั้น ผูกติดกับ “งาน” ทั้งแบบที่เราเป็นผู้เลือกหรือผู้ถูกเลือก และปมที่ถูกผูกอยู่นี้คือสิ่งที่คนอยากมีอิสรภาพทางการเงินพยายามแก้อยู่ใช่หรือไม่ งั้นขอถามต่อด้วยคำสัตย์ ถ้ามองดูแล้วเมื่อเทียบกับประชากรทั้งหมด จะมีคนจำนวนเท่าไหร่ ที่ไม่ต้องทำงานแล้วมีเงินใช้ หรือแก้ปมนี้ได้ด้วยตัวเอง คำโฆษณา อิสรภาพทางการเงิน ที่คนจำนวนมากฝันถึง จะมีกี่คนที่ทำให้เป็นความจริงได้

งาน ที่ทำแล้วได้ผลตอบแทนนั้น ก็จะถูกผูกติดกับเจ้านายหรือเจ้าของธุรกิจ ซึ่งเขาก็ถูกผูกติดกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งก็จะผูกติดกับสภาพโดยรวมของสังคม หรือ ประเทศ ซึ่งสภาพก็เกิดจากโครงสร้างของประเทศ และโครงสร้างก็ต้องถูกวางแผนด้วยผู้นำ

งั้นดูประเทศที่ต้องการใช้แรงงานจำนวนมาก ในกิจการที่ใช้เพียงแต่แรงงาน ถ้าค่าแรงได้ที่ 200 บาท ค่าครองชีพ 200 บาท แต่ละวันเงินถูกใช้ไปหมด ดังนั้นพรุ่งนี้จะต้องรีบไปทำงานเพื่อหาเงินมาใช้ในวันถัดไป ถ้าค่าแรงได้ที่ 400 บาท ค่าครองชีพ 200 บาท และอยู่กับญาติหนึ่งคน นั่นแปลว่าค่าแรงสามารถเลี้ยง ตัวเองได้ รวมถึงญาติอีกหนึ่งคน ทำให้เกิดแรงงานที่ไม่จำเป็นต้องทำงานเกิดขึ้น นั่นคือสิ่งที่จะถูกนำมาคิดถึงข้อดีและข้อเสียเพื่อวางแผนต่อไป

ดังนั้น ถ้าคนในอัตราส่วนที่สูงได้พบอิสรภาพทางการเงินขั้นสูง นั่นแปลว่า คนในอัตราส่วนที่สูงไม่จำเป็นต้องทำงาน แล้วจะหาแรงงานที่ไหนมาทำงาน ดังนั้น จะมีประเทศไหนจะดำรงอยู่ได้ด้วยสถานการณ์นี้

ดังนั้น คนส่วนใหญ่ น่าจะยินดีต่อ อิสรภาพการเงิน แบบง่าย รายรับ มากกว่า รายจ่าย ซึ่งสภาวะนี้ ก็จะช่วยไม่ให้เกิด สภาวะบีบบังคับทางการเงิน ให้เกิดความตรึงเครียด และหาเวลาคิดวางแผนในขั้นต่อไปได้
ziannoom
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1046
ผู้ติดตาม: 0

Re: อิสรภาพทางการเงิน และ อิสรภาพทางการงาน

โพสต์ที่ 12

โพสต์

dome@perth เขียน:ขอผมหลุดจากงาน รูทีน สิ้นเดือนหน้า จะเข้ามาแชร์ เรื่องนี้ครับ

"อิสระภาพทางการ กับ อิสระภาพทางการงาน"
ยินดีด้วยครับ ส่วนตัวหวังไว้อีกสักสองปีรอลูกโตแล้วจะเอาเวลาไปรับส่งลูกไปโรงเรียนแทน
ซื้อเมื่อราคาต่ำกว่ามูลค่า ขายเมื่อมูลค่าต่ำกว่าราคา
areliang
Verified User
โพสต์: 432
ผู้ติดตาม: 0

