งบกระแสเงินสด

Stock lover
Verified User
โพสต์: 448
ผู้ติดตาม: 0

Re: งบกระแสเงินสด

โพสต์ที่ 31

โพสต์

แล้วseasonal effect นี้มันคืออะไรเหรอครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
nut776
Verified User
โพสต์: 3350
ผู้ติดตาม: 0

Re: งบกระแสเงินสด

โพสต์ที่ 32

โพสต์

ขายดีเป็นช่วงๆไง
show me money.
ภาพประจำตัวสมาชิก
airazoc
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 904
ผู้ติดตาม: 1

Re: งบกระแสเงินสด

โพสต์ที่ 33

โพสต์

ผมชอบดูงบกำไรขาดทุนก่อน แล้วไปดู กระแสเงินสดว่าทิ้งช่วงหายไปไหม อ่ะครับ

อยากขอหลักสังเกตครับ ว่าในกรณีไหนที่เราควรตั้งข้อสงสัยว่า งบนี้จงใจปลอมให้นักลงทุนเข้าใจผิด
กลัวเจอบริษัทแต่งงบ book กำไร แต่เงินไม่มาซะที แล้วไม่รู้เท่าทัน
กรณีไหนที่ยอมรับได้ ที่เงินสดเข้ามาทีหลัง กรณีไหนที่รับไม่ได้ น่ะครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ
"In life and business, there are two cardinal sins ... The first is to act precipitously without thought, and the second is to not act at all.” – Carl Icahn
miracle
Verified User
โพสต์: 18364
ผู้ติดตาม: 1

Re: งบกระแสเงินสด

โพสต์ที่ 34

โพสต์

ขอบคุณครับ
ประเด็นของงบกระแสเงินสดทางตรงกับทางอ้อมนั้น
มันมีการใช้ที่แตกต่างกันอยู่เล็กน้อยเท่านั้นละครับ
เพราะ ถ้าวิเคราะห์กันเชิงลึกมาก (เข้าใจธุรกิจอย่างจริงๆจัง) ทางตรงเห็นชัดเจนกว่าทางอ้อม
แต่ทางอ้อมมีข้อดีคือ เห็นกระแสเงินสดว่ามาจากกิจกรรมอะไรชัดเจนกว่า เหมาะสมกับผู้ที่ไม่ค่อยเป็นบัญชีเท่าไร

:)
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
Tibular
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 531
ผู้ติดตาม: 0

Re: งบกระแสเงินสด

โพสต์ที่ 35

โพสต์

parporn เขียน:
ลองเปลี่ยนแนวคิดกันใหม่ดีไหมคะ

สมัยก่อน นักบัญชีเคยแสดงรายการหนึ่งไว้ในงบกำไรขาดทุน เรียกว่า " รายการพิเศษ" กฎของการจำแนกรายการพิเศษคือ 1. ต้องไม่เกิดขึ้นบ่อย 2. ต้องไม่เกิดจากการดำเนินงานของกิจการ เหตุผลที่กฎตั้งไว้อย่างนั้นเพื่อเอาใจนักวิเคราะห์ในการ normalize earnings เพื่อที่เวลาประมาณราคาในทางสถิติจะทำได้ง่ายขึ้น เช่น การ valuation โดยใช้ time series หรือ regression analysis เพราะการมี outliers จะทำให้เส้นที่เราพยายามจะ fit บนข้อมูลถูกดึงให้เบี่ยงเบนโดยเลขตัวเดียว (หรือกำไรที่รวมรายการพิเศษ) นักบัญชีเลยแยกรายการพิเศษเป็นข้อมูลต่างหากไว้ให้นักลงทุนเอาไปหักจากกำไรเพื่อหา normalized earnings

นั่นคือเหตุการณ์นานมาแล้ว ก่อนที่โลกธุรกิจจะเติบโตและบริษัทจะมีโครงสร้างซับซ้อนอย่างทุกวันนี้

พอบัญชีอนุญาตให้มีรายการพิเศษ บริษัทก็เริ่มจัดประเภทรายการให้เป็นรายการพิเศษ เช่น หนี้สูญที่เกิดขึ้นอย่างผิดปกติเมื่อเกิดพิษต้มยำกุ้ง เงินลงทุนที่สูญเสียจากการโจมตีอิรัก ความเสียหายจากซึนามิ หรือจากน้ำท่วมใหญ่อย่างปีที่แล้ว การลดค่าเงินทำให้ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน หรือแม้แต่การลดอัตราภาษีจนทำให้ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้พุ่งกระฉูด

สรุปว่า บริษัทใหญ่ๆ ต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่างชนิดกันไปทุกปี รายการพิเศษก็เกิดขึ้นบ่อยๆ ในบริษัทเดียวหรือต่างบริษัทก็เถอะ นักบัญชีหลังจากที่เข้าใจหลักการเงินมากขึ้น ก็เริ่มเห็นว่างบการเงินของเราเองนั่นแหละที่ทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิด

เพราะในความเป็นจริง การบริหารบริษัทต้องทำควบคู่กับการบริหารความเสี่ยง ความเสี่ยงทุกชนิดป้องกันได้ หรือบรรเทาได้ ผู้้บริหารที่เก่งต้องทำการ hedging ค่าเงินหรือความผันผวนของราคาสินค้า ซื้อประกันภัยเพื่อป้องกันน้ำท่วม ปล่อยหนี้แบบมีเหตุผล diversify การลงทุน ฯลฯ ไม่ใช่ปล่อยให้เหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว แล้วบอกว่าสุดวิสัยที่จะคาดการณ์ หรือเหตุการณ์อยู่เหนือการควบคุม เลยต้องแยกรายการเหล่านี้ออกมาเป็นรายการพิเศษ

ในที่สุด นักบัญชีก็ล้มเลิกการจัดประเภทรายการพิเศษ เพราะถือว่า รายการทุกรายการเกิดขึ้นจากการดำเนินงานหรือความสามารถในการบริหารงานของผู้บริหารทั้งสิ้น นั่นหมายความว่า งบกำไรขาดทุนสามารถวัดผลงานของบริษัทได้จริงโดยไม่ต้องกันรายการใดออกไปเป็นรายการพิเศษ

ยังนะคะ ยังไม่จบ เพราะนักลงทุนต้องพยายามเข้าใจต่อไปอีกว่า งบกำไรขาดทุนที่ใช้กันอยู่นั้น ให้ภาพแค่บางส่วน การดำเนินงานของบริษัทยังมีอะไรที่ไม่ได้รวมอยู่ในงบการเงินที่นักบัญชีเขากันออกไป แต่ตอนนี้ เขาค่อยๆ นำกลับเข้ามา และค่อยๆ แนะนำให้นักลงทุนรู้จัก นั่นคือ รายการที่อยู่ในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ซึ่งนักลงทุนวิเคราะห์หุ้นโดยไม่สนใจรายการเหล่านี้ เพราะมัวแต่ไปมุ่งอยู่กับงบกำไรขาดทุนที่คุ้นกัน

มาต่อเรื่องรายการพิเศษนะคะ ในการดำเนินงานของบริษัท ไม่มีรายการอะไรที่พิเศษค่ะ และก็ไม่มีรายการใดที่เป็นขาดทุนทางบัญชีที่มีผลกระทบเฉพาะกับตัวเลข นั่นเป็นเรื่องที่บริษัทอยากให้เราเชื่อ ดังนั้นในการวิเคราะห์ เราควรนำกำไรขาดทุนที่แสดงในงบกำไรขาดทุนมาวิเคราะห์ความสามารถของผู้บริหารโดยไม่ต้องกันรายการใดออก จะยกเว้น ( ในขณะนี้) ก็แต่รายการกำไรแปลกๆ หรือค่าใช้จ่ายติดลบที่ผู้บริหารสามารถควบคุมให้เกิดขึ้น เช่น การขายแล้วเช่ากลับคืนเพื่อบันทึกกำไรจากการขายทันที การขายเงินลงทุน lot ใหญ่เพื่อบันทึกกำไรเมื่อกำไรสุทธิตกต่ำ ส่วนเรื่องขาดทุนนั้น ไม่ต้องห่วงบริษัทหรอกค่ะ ถ้าเขาดึงได้ เขาดึงแล้ว บางครั้งเขาดึงรายการนี้ไม่ได้ เขาก็ไปดึงรายการอื่น เช่น ตั้งค่าเผื่อน้อยลง cap ค่าใช้จ่ายเป็นสินทรัพย์มากขึ้น

แม้กฎบัญชีจะพยายามออกให้เข้มที่สุด แต่จากนั้นมันเป็นเรื่องของคนปฎิบัติที่จะเลี่ยงกฎ ไม่ว่าจะเป็นผู้ออกกฎในไทยที่อยู่ข้างเดียวกับผู้ประกอบการ (แทนที่จะอยู่ข้างเดียวกับผู้ใช้งบการเงินที่เขาต้องพิทักษ์) ผู้กำกับดูแลที่ใกล้ชิดกับอำนาจของผู้ประกอบการ ตัวผู้ประกอบการเอง และผู้สอบบัญชี เรื่องนี้เป็นเรื่องของเงินกับอำนาจ เงินมากคนก็เกรงใจมาก

ทีนี้ก็มาถึงงบกระแสเงินสด งบกระแสเงินสดแสดงการเปลี่ยนแปลงของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงิน (บรรทัดแรกในงบดุล โปรดสังเกตนะคะ ว่าพื้นฐานเลยคือการเปลี่ยนแปลงของรายการบรรทัดเดียว) อยากให้งบกระแสเงินสดเปลี่ยนไป แค่เอาเงินใส่เข้าบัญชีก่อนวันปิดงบ งบกระแสเงินสดก็เปลี่ยนไปแล้ว เช่น ขายเงินลงทุนสักรายการ งบก็เปลี่ยนเพราะเงินสดเปลี่ยน หรือยืมเงินใครเข้ามางบก็เปลี่ยนไป เปลี่ยนไปโดยธรรมชาติของมัน ไม่ต้องแต่งตัวเลขให้ผิดกฎด้วย (สวยด้วยแพทย์ไม่ผิดกฎหมายอย่างว่า) นี่ยังไม่ได้พูดถึงการแต่งตัวเลขแบบผิดกฎหรือการเดินเหยียบเส้นสีเทาๆ ในการออกงบนะ

แต่คุณกลับเชื่องบกระแสเงินสดมากกว่างบกำไรขาดทุน
]ข้อนี้นักบัญชีงงค่ะ


เปิดโลกทัศน์มากเลยครับ

เห็นด้วยมากครับ ตรง

"เพราะในความเป็นจริง การบริหารบริษัทต้องทำควบคู่กับการบริหารความเสี่ยง ความเสี่ยงทุกชนิดป้องกันได้ หรือบรรเทาได้"

และ

"รายการทุกรายการเกิดขึ้นจากการดำเนินงานหรือความสามารถในการบริหารงานของผู้บริหารทั้งสิ้น นั่นหมายความว่า งบกำไรขาดทุนสามารถวัดผลงานของบริษัทได้จริงโดยไม่ต้องกันรายการใดออกไปเป็นรายการพิเศษ"

ต่อไปคงต้องมองบริษัทที่จะลงทุนให้ชัดเจนขึ้น

ขอบคุณมากๆครับอาจารย์
flookza
Verified User
โพสต์: 54
ผู้ติดตาม: 0

Re: งบกระแสเงินสด

โพสต์ที่ 36

โพสต์

มาต่อเรื่องรายการพิเศษนะคะ ในการดำเนินงานของบริษัท ไม่มีรายการอะไรที่พิเศษค่ะ และก็ไม่มีรายการใดที่เป็นขาดทุนทางบัญชีที่มีผลกระทบเฉพาะกับตัวเลข นั่นเป็นเรื่องที่บริษัทอยากให้เราเชื่อ ดังนั้นในการวิเคราะห์ เราควรนำกำไรขาดทุนที่แสดงในงบกำไรขาดทุนมาวิเคราะห์ความสามารถของผู้บริหารโดยไม่ต้องกันรายการใดออก จะยกเว้น ( ในขณะนี้) ก็แต่รายการกำไรแปลกๆ หรือค่าใช้จ่ายติดลบที่ผู้บริหารสามารถควบคุมให้เกิดขึ้น เช่น การขายแล้วเช่ากลับคืนเพื่อบันทึกกำไรจากการขายทันที การขายเงินลงทุน lot ใหญ่เพื่อบันทึกกำไรเมื่อกำไรสุทธิตกต่ำ ส่วนเรื่องขาดทุนนั้น ไม่ต้องห่วงบริษัทหรอกค่ะ ถ้าเขาดึงได้ เขาดึงแล้ว บางครั้งเขาดึงรายการนี้ไม่ได้ เขาก็ไปดึงรายการอื่น เช่น ตั้งค่าเผื่อน้อยลง cap ค่าใช้จ่ายเป็นสินทรัพย์มากขึ้น


