การลงทุนแบบดันโด
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 1
แนวคิดการลงทุนแบบดันโด (DHANDHO INVESTOR) แนวคิดแบบดันโด เป็นแนวคิดแบบ low risk high return ซึ่งจากการอ่านบทความต่างที่พูดถึงกัน และบังเอิญได้ทราบว่ามีบางท่านก็สนในในแนวนี้ ความจริงก็ดี แต่ขอให้ความเห็นในทางวิชาการด้านการเงินการลงทุน เพราะในความคิดผมแนวทางการลงทุน อย่างไรก็ยังต้องยึดหลัก high risk high return ส่วนแบบดันโดนั้นคือกรณีพิเศษที่ไม่ใช่หลัก เป็นเรื่องของโอกาสที่ไม่ใช่ได้กันทุกคน เหมือนการซื้อหวยทีคนได้รางวัลจะมีน้อยกว่าคนเสีย จึงไม่แน่ใจว่า แบบนั้นจะใช้เป็นหลักการสากลทั่วไปได้ไหม
หลักของ ดันโดมีอยู่ 9 แบบคือ
•ลงทุนในธุรกิจที่มีการดำเนินงานอยู่แล้ว
•ลงทุนในธุรกิจที่เรียบง่าย
•ลงทุนในธุรกิจที่มีปัญหาในอุตสาหกรรมซึ่งกำลังอยู่ในภาวะยากลำบาก
•ลงทุนในธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันที่ยั่งยืน
•เดิมพันน้อยอย่าง เดิมพันหนักๆ ไม่เดิมพันบ่อยๆ
•มองหาโอกาสทำอาร์บิทราจ
•มีส่วนเผื่อเพี่อความปลอดภัยเสมอ
•ลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำแต่มีความไม่แน่นอนสูง
•ลงทุนในพวกเลียนแบบ ไม่ใช่พวกสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
การลงทุนแบบดันโด (DHANDHO INVESTOR)
Mohnish Pabrai เป็นผู้เขียนครับ เป็นนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า( V I ) บริหารกองทุน Pabrai Investment Funds
บทสรุปจากบทความ มีข้อคิดเห็นบางประการดังนี้
1.ในทางทฤษฎีมีแต่ how risk high return แต่ low risk high return มีจริงหรือ หากพิจารณาวิธีทั้ง 9 แบบ คือลงทุนในธุรกิจที่มีการดำเนินงานอยู่แล้ว คือการลงทุนในธุรกิจที่เรียบง่าย การลงทุนในธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันที่ยั่งยืน สองวิธีนี้คือหลักการลงทุนพื้นฐานทั่วไป ซึ่งโดยหลักทั่วไปลักษณะธุรกิจเช่นนี้ในระยะยาวแล้วก็จะเป็นไปตามทฤษฎี คือ how risk high return เพราะท้ายที่สุดหากมีกำไรเกินปกติมากก็จะมีคนเข้าแข่งขันมาก เพราะเป็นการลงทุนธุรกิจที่เรียบง่าย จึงไม่ยากต่อการข้ามาของคู่แข่งใหม่ การเกิด low risk high return นั้นจะเกิดได้ในช่วงต้นวงจรธุรกิจเท่านั้น ระยะยาวก็จะเข้าสู่ normal frame ส่วนธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันที่ยั่งยืน มีได้เฉพาะ monopoly เท่านั้น และในโลกค้าเสรีมีแต่จะหายไป
2.สำหรับในธุรกิจที่มีปัญหาในอุตสาหกรรมซึ่งกำลังอยู่ในภาวะยากลำบากนั้น ก็คือการให้ลงทุนในธุรกิจตกต่ำ ปัญหาคือ ต้องมั่นใจว่าการ turn around นั้นเกิดได้จริง ในความเป็นจิงโดยเฉพาะในไทย หุ้มที่อยู่กลุ่ม Rehabco ยังไม่มีหุ้นใดที่กลับมาโดดเด่นได้เลย ได้เพียงแค่อยู่รอด ไม่ปิดหรือถอดจากการเป็น listed เท่านั้น การอยู่ในภาวะยากลำบากนั้น หากเกิดจากผู้บริหารชุดนั้น ทีมนั้น (กรรมการบอร์ด) หากยังเป็นคนเดิมๆ ก็ยังมองไม่เห็นว่าจะฟื้นได้อย่างไรอย่างมั่นคง เพราะไม่เช่นนั้นคงไม่พาบริษัทเข้าสู่ความยากลำบาก แต่ก็ใช่ว่าเปลี่ยนไม่ได แต่ในแง่การลงทุน low risk high return คงไม่ใช่ เพราะเรากำลัง bet หัวก้อย อยู่หรือเจ๊ง 50:50 นี่ยอมไม่ใช่ low risk เพราะ low risk คือ down side ไม่มีคำว่าเจ๊งหรือเจ๊า มีแต่ได้กับได้แต่ถ้าเกิดจากวงจรธุรกิจ ก็ต้องมั่นใจว่าวงจรนั้นเพียงแต่ลงชั่วคราว (Declining stage) กำลังจะเข้าสู่ช่วงกลับตัวและเป็น growth stage แต่อย่างนี้ก็คือหลักการลงทุนแบบ Top down approach อันเป็นหลักทั่วไปของการลงทุน
3.การเดิมพันน้อยอย่าง เดิมพันหนักๆ ไม่เดิมพันบ่อยๆ ข้อนี้เสี่ยงสูงแน่นอนเพราะไม่ใช่การกระจายความเสี่ยง หากการเดิมพันนั้นพลาด ผลลัพธ์คือหมดตัว ย้ำครับว่า low risk ต้องหมายถึงประกันได้ว่าการหมดตัวหรือเจ๊งต้องไม่มี หรือถ้าพูดถึง probability ต้องใกล้ 0 นั่นเอง หลักการลงทุน ที่เรียกว่า ลดความเสี่ยงลงได้ คือ การกระจายความเสี่ยง (diversification) จากการดูบทความและลักษณะการลงทุนแบบ ดันโด จะนิยามความเสี่ยงที่ไม่ตรงกับนิยามความเสี่ยงตามหลักการลงทุน หรือมองความเสี่ยงที่ไม่ถูกต้องตามหลักการลงทุนที่ใช้กันทั่วไปทางการเงิน วิธีการข้อนี้ไม่ต่างจากการเล่นพนัยในกาสิโน แทงและเล่นในเกมที่ถนัดและมั่นใจทีละมากๆ แต่จะมีกี่คนที่เดินออกจากกาสิโนแล้วร่ำรวย
4.มองหาโอกาสทำอาร์บิทราจ การทำ arbitrage คือการลงทุนในภาวะที่ตลาดเกิด miss information ราคาสินค้าเดียวกันแตกต่างกันในสองตลาด ในโลกปัจจุบันหายากขึ้นและภาวะเช่นนี้มักเกิดแล้วไม่อยู่นาน ซึ่งมองแล้วไม่ต่างกับการ speculative การเก็งกำ
5.ข้อนี้ดูขัดๆกับ ข้อที่ผ่านมา การมีส่วนเผื่อเพี่อความปลอดภัยเสมอแสดงว่าไม่ใช่การทุ่มหนักๆ หรือถ้าเห็นว่า down side risk ยังมีอยู่มากก็ยังไม่ลงทุน ซึ่งหลักการลงทุนทั่วไปก็ยึดเช่นนั้นอยู่แล้ว ส่วน up side gain จะมากหรือน้อย ขึ้นกับ expectation คนที่เข้าได้ก่อนย่อมได้เปรียบ นี่เป็นหลักทั่วไปอยู่แล้ว มีแต่หายากยิ่งในปัจจุบันแล้วยิ่งยาก
6.การลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำแต่มีความไม่แน่นอนสูง คำว่าไม่แน่นอนสูง คือ high risk ดังนั้น ความเสี่ยงต่ำแต่มีความไม่แน่นอนสูง จึงเป็นการพูดทำนอง มีแต่ไม่มี ดังที่เคยกล่าวไว้ในข้อ 3 ว่า นิยามความเสี่ยงของดันโดแปลกจากหลักการเงิน
7.การลงทุนในพวกเลียนแบบ ไม่ใช่พวกสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ดูๆแล้วขัดกับการลงทุนในธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันที่ยั่งยืน การทำธุรกิจเลียนแบบ ไม่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ จะแข่งขันได้ยั่งยืนอย่างไร สรุปแล้วควรเลือกแบบไหนถึงจะดี
หลักของ ดันโดมีอยู่ 9 แบบคือ
•ลงทุนในธุรกิจที่มีการดำเนินงานอยู่แล้ว
•ลงทุนในธุรกิจที่เรียบง่าย
•ลงทุนในธุรกิจที่มีปัญหาในอุตสาหกรรมซึ่งกำลังอยู่ในภาวะยากลำบาก
•ลงทุนในธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันที่ยั่งยืน
•เดิมพันน้อยอย่าง เดิมพันหนักๆ ไม่เดิมพันบ่อยๆ
•มองหาโอกาสทำอาร์บิทราจ
•มีส่วนเผื่อเพี่อความปลอดภัยเสมอ
•ลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำแต่มีความไม่แน่นอนสูง
•ลงทุนในพวกเลียนแบบ ไม่ใช่พวกสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
การลงทุนแบบดันโด (DHANDHO INVESTOR)
Mohnish Pabrai เป็นผู้เขียนครับ เป็นนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า( V I ) บริหารกองทุน Pabrai Investment Funds
บทสรุปจากบทความ มีข้อคิดเห็นบางประการดังนี้
1.ในทางทฤษฎีมีแต่ how risk high return แต่ low risk high return มีจริงหรือ หากพิจารณาวิธีทั้ง 9 แบบ คือลงทุนในธุรกิจที่มีการดำเนินงานอยู่แล้ว คือการลงทุนในธุรกิจที่เรียบง่าย การลงทุนในธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันที่ยั่งยืน สองวิธีนี้คือหลักการลงทุนพื้นฐานทั่วไป ซึ่งโดยหลักทั่วไปลักษณะธุรกิจเช่นนี้ในระยะยาวแล้วก็จะเป็นไปตามทฤษฎี คือ how risk high return เพราะท้ายที่สุดหากมีกำไรเกินปกติมากก็จะมีคนเข้าแข่งขันมาก เพราะเป็นการลงทุนธุรกิจที่เรียบง่าย จึงไม่ยากต่อการข้ามาของคู่แข่งใหม่ การเกิด low risk high return นั้นจะเกิดได้ในช่วงต้นวงจรธุรกิจเท่านั้น ระยะยาวก็จะเข้าสู่ normal frame ส่วนธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันที่ยั่งยืน มีได้เฉพาะ monopoly เท่านั้น และในโลกค้าเสรีมีแต่จะหายไป
2.สำหรับในธุรกิจที่มีปัญหาในอุตสาหกรรมซึ่งกำลังอยู่ในภาวะยากลำบากนั้น ก็คือการให้ลงทุนในธุรกิจตกต่ำ ปัญหาคือ ต้องมั่นใจว่าการ turn around นั้นเกิดได้จริง ในความเป็นจิงโดยเฉพาะในไทย หุ้มที่อยู่กลุ่ม Rehabco ยังไม่มีหุ้นใดที่กลับมาโดดเด่นได้เลย ได้เพียงแค่อยู่รอด ไม่ปิดหรือถอดจากการเป็น listed เท่านั้น การอยู่ในภาวะยากลำบากนั้น หากเกิดจากผู้บริหารชุดนั้น ทีมนั้น (กรรมการบอร์ด) หากยังเป็นคนเดิมๆ ก็ยังมองไม่เห็นว่าจะฟื้นได้อย่างไรอย่างมั่นคง เพราะไม่เช่นนั้นคงไม่พาบริษัทเข้าสู่ความยากลำบาก แต่ก็ใช่ว่าเปลี่ยนไม่ได แต่ในแง่การลงทุน low risk high return คงไม่ใช่ เพราะเรากำลัง bet หัวก้อย อยู่หรือเจ๊ง 50:50 นี่ยอมไม่ใช่ low risk เพราะ low risk คือ down side ไม่มีคำว่าเจ๊งหรือเจ๊า มีแต่ได้กับได้แต่ถ้าเกิดจากวงจรธุรกิจ ก็ต้องมั่นใจว่าวงจรนั้นเพียงแต่ลงชั่วคราว (Declining stage) กำลังจะเข้าสู่ช่วงกลับตัวและเป็น growth stage แต่อย่างนี้ก็คือหลักการลงทุนแบบ Top down approach อันเป็นหลักทั่วไปของการลงทุน
3.การเดิมพันน้อยอย่าง เดิมพันหนักๆ ไม่เดิมพันบ่อยๆ ข้อนี้เสี่ยงสูงแน่นอนเพราะไม่ใช่การกระจายความเสี่ยง หากการเดิมพันนั้นพลาด ผลลัพธ์คือหมดตัว ย้ำครับว่า low risk ต้องหมายถึงประกันได้ว่าการหมดตัวหรือเจ๊งต้องไม่มี หรือถ้าพูดถึง probability ต้องใกล้ 0 นั่นเอง หลักการลงทุน ที่เรียกว่า ลดความเสี่ยงลงได้ คือ การกระจายความเสี่ยง (diversification) จากการดูบทความและลักษณะการลงทุนแบบ ดันโด จะนิยามความเสี่ยงที่ไม่ตรงกับนิยามความเสี่ยงตามหลักการลงทุน หรือมองความเสี่ยงที่ไม่ถูกต้องตามหลักการลงทุนที่ใช้กันทั่วไปทางการเงิน วิธีการข้อนี้ไม่ต่างจากการเล่นพนัยในกาสิโน แทงและเล่นในเกมที่ถนัดและมั่นใจทีละมากๆ แต่จะมีกี่คนที่เดินออกจากกาสิโนแล้วร่ำรวย
4.มองหาโอกาสทำอาร์บิทราจ การทำ arbitrage คือการลงทุนในภาวะที่ตลาดเกิด miss information ราคาสินค้าเดียวกันแตกต่างกันในสองตลาด ในโลกปัจจุบันหายากขึ้นและภาวะเช่นนี้มักเกิดแล้วไม่อยู่นาน ซึ่งมองแล้วไม่ต่างกับการ speculative การเก็งกำ
5.ข้อนี้ดูขัดๆกับ ข้อที่ผ่านมา การมีส่วนเผื่อเพี่อความปลอดภัยเสมอแสดงว่าไม่ใช่การทุ่มหนักๆ หรือถ้าเห็นว่า down side risk ยังมีอยู่มากก็ยังไม่ลงทุน ซึ่งหลักการลงทุนทั่วไปก็ยึดเช่นนั้นอยู่แล้ว ส่วน up side gain จะมากหรือน้อย ขึ้นกับ expectation คนที่เข้าได้ก่อนย่อมได้เปรียบ นี่เป็นหลักทั่วไปอยู่แล้ว มีแต่หายากยิ่งในปัจจุบันแล้วยิ่งยาก
6.การลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำแต่มีความไม่แน่นอนสูง คำว่าไม่แน่นอนสูง คือ high risk ดังนั้น ความเสี่ยงต่ำแต่มีความไม่แน่นอนสูง จึงเป็นการพูดทำนอง มีแต่ไม่มี ดังที่เคยกล่าวไว้ในข้อ 3 ว่า นิยามความเสี่ยงของดันโดแปลกจากหลักการเงิน