Re: อิสรภาพทางการเงิน และ อิสรภาพทางการงาน

โพสต์ที่ 13

โพสต์

คนข้างบน

คำที่ผมมักใช้ เมื่อรู้สึกว่าตัวเอง โง่เขลา เบาปัญญา นั่นคือ เมื่อผมมีเรื่องที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ หาคำตอบไม่ได้ มันอาจเริ่มขึ้นจากตอนประถมปลาย เวลาสอบ แล้วผมทำข้อสอบนั้นไม่ได้แต่ถ้าบังเอิญวิชานั้นเป็นวิชาที่ตั้งใจเรียนทำได้เฉพาะวิชาที่ตั้งใจเรียนฟังครูเท่านั้นนะครับ ผมก็นึกถึงเสียงคุณครูวิชานั้น และคิดว่าถ้าเราเป็นครูคนนั้น จะตอบตัวเลือกข้อไหน และผมก็ไม่รู้ว่าวิธีนี้มันถูกต้องหรือไม่ เพราะคะแนนสอบก็ไม่ได้ดีอะไร แต่สอบไม่ตก แบบนี้ ครูวิชานั้นคือคนข้างบนของผม อาจจะแปลว่า คนที่ผมเคยได้เรียนรู้ มีสามารถเป็นที่น่าเชื่อถือของผม และเมื่อเวลาที่อยู่ในขณะนั้น ความสามารถของเรา ณ ขณะนั้นไม่สามารถหาคำตอบ หรือแก้ปัญหานั้นได้ด้วยตัวเราเอง ผมจะพยายามคิดว่าถ้าเป็นคนข้างบน เขาจะต้องคิดอย่างไรเพื่อแก้ปัญหา หรือวางแผน ในสถานการณ์นั้นๆ

มันแปลกตรงที่ เวลาเจอปัญหาที่แก้ไม่ได้ จนมุม ตัวเองกลับรู้สึกว่า ยังมีคนข้างบน ที่เคยเจอปัญหาแบบนี้มาแล้วล่ะ แล้วเขาเหล่านั้นแก้ปัญหาอย่างไร ทำให้รู้สึกว่าปัญหาจำนวนมากมันมีทางออก แต่ก็จะพยายามคิดต่อว่าถ้าเป็นคนข้างบน จะเลือกทางออกแบบไหนที่ดีที่สุด นี่คือหนึ่งในวิธีที่ผมใช้เวลาหาคำตอบ หรือ แก้ไขปัญหาไม่ได้ และก็ใช้มันได้ดีขึ้นจนเป็นประโยชน์

แต่สิ่งที่ผมอยากจะสื่อ คือ มันจะมีสิ่งที่ คนข้างบน รู้ แต่ เรา ไม่รู้ และเมื่อเรา รู้ ในสิ่งที่คนข้างบนรู้ และเราทำ เราจะขึ้นไปเข้าใกล้ คนข้างบน และเมื่อเรา ขยับขึ้นข้างบนทีละขั้น จะได้สัมผัสสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปและรู้สิ่งที่ไม่เคยรู้เพิ่มขึ้นไปอีกแบบอัตโนมัติ รวมถึงโจทย์ที่จะมองเห็นต่อไป โดยถ้าเราไม่ขยับขึ้นไปอาจจะไม่เคยได้สัมผัสเลย

เหมือนประโยคที่ว่า จะบอกปลาให้เข้าใจว่าการมีขาอยู่บนบกเป็นเช่นไร ต่อให้ใช้เวลา สัก 100 ปี นั่งอธิบาย ก็เทียบไม่ได้กับ การที่ปลาได้มีขาอยู่บนบก แค่วินาทีเดียว

อันนี้เป็นแค่คำเปรียบเปรยนะครับ

เคยดูหนังเรื่อง In Time กันรึยังครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
The Kop 71
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 271
ผู้ติดตาม: 0

Re: อิสรภาพทางการเงิน และ อิสรภาพทางการงาน

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ผมจะขอแชร์เรื่องนี้ด้วยคน

ถ้าอิสระภาพทางการเงิน หมายถึงมีเงินพอที่จะไม่ต้องทำงานเพื่อเงิน ผมยังไม่มี มีพอร์ทการลงทุนที่ใหญ่พอ ก็ยังไม่พอ

ถ้าอิสระภาพทางการงาน หมายถึงทำงานที่ตัวเองอยากทำ แม้ไม่ได้เงิน ผมคิดว่าผมกำลังทำอยู่ครับ

ผมมีเวลาดูแลลูกๆ เล่นกับลูกๆ รับส่งลูกๆ ทำกิจกรรมกับลูกๆ

ผมมีเวลาทำงานให้กับกิจการงานของโรงเรียนลูกที่ส่งผลถึงคุณภาพชีวิตชุมชนที่ดี (ครู ผปค. เด็กนักเรียนในวิถี Green Living)

ผมมีเวลาและให้เวลาศึกษาวิถีการเรียนรู้หุ้นคุณค่าตลอด ปีนี้และปีถัดไป เพื่อที่จะใช้ชีวิตแบบมีคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น

ผมไม่รู้สิ่งที่ผมทำทุกวันนี้ (ลงทุนตามวิถี VI 100%) จะประสบผลทางการเงินหรือเปล่า

ในเมื่อถ้าใช้เงินจำนวนเท่ากันไปสร้างธุรกิจ ไปซื้อธุรกิจสำเร็จรูป ใช้เวลา 3-5 ปีอาจจะคืนทุนและเริ่มทำกำไร มีหน้ามีตาทางสังคม (สิ่งที่ผมจะสูญเสียไปคือสิ่งที่ผมกล่าวมาก่อนหน้านี้แน่ๆ)

แต่ผมรู้ ณ วันนี้แน่ๆ ผมมีอิสระทางการงาน มีชีวิตที่สุขง่ายๆ กับชีวิตที่ช้าๆ ค่อยๆคิด ค่อยๆทำ ณ ปัจจุบันให้เป็นเวลาที่มีค่า ทำตนให้มีคุณค่าต่อส่วนรวม ผมไม่ต้องรอถึงวันนั้นผมจะทำแบบนี้ ผมไม่ต้องรอถึงวันนั้นผมจะทำเพื่อสังคม เพราะผมก็ไม่รู้ว่าวันนั้นมันจะมาถึงเมื่อไร และมันจะมีไหม...ในเมื่อรู้ว่าวันนี้ ผมยังอยู่แน่ๆและผมจะทำอะไรวันนี้ ผมก็ทำเลย ผมก็ได้อิสระ ได้ความสุข ณ เวลานี้เลย แค่นี้แหละ คล้ายกับที่เคยอ่านของพี่ chatchai เคยโพสไว้ในคลังกระทู้ เรื่อง ชาวประมงกับนักลงทุน

หรือที่จริงแล้วเรื่องนี้ มีคนๆหนึ่งรู้มานานมากแล้วและไม่กั๊ก ไม่เก็บไว้กับตัวเอง แต่บอกเล่าให้คนอื่นๆได้รู้ไปด้วย

จนนับถึง วันที่ 4 มิถุนายน 55 นี้ก็ครบ 2600 ปีพอดี
เพราะสังคม..ประเมินค่า..ที่จนรวย
คนจึงสร้าง..เปลือกสวย..ไว้สวมใส่
หากสังคม..วัดค่า..ที่ภายใน
คนจะสร้าง..แต่จิตใจ..ที่ใฝ่ดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
kriangsak76
Verified User
โพสต์: 271
ผู้ติดตาม: 0

Re: อิสรภาพทางการเงิน และ อิสรภาพทางการงาน

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ขอมีส่วนร่วมด้วยคนครับ (หลังจากพิมพ์เสร็จ มันยาวมากครับ เฮ้อ มีอะไรผิดพลาด ก็ขออภัยไว้ก่อนเลยนะครับ อ่านเองก็ยังมึนๆ :D )

