กระชากหน้ากาก"เฮสด์ฟันด์"ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
กระชากหน้ากาก"เฮสด์ฟันด์"ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี
โพสต์ที่ 1
กระชากหน้ากาก"เฮสด์ฟันด์"ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Monday, June 11, 2012 08:18
46357 XTHAI XGEN IKEY V%NETNEWS P%WKT
ไม่นานมานี้บนโลกออนไลน์มีการพูดถึงคลิปวีดิโอใน YouTube หนุ่มใหญ่ออกมา “แฉ” ข้อมูลต้นทุนพลังงานของประเทศ ที่เขาเชื่อว่า “ถูกบิดเบือน” นับเป็นการ “ดับเครื่องชน” บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ระดับชาติ และถือเป็นการแจ้งเกิดชื่อ “หม่อมกร” ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ในเวลาอันรวดเร็ว
หลังจากหม่อมกรใช้เวทีสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV เปิดตัวต่อสาธารณชนในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานได้ไม่นาน เขาก็ยื่นใบลาออกจากทุกตำแหน่งใน บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ปิดฉากตำแหน่งกรรมการบริหาร, ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (COO) และเลขานุการบริษัท (มีผลตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2555) โดยตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ “มันนี่ แชนแนล” ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
แท้ที่จริงแล้ว ม.ล.กรกสิวัฒน์ ยังมีความช่ำชองในเรื่อง “การลงทุน” เขามีดีกรี MBA สาขาการเงินเอก “บริหารพอร์ตโฟลิโอ” หลักสูตรสำหรับผู้จัดการกองทุนโดยเฉพาะจาก UCLA ต่อด้วยประสบการณ์เป็นผู้จัดการกองทุนที่ บลจ.เอเจเอฟ เคยเป็นผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายจัดการลงทุนตราสารหนี้ และผู้ช่วยเลขาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และอดีตผู้บริหารบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย)
ระหว่างที่ทำงานอยู่ที่ กบข. ม.ล.กรกสิวัฒน์ ได้ศึกษาต่อปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง ที่จุฬาฯ โดยเลือกทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “เฮดจ์ฟันด์กับโลกาภิวัฒน์” กล่าวได้ว่าเขาเป็นกูรูที่รู้จักกองทุนต่างชาติมากที่สุดคนหนึ่งของเมืองไทย ปัจจุบันกำลังซุ่มออกผลงานพอคเก็ตบุ๊คเล่มแรกที่เกี่ยวกับเฮดจ์ฟันด์และระบบการเงินของโลก
ม.ล.กรกสิวัฒน์ เล่าประวัติสั้นๆ ให้ กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฟังว่า หลังจบวิศวะจุฬา ทางด้านก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน ก็ไปทำงานเป็นวิศวกรวางท่อน้ำมันและปิโตรเคมี ได้เห็นกระบวนการดึงพลังงานจากอ่าวไทยมาใช้ทั้งหมด ต่อมาเริ่มสนใจตลาดหุ้นและตลาดการเงิน จึงบินไปเรียนต่อ MBA ที่ University of California, Los Angeles (UCLA) ที่ UCLA มีเพื่อนคนไทย บอย โกสิยพงษ์ มาเรียนทางด้านดนตรี ส่วนตัวก็ชอบดนตรีทำให้หลังจากลาออกจาก กบข.และฟิทช์ เรทติ้งส์ จึงตัดสินใจข้ามสายงานไปทำงานที่จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
“ก่อนหน้านั้นผมเคยทำงานที่ บลจ.อยุธยา จาร์ดีนแฟลมมิ่ง (AJF) ชื่อจาร์ดีนแฟลมมิ่ง สมัยก่อนถือได้ว่าศักดิ์สิทธิ์และทรงอิทธิพลมากในตลาดหุ้น ถ้าบอกใครว่าคุณเป็นผู้จัดการกองทุนที่นี่..คุณคือเทวดา”
ม.ล.กรกสิวัฒน์ อยู่ในยุคที่ บลจ.เอเจเอฟ รุ่งเรืองมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ 50,000 ล้านบาท โดยแข่งกับ บลจ.ทหารไทย สลับกันขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง โดยสไตล์การลงทุนของ บลจ.เอเจเอฟ จะเป็น Active Fund มุ่งเน้นเอาชนะผลตอบแทนของตลาด เพราะมีความเชื่อว่าตลาดหุ้นเอเชียยังไม่ใช่ตลาดที่มีประสิทธิภาพ ยังสามารถเอาชนะได้ด้วยข้อมูลและงานวิจัยที่ดี ต่างจากตลาดหุ้นอเมริกาและประเทศพัฒนาแล้วมันเป็น Global มีผู้เล่นระดับโลกมากมาย
‘กองทุนระดับโลก’ คิดต่างขั้วนักลงทุนไทย
ม.ล.กรกสิวัฒน์ เล่าว่า “โรเจอร์” นายเก่าเคยพูดให้ฟังว่า เขามองคนไทยมีพฤติกรรมการซื้อขายหุ้นที่แปลก เวลาที่ไม่ชอบหุ้นตัวไหนก็จะขายทีละนิดละหน่อย แล้วยังคงเก็บไว้ในพอร์ตต่อไป แต่ถ้าเป็นกองทุนถ้าไม่ชอบหุ้นตัวไหนหรือเห็นว่าเริ่มจะไม่ดีแล้วก็จะขายออกให้หมดในครั้งเดียวและ “ขายทุกราคา” ด้วย ในทางกลับกันถ้าชอบหุ้นตัวไหนก็พร้อมจะซื้อแบบ “ไม่เกี่ยงราคา” ไม่มีหรอกมานั่งรอให้ราคาลงมานิดๆ หน่อยๆ แล้วค่อยซื้อ เขากวาดเรียบ!! นี่คือวิธีคิดแบบกองทุนต่างชาติ ชอบก็ซื้อเลย ขายก็ขายเลย
“กองทุนต่างชาติเขาไม่ได้ลงทุนแค่ในบ้านเรา แต่เขาลงทุนทั่วโลกหรือทั่วทวีป มีหุ้นที่มอนิเตอร์อยู่นับร้อยตัว ดังนั้นเขาไม่มีความจำเป็นต้องมาฝากความหวังไว้กับหุ้นเพียงตัวเดียวหรือตลาดเดียว”
สำหรับรูปแบบการสแกนหาหุ้นที่จะลงทุนในภูมิภาค หม่อมกร เล่าว่า ผู้จัดการกองทุนจะเปรียบเทียบหุ้นกลุ่มเดียวกันหลายๆ ประเทศ เช่น ในกลุ่มพลังงาน หุ้น A ในประเทศไทยราคาเริ่มขึ้นมาเยอะแล้ว แต่ขณะที่หุ้น B ในสิงคโปร์ยังขึ้นไม่เท่าไร แบบนี้เขาจะขายหุ้น A (ไทย) และโยกไปซื้อหุ้น B (สิงคโปร์) ทันที
“คนไทยอาจจะงงๆ ว่าฝรั่งมันเล่น “ซื้อแหลก..ขายแหลก” แบบไม่ยั้งมือแบบนี้ มันจะกำไรเหรอ!! ซึ่งเขาวิเคราะห์แล้วว่าต้องเก็บหุ้นตัวหนึ่งให้ได้สัดส่วนจำนวนหุ้นและวอลุ่มที่เหมาะสมกับขนาดของพอร์ตถึงจะคุ้ม สมมติว่าขนาดกองทุนมูลค่า 50,000 ล้านบาท ถ้าซื้อหุ้นตัวหนึ่งที่มีมูลค่าแค่ 1 ล้านบาท แบบนี้มันไม่เห็นผลอะไร จะต้องเก็บหุ้นให้ได้วอลุ่มที่เหมาะสมด้วยถึงจะได้กำไร เวลาที่เราเห็นราคาหุ้นตัวหนึ่งมัน “เปิดกระโดด” หรือ “ทิ้งดิ่ง” น่าจะเดาได้ว่ากองทุนต่างชาติเข้ามาเก็บหรือปล่อยของออกมาแล้ว”
การที่เราเห็นกองทุนฝรั่งซื้อหรือขายหุ้นแรงๆ อย่าไปคิดว่าเขามา “ทุบ” หรือ “ปั่นหุ้น” แต่นั่นเป็นเพราะเขา “มีวินัย” ต่างหาก นิสัยกองทุนจะไม่มามัวเกี่ยงราคาแค่ 10-20 สตางค์ ไม่ว่าจะซื้อหรือขายต้องทำให้ได้ตามเป้าหมาย แท้จริงแล้วหัวใจสำคัญของการลงทุนไม่ใช่ “ซื้อถูกที่สุด-ขายแพงที่สุด” แต่หัวใจมันอยู่ที่การจัดสัดส่วนการลงทุน (Asset Allocation) ที่เหมาะสมต่างหาก แม้ว่าหุ้นที่อยู่ในพอร์ตจะวิ่งขึ้นมาหลายสิบเปอร์เซ็นต์แต่ถ้ามีสัดส่วนในพอร์ตไม่ถึง 1% จะกำไรแค่ไหนก็ไม่มีประโยชน์