ทีนี้ก็มาถึงงบกระแสเงินสด งบกระแสเงินสดแสดงการเปลี่ยนแปลงของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงิน (บรรทัดแรกในงบดุล โปรดสังเกตนะคะ ว่าพื้นฐานเลยคือการเปลี่ยนแปลงของรายการบรรทัดเดียว) อยากให้งบกระแสเงินสดเปลี่ยนไป แค่เอาเงินใส่เข้าบัญชีก่อนวันปิดงบ งบกระแสเงินสดก็เปลี่ยนไปแล้ว เช่น ขายเงินลงทุนสักรายการ งบก็เปลี่ยนเพราะเงินสดเปลี่ยน หรือยืมเงินใครเข้ามางบก็เปลี่ยนไป เปลี่ยนไปโดยธรรมชาติของมัน ไม่ต้องแต่งตัวเลขให้ผิดกฎด้วย (สวยด้วยแพทย์ไม่ผิดกฎหมายอย่างว่า) นี่ยังไม่ได้พูดถึงการแต่งตัวเลขแบบผิดกฎหรือการเดินเหยียบเส้นสีเทาๆ ในการออกงบนะ


"มาต่อเรื่องรายการพิเศษนะคะ ในการดำเนินงานของบริษัท ไม่มีรายการอะไรที่พิเศษค่ะ และก็ไม่มีรายการใดที่เป็นขาดทุนทางบัญชีที่มีผลกระทบเฉพาะกับตัวเลข นั่นเป็นเรื่องที่บริษัทอยากให้เราเชื่อ ดังนั้นในการวิเคราะห์ เราควรนำกำไรขาดทุนที่แสดงในงบกำไรขาดทุนมาวิเคราะห์ความสามารถของผู้บริหารโดยไม่ต้องกันรายการใดออก จะยกเว้น ( ในขณะนี้) ก็แต่รายการกำไรแปลกๆ หรือค่าใช้จ่ายติดลบที่ผู้บริหารสามารถควบคุมให้เกิดขึ้น เช่น การขายแล้วเช่ากลับคืนเพื่อบันทึกกำไรจากการขายทันที การขายเงินลงทุน lot ใหญ่เพื่อบันทึกกำไรเมื่อกำไรสุทธิตกต่ำ ส่วนเรื่องขาดทุนนั้น ไม่ต้องห่วงบริษัทหรอกค่ะ ถ้าเขาดึงได้ เขาดึงแล้ว บางครั้งเขาดึงรายการนี้ไม่ได้ เขาก็ไปดึงรายการอื่น เช่น ตั้งค่าเผื่อน้อยลง cap ค่าใช้จ่ายเป็นสินทรัพย์มากขึ้น"

และ "ทีนี้ก็มาถึงงบกระแสเงินสด งบกระแสเงินสดแสดงการเปลี่ยนแปลงของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงิน (บรรทัดแรกในงบดุล โปรดสังเกตนะคะ ว่าพื้นฐานเลยคือการเปลี่ยนแปลงของรายการบรรทัดเดียว) อยากให้งบกระแสเงินสดเปลี่ยนไป แค่เอาเงินใส่เข้าบัญชีก่อนวันปิดงบ งบกระแสเงินสดก็เปลี่ยนไปแล้ว เช่น ขายเงินลงทุนสักรายการ งบก็เปลี่ยนเพราะเงินสดเปลี่ยน หรือยืมเงินใครเข้ามางบก็เปลี่ยนไป เปลี่ยนไปโดยธรรมชาติของมัน ไม่ต้องแต่งตัวเลขให้ผิดกฎด้วย (สวยด้วยแพทย์ไม่ผิดกฎหมายอย่างว่า) นี่ยังไม่ได้พูดถึงการแต่งตัวเลขแบบผิดกฎหรือการเดินเหยียบเส้นสีเทาๆ ในการออกงบนะ"

1ผมเคยเจอกรณี บ.xxx บันทึกกำไรในงบกำไรขาดทุนสูงมาก ซึ่งทำให้ EPS ออกมาสูงผิดปกติจาก การดำเนินงานปกติ และมีการปันผลในสัดส่วนที่ผิดปกติ(น้อยกว่าที่แจ้งไว้ตามกฎของบริษัท) สอบถามในที่ประชุมได้ความว่า เป็นกำไรจากสต๊อกของวัตถุดิบ ซึ่งไม่ได้เป็นกำไรจากการดำเนินงาน
เมื่อไปดูงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ผลปรากฎว่า เงินสดรับจากการดำเนินงานน้อยกว่า กำไรสุทธิ 50%โดยประมาณ ในเมื่อ งบทั้งสองแตกต่างกันแบบนี้ ถ้าจะให้เลือกระหว่างดู EPS ในงบกำไรขาดทุนก่อน สู้ไปดู (เงินสดเข้าจากกิจกรรมดำเนินงาน/จำนวนหุ้น)ก่อน<<< ผมก็ไม่รู้ว่าชื่อย่อเรียกอะไร จะดีกว่าไหมครับ
อีกกรณี อันนี้ได้ยินมา เห็นว่า ธุรกิจอสังหาสมัยก่อน บันทึกกำไรขาดทุนเมื่อ มีคนดาวน์หรือจอง ซึ่งแน่นอน งบกำไรขาดทุนแสดงกำไร แต่ถ้าดูงบเงินสดดำเนินงาน มันไม่มีแน่นอน
2การขายหน่วยลงทุน การยืมเงิน การกู้เงิน ทำให้งบกระแสเงินสดเป็น+ แต่กรณีพวกนี้ นักบัญชีสามารถนำไปใส่ในส่วนกระแสเงินสดดำเนินงานได้หรอครับ ถ้า กลต ไม่ห้าม แล้วผิดจริยธรรมนักบัญชีหรือเปล่าครับ
แต่ถ้าหากว่า บ.เอ ตั้งขึ้นมาเผื่อ ซื้อขายหน่วยลงทุนโดยหวังผลกำไรจากผลต่างกำไรของหน่วยลงทุน กรณีสามารถลงเงินสดรับในส่วนกระแสเงินสดดำเนินงานได้ ผมเข้าใจแบบนี้ถูกไหมครับ
แมงเม่าหัดเทพ
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: งบกระแสเงินสด

โพสต์ที่ 37

โพสต์

flookza เขียน:
1ผมเคยเจอกรณี บ.xxx บันทึกกำไรในงบกำไรขาดทุนสูงมาก ซึ่งทำให้ EPS ออกมาสูงผิดปกติจาก การดำเนินงานปกติ และมีการปันผลในสัดส่วนที่ผิดปกติ(น้อยกว่าที่แจ้งไว้ตามกฎของบริษัท) สอบถามในที่ประชุมได้ความว่า เป็นกำไรจากสต๊อกของวัตถุดิบ ซึ่งไม่ได้เป็นกำไรจากการดำเนินงาน
เมื่อไปดูงบกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน ผลปรากฎว่า เงินสดรับจากการดำเนินงานน้อยกว่า กำไรสุทธิ 50%โดยประมาณ ในเมื่อ งบทั้งสองแตกต่างกันแบบนี้ ถ้าจะให้เลือกระหว่างดู EPS ในงบกำไรขาดทุนก่อน สู้ไปดู (เงินสดเข้าจากกิจกรรมดำเนินงาน/จำนวนหุ้น)ก่อน<<< ผมก็ไม่รู้ว่าชื่อย่อเรียกอะไร จะดีกว่าไหมครับ
อีกกรณี อันนี้ได้ยินมา เห็นว่า ธุรกิจอสังหาสมัยก่อน บันทึกกำไรขาดทุนเมื่อ มีคนดาวน์หรือจอง ซึ่งแน่นอน งบกำไรขาดทุนแสดงกำไร แต่ถ้าดูงบเงินสดดำเนินงาน มันไม่มีแน่นอน
2การขายหน่วยลงทุน การยืมเงิน การกู้เงิน ทำให้งบกระแสเงินสดเป็น+ แต่กรณีพวกนี้ นักบัญชีสามารถนำไปใส่ในส่วนกระแสเงินสดดำเนินงานได้หรอครับ ถ้า กลต ไม่ห้าม แล้วผิดจริยธรรมนักบัญชีหรือเปล่าครับ
แต่ถ้าหากว่า บ.เอ ตั้งขึ้นมาเผื่อ ซื้อขายหน่วยลงทุนโดยหวังผลกำไรจากผลต่างกำไรของหน่วยลงทุน กรณีสามารถลงเงินสดรับในส่วนกระแสเงินสดดำเนินงานได้ ผมเข้าใจแบบนี้ถูกไหมครับ
ข้อ 1 จำได้ว่าเขียนไว้ตรงไหนสักที่ว่างบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสดให้ข้อมูลที่เสริมกัน การวิเคราะห์ต้องใช้ข้อมูลจากทั้ง 2 งบพร้อมกัน อย่างเช่นกำไรจากสต็อกโดยเฉพาะที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินงาน อ่านงบกำไรขาดทุนปุ็บก็น่าจะสงสัยได้ทันทีว่ามีอะไรผิดปกติ ยังไม่ต้องลงไปดูงบกระแสเงินสดเลย บังเอิญว่ารายการนี้ เงินสดยังไม่ได้เข้ามา คุณดูงบกระแสเงินสดจึงเห็นชัด สมมุตินะคะว่าบริษัทเกิดโล๊ะสต๊อกแล้วได้เงินสดเข้ามาจริงจากการเลหลังขาย งบกำไรขาดทุนกับงบกระแสเงินสดจะให้ข้อมูลที่ตรงกัน ซึ่งไม่ได้ช่วยอะไรในการวิเคราะห์ไปมากกว่าเดิม แต่การดูรายการในงบกำไรขาดทุน แล้วพบว่ามีการโล๊ะต็อกเพื่อทำกำไร เรื่องนี้ได้เตือนไว้ชัดเจนแล้วให้ระวังกำไร lot ใหญ่ที่บริษัทควบคุมได้

ส่วนเรื่องบริษัทอสังหาฯ งบกำไรขาดทุนบิดเบือนจากกฎบัญชีที่ประเทศไทยประกาศใช้ในอดีต เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เคยเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์วิเคราะห์วิจารณ์เรื่องนี้ โชคดีที่ 10 ปีให้หลัง ผู้ออกกฎตื่นขึ้นมาแก้กฎใหม่ในปี 54 ต่อไปนี้ (ยกเว้นปี 54) เราอาจเห็นงบกำไรขาดทุนที่สะท้อนภาพผลการดำเนินงานที่ใกล้เคียงความจริงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ถ้าเรารู้ทันบริษัท เราจะสังเกตเห็นอะไรต่อมิอะไรในงบกำไรขาดทุนได้จมหู ขณะที่การวิเคราะห์ให้ทำการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุนกับงบกระแสเงินสดควบคู่กัน อาจดู ratio คุณภาพกำไรประกอบ

Quality of earnings = cash flows from operation / net income

การที่ไม่ให้วิเคราะห์งบกระแสเงินสดอย่างเดียว เพราะนอกจากจะไม่ให้ภาพที่ครบถ้วนแล้ว งบกระแสเงินสดยังแต่งง่าย แต่ดูยากค่ะ ส่วนงบกำไีรขาดทุนดูง่ายกว่าค่ะ (ถ้ารู้กฎ)

ข้อ 2 การจัดประเภทรายการในงบกระแสเงินสดขึ้นอยู่กับลักษณะของรายการที่ก่อให้เกิดเงินสด เช่น บริษัทได้รับเงินสดจากการขายเงินลงทุนระยะสั้น บริษัทอาจให้เหตุผลว่า เงินลงทุนระยะสั้นที่บริษัทมีนั้น มีไว้ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดำเนินงานมากกว่าที่จะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมลงทุน ดังนั้น บริษัทจึงจัดประเภทเงินลงทุนระยะสั้นเป็นกิจกรรมดำเนินงานแทนที่จะเป็นกิจกรรมลงทุน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น (เราต้องพึ่งผู้สอบบัญชีในเรื่องนี้)

อย่างเช่นเรื่องการขายหน่วยลงทุน หากการออกหน่วยลงทุนเป็นอาชีพหนักในการดำเนินงาน เงินสดที่ได้จากการขายหน่วยลงทุนย่อมถือเป็นกิจกรรมดำเนินงานจึงจะถูกต้อง เพราะนำมาใช้วัดผลการดำเนินง่นของบริษัทค่ะ
flookza
Verified User
โพสต์: 54
ผู้ติดตาม: 0

Re: งบกระแสเงินสด

โพสต์ที่ 38

โพสต์

Quality of earnings = cash flows from operation / net income


ผมไม่ค่อยเก่งอังกฤษ แต่จากที่อ่าน แปลว่า คุณภาพของกำไร = เงินสดจากการดำเนินงาน/กำไรสุทธิ ถูกไหมครับ

ซึ่งถ้าหากว่า ผลออกมาไม่ถึง 1 แสดงว่า กำไรของบ.นี้ไม่มีคุณภาพ ผมแปลความหมายถูกไหมครับ


ขอบคุณครับ
แมงเม่าหัดเทพ
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: งบกระแสเงินสด

โพสต์ที่ 39

โพสต์

flookza เขียน:Quality of earnings = cash flows from operation / net income


ผมไม่ค่อยเก่งอังกฤษ แต่จากที่อ่าน แปลว่า คุณภาพของกำไร = เงินสดจากการดำเนินงาน/กำไรสุทธิ ถูกไหมครับ

ซึ่งถ้าหากว่า ผลออกมาไม่ถึง 1 แสดงว่า กำไรของบ.นี้ไม่มีคุณภาพ ผมแปลความหมายถูกไหมครับ


ขอบคุณครับ
โดยทฤษฎี ถูกต้องค่ะ กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน หาร กำไรสุทธิ (ถ้าเป็นขาดทุนจะอ่านผลยากขึ้น)

แต่การจะนำมาปรับใช้อาจต้องคำนึงว่าตัวตั้งกับตัวหารต้องมาจากฐานเดียวกัน เช่น เมื่อกำไรสุทธิเป็นกำไรหลังจากที่หักดอกเบี้ยและภาษีเงินได้แล้ว กระแสเงินสดจากการดำนินงานย่อมต้องคำนวณเหมือนกันคือ ต้องลบดอกเบี้ยเงินสดและภาษีเงินได้ที่จ่ายในระหว่างงวดด้วย ตามปกติ เราจะเห็นบริษัทนำดอกเบี้ยจ่่ายไปหักจากกิจกรรมจัดหาเงินแทนที่จะหักจากกิจกรรมดำเนินงาน ดังนั้น เราต้องปรับตัวเลขเอง

อัตราส่วนของ QE ควรเข้าใกล้ 1 มากที่สุด ถ้าสูงกว่า 1 ก็ยิ่งดี แต่บริษัททั่วไปมักไม่มี QE ขนาดนั้น เวลาวิเคราะห์ต้องดูระยะยาว ดูเป็นแบบภาพนิ่งไม่ได้ (หมายถึงดูแค่ปีเดียว) ต้องดูเป็นภาพเคลื่ิอนไหว (คือดูหลายปีติดต่อกัน) เพราะทำให้เราเห็นรูปแบบของ QE ว่าเป็นอย่่งไร การวิเคราะห์ก็คล้ายกับการวิเคราะห์ราคาหุ้นหรือผลตอบตอบแทน ถ้าเส้นกร๊าฟเหวี่ยงมากก็แสดงว่ามีความเสี่ยงสูง ถ้าเส้นตรงสวยก็แสดงว่าความเสี่ยงน้อย ถ้าสูงกว่าหรือเดินตามเส้น 1 บริษัทมี QE ที่ดี

ถ้าดูบริษัทอสังหาฯ เราจะเห็น QE วิ่งขึ้นๆ ลงๆ เพราะกำไรกับเงินสดไม่สัมพันธ์กัน แต่นับจากปี 54 เป็นต้นไปเมื่อบริษัทอสังหาฯ ต้องรับรู้รายได้ตามมาตรฐานการบัญชีใหม่ รูปแบบของ QE น่าจะดีขึ้นโดยเฉพาะธุรกิจบ้านจัดสรร แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทเหล่านี้ลูกเล่นเยอะ เรื่องจริงจะเป็นอย่างไรต้องคอยดูกันต่อไป เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ค่ะ
flookza
Verified User
โพสต์: 54
ผู้ติดตาม: 0

Re: งบกระแสเงินสด

โพสต์ที่ 40

โพสต์

ตามปกติ เราจะเห็นบริษัทนำดอกเบี้ยจ่่ายไปหักจากกิจกรรมจัดหาเงินแทนที่จะหักจากกิจกรรมดำเนินงาน ดังนั้น เราต้องปรับตัวเลขเอง >>> บริษัทที่เน้นโชว์ EBI

เจอแล้วครับ ส่วนใหญ่ ทำแบบนั้นด้วย

นอกจากกรณีแบบนี้ ที่อาจารย์บอกว่า งบเงินสดแต่งง่าย รบกวนอาจารย์ยกตัวอย่างกรณีศึกษา งบเงินสด+งบกำไรขาดทุน ของ บ.ต่างๆในอดีต(ถ้าเป็นนอกตลาดจะยิ่งดี>ไม่ชี้นำหุ้น) มายกตัวอย่างได้ไหมครับ

อีกคำถามครับ ถ้างบเงินสดแต่งง่าย ทำไมนักบัญชีถึงไม่แก้มาตรฐานทางบัญชีของงบเงินสดให้เข้มงวดมากกว่านี้ล่ะครับ
แมงเม่าหัดเทพ
winnermax
Verified User
โพสต์: 38
ผู้ติดตาม: 0