7.การลงทุนในพวกเลียนแบบ ไม่ใช่พวกสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ดูๆแล้วขัดกับการลงทุนในธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันที่ยั่งยืน การทำธุรกิจเลียนแบบ ไม่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ จะแข่งขันได้ยั่งยืนอย่างไร สรุปแล้วควรเลือกแบบไหนถึงจะดี
- Financeseed
- Verified User
- โพสต์: 1304
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 2
ขอบคุณครับได้กลับไป ทบทวน
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 1
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 3
เพิ่งอ่านจบมาเช่นกัน ขอลองถกดูตามความเห็นนะครับ(ออกตัวก่อนนะครับว่าผมไม่มีความรู้ด้านการเงิน)
1.ผมว่ามันมีทั้ง high risk high return และ low risk high return นะครับ
ผมมองว่าการมี DCA หรือไม่มีกับ low risk high return มันต่างกันอยู่นะครับ
ถึง first comer ที่เข้ามาก่อนจะมีส่วนแบ่งลดลง แต่ก็ไม่ได้แปลว่า return จะต่ำ และ fast follower หรือ late comer ถึงจะต้องแย่งกินเค้กก็ไม่ได้แปลว่าจะ low return เหมือนกันนะครับ แต่อาจจะไม่มากเหมือนเมื่อก่อนที่ทำไม่กี่ราย
อย่างธุรกิจกวดวิชา ในกทม บางทีคนสอนมีแค่ตัวเปล่าไปสอน(นั่งสอนในร้านอาหารหรือใต้หอ) ไม่มีคนเรียนก็ไม่เจ็บตัว เพราะแทบไม่ลงทุนอะไรเลย หรืออาจจะลงแรงเป็นเก้าอี้ โต๊ะหรืออะไรก็ตามนิดๆหน่อยๆ(ถ้าไม่ได้เปิดใหญ่แบบ อ.อุ๊) เจ๊งขึ้นมาก็เจ็บตัวไม่มาก ผู้เล่นหน้าใหม่ๆก็มาเรื่อยๆ DCA อาจจะมีบ้าง แต่ barrier of entry แทบจะไม่มี ก็ยังมีหลายๆคนรวยจากการสอนพิเศษ แต่คนที่เจ๊งจากการสอนพิเศษผมว่าหายากนะ อันนี้ผมก็คิดว่าคือ low risk high return(return จะสูงหรือเปล่าอาจจะขึ้นกับตัวผู้สอนด้วยอ่านะครับ)
ซึ่งผมว่ามันมีทั้งสองอย่าง แต่เราต้องมองหา low risk high return ครับ เพราะอย่างที่คุณ sun_cisa2 บอกว่าถ้า time frame มันยาวขึ้นอะไรๆมันก็เปลี่ยนไปได้ บางทีมันอาจะเปลี่ยนเป็น high risk low retrun เลยก็ได้
ผมว่า risk VS retrun ขึ้นอยู่กับลักษณะธุรกิจ ไม่คิดว่าแปรผันตามกันครับ
2. เห็นด้วยว่าต้องคิดว่ามีโอกาส turn around กลับมาครับ
แต่ไม่เห็นด้วยตรงที่คิดว่าเข้าไปซื้อกิจการเหมือน bet ว่าฟื้นไม่ฟื้น 50:50 เพราะโอกาสเกิดไม่เท่ากันและความเสียหายก็ไม่เท่ากันด้วยครับ บางทีโอกาสไม่ฟื้นมัน 80% แต่ความเสียหายอาจจะไม่มากกว่าที่ซื้อมาแล้วก็ได้ แต่โอกาสฟื้นแค่ 20% แต่กำไรอาจจะ 4-5 เท่าอันนี้ก็น่าคิดครับ ต่อให้โอกาสฟื้น 50% ผมก็ไม่คิดว่าความเสียหายเท่ากันครับ ถ้าเจ๊งแล้วเป็น 0 แต่กำไรแล้วแค่ 20% อันนี้ไม่น่าลงทุนแน่นอน
ผมว่าควรจะใช้ความน่าจะเป็นหรือจะใช้ kellyตามดันโดคิดก็ได้ครับ
อีกอย่างผมว่าสองคนยลตามช่องครับ ปัญหาที่คนนึงมองไม่เห็นแก้ไม่ได้ ไม่เท่ากับปัญหาที่แก้ไม่ได้ครับ
3. ผมกลับเห็นด้วยกลับหลักการนี้นะครับ เพราะผมว่าไม่ว่าหุ้นตัวไหนก็มีโอกาสเจ๊งอยู่ในตัว อย่าง CPALL พรุ่งนี้อาจจะถูกยกเลิก license หรือ CPN อาจจะถูกวางระเบิดพร้อมกันทุกสาขา แต่เข้าใกล้ 0 มากๆ อาจจะ 1 ในล้านหรือ 1 ใน 100 ล้านอย่างที่ จขกท ว่า
ถ้าโอกาสกำไรมหาศาลแต่ความเสี่ยงต่ำมากๆๆๆๆๆ ถ้าไม่ทุ่่มกับการลงทุนแบบนี้ ผมยังสงสัยเลยว่าจะให้ลงทุนใน condition แบบไหนครับ
บัฟเฟตเห็นต่างกับเกรแฮมในเรื่องการกระจายความเสี่ยง บัฟเฟตมองว่าถ้าเจอบริษัทชั้นยอดปัญหาคือจะซื้อได้มากแค่ไหน
ผมคงไม่ได้บอกว่าวิธีการกระจายความเสี่ยงหรือ focus ถูกหรือผิด เกรแฮมกระจาย บัฟเฟต focus ดร.นิเวศให้กระจายสัก 5 ตัว lynch ก็ให้สัก 5 ตัว ผมว่าสองคนยลตามช่องนะ
แต่ถ้าใน 2 ปีโอกาสได้กำไร 4 เท่า 80%
กำไร 2 เท่า 10%
โอกาสเท่าทุน 9%
และเจ๊งหมดตัว 1%
อยากลงทุนมากน้อยแค่ไหนครับ
ผมว่าไม่มีคำตอบที่ถูกสำหรับทุกคนครับ อต่มีคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับทุกคนแน่นอนครับ
4. ทำ arbritage ผมมองว่าดันโดให้มองหาเป็นอาวุธเสริมนะครับ ได้ก็ดีไม่ได้ก็ช่างมันครับ
5. ผมว่ามี MOS เยอะๆก็ต้องทุ่มหนักๆสิครับ MOS ครอบคลุมถึง downside risk อยู่แล้วครับ แต่คงไม่ 100% ถึงขนาดไม่มีโอกาสเจ๊ง แต่ถ้า MOS เยอะแต่ upside ไม่เยอะมากก็อาจจะพิจารณาอัตราส่วนการลงทุนตามต่ละคนครับ
6. ผมว่าความไม่แน่นอนสูงไม่ใช่ high risk นะครับ
ก็เหมือนผมเปิด รร กวดวิชา จะมีคนเข้าเรียนหรือเปล่าไม่รู้ อาจจะไม่มี มีน้อย หรือมากจนต้องเปิด รร เพิ่ม อันนี้มีคำตอบหลายทาง โอกาสเป็นไปได้มากทุกทาง ก็คือไม่แน่นอน แต่ถ้าไม่มีคนเรียนโอกาสจะเจ๊งแล้วเจ็บตัวน้อยครับ เพราะไม่ได้ลงทุนอะไรมาก อันนี้ผมมองว่าความเสี่ยงต่ำความไม่แน่นอนสูงนะครับ
โดนส่วนตัวมองว่าความไม่แน่นอนก็คือความไม่แน่นอนครับ ความเสี่ยงก็คือความเสี่ยง
7. ผมมองว่าสมัยนี้ C&D(copy & development) ทำได้ง่ายกว่า R&D แล้วนะครับ(research & development) ยุคที่ coca-cola หรือน้ำหอม chanel จะไม่มีใครรู้สูตรหรือเลียนแบบได้มันหมดไปแล้ว
การวิจัยต้องใช้เงินและทรัพยากรมหาศาล แถมไม่ได้การันตีโอกาสสำเร็จ(ซึ่งถ้าไม่สำเร็จก็คือเสียเวลาเปล่า) แต่ไม่ใช่จะไม่ทำซะเลย
แต่ถ้าบริษัทหนึ่งออก product ใหม่ๆออกมา การ C&D แล้วออกมาแข่งเพื่อรักษาสภาวะการแข่งขันก็ต้องทำครับ
บริษัทที่มี DCA สูงไม่ใช่ว่าจะผลิต product R&D ได้ทุกครั้ง แต่อาจจะมี R&D แล้วได้รับการปกป้อง เช่น สิทธิบัตรหรือเลียนแบบยาก
ผมว่า R&D และ C&D ต้องควบคู่กันไป เพียงแต่ดันโดบอกว่า R&D ไม่ได้สำเร็จทุกครั้งไป แต่ C&D ทำแล้วสำเร็จทุกครั้งครับ(ซึ่งผมก็เห็นด้วยนะ)
โดยส่วนมากผมเห็นด้วยกับดันโดนะครับ
ผมมองว่าหลักการลงทุนมันต่างกันได้ไม่มีใครผิดใครถูกหรอกครับ
เห็นต่างอย่างไรลองมาถกกันดูนะครับ
1.ผมว่ามันมีทั้ง high risk high return และ low risk high return นะครับ
ผมมองว่าการมี DCA หรือไม่มีกับ low risk high return มันต่างกันอยู่นะครับ
ถึง first comer ที่เข้ามาก่อนจะมีส่วนแบ่งลดลง แต่ก็ไม่ได้แปลว่า return จะต่ำ และ fast follower หรือ late comer ถึงจะต้องแย่งกินเค้กก็ไม่ได้แปลว่าจะ low return เหมือนกันนะครับ แต่อาจจะไม่มากเหมือนเมื่อก่อนที่ทำไม่กี่ราย
อย่างธุรกิจกวดวิชา ในกทม บางทีคนสอนมีแค่ตัวเปล่าไปสอน(นั่งสอนในร้านอาหารหรือใต้หอ) ไม่มีคนเรียนก็ไม่เจ็บตัว เพราะแทบไม่ลงทุนอะไรเลย หรืออาจจะลงแรงเป็นเก้าอี้ โต๊ะหรืออะไรก็ตามนิดๆหน่อยๆ(ถ้าไม่ได้เปิดใหญ่แบบ อ.อุ๊) เจ๊งขึ้นมาก็เจ็บตัวไม่มาก ผู้เล่นหน้าใหม่ๆก็มาเรื่อยๆ DCA อาจจะมีบ้าง แต่ barrier of entry แทบจะไม่มี ก็ยังมีหลายๆคนรวยจากการสอนพิเศษ แต่คนที่เจ๊งจากการสอนพิเศษผมว่าหายากนะ อันนี้ผมก็คิดว่าคือ low risk high return(return จะสูงหรือเปล่าอาจจะขึ้นกับตัวผู้สอนด้วยอ่านะครับ)
ซึ่งผมว่ามันมีทั้งสองอย่าง แต่เราต้องมองหา low risk high return ครับ เพราะอย่างที่คุณ sun_cisa2 บอกว่าถ้า time frame มันยาวขึ้นอะไรๆมันก็เปลี่ยนไปได้ บางทีมันอาจะเปลี่ยนเป็น high risk low retrun เลยก็ได้
ผมว่า risk VS retrun ขึ้นอยู่กับลักษณะธุรกิจ ไม่คิดว่าแปรผันตามกันครับ
2. เห็นด้วยว่าต้องคิดว่ามีโอกาส turn around กลับมาครับ
แต่ไม่เห็นด้วยตรงที่คิดว่าเข้าไปซื้อกิจการเหมือน bet ว่าฟื้นไม่ฟื้น 50:50 เพราะโอกาสเกิดไม่เท่ากันและความเสียหายก็ไม่เท่ากันด้วยครับ บางทีโอกาสไม่ฟื้นมัน 80% แต่ความเสียหายอาจจะไม่มากกว่าที่ซื้อมาแล้วก็ได้ แต่โอกาสฟื้นแค่ 20% แต่กำไรอาจจะ 4-5 เท่าอันนี้ก็น่าคิดครับ ต่อให้โอกาสฟื้น 50% ผมก็ไม่คิดว่าความเสียหายเท่ากันครับ ถ้าเจ๊งแล้วเป็น 0 แต่กำไรแล้วแค่ 20% อันนี้ไม่น่าลงทุนแน่นอน
ผมว่าควรจะใช้ความน่าจะเป็นหรือจะใช้ kellyตามดันโดคิดก็ได้ครับ
อีกอย่างผมว่าสองคนยลตามช่องครับ ปัญหาที่คนนึงมองไม่เห็นแก้ไม่ได้ ไม่เท่ากับปัญหาที่แก้ไม่ได้ครับ
3. ผมกลับเห็นด้วยกลับหลักการนี้นะครับ เพราะผมว่าไม่ว่าหุ้นตัวไหนก็มีโอกาสเจ๊งอยู่ในตัว อย่าง CPALL พรุ่งนี้อาจจะถูกยกเลิก license หรือ CPN อาจจะถูกวางระเบิดพร้อมกันทุกสาขา แต่เข้าใกล้ 0 มากๆ อาจจะ 1 ในล้านหรือ 1 ใน 100 ล้านอย่างที่ จขกท ว่า
ถ้าโอกาสกำไรมหาศาลแต่ความเสี่ยงต่ำมากๆๆๆๆๆ ถ้าไม่ทุ่่มกับการลงทุนแบบนี้ ผมยังสงสัยเลยว่าจะให้ลงทุนใน condition แบบไหนครับ
บัฟเฟตเห็นต่างกับเกรแฮมในเรื่องการกระจายความเสี่ยง บัฟเฟตมองว่าถ้าเจอบริษัทชั้นยอดปัญหาคือจะซื้อได้มากแค่ไหน
ผมคงไม่ได้บอกว่าวิธีการกระจายความเสี่ยงหรือ focus ถูกหรือผิด เกรแฮมกระจาย บัฟเฟต focus ดร.นิเวศให้กระจายสัก 5 ตัว lynch ก็ให้สัก 5 ตัว ผมว่าสองคนยลตามช่องนะ
แต่ถ้าใน 2 ปีโอกาสได้กำไร 4 เท่า 80%
กำไร 2 เท่า 10%
โอกาสเท่าทุน 9%
และเจ๊งหมดตัว 1%
อยากลงทุนมากน้อยแค่ไหนครับ
ผมว่าไม่มีคำตอบที่ถูกสำหรับทุกคนครับ อต่มีคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับทุกคนแน่นอนครับ
4. ทำ arbritage ผมมองว่าดันโดให้มองหาเป็นอาวุธเสริมนะครับ ได้ก็ดีไม่ได้ก็ช่างมันครับ
5. ผมว่ามี MOS เยอะๆก็ต้องทุ่มหนักๆสิครับ MOS ครอบคลุมถึง downside risk อยู่แล้วครับ แต่คงไม่ 100% ถึงขนาดไม่มีโอกาสเจ๊ง แต่ถ้า MOS เยอะแต่ upside ไม่เยอะมากก็อาจจะพิจารณาอัตราส่วนการลงทุนตามต่ละคนครับ
6. ผมว่าความไม่แน่นอนสูงไม่ใช่ high risk นะครับ
ก็เหมือนผมเปิด รร กวดวิชา จะมีคนเข้าเรียนหรือเปล่าไม่รู้ อาจจะไม่มี มีน้อย หรือมากจนต้องเปิด รร เพิ่ม อันนี้มีคำตอบหลายทาง โอกาสเป็นไปได้มากทุกทาง ก็คือไม่แน่นอน แต่ถ้าไม่มีคนเรียนโอกาสจะเจ๊งแล้วเจ็บตัวน้อยครับ เพราะไม่ได้ลงทุนอะไรมาก อันนี้ผมมองว่าความเสี่ยงต่ำความไม่แน่นอนสูงนะครับ
โดนส่วนตัวมองว่าความไม่แน่นอนก็คือความไม่แน่นอนครับ ความเสี่ยงก็คือความเสี่ยง
7. ผมมองว่าสมัยนี้ C&D(copy & development) ทำได้ง่ายกว่า R&D แล้วนะครับ(research & development) ยุคที่ coca-cola หรือน้ำหอม chanel จะไม่มีใครรู้สูตรหรือเลียนแบบได้มันหมดไปแล้ว
การวิจัยต้องใช้เงินและทรัพยากรมหาศาล แถมไม่ได้การันตีโอกาสสำเร็จ(ซึ่งถ้าไม่สำเร็จก็คือเสียเวลาเปล่า) แต่ไม่ใช่จะไม่ทำซะเลย
แต่ถ้าบริษัทหนึ่งออก product ใหม่ๆออกมา การ C&D แล้วออกมาแข่งเพื่อรักษาสภาวะการแข่งขันก็ต้องทำครับ
บริษัทที่มี DCA สูงไม่ใช่ว่าจะผลิต product R&D ได้ทุกครั้ง แต่อาจจะมี R&D แล้วได้รับการปกป้อง เช่น สิทธิบัตรหรือเลียนแบบยาก