ซื้อหุ้นคำนึง ‘ความเสี่ยง’ มาก่อน ‘ผลตอบแทน’
ม.ล.กรกสิวัฒน์ เล่าถึงตอนเป็นผู้จัดการกองทุนว่าแนวคิดการลงทุนของจาร์ดีนเฟลมมิ่งที่ผู้จัดการกองทุนต้องท่องให้ขึ้นใจก็คือ “จงบริหารความเสี่ยงแล้วรีเทิร์นจะมาเอง” ถ้าเรามีการบริหารความเสี่ยงที่ดี แม้ตลาดจะตกก็เฉยๆ เพราะคำนวณความเสี่ยงไว้ทั้งหมดแล้ว ถ้าเราบริหารจัดการดีจะไม่มีคำว่า “คาดไม่ถึง” ไม่เช่นนั้นผู้จัดการกองทุนคงนอนไม่หลับกันทุกคืน
นอกจากนี้ ไม่มีผู้จัดการกองทุนคนใดที่ประสบความสำเร็จด้วย “หุ้นเพียงตัวเดียว” แต่เอาชนะด้วยการจัดสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสม การทำงานของผู้จัดการกองทุนจะมีสองส่วนคือ มองภาพแบบ Top Down เหมือน “เหยี่ยวที่มองเหยื่อจากมุมสูง” คือการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค กับมองภาพ Bottom Up หรือวิเคราะห์เจาะลงไปในหุ้นรายตัวซึ่งเป็นวิธีที่รายย่อยใช้เลือกหุ้น
“ทฤษฎี Portfolio Management จะอธิบายว่าผลตอบแทนรวมจะมาจากความเสี่ยงสองส่วน คือ ความเสี่ยงจากตลาด (Systematic Risk) และความเสี่ยงของแต่ละบริษัท (Unsystematic Risk) เช่น โรงงานระเบิด หรือ เกิดไฟไหม้สำนักงาน”
เมื่อเข้าใจแล้ว ก็มาถึงวิธีการจัดการกับความเสี่ยง ด้วยการกระจายความเสี่ยงลงทุนในหุ้นหลายตัวเพื่อจัดการกับ Unsystematic Risk และกระจายเงินออกในหลากหลายทรัพย์สินเพื่อจัดการกับ Systematic Risk คือไม่กระจุกตัวอยู่ในตลาดใดตลาดหนึ่ง โดยมีหัวใจสำคัญที่ว่า ต้องจัดสัดส่วนการลงทุนให้ตรงกับภาพเศรษฐกิจ ทรัพย์สินหรือหุ้นกลุ่มไหนจะเติบโตมากก็ให้น้ำหนักมาก
จะเห็นได้ว่าจะต่างจากรายย่อยที่จะเลือกหุ้นเป็นตัวๆ อย่างเดียว แบบนั้นจะต้องรับทั้ง Systematic และ Unsystematic Risk บานเลย!! ทำให้ส่วนมากรายย่อยจะไม่ประสบความสำเร็จในการลงทุนเพราะลงทุนผิดจังหวะบ้าง น้ำหนักผิดบ้าง เพราะไม่ค่อยได้ดูภาพเศรษฐกิจระดับมหภาคประกอบ แม้ว่า Unsystematic Risk คือความเสี่ยงของแต่ละบริษัท แต่พอมารวมกันในพอร์ตประมาณ 20 ตัว ความเสี่ยงเหล่านี้มาหักล้างกันเหมือนการจำลองตลาดหุ้น หากเกิดปัญหากับหุ้นเพียงหนึ่งตัวก็ไม่ส่งผลกระทบต่อพอร์ตรวมเท่าไร
นี่คือเหตุผลว่าทำไม! นักลงทุนต่างชาติถึงลงทุนในหลายประเทศเพราะเขาต้องกระจายความเสี่ยง ถ้าไม่มีการกระจายความเสี่ยงบางครั้งอาจจะทำกำไรได้เป็น 100% แต่ถ้าขาดทุนหมดเนื้อหมดตัวได้เช่นกัน
หม่อมกร ยังกล่าวถึงกฎของ High Risk High Return แท้จริงแล้วความหมายของความเสี่ยง คือ “ความผันผวน” (Volatility) ยิ่งผันผวนมากราคาสวิงสูงมากก็มีโอกาสได้ผลตอบแทนมาก แต่ก็อาจขาดทุนมากได้เช่นกัน
“ถ้าผันผวนน้อยราคาไม่สวิงอยู่นิ่งๆ ก็ไม่มีโอกาสได้กำไรอะไรมาก คำว่า High Risk จึงไม่ได้แปลว่าต้องมีผลตอบแทนสูงอย่างเดียว แต่หมายถึงมีความผันผวนสูงด้วย ต้องเข้าใจให้ถูก”
ตอนหน้า ม.ล.กรกสิวัฒน์ จะเล่าต่อถึงวิธีทำงานของผู้จัดการกองทุนระดับโลก และเหตุผลที่ตราสารหนี้เป็นตัวชี้อนาคตตลาดหุ้น รวมถึงเผยตัวตนที่แท้จริงของ “เฮดจ์ฟันด์” ห้ามพลาดเด็ดขาด!!
จากผู้บริหารระดับสูง GRAMMY เป็นลูกน้องเก่า ‘อากู๋’ ออกมา ‘ดับเครื่องชน’ บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ ได้แจ้งเกิดเพียงชั่วข้ามคืน ฉากต่อไปเขาคือ ผู้ที่จะมากระชากหน้ากาก ‘เฮดจ์ฟันด์’
บรรยายใต้ภาพ
ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Monday, June 11, 2012 08:18
46357 XTHAI XGEN IKEY V%NETNEWS P%WKT
ไม่นานมานี้บนโลกออนไลน์มีการพูดถึงคลิปวีดิโอใน YouTube หนุ่มใหญ่ออกมา “แฉ” ข้อมูลต้นทุนพลังงานของประเทศ ที่เขาเชื่อว่า “ถูกบิดเบือน” นับเป็นการ “ดับเครื่องชน” บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ระดับชาติ และถือเป็นการแจ้งเกิดชื่อ “หม่อมกร” ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ในเวลาอันรวดเร็ว
หลังจากหม่อมกรใช้เวทีสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV เปิดตัวต่อสาธารณชนในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานได้ไม่นาน เขาก็ยื่นใบลาออกจากทุกตำแหน่งใน บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ปิดฉากตำแหน่งกรรมการบริหาร, ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (COO) และเลขานุการบริษัท (มีผลตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2555) โดยตำแหน่งสุดท้ายเป็นผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ “มันนี่ แชนแนล” ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
แท้ที่จริงแล้ว ม.ล.กรกสิวัฒน์ ยังมีความช่ำชองในเรื่อง “การลงทุน” เขามีดีกรี MBA สาขาการเงินเอก “บริหารพอร์ตโฟลิโอ” หลักสูตรสำหรับผู้จัดการกองทุนโดยเฉพาะจาก UCLA ต่อด้วยประสบการณ์เป็นผู้จัดการกองทุนที่ บลจ.เอเจเอฟ เคยเป็นผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายจัดการลงทุนตราสารหนี้ และผู้ช่วยเลขาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และอดีตผู้บริหารบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย)
ระหว่างที่ทำงานอยู่ที่ กบข. ม.ล.กรกสิวัฒน์ ได้ศึกษาต่อปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง ที่จุฬาฯ โดยเลือกทำวิทยานิพนธ์เรื่อง “เฮดจ์ฟันด์กับโลกาภิวัฒน์” กล่าวได้ว่าเขาเป็นกูรูที่รู้จักกองทุนต่างชาติมากที่สุดคนหนึ่งของเมืองไทย ปัจจุบันกำลังซุ่มออกผลงานพอคเก็ตบุ๊คเล่มแรกที่เกี่ยวกับเฮดจ์ฟันด์และระบบการเงินของโลก
ม.ล.กรกสิวัฒน์ เล่าประวัติสั้นๆ ให้ กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฟังว่า หลังจบวิศวะจุฬา ทางด้านก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน ก็ไปทำงานเป็นวิศวกรวางท่อน้ำมันและปิโตรเคมี ได้เห็นกระบวนการดึงพลังงานจากอ่าวไทยมาใช้ทั้งหมด ต่อมาเริ่มสนใจตลาดหุ้นและตลาดการเงิน จึงบินไปเรียนต่อ MBA ที่ University of California, Los Angeles (UCLA) ที่ UCLA มีเพื่อนคนไทย บอย โกสิยพงษ์ มาเรียนทางด้านดนตรี ส่วนตัวก็ชอบดนตรีทำให้หลังจากลาออกจาก กบข.และฟิทช์ เรทติ้งส์ จึงตัดสินใจข้ามสายงานไปทำงานที่จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