Re: งบกระแสเงินสด

โพสต์ที่ 41

โพสต์

0
UpvoteDownvote
ตามปกติ เราจะเห็นบริษัทนำดอกเบี้ยจ่่ายไปหักจากกิจกรรมจัดหาเงินแทนที่จะหักจากกิจกรรมดำเนินงาน ดังนั้น เราต้องปรับตัวเลขเอง >>> บริษัทที่เน้นโชว์ EBI

เจอแล้วครับ ส่วนใหญ่ ทำแบบนั้นด้วย

นอกจากกรณีแบบนี้ ที่อาจารย์บอกว่า งบเงินสดแต่งง่าย รบกวนอาจารย์ยกตัวอย่างกรณีศึกษา งบเงินสด+งบกำไรขาดทุน ของ บ.ต่างๆในอดีต(ถ้าเป็นนอกตลาดจะยิ่งดี>ไม่ชี้นำหุ้น) มายกตัวอย่างได้ไหมครับ

อีกคำถามครับ ถ้างบเงินสดแต่งง่าย ทำไมนักบัญชีถึงไม่แก้มาตรฐานทางบัญชีของงบเงินสดให้เข้มงวดมากกว่านี้ล่ะครับ

_________________
มือใหม่หัดถาม


ตัวอย่างการตกแต่งงบการเงิน ขอยกตัวอย่าง กรณีปิคนิค
ลองอ่านบทความนี้นะครับ เป็นการวิเคราะห์การตกแต่งงบกระแสเงินสด
http://www.ecba.tsu.ac.th/web/th/admin/ ... -Wasan.pdf
หวังว่าคงได้ประโยชน์นะครับ
การตกแต่งงบกระแสเงินสดคงไม่ได้มาจากมาตรฐานการบัญชีที่ไม่เข้มงวด แต่ปัญหาน่าจะมาจากบริษัทขาดการกำกับดูแลกิจการที่ดี จริยธรรมของผู้บริหารและนักบัญชีที่ไม่ยึดมั่นตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ความโลภเป็นแรงจูงใจ ที่ทำให้มีการบิดเบือนข้อเท็จจริง ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
arwut
Verified User
โพสต์: 750
ผู้ติดตาม: 0

Re: งบกระแสเงินสด

โพสต์ที่ 42

โพสต์

เพิ่งมาอ่านครับ ได้ความรู้มากๆ ขอบคุณอาจารย์ครับ ผมมีเรื่องเรียนถามหน่อยหนึ่งคัรบ

บริษัทที่โตเอามากๆ แต่ Margin ต่ำทำให้กำไรไม่พอกับการเติบโตของกิจการ จะทำให้กระแสเงินสดติดลบหรือป่าวครับ หากเป็นแบบนี้การโตแบบนี้เป็นการโตที่ดีหรือป่าวครับ หากมองว่ากิจการนี้ผู้บริหารสามารถบริหารค่าใช้จ่ายต่างๆ อยู่อยู่ในเกรณฑ์ปกติทุกๆปีมี margin เฉลี่ยแล้วอยู่ในระดับเดิมทุกปี ครับ ขอบคุณครับ
ว่าง ไม่ใช่ ไม่มี
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: งบกระแสเงินสด

โพสต์ที่ 43

โพสต์

arwut เขียน:เพิ่งมาอ่านครับ ได้ความรู้มากๆ ขอบคุณอาจารย์ครับ ผมมีเรื่องเรียนถามหน่อยหนึ่งคัรบ

บริษัทที่โตเอามากๆ แต่ Margin ต่ำทำให้กำไรไม่พอกับการเติบโตของกิจการ จะทำให้กระแสเงินสดติดลบหรือป่าวครับ หากเป็นแบบนี้การโตแบบนี้เป็นการโตที่ดีหรือป่าวครับ หากมองว่ากิจการนี้ผู้บริหารสามารถบริหารค่าใช้จ่ายต่างๆ อยู่อยู่ในเกรณฑ์ปกติทุกๆปีมี margin เฉลี่ยแล้วอยู่ในระดับเดิมทุกปี ครับ ขอบคุณครับ
ต้องดูว่า กระแสเงินสดติดลบจากอะไร กิจกรรมดำเนินงาน ลงทุน หรือจัดหาเงิน

ถ้าดำเนินงานติดลบ น่าจะไม่ดี ต้องดูไส้ในอีกทีว่าเกิดเพร่ะอะไร

ถ้าลงทุนติดลบอาจจะไม่เป็นไร ต้องดูอีกล่ะค่ะ ว่าเพราะอะไร

ถ้าจัดหาเงินติดลบ บริษัทกำลังขยายตัวคงไม่รีบจ่ายคืนเงินกู้หรือปันผล แต่ถ้าทำอย่างนั้นต้องหาสาเหตุว่าทำไม

ดูงบกระแสเงินสดต้องเจาะดูค่ะ อย่าดูแต่ยอดรวม
ภาพประจำตัวสมาชิก
arwut
Verified User
โพสต์: 750
ผู้ติดตาม: 0

Re: งบกระแสเงินสด

โพสต์ที่ 44

โพสต์

ยอดสินค้าคงเหลือ และที่ดินรอการพัฒนาของธุรกิจ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทำไมติดลบครับ เนื่องจากสาเหตุอะไรเหรอครับ พอดีไม่เข้าใจบัญชีมากนักครับ กำลังฝึกหัดอ่านงบครับ
ว่าง ไม่ใช่ ไม่มี
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: งบกระแสเงินสด

โพสต์ที่ 45

โพสต์

arwut เขียน:ยอดสินค้าคงเหลือ และที่ดินรอการพัฒนาของธุรกิจ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทำไมติดลบครับ เนื่องจากสาเหตุอะไรเหรอครับ พอดีไม่เข้าใจบัญชีมากนักครับ กำลังฝึกหัดอ่านงบครับ
ในการตีความงบกระแสเงิน ต้องดูว่ายอดติดลบคือกรพแสเงินสดไหลออกใช่หรือไม่ ถ้าใช่หมายความว่า สินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นจากการที่บริษัทจ่ายเงินซื้อสินค้าคงเหลือเข้ามา (สินค้าคงเหลือเพิ่ม) เช่นเดียวกับที่ดินรอการพัฒนาเพิ่ม เงินสดจะติดลบ

ขอโฆษณาแฝงหน่อย ตอนนี้กำลังเปิดอบรมบัญชีสำหรับนักลงทุน ดูที่ webboard > value investing ที่เขียนว่า ขอประชาสัมพันธ์คอร์สอบรม อ่านงบการเงินให้เป็นของ ดร.ภาพร ค่ะ ถ้าไม่รู้บัญชีแต่อยากอ่านงบการเงินเป็น น่าจะลงเรียนนะคะถ้ามีวลา
ภาพประจำตัวสมาชิก
arwut
Verified User
โพสต์: 750
ผู้ติดตาม: 0

Re: งบกระแสเงินสด

โพสต์ที่ 46

โพสต์

parporn เขียน:
arwut เขียน:ยอดสินค้าคงเหลือ และที่ดินรอการพัฒนาของธุรกิจ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทำไมติดลบครับ เนื่องจากสาเหตุอะไรเหรอครับ พอดีไม่เข้าใจบัญชีมากนักครับ กำลังฝึกหัดอ่านงบครับ
ในการตีความงบกระแสเงิน ต้องดูว่ายอดติดลบคือกรพแสเงินสดไหลออกใช่หรือไม่ ถ้าใช่หมายความว่า สินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นจากการที่บริษัทจ่ายเงินซื้อสินค้าคงเหลือเข้ามา (สินค้าคงเหลือเพิ่ม) เช่นเดียวกับที่ดินรอการพัฒนาเพิ่ม เงินสดจะติดลบ

ขอโฆษณาแฝงหน่อย ตอนนี้กำลังเปิดอบรมบัญชีสำหรับนักลงทุน ดูที่ webboard > value investing ที่เขียนว่า ขอประชาสัมพันธ์คอร์สอบรม อ่านงบการเงินให้เป็นของ ดร.ภาพร ค่ะ ถ้าไม่รู้บัญชีแต่อยากอ่านงบการเงินเป็น น่าจะลงเรียนนะคะถ้ามีวลา

น่าสนใจอย่างมากเหมือนกัน แต่ไม่สะดวกเดือนทางไปครับ เนื่องจากอยู่เชียงใหม่ อาจารย์ไม่ลองมาเปิดแถวนี้ดูบ้างเหรอครับ จะได้ลงสมัครเรียนครับ ^_^
ว่าง ไม่ใช่ ไม่มี
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: งบกระแสเงินสด

โพสต์ที่ 47

โพสต์

arwut เขียน:
parporn เขียน:
arwut เขียน:ยอดสินค้าคงเหลือ และที่ดินรอการพัฒนาของธุรกิจ พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ทำไมติดลบครับ เนื่องจากสาเหตุอะไรเหรอครับ พอดีไม่เข้าใจบัญชีมากนักครับ กำลังฝึกหัดอ่านงบครับ
ในการตีความงบกระแสเงิน ต้องดูว่ายอดติดลบคือกรพแสเงินสดไหลออกใช่หรือไม่ ถ้าใช่หมายความว่า สินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นจากการที่บริษัทจ่ายเงินซื้อสินค้าคงเหลือเข้ามา (สินค้าคงเหลือเพิ่ม) เช่นเดียวกับที่ดินรอการพัฒนาเพิ่ม เงินสดจะติดลบ

ขอโฆษณาแฝงหน่อย ตอนนี้กำลังเปิดอบรมบัญชีสำหรับนักลงทุน ดูที่ webboard > value investing ที่เขียนว่า ขอประชาสัมพันธ์คอร์สอบรม อ่านงบการเงินให้เป็นของ ดร.ภาพร ค่ะ ถ้าไม่รู้บัญชีแต่อยากอ่านงบการเงินเป็น น่าจะลงเรียนนะคะถ้ามีวลา
น่าสนใจอย่างมากเหมือนกัน แต่ไม่สะดวกเดือนทางไปครับ เนื่องจากอยู่เชียงใหม่ อาจารย์ไม่ลองมาเปิดแถวนี้ดูบ้างเหรอครับ จะได้ลงสมัครเรียนครับ ^_^
เชียงใหม่เขาก็มากันค่ะ คุณลงมาง่ายกว่าอาจารย์ขึ้นไป
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4741
ผู้ติดตาม: 1

Re: งบกระแสเงินสด

โพสต์ที่ 48

โพสต์

ได้กวามรู้มากๆเลยครับ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
ภาพประจำตัวสมาชิก
arwut
Verified User
โพสต์: 750
ผู้ติดตาม: 0

Re: งบกระแสเงินสด

โพสต์ที่ 49

โพสต์

อยากเรียนถามอีกหน่อยครับ วันนั้นดูรายการ Money Talk เห็น บ. SIS ที่บอกว่าพอโตประมาณ 10% Cash ติดลบ คือรายได้จากการดำเนินงานติดลบเหรอครับ แล้วงั้นก็ทำงานแทบตายไม่ได้เงินจริงมาใช้ ได้แต่ตัวเลขเงินจริงใช่ปะครับ มูลค่าที่เพิ่มในกำไร ไปโผ่ในสินค้าคงเหลือ หรือส่วนลูกหนี้ ผมเข้าใจถูกไหมครับ ขอความรู้เพิ่มหน่อยครับ อ.ครับ
ว่าง ไม่ใช่ ไม่มี
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: งบกระแสเงินสด

โพสต์ที่ 50

โพสต์

arwut เขียน:อยากเรียนถามอีกหน่อยครับ วันนั้นดูรายการ Money Talk เห็น บ. SIS ที่บอกว่าพอโตประมาณ 10% Cash ติดลบ คือรายได้จากการดำเนินงานติดลบเหรอครับ แล้วงั้นก็ทำงานแทบตายไม่ได้เงินจริงมาใช้ ได้แต่ตัวเลขเงินจริงใช่ปะครับ มูลค่าที่เพิ่มในกำไร ไปโผ่ในสินค้าคงเหลือ หรือส่วนลูกหนี้ ผมเข้าใจถูกไหมครับ ขอความรู้เพิ่มหน่อยครับ อ.ครับ
ข้อมูลน้อยเกินไปที่จะตอบอย่างเจาะจงได้