ผมว่า R&D และ C&D ต้องควบคู่กันไป เพียงแต่ดันโดบอกว่า R&D ไม่ได้สำเร็จทุกครั้งไป แต่ C&D ทำแล้วสำเร็จทุกครั้งครับ(ซึ่งผมก็เห็นด้วยนะ)
โดยส่วนมากผมเห็นด้วยกับดันโดนะครับ
ผมมองว่าหลักการลงทุนมันต่างกันได้ไม่มีใครผิดใครถูกหรอกครับ
เห็นต่างอย่างไรลองมาถกกันดูนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 4
ถกกันยาวครับ ไว้มีเวลาจะขยายเป็นข้อๆ แต่อย่างแรกที่สังเกตเห็น (นักลงทุนมากมาย) โดยเฉพาะคนที่อยากเป็น VI จริงๆนั้น บางทีก็พบว่าชอบบอกว่าลงทุนอย่างมีหลักการ คำถามคือหลักการที่ว่าคืออะไร มีหลักทางวิชาการ ทฤษฎีหนุนหรือไม่ ที่กล่าวนี้ไม่ได้หมายความว่าลงทุนตามทฤษฎีอย่างเดียว แต่ทุกเรื่องที่คิดต้องไม่ขัดแย้งกันเองใน logic ที่ยอมรับในเชิงวิชาการ เหมือนบัญชีแหละครับ ทุกอย่างมันมีที่มาที่ไป อธิบายได้ ไม่ใช่แค่คิดเอาเอง สรุปเอาเองในวงแคบๆ ถ้าเอาหลักทางการเงิน strategic management หลักเศรษฐศาสตร์ สถิติ หลักการตลาดมาจับ จะพบว่าดันโดเองบางเรื่องแย้งตัวเอง บางเรื่องอธิบายไม่ได้ทางวิชาการ การแสวงหาหุ้นที่ได้ผลตอบแทนที่ outstanding ตลาด หรือทางทฤษฎีเรียกว่า abmormal return นั้นทำได้ แต่ไม่สามารถได้ด้วยหลักวิธีนั้นทุกคน เหมือนกับคนเล่นหวย ผมเคยเจอบางคน ขูดถูท้องคางคก หาเลข ถูกติดๆกันมากกว่า สิบงวด ถามว่าคนอื่นทำตามแล้วได้ไหม ไม่ได้ทุกคนครับ ที่ถูกตรงๆน้อยมาก แต่ก็มี แปลกไหม แนวดันโดนั้นไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ แต่ผมเห็นว่าไม่ใช่วิธีการที่จะยึดเป็นแนวหลักการได้ ทั้งหมดใช้ต้องระวังและรู้ทางการลงทุนจริงๆ คนที่รู้ไม่ลึกทำแล้วมีโอกาสเสียมากกว่าได้ครับ ในทางประยุกต์จริงๆแล้ว แนวดันโด ต้องการบอกว่าวิธีหาหุ้นให้ได้ผลตอบแทนสูงๆ คือหาหุ้นราคาต่ำผิดปกติ (เราจะรู้กันอย่างแท้จริงไหม) PBV ต่ำๆ ไม่ใช่หุ้นถูกเสมอ อันนีต้องรู้เรื่องบัญชีด้วยแน่นอนไม่อย่างนั้นก็เหมือน random หา ตาดีได้ตาร้ายเสีย สิบคนก็มองไม่เหมือนกันnasunap เขียน:เพิ่งอ่านจบมาเช่นกัน ขอลองถกดูตามความเห็นนะครับ(ออกตัวก่อนนะครับว่าผมไม่มีความรู้ด้านการเงิน)
1.ผมว่ามันมีทั้ง high risk high return และ low risk high return นะครับ
ผมมองว่าการมี DCA หรือไม่มีกับ low risk high return มันต่างกันอยู่นะครับ
ถึง first comer ที่เข้ามาก่อนจะมีส่วนแบ่งลดลง แต่ก็ไม่ได้แปลว่า return จะต่ำ และ fast follower หรือ late comer ถึงจะต้องแย่งกินเค้กก็ไม่ได้แปลว่าจะ low return เหมือนกันนะครับ แต่อาจจะไม่มากเหมือนเมื่อก่อนที่ทำไม่กี่ราย
อย่างธุรกิจกวดวิชา ในกทม บางทีคนสอนมีแค่ตัวเปล่าไปสอน(นั่งสอนในร้านอาหารหรือใต้หอ) ไม่มีคนเรียนก็ไม่เจ็บตัว เพราะแทบไม่ลงทุนอะไรเลย หรืออาจจะลงแรงเป็นเก้าอี้ โต๊ะหรืออะไรก็ตามนิดๆหน่อยๆ(ถ้าไม่ได้เปิดใหญ่แบบ อ.อุ๊) เจ๊งขึ้นมาก็เจ็บตัวไม่มาก ผู้เล่นหน้าใหม่ๆก็มาเรื่อยๆ DCA อาจจะมีบ้าง แต่ barrier of entry แทบจะไม่มี ก็ยังมีหลายๆคนรวยจากการสอนพิเศษ แต่คนที่เจ๊งจากการสอนพิเศษผมว่าหายากนะ อันนี้ผมก็คิดว่าคือ low risk high return(return จะสูงหรือเปล่าอาจจะขึ้นกับตัวผู้สอนด้วยอ่านะครับ)
ซึ่งผมว่ามันมีทั้งสองอย่าง แต่เราต้องมองหา low risk high return ครับ เพราะอย่างที่คุณ sun_cisa2 บอกว่าถ้า time frame มันยาวขึ้นอะไรๆมันก็เปลี่ยนไปได้ บางทีมันอาจะเปลี่ยนเป็น high risk low retrun เลยก็ได้
ผมว่า risk VS retrun ขึ้นอยู่กับลักษณะธุรกิจ ไม่คิดว่าแปรผันตามกันครับ
2. เห็นด้วยว่าต้องคิดว่ามีโอกาส turn around กลับมาครับ
แต่ไม่เห็นด้วยตรงที่คิดว่าเข้าไปซื้อกิจการเหมือน bet ว่าฟื้นไม่ฟื้น 50:50 เพราะโอกาสเกิดไม่เท่ากันและความเสียหายก็ไม่เท่ากันด้วยครับ บางทีโอกาสไม่ฟื้นมัน 80% แต่ความเสียหายอาจจะไม่มากกว่าที่ซื้อมาแล้วก็ได้ แต่โอกาสฟื้นแค่ 20% แต่กำไรอาจจะ 4-5 เท่าอันนี้ก็น่าคิดครับ ต่อให้โอกาสฟื้น 50% ผมก็ไม่คิดว่าความเสียหายเท่ากันครับ ถ้าเจ๊งแล้วเป็น 0 แต่กำไรแล้วแค่ 20% อันนี้ไม่น่าลงทุนแน่นอน
ผมว่าควรจะใช้ความน่าจะเป็นหรือจะใช้ kellyตามดันโดคิดก็ได้ครับ
อีกอย่างผมว่าสองคนยลตามช่องครับ ปัญหาที่คนนึงมองไม่เห็นแก้ไม่ได้ ไม่เท่ากับปัญหาที่แก้ไม่ได้ครับ
3. ผมกลับเห็นด้วยกลับหลักการนี้นะครับ เพราะผมว่าไม่ว่าหุ้นตัวไหนก็มีโอกาสเจ๊งอยู่ในตัว อย่าง CPALL พรุ่งนี้อาจจะถูกยกเลิก license หรือ CPN อาจจะถูกวางระเบิดพร้อมกันทุกสาขา แต่เข้าใกล้ 0 มากๆ อาจจะ 1 ในล้านหรือ 1 ใน 100 ล้านอย่างที่ จขกท ว่า
ถ้าโอกาสกำไรมหาศาลแต่ความเสี่ยงต่ำมากๆๆๆๆๆ ถ้าไม่ทุ่่มกับการลงทุนแบบนี้ ผมยังสงสัยเลยว่าจะให้ลงทุนใน condition แบบไหนครับ
บัฟเฟตเห็นต่างกับเกรแฮมในเรื่องการกระจายความเสี่ยง บัฟเฟตมองว่าถ้าเจอบริษัทชั้นยอดปัญหาคือจะซื้อได้มากแค่ไหน
ผมคงไม่ได้บอกว่าวิธีการกระจายความเสี่ยงหรือ focus ถูกหรือผิด เกรแฮมกระจาย บัฟเฟต focus ดร.นิเวศให้กระจายสัก 5 ตัว lynch ก็ให้สัก 5 ตัว ผมว่าสองคนยลตามช่องนะ
แต่ถ้าใน 2 ปีโอกาสได้กำไร 4 เท่า 80%
กำไร 2 เท่า 10%
โอกาสเท่าทุน 9%
และเจ๊งหมดตัว 1%
อยากลงทุนมากน้อยแค่ไหนครับ
ผมว่าไม่มีคำตอบที่ถูกสำหรับทุกคนครับ อต่มีคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับทุกคนแน่นอนครับ
4. ทำ arbritage ผมมองว่าดันโดให้มองหาเป็นอาวุธเสริมนะครับ ได้ก็ดีไม่ได้ก็ช่างมันครับ
5. ผมว่ามี MOS เยอะๆก็ต้องทุ่มหนักๆสิครับ MOS ครอบคลุมถึง downside risk อยู่แล้วครับ แต่คงไม่ 100% ถึงขนาดไม่มีโอกาสเจ๊ง แต่ถ้า MOS เยอะแต่ upside ไม่เยอะมากก็อาจจะพิจารณาอัตราส่วนการลงทุนตามต่ละคนครับ
6. ผมว่าความไม่แน่นอนสูงไม่ใช่ high risk นะครับ
ก็เหมือนผมเปิด รร กวดวิชา จะมีคนเข้าเรียนหรือเปล่าไม่รู้ อาจจะไม่มี มีน้อย หรือมากจนต้องเปิด รร เพิ่ม อันนี้มีคำตอบหลายทาง โอกาสเป็นไปได้มากทุกทาง ก็คือไม่แน่นอน แต่ถ้าไม่มีคนเรียนโอกาสจะเจ๊งแล้วเจ็บตัวน้อยครับ เพราะไม่ได้ลงทุนอะไรมาก อันนี้ผมมองว่าความเสี่ยงต่ำความไม่แน่นอนสูงนะครับ
โดนส่วนตัวมองว่าความไม่แน่นอนก็คือความไม่แน่นอนครับ ความเสี่ยงก็คือความเสี่ยง
7. ผมมองว่าสมัยนี้ C&D(copy & development) ทำได้ง่ายกว่า R&D แล้วนะครับ(research & development) ยุคที่ coca-cola หรือน้ำหอม chanel จะไม่มีใครรู้สูตรหรือเลียนแบบได้มันหมดไปแล้ว
การวิจัยต้องใช้เงินและทรัพยากรมหาศาล แถมไม่ได้การันตีโอกาสสำเร็จ(ซึ่งถ้าไม่สำเร็จก็คือเสียเวลาเปล่า) แต่ไม่ใช่จะไม่ทำซะเลย
แต่ถ้าบริษัทหนึ่งออก product ใหม่ๆออกมา การ C&D แล้วออกมาแข่งเพื่อรักษาสภาวะการแข่งขันก็ต้องทำครับ
บริษัทที่มี DCA สูงไม่ใช่ว่าจะผลิต product R&D ได้ทุกครั้ง แต่อาจจะมี R&D แล้วได้รับการปกป้อง เช่น สิทธิบัตรหรือเลียนแบบยาก
ผมว่า R&D และ C&D ต้องควบคู่กันไป เพียงแต่ดันโดบอกว่า R&D ไม่ได้สำเร็จทุกครั้งไป แต่ C&D ทำแล้วสำเร็จทุกครั้งครับ(ซึ่งผมก็เห็นด้วยนะ)
โดยส่วนมากผมเห็นด้วยกับดันโดนะครับ
ผมมองว่าหลักการลงทุนมันต่างกันได้ไม่มีใครผิดใครถูกหรอกครับ
เห็นต่างอย่างไรลองมาถกกันดูนะครับ
และที่คุณบอกว่า ความไม่แน่นอนสูงไม่ใช่ high risk อันนี้ผิดร้อยเปอร์เซ็น ความไม่แน่นอนสูงคืออะไร ผมว่าคุณเองก็คงให้นิยามที่ไม่ชัดเจน โยนหัวก้อย กับทายเลขไพ่สำรับหนึ่ง อันไหนเสี่ยงมากกว่า ความเสี่ยงง่ายๆ คือความไม่แน่นอนหรือโอกาสที่จะได้ผลทีคาดหวัง โยนเหรียญมีโอกาสทายถูกมากกว่า เพราะความไม่แน่นอนที่จะออกด้านใดด้านหนึ่งคือ 50% แต่การทายไพ่สำรับหนึง มีโอกาสทายถูกเพียง 1 ใน 52 หรือความไม่แน่นอนสูงนั่นเอง เรื่องความเสี่ยงนี้ให้ไปอ่านด้านการเงิน การลงทุนมากๆ รวมทั้งสถิติด้วย เพราะไม่เช่นนั้น paradimg คนละทางครับ เอาเท่านี้เดี๋ยวเรื่องอื่นๆ จะทยอยตอบให้ครับ แต่ขอย้ำครับว่า การหาหุ้นที่ให้ abnormal return นั้นมีทางทำได้ เพียงแต่หลักการของดันโดต้องเป็นคนที่มีความรู้ความเข้าใจในการลงทุนดีแล้ว ทั่วๆไปจะใช้ต้องระวังมากๆ เท่านั้น
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2603
- ผู้ติดตาม: 1
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 5
ขอบคุณอาจารย์มากครับ ผมรู้จักการลงทุนเเบบดันโดครั้งเเรก จากหนังสือน"นักลงทุนดันโด"ที่เขียนโดยMohnish Pabrai เเปลโดยพี่Web ผมยกให้หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือการลงทุนที่ดีที่สุดที่เคยอ่านมาครับ
สิ่งที่อยากมาเเลกเปลี่ยนกับอาจารย์คือ ผมอยากถามความเห็นของอาจารย์เกี่ยวกับ"การขายหุ้นเเบบดันโด" ผมอ่านจากบทที่ 15 "สถานการณ์คับขันของอภิมันยุ-ศิลปะในการขายหุ้น"เค้าเปรียบเทียบการซื้อหุนเหมือนการออกศึกในมหาภาระตะ
หัวข้อ"การออกจากจักรพยุหะ"...เค้าบอกว่า"เมื่อไรก็ตามราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าที่เเท้จริงไม่ถึง 10% คุณสามารถขายหุ้นออกไปได้เเละเมื่อไรก็ตามราคารตลาดสูงกว่ามูลค่าที่เเท้จริงคุณต้องขายหุ้นออกไป"
ตรงนี้จะต่างกับหลักการขายหุ้นของVI สำนักBuffettที่บอกว่าถ้าพื้นฐานกิจการไม่เปลี่ยนในทางที่เเย่ลงก็ไม่มีวันขาย
มาดูวิธีการขายหุ้นของDhadhoต่อนะครับ...ถ้าคำนวณมูลค่าเหมาะสมอย่างดีเเละซื้อหุ้นมาเเล้วราคาตกจะทำอย่างไร?
จะไม่ขายหุ้นขาดทุน(ตัดขาดทุน)ถ้ายังถือมาไม่ถึง"2-3ปี" เพราะเราต้องให้เวลากับการผลิดอกออกผลของโครงการใหม่ๆ ..
ตรงนี้เค้าเอาเงื่อนไขเวลามาจับ...เเต่เค้าก็ลิมิตไว้เเค่2-3ปี เพราะการรอคอยให้"ราคาหุ้นมาบรรจบกับมูลค่า"ต้องมีวันสิ้นสุด
ขอบคุณอาจารย์ล่วงหน้ามากๆครับ
สิ่งที่อยากมาเเลกเปลี่ยนกับอาจารย์คือ ผมอยากถามความเห็นของอาจารย์เกี่ยวกับ"การขายหุ้นเเบบดันโด" ผมอ่านจากบทที่ 15 "สถานการณ์คับขันของอภิมันยุ-ศิลปะในการขายหุ้น"เค้าเปรียบเทียบการซื้อหุนเหมือนการออกศึกในมหาภาระตะ
หัวข้อ"การออกจากจักรพยุหะ"...เค้าบอกว่า"เมื่อไรก็ตามราคาตลาดต่ำกว่ามูลค่าที่เเท้จริงไม่ถึง 10% คุณสามารถขายหุ้นออกไปได้เเละเมื่อไรก็ตามราคารตลาดสูงกว่ามูลค่าที่เเท้จริงคุณต้องขายหุ้นออกไป"
ตรงนี้จะต่างกับหลักการขายหุ้นของVI สำนักBuffettที่บอกว่าถ้าพื้นฐานกิจการไม่เปลี่ยนในทางที่เเย่ลงก็ไม่มีวันขาย
มาดูวิธีการขายหุ้นของDhadhoต่อนะครับ...ถ้าคำนวณมูลค่าเหมาะสมอย่างดีเเละซื้อหุ้นมาเเล้วราคาตกจะทำอย่างไร?
จะไม่ขายหุ้นขาดทุน(ตัดขาดทุน)ถ้ายังถือมาไม่ถึง"2-3ปี" เพราะเราต้องให้เวลากับการผลิดอกออกผลของโครงการใหม่ๆ ..