อ้อ ออกตัวก่อนครับว่า ผมยังทำงานอยู่ และผมก็ไม่ใช่คนรวยด้วยครับ

ผมเข้าใจว่า พี่อาเหลียง กำลังชวนให้คิดว่า ระหว่าง คนรวย กับ คนที่มีอิสรภาพทางการเงินและการงาน แตกต่างกันอย่างไร แล้วแผนอนาคตของเราๆท่านๆ ควรจะวางไว้เช่นไร (นอกจากมองมาที่ตัวเองแล้ว ก็มองไปที่สังคมด้วย) แต่พี่อาเหลียง กล่าวมา มีหลายประเด็นจังเลยครับ ผมอยากจะลองขมวดปมมาซักกะหน่อย ถ้าผมเข้าใจอะไรผิดไป ก็ขอโทษไว้ก่อนครับ

๑ ความแตกต่างของคนรวยกับคนที่มีอิสรภาพฯ
ก่อนอื่น ความต่างของคนรวย กับคนที่มีอิสรภาพฯ อยู่ที่ระดับของรายได้ ดร.นิเวศน์ เคยให้นิยามเล่นๆ ในคลิปเก่าๆว่า คนรวยคือมีเงินซัก 20 ล้าน (ผมว่าปัจจุบัน ถือว่าน้อยไป แค่พอมีเหลือใช้ น่าจะถูกต้องกว่า เพราะต้องสร้างปันผลจากเงิน 20 ล้าน ก็ถือว่า ได้ไม่มากมายนัก ถ้าหากเราคิดที่จะมีชีวิตระดับ 5 ดาว) เศรษฐี คือมีเงินซัก 100 ล้าน (ผมว่าอันนี้ เรียกว่าคนรวยน่าจะดีกว่านะครับ สามารถมีชีวิตระดับ 5 ดาวได้แล้ว) [และยังมีระดับที่สูงกว่าเศรษฐี คือ เศรษฐีใหญ่(๔๐๐ ล้าน) มหาเศรษฐี (๑๐๐๐ล้าน) เจ้าสัว( ๑๐๐๐๐ ล้าน)]

ไม่ว่าจะเป็นใคร คนส่วนใหญ่(ขอเน้นว่าส่วนใหญ่) คงอยู่ภายใต้กฏของ Maslow น่ะครับ

(ข้างล่าง ก๊อปในเน็ตมาครับ)
ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกาย (Physiological Needs) คือความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
ขั้นที่ 2 ความต้องการความ มั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs) คือความต้องการที่จะมีชีวิต
ที่มั่นคง ปลอดภัย
ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม (Love and Belonging Needs) มนุษย์เมื่อเข้า
ไปอยู่ในกลุ่มใดก็ต้องการให้ตนเป็นที่รักและยอมรับในกลุ่มที่ตนอยู่
ขั้นที่ 4 ความต้องการได้ รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self -Esteem Needs) เป็นความต้องการในลำดับต่อมา ซึ่งความต้องการในชั้นนี้ถ้าได้รับจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจใจตนเอง
ขึ้นที่ 5 ความต้องการในการเข้าใจและรู้จักตนเอง (Self-Actualization Needs) เป็นความต้องการชั้นสูง
ของมนุษย์ ซึ่งน้อยคนที่จะประสบได้ถึงขั้นนี้


คนที่มีอิสรภาพทางการเงินและการงาน:
การที่มีอิสรภาพทางการเงินและการงาน ผมคิดว่า เป็นเพียงขั้นที่ 1 และ 2 เท่านั้นครับ แต่ระดับการยึดติดกับขั้นที่ 1 และ 2 นั้น ยังพอมีอยู่บ้าง ขึ้นกับระดับความมั่งคั่งทางการเงินของแต่ละคน ถ้ามีระดับเพียงแค่ เหลือกินเหลือใช้เพียงเล็กน้อย (รับมากกว่าจ่ายเล็กน้อย) นั่นก็อาจจะไม่สามารถสรุปได้ว่า มีอิสรภาพทางการเงินอย่างเด็ดขาด หากเกิดเหตุอันไม่คาดคิด เราก็อาจจะกลับไปสู่การที่ต้องทำงานเพื่อเงินอีก น่าจะสะท้อนถึงประเด็นเรื่องความสม่ำเสมอของพี่อาเหลียงได้มั๊งครับ คือ ต้องมีอิสรภาพ พร้อมทั้งต้องรองรับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เช่น อุบัติเหตุ ผ่าตัดใหญ่ ต้องรักษาตัวใน รพ นานๆ (อันนี้ ไม่รู้ว่า พี่อาเหลียงจะสื่อว่า คนเราควรต้องทำประกันไหม๊น้า) ดังนั้น เราจึงควรเผื่อเหลือเผื่อขาดไว้ด้วย เช่น ครอบครัวหนึ่งๆ มีรายจ่ายซัก 100,000 บาทต่อเดือน ก็ควรจะต้องมี passive income ซักเท่าตัวคือ 200,000 แบบนี้ ถ้ามีระดับนี้ น่าจะมี buffer ในส่วนการป้องกันความเสี่ยงได้แล้ว
แต่การเป็นคนที่มีอิสรภาพฯ เป็นสภาวะทิ้งตัว(เริ่มต้นหรือก้าวแรก)ของการเป็นคนรวยในที่สุดครับ :D :D