“ก่อนหน้านั้นผมเคยทำงานที่ บลจ.อยุธยา จาร์ดีนแฟลมมิ่ง (AJF) ชื่อจาร์ดีนแฟลมมิ่ง สมัยก่อนถือได้ว่าศักดิ์สิทธิ์และทรงอิทธิพลมากในตลาดหุ้น ถ้าบอกใครว่าคุณเป็นผู้จัดการกองทุนที่นี่..คุณคือเทวดา”
ม.ล.กรกสิวัฒน์ อยู่ในยุคที่ บลจ.เอเจเอฟ รุ่งเรืองมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ 50,000 ล้านบาท โดยแข่งกับ บลจ.ทหารไทย สลับกันขึ้นเป็นอันดับหนึ่ง โดยสไตล์การลงทุนของ บลจ.เอเจเอฟ จะเป็น Active Fund มุ่งเน้นเอาชนะผลตอบแทนของตลาด เพราะมีความเชื่อว่าตลาดหุ้นเอเชียยังไม่ใช่ตลาดที่มีประสิทธิภาพ ยังสามารถเอาชนะได้ด้วยข้อมูลและงานวิจัยที่ดี ต่างจากตลาดหุ้นอเมริกาและประเทศพัฒนาแล้วมันเป็น Global มีผู้เล่นระดับโลกมากมาย
‘กองทุนระดับโลก’ คิดต่างขั้วนักลงทุนไทย
ม.ล.กรกสิวัฒน์ เล่าว่า “โรเจอร์” นายเก่าเคยพูดให้ฟังว่า เขามองคนไทยมีพฤติกรรมการซื้อขายหุ้นที่แปลก เวลาที่ไม่ชอบหุ้นตัวไหนก็จะขายทีละนิดละหน่อย แล้วยังคงเก็บไว้ในพอร์ตต่อไป แต่ถ้าเป็นกองทุนถ้าไม่ชอบหุ้นตัวไหนหรือเห็นว่าเริ่มจะไม่ดีแล้วก็จะขายออกให้หมดในครั้งเดียวและ “ขายทุกราคา” ด้วย ในทางกลับกันถ้าชอบหุ้นตัวไหนก็พร้อมจะซื้อแบบ “ไม่เกี่ยงราคา” ไม่มีหรอกมานั่งรอให้ราคาลงมานิดๆ หน่อยๆ แล้วค่อยซื้อ เขากวาดเรียบ!! นี่คือวิธีคิดแบบกองทุนต่างชาติ ชอบก็ซื้อเลย ขายก็ขายเลย
“กองทุนต่างชาติเขาไม่ได้ลงทุนแค่ในบ้านเรา แต่เขาลงทุนทั่วโลกหรือทั่วทวีป มีหุ้นที่มอนิเตอร์อยู่นับร้อยตัว ดังนั้นเขาไม่มีความจำเป็นต้องมาฝากความหวังไว้กับหุ้นเพียงตัวเดียวหรือตลาดเดียว”
สำหรับรูปแบบการสแกนหาหุ้นที่จะลงทุนในภูมิภาค หม่อมกร เล่าว่า ผู้จัดการกองทุนจะเปรียบเทียบหุ้นกลุ่มเดียวกันหลายๆ ประเทศ เช่น ในกลุ่มพลังงาน หุ้น A ในประเทศไทยราคาเริ่มขึ้นมาเยอะแล้ว แต่ขณะที่หุ้น B ในสิงคโปร์ยังขึ้นไม่เท่าไร แบบนี้เขาจะขายหุ้น A (ไทย) และโยกไปซื้อหุ้น B (สิงคโปร์) ทันที
“คนไทยอาจจะงงๆ ว่าฝรั่งมันเล่น “ซื้อแหลก..ขายแหลก” แบบไม่ยั้งมือแบบนี้ มันจะกำไรเหรอ!! ซึ่งเขาวิเคราะห์แล้วว่าต้องเก็บหุ้นตัวหนึ่งให้ได้สัดส่วนจำนวนหุ้นและวอลุ่มที่เหมาะสมกับขนาดของพอร์ตถึงจะคุ้ม สมมติว่าขนาดกองทุนมูลค่า 50,000 ล้านบาท ถ้าซื้อหุ้นตัวหนึ่งที่มีมูลค่าแค่ 1 ล้านบาท แบบนี้มันไม่เห็นผลอะไร จะต้องเก็บหุ้นให้ได้วอลุ่มที่เหมาะสมด้วยถึงจะได้กำไร เวลาที่เราเห็นราคาหุ้นตัวหนึ่งมัน “เปิดกระโดด” หรือ “ทิ้งดิ่ง” น่าจะเดาได้ว่ากองทุนต่างชาติเข้ามาเก็บหรือปล่อยของออกมาแล้ว”
การที่เราเห็นกองทุนฝรั่งซื้อหรือขายหุ้นแรงๆ อย่าไปคิดว่าเขามา “ทุบ” หรือ “ปั่นหุ้น” แต่นั่นเป็นเพราะเขา “มีวินัย” ต่างหาก นิสัยกองทุนจะไม่มามัวเกี่ยงราคาแค่ 10-20 สตางค์ ไม่ว่าจะซื้อหรือขายต้องทำให้ได้ตามเป้าหมาย แท้จริงแล้วหัวใจสำคัญของการลงทุนไม่ใช่ “ซื้อถูกที่สุด-ขายแพงที่สุด” แต่หัวใจมันอยู่ที่การจัดสัดส่วนการลงทุน (Asset Allocation) ที่เหมาะสมต่างหาก แม้ว่าหุ้นที่อยู่ในพอร์ตจะวิ่งขึ้นมาหลายสิบเปอร์เซ็นต์แต่ถ้ามีสัดส่วนในพอร์ตไม่ถึง 1% จะกำไรแค่ไหนก็ไม่มีประโยชน์
ซื้อหุ้นคำนึง ‘ความเสี่ยง’ มาก่อน ‘ผลตอบแทน’
ม.ล.กรกสิวัฒน์ เล่าถึงตอนเป็นผู้จัดการกองทุนว่าแนวคิดการลงทุนของจาร์ดีนเฟลมมิ่งที่ผู้จัดการกองทุนต้องท่องให้ขึ้นใจก็คือ “จงบริหารความเสี่ยงแล้วรีเทิร์นจะมาเอง” ถ้าเรามีการบริหารความเสี่ยงที่ดี แม้ตลาดจะตกก็เฉยๆ เพราะคำนวณความเสี่ยงไว้ทั้งหมดแล้ว ถ้าเราบริหารจัดการดีจะไม่มีคำว่า “คาดไม่ถึง” ไม่เช่นนั้นผู้จัดการกองทุนคงนอนไม่หลับกันทุกคืน
นอกจากนี้ ไม่มีผู้จัดการกองทุนคนใดที่ประสบความสำเร็จด้วย “หุ้นเพียงตัวเดียว” แต่เอาชนะด้วยการจัดสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสม การทำงานของผู้จัดการกองทุนจะมีสองส่วนคือ มองภาพแบบ Top Down เหมือน “เหยี่ยวที่มองเหยื่อจากมุมสูง” คือการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค กับมองภาพ Bottom Up หรือวิเคราะห์เจาะลงไปในหุ้นรายตัวซึ่งเป็นวิธีที่รายย่อยใช้เลือกหุ้น
“ทฤษฎี Portfolio Management จะอธิบายว่าผลตอบแทนรวมจะมาจากความเสี่ยงสองส่วน คือ ความเสี่ยงจากตลาด (Systematic Risk) และความเสี่ยงของแต่ละบริษัท (Unsystematic Risk) เช่น โรงงานระเบิด หรือ เกิดไฟไหม้สำนักงาน”
เมื่อเข้าใจแล้ว ก็มาถึงวิธีการจัดการกับความเสี่ยง ด้วยการกระจายความเสี่ยงลงทุนในหุ้นหลายตัวเพื่อจัดการกับ Unsystematic Risk และกระจายเงินออกในหลากหลายทรัพย์สินเพื่อจัดการกับ Systematic Risk คือไม่กระจุกตัวอยู่ในตลาดใดตลาดหนึ่ง โดยมีหัวใจสำคัญที่ว่า ต้องจัดสัดส่วนการลงทุนให้ตรงกับภาพเศรษฐกิจ ทรัพย์สินหรือหุ้นกลุ่มไหนจะเติบโตมากก็ให้น้ำหนักมาก
จะเห็นได้ว่าจะต่างจากรายย่อยที่จะเลือกหุ้นเป็นตัวๆ อย่างเดียว แบบนั้นจะต้องรับทั้ง Systematic และ Unsystematic Risk บานเลย!! ทำให้ส่วนมากรายย่อยจะไม่ประสบความสำเร็จในการลงทุนเพราะลงทุนผิดจังหวะบ้าง น้ำหนักผิดบ้าง เพราะไม่ค่อยได้ดูภาพเศรษฐกิจระดับมหภาคประกอบ แม้ว่า Unsystematic Risk คือความเสี่ยงของแต่ละบริษัท แต่พอมารวมกันในพอร์ตประมาณ 20 ตัว ความเสี่ยงเหล่านี้มาหักล้างกันเหมือนการจำลองตลาดหุ้น หากเกิดปัญหากับหุ้นเพียงหนึ่งตัวก็ไม่ส่งผลกระทบต่อพอร์ตรวมเท่าไร
นี่คือเหตุผลว่าทำไม! นักลงทุนต่างชาติถึงลงทุนในหลายประเทศเพราะเขาต้องกระจายความเสี่ยง ถ้าไม่มีการกระจายความเสี่ยงบางครั้งอาจจะทำกำไรได้เป็น 100% แต่ถ้าขาดทุนหมดเนื้อหมดตัวได้เช่นกัน
หม่อมกร ยังกล่าวถึงกฎของ High Risk High Return แท้จริงแล้วความหมายของความเสี่ยง คือ “ความผันผวน” (Volatility) ยิ่งผันผวนมากราคาสวิงสูงมากก็มีโอกาสได้ผลตอบแทนมาก แต่ก็อาจขาดทุนมากได้เช่นกัน
“ถ้าผันผวนน้อยราคาไม่สวิงอยู่นิ่งๆ ก็ไม่มีโอกาสได้กำไรอะไรมาก คำว่า High Risk จึงไม่ได้แปลว่าต้องมีผลตอบแทนสูงอย่างเดียว แต่หมายถึงมีความผันผวนสูงด้วย ต้องเข้าใจให้ถูก”
ตอนหน้า ม.ล.กรกสิวัฒน์ จะเล่าต่อถึงวิธีทำงานของผู้จัดการกองทุนระดับโลก และเหตุผลที่ตราสารหนี้เป็นตัวชี้อนาคตตลาดหุ้น รวมถึงเผยตัวตนที่แท้จริงของ “เฮดจ์ฟันด์” ห้ามพลาดเด็ดขาด!!