ตรงนี้เค้าเอาเงื่อนไขเวลามาจับ...เเต่เค้าก็ลิมิตไว้เเค่2-3ปี เพราะการรอคอยให้"ราคาหุ้นมาบรรจบกับมูลค่า"ต้องมีวันสิ้นสุด
ขอบคุณอาจารย์ล่วงหน้ามากๆครับ
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 6
ทฤษฎีการลงทุน Investment Theory เกิดขึ้นหลายทศวรรษมาแล้ว หลังจากที่นักลงทุนส่วนใหญ่อาศัยเทคนิคส่วนตัวในการ Trade หุ้นโดยไม่มีหลักการมากนัก ทฤษฎีต่่างๆ ตั้งแต่ Portfolio Thory ของ Markowitz มาถึง CAPM มาถึง Arbitrage Pricing Thory และ Efficient Market Hypothesis ล้วนมี Mathematical models ที่เป็นสมการทางคณิตศาสตร์และสถิติชั้นสูงรองรับ ผ่านการศึกษาวิจัยด้วยการเก็บข้อมูลจริง (Empirical research) เพื่อยอมรับหรือปฎิเสธข้อสมมุติฐานที่ตั้งขึ้น (Accept or reject the hypothesis) และมีการพัฒนาต่อเนื่ิองจนเป็นที่ยอมรับและสามารถนำมาใช้จริงในโลกการเงิน
ทฤษฎีเหล่านี้มีประโยชน์มากต่อนักลงทุนสถาบัน (Institution Investors) ที่ต้องรับผิดชอบกับเงินของมหาชน โดยเน้นผลตอบแทนที่ไม่หวือหวา ซึ่งกำหนดจากความเสี่ยงที่ยอมรับได้ การลงทุนลักษณะนี้มีหลักการว่า ผลตอบแทนสะสมที่สม่ำเสมอในระยะยาวจะดีกว่าผลตอบแทนมากๆ เป็นครั้งคราว ซึ่งอาจไม่สม่ำเสมอ ไม่คุ้มกับอัตราความเสี่ยงที่ต้องยอมรับ
แต่ "เทคนิค" การลงทุนที่แตกยอดออกจาก "ทฤษฎี" นั้นเป็นเรื่องที่อิงกับความสามารถส่วนบุคคล นักลงทุนบางคนพัฒนา "สันชาตญาน" ในการลงทุนจากประสบการณ์และข้อมูลที่มีอยู่ จนสามารถ beat ตลาดได้ในหลายๆ คราว แต่ที่ผ่านมา ข้อเท็จจริงที่ปรากฎคือ แม้แต่เซียนก็ยังไม่สามารถ beat ตลาดได้ทุกคราว และอาจพลาดครั้งใหญ่จนติดคุกติดตะรางมาแล้ว (เพราะเอาเงินคนอื่นมาเล่น) Nick Leeson ถือเป็นตัวอย่างอันดีในเรื่องนี้
ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นที่จะนำเรื่องหลักการตามทฤษฎี มาเป็นประเด็นกับเทคนิคการเล่นหุ้น เนื่องจากการเล่นหุ้นเป็นเรื่องความชอบส่วนบุคคล แถมเงินก็ยังเป็นเงินส่วนตัว ใครชอบความเสี่ยงลักษณะไหน ก็เลือกเทคนิคการลงทุนในลักษณะนั้น คนที่ชอบเสี่ยง (Risk lovers) และหวังจะทุบสถิติกำไรที่ทำได้ อาจเลือกลงทุนโดยไม่อิงกับทฤษฎีมากนัก นั่นก็โอเคเหมือนกัน โดยเฉพาะเมื่อเราเอาเงินของเราเล่น เล่นได้เราดีใจ เล่นเสียก็ถือเป็นค่่าบทเรียนที่เราจ่่ายเพื่อพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้น
แต่เมื่อเก่งถึงที่แล้ว เราอาจพบว่า การเล่นหุ้นของเรา แม้จะมี style ส่วนตัว แต่ก็มีหลักการที่บังเอิญไปพ้องกับทฤษฎีการลงทุนก็ได้ ใครจะไปรู้
ทฤษฎีเหล่านี้มีประโยชน์มากต่อนักลงทุนสถาบัน (Institution Investors) ที่ต้องรับผิดชอบกับเงินของมหาชน โดยเน้นผลตอบแทนที่ไม่หวือหวา ซึ่งกำหนดจากความเสี่ยงที่ยอมรับได้ การลงทุนลักษณะนี้มีหลักการว่า ผลตอบแทนสะสมที่สม่ำเสมอในระยะยาวจะดีกว่าผลตอบแทนมากๆ เป็นครั้งคราว ซึ่งอาจไม่สม่ำเสมอ ไม่คุ้มกับอัตราความเสี่ยงที่ต้องยอมรับ
แต่ "เทคนิค" การลงทุนที่แตกยอดออกจาก "ทฤษฎี" นั้นเป็นเรื่องที่อิงกับความสามารถส่วนบุคคล นักลงทุนบางคนพัฒนา "สันชาตญาน" ในการลงทุนจากประสบการณ์และข้อมูลที่มีอยู่ จนสามารถ beat ตลาดได้ในหลายๆ คราว แต่ที่ผ่านมา ข้อเท็จจริงที่ปรากฎคือ แม้แต่เซียนก็ยังไม่สามารถ beat ตลาดได้ทุกคราว และอาจพลาดครั้งใหญ่จนติดคุกติดตะรางมาแล้ว (เพราะเอาเงินคนอื่นมาเล่น) Nick Leeson ถือเป็นตัวอย่างอันดีในเรื่องนี้
ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นที่จะนำเรื่องหลักการตามทฤษฎี มาเป็นประเด็นกับเทคนิคการเล่นหุ้น เนื่องจากการเล่นหุ้นเป็นเรื่องความชอบส่วนบุคคล แถมเงินก็ยังเป็นเงินส่วนตัว ใครชอบความเสี่ยงลักษณะไหน ก็เลือกเทคนิคการลงทุนในลักษณะนั้น คนที่ชอบเสี่ยง (Risk lovers) และหวังจะทุบสถิติกำไรที่ทำได้ อาจเลือกลงทุนโดยไม่อิงกับทฤษฎีมากนัก นั่นก็โอเคเหมือนกัน โดยเฉพาะเมื่อเราเอาเงินของเราเล่น เล่นได้เราดีใจ เล่นเสียก็ถือเป็นค่่าบทเรียนที่เราจ่่ายเพื่อพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้น
แต่เมื่อเก่งถึงที่แล้ว เราอาจพบว่า การเล่นหุ้นของเรา แม้จะมี style ส่วนตัว แต่ก็มีหลักการที่บังเอิญไปพ้องกับทฤษฎีการลงทุนก็ได้ ใครจะไปรู้
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 299
- ผู้ติดตาม: 1
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 7
จะรอฟังความรู้ทางวิชาการจากอาจารย์ sun_cisa2 นะครับ
ผมชอบนะครับการที่มีคนเห็นต่างจากเราแล้วเอาข้อมูลหรือความเห็นมาแชร์กัน มาถกกัน
ผมจะได้เปิดหัวสมองมากขึ้นด้วยครับ
ขอถกต่อนิดนึงนะครับ
เรื่องความไม่แน่นอน = ความเสี่ยง ในทางทฤษษฏีผมก็ไม่รู้ว่าเค้านิยามกันอย่างไรนะครับ
แต่ถ้าคิดจริงๆก็อาจจะอนุมานได้ว่าความไม่แน่นอนก็เป็น subset นึงของความเสี่ยง
แต่ผมว่าดันโดเค้าอาจจะหมายความว่า
ความเสี่ยง = downside risk
ความไม่แน่นอน = upside gain
ดังนั้นที่ดันโดบอกว่าความเสี่ยงต่ำ ความไม่แน่นอนสูง ผมว่าอาจจะพูดอีกอย่างว่า downside risk ต่ำแต่ upside gain ไม่แน่นอนอาจจะถูกกว่าครับ(แต่ผมก็เข้าใจเป็นอย่างนี้นะ)
อย่างเช่นในเรื่องโมเต็ลของดันโด ที่โอกาสได้กำไรออกมาได้หลายหน้ามาก และโอกาสทำกำไรต่างๆกัน อันนี้ผมเข้าใจว่าดันโดเรียกว่าความไม่แน่นอนครับ
แต่โอกาสเจ๊งหรือโดนธนาคารยึดก็มีไม่มาก ถึงมีก็ไม่เสียหายมาก อันนี้ผมว่าคือความเสี่ยงของเค้านะครับ
แต่ผมและดันโดไม่ได้จบการบัญชี การใช้คำบางคำหรือความเข้าใจบางอย่างอาจจะคลาดเคลื่อนก็เป็นได้ครับ
เห็นต่างอย่างไรน้อมรับฟังทุกความเห็นครับ
ผมชอบนะครับการที่มีคนเห็นต่างจากเราแล้วเอาข้อมูลหรือความเห็นมาแชร์กัน มาถกกัน
ผมจะได้เปิดหัวสมองมากขึ้นด้วยครับ
ขอถกต่อนิดนึงนะครับ
เรื่องความไม่แน่นอน = ความเสี่ยง ในทางทฤษษฏีผมก็ไม่รู้ว่าเค้านิยามกันอย่างไรนะครับ
แต่ถ้าคิดจริงๆก็อาจจะอนุมานได้ว่าความไม่แน่นอนก็เป็น subset นึงของความเสี่ยง
แต่ผมว่าดันโดเค้าอาจจะหมายความว่า
ความเสี่ยง = downside risk
ความไม่แน่นอน = upside gain
ดังนั้นที่ดันโดบอกว่าความเสี่ยงต่ำ ความไม่แน่นอนสูง ผมว่าอาจจะพูดอีกอย่างว่า downside risk ต่ำแต่ upside gain ไม่แน่นอนอาจจะถูกกว่าครับ(แต่ผมก็เข้าใจเป็นอย่างนี้นะ)
อย่างเช่นในเรื่องโมเต็ลของดันโด ที่โอกาสได้กำไรออกมาได้หลายหน้ามาก และโอกาสทำกำไรต่างๆกัน อันนี้ผมเข้าใจว่าดันโดเรียกว่าความไม่แน่นอนครับ
แต่โอกาสเจ๊งหรือโดนธนาคารยึดก็มีไม่มาก ถึงมีก็ไม่เสียหายมาก อันนี้ผมว่าคือความเสี่ยงของเค้านะครับ
แต่ผมและดันโดไม่ได้จบการบัญชี การใช้คำบางคำหรือความเข้าใจบางอย่างอาจจะคลาดเคลื่อนก็เป็นได้ครับ
เห็นต่างอย่างไรน้อมรับฟังทุกความเห็นครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 8
อย่างที่ ดร.ภาพร บอกไว้ ความจริงการลงทุนสุดท้ายเป็นเรื่องส่วนบุคคล คือขึ้นกับ สไตล์หรือ โปรไฟล์ความเสี่ยงแต่ละคน ความจริงไม่อยากตั้งหัวข้อกระทู้นี้เท่าใดนัก เพราะรู้ว่ามีคนอ่านมาก แต่ด้วยความที่เป็นคนสอนบรรยายเรื่องเหล่านี้ ทั้งการเงิน บัญชี และเจอผู้เรียนผู้ศึกษามากรายที่ไม่เข้าใจหลักการ และเห็นเดินหลงทางบ่อย คำถามต่างๆ รวมถึงวิธีคิดทั้งในนี้และในที่อื่นๆ ด้านบัญชีและการเงิน ยังสับสนกันมาก จึงอยากยกบางเรื่องให้คิดวิเคราะห์ให้ลึกซึ้ง ถ้าหลักการแน่นดี ก็จะไม่หลงทาง แนวคิดดันโดมิใช่ว่าไม่ดี พียงแต่เห็นว่ายังมีจุดหลายๆอย่างที่การนำไปใช้ต้องระวัง เหตุผลหลักๆก็อย่างที่เกริ่นมา คือบางเรื่องแย้งในตัวเอง แต่ไม่ใช่ว่าไม่ถูก แนะนำหนังสือ Value Invesing: From Graham to Buffett and Beyond เป็นหนังสือด้านการลงทุนที่ใช้สอนและอ่าน ในมหาวิทยาลัย Columbia มีแปลขายในไทยชื่อ การลงทุนแบบเน้นคุณค่า หลักสูตร มหาวิยาลัยโคลัมเบีย เป็นหนังสือการลงทุนเล่มหนึ่งทีอ่านง่ายกว่า Securities Analysis ของ Graham แต่ไมทิ้งคุณค่าทางทฤษฎีหรือวิชาการ มีตัวอย่างมากจากของจริง ถ้าหาอ่านอย่างหลักการลงทุนในแนว VI จริงๆ เป็นเล่มที่แนะนำอีกเล่มหนึ่ง ส่วนถ้าใครสนใจการวิเคราะทางการเงิน แนะนำ The Techniques of Financial Analysis; A Guide to Value Creation 10th Edition: Erich Healfert และ The Analysis and Use of Financial Statements: Gerald I. White, Ashwinpual C. Sondhi, Dov Fried สำหรับคนที่เรียนรู้ทางวิชาการและจะต้องการรู้ซึ้งจริงๆ ที่จริงยังมีหนงสือเกี่ยวกับการเงิน เช่น Value Creation อีก แต่เอาสามเล่มข้างต้นคงพอสำหรับ VI
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 9
อย่างที่กล่าวไว้ครับว่า นิยามที่ต่างกัน ถกกันคนละทางไม่จบแน่นอน เพียงแต่ผมยึดหลักที่ใช้ในโลกการเงินการลงทุนจริงๆ ผมทำงานด้าน investment banking, fund mamagement, securities analyst เรียกว่าด้านตลาดทุนทำมาแล้วทั้ง primary market และ secondary market เห็นและสัมผัสตลาดหุ้นมาตั้งแต่ black Monday 1990 จนถึงปัจจุบันnasunap เขียน:จะรอฟังความรู้ทางวิชาการจากอาจารย์ sun_cisa2 นะครับ
ผมชอบนะครับการที่มีคนเห็นต่างจากเราแล้วเอาข้อมูลหรือความเห็นมาแชร์กัน มาถกกัน
ผมจะได้เปิดหัวสมองมากขึ้นด้วยครับ
ขอถกต่อนิดนึงนะครับ
เรื่องความไม่แน่นอน = ความเสี่ยง ในทางทฤษษฏีผมก็ไม่รู้ว่าเค้านิยามกันอย่างไรนะครับ
แต่ถ้าคิดจริงๆก็อาจจะอนุมานได้ว่าความไม่แน่นอนก็เป็น subset นึงของความเสี่ยง
แต่ผมว่าดันโดเค้าอาจจะหมายความว่า
ความเสี่ยง = downside risk
ความไม่แน่นอน = upside gain
ดังนั้นที่ดันโดบอกว่าความเสี่ยงต่ำ ความไม่แน่นอนสูง ผมว่าอาจจะพูดอีกอย่างว่า downside risk ต่ำแต่ upside gain ไม่แน่นอนอาจจะถูกกว่าครับ(แต่ผมก็เข้าใจเป็นอย่างนี้นะ)
อย่างเช่นในเรื่องโมเต็ลของดันโด ที่โอกาสได้กำไรออกมาได้หลายหน้ามาก และโอกาสทำกำไรต่างๆกัน อันนี้ผมเข้าใจว่าดันโดเรียกว่าความไม่แน่นอนครับ
แต่โอกาสเจ๊งหรือโดนธนาคารยึดก็มีไม่มาก ถึงมีก็ไม่เสียหายมาก อันนี้ผมว่าคือความเสี่ยงของเค้านะครับ
แต่ผมและดันโดไม่ได้จบการบัญชี การใช้คำบางคำหรือความเข้าใจบางอย่างอาจจะคลาดเคลื่อนก็เป็นได้ครับ
เห็นต่างอย่างไรน้อมรับฟังทุกความเห็นครับ
ความไม่แน่นอน (uncertainty) คือส่วนหนึ่งในนิยามความเสี่ยง ในโลกตลาดเงินตลาดทุนความผันผวนคือความไม่แน่นอนแบบหนึ่ง ไม่ว่าด้ารบวกหรือลบ นักลงทุนหรือบุคคลทั่ว แบ่งได้ 3 กล่มใหญ่หากพิจารณาด้วยลักษณะความเสี่ยง คือ 1. risk lover กลุ่มนี้ชอบความเสี่ยง ยื่งเสี่ยงยิ่งชอบ นักพนันโดยสายเลือด นักขี่มอเตอร์ไซด์ผาดโผน เป็นต้น 2. risk neutral กลุ่มนี้มองเรื่องความเสี่ยงเป็นเรื่องปกติ ยอมรับความเสี่ยงได้หากจะได้ผลตอบแทนมากขึ้น ในกลุ่มนี้มีมากสุดและระดับความเสี่ยงที่จะรัได้จะแตกต่างกันไปตาม อายุ เพศ อาชีพ ความรู้ เป็นต้น 3. risk averse กลุ่มนี้จะไม่ชอบความเสี่ยง อะไรที่เสี่ยงจะพยามหลีกเลี่ยง ถ้าลงทุน ชอบตราสารหนี้ไม่ชอบตราสารทุน ไม่ชอบความไม่แน่นนอน ความผันผวน