คนรวย:
เนื่องจากคนรวยนั้นไม่ต้องห่วงเรื่องขั้นที่ 1 และ 2 ดังนั้น ตัวเลขในพอร์ตนั้น ในธนาคาร มันไม่มีความสำคัญกับคนรวยเลย ประเด็นคือ ถ้ารวยแล้ว คนรวยจะมีชีวิตอย่างไรมากกว่า จะทำอะไรบ้าง ซึ่งสุดแล้วแต่ความต้องการของแต่ละบุคคล ดังนั้น บ้างอาจจะเป็นครูสอนหนังสือ เป็นคนจิตสาธารณะ เป็นนักสังคมสงเคราะห์ เป็นนักท่องเที่ยว เดินทางฯ อะไรก็ตามที่เค้าอยากทำ (ซึ่งตรงนี้ เป็นความเหมือนกันระหว่างคนรวยกับคนที่มีอิสรภาพฯ) แต่ถ้าคนรวยต้องการเพิ่มตัวเลขในพอร์ต นั่นอาจจะหมายถึง มันเป็นเกม มากกว่า

แต่คนรวยจะก้าวไปสู่ขั้นที่ 3-5 ได้หรือไม่นั้น อยู่ที่แต่ละตัวบุคคลแล้วครับ

๒ คุณค่าของตัวเอง
ประเด็นนี้ ผมว่า มันสะท้อนถึง การที่คนภายนอกจะมองคนที่เป็นนักลงทุนอาชีพอย่างไรมั๊งครับ เพราะการที่เราไม่ได้ประกอบอาชีพอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม หรือไม่ได้เป็นอาชีพที่คนส่วนใหญ่รู้จัก ก็ทำให้เหมือนถูกตำหนิจากคนภายนอกที่มองเข้ามาอย่างอ้อมๆ (ไม่แน่ใจว่าพี่อาเหลียงจะสื่อแบบนี้ไหม๊นะ)

ดังนั้น ไม่ว่าคนรวยหรือคนที่มีอิสรภาพฯ มักจะมองหางานทำ เพื่อให้สังคมยอมรับคุณค่าของตน (ขั้นที่ 3และ 4) โดยมักจะเป็นงานที่รัก งานที่สนุก เพื่อจะได้มีคำตอบให้กับสังคม (คนรวยกับคนที่มีอิสรภาพ ผมว่า มีจำนวนน้อยมากนะครับ ไม่น่าจะใช้กฏ 80:20 ได้เลยด้วยซ้ำ 0.1% ก็น่าจะน้อยไป ดังนั้น คน 999 คน คงไม่เข้าใจ คน 1 คนที่ไม่ต้องทำงาน)

แต่ถ้าคนรวยมาทำงานแล้ว เช่น เปิดโรงงาน ตั้งบริษัท เราต้องรับผิดชอบกับลูกน้องของเรา เราต้องดิ้นรนหางานมาป้อน เพื่อจะได้มีเงินมาจ่ายลูกน้อง นี่คงเป็นภาระผูกผันและผูกติดกับเรา (ปมที่พี่อาเหลียงเอ่ยถึง) แม้ว่า งานที่เราทำนั้น เป็นสิ่งที่เราชอบ แต่ก็เป็นภาระและความรับผิดชอบของเราในเวลาเดียวกัน