จากผู้บริหารระดับสูง GRAMMY เป็นลูกน้องเก่า ‘อากู๋’ ออกมา ‘ดับเครื่องชน’ บริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ ได้แจ้งเกิดเพียงชั่วข้ามคืน ฉากต่อไปเขาคือ ผู้ที่จะมากระชากหน้ากาก ‘เฮดจ์ฟันด์’
บรรยายใต้ภาพ
ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระชากหน้ากาก"เฮสด์ฟันด์"ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี
โพสต์ที่ 2
หม่อมกร นี่คนละสำนักกับ อ.Buffett ครับpakapong_u เขียน:กระชากหน้ากาก"เฮสด์ฟันด์"ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
หม่อมกร ยังกล่าวถึงกฎของ High Risk High Return แท้จริงแล้วความหมายของความเสี่ยง คือ “ความผันผวน” (Volatility) ยิ่งผันผวนมากราคาสวิงสูงมากก็มีโอกาสได้ผลตอบแทนมาก แต่ก็อาจขาดทุนมากได้เช่นกัน
“ถ้าผันผวนน้อยราคาไม่สวิงอยู่นิ่งๆ ก็ไม่มีโอกาสได้กำไรอะไรมาก คำว่า High Risk จึงไม่ได้แปลว่าต้องมีผลตอบแทนสูงอย่างเดียว แต่หมายถึงมีความผันผวนสูงด้วย ต้องเข้าใจให้ถูก”
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
“Risk comes from not knowing what you're doing.”...Warren Buffett
Why Volatility does not Equal Risk
by Warren Buffett
Volatility does not measure risk. Past volatility is not a measure of risk. It's nice math, but it's wrong. If a farm in Nebraska used to sell for $2,000 per acre, and now it sells for $600 per acre, investment theory would say that the beta of farms has gone up, and that they are more risky than before. If you tell that to people, they'll say that that's crazy. But farms don't trade daily the way stocks do. Since stock prices jiggle around, finance professors have translated that into these investment theories. It can be risky to be in some businesses. Risk is not knowing what you're doing. If you know who you're dealing with, and know the price you should pay, then you're not dealing with a lot of risk.
Read more: http://www.investorwords.com/tips/1594/ ... z1xWuAJ7XR
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
- SEHJU
- Verified User
- โพสต์: 1238
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระชากหน้ากาก"เฮสด์ฟันด์"ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี
โพสต์ที่ 3
น่าสนใจมาก รอหนังสือเล่มนี้เลยครับ ^^
-
- Verified User
- โพสต์: 760
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระชากหน้ากาก"เฮสด์ฟันด์"ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี
โพสต์ที่ 5
ผมว่าหม่อมกรเขาคนละแนวกับ บัฟเฟตต์กับอาจารย์นิเวศน์เลยนะ วิธีการต่างขั้วกันเยอะ
ไม่ถูกจริตผมเลยน่ะครับ
ไม่ถูกจริตผมเลยน่ะครับ
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 92
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระชากหน้ากาก"เฮสด์ฟันด์"ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี
โพสต์ที่ 8
ความจริงจะเป็นแบบไหนคงไม่ต้องยึดมั่นเกินไป ขอให้เข้าใจอย่างแท้จริงในแนวที่ถนัดพร้อมทั้งรู้ว่าโอกาสของความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้แค่ไหน โซรอส คนล่ะขั้ว บัฟเฟต แต่สำเร็จในเป้าหมายทั้งคู่ แล้วของใครถูก??? ล่ะครับ
- Tsurumi
- Verified User
- โพสต์: 268
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระชากหน้ากาก"เฮสด์ฟันด์"ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี
โพสต์ที่ 9
[quote="halogen"]รออ่านหนังสือ จาก ม.ล. กรกสิวัฒน์ ด้วยคนฮะ [/quote]
เป็นความเห็นเรื่องการอ่านครับ ไม่ใช่แนวทางการลงทุน
เคยอ่านคำสัมภาษณ์ท่านหนึ่งเรื่องแนะนำให้อ่านหนังสือมากๆ ว่า หนังสือเล่มหนึ่งกว่าจะเขียนขึ้นมาได้นั้น ผู้เขียนได้ใช้ความรู้ความสามารถทั้งหมดในชีวิตแปลออกมาเป็นตัวหนังสือที่เราอ่าน พูดภาษาง่ายก็คือ ที่เราอ่านก็คือสิ่งที่มีอยู่ในหัวสมองที่ผู้เขียนมีอยู่เท่านั้น เราก็ได้อ่านเท่านั้น การตัดสินว่า ดีไม่ดี ถูกผิด เหมาะสมไม่เหมาะสมเป็นเรื่องรอง แต่การอ่านคือการได้เห็นสิ่งที่อยู่ในสมองผู้เขียนกรองออกมาเป็นหนังสือให้เราได้อ่าน ถือว่าเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ของผู้เขียนมาก พออ่านคำสัมภาษณ์หรือ แนะนำของท่านนี้เสร็จ ผมปรับทัศนคติเกี่ยวกับการอ่าน และหนังสือทันที หาอ่านสิ่งที่ตัวเองสนใจให้มาก ทั้งที่ก่อนอ่านหรือซื้อไม่เห็นด้วยกับแนวคิดผู้เขียนเลย แต่แน่นอนสิ่งที่เราได้คือ ความรู้และการพัฒนาจิตใจ ผมเสียดายจำไม่ได้ว่า เป็นคำสัมภาษณ์ของใคร ถ้าเพื่อนๆจำได้ก็ช่วยบอกด้วย
(สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศ ไทย (ส.พ.จ.ท.) สนง.สถิติแห่งชาติ: คนไทยอ่านหนังสือปีละสองเล่ม (ขณะที่เวียตนาม =60 เล่ม; สิงคโปร์ = 40-50 )).
เป็นความเห็นเรื่องการอ่านครับ ไม่ใช่แนวทางการลงทุน
เคยอ่านคำสัมภาษณ์ท่านหนึ่งเรื่องแนะนำให้อ่านหนังสือมากๆ ว่า หนังสือเล่มหนึ่งกว่าจะเขียนขึ้นมาได้นั้น ผู้เขียนได้ใช้ความรู้ความสามารถทั้งหมดในชีวิตแปลออกมาเป็นตัวหนังสือที่เราอ่าน พูดภาษาง่ายก็คือ ที่เราอ่านก็คือสิ่งที่มีอยู่ในหัวสมองที่ผู้เขียนมีอยู่เท่านั้น เราก็ได้อ่านเท่านั้น การตัดสินว่า ดีไม่ดี ถูกผิด เหมาะสมไม่เหมาะสมเป็นเรื่องรอง แต่การอ่านคือการได้เห็นสิ่งที่อยู่ในสมองผู้เขียนกรองออกมาเป็นหนังสือให้เราได้อ่าน ถือว่าเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ของผู้เขียนมาก พออ่านคำสัมภาษณ์หรือ แนะนำของท่านนี้เสร็จ ผมปรับทัศนคติเกี่ยวกับการอ่าน และหนังสือทันที หาอ่านสิ่งที่ตัวเองสนใจให้มาก ทั้งที่ก่อนอ่านหรือซื้อไม่เห็นด้วยกับแนวคิดผู้เขียนเลย แต่แน่นอนสิ่งที่เราได้คือ ความรู้และการพัฒนาจิตใจ ผมเสียดายจำไม่ได้ว่า เป็นคำสัมภาษณ์ของใคร ถ้าเพื่อนๆจำได้ก็ช่วยบอกด้วย
(สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศ ไทย (ส.พ.จ.ท.) สนง.สถิติแห่งชาติ: คนไทยอ่านหนังสือปีละสองเล่ม (ขณะที่เวียตนาม =60 เล่ม; สิงคโปร์ = 40-50 )).
- peacedev
- Verified User
- โพสต์: 668
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระชากหน้ากาก"เฮสด์ฟันด์"ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี
โพสต์ที่ 10
สุดยอด ของสุดยอดครับ
ชาบู
ชาบู
http://peacedev.wordpress.com
"The Quant"
"The Quant"
-
- Verified User
- โพสต์: 732
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระชากหน้ากาก"เฮสด์ฟันด์"ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี
โพสต์ที่ 11
เขาก็บอกเลยว่าเป็น "เฮสด์ฟันด์" จะได้รู้เขารู้เราครับ
ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 47266
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระชากหน้ากาก"เฮสด์ฟันด์"ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี
โพสต์ที่ 13
ตีแผ่ยุทธวิธี..จู่โจมแบบ 'เฮดจ์ฟันด์''ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี'
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Monday, June 18, 2012 06:09
7357 XTHAI XGEN DAS V%NETNEWS P%WKT
'ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี' เปิดโปงยุทธวิธีฟาดกำไรเข้ากระเป๋าของเหล่าบรรดา 'เสือหิว..เฮดจ์ฟันด์' จ้องหาจังหวะจากความบกพร่องของตลาด ช่วง 'ภาคเศรษฐกิจจริง' ถูกภาคการเงิน 'ครอบงำ'
เปิดไปแล้วสำหรับประวัติของ ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ผู้มีดีกรี MBA เอกบริหารพอร์ตโฟลิโอจาก UCLA อดีตผู้บริหารระดับสูง บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กบข. และฟิทช์ เรทติ้งส์ รวมถึงเคยมีประสบการณ์ทำงานที่ จาร์ดีนเฟลมมิ่ง แอสเซท แมเนจเม้นท์ ที่ฮ่องกง ทำให้รู้จักใกล้ชิดกับ กองทุนเฮดจ์ฟันด์ มากมาย ซึ่งตอนนั้นกองทุนเสือหิวกำลังมุ่งหน้าเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในภูมิภาคเอเชีย ประกอบกับ "หม่อมกร"เลือกทำวิทยานิพนธ์ตีแผ่ตัวตนของเฮดจ์ฟันด์ตอนเรียน ปริญญาโทใบที่สองที่คณะเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวได้ว่า เขาเป็นผู้ที่รู้จักกับเฮดจ์ฟันด์มากที่สุดคนหนึ่งของไทย ปรัชญาพื้นฐานที่ทำให้กองทุนเฮดจ์ฟันด์เข้ามาแสวงหาประโยชน์ได้นั้น ม.ล.กรกสิวัฒน์ อธิบายว่า เป็นเพราะระบบต่างๆ ในโลกไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ เมื่อมี "จุดอ่อน" ก็ย่อมมีคนหาประโยชน์จากความไม่สมบูรณ์นี้ สรุปง่ายๆ เฮดจ์ฟันด์เกิดขึ้นจากความบกพร่องของระบบทุนนิยม ยิ่งเฮดจ์ฟันด์เบ่งบาน ยิ่งตอบคำถามได้ว่าระบบยิ่งมีความไม่สมบูรณ์มากขึ้น และมีคนมาหาผลประโยชน์มากขึ้น จากความไม่สมบูรณ์นั้น การจัดตั้งเฮดจ์ฟันด์ส่วนมากจะไปจดทะเบียนนิติบุคคลกันที่ประเทศที่มี Tax Haven (ปลอดภาษี) อย่างหมู่เกาะบริติชเวอร์จิ้น เกาะเคย์แมน ฯลฯ วัตถุประสงค์เพื่อหลบเลี่ยงการถูกตรวจสอบ ซึ่งประเทศ พวกนี้จะจำกัดเฉพาะนักลงทุนที่ "กระเป๋าหนัก" เท่านั้น ส่วนพวกที่กระเป๋าไม่หนักอาจจะต้องไปลงทุน ทางอ้อมผ่านกองทุนอื่นที่ไปซื้อหน่วยลงทุนของเฮดจ์ฟันด์อีกที
ข้อได้เปรียบของเฮดจ์ฟันด์ ก็คือ ผู้จัดการกองทุนสามารถก่อหนี้ (Leverage) ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะทำให้ได้กำไรหรือขาดทุน ได้มากกว่าการลงทุนแบบปกติ ยิ่งมีสัดส่วนการใช้ Leverage ต่อทุนสูงมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งมีความเสี่ยงและโอกาสได้กำไรเพิ่มมากขึ้น เช่น มีส่วนของทุนเพียง 1,000 ล้านดอลลาร์ อาจจะไปกู้ยืม มาทำให้กองทุนมีขนาดใหญ่ 5,000-10,000 ล้านดอลลาร์ ได้เลยทีเดียว
หม่อมกร เล่าต่อว่า พวกเฮดจ์ฟันด์จะมีผู้ช่วย คนสำคัญ คือ Prime Broker เนื่องจากการตั้งเฮดจ์ฟันด์ มักจะเกิดขึ้นจากคนเพียงไม่กี่คนและจ้างลูกน้องไม่เยอะ พวกนี้จะไปจ้าง Prime Broker เป็นแบ็คออฟฟิศให้ทั้งระบบ เช่น งานบัญชี ส่วนผู้จัดการกองทุนมีหน้าที่เพียงแค่คิดว่าจะลงทุนอะไรดีเท่านั้น
ถามว่า Prime Broker คือใคร ก็คือพวกวาณิช- ธนกิจใหญ่ๆ ระดับโลกอย่าง เลแมน บราเธอร์ส, เมอร์ริล ลินช์ ฯลฯ พวกนี้ นอกจากช่วยเฮดจ์ฟันด์ทำงาน แล้วยังพร้อมจะ "ปล่อยกู้" ให้ด้วย โดยเอา "พอร์ตลงทุน" เช่น หุ้น ตราสารหนี้ พันธบัตรมา "ตึ๊ง" (จำนำ) ไว้ หรือเฮดจ์ฟันด์จะ "ยืมหุ้น" จาก Prime Broker มาขาย Short ก็ได้ ซึ่ง Prime Broker ก็จะมีลูกค้ามาซื้อขายหุ้นกับตัวเองมากมาย จึงมีหุ้นทุกตัวให้เฮดจ์ฟันด์ "ยืมไปขายก่อน" พวกนี้ก็นอนกิน "ค่าธรรมเนียม" รวยเละ!! ไม่เพียงวาณิชธนกิจใหญ่ๆ สนับสนุนให้เฮดจ์ฟันด์ เติบโตแล้ว ธนาคารพาณิชย์ ยังมีส่วนร่วมในการ "ปล่อยกู้" ให้เงินเฮดจ์ฟันด์ไปลงทุนด้วย กองทุนพวกนี้จึงไม่ได้ทำงานในมุมมืดอีกต่อไป ธนาคารใน ต่างประเทศแนะนำให้ลูกค้าของตัวเองไปลงทุนใน เฮดจ์ฟันด์อย่างเปิดเผย นอกจากนี้ ธนาคารพวกนี้ยังเป็นช่องทางให้เฮดจ์ฟันด์ "เก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน"ตัวเองก็ได้ผลประโยชน์จากการ "ซื้อขายเงินตรา" ของประเทศต่างๆ ให้เฮดจ์ฟันด์
"ผมเชื่อว่าสมัยปี 2540 ตอนนั้นธนาคารไทยก็ต้อง มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเก็งกำไรค่าเงินบาทของเฮดจ์ฟันด์ แน่นอน ลองคิดดูว่ามีคนขายเงินบาทตูมๆ ทุกวัน ธนาคารต้องรู้ว่าตอนนี้มีเงินบาทออกจากระบบของเราแล้ว!"
ค้นหา 'จุดอ่อน' ของระบบแล้วจู่โจมฉับพลัน!!!
ม.ล.กรกสิวัฒน์ กล่าวว่า กรณีศึกษาที่น่าสนใจ คือ กรณีการโจมตีค่าเงินปอนด์ของอังกฤษในปี 1992 (ปี 2535) ตอนนี้ยังใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ก่อนที่อังกฤษจะประกาศลอยตัวค่าเงิน รัฐมนตรีคลังของเขาก็ออกมาบอกว่า "ไม่มีวันลด" จากนั้น 3 วัน ก็ต้องปล่อยลอยตัวค่าเงิน ตอนนั้น จอร์จ โซรอส เขาเห็นแล้วว่ามี "ช่องว่าง" ในระบบอัตราแลกเปลี่ยน จึงเข้า "โจมตี" (เก็งกำไร) ได้กำไรไปจำนวนมาก และทำให้เขามีชื่อเสียงขึ้นในทันที
"ถ้าเราอ่านประวัติศาสตร์ แม้แต่ธนาคารกลางอังกฤษและอิตาลี ยังไม่สามารถเอาชนะเฮดจ์ฟันด์ได้ กรณีของประเทศไทยก็เช่นกันก่อนลอยตัวค่าเงินบาท (ปี 2540) เฮดจ์ฟันด์ก็อ่านเกมออกตั้งแต่แรก สุดท้าย
เราก็ต้องประกาศลอยตัวค่าเงิน..ภายใต้ระบบทุนนิยมการเข้ามาเก็งกำไรของเฮดจ์ฟันด์เป็นเสมือนการ
เตือนว่าระบบกำลังมีจุดอ่อนเราต้องรีบไปแก้ไขซะ"เขาเชื่อว่าเราไม่มีทางกำจัดพวกเฮดจ์ฟันด์ออกไป จากระบบได้หมด พวกนี้ คือ "กระจกส่องตัวเราเอง"บางครั้งเฮดจ์ฟันด์ก็เป็น Watch Dog (สุนัขเฝ้ายาม) ทางเศรษฐกิจได้เหมือนกัน แม้แต่กองทุน "เทมาเส็ก" ของรัฐบาลสิงคโปร์ และ "เวิลด์แบงก์" ยังเป็นลูกค้าของเฮดจ์ฟันด์! ซึ่งเขาไม่ได้หวังเพียงแค่ผลตอบแทน แต่ต้องการรู้ด้วยว่าพวกนี้กำลังคิดอะไรอยู่ เฮดจ์ฟันด์ จึงมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลกอย่างมาก แม้แต่สหรัฐอเมริกาต้นแบบของระบบทุนนิยม ปัจจุบันก็กลับเป็น "เหยื่อ" ของทุนนิยมเสียเอง
ม.ล.กรกสิวัฒน์ ชี้ว่า ตอนนี้เฮดจ์ฟันด์ในเอเชียกำลังเติบโตเร็วมาก เพราะทุนนิยมไปโตที่ไหนมันจะไปที่นั่น ขณะที่อเมริกากับยุโรปมันโตจนถึงขีดสุด แล้ว จุดอ่อนของเอเชียก็คือแต่ละประเทศมีนโยบายทางเศรษฐกิจแตกต่างกันมาก และทุกประเทศถูกครอบงำโดยนโยบายภาครัฐทำให้เกิด "ช่องว่าง" เข้ามา หาผลประโยชน์ได้ง่าย และทุนเข้าครอบงำได้ง่าย
เขามองว่า เฮดจ์ฟันด์ก่อให้เกิด "ต้นทุนทางเศรษฐกิจ" เพราะสามารถดึงเงินออกจากระบบได้ครั้งละเป็นพันเป็นหมื่นล้านดอลลาร์ การที่กองทุนมีขนาดใหญ่ทุกความเคลื่อนไหวย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์ต่างๆ อย่างมีนัยสำคัญได้เลยทีเดียว
วิธีค้าส่วนต่างกำไร (Arbitrage) แบบไม่มีความเสี่ยง
อีกส่วนที่สำคัญของเฮดจ์ฟันด์ ก็คือ แนวคิดในการค้าส่วนต่างกำไร (Arbitrage) เพื่อทำกำไรโดยไม่มีความเสี่ยงของตลาด แนวคิดง่ายๆ ของการทำ Arbitrage เกิดเมื่อมีการบิดเบือนของราคาสินค้าเกิดขึ้น เพราะเมื่อไรสินค้าตัวเดียวกันมีการซื้อขายอยู่ใน 2 ตลาด ย่อมมีโอกาสที่ราคาจะถูกบิดเบือนได้สูง
หลายปีที่ผ่านมา มีเฮดจ์ฟันด์จำนวนมากเข้ามาจัดตั้ง ในฮ่องกง และสิงคโปร์ ตามภาวะเศรษฐกิจในเอเชียที่เติบโตขึ้น ซึ่งหลายคนมักสับสนระหว่าง Hedge Fund กับ Private Equity เฮดจ์ฟันด์รอกินส่วนต่างของระบบ ยิ่งเร็วยิ่งดีอาทิตย์เดียวก็พอ แต่ Private Equity มุ่งเน้น ลงทุนระยะยาว ฟูมฟักจนเติบโตรอดอกผลแล้วถึงจะขายออกไป
สำหรับวิธีการลงทุนของเฮดจ์ฟันด์ เริ่มต้นจะเลือกหุ้น "สองตัว" ในเซ็กเตอร์เดียวกันเพื่อให้ได้ผลกระทบจาก Systematic Risk เท่าเทียมกัน โดยตัวแรกต้องมี "ราคาตลาด ต่ำกว่ามูลค่า" ที่ควรจะเป็นและตัวที่สองมี "ราคาตลาดแพงกว่ามูลค่า" ที่ควรจะเป็น ต่อมาก็จะ "ซื้อหุ้น" (ถือ Long) หุ้นที่มูลค่าตลาด "ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น" สมมติว่าใช้เงิน 100 ล้านบาท ซื้อหุ้น A แล้วไป "ยืมหุ้น" (B) ที่คิดว่า "ราคาแพงกว่ามูลค่าที่แท้จริง" มาทำการ "ขายล่วงหน้า" (ขาย Short) ด้วยจำนวนเงิน 100 ล้านบาท เท่ากัน
"ถ้าหากหุ้นสองตัวนี้ขึ้นลงในระดับเดียวกัน คือ 10% สถานะเงินลงทุนสุทธิก็ยังเท่ากับ "ศูนย์" เท่ากับว่าความเสี่ยง ได้ถูก "กำจัด" ออกไปแล้ว ถ้าหากการวิเคราะห์ถูกต้องในตลาด "ขาขึ้น" หุ้นที่ Under Value (ราคาถูกกว่าความเป็นจริง) ก็จะขึ้นมากกว่าหุ้นที่ Over Value (ราคาแพง) และในตลาด "ขาลง" หุ้นที่ Under Value ก็จะ "ตกน้อยกว่า" หุ้นที่ Over Value ผลกำไร ก็คือ ส่วนต่างของหุ้นสองตัวนี้นั่นเอง"
ม.ล.กรกสิวัฒน์ อธิบายว่า จากเทคนิคนี้จะทำให้ เฮดจ์ฟันด์สามารถทำกำไรได้ในทุกสภาวะตลาด!! ถึงมีอีกชื่อว่า "กองทุนบริหารความเสี่ยง" นอกจากนี้ เฮดจ์ฟันด์ ยังสามารถนำเงินที่ได้จากการขาย Short Sell หุ้น มาซื้อหุ้น (ถือ Long) หุ้นที่ยัง Under Value เพิ่มได้อีก ความสำเร็จของเฮดจ์ฟันด์จึงขึ้นอยู่กับความสามารถในการเลือกหุ้นเป็นสำคัญ คือ เลือกหุ้นตัวที่ "ดีที่สุด" และ "แย่ที่สุด" ในเซ็กเตอร์นั้น แม้ในบางสถานการณ์หุ้น ทุกตัวในเซ็กเตอร์นั้นจะดีเหมือนกันหมด แต่หุ้นแต่ละตัว ก็ดีไม่เท่ากัน
กรณีที่หุ้นสองตัวนั้นอยู่ต่างอุตสาหกรรมกันจะต้องพิจารณาเงื่อนไขและผลกระทบในด้านเศรษฐกิจมหภาค ที่จะส่งผลให้หุ้นสองตัวมีความเคลื่อนไหวที่ต่างกัน เช่น หากเกิดเหตุการณ์ 9/11 หุ้นที่อยู่ในกลุ่มสายการบินจะต้อง ตกต่ำลง แต่หุ้นในกลุ่มระบบรักษาความปลอดภัยกลับได้ประโยชน์ นอกจากนี้ สภาพคล่องซื้อขายจะต้องสูงเพื่อให้กลยุทธ์ดำเนินไปอย่างสมบูรณ์ เพราะถ้าไปลงทุนในสินทรัพย์ที่สภาพคล่องต่ำ เฮดจ์ฟันด์อาจไม่สามารถซื้อหรือขายได้ตามราคาและปริมาณที่ต้องการก็จัดเป็น "ความเสี่ยง" ที่เพิ่มเข้ามา
"ที่สำคัญ ตอนนี้ภาคการเงินได้ครอบงำภาคเศรษฐกิจจริงไปแล้ว เห็นได้จากการซื้อขายน้ำมันในตลาดล่วงหน้า ที่มีมูลค่ามากกว่าซื้อขายจริงเป็นร้อยเท่า หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ถูกนำไปผูกกับตลาดการเงิน ยิ่งเป็นการสร้างโอกาสให้เฮดจ์ฟันด์มากขึ้นไปอีก"
สัปดาห์หน้า "หม่อมกร" จะมาเผยกลยุทธ์ทำกำไรของเฮดจ์ฟันด์ที่สามารถเก็งกำไรได้ทุกรูปแบบ รวมถึงไขคำตอบว่าทำไม!! เฮดจ์ฟันด์ถึง "ฆ่าไม่ตาย" และยัง จะโตขึ้นได้อีก..ห้ามพลาด!!
'ตราสารหนี้' เชื่อมโยงทิศทางตลาดหุ้น
แท้ที่จริงแล้ว อัตราผลตอบแทนของ "ตราสารหนี้"จะเป็นตัวบ่งชี้ทิศทาง "ฟันด์โฟลว์" ได้เป็นอย่างดี!!!ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ชี้ว่าคนที่เป็นผู้จัดการกองทุนจะต้องหาจุดลงตัวที่เหมาะสมระหว่าง Top Down และ Bottom Up ให้มาเจอกัน ส่วนมากแล้วทีมที่ดูแลพอร์ตตราสารหนี้จะวิเคราะห์ Top Down เพราะ ผลขาดทุนหรือกำไรจากพันธบัตรจะมาจากเศรษฐกิจเป็นหลัก ส่วนทีมหุ้นจะมีส่วนแข็งที่ Bottom Up หรือการวิเคราะห์หุ้นจากปัจจัยภายในบริษัท ทั้งสองทีม ต้องทำงานสอดประสานกัน เพราะถ้าเกิดอะไรขึ้น กับอีกตลาดหนึ่งจะส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน อย่างเช่น ตลาดพันธบัตร ถ้าหากผลตอบแทนพันธบัตรลดลงอย่างรวดเร็ว แสดงว่าเศรษฐกิจกำลังจะมีปัญหา หรือไม่!! คนเทรดหุ้นจะดูหุ้นอย่างเดียวไม่พอต้องดูตลาดตราสารหนี้ประกอบด้วย "ผลตอบแทนของพันธบัตรมักจะบอกภาพของเศรษฐกิจเสมอ เช่น อยู่ดีๆ ผลตอบแทนวิ่งขึ้นไปมากกว่า 0.20-0.30% แสดงว่าตลาดกำลังบอกอะไรเราอยู่ อย่างกรณีพันธบัตรรัฐบาลกรีซมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วแสดงว่าความเสี่ยงเริ่มมากขึ้น เพราะผู้ออกตราสาร ต้องให้ผลตอบแทนที่สูงเป็นตัวจูงใจให้เข้ามาลงทุน"
ถ้าดูแต่เฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้บางทีจะช้ากว่าตลาดพันธบัตร ตัว Bond Yield จึงเป็นตัว ชี้วัดเศรษฐกิจได้ดีมาก นักลงทุนต้องมองให้ทัน จะรอให้ตลาดหุ้นถูกเทขายก่อนแล้วค่อยขายตามอาจเสียโอกาสได้