ความเสี่ยงในมุมมองทางการเงินคือ ความผันผวน เพราะทำให้ไม่รู้แน่ชัดว่า เวลา t+1 จะเกิดอะไรกับมูลค่าเงินลงทุน ในโลกการเงินจึงให้นิยาม Governmet bond ว่า เป็น risk free ตัวหนึ่ง เพราะไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น พันธบัตรรัฐบาลยังคงจ่ายดอกเบี้ยตามหน้าตั๋ว เงินจะเฟ้อไม่เฟ้อไม่สนใจ ขณะที่ทองราคาผันผวน การเงินบอกว่ามีความเสี่ยงมากกว่า แนวคิดดันโดอาจบอกว่าไม่สี่ยงเพราะ เห็นว่ามีแต่ขึ้น แต่การเงินบอกว่าขึ้น แต่ไม่รู้ว่าสิ้นปีเท่าไรแน่นอน แต่ bond รู้แน่ว่าวันไหนรับเงิน และรับเท่าไร การเงินไม่ได้สนเรื่องมากน้อย สนว่าได้ตามเป้าแน่นอนหรือไม่
ความผันผวน = ความไม่แน่นอน = ความเสี่ยง วัดเชิงปริมาณคือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard diviation)
ในโลกการลงทุนในตลาดหุ้นก็คือ ความผันผวนราคาหุ้น (price volatlity) และความผันผวนราคานี่เองที่นำไปคำนวณค่า beta ที่ใช้บอกระดับความเสี่ยงที่หลายๆ คนรู้จักกัน ดังนั้นทุกอย่างสัมพันธ์ต่อเนื่องกันหมด หนึ่งสัมพันธ์สอง สองสัมพันธ์สาม ... แต่ดันโด ข้อ 1 ถึงข้อ 9 ไม่เชื่อมโยงกัน จึงเป็นสิ่งที่ผมบอกว่าใช้ต้องระวัง บางหัวข้อ logic ขัดกันเอง มันถูกเฉพาะหัวข้อนั้น แต่พอผสมขัดแย้งกันเอง 1-9
(เอาไว้ต่อวันหลังๆ ทั้งบัญชี การเงินการวิเคราะห์)
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 10
ผมว่าปัญหาคงมาจากการลงทุนในความเสี่ยงต่ำแต่ความไม่แน่นอนสูงแน่ๆเลย
ความไม่แน่นอนสูงนี้คืออะไร แต่ถ้าในหนังสือพยายามบอกว่าความไม่แน่นอนสูงนี้ก็คือhigh return นั้นเอง ไม่รู้ว่าตีความผิดมั้ย ใ่ช่จริงๆอาจารย์ขัดtheory ทางการเงิน เพราะผลตอบแทนสูง ความเสี่ยงต้องสูงเพื่อชดเชยผลตอบแทนที่สูง แต่ผมว่าเขาคงพยายามหาช่วงที่ตลาดไร้เหตุผลมั่งครับ ในการทำ low risk high uncertainty
ความไม่แน่นอนสูงนี้คืออะไร แต่ถ้าในหนังสือพยายามบอกว่าความไม่แน่นอนสูงนี้ก็คือhigh return นั้นเอง ไม่รู้ว่าตีความผิดมั้ย ใ่ช่จริงๆอาจารย์ขัดtheory ทางการเงิน เพราะผลตอบแทนสูง ความเสี่ยงต้องสูงเพื่อชดเชยผลตอบแทนที่สูง แต่ผมว่าเขาคงพยายามหาช่วงที่ตลาดไร้เหตุผลมั่งครับ ในการทำ low risk high uncertainty
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 11
cyber-shot เขียน:ผมว่าปัญหาคงมาจากการลงทุนในความเสี่ยงต่ำแต่ความไม่แน่นอนสูงแน่ๆเลย
ความไม่แน่นอนสูงนี้คืออะไร แต่ถ้าในหนังสือพยายามบอกว่าความไม่แน่นอนสูงนี้ก็คือhigh return นั้นเอง ไม่รู้ว่าตีความผิดมั้ย ใ่ช่จริงๆอาจารย์ขัดtheory ทางการเงิน เพราะผลตอบแทนสูง ความเสี่ยงต้องสูงเพื่อชดเชยผลตอบแทนที่สูง แต่ผมว่าเขาคงพยายามหาช่วงที่ตลาดไร้เหตุผลมั่งครับ ในการทำ low risk high uncertainty
อย่างทีผมบอกครับว่า นิยามที่เขาใช้ไม่ใช่นิยามเดียวกับการเงิน จึงไม่ขอตอบอีกเพราะไม่สามารถสรุปได้เหมือนกันในหลักทางการเงินทั้งกหมด แต่ที่บอกว่า "พยายามหาช่วงที่ตลาดไร้เหตุผล" นั่นดูเหมือนจะเข้าประเด็น การลงทุนทีจะเอาผลกำไรที่ abnormal คือการลงทุนช่วงที่ตลาด เกิด Panic มากๆ หรือหุ้นทีราคาต่ำกว่าราคาพื้นฐานเกินจริง (undervalue มากๆจาก ความจริง) ปัญหาคือเรารู้จริงไหม วิเคราะห์กับตัวนั้นมากพอไหม รู้จักอุตสาหกรรมนัน้มากพอจริงหรือไม่ ฟังเขาเอามาวิเคราะห์ต่อหรือเปล่า ติดตมดูมานานเท่าไรแล้ว ไม่อย่างนั้นก็ไม่ต่างกับพวกซื้อแล้วรอลุ้น นักลงทุนที่แท้จริงเขามีบอกไว้ว่า ซื้อหุ้นตัวนั้นแล้ว กินข้าวลง มีข่าวคราวก็ไม่ตกใจ ตามราคาทุกวันไหม ถ้าดีจริงซื้อแล้วต้องเหมือนลืมไปเลย ไปพักร้อนนอนเล่นไกลๆ ม่สนใจตลาด ว่างก็กลับมาแล้วขายเอากำไรเข้ากระเป๋า ถัซื้อแล้วนั่งลุ้นทุกวันว่ามันขึ้นไหม เท่าไรแล้ว อย่างนี้ไม่ใช่แนวทางที่ดี
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 12
ขอบคุณครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 13
อาจารย์คับ ผมขอถามอย่างชาวบ้านนะครับ จากที่ฟังอาจารย์พูดมาก เหมือนกับว่าอาจารย์เชื่อว่าตลาดมีเหตุผล ราคาที่ซื้อขายกันนั้น ได้ซึมซับข่าวและปัจจัยต่างๆมาแล้ว ดังนั้นการจะทำabnormal return หรือผลตอบแทนที่มากกว่าตลาดนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 14
จากที่ฟังอาจารย์พูด "มา" หรือจากที่ฟังอาจารย์พูด "มาก" คะcyber-shot เขียน:อาจารย์คับ ผมขอถามอย่างชาวบ้านนะครับ จากที่ฟังอาจารย์พูดมาก เหมือนกับว่าอาจารย์เชื่อว่าตลาดมีเหตุผล ราคาที่ซื้อขายกันนั้น ได้ซึมซับข่าวและปัจจัยต่างๆมาแล้ว ดังนั้นการจะทำabnormal return หรือผลตอบแทนที่มากกว่าตลาดนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
เดี๋ยวอาจารย์สรรพงศ์คนพูด "มาก" คงมาตอบ เพราะอาจารย์ภาพรไม่พูดมาก เลยไม่ขอตอบค่ะ... แต่ที่อาจารย์สรรพงศ์อธิบายเขาเรียกว่า Efficient Market Hypothesis ค่ะ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2603
- ผู้ติดตาม: 1
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 15
555
ผิดพลาดทางการพิมพ์นะผมว่า
ผิดพลาดทางการพิมพ์นะผมว่า
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 16
parporn เขียน:จากที่ฟังอาจารย์พูด "มา" หรือจากที่ฟังอาจารย์พูด "มาก" คะcyber-shot เขียน:อาจารย์คับ ผมขอถามอย่างชาวบ้านนะครับ จากที่ฟังอาจารย์พูดมาก เหมือนกับว่าอาจารย์เชื่อว่าตลาดมีเหตุผล ราคาที่ซื้อขายกันนั้น ได้ซึมซับข่าวและปัจจัยต่างๆมาแล้ว ดังนั้นการจะทำabnormal return หรือผลตอบแทนที่มากกว่าตลาดนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
เดี๋ยวอาจารย์สรรพงศ์คนพูด "มาก" คงมาตอบ เพราะอาจารย์ภาพรไม่พูดมาก เลยไม่ขอตอบค่ะ... แต่ที่อาจารย์สรรพงศ์อธิบายเขาเรียกว่า Efficient Market Hypothesis ค่ะ
จากที่ฟังอาจารย์พูดมา ครับพิมผิดครับโทษที
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 17
การจะทำabnormal return หรือผลตอบแทนที่มากกว่าตลาดนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ไม่ใช่ครับ แต่ยาก ที่ทำได้นะมีเหมือนคนเล่นหวย ที่เราๆ อ่าน ดันโด ปีเตอร์ลินท์ บัพเฟ็ต เทียบกับนักลงทุนนับสิบล้านคนที่เล่นหุ้น รวยหนักๆกี่ ฝันได้ครับและก็ผิดหวังได้ ยกตัวอย่างลองเข้าไปฟังการเป็นตัวแทนประกันชีวิต ทุกๆที่เลยครับ บอกว่ามาขายประกันซิรวยเร็วดีมึตัวอย่างจริง ตัวเป็นๆให้เห็น แต่เชื่อไหม อัตราสำเร็จแบบนั้นมีไม่ถึง 2% แต่อยู่รอดในอาชีพได้ราว 10% รวยโคตะระแบบที่บอก ย้อยมาก ไม่ถึง 2%cyber-shot เขียน:parporn เขียน:จากที่ฟังอาจารย์พูด "มา" หรือจากที่ฟังอาจารย์พูด "มาก" คะcyber-shot เขียน:อาจารย์คับ ผมขอถามอย่างชาวบ้านนะครับ จากที่ฟังอาจารย์พูดมาก เหมือนกับว่าอาจารย์เชื่อว่าตลาดมีเหตุผล ราคาที่ซื้อขายกันนั้น ได้ซึมซับข่าวและปัจจัยต่างๆมาแล้ว ดังนั้นการจะทำabnormal return หรือผลตอบแทนที่มากกว่าตลาดนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
เดี๋ยวอาจารย์สรรพงศ์คนพูด "มาก" คงมาตอบ เพราะอาจารย์ภาพรไม่พูดมาก เลยไม่ขอตอบค่ะ... แต่ที่อาจารย์สรรพงศ์อธิบายเขาเรียกว่า Efficient Market Hypothesis ค่ะ
จากที่ฟังอาจารย์พูดมา ครับพิมผิดครับโทษที
แต่นักลงทุนต้องหาต่อไป แต่จำไว้ว่ายากนัก เหมือนกับคนทำอาชีพด้านโบราณคดี ไปถึงไหนก็ขุดไปเรื่อย มีกี่คนเจอซากไดโนเสาร์ ผมเพียงแต่บอกว่ามันยากไม่ใช่ว่าไม่มี ถ้าเชื่อเรื่องเหตุผล และสัจธรรม ทุกอย่างมีเหตุผลเสมอ ตลาดก็เช่นกัน ถ้าอยู่กับมันมาเกือบ 20 ปี จะรู้ซึ้ง วอร์เร็นบัพเฟ็ต ไม่ได้เล่นหุ้นหวังรวย ไม่อย่างนั้นคงไม่สมถะ บริจาคมากมาย คนเราบ้ามั๊ยหาเงินแทบตาย ไม่ใช้ชีวิตให้สบายหรูหรา หาได้ไล่แจกหมด แล้วจะหาไปทำไม เพียงแต่เขาชอบอาชีพ หรืองานที่ทำ งานด้านวิเคราะห์ข้อมูล แต่ที่คนรู้จักเพราะเราไปรู้จักเขาเอง ผมเชื่อว่าแม้ไม่มีใครรู้จัก เขาก็ยังคงทำเช่นนั้นต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 18
ขอบคุณครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 19
Efficient Market Hypothesis EMH เป็นทฤษฎีหนึ่งที่บอกว่า ตลาดรับข้อมูลข่าวสารตลอดเวลาเพื่อนำไปปรับราคาหุ้น ดังนั้นราคาจึงเป็นผลสะสมของข้อมูลที่เป็นข่าวออกมา สะท้อนเร็วสะท้อนช้าขึ้นอยู่กับ efficiency ของตลาด EMH มี 3 รูปแบบคือ Strong form, Semi-strong form, Weak-form
ถ้าตลาดเป็นแบบ Strong-form Efficiency นั่นหมายความว่า เมื่อมีข่าวปุ็บ ข่าวนั้นจะสะท้อนเข้าไปในราคาหุ้นทันที ไม่ว่าจะเป็นข่าวอะไรก็ตาม เช่น เมื่อมีมาตรฐานการบัญชีใหม่ บริษัทมีการเซ็นสัญญา มีโครงการใหม่ ผู้บริหารเป็นมะเร็ง ฯลฯ โดยไม่ต้องรอให้งบการเงินออกด้วยซ้ำ เพราะกว่างบการเงินจะออก ราคาหุ้นก็ปรับตัวไปแล้วเรียบร้อย ตลาดจะ efficient ได้ ต้องมีนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถเป็นผู้ผลักดันตลาด เช่น นักลงทุนสถาบัน ทฤษฎีเชื่อว่า ถ้า market efficient แบบนี้ จะไม่มีใครที่ใช้การวิเคราะห์เชิงเทคนิคแล้วจะสามารถ beat ตลาดได้ (คือไม่มี excess return) เพราะอดีตจะพยากรณ์อนาคตและราคาอยู่ในภาวะสมดุล
แต่ถ้าตลาดเป็นแบบ Semi-strong นั่นหมายความว่าตลาดไม่ efficient เต็มที่ในการดูดซับข้อมูล อาจเกิดจากการกระจายข่าว หรือนักลงทุนผู้ผลักดันตลาดมีไม่เพียงพอ ราคาจึงสะท้อนข้อมูลบางอย่าง แต่ไม่ทุกอย่าง Semi-strong form efficient ทำให้เกิดโอกาสในการ beat ตลาดได้ แต่ตามทฤษฎีเชื่อว่า ในระยะยาวแล้ว excess return ก็จะไม่เกิดเพราะแทงหวยไม่ถูกทุกครั้ง เช่น การวิเคราะห์ทางเทคนิคช่วยได้ แต่ไม่ทุกครั้ง ทำให้ผลตอบแทนสะสมเฉลี่ยออกมาจะได้ประมาณว่าเท่ากับผลตอบแทนตลาด (ถ้าตัดเป็นช่วงสั้น ในตลาดกระทิงขณะนี้ผลตอบแทนตลาดอาจเป็น 50-100% ก็เป็นได้ แต่ในระยะยาวไม่ใช่)
Weak-form Efficiency คือการที่ข้อมูลข่าวสารสะท้อนในราคาหุ้นอย่างไม่เป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นเพราะตัวข่าวสารหรือตัวนักลงทุนเอง ทฤษฎีว่า นักลงทุนที่รู้ข้อมูลมากกว่าคนอื่นจะสามารถ beat ตลาดได้ แต่การวิเคราะห์เชิงเทคนิคโดยการดูข้อมูลในอดีตจะไม่สามารถพยากรณ์อนาคตได้เลย เพราะ random สะเปะสะปะว่างั้นเถอะ
สมัยเมื่อ 20-30 ปีก่อน นักวิจัยได้ข้อสรุปว่า ตลาดอเมริกันมีรูปแบบแบบ Semi-strong form คือการวิเคราะห์อดีตเพื่อคาดการณ์อนาคตช่วย แต่ไม่เสมอไป excess return เกิดได้ แต่ในระยะยาว ผลสะสมน่าจะใกล้เคียงตลาด (แต่ปัจจุบันนี้ ยังไงไม่ทราบ ไม่ได้อ่านงานวิจัยมานานแล้ว ขี้เกียจอ่าน ไม่ขยันอย่างพวกคุณ)
อย่างไรก็ตาม ตลาดมีการพัฒนา พูดง่ายๆ คือ รูปแบบในการสะท้อนข้อมูลอาจเปลี่ยนจากรูปแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการกระจายข้อมูลข่าวสาร คุณภาพของตัวข้อมูลข่าวสาร (ข่าวปล่อย ข่าวจริง) และการคัดกรองข้อมูลข่าวสารที่ได้รับไปปรับราคาซื้อขายหุ้นของนักลงทุน
นั่นเป็นทฤษฎี แต่ในความเป็นจริง เราต้องให้ความสนใจกับนักลงทุนผู้มีความสามารถในการผลักดันตลาด สำหรับตลาดไทย เรามีนักลงทุนต่างชาติเงินหนา มีนักลงทุนสถาบันไทยที่อาจมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ระดับหนึ่ง และมีนักลงทุนรายย่อยซึ่งเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว คุณคิดว่าข้อมูลข่าวที่ได้รับกันนี้ ดีแท้เที่ยงตรง และพอเพียง เพียงไร และตัวนักลงทุนเองสามารถย่อยข้อมูลทั้งหมดทันเวลาเพียงพอที่จะเข้าไปทำให้ตลาดสมดุลหรือไม่ หรือนักลงทุนเงินหนาเป็นผู้กำหนดราคาแทนการสะท้อนราคาตามข่าวสารข้อมูล
นั่นเป็นที่มาว่า คุณเชื่อว่าตลาดไทย efficient ในระดับไหน weak หรือ semi-strong หรือระหว่างกลาง หรือบางขณะเป็น weak บางขณะเป็น semi-strong แต่เรื่องจะเป็นขนาด strong นั้นคงไม่มี
นักลงทุนจึงเชื่อว่า ผู้ที่มีข่าวสารข้อมูลดีที่สุด จะสามารถ beat ตลาดได้ดีที่สุด แต่จะมีเทคนิคในการ beat อย่างไร นั้นเป็นเรื่องส่วนบุคคล จะชอบ Dhando หรือ Buffett หรือ Graham ก็ว่ากันไป
ส่วน Arbitrage Pricing Theory กล่าวว่า นักลงทุนสามารถ beat ตลาดได้เมื่อการซื้อขายข้ามตลาด เพราะข้อมูลใช้เวลาในการเดินทาง คล้ายกับตอนน้ำท่วม แรกๆ ระดับจะไม่เท่ากัน แต่พอเวลาผ่านไป ข้อมูลข่าวสารเรื่องกำไรส่วนเกินนั้นจะทำให้นักลงทุนรีบเข้ามาปิดช่องตรงนั้น หรือน้ำจะปรับระดับให้เท่ากัน กำไรส่วนเกินก็จะหายไป เราจะสามารถได้กำไรจากการ arbitrage มากขนาดไหนขึ้นอยู่กับลักษณะความ efficient ของตลาดเหมือนกัน
นั่นเป็นทฤษฎีโบราณที่อาจารย์ภาพรจำมาตอนเรียนหนังสือและทำวิจัย ขณะนี้เกือบ 30 ปีให้หลัง โลกหมุนไปไกล พ่อมดทางการเงินโหดขึ้น แต่ข้อมูลข่าวสารไหลเร็วขึ้น (คุณต้องคิดว่าสมัยอาจารย์เรียนหนังสือ IBM Mainframe คือสุดยอดคอมพิวเตอร์ เวลาคำนวณสถิติต้องเขียนด้วย Fortran หรือ SPSS ไม่ใช่อยากได้อะไรก็กรอกๆ ใส่ไป คำตอบก็ขึ้นมาให้อย่างเดี๋ยวนี้ พิมพ์เอกสารยังต้อง format เองเลย CPU ตัวหนึ่งใหญ่คับห้องโถง แต่ความสามารถยังไม่สู้ ipad ในเวลานี้ internet เพิ่งเริ่ม ต่อมาคอมพิวเตอร์ก็พัฒนาเร็วมาก ตอนนี้ กรีซจามปุ๊บ เราก็ติดหวัดปั๊บ) นักลงทุนรายย่อยมีมากขึ้น ข่าวปล่อย ข่าวจริง มากจนไม่รู้จะฟังใคร เกิดความสับสนในข้อมูล เลยต้องพึ่งการดูดวงตลาด อะไรเทือกนั้น (ถ้าไม่เปิด fb ก็ไม่รู้หรอกว่า รายย่อยเรานี่ก็ไม่ใช่ย่อย แถมเป็นนักให้ข่่่าวตัวยง ตั้งตนเป็นกูรู มีสาวกรายล้อมก็หลายคน)
ข้อสำคัญคือ เราต้องรู้เรื่องจิตวิทยาหมู่ด้วย เรื่องนี้จะทำให้เราคาดเดาราคาได้ดีขึ้น เอาไว้ช่วยประกอบกับข้อมูลอื่นและการวิเคราะห์ด้านเทคนิค อย่างเช่น ต่างชาติขายโครมๆ รายย่อยไทยก็รีบเข้าประคองซื้อ (รักรอไม่ได้จริงๆ) นั่นก็เป็นจิตวิทยาที่ต่างกันของเทศกับไทยอย่างหนึ่ง (คนไทยชอบซื้อตอนหุ้นลง ทำให้ติดดอยได้ ไม่รู้ว่าซื้อไว้ช่วยเฉลี่ยขาดทุนหรืออย่างไร แต่ฝรั่งได้ยินเสียงลั่นเปรี๊ยะ เห็นหิมะกำลังจะถล่ม เขาจะ dump ทันทีแบบไม่กลัวขาดทุน ข้อสำคัญคือ นักลงทุนไทยเห็นแค่ไหน) โดยเฉพาะประสบการณ์ของนักลงทุนที่เริ่มต้นหลังปี 45 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตลาดกระทิง และยังไม่เคยผ่านตลาดหมีมาอย่างจริงจัง ทฤษฎีเขาให้ดูยาวๆ ค่ะ
แต่ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติยอมรับร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งว่า Inside information หรือข้อมูลภายในสามารถ beat ตลาดได้ดีที่สุด ดังนั้น เราจะเห็นนักลงทุนบางคนเฝ้าดูผู้บริหาร ถ้าผู้บริหารซื้อ เราก็สบายใจ แต่ถ้าผู้บริหารเท ต้องรีบเทตาม นั่นอาจเป็นกลยุทธที่ดีที่สุดในการลงทุนก็ได้ ดังนั้น ผู้บริหารเขาจึงมีเทคนิค ใช้นอมินีในการถือหุ้น เราก็ต้องไปสืบรู้ว่านอมินีเขาเป็นใคร จะได้ trade หุ้นได้ดีขึ้น (inside trading ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย แต่ถ้าผู้บริหารรู้ข่าวร้าย สันชาตญาณจะทำให้สั่งขายทันทีจนลืมนึกถึงตะรางไป แต่เมื่อไทยบทลงโทษน้อย กรรมไม่ค่อยตามืันในชาตินี้ คนไม่ดีมีความกล้ามากกว่ากลัว)
ฟังจากที่อาจารย์พูด "มาก" เบื่อไหมคะ
อาจารย์ว่างก็เขียนไปอย่างนั้น ไม่ได้ยืนยันหรือโต้แย้งกับคุณ อาจารย์เป็นผู้เฝ้าดู คงติดนิสัยนักวิจัยมาค่ะ
ถ้าตลาดเป็นแบบ Strong-form Efficiency นั่นหมายความว่า เมื่อมีข่าวปุ็บ ข่าวนั้นจะสะท้อนเข้าไปในราคาหุ้นทันที ไม่ว่าจะเป็นข่าวอะไรก็ตาม เช่น เมื่อมีมาตรฐานการบัญชีใหม่ บริษัทมีการเซ็นสัญญา มีโครงการใหม่ ผู้บริหารเป็นมะเร็ง ฯลฯ โดยไม่ต้องรอให้งบการเงินออกด้วยซ้ำ เพราะกว่างบการเงินจะออก ราคาหุ้นก็ปรับตัวไปแล้วเรียบร้อย ตลาดจะ efficient ได้ ต้องมีนักลงทุนที่มีความรู้ความสามารถเป็นผู้ผลักดันตลาด เช่น นักลงทุนสถาบัน ทฤษฎีเชื่อว่า ถ้า market efficient แบบนี้ จะไม่มีใครที่ใช้การวิเคราะห์เชิงเทคนิคแล้วจะสามารถ beat ตลาดได้ (คือไม่มี excess return) เพราะอดีตจะพยากรณ์อนาคตและราคาอยู่ในภาวะสมดุล
แต่ถ้าตลาดเป็นแบบ Semi-strong นั่นหมายความว่าตลาดไม่ efficient เต็มที่ในการดูดซับข้อมูล อาจเกิดจากการกระจายข่าว หรือนักลงทุนผู้ผลักดันตลาดมีไม่เพียงพอ ราคาจึงสะท้อนข้อมูลบางอย่าง แต่ไม่ทุกอย่าง Semi-strong form efficient ทำให้เกิดโอกาสในการ beat ตลาดได้ แต่ตามทฤษฎีเชื่อว่า ในระยะยาวแล้ว excess return ก็จะไม่เกิดเพราะแทงหวยไม่ถูกทุกครั้ง เช่น การวิเคราะห์ทางเทคนิคช่วยได้ แต่ไม่ทุกครั้ง ทำให้ผลตอบแทนสะสมเฉลี่ยออกมาจะได้ประมาณว่าเท่ากับผลตอบแทนตลาด (ถ้าตัดเป็นช่วงสั้น ในตลาดกระทิงขณะนี้ผลตอบแทนตลาดอาจเป็น 50-100% ก็เป็นได้ แต่ในระยะยาวไม่ใช่)
Weak-form Efficiency คือการที่ข้อมูลข่าวสารสะท้อนในราคาหุ้นอย่างไม่เป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นเพราะตัวข่าวสารหรือตัวนักลงทุนเอง ทฤษฎีว่า นักลงทุนที่รู้ข้อมูลมากกว่าคนอื่นจะสามารถ beat ตลาดได้ แต่การวิเคราะห์เชิงเทคนิคโดยการดูข้อมูลในอดีตจะไม่สามารถพยากรณ์อนาคตได้เลย เพราะ random สะเปะสะปะว่างั้นเถอะ
สมัยเมื่อ 20-30 ปีก่อน นักวิจัยได้ข้อสรุปว่า ตลาดอเมริกันมีรูปแบบแบบ Semi-strong form คือการวิเคราะห์อดีตเพื่อคาดการณ์อนาคตช่วย แต่ไม่เสมอไป excess return เกิดได้ แต่ในระยะยาว ผลสะสมน่าจะใกล้เคียงตลาด (แต่ปัจจุบันนี้ ยังไงไม่ทราบ ไม่ได้อ่านงานวิจัยมานานแล้ว ขี้เกียจอ่าน ไม่ขยันอย่างพวกคุณ)
อย่างไรก็ตาม ตลาดมีการพัฒนา พูดง่ายๆ คือ รูปแบบในการสะท้อนข้อมูลอาจเปลี่ยนจากรูปแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการกระจายข้อมูลข่าวสาร คุณภาพของตัวข้อมูลข่าวสาร (ข่าวปล่อย ข่าวจริง) และการคัดกรองข้อมูลข่าวสารที่ได้รับไปปรับราคาซื้อขายหุ้นของนักลงทุน
นั่นเป็นทฤษฎี แต่ในความเป็นจริง เราต้องให้ความสนใจกับนักลงทุนผู้มีความสามารถในการผลักดันตลาด สำหรับตลาดไทย เรามีนักลงทุนต่างชาติเงินหนา มีนักลงทุนสถาบันไทยที่อาจมีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ระดับหนึ่ง และมีนักลงทุนรายย่อยซึ่งเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว คุณคิดว่าข้อมูลข่าวที่ได้รับกันนี้ ดีแท้เที่ยงตรง และพอเพียง เพียงไร และตัวนักลงทุนเองสามารถย่อยข้อมูลทั้งหมดทันเวลาเพียงพอที่จะเข้าไปทำให้ตลาดสมดุลหรือไม่ หรือนักลงทุนเงินหนาเป็นผู้กำหนดราคาแทนการสะท้อนราคาตามข่าวสารข้อมูล
นั่นเป็นที่มาว่า คุณเชื่อว่าตลาดไทย efficient ในระดับไหน weak หรือ semi-strong หรือระหว่างกลาง หรือบางขณะเป็น weak บางขณะเป็น semi-strong แต่เรื่องจะเป็นขนาด strong นั้นคงไม่มี
นักลงทุนจึงเชื่อว่า ผู้ที่มีข่าวสารข้อมูลดีที่สุด จะสามารถ beat ตลาดได้ดีที่สุด แต่จะมีเทคนิคในการ beat อย่างไร นั้นเป็นเรื่องส่วนบุคคล จะชอบ Dhando หรือ Buffett หรือ Graham ก็ว่ากันไป
ส่วน Arbitrage Pricing Theory กล่าวว่า นักลงทุนสามารถ beat ตลาดได้เมื่อการซื้อขายข้ามตลาด เพราะข้อมูลใช้เวลาในการเดินทาง คล้ายกับตอนน้ำท่วม แรกๆ ระดับจะไม่เท่ากัน แต่พอเวลาผ่านไป ข้อมูลข่าวสารเรื่องกำไรส่วนเกินนั้นจะทำให้นักลงทุนรีบเข้ามาปิดช่องตรงนั้น หรือน้ำจะปรับระดับให้เท่ากัน กำไรส่วนเกินก็จะหายไป เราจะสามารถได้กำไรจากการ arbitrage มากขนาดไหนขึ้นอยู่กับลักษณะความ efficient ของตลาดเหมือนกัน
นั่นเป็นทฤษฎีโบราณที่อาจารย์ภาพรจำมาตอนเรียนหนังสือและทำวิจัย ขณะนี้เกือบ 30 ปีให้หลัง โลกหมุนไปไกล พ่อมดทางการเงินโหดขึ้น แต่ข้อมูลข่าวสารไหลเร็วขึ้น (คุณต้องคิดว่าสมัยอาจารย์เรียนหนังสือ IBM Mainframe คือสุดยอดคอมพิวเตอร์ เวลาคำนวณสถิติต้องเขียนด้วย Fortran หรือ SPSS ไม่ใช่อยากได้อะไรก็กรอกๆ ใส่ไป คำตอบก็ขึ้นมาให้อย่างเดี๋ยวนี้ พิมพ์เอกสารยังต้อง format เองเลย CPU ตัวหนึ่งใหญ่คับห้องโถง แต่ความสามารถยังไม่สู้ ipad ในเวลานี้ internet เพิ่งเริ่ม ต่อมาคอมพิวเตอร์ก็พัฒนาเร็วมาก ตอนนี้ กรีซจามปุ๊บ เราก็ติดหวัดปั๊บ) นักลงทุนรายย่อยมีมากขึ้น ข่าวปล่อย ข่าวจริง มากจนไม่รู้จะฟังใคร เกิดความสับสนในข้อมูล เลยต้องพึ่งการดูดวงตลาด อะไรเทือกนั้น (ถ้าไม่เปิด fb ก็ไม่รู้หรอกว่า รายย่อยเรานี่ก็ไม่ใช่ย่อย แถมเป็นนักให้ข่่่าวตัวยง ตั้งตนเป็นกูรู มีสาวกรายล้อมก็หลายคน)
ข้อสำคัญคือ เราต้องรู้เรื่องจิตวิทยาหมู่ด้วย เรื่องนี้จะทำให้เราคาดเดาราคาได้ดีขึ้น เอาไว้ช่วยประกอบกับข้อมูลอื่นและการวิเคราะห์ด้านเทคนิค อย่างเช่น ต่างชาติขายโครมๆ รายย่อยไทยก็รีบเข้าประคองซื้อ (รักรอไม่ได้จริงๆ) นั่นก็เป็นจิตวิทยาที่ต่างกันของเทศกับไทยอย่างหนึ่ง (คนไทยชอบซื้อตอนหุ้นลง ทำให้ติดดอยได้ ไม่รู้ว่าซื้อไว้ช่วยเฉลี่ยขาดทุนหรืออย่างไร แต่ฝรั่งได้ยินเสียงลั่นเปรี๊ยะ เห็นหิมะกำลังจะถล่ม เขาจะ dump ทันทีแบบไม่กลัวขาดทุน ข้อสำคัญคือ นักลงทุนไทยเห็นแค่ไหน) โดยเฉพาะประสบการณ์ของนักลงทุนที่เริ่มต้นหลังปี 45 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตลาดกระทิง และยังไม่เคยผ่านตลาดหมีมาอย่างจริงจัง ทฤษฎีเขาให้ดูยาวๆ ค่ะ
แต่ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติยอมรับร่วมกันอยู่อย่างหนึ่งว่า Inside information หรือข้อมูลภายในสามารถ beat ตลาดได้ดีที่สุด ดังนั้น เราจะเห็นนักลงทุนบางคนเฝ้าดูผู้บริหาร ถ้าผู้บริหารซื้อ เราก็สบายใจ แต่ถ้าผู้บริหารเท ต้องรีบเทตาม นั่นอาจเป็นกลยุทธที่ดีที่สุดในการลงทุนก็ได้ ดังนั้น ผู้บริหารเขาจึงมีเทคนิค ใช้นอมินีในการถือหุ้น เราก็ต้องไปสืบรู้ว่านอมินีเขาเป็นใคร จะได้ trade หุ้นได้ดีขึ้น (inside trading ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย แต่ถ้าผู้บริหารรู้ข่าวร้าย สันชาตญาณจะทำให้สั่งขายทันทีจนลืมนึกถึงตะรางไป แต่เมื่อไทยบทลงโทษน้อย กรรมไม่ค่อยตามืันในชาตินี้ คนไม่ดีมีความกล้ามากกว่ากลัว)
ฟังจากที่อาจารย์พูด "มาก" เบื่อไหมคะ
อาจารย์ว่างก็เขียนไปอย่างนั้น ไม่ได้ยืนยันหรือโต้แย้งกับคุณ อาจารย์เป็นผู้เฝ้าดู คงติดนิสัยนักวิจัยมาค่ะ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 337
- ผู้ติดตาม: 0
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2603
- ผู้ติดตาม: 1
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 21
เอาLink Lectureของ Parai มาฝากครับ Creditคุณkanokskikanokski เขียน:จำได้คร่าวๆ ว่าเคยดูวิดีโอที่ Mohnish Pabrai พูดที่ Columbia Business School เรื่อง Checklist นานแล้ว
เคยคิดจะลองทำตาม แต่เป็นคนที่ไม่ค่อยมีวินัย เลยล่องลอยไปเรื่อยๆ ไม่ได้ทำเสียที
น่าจะเป็นประโยชน์ครับ
http://www7.gsb.columbia.edu/video/v/node/1373/video
มีกล่าวนำโดย Prof. Bruce Greenwald ช่วงแรกเล็กน้อย ฟังไม่ค่อยรู้เรื่อง
นอกจากนี้ยังมีวิดีโออื่นๆ ที่น่าสนใจอีก ผมไม่ได้เข้าไปดูนานแล้ว มีวิดีโอเพิ่มขึ้นเยอะมาก
ที่ Columbia เข้าโปรโมท value investing จากความสำเร็จของศิษย์เก่าคนดังที่พวกเราชื่นชอบ (ใครหนอ?)
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1399
- ผู้ติดตาม: 1
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 22
ผมว่าผู้เขียนหนังสือนั้นตีแตกเรื่องลงทุนแล้วครับsun_cisa2 เขียน:แนวคิดการลงทุนแบบดันโด (DHANDHO INVESTOR) แนวคิดแบบดันโด เป็นแนวคิดแบบ low risk high return ซึ่งจากการอ่านบทความต่างที่พูดถึงกัน และบังเอิญได้ทราบว่ามีบางท่านก็สนในในแนวนี้ ความจริงก็ดี แต่ขอให้ความเห็นในทางวิชาการด้านการเงินการลงทุน เพราะในความคิดผมแนวทางการลงทุน อย่างไรก็ยังต้องยึดหลัก high risk high return ส่วนแบบดันโดนั้นคือกรณีพิเศษที่ไม่ใช่หลัก เป็นเรื่องของโอกาสที่ไม่ใช่ได้กันทุกคน เหมือนการซื้อหวยทีคนได้รางวัลจะมีน้อยกว่าคนเสีย จึงไม่แน่ใจว่า แบบนั้นจะใช้เป็นหลักการสากลทั่วไปได้ไหม
หลักของ ดันโดมีอยู่ 9 แบบคือ
•ลงทุนในธุรกิจที่มีการดำเนินงานอยู่แล้ว
•ลงทุนในธุรกิจที่เรียบง่าย
•ลงทุนในธุรกิจที่มีปัญหาในอุตสาหกรรมซึ่งกำลังอยู่ในภาวะยากลำบาก
•ลงทุนในธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันที่ยั่งยืน
•เดิมพันน้อยอย่าง เดิมพันหนักๆ ไม่เดิมพันบ่อยๆ
•มองหาโอกาสทำอาร์บิทราจ
•มีส่วนเผื่อเพี่อความปลอดภัยเสมอ
•ลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำแต่มีความไม่แน่นอนสูง
•ลงทุนในพวกเลียนแบบ ไม่ใช่พวกสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
การลงทุนแบบดันโด (DHANDHO INVESTOR)
Mohnish Pabrai เป็นผู้เขียนครับ เป็นนักลงทุนแบบเน้นคุณค่า( V I ) บริหารกองทุน Pabrai Investment Funds
บทสรุปจากบทความ มีข้อคิดเห็นบางประการดังนี้
1.ในทางทฤษฎีมีแต่ how risk high return แต่ low risk high return มีจริงหรือ หากพิจารณาวิธีทั้ง 9 แบบ คือลงทุนในธุรกิจที่มีการดำเนินงานอยู่แล้ว คือการลงทุนในธุรกิจที่เรียบง่าย การลงทุนในธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันที่ยั่งยืน สองวิธีนี้คือหลักการลงทุนพื้นฐานทั่วไป ซึ่งโดยหลักทั่วไปลักษณะธุรกิจเช่นนี้ในระยะยาวแล้วก็จะเป็นไปตามทฤษฎี คือ how risk high return เพราะท้ายที่สุดหากมีกำไรเกินปกติมากก็จะมีคนเข้าแข่งขันมาก เพราะเป็นการลงทุนธุรกิจที่เรียบง่าย จึงไม่ยากต่อการข้ามาของคู่แข่งใหม่ การเกิด low risk high return นั้นจะเกิดได้ในช่วงต้นวงจรธุรกิจเท่านั้น ระยะยาวก็จะเข้าสู่ normal frame ส่วนธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันที่ยั่งยืน มีได้เฉพาะ monopoly เท่านั้น และในโลกค้าเสรีมีแต่จะหายไป
ถ้าไม่มี low risk high return คงไม่มีใครได้กำไร 100% ใน 1 ปีได้ หรือ ได้ 20% ในระยะยาวได้ monopoly นั้นไม่จำเป็นต้องได้เปรียบตลอดไป เช่น TT&T
2.สำหรับในธุรกิจที่มีปัญหาในอุตสาหกรรมซึ่งกำลังอยู่ในภาวะยากลำบากนั้น ก็คือการให้ลงทุนในธุรกิจตกต่ำ ปัญหาคือ ต้องมั่นใจว่าการ turn around นั้นเกิดได้จริง ในความเป็นจิงโดยเฉพาะในไทย หุ้มที่อยู่กลุ่ม Rehabco ยังไม่มีหุ้นใดที่กลับมาโดดเด่นได้เลย ได้เพียงแค่อยู่รอด ไม่ปิดหรือถอดจากการเป็น listed เท่านั้น การอยู่ในภาวะยากลำบากนั้น หากเกิดจากผู้บริหารชุดนั้น ทีมนั้น (กรรมการบอร์ด) หากยังเป็นคนเดิมๆ ก็ยังมองไม่เห็นว่าจะฟื้นได้อย่างไรอย่างมั่นคง เพราะไม่เช่นนั้นคงไม่พาบริษัทเข้าสู่ความยากลำบาก แต่ก็ใช่ว่าเปลี่ยนไม่ได แต่ในแง่การลงทุน low risk high return คงไม่ใช่ เพราะเรากำลัง bet หัวก้อย อยู่หรือเจ๊ง 50:50 นี่ยอมไม่ใช่ low risk เพราะ low risk คือ down side ไม่มีคำว่าเจ๊งหรือเจ๊า มีแต่ได้กับได้แต่ถ้าเกิดจากวงจรธุรกิจ ก็ต้องมั่นใจว่าวงจรนั้นเพียงแต่ลงชั่วคราว (Declining stage) กำลังจะเข้าสู่ช่วงกลับตัวและเป็น growth stage แต่อย่างนี้ก็คือหลักการลงทุนแบบ Top down approach อันเป็นหลักทั่วไปของการลงทุน
ลองกลับไปดูตอน 2540 ดูครับ หลายๆตัวฟื้นจากหลุมแล้วเป็นหุ้น 10ๆเด้ง
3.การเดิมพันน้อยอย่าง เดิมพันหนักๆ ไม่เดิมพันบ่อยๆ ข้อนี้เสี่ยงสูงแน่นอนเพราะไม่ใช่การกระจายความเสี่ยง หากการเดิมพันนั้นพลาด ผลลัพธ์คือหมดตัว ย้ำครับว่า low risk ต้องหมายถึงประกันได้ว่าการหมดตัวหรือเจ๊งต้องไม่มี หรือถ้าพูดถึง probability ต้องใกล้ 0 นั่นเอง หลักการลงทุน ที่เรียกว่า ลดความเสี่ยงลงได้ คือ การกระจายความเสี่ยง (diversification) จากการดูบทความและลักษณะการลงทุนแบบ ดันโด จะนิยามความเสี่ยงที่ไม่ตรงกับนิยามความเสี่ยงตามหลักการลงทุน หรือมองความเสี่ยงที่ไม่ถูกต้องตามหลักการลงทุนที่ใช้กันทั่วไปทางการเงิน วิธีการข้อนี้ไม่ต่างจากการเล่นพนัยในกาสิโน แทงและเล่นในเกมที่ถนัดและมั่นใจทีละมากๆ แต่จะมีกี่คนที่เดินออกจากกาสิโนแล้วร่ำรวย
ดู warren buffet หรือ ดร นิเวศ
4.มองหาโอกาสทำอาร์บิทราจ การทำ arbitrage คือการลงทุนในภาวะที่ตลาดเกิด miss information ราคาสินค้าเดียวกันแตกต่างกันในสองตลาด ในโลกปัจจุบันหายากขึ้นและภาวะเช่นนี้มักเกิดแล้วไม่อยู่นาน ซึ่งมองแล้วไม่ต่างกับการ speculative การเก็งกำ
ผมเคยได้กำไร 100% สำหรับ arbitrage ในตลาดหุ้นไทย และล่าสุดคือ intuch กับ advanc+thcom
5.ข้อนี้ดูขัดๆกับ ข้อที่ผ่านมา การมีส่วนเผื่อเพี่อความปลอดภัยเสมอแสดงว่าไม่ใช่การทุ่มหนักๆ หรือถ้าเห็นว่า down side risk ยังมีอยู่มากก็ยังไม่ลงทุน ซึ่งหลักการลงทุนทั่วไปก็ยึดเช่นนั้นอยู่แล้ว ส่วน up side gain จะมากหรือน้อย ขึ้นกับ expectation คนที่เข้าได้ก่อนย่อมได้เปรียบ นี่เป็นหลักทั่วไปอยู่แล้ว มีแต่หายากยิ่งในปัจจุบันแล้วยิ่งยาก
6.การลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำแต่มีความไม่แน่นอนสูง คำว่าไม่แน่นอนสูง คือ high risk ดังนั้น ความเสี่ยงต่ำแต่มีความไม่แน่นอนสูง จึงเป็นการพูดทำนอง มีแต่ไม่มี ดังที่เคยกล่าวไว้ในข้อ 3 ว่า นิยามความเสี่ยงของดันโดแปลกจากหลักการเงิน
ไม่ใช่ high risk คำว่าไม่แน่นอนสูง ในหนังสือคือ ไม่แน่ว่าจะกลับมามีกำไรตอนไหน แต่มีแน่ๆในอนาคต
7.การลงทุนในพวกเลียนแบบ ไม่ใช่พวกสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ดูๆแล้วขัดกับการลงทุนในธุรกิจที่มีความได้เปรียบเชิงแข่งขันที่ยั่งยืน การทำธุรกิจเลียนแบบ ไม่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ จะแข่งขันได้ยั่งยืนอย่างไร สรุปแล้วควรเลือกแบบไหนถึงจะดี
สุดยอดนักลงทุนคือการลงทุนในสิ่งที่มีอยู่ในโลกนี้แต่ทำให้ดีกว่าต้นฉบับ
มาคุยกันได้ที่นี่ครับ https://www.facebook.com/value.investing.freedom
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 23
ที่แย้งนั้นไม่ใช่ว่า เขาผิด เพียงแต่ผมพยายามชี้ให้เข้าใจในเรื่องหลักวิชาการ กับการลงทุนเฉพาะตน มีคนซื้อหุ้นพร้อมๆ กับวอร์เร็นบัพเฟต ในวันนั้นและมีคนหลายคนอาจซื้อราคาต่ำกว่าและขายหุ้นนั้นพร้อมกับวอร์เรนบัพเฟต แต่มีกี้คนรวยเหมือนเขาบ้างเล่า ที่ผมอยากให้นักลงทุนระวังกันคือ ต้องเข้าใจในหลักการจริงๆ เพราะผมเห็นหลายคนในห้องนี้ บางคนยังเช่อมั่นในหลักการที่ผิดก็กลัวว่าจะพลาดท่า แล้วสุดท้ายจะไม่รู้ว่าลงทุนพลาดมาจากอะไน หุ้นที่ชอบบอกกันว่า low risk high return นั้น มีครับแต่สภาพแบบนั้นไม่ได้มียาวนาน มันเกิดเพียงช่วงเวลาหนึ่งๆ เท่านั้นไม่นานมาก เพราะสุดท้ายมันก็จะเข้าสู่สภาวะธรรมชาติของตลาดทุน high risk high return อันที่จริงผมพยายามจะบอกเตือนว่าก่อนที่จะใช้วิธีการของดันโด บัพเฟต ปีเตอร์ลินท์ และอีกหลายๆคนนั้น ต้องเข้าใจหลักการทางการเงินให้ดีก่อน เพราไม่เช่นนั้นจะเกิดข้อผิดพลาดในการลงทุนได้มาก อย่างบัพเฟต ถ้าอ่านแนวคิดในหลายๆดล่มที่เขาเขียน วิธีการลงทุนของเขาเบสิคมากเป็นไปตามหลักการทุกอย่างเพียงแต่ในบางเรื่องเท่านั้นที่เขาอาจแตกต่าง แต่นั่นเป็นเพราะเหตุการณ์เฉพาะเท่านั้น บัพเฟตไม่ใช่ลงทุนได้หุ้น 5 เด้ง 10 เด้ง บ่อยๆ นักหรอก วิธีการที่เขาลงทุนก็ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ก็มีทั้งได้ ทั้งเสีย เพียงแต่รวมๆ แล้วได้มากกว่าเสีย การอ่านประสพการณ์ผู้อื่นนั้นดีครับ เพราะผมอ่านมาก็เรียกได้ว่าพอควร แต่ถ้าหลักการไม่แน่นน่าห่วงครับ หลายคนเข้ามาวงการนี้หลังปี 40 ส่วนใหญ่ ไม่เคยย้อนกลับ หรือผ่านวิกฤตตลาดหุ้นจริงๆ ผมเห็นมาตั้งแต่ Black Monday และย้อนไปศึกษายุคราชาเงินทุน ตลาดหุ้นอเมริกาศึกษาข้อมูลทั้งตลาดหุ้นและเศรษฐกิจย้อนนับไปกว่า 50 ปี อยู่วงการหุ้นนี้มาพอควรเห็นทั้งคนรุ่ง คนร่วงมามากมาย จากธรรมดา ไม่มีอะไร จนมีมากมายและก็กลายเป็นไม่มีอะไร เห็นคนรุ่นใหม่ๆสนใจการลงทุนก๊ดีใจ แต่แค่อยากเตือนให้ตั้งมั่นในหลักการก่อน เมื่อหลักการแน่น การศึกษษเทคนิคการลงทุนจากประสพการณ์ต่างๆ จะมีค่าและเข้าใจได้ถูกต้อง
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 24
ขอบคูณครับ คุณ wj แต่ผมไม่ขอตอบมากครับเพราะหลายเรื่องเข้าใจว่าหลักทฤษฏีที่เรียนมาต่างกันมาก เช่นคำว่า arbitrage นั้นต้องหมายถึงการหาส่วนต่างราคาที่เกิดจากความไม่สมดุลของราคาสินค้าเดียวกันในตลาดต่างกัน ณ เลาเดียวกัน การซื้อถูกขายแพงในตลาดเดียวกัน เวลาต่างกัน ไม่ใช่ความหมายแท้จริงของ abritarge ครับ แบบที่เกิดจากการซื้อถูกขายแพงในหุ้นตัวนั้นในเวลาสั้นๆ อาจเกิดในรพหว่างวัน แบบนั้นคือจังหวะการลงทุนที่เกิดขึ้นจากการที่ตลาดเกิดการ miss information ไม่ว่าจะ panic หรือะไรก็ตามที ช่วงปีราว 2534-35 ที่รัสเซียแตกหุ้นไทยดิ่งกว่า 10% (ยุคนั้น floor 10%) ผมซื้อหุ้นติดลง floor หลายตัว วันรุ่งขึ้นเด้งกลับเกือบทั้งกระดานครับ นี่ไม่ใช่การ arbitrage ครับ หุ้นที่คุณบอก intuch มี พฟกำ อีกที่ตลาดหุ้นไหนครับ จึงสามารถทำ abitrage ได้ เรื่องนี้ก็เหมือนกับคำว่า low risk high retrn ที่นิยามและหลายอย่างที่ยกเหตุผลมาเหมือนใช่ แตไม่ตรงหลักการทาง mAKEu8iy[
ในหลายกระทู้และคำถามขออิบายยาวสักนิด คือ low risk high return จึงอยากขอทบทวนหลักคิดกันหน่อยครับ ในโลกการลงทุนและการเงินนั้น เรามักจะได้ยินแต่ high risk high return นี่คือความจริง ที่มักบอกว่าหาหุ้น low risk high return นั้น คำว่า low risk หมายถึง downside loss จะถูกต้องตามหลักการทฤษฎีที่มีกล่าวในทางวิชากานมากกว่า ที่ risk กับ return คู่กันนั้นนักลงทุนต้องไปทำความเข้าใจให้ชัดเจนจริงๆ ก่อน ในหลักการลงทุนนั้น เราจะซื้อหุ้นเมื่อราคาหุ้นนั้นต่ำกว่าราคาตามปัจจัยพื้นฐาน ยิ่งมากยิ่งดี หุ้นที่ราคาตกมากๆ เพราะเหตุใดก็ตาม ไม่ว่าจะเกิด panic ก็ตาม หุ้นที่ดีแต่ราคาลงมามากๆ ดีดกลับไปที่ราคาที่ควรเป็นตามปัจจัยพื้นฐานได้มาก นั่นคือ upside gain หรือที่ชอบเรียกกันว่า high return ที่ผมบอกว่า ในโลกการเงินการลงทุนไม่มี low risk high return เพราะราคาหุ้น จะถูกประเมินมูลค่าจากกระแสเงินสดในอนาคตที่คาดว่าจะได้รับหารด้วยอัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง ดังนั้นหากหุ้นนั้นมีความเสี่ยง (ความไม่แน่นอนหรือความผันผวนสูง) จากกระแสเงินสดที่คาดไว้สูง ตัวหารหรืออัตราคิดลด (ผลตอบแทนที่คาดหวัง) ก็จะสูงด้วยราคาหุ้นก็จะต่ำลงมากกว่ากิจการที่มีกระแสเงินสดเหมือนกันแต่ความเสี่ยง (ผันผวน) ต่ำ ดังนั้นการลงทุนในหุ้นที่หลายๆ คนเรียกว่า low risk นั้น ในมุมมองการลงทุนแท้จิง ยังต้องดูว่า ความเสี่ยงที่แท้จริงหรือความไม่แน่นอนจากการประมาณการกระแสเงินสดสูงไหม คำว่า overall risk หรือ enterprise risk นั้น ในช่วงสถาวะเศรษฐกิจหนึ่งๆ มักไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก ผมใช้หลักในการประเมินความเสี่ยงรวม คือ LEPESTO (Legal risk, Economic risk, Political risk, Environmental risk, Strategic risk, Technology risk และ Operational risk) บริษัทหนึ่งๆนั้น เมื่อราคาหุ้นปรับตัวลงไปมากๆ นั้น จากข้อมูลงบการเงินปัจจุบัน การประมาณกำไรและกระแสเงินสดในอนาคตยังมีองค์ประกอบความเสี่ยงเหล่านี้อยู่หรือไม่ ถ้ายังมีอยู่ก็อาจถูก discount ได้อีก ถ้ากระแสเงินสดในอนาคตที่เราคาดการณ์ สมมติว่าเท่ากับ 100 ลบ สมมติว่าอัตรผลตอบแทน return (or discount) เท่ากับ 20% มูลค่าตลาดหุ้นโดยรวมเท่ากับ 500 ลบ (คิดแบบ no growth) ถ้ามีหุ้นทั้งหมด 100 ล้านหุ้น ราคาที่ควรเป็นคือ 5 บาท ถ้าราคาหุ้นนี้ตกลงมาเหลือ 3 บาท น่าลงทุนไหม (ลงมา 40%) ถ้ายังคาดหวังกระแสเงินสดในอนาคตเท่าเดิมที่ 100 ลบ ซึ่งกระแสเงินสดนี้อย่าลืมว่าคือค่าเฉลี่ย กรอบความผันผวนกระแสเงินสด จะสามารถอยู่ได้ระหว่าง 54-145 ลบ หุ้นสามรถเป็นไปได้ระหว่าง 2.7-7.25 บาทต่อหุ้น ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นปัจจุบัน Euro Zone ถ้าเราเอาหลักง่ายๆ low risk high return เราปรับการคาดการณ์กระเสเงินสดใหม่เหลือ 80 ลบ คิดลดด้วยผลตอบแทน 20% ได้ราคา 4 บาทต่อหุ้น น่าลงทุนไหม? หากความเสี่ยงที่เราประเมินตามกรอบ LEPESTO ยังคงเดิม กรอบราคาหุ้นตัวนี้จะเป็นไปได้ที่จะอยู่ที่ 2.15-5.8 บาทดังนั้นที่ราคา 3 บาทก็ยังเสี่ยงอยู่ แม้เราจะประเมินกระแสเงินสดลดลงมาแล้วถึง 20% แต่ลักษณะธุรกิจยังเป็น high risk industry ก็ยัง high risk อยู่เว้นตาว่าเรามั่นใจว่ากระแสเงินสดยังคงมั่นใจว่าได้ 100 ลบ มี่ราคา 3 บาทย่อมน่าสนใจ ดังนั้นในการลงทุนของนักลงทุนเน้นคุณค่าชั้นนำของโลกจริงๆ จะไม่ซ้อหุ้นที่ราคาต่ำราคาพื้นฐานอย่างเดียวแต่จะดูกรอบ downside ด้วย เช่นหุ้นราคาพื้นฐานที่ประเมินได้ เท่ากับ 10 บาท แต่หากความเสี่ยงหุ้น (การคาดการณ์ในอนาคตของกระแสเงินสด) ยังคงเดิม ราคาที่น่าลงทุนคือกรอบราคาด้านล่าง สมมตว่าอยู่ที่ 7.5 บาท นั่นคือราคาที่น่าลงทุนหากตลาดปรับตัวลงและการคาดการณ์กระแสเงินสดยังไม่เปลี่ยนแปลง ข้อผิดพลาดประการหนึ่งของคนที่หาหุ้น low risk high return คือ หนึ่งมักคิดว่าคาดการณ์กระแสเงินสดมาแล้ว ซื้อหุ้นต่ำกว่าราคาประเมินแล้ว มักลืมไปว่าการประมาณการณ์ทั้งหลายที่เอาค่าเฉลี่ยมาใช้นั้น ค่าเฉลี่ยข้อมูล 2 ชุดอาจเท่ากัน แต่อาจมี การกระจาย (risk or standard deviation) ต่างกัน ดังนั้นต้องเลือกราคาที่อยู่กรอบล่างไม่ใช่ค่าเฉลี่ย ดังนั้นการเข้าใจ หลัก low risk high return ที่แท้จริงให้ถูกต้อง ดันโดก็ดี บัพเฟต ก็ดี หรือเซียน VI ระดับโลกกีดี เขาบอกมานั้นไม่ผิดครับ เป็นไปตามทฤษฎีทุกอย่าง แต่ห่วงคนอ่านทั่วไป ที่ไม่ลึกซึ้งในหลักการแท้จริงตีตวามผิด กำหนดกลยุทธ์ลงทุนผิด
ในหลายกระทู้และคำถามขออิบายยาวสักนิด คือ low risk high return จึงอยากขอทบทวนหลักคิดกันหน่อยครับ ในโลกการลงทุนและการเงินนั้น เรามักจะได้ยินแต่ high risk high return นี่คือความจริง ที่มักบอกว่าหาหุ้น low risk high return นั้น คำว่า low risk หมายถึง downside loss จะถูกต้องตามหลักการทฤษฎีที่มีกล่าวในทางวิชากานมากกว่า ที่ risk กับ return คู่กันนั้นนักลงทุนต้องไปทำความเข้าใจให้ชัดเจนจริงๆ ก่อน ในหลักการลงทุนนั้น เราจะซื้อหุ้นเมื่อราคาหุ้นนั้นต่ำกว่าราคาตามปัจจัยพื้นฐาน ยิ่งมากยิ่งดี หุ้นที่ราคาตกมากๆ เพราะเหตุใดก็ตาม ไม่ว่าจะเกิด panic ก็ตาม หุ้นที่ดีแต่ราคาลงมามากๆ ดีดกลับไปที่ราคาที่ควรเป็นตามปัจจัยพื้นฐานได้มาก นั่นคือ upside gain หรือที่ชอบเรียกกันว่า high return ที่ผมบอกว่า ในโลกการเงินการลงทุนไม่มี low risk high return เพราะราคาหุ้น จะถูกประเมินมูลค่าจากกระแสเงินสดในอนาคตที่คาดว่าจะได้รับหารด้วยอัตราผลตอบแทนที่คาดหวัง ดังนั้นหากหุ้นนั้นมีความเสี่ยง (ความไม่แน่นอนหรือความผันผวนสูง) จากกระแสเงินสดที่คาดไว้สูง ตัวหารหรืออัตราคิดลด (ผลตอบแทนที่คาดหวัง) ก็จะสูงด้วยราคาหุ้นก็จะต่ำลงมากกว่ากิจการที่มีกระแสเงินสดเหมือนกันแต่ความเสี่ยง (ผันผวน) ต่ำ ดังนั้นการลงทุนในหุ้นที่หลายๆ คนเรียกว่า low risk นั้น ในมุมมองการลงทุนแท้จิง ยังต้องดูว่า ความเสี่ยงที่แท้จริงหรือความไม่แน่นอนจากการประมาณการกระแสเงินสดสูงไหม คำว่า overall risk หรือ enterprise risk นั้น ในช่วงสถาวะเศรษฐกิจหนึ่งๆ มักไม่เปลี่ยนแปลงไปมากนัก ผมใช้หลักในการประเมินความเสี่ยงรวม คือ LEPESTO (Legal risk, Economic risk, Political risk, Environmental risk, Strategic risk, Technology risk และ Operational risk) บริษัทหนึ่งๆนั้น เมื่อราคาหุ้นปรับตัวลงไปมากๆ นั้น จากข้อมูลงบการเงินปัจจุบัน การประมาณกำไรและกระแสเงินสดในอนาคตยังมีองค์ประกอบความเสี่ยงเหล่านี้อยู่หรือไม่ ถ้ายังมีอยู่ก็อาจถูก discount ได้อีก ถ้ากระแสเงินสดในอนาคตที่เราคาดการณ์ สมมติว่าเท่ากับ 100 ลบ สมมติว่าอัตรผลตอบแทน return (or discount) เท่ากับ 20% มูลค่าตลาดหุ้นโดยรวมเท่ากับ 500 ลบ (คิดแบบ no growth) ถ้ามีหุ้นทั้งหมด 100 ล้านหุ้น ราคาที่ควรเป็นคือ 5 บาท ถ้าราคาหุ้นนี้ตกลงมาเหลือ 3 บาท น่าลงทุนไหม (ลงมา 40%) ถ้ายังคาดหวังกระแสเงินสดในอนาคตเท่าเดิมที่ 100 ลบ ซึ่งกระแสเงินสดนี้อย่าลืมว่าคือค่าเฉลี่ย กรอบความผันผวนกระแสเงินสด จะสามารถอยู่ได้ระหว่าง 54-145 ลบ หุ้นสามรถเป็นไปได้ระหว่าง 2.7-7.25 บาทต่อหุ้น ถ้าเกิดเหตุการณ์เช่นปัจจุบัน Euro Zone ถ้าเราเอาหลักง่ายๆ low risk high return เราปรับการคาดการณ์กระเสเงินสดใหม่เหลือ 80 ลบ คิดลดด้วยผลตอบแทน 20% ได้ราคา 4 บาทต่อหุ้น น่าลงทุนไหม? หากความเสี่ยงที่เราประเมินตามกรอบ LEPESTO ยังคงเดิม กรอบราคาหุ้นตัวนี้จะเป็นไปได้ที่จะอยู่ที่ 2.15-5.8 บาทดังนั้นที่ราคา 3 บาทก็ยังเสี่ยงอยู่ แม้เราจะประเมินกระแสเงินสดลดลงมาแล้วถึง 20% แต่ลักษณะธุรกิจยังเป็น high risk industry ก็ยัง high risk อยู่เว้นตาว่าเรามั่นใจว่ากระแสเงินสดยังคงมั่นใจว่าได้ 100 ลบ มี่ราคา 3 บาทย่อมน่าสนใจ ดังนั้นในการลงทุนของนักลงทุนเน้นคุณค่าชั้นนำของโลกจริงๆ จะไม่ซ้อหุ้นที่ราคาต่ำราคาพื้นฐานอย่างเดียวแต่จะดูกรอบ downside ด้วย เช่นหุ้นราคาพื้นฐานที่ประเมินได้ เท่ากับ 10 บาท แต่หากความเสี่ยงหุ้น (การคาดการณ์ในอนาคตของกระแสเงินสด) ยังคงเดิม ราคาที่น่าลงทุนคือกรอบราคาด้านล่าง สมมตว่าอยู่ที่ 7.5 บาท นั่นคือราคาที่น่าลงทุนหากตลาดปรับตัวลงและการคาดการณ์กระแสเงินสดยังไม่เปลี่ยนแปลง ข้อผิดพลาดประการหนึ่งของคนที่หาหุ้น low risk high return คือ หนึ่งมักคิดว่าคาดการณ์กระแสเงินสดมาแล้ว ซื้อหุ้นต่ำกว่าราคาประเมินแล้ว มักลืมไปว่าการประมาณการณ์ทั้งหลายที่เอาค่าเฉลี่ยมาใช้นั้น ค่าเฉลี่ยข้อมูล 2 ชุดอาจเท่ากัน แต่อาจมี การกระจาย (risk or standard deviation) ต่างกัน ดังนั้นต้องเลือกราคาที่อยู่กรอบล่างไม่ใช่ค่าเฉลี่ย ดังนั้นการเข้าใจ หลัก low risk high return ที่แท้จริงให้ถูกต้อง ดันโดก็ดี บัพเฟต ก็ดี หรือเซียน VI ระดับโลกกีดี เขาบอกมานั้นไม่ผิดครับ เป็นไปตามทฤษฎีทุกอย่าง แต่ห่วงคนอ่านทั่วไป ที่ไม่ลึกซึ้งในหลักการแท้จริงตีตวามผิด กำหนดกลยุทธ์ลงทุนผิด
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 27
เพื่อเป็นความรู้ทางวิชาการจริงๆ ไม่ใช่ฟังต่อๆกันมา และบอกต่อๆ กันจนรู้สึกว่าอะไรคือหลักวิชาการ และสำหรับคนที่เรียนด้านการเงินจริงๆ จะได้ไม่หลงจนงงงวย ว่า arbitrage มันมีนิยามจริงๆคืออพไรแน่ เอาแบบตามตำราเป๊ะมาให้อ่านกันดีกว่าlaithawee เขียน:intuch มีราคา discount จาก advanc+thcom สูงมาก
ผ่านมาถึงตอนนี้ discount แคบ ลง เป็นการ arbitrage ตามความหมายที่ถูกต้อง
Arbitrage คือ กลยุทธ์ในการทำกำไรจากผลต่างของราคาใน 2 ตลาดของสินค้าชนิดเดียวกัน ซึ่งการที่จะทำเช่นนี้ได้ก็ต่อเมื่อสินค้านั้นมีการซื้อขายมากกว่าหนึ่งตลาด เช่น ซื้อขายในตลาดปกติที่มีการส่งมอบกันทันที และซื้อขายในตลาดล่วงหน้า เป็นต้น
ใน Text bool
Arbitrage: Attempting to profit by exploiting price differences of identical or similar financial instruments, on different markets or in different forms. The ideal version is riskless arbitrage.
-
- Verified User
- โพสต์: 46
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 28
http://en.wikipedia.org/wiki/Arbitrage
มีมากมายหนทางกับคำว่า arbitrage และอนาคตอาจจะมีมากกว่านี้สำหรับนักลงทุน
มีมากมายหนทางกับคำว่า arbitrage และอนาคตอาจจะมีมากกว่านี้สำหรับนักลงทุน
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 29
Conditions for arbitrageArbitrage is possible when one of three conditions is met:laithawee เขียน:http://en.wikipedia.org/wiki/Arbitrage
มีมากมายหนทางกับคำว่า arbitrage และอนาคตอาจจะมีมากกว่านี้สำหรับนักลงทุน
1.The same asset does not trade at the same price on all markets ("the law of one price").
2.Two assets with identical cash flows do not trade at the same price.
3.An asset with a known price in the future does not today trade at its future price discounted at the risk-free interest rate (or, the asset does not have negligible costs of storage; as such, for example, this condition holds for grain but not for securities).
ลักษณะของ อาร์บิทาจ จะเกิดขึ้นเมื่อเข้าเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งในสามข้อนี้
1 สินทรัพย์เดียวกันไม่ซื้อขายที่ราคาเดียวกันในทุกๆตลาด เช่น ทองร้านเฮงเฮงในเยาวราช ราคาบาทละ 20,000 ขณะที่ร้านตงตงในย่านเดียวกัน ณเวลานั้น ราคาบาทละ 22,000 บาท คุณสามารถทำอาร์บิทาจ โดยซื้อจากร้านเฮงเฮงมาขายร้านตงตง (สมติไม่มีต้นทุนค่ากำเหน็จแต่อย่างใด) ย้ำครับว่าต้องสินค้าเดียวกัน ขายในร้านต่างกัน ในชวงเวลาเดียวกัน
2 การเกิดอาร์บิทาจในสินทรัพย์ 2 ตัว เกิด ได้ถ้าสินทรัพย์ทั้ง 2 ตัวนั้นมีรูปแบบกระแสเงินสดที่เหมือนกัน ในที่นี้หมายความถึงราคาแท้จริง (intrinsic value) เท่ากัน ในแง่หุ้นคือมีกระแสเงินสดกิจการในอนาคต (free cash flow) เหมือนกัน ความเสี่ยงเท่าก้น ราคาปัจจัยพื้นฐาน (intrinsic value) เท่ากัน ไม่ซื้อขายในราคาเดียวกัน เราอาจจะขายห้นราคาที่สูงกว่าและซื้อหุ้นราคาที่ต่ำกว่าในช่วงเวลาเดียวกัน อย่าลืมด้วยนะครับว่า สินทรัพย์ที่จะถือแทนกันได้นั้น ต้องมี risk เดียวกัน อันนี้เป็นไปตามหลักของ portfolio management theory ครับ
3 สินทรัพย์ที่รู้ราคาในอนาคตแน่นอน และราคาในปัจจุบันไม่ได้ซื้อขายที่ราคาในอนาคตคิดลดด้วย risk free rate (อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยง) ในทางทฤษฎีทางการเงิน สมมติว่ารู้แน่นอนว่า สินทรัพย์ A จะมีราคาใน 1 ปีแน่นอนที่ 105 บาท อัตราผลตอบแทนสินทรัพย์ที่ไม่มีความเสี่ยงปัจจุบันอยู่ที่ 5% ราคาวันนี้ควรซื้อขายที่ 100 บาท หากราคาต่ำกว่า เป็น 90 บาท เราก็ไปกู้เงินมาซื้อหุ้นได้ (ทฤษฎีการเงินสมมติให้ตลาดเงินเรากู้ได้ที่ risk free rate 5%) กู้ 90 บาท ซื้อหุ้นนั้น ถือ 1 ปี จ่ายดอกเบี้ย 4.5 บาท รวมต้นทุนทั้งสิ้น 94.5 บาท ขายหุ้นออก ถ้าวันนั้นราคาหุ้นเข้าสู่ภาวะสมดุลจะมีราคา 105 บาท จะมีกำไร 10.5 บาท จะมีกำไรมากกว่าตลาด 5.5 บาท holds for grain ของตลาดคือ 5 บาท ในเงื่อนไขที่ 3 นี้ นักวิชาการทางการเงินบางคนถือว่า เป็นหลักการลงทุนทั่วไปที่นักลงทุน สามารถลงทุนได้เมื่อราคาหลักทรัพย์ซื้อขายต่ำกว่าเส้น SML (Stock Market Line) ซึ่งเส้น SML นี่สร้างขึ้นมาจากการ combine ของ risk free asset และ risky asset ใครที่อยากเข้าใจถ้าคิดว่าจะอ่านเองได้ให้ไปหาความรู้ในตำรา Text book เรือง Investment มีหลายสำนักพิมพ์ เช่น Princes Hall, Mc Grawhills เป็นต้น
ขอขอบคุณที่เอาลิงค์ของ Wikipedia มาให้ ความจริงผมก็ได้อ่านมาก่อนนานแล้ว และมีอีกหลายๆ เว็ป เช่น investopedia.com ก็ได้ครับ อธิบายเนื้อๆ ทางวิชาการพอสังเขป ในโลกตลาดเงินตลาดทุนจริง เวลาทำงานใน field นี้ เขามีศัพท์แสงมาก ต้องเข้าใจ หากเราเบลอๆ ก็จะหลงทางง่าย ก็เหมือนกับโลกบัญชีครับ ถ้าไม่เข้าใจที่มาที่ไป ก็อ่านงบไม่แตก ๔กหลอกด้วยกลบัญชีได้
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: การลงทุนแบบดันโด
โพสต์ที่ 30
ลงทุนได้กำไรกันก็ดีใจด้วยครับ แต่ต้องรู้ว่าที่กำรและถูกทางนั้น มีเหตุผลทางหลักวิชาที่ถูกต้องรองรับอย่างไร เพราะถ้าเข้าใจผิดมันอาจย้อนกลับตรงข้ามได้ในวันข้างหน้า แล้วจะทำให้ไม่ได้เรียนรู้ว่าสาเเหตุแท้จริงมาจากสิ่งใด นี่คือสิ่งที่อยากให้เข้าใจ ไม่ใช่ว่าจะแย้งค้านสิ่งที่กล่าวๆกันมาอย่างเดียว เพราะผมเองก็สอนและบรรยายในด้านการบัญชี การเงิน การลงทุน บวกกับประสบการณ์ทำงานจริงมากว่า 20 ปี เมื่อเห็นว่าอาจจะเข้าใจไม่ตรงประเด็นในทางวิชาการก็บอกให้เข้าใจเสียให้ถูกต้องเท่านั้น