การที่บอกว่า cash ติดลบ นั่นหมายความว่ากระแสเงินสดเป็นลบ แต่ไม่ได้บอกว่าเป็นลบเพราะอะไร อาจเป็นอย่างที่คุณบอกหรืออย่างอื่นก็เป็นได้

การที่กระแสเงินสดติดลบอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ถ้ากำไรจากการดำเนินงานเป็นบวก แต่กระแสเงินสดติดลบ ในภาพรวมหมายถึง บริษัทมีการดำเนินงานที่ใช้ได้ แต่อาจมีเหตุต้องนำเงินที่ได้จากกำไรไปใช้จ่ายในแง่ต่างๆ เช่น จ่ายลูกหนี้ ซื้อสินค้าคงเหลือ แต่ที่แย่หน่อยคือ กำไรอาจเป็นบวก แต่บริษัทขายเป็นเงินเชื่อแล้วเก็บเงินยังไม่ได้ ฯลฯ นั่นก็ทำให้กระแสเงินสดติดลบได้

ตอบชัดเจนไม่ได้ค่ะ ไม่มีข้อมูล
ภาพประจำตัวสมาชิก
Highway_Star
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 452
ผู้ติดตาม: 1

Re: งบกระแสเงินสด

โพสต์ที่ 51

โพสต์

ถามเรื่องงบกระแสเงินสดหน่อยครับ คือว่าผมอ่านงบแล้วเกิดความสงสัยว่าทำไมตัวเลขมันไม่ได้
งบของ DCC นะครับ ปี 2554 ตามรูป (ผม hide บางแถวใน excel นะครับ ไฟล์รูปจะได้ไม่ใหญ่เกินไป)

รูปภาพ

ในส่วนของสินค้าคงเหลือนะครับ
ปี 2553 อยู่ที่ 1,131,258,336 บาท
ปี 2554 อยู่ที่ 1,266,495,128 บาท
สินค้าคงเหลือเพิ่ม เงินสดต้องลด เท่ากับ 1,131,258,336 - 1,266,495,128 = -135,236,792 บาท
แต่ในงบกระแสเงินสด -134,589,948 บาท
ตัวเลขอื่นๆ อย่าง สินทรัพย์หมุน/ไม่หมุน ลูกหนี้การค้า ก็ไม่ตรง
ผมทำอะไรผิดไปรึเปล่าครับ รบกวนด้วย ขอบคุณครับ
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: งบกระแสเงินสด

โพสต์ที่ 52

โพสต์

Highway_Star เขียน:ถามเรื่องงบกระแสเงินสดหน่อยครับ คือว่าผมอ่านงบแล้วเกิดความสงสัยว่าทำไมตัวเลขมันไม่ได้
งบของ DCC นะครับ ปี 2554 ตามรูป (ผม hide บางแถวใน excel นะครับ ไฟล์รูปจะได้ไม่ใหญ่เกินไป)

รูปภาพ

ในส่วนของสินค้าคงเหลือนะครับ
ปี 2553 อยู่ที่ 1,131,258,336 บาท
ปี 2554 อยู่ที่ 1,266,495,128 บาท
สินค้าคงเหลือเพิ่ม เงินสดต้องลด เท่ากับ 1,131,258,336 - 1,266,495,128 = -135,236,792 บาท
แต่ในงบกระแสเงินสด -134,589,948 บาท
ตัวเลขอื่นๆ อย่าง สินทรัพย์หมุน/ไม่หมุน ลูกหนี้การค้า ก็ไม่ตรง
ผมทำอะไรผิดไปรึเปล่าครับ รบกวนด้วย ขอบคุณครับ
ในรายการกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ควรต้องสังเกตุด้วยว่ามีการปรับปรุงกลับด้วยรายการเกี่ยวกับมูลค่าสินค้าคงเหลือหรือไม่ จะพบว่าปี 2554 มีรายการค่าเผื่อสินค้าล้าสมัย (โอนกลับ) จำนวน 646,844 บาทเท่ากับผลต่างของสินค้าคงเหลือในงบแสดงฐานะการเงิน -135,236,792 บาท และในงบกระแสเงินสด -134,589,948 บาท จำนวนนี้คือรายการที่สินค้าคงเหลือในงบแสดงฐานะการเงินลดต่ำลงไปกว่าที่ปรากฎในงบกระแสเงินสดเนื่องจากยอดดังกล่าวถูกหักเป็นค่าใช้จ่ายในกำไรขาดทุน มูลค่าราคาทุนลดลงเพียง -134,589,948 บาทแต่มูลค่าได้ปรับลงอีกเนื่องจากราคาทราจะขายได้สุทธิในวันสิ้นงวดต่ำกว่าราคาทุนอีก 646,844 บาท

2554 2553
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
กำไรสำหรับปี 1,248,028,316 1,178,965,463
บวก (หัก) รายการปรับปรุงกระทบกำไรสุทธิ
เป็นเงินสดรับ (จ่าย) จากกิจกรรมดำเนินงาน
ค่าเสื่อมราคาและรายจ่ายตัดบัญชี 195,615,067 339,362,793
ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (3,037,964) 9,665,377
ค่าเผื่อสินค้าล้าสมัย (โอนกลับ) (646,844) (247,178)
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: งบกระแสเงินสด

โพสต์ที่ 53

โพสต์

ทำไมรายการงบกระแสเงืนสด อุตส่าห์พิมพ์ และเคาะ space bar แล้ว ตัวเลขมันยังกองๆ รวมเป็นกระจุก แต่คิดว่าคงดูๆออกนะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Highway_Star
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 452
ผู้ติดตาม: 1

Re: งบกระแสเงินสด

โพสต์ที่ 54

โพสต์

ขอบคุณมากครับ ผมดันไป hide แถวที่ต้องใช้ด้วย
ุคุณ sun_cisa2 เลยต้องเสียเวลาไปโหลดงบมาเองเลย ขอโทษด้วยครับ

เรื่องเคาะ space bar นี่ถ้าเคาะเยอะๆ มันจะย่อเหลือเคาะทีเดียวหมดครับ ถ้าอยากให้
อ่านง่ายๆ ต้องใช้เครื่องหมายจุดหรือไม่ก็ตัว underscore แต่ไม่เป็นไรครับผมอ่านออก