บรรยายใต้ภาพ
ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Monday, June 18, 2012 06:09
7357 XTHAI XGEN DAS V%NETNEWS P%WKT
'ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี' เปิดโปงยุทธวิธีฟาดกำไรเข้ากระเป๋าของเหล่าบรรดา 'เสือหิว..เฮดจ์ฟันด์' จ้องหาจังหวะจากความบกพร่องของตลาด ช่วง 'ภาคเศรษฐกิจจริง' ถูกภาคการเงิน 'ครอบงำ'
เปิดไปแล้วสำหรับประวัติของ ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ผู้มีดีกรี MBA เอกบริหารพอร์ตโฟลิโอจาก UCLA อดีตผู้บริหารระดับสูง บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ กบข. และฟิทช์ เรทติ้งส์ รวมถึงเคยมีประสบการณ์ทำงานที่ จาร์ดีนเฟลมมิ่ง แอสเซท แมเนจเม้นท์ ที่ฮ่องกง ทำให้รู้จักใกล้ชิดกับ กองทุนเฮดจ์ฟันด์ มากมาย ซึ่งตอนนั้นกองทุนเสือหิวกำลังมุ่งหน้าเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในภูมิภาคเอเชีย ประกอบกับ "หม่อมกร"เลือกทำวิทยานิพนธ์ตีแผ่ตัวตนของเฮดจ์ฟันด์ตอนเรียน ปริญญาโทใบที่สองที่คณะเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวได้ว่า เขาเป็นผู้ที่รู้จักกับเฮดจ์ฟันด์มากที่สุดคนหนึ่งของไทย ปรัชญาพื้นฐานที่ทำให้กองทุนเฮดจ์ฟันด์เข้ามาแสวงหาประโยชน์ได้นั้น ม.ล.กรกสิวัฒน์ อธิบายว่า เป็นเพราะระบบต่างๆ ในโลกไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ เมื่อมี "จุดอ่อน" ก็ย่อมมีคนหาประโยชน์จากความไม่สมบูรณ์นี้ สรุปง่ายๆ เฮดจ์ฟันด์เกิดขึ้นจากความบกพร่องของระบบทุนนิยม ยิ่งเฮดจ์ฟันด์เบ่งบาน ยิ่งตอบคำถามได้ว่าระบบยิ่งมีความไม่สมบูรณ์มากขึ้น และมีคนมาหาผลประโยชน์มากขึ้น จากความไม่สมบูรณ์นั้น การจัดตั้งเฮดจ์ฟันด์ส่วนมากจะไปจดทะเบียนนิติบุคคลกันที่ประเทศที่มี Tax Haven (ปลอดภาษี) อย่างหมู่เกาะบริติชเวอร์จิ้น เกาะเคย์แมน ฯลฯ วัตถุประสงค์เพื่อหลบเลี่ยงการถูกตรวจสอบ ซึ่งประเทศ พวกนี้จะจำกัดเฉพาะนักลงทุนที่ "กระเป๋าหนัก" เท่านั้น ส่วนพวกที่กระเป๋าไม่หนักอาจจะต้องไปลงทุน ทางอ้อมผ่านกองทุนอื่นที่ไปซื้อหน่วยลงทุนของเฮดจ์ฟันด์อีกที
ข้อได้เปรียบของเฮดจ์ฟันด์ ก็คือ ผู้จัดการกองทุนสามารถก่อหนี้ (Leverage) ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะทำให้ได้กำไรหรือขาดทุน ได้มากกว่าการลงทุนแบบปกติ ยิ่งมีสัดส่วนการใช้ Leverage ต่อทุนสูงมากขึ้นเท่าใด ก็ยิ่งมีความเสี่ยงและโอกาสได้กำไรเพิ่มมากขึ้น เช่น มีส่วนของทุนเพียง 1,000 ล้านดอลลาร์ อาจจะไปกู้ยืม มาทำให้กองทุนมีขนาดใหญ่ 5,000-10,000 ล้านดอลลาร์ ได้เลยทีเดียว
หม่อมกร เล่าต่อว่า พวกเฮดจ์ฟันด์จะมีผู้ช่วย คนสำคัญ คือ Prime Broker เนื่องจากการตั้งเฮดจ์ฟันด์ มักจะเกิดขึ้นจากคนเพียงไม่กี่คนและจ้างลูกน้องไม่เยอะ พวกนี้จะไปจ้าง Prime Broker เป็นแบ็คออฟฟิศให้ทั้งระบบ เช่น งานบัญชี ส่วนผู้จัดการกองทุนมีหน้าที่เพียงแค่คิดว่าจะลงทุนอะไรดีเท่านั้น
ถามว่า Prime Broker คือใคร ก็คือพวกวาณิช- ธนกิจใหญ่ๆ ระดับโลกอย่าง เลแมน บราเธอร์ส, เมอร์ริล ลินช์ ฯลฯ พวกนี้ นอกจากช่วยเฮดจ์ฟันด์ทำงาน แล้วยังพร้อมจะ "ปล่อยกู้" ให้ด้วย โดยเอา "พอร์ตลงทุน" เช่น หุ้น ตราสารหนี้ พันธบัตรมา "ตึ๊ง" (จำนำ) ไว้ หรือเฮดจ์ฟันด์จะ "ยืมหุ้น" จาก Prime Broker มาขาย Short ก็ได้ ซึ่ง Prime Broker ก็จะมีลูกค้ามาซื้อขายหุ้นกับตัวเองมากมาย จึงมีหุ้นทุกตัวให้เฮดจ์ฟันด์ "ยืมไปขายก่อน" พวกนี้ก็นอนกิน "ค่าธรรมเนียม" รวยเละ!! ไม่เพียงวาณิชธนกิจใหญ่ๆ สนับสนุนให้เฮดจ์ฟันด์ เติบโตแล้ว ธนาคารพาณิชย์ ยังมีส่วนร่วมในการ "ปล่อยกู้" ให้เงินเฮดจ์ฟันด์ไปลงทุนด้วย กองทุนพวกนี้จึงไม่ได้ทำงานในมุมมืดอีกต่อไป ธนาคารใน ต่างประเทศแนะนำให้ลูกค้าของตัวเองไปลงทุนใน เฮดจ์ฟันด์อย่างเปิดเผย นอกจากนี้ ธนาคารพวกนี้ยังเป็นช่องทางให้เฮดจ์ฟันด์ "เก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน"ตัวเองก็ได้ผลประโยชน์จากการ "ซื้อขายเงินตรา" ของประเทศต่างๆ ให้เฮดจ์ฟันด์
"ผมเชื่อว่าสมัยปี 2540 ตอนนั้นธนาคารไทยก็ต้อง มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเก็งกำไรค่าเงินบาทของเฮดจ์ฟันด์ แน่นอน ลองคิดดูว่ามีคนขายเงินบาทตูมๆ ทุกวัน ธนาคารต้องรู้ว่าตอนนี้มีเงินบาทออกจากระบบของเราแล้ว!"
ค้นหา 'จุดอ่อน' ของระบบแล้วจู่โจมฉับพลัน!!!
ม.ล.กรกสิวัฒน์ กล่าวว่า กรณีศึกษาที่น่าสนใจ คือ กรณีการโจมตีค่าเงินปอนด์ของอังกฤษในปี 1992 (ปี 2535) ตอนนี้ยังใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ก่อนที่อังกฤษจะประกาศลอยตัวค่าเงิน รัฐมนตรีคลังของเขาก็ออกมาบอกว่า "ไม่มีวันลด" จากนั้น 3 วัน ก็ต้องปล่อยลอยตัวค่าเงิน ตอนนั้น จอร์จ โซรอส เขาเห็นแล้วว่ามี "ช่องว่าง" ในระบบอัตราแลกเปลี่ยน จึงเข้า "โจมตี" (เก็งกำไร) ได้กำไรไปจำนวนมาก และทำให้เขามีชื่อเสียงขึ้นในทันที
"ถ้าเราอ่านประวัติศาสตร์ แม้แต่ธนาคารกลางอังกฤษและอิตาลี ยังไม่สามารถเอาชนะเฮดจ์ฟันด์ได้ กรณีของประเทศไทยก็เช่นกันก่อนลอยตัวค่าเงินบาท (ปี 2540) เฮดจ์ฟันด์ก็อ่านเกมออกตั้งแต่แรก สุดท้าย
เราก็ต้องประกาศลอยตัวค่าเงิน..ภายใต้ระบบทุนนิยมการเข้ามาเก็งกำไรของเฮดจ์ฟันด์เป็นเสมือนการ
เตือนว่าระบบกำลังมีจุดอ่อนเราต้องรีบไปแก้ไขซะ"เขาเชื่อว่าเราไม่มีทางกำจัดพวกเฮดจ์ฟันด์ออกไป จากระบบได้หมด พวกนี้ คือ "กระจกส่องตัวเราเอง"บางครั้งเฮดจ์ฟันด์ก็เป็น Watch Dog (สุนัขเฝ้ายาม) ทางเศรษฐกิจได้เหมือนกัน แม้แต่กองทุน "เทมาเส็ก" ของรัฐบาลสิงคโปร์ และ "เวิลด์แบงก์" ยังเป็นลูกค้าของเฮดจ์ฟันด์! ซึ่งเขาไม่ได้หวังเพียงแค่ผลตอบแทน แต่ต้องการรู้ด้วยว่าพวกนี้กำลังคิดอะไรอยู่ เฮดจ์ฟันด์ จึงมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลกอย่างมาก แม้แต่สหรัฐอเมริกาต้นแบบของระบบทุนนิยม ปัจจุบันก็กลับเป็น "เหยื่อ" ของทุนนิยมเสียเอง
ม.ล.กรกสิวัฒน์ ชี้ว่า ตอนนี้เฮดจ์ฟันด์ในเอเชียกำลังเติบโตเร็วมาก เพราะทุนนิยมไปโตที่ไหนมันจะไปที่นั่น ขณะที่อเมริกากับยุโรปมันโตจนถึงขีดสุด แล้ว จุดอ่อนของเอเชียก็คือแต่ละประเทศมีนโยบายทางเศรษฐกิจแตกต่างกันมาก และทุกประเทศถูกครอบงำโดยนโยบายภาครัฐทำให้เกิด "ช่องว่าง" เข้ามา หาผลประโยชน์ได้ง่าย และทุนเข้าครอบงำได้ง่าย
เขามองว่า เฮดจ์ฟันด์ก่อให้เกิด "ต้นทุนทางเศรษฐกิจ" เพราะสามารถดึงเงินออกจากระบบได้ครั้งละเป็นพันเป็นหมื่นล้านดอลลาร์ การที่กองทุนมีขนาดใหญ่ทุกความเคลื่อนไหวย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์ต่างๆ อย่างมีนัยสำคัญได้เลยทีเดียว
วิธีค้าส่วนต่างกำไร (Arbitrage) แบบไม่มีความเสี่ยง
อีกส่วนที่สำคัญของเฮดจ์ฟันด์ ก็คือ แนวคิดในการค้าส่วนต่างกำไร (Arbitrage) เพื่อทำกำไรโดยไม่มีความเสี่ยงของตลาด แนวคิดง่ายๆ ของการทำ Arbitrage เกิดเมื่อมีการบิดเบือนของราคาสินค้าเกิดขึ้น เพราะเมื่อไรสินค้าตัวเดียวกันมีการซื้อขายอยู่ใน 2 ตลาด ย่อมมีโอกาสที่ราคาจะถูกบิดเบือนได้สูง
หลายปีที่ผ่านมา มีเฮดจ์ฟันด์จำนวนมากเข้ามาจัดตั้ง ในฮ่องกง และสิงคโปร์ ตามภาวะเศรษฐกิจในเอเชียที่เติบโตขึ้น ซึ่งหลายคนมักสับสนระหว่าง Hedge Fund กับ Private Equity เฮดจ์ฟันด์รอกินส่วนต่างของระบบ ยิ่งเร็วยิ่งดีอาทิตย์เดียวก็พอ แต่ Private Equity มุ่งเน้น ลงทุนระยะยาว ฟูมฟักจนเติบโตรอดอกผลแล้วถึงจะขายออกไป
สำหรับวิธีการลงทุนของเฮดจ์ฟันด์ เริ่มต้นจะเลือกหุ้น "สองตัว" ในเซ็กเตอร์เดียวกันเพื่อให้ได้ผลกระทบจาก Systematic Risk เท่าเทียมกัน โดยตัวแรกต้องมี "ราคาตลาด ต่ำกว่ามูลค่า" ที่ควรจะเป็นและตัวที่สองมี "ราคาตลาดแพงกว่ามูลค่า" ที่ควรจะเป็น ต่อมาก็จะ "ซื้อหุ้น" (ถือ Long) หุ้นที่มูลค่าตลาด "ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น" สมมติว่าใช้เงิน 100 ล้านบาท ซื้อหุ้น A แล้วไป "ยืมหุ้น" (B) ที่คิดว่า "ราคาแพงกว่ามูลค่าที่แท้จริง" มาทำการ "ขายล่วงหน้า" (ขาย Short) ด้วยจำนวนเงิน 100 ล้านบาท เท่ากัน
"ถ้าหากหุ้นสองตัวนี้ขึ้นลงในระดับเดียวกัน คือ 10% สถานะเงินลงทุนสุทธิก็ยังเท่ากับ "ศูนย์" เท่ากับว่าความเสี่ยง ได้ถูก "กำจัด" ออกไปแล้ว ถ้าหากการวิเคราะห์ถูกต้องในตลาด "ขาขึ้น" หุ้นที่ Under Value (ราคาถูกกว่าความเป็นจริง) ก็จะขึ้นมากกว่าหุ้นที่ Over Value (ราคาแพง) และในตลาด "ขาลง" หุ้นที่ Under Value ก็จะ "ตกน้อยกว่า" หุ้นที่ Over Value ผลกำไร ก็คือ ส่วนต่างของหุ้นสองตัวนี้นั่นเอง"
ม.ล.กรกสิวัฒน์ อธิบายว่า จากเทคนิคนี้จะทำให้ เฮดจ์ฟันด์สามารถทำกำไรได้ในทุกสภาวะตลาด!! ถึงมีอีกชื่อว่า "กองทุนบริหารความเสี่ยง" นอกจากนี้ เฮดจ์ฟันด์ ยังสามารถนำเงินที่ได้จากการขาย Short Sell หุ้น มาซื้อหุ้น (ถือ Long) หุ้นที่ยัง Under Value เพิ่มได้อีก ความสำเร็จของเฮดจ์ฟันด์จึงขึ้นอยู่กับความสามารถในการเลือกหุ้นเป็นสำคัญ คือ เลือกหุ้นตัวที่ "ดีที่สุด" และ "แย่ที่สุด" ในเซ็กเตอร์นั้น แม้ในบางสถานการณ์หุ้น ทุกตัวในเซ็กเตอร์นั้นจะดีเหมือนกันหมด แต่หุ้นแต่ละตัว ก็ดีไม่เท่ากัน
กรณีที่หุ้นสองตัวนั้นอยู่ต่างอุตสาหกรรมกันจะต้องพิจารณาเงื่อนไขและผลกระทบในด้านเศรษฐกิจมหภาค ที่จะส่งผลให้หุ้นสองตัวมีความเคลื่อนไหวที่ต่างกัน เช่น หากเกิดเหตุการณ์ 9/11 หุ้นที่อยู่ในกลุ่มสายการบินจะต้อง ตกต่ำลง แต่หุ้นในกลุ่มระบบรักษาความปลอดภัยกลับได้ประโยชน์ นอกจากนี้ สภาพคล่องซื้อขายจะต้องสูงเพื่อให้กลยุทธ์ดำเนินไปอย่างสมบูรณ์ เพราะถ้าไปลงทุนในสินทรัพย์ที่สภาพคล่องต่ำ เฮดจ์ฟันด์อาจไม่สามารถซื้อหรือขายได้ตามราคาและปริมาณที่ต้องการก็จัดเป็น "ความเสี่ยง" ที่เพิ่มเข้ามา
"ที่สำคัญ ตอนนี้ภาคการเงินได้ครอบงำภาคเศรษฐกิจจริงไปแล้ว เห็นได้จากการซื้อขายน้ำมันในตลาดล่วงหน้า ที่มีมูลค่ามากกว่าซื้อขายจริงเป็นร้อยเท่า หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ถูกนำไปผูกกับตลาดการเงิน ยิ่งเป็นการสร้างโอกาสให้เฮดจ์ฟันด์มากขึ้นไปอีก"
สัปดาห์หน้า "หม่อมกร" จะมาเผยกลยุทธ์ทำกำไรของเฮดจ์ฟันด์ที่สามารถเก็งกำไรได้ทุกรูปแบบ รวมถึงไขคำตอบว่าทำไม!! เฮดจ์ฟันด์ถึง "ฆ่าไม่ตาย" และยัง จะโตขึ้นได้อีก..ห้ามพลาด!!
'ตราสารหนี้' เชื่อมโยงทิศทางตลาดหุ้น
แท้ที่จริงแล้ว อัตราผลตอบแทนของ "ตราสารหนี้"จะเป็นตัวบ่งชี้ทิศทาง "ฟันด์โฟลว์" ได้เป็นอย่างดี!!!ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ชี้ว่าคนที่เป็นผู้จัดการกองทุนจะต้องหาจุดลงตัวที่เหมาะสมระหว่าง Top Down และ Bottom Up ให้มาเจอกัน ส่วนมากแล้วทีมที่ดูแลพอร์ตตราสารหนี้จะวิเคราะห์ Top Down เพราะ ผลขาดทุนหรือกำไรจากพันธบัตรจะมาจากเศรษฐกิจเป็นหลัก ส่วนทีมหุ้นจะมีส่วนแข็งที่ Bottom Up หรือการวิเคราะห์หุ้นจากปัจจัยภายในบริษัท ทั้งสองทีม ต้องทำงานสอดประสานกัน เพราะถ้าเกิดอะไรขึ้น กับอีกตลาดหนึ่งจะส่งผลกระทบซึ่งกันและกัน อย่างเช่น ตลาดพันธบัตร ถ้าหากผลตอบแทนพันธบัตรลดลงอย่างรวดเร็ว แสดงว่าเศรษฐกิจกำลังจะมีปัญหา หรือไม่!! คนเทรดหุ้นจะดูหุ้นอย่างเดียวไม่พอต้องดูตลาดตราสารหนี้ประกอบด้วย "ผลตอบแทนของพันธบัตรมักจะบอกภาพของเศรษฐกิจเสมอ เช่น อยู่ดีๆ ผลตอบแทนวิ่งขึ้นไปมากกว่า 0.20-0.30% แสดงว่าตลาดกำลังบอกอะไรเราอยู่ อย่างกรณีพันธบัตรรัฐบาลกรีซมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วแสดงว่าความเสี่ยงเริ่มมากขึ้น เพราะผู้ออกตราสาร ต้องให้ผลตอบแทนที่สูงเป็นตัวจูงใจให้เข้ามาลงทุน"
ถ้าดูแต่เฉพาะอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้บางทีจะช้ากว่าตลาดพันธบัตร ตัว Bond Yield จึงเป็นตัว ชี้วัดเศรษฐกิจได้ดีมาก นักลงทุนต้องมองให้ทัน จะรอให้ตลาดหุ้นถูกเทขายก่อนแล้วค่อยขายตามอาจเสียโอกาสได้
บรรยายใต้ภาพ
ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
-
- Verified User
- โพสต์: 2141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระชากหน้ากาก"เฮสด์ฟันด์"ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี
โพสต์ที่ 15
this is exactly why warren's the world's richest investor
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
A ttitude & Perception
D isclipine
-
- Verified User
- โพสต์: 543
- ผู้ติดตาม: 0
Re: กระชากหน้ากาก"เฮสด์ฟันด์"ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี
โพสต์ที่ 16
เวอร์ชันฟรีครับaonzzung เขียน:ขอบคุณครับ
แต่เอ...ผมตามไปดูที่เว็ป กรุงเทพธุรกิจ ไม่เห็นมีบทความนี้อะครับ
หรือมันสำหรับเวอชั่นจ่ายตังค์อ่านเท่านั้น?
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%B5.html