ดังนั้น การสร้างคุณค่าในตัวเอง บางครั้งก็ต้องแลกมาด้วยน้ำตา

(อจ ไพบูลย์ ก็ยังคงทำงานสอนหนังสือ ผมว่า ตรงนี้ เป็นทางออกของการสร้างคุณค่าในตัวเอง คือ ยังคงทำงานประจำเพื่อมีคุณประโยชน์ต่อส่วนรวมครับ แล้วก็ไม่สร้างปมที่ทำให้เรากลับไปอยู่ในจุดที่ลำบากกายหรือลำบากใจครับ)

๓ งานล้นคน ถ้ามีคนมั่งคั่งมากเกินไป
งานล้นคน (มีงานแต่ไม่มีคนมาทำงาน) อย่างที่พี่อาเหลียงพูดไว้ สังคมก็จะเดินไปไม่ได้ เพราะว่า กิจการต่างๆ ก็ต้องใช้คนทำงาน สร้างรายได้ในบริษัท เมื่อคนทำงานลดน้อยลง บริษัทก็หารายได้ได้ลดลงเช่นกัน พูดง่ายๆ คนจำนวนน้อย ทำมาหาได้เพื่อคนส่วนใหญ่ (เหมือนประเทศสังคมผู้สูงวัย เช่นญี่ปุ่น อเมริกา) ถ้าคนทำงานมีน้อยเกินไป ประเทศก็อยู่ไม่ได้ นึกถึงว่า ในบ้านมีแต่คนแก่ 4-5 คน ทำงานโดยคนหนุ่มสาวเพียง 2 คนดูครับ สภาวะแบบนี้ เหนื่อยครับ ประเทศไทยนั้น คร่าวๆ อีกสิบกว่าปี (เดาๆ เอาซักปี 2570 ก็แล้วกันครับ) ไทยก็จะเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้วนะครับ แต่ถ้าเราเลิกทำงานตอนที่เรามีแรงทำงานอยู่ เวลาก็จะย่นลงมาไวกว่าที่เอ่ยไว้นะครับ

ดังนั้น แม้ว่า เราจะมีอิสรภาพแล้ว ทางออกของสังคม ของประเทศก็คือ เราควรต้องทำงานต่อไป (ดร.นิเวศน์ ยังเคยพูดว่า คนหนุ่มสาว ควรที่จะทำงานตามความรู้ความสามารถของตน ที่ได้ร่ำเรียนมา) ไม่งั้น เราจะก็จะเสียบุคลากรของประเทศที่เก่ง มีความสามารถ แต่ไม่อยากทำงาน

แต่ถ้างานล้นคนจริงๆ ทางออกก็คือ การนำเข้าแรงงานครับ ไม่ว่าจะเป็นแรงงานระดับล่าง ระดับหัวกะทิก็ตาม เช่น อเมริกา ออสเตรเลีย เปิดโอกาสคนเก่ง เข้าไปทำงานในส่วนที่ตลาดแรงงานของเค้าขาดแคลนครับ ไทยเอง ก็คงต้องเป็นแบบนั้น
areliang
Verified User
โพสต์: 432
ผู้ติดตาม: 0

Re: อิสรภาพทางการเงิน และ อิสรภาพทางการงาน

โพสต์ที่ 16

โพสต์

Zone การแบ่งออก เป็น โซน หรือ เขต หรือ พื้นที่

หนังเรื่อง In Time เป็นเรื่องเกี่ยวกับ ชีวิต ที่ไม่ได้ต้องใช้เงินอีกต่อไป แต่จะใช้เวลาแทนการใช้เงิน ทั้งการซื้อของต่างๆ ค่าเดินทาง เป็นต้น และเวลานี้จะเริ่มเดินเมื่ออายุได้ 25 ปีในแต่ละคน และถ้าเวลาหมดลงนั่นคือ สิ้นชีวิตลง ถ้าหาเวลาเพิ่มได้เรื่อยๆ นั่นหมายถึง อมตะ การหาเวลาเพิ่มได้ก็เกิดจากการทำงาน หรือ ผู้อื่นมอบเวลาให้ และนี่คือจุดเริ่มต้นของตัวเอก

ตัวเอกของเรื่อง เริ่มที่เมืองๆหนึ่ง ดูเหมือนชนบท ซึ่งเขาก็ใช้ชีวิตตามปกติ ตื่นมาก็ไปทำงานประมาณโรงงาน ได้ผลตอบแทนมาเป็นเวลา แต่เวลาที่ได้มานั้นเมื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ละวันนั้นแทบจะไม่เพียงพอ มันก็เดินมาถึงวันที่เวลาของ เขาใกล้หมดเต็มที และวันนั้น ก็มีคนที่มาจากที่ไหนก็ไม่มีใครรู้ ซึ่งมีเวลาที่ตัวเขา กว่า 100 ปี เป็นเวลาที่มากๆ จนเป็นที่ต้องการแย่งชิงจากผู้อื่น และพระเอกก็ได้ช่วยเขาไว้ และในขณะที่เวลาของพระเอกจะหมดนั้น ชายคนนี้ก็ได้มอบเวลาทั้งหมดให้กับพระเอก และชายคนนั้นก็ได้สิ้นชีวิตลงโดยเจตนา

ดังนั้นพระเอกตื่นขึ้นมาพร้อมกับเวลาที่ล้นเหลือ เหมือนอยู่ได้อีกสัก 100 ปีโดยที่ไม่ต้องทำอะไรแล้วรวยเลย และการที่พระเอกไม่เหลือใครแล้ว และได้ฟื้นจากที่คิดว่าตัวเองกำลังจะสิ้นชีวิตลงเพราะเวลาที่น่าจะหมดลงไปแล้ว ทำให้พระเอกเริ่มออกเดินทาง การเดินทางของหนังเรื่องนี้เป็นการข้ามโซน และโซนที่พระเอกอยู่ขณะนี้คือโซนที่ 12 เขาจึงเรียกรถ และโชว์เวลาให้ดู และเมื่อถึงประตูแต่ละโซน ถ้าจะผ่านต้องใช้เวลา เป็นเดือน เป็นปี ดังนั้นตามปกติพระเอกจะไม่สามารถผ่านโซนพวกนี้ได้ เพราะ แค่ดำรงชีวิตก็แทบจะไม่พอ เขาได้ผ่านโซนไปเรื่อยๆ จนถึงโซน ที่ 4

โซนที่ 4 นี้เป็นโซน ที่คล้ายเมืองหลวง ที่หรูหรา เต็มไปด้วยตึกสูง บ้าน รถ สวยๆ ผู้คนเดินกันช้าๆ ดูหรูๆ เพราะแต่ละคนมีเวลามากมายเหลือเฟือ หรือ เรียกว่า คนรวย นั่นทำให้พระเอก ได้เห็น สิ่งที่ไม่เคยเห็นซึ่งแตกต่างจาก โซน ที่ 12 อย่างแบบตรงกันข้าม คนหนึ่ง แทบไม่มีเวลาเหลือ คนหนึ่งมีเวลาหลายร้อยปี คนหนึ่งต้องสิ้นชีวิตลงเพราะเวลาหมด อีกคนหนึ่งอยู่ได้อย่างอมตะ และดูเหมือนคนโซนนี้ โซนที่ 4 จะเป็นผู้คุม เงื่อนไขต่างๆทางด้านเวลาเสียด้วย เมื่ออยู่ๆพระเอกมาอยู่โซนที่ 4 ได้ จึงมีผู้คุมด้านเวลามาตามล่า และพระเอกก็จะต้องต่อสู้ต่อไป หามาดูชมได้นะครับ In Time ภาพดีๆถ้ามองดีๆ

แต่ในโลกของความเป็นจริง Zone อาจจะไม่ได้ถูกแบ่งชัดเจนให้มองเห็นได้ง่าย และมันมักอยู่รวมกันเลย คนรวย คนระดับกลาง หรือคนจน ก็ยืนอยู่ข้างๆกันเลย แต่โอกาสที่ได้รับระหว่าง คนรวย คนระดับกลาง หรือคนจน หลายๆครั้งก็ต่างกันอย่างชัดเจน เช่น ร้านอาหารระดับหรู คนรวย นั่งกิน คนระดับกลาง พ่อครัวฝีมือดี ทำอาหารให้คนรวยกิน และมีแม่บ้านมาถูพื้นบังเอิญได้เงินเดือนไม่มากนัก เลยเกือบจน มาถูพื้นให้คนรวยมีพื้นสะอาดๆเดิน

แล้วเราล่ะอยู่โซนไหน
ภาพประจำตัวสมาชิก
airazoc
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 904
ผู้ติดตาม: 1

Re: อิสรภาพทางการเงิน และ อิสรภาพทางการงาน

โพสต์ที่ 17

โพสต์

จริงๆแล้ว อิสรภาพทางการเงิน กับ ทางการงาน มักจะมาคู่กันเป็นส่วนใหญ่ครับ

คือเมื่อมี passive income (เช่นเงินปันผล) มากพอจะใช้ชีวิตได้โดยไม่ต้องอนาทรร้อนใจกับรายได้แล้วไม่ว่าจะมีวิกฤติอะไรหรือไม่ก็ตาม สิ่งที่จะตามมาคือ อิสรภาพในการเลือกงานที่จะทำ (หรือจะเลือกไม่ทำงานแล้วก็ได้) การทำงานที่อยากทำ โดยไม่สนใจว่าจะได้รับค่าจ้างเท่าไหร่ หรือมีตำแหน่งไหนในองค์กร ไม่ต้องนั่งชเลียร์หัวหน้า สามารถพูดสิ่งที่ใจคิด และวิจารณ์งานอย่างที่ควรจะเป็นโดยไม่ต้องมานั่งกลัวว่าจะโดนประเมินงานไม่ดี ความสุขในการทำงานจะเพิ่มพูนอย่างเห็นได้ชัดครับ เมื่อได้ทำงานที่อยากทำ อย่างที่อยากทำ ไม่ใช่ทำงานที่ต้องทำ

ผมคิดว่าอิสรภาพทางการงานน่าจะเป็นแบบนี้ มากกว่าที่จะไม่ต้องทำงาน แน่นอนว่าคนที่ทำงานเพราะต้องทำ และไม่มีอะไรที่อยากทำมากกว่าอยู่บ้านสบายๆ ก็มีอยู่ เมื่อมีอิสรภาพ บางคนก็เลือกอยู่บ้านอ่านหนังสือ ท่องเที่ยว ทำกิจกรรมกับคนในครอบครัว ไม่อยากออกไปผจญรถติด หรือประชุมให้เครียดอีกแล้ว ก็เป็นสิทธิที่จะเลือก อิสรภาพทางการเงินนั้น มอบโอกาสในการเลือกสิ่งที่จะทำให้เท่านั้น ไม่ได้กำหนดว่าต้องเลิกทำงานครับ

ขอให้ทุกท่านมีอิสรภาพในการเลือก และมีความสุขกับการลงทุนครับ
"In life and business, there are two cardinal sins ... The first is to act precipitously without thought, and the second is to not act at all.” – Carl Icahn
areliang
Verified User
โพสต์: 432
ผู้ติดตาม: 0

Re: อิสรภาพทางการเงิน และ อิสรภาพทางการงาน

โพสต์ที่ 18

โพสต์

Passive Income ถ้าสำหรับคนที่มีเงินมากแล้ว หรือ รายได้สูงๆ มันเป็นแค่ก้าวขยับต่อไปเพียงเล็กๆ

แต่ถ้าคนโดยทั่วไป มีเงินเก็บไม่มาก รายได้ไม่สูงเหลือเฟือ จะสร้าง passive income ง่ายๆได้ยังไง แล้วจะพ้นต่อความกดดันทางด้านการเงินได้ยังไง
โพสต์โพสต์