วิบากกรรมของบริษัทถ่านหิน
-
- Verified User
- โพสต์: 18364
- ผู้ติดตาม: 1
วิบากกรรมของบริษัทถ่านหิน
โพสต์ที่ 1
ช่วงนี้เป็นวิบากกรรมของบริษัทถ่านหินจริงๆ
เริ่มด้วย พวกที่ไปประมูลเหมืองที่อินโดนีเซีย ประสบปัญหาเจอรัฐบาลออกกฏหมายการถือครองหุ้น
ตามด้วยตอนนี้น่าเป็นกฏหมายเรื่องการส่งออกมาอีกชุด
ส่วนบริษัทที่ต้องที่ อบจ ท่าทราย สมุทรสาคร ก็โดนห้ามขนย้ายเพราะกระทบสิ่งแวดล้อม
ต่อมาด้วย ความกังวลเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจทำให้ราคาน้ำมันลดลง
ก็ส่งผลกระทบต่อถ่านหินทางอ้อมไปด้วย
ดังนั้นปีนี้เป็นปีที่เรียกได้ว่า วิบากกรรมของถ่านหิน
หากเป็นปีที่แล้ว ตอนนี้ก็เริ่มมีข่าวน้ำท่วมที่ประเทศออสซี่ เช็คข่าวกันวุ่นวายว่า เหมืองถ่านหินท่วมหรือไม่ล่ะ
งานนี้แค่พ้นปีสถานการณ์เปลี่ยนแปลงจริงๆ
เกิด แก่ เจ็บ ตาย มันไม่เที่ยง
เริ่มด้วย พวกที่ไปประมูลเหมืองที่อินโดนีเซีย ประสบปัญหาเจอรัฐบาลออกกฏหมายการถือครองหุ้น
ตามด้วยตอนนี้น่าเป็นกฏหมายเรื่องการส่งออกมาอีกชุด
ส่วนบริษัทที่ต้องที่ อบจ ท่าทราย สมุทรสาคร ก็โดนห้ามขนย้ายเพราะกระทบสิ่งแวดล้อม
ต่อมาด้วย ความกังวลเรื่องวิกฤติเศรษฐกิจทำให้ราคาน้ำมันลดลง
ก็ส่งผลกระทบต่อถ่านหินทางอ้อมไปด้วย
ดังนั้นปีนี้เป็นปีที่เรียกได้ว่า วิบากกรรมของถ่านหิน
หากเป็นปีที่แล้ว ตอนนี้ก็เริ่มมีข่าวน้ำท่วมที่ประเทศออสซี่ เช็คข่าวกันวุ่นวายว่า เหมืองถ่านหินท่วมหรือไม่ล่ะ
งานนี้แค่พ้นปีสถานการณ์เปลี่ยนแปลงจริงๆ
เกิด แก่ เจ็บ ตาย มันไม่เที่ยง
- Tsurumi
- Verified User
- โพสต์: 268
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิบากกรรมของบริษัทถ่านหิน
โพสต์ที่ 3
ตอนนี้ต้องหยุดยืนให้นิ่งแล้วมองไปข้างหลัง ก็จะเห็นภาพที่ไม่หลอนใครเลย
1. อินโดนีเซียออกกฏหมาย กฏกระทรวงที่ชัดเจนแล้วคือ ไม่เก็บภาษีส่งออกถ่านหิน แต่ไม่เคลียร์คือ 1. กม. สิ่งแวดล้อมหยุดตัดไม้ทำลายป่าสองปี ส่วนใหญ่เหมืองในอินโดฯเป็นเหมืองเปิดลานกว้าง ถ้าไม่ตัดต้นไม้ก็เปิดเหมืองไม่ได้ 2.ลดส่วนต่างชาติถือหุ้นในบริษัททำเหมืองให้เหลือ 49% ภายในสิบปี ทำให้คิดว่า ลงทุนทำเหมืองหลายร้อยล้านแล้วต้องทำ break even point คืนทุนภายใน ห้าปี แล้วมันเสี่ยงมาก 3. อินโดฯจะผลิตปีนี้ 300-320 ล้านตัน (ประมาณว่าไปจีนเสีย 103; ไปอินเดีย 110 ที่เหลือไปประเทศอื่นและใช้เองอีก ประมาณ 60 ล้าน) ก็สูงสุดเป็นประวัติการณ์ เมื่อต้องส่งออกมาก ราคาถ่านหินโลกอยู่ภาวะตกต่ำที่สุดในรอบสองปี ก็จะยิ่งทำราคาให้เสียคือ ตกลงไปอีก กำไรจะเหลือเหมือนเดิมคงต้องทำงานหนัก อาทิตย์ที่แล้วอินโดฯประกาศราคากลางถ่านบางเกรดเพื่อคิดค่าภาคหลวงกดลงไปอีกเกือบห้าเปอร์เซ็นต์ ต่ำสุดในรอบสิปแปดเดือน
2. ทั่วโลกมีมาตรการเข้มงวดเรื่องสวล. เมกาเองยี่งเคร่งครัดถ้าเอาไฟฟ้าจากถ่านหินก็ยิ่งมีปัญหา แนวโน้มจึงต้องหาเชื้อเพลิงใหม่ ประมาณว่าเอาจาก Shale Gas ออกมา จีนเองก็เริ่มลงมือเอา Shale gas มาใช้แล้วหลังจากวิจัย ขุดเจาะมานานแล้ว ถ้าเหลียวหลังเห็นประเด็น สวล. ดังขนาดนี้แล้ว แลไปข้างหน้าก็ต้องดังกว่านี้อีก
3. จากข้อแรกที่อินโดฯมีกฏเกณฑ์ไม่ชัดเจนให้ลูกค้า ผู้ขายก็วิ่งหาเหมืองกันใหม่ ที่เนื้อหอมขณะนี้ก็มี อัฟฟริกาใต้และมองโกเลียใครพลาดก็ตกรถกันเลย
4. ดู 56-1 ของบาง บมจ.เขียนว่า ถ่านหินอนาคตดีมาก เพราะจะมาทดแทนน้ำมันทีราคา-ต้นทุนการผลิตผันผวนสูง ตลาดถ่านหินมีศักยภาพอีกนาน เพราะราคาต่ำกว่าและไม่ผันผวน ประเด็นนี้ผมเลยคิดว่า ความถูกต้องคงเป็นที่ไม่ผันผวน คือ ราคาดิ่งลงอย่างสม่ำเสมอหรือเปล่า
พอเห็นตลาดถ่านหินย้อนหลังไปหกเดือนก็ต้องเข้าใจและให้กำลังใจไม่มีลิมิต เกินร้อยกับ บมจ.ทั้งหลาย เช่น มีเงินเต็มกำมือ แต่ซื้อเหมืองที่อินโดฯไม่ลง เพราะถ้าซื้อแล้วไม่รู้จะมีจุดคืนทุนภายในกำหนดที่กม.เขาตั้งไว้หรือไม่ ขณะเดียวกันก็หาแหล่งขายใหม่ ไปอินเดีย ซึ่งต้องไปสู้กับยักษ์ใหญ่เช่น adani group ที่เป็นเจ้าถิ่นทั้งที่ในอินโดฯและในบ้านเกิดตัวเอง (ขายถ่านหิน ท่าเรือ ทางรถไฟและโรงไฟฟ้า ฯลฯ www.adani.com ) ไปจีนเพราะจีนใช้ถ่านหินมากที่สุดในโลก ไปตกปลา ต้องไปหนองที่ปลาชุมที่สุด ไปเซ้าท์อัฟริกา ไปมองโกเลีย ฯลฯเพื่อไปหาของมาขาย
ผมเห็นว่า ถ้าลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์เช่นนี้ต้องทำงานหนัก เหนื่อยหนักมากกว่าเดิม เหนื่อยจริงๆ ไม่เหมือนซื้อหุ้นปากซอยหรือร้านข้าวแกง อย่างไรเสียก็อยู่ในบ้านเรา พอมองทะลุได้ตั้งแต่หน้าร้านถึงหลังร้าน แต่เป็นน้ำมันกับถ่านหินนี้ ไม่ใช่ต้องตามฝรั่งให้ทัน คือต้องตีหัวฝรั่งให้ได้ (ขออภัยคำไม่เพราะ) เป็นแบบเข้าก่อนฝรั่ง ออกก่อนฝรั่ง ตอนนี้ฝรั่งเห็นว่า ถ่านหินไม่ใช่สินค้าบูมทำกำไรไม่ได้แล้ว ก็ขายทิ้งทั้งในไทยและในอินโดฯ เราควร หาจังหวะเข้า-ออกให้ใด้เหมือน บัวขาว ปออะไรทำนองนั้น ไม่เช่นนั้นก็ ทัมใจอย่างเดียว ไม่กี่วันก่อนเพื่อนก็เชิญแบบประชดอีกว่า จะกินด้วยใหม ซื้อปูมาโลละ 700 แสดงว่าเขาไม่เคยดูบัวขาวชกเลยมัวแต่ไปดูคาบาเร่
สุดท้ายก็ให้กำลังใจกันตัดสินใจให้มีคุณภาพ ด้วยการอ่านมากๆ มองภาพรวมถ่านหินให้ออกทั้งย้อนหลังสี่ปีและข้างหน้าสี่ปี อาวุธที่เก็บจากหนังสือลงทุนทุกเล่มเอาออกมาใช้ให้หมด ผู้เขียนได้ใช้ประสบการณ์ทั้งชีวิตเขียนเป็นเล่มให้เราอ่าน
จุดที่ผมยืนและมองย้อนหลังมาจาก Chart นี้ (www.indexmundi.com )
1. อินโดนีเซียออกกฏหมาย กฏกระทรวงที่ชัดเจนแล้วคือ ไม่เก็บภาษีส่งออกถ่านหิน แต่ไม่เคลียร์คือ 1. กม. สิ่งแวดล้อมหยุดตัดไม้ทำลายป่าสองปี ส่วนใหญ่เหมืองในอินโดฯเป็นเหมืองเปิดลานกว้าง ถ้าไม่ตัดต้นไม้ก็เปิดเหมืองไม่ได้ 2.ลดส่วนต่างชาติถือหุ้นในบริษัททำเหมืองให้เหลือ 49% ภายในสิบปี ทำให้คิดว่า ลงทุนทำเหมืองหลายร้อยล้านแล้วต้องทำ break even point คืนทุนภายใน ห้าปี แล้วมันเสี่ยงมาก 3. อินโดฯจะผลิตปีนี้ 300-320 ล้านตัน (ประมาณว่าไปจีนเสีย 103; ไปอินเดีย 110 ที่เหลือไปประเทศอื่นและใช้เองอีก ประมาณ 60 ล้าน) ก็สูงสุดเป็นประวัติการณ์ เมื่อต้องส่งออกมาก ราคาถ่านหินโลกอยู่ภาวะตกต่ำที่สุดในรอบสองปี ก็จะยิ่งทำราคาให้เสียคือ ตกลงไปอีก กำไรจะเหลือเหมือนเดิมคงต้องทำงานหนัก อาทิตย์ที่แล้วอินโดฯประกาศราคากลางถ่านบางเกรดเพื่อคิดค่าภาคหลวงกดลงไปอีกเกือบห้าเปอร์เซ็นต์ ต่ำสุดในรอบสิปแปดเดือน
2. ทั่วโลกมีมาตรการเข้มงวดเรื่องสวล. เมกาเองยี่งเคร่งครัดถ้าเอาไฟฟ้าจากถ่านหินก็ยิ่งมีปัญหา แนวโน้มจึงต้องหาเชื้อเพลิงใหม่ ประมาณว่าเอาจาก Shale Gas ออกมา จีนเองก็เริ่มลงมือเอา Shale gas มาใช้แล้วหลังจากวิจัย ขุดเจาะมานานแล้ว ถ้าเหลียวหลังเห็นประเด็น สวล. ดังขนาดนี้แล้ว แลไปข้างหน้าก็ต้องดังกว่านี้อีก
3. จากข้อแรกที่อินโดฯมีกฏเกณฑ์ไม่ชัดเจนให้ลูกค้า ผู้ขายก็วิ่งหาเหมืองกันใหม่ ที่เนื้อหอมขณะนี้ก็มี อัฟฟริกาใต้และมองโกเลียใครพลาดก็ตกรถกันเลย
4. ดู 56-1 ของบาง บมจ.เขียนว่า ถ่านหินอนาคตดีมาก เพราะจะมาทดแทนน้ำมันทีราคา-ต้นทุนการผลิตผันผวนสูง ตลาดถ่านหินมีศักยภาพอีกนาน เพราะราคาต่ำกว่าและไม่ผันผวน ประเด็นนี้ผมเลยคิดว่า ความถูกต้องคงเป็นที่ไม่ผันผวน คือ ราคาดิ่งลงอย่างสม่ำเสมอหรือเปล่า
พอเห็นตลาดถ่านหินย้อนหลังไปหกเดือนก็ต้องเข้าใจและให้กำลังใจไม่มีลิมิต เกินร้อยกับ บมจ.ทั้งหลาย เช่น มีเงินเต็มกำมือ แต่ซื้อเหมืองที่อินโดฯไม่ลง เพราะถ้าซื้อแล้วไม่รู้จะมีจุดคืนทุนภายในกำหนดที่กม.เขาตั้งไว้หรือไม่ ขณะเดียวกันก็หาแหล่งขายใหม่ ไปอินเดีย ซึ่งต้องไปสู้กับยักษ์ใหญ่เช่น adani group ที่เป็นเจ้าถิ่นทั้งที่ในอินโดฯและในบ้านเกิดตัวเอง (ขายถ่านหิน ท่าเรือ ทางรถไฟและโรงไฟฟ้า ฯลฯ www.adani.com ) ไปจีนเพราะจีนใช้ถ่านหินมากที่สุดในโลก ไปตกปลา ต้องไปหนองที่ปลาชุมที่สุด ไปเซ้าท์อัฟริกา ไปมองโกเลีย ฯลฯเพื่อไปหาของมาขาย
ผมเห็นว่า ถ้าลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์เช่นนี้ต้องทำงานหนัก เหนื่อยหนักมากกว่าเดิม เหนื่อยจริงๆ ไม่เหมือนซื้อหุ้นปากซอยหรือร้านข้าวแกง อย่างไรเสียก็อยู่ในบ้านเรา พอมองทะลุได้ตั้งแต่หน้าร้านถึงหลังร้าน แต่เป็นน้ำมันกับถ่านหินนี้ ไม่ใช่ต้องตามฝรั่งให้ทัน คือต้องตีหัวฝรั่งให้ได้ (ขออภัยคำไม่เพราะ) เป็นแบบเข้าก่อนฝรั่ง ออกก่อนฝรั่ง ตอนนี้ฝรั่งเห็นว่า ถ่านหินไม่ใช่สินค้าบูมทำกำไรไม่ได้แล้ว ก็ขายทิ้งทั้งในไทยและในอินโดฯ เราควร หาจังหวะเข้า-ออกให้ใด้เหมือน บัวขาว ปออะไรทำนองนั้น ไม่เช่นนั้นก็ ทัมใจอย่างเดียว ไม่กี่วันก่อนเพื่อนก็เชิญแบบประชดอีกว่า จะกินด้วยใหม ซื้อปูมาโลละ 700 แสดงว่าเขาไม่เคยดูบัวขาวชกเลยมัวแต่ไปดูคาบาเร่
สุดท้ายก็ให้กำลังใจกันตัดสินใจให้มีคุณภาพ ด้วยการอ่านมากๆ มองภาพรวมถ่านหินให้ออกทั้งย้อนหลังสี่ปีและข้างหน้าสี่ปี อาวุธที่เก็บจากหนังสือลงทุนทุกเล่มเอาออกมาใช้ให้หมด ผู้เขียนได้ใช้ประสบการณ์ทั้งชีวิตเขียนเป็นเล่มให้เราอ่าน
จุดที่ผมยืนและมองย้อนหลังมาจาก Chart นี้ (www.indexmundi.com )
แนบไฟล์
- Paul Octopus
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิบากกรรมของบริษัทถ่านหิน
โพสต์ที่ 5
ปัญหาของถ่านหินทั้งโลก เป็นเรื่อง Shale Gas ล้วนๆ
Shale Gas มีแนวโน้มชัดเจนแล้วที่จะเปลี่ยนพื้นฐานด้านพลังงาน และ ปิโตรเคมี ใหม่
อเมริกา วันนี้ไม่ได้พบแค่แหล่ง Shale Gas ที่เป็น "Dry Gas" เท่านั้น
แต่พบว่ามี "Wet Gas" และ ล่าสุดก็ค้นพบ "Shale Oil" มหาศาล
Dry Gas จะมีพื้นฐานเป็น Methane เป็นส่วนใหญ่ จึงนำมาใช้กับโรงไฟฟ้าเพื่อเผาเป็นเชื้อเพลิง
Wet Gas จะมีองค์ประกอบของ Ethane, Propane และ Butane เหมือนแหล่ง เอราวัณ ที่ทำให้เกิดอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ระยอง
Shale Oil คือได้น้ำมัน และ เป็นน้ำมันชนิดดีซะด้วย
อเมริกากำลังกลับมาอีกครั้ง พลังงานในอเมริกาจะถูกกว่าคนอื่นๆ (ยกเว้นตะวันออกกลาง)
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะกลับไปเกิดที่ อเมริกา และ จะกลายเป็นผู้ส่งออก พลาสติกและเคมีภัณฑ์ ที่น่าจับตามองหลังจากอุตสาหกรรมนี้ไม่สามารถแข่งขันได้มานานกว่า 3 ทศวรรษ
น้ำมันจาก Shale Oil จะทำให้ อเมริกาลดปริมาณการนำเข้าน้ำมันได้อีกอย่างน้อย 3 ล้าน บาเรลต่อวัน
ฯลฯ....
ลองคิดดูนะครับว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับถ่านหิน ราคาถ่านหิน
ผมคงฟันธงไม่ได้ แต่มันไม่ใช่เหมือนเมื่อ สามปีที่แล้ว อีกต่อไป
พื้นฐานเปลี่ยนแล้วครับ ทั้งอุตสาหกรรม ด้านพลังงาน และ ปิโตรเคมี
ใครปรับตัวไม่ทัน งานนี้เสียหาย (ผมหมายถึงอุตสาหกรรมฯ)
ถ้าใครสนใจลอง Search Google ในสิ่งที่ผมพูดไปคร่าวๆ เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่ว่ากันครับ
และที่น่าตกใจสุดขีดจากข้อมูลล่าสุดคือ อเมริกามีแหล่ง Shale Gas น้อยกว่า จีน อาเยนติน่า อัฟริกาใต้ และ กำลังตกอันดับลงไปอีกเมื่อการสำรวจเพิ่มเติมเข้าไปใน รัชเซีย และ อาเซียน
อินโดนีเซีย เพื่อนบ้านเราพึงมีตัวเลขของแหล่ง Shale Gas แค่ประกาศออกมาก็มากระดับ แสนล้านคิวบิกฟุต คือมากกว่า 7 เท่าของที่ PTTEP มีสำรองทั้งในอ่าวไทย และ ทะเลอารากัน-->ทะเลด้านตะวันตกของพม่า
ระวังกันหน่อยครับน้องๆ
Shale Gas มีแนวโน้มชัดเจนแล้วที่จะเปลี่ยนพื้นฐานด้านพลังงาน และ ปิโตรเคมี ใหม่
อเมริกา วันนี้ไม่ได้พบแค่แหล่ง Shale Gas ที่เป็น "Dry Gas" เท่านั้น
แต่พบว่ามี "Wet Gas" และ ล่าสุดก็ค้นพบ "Shale Oil" มหาศาล
Dry Gas จะมีพื้นฐานเป็น Methane เป็นส่วนใหญ่ จึงนำมาใช้กับโรงไฟฟ้าเพื่อเผาเป็นเชื้อเพลิง
Wet Gas จะมีองค์ประกอบของ Ethane, Propane และ Butane เหมือนแหล่ง เอราวัณ ที่ทำให้เกิดอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ระยอง
Shale Oil คือได้น้ำมัน และ เป็นน้ำมันชนิดดีซะด้วย
อเมริกากำลังกลับมาอีกครั้ง พลังงานในอเมริกาจะถูกกว่าคนอื่นๆ (ยกเว้นตะวันออกกลาง)
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะกลับไปเกิดที่ อเมริกา และ จะกลายเป็นผู้ส่งออก พลาสติกและเคมีภัณฑ์ ที่น่าจับตามองหลังจากอุตสาหกรรมนี้ไม่สามารถแข่งขันได้มานานกว่า 3 ทศวรรษ
น้ำมันจาก Shale Oil จะทำให้ อเมริกาลดปริมาณการนำเข้าน้ำมันได้อีกอย่างน้อย 3 ล้าน บาเรลต่อวัน
ฯลฯ....
ลองคิดดูนะครับว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับถ่านหิน ราคาถ่านหิน
ผมคงฟันธงไม่ได้ แต่มันไม่ใช่เหมือนเมื่อ สามปีที่แล้ว อีกต่อไป
พื้นฐานเปลี่ยนแล้วครับ ทั้งอุตสาหกรรม ด้านพลังงาน และ ปิโตรเคมี
ใครปรับตัวไม่ทัน งานนี้เสียหาย (ผมหมายถึงอุตสาหกรรมฯ)
ถ้าใครสนใจลอง Search Google ในสิ่งที่ผมพูดไปคร่าวๆ เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่ว่ากันครับ
และที่น่าตกใจสุดขีดจากข้อมูลล่าสุดคือ อเมริกามีแหล่ง Shale Gas น้อยกว่า จีน อาเยนติน่า อัฟริกาใต้ และ กำลังตกอันดับลงไปอีกเมื่อการสำรวจเพิ่มเติมเข้าไปใน รัชเซีย และ อาเซียน
อินโดนีเซีย เพื่อนบ้านเราพึงมีตัวเลขของแหล่ง Shale Gas แค่ประกาศออกมาก็มากระดับ แสนล้านคิวบิกฟุต คือมากกว่า 7 เท่าของที่ PTTEP มีสำรองทั้งในอ่าวไทย และ ทะเลอารากัน-->ทะเลด้านตะวันตกของพม่า
ระวังกันหน่อยครับน้องๆ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1399
- ผู้ติดตาม: 1
Re: วิบากกรรมของบริษัทถ่านหิน
โพสต์ที่ 6
ในกรณีราคาถ่านหินไม่ฟื้น ปัญหาของบ้านปู คือเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการลงทุนซื้อเหมืองในช่วงที่ราคาถ่านหินมีราคาสูงครับ
มาร์จินมันจะดิ่งเหว
มาร์จินมันจะดิ่งเหว
มาคุยกันได้ที่นี่ครับ https://www.facebook.com/value.investing.freedom
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 58
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิบากกรรมของบริษัทถ่านหิน
โพสต์ที่ 7
แล้วพวกเขาจะยอมขายให้คนอื่นๆ ในราคาถูกๆหรือครับPaul Octopus เขียน:ปัญหาของถ่านหินทั้งโลก เป็นเรื่อง Shale Gas ล้วนๆ
Shale Gas มีแนวโน้มชัดเจนแล้วที่จะเปลี่ยนพื้นฐานด้านพลังงาน และ ปิโตรเคมี ใหม่
อเมริกา วันนี้ไม่ได้พบแค่แหล่ง Shale Gas ที่เป็น "Dry Gas" เท่านั้น
แต่พบว่ามี "Wet Gas" และ ล่าสุดก็ค้นพบ "Shale Oil" มหาศาล
Dry Gas จะมีพื้นฐานเป็น Methane เป็นส่วนใหญ่ จึงนำมาใช้กับโรงไฟฟ้าเพื่อเผาเป็นเชื้อเพลิง
Wet Gas จะมีองค์ประกอบของ Ethane, Propane และ Butane เหมือนแหล่ง เอราวัณ ที่ทำให้เกิดอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่ระยอง
Shale Oil คือได้น้ำมัน และ เป็นน้ำมันชนิดดีซะด้วย
อเมริกากำลังกลับมาอีกครั้ง พลังงานในอเมริกาจะถูกกว่าคนอื่นๆ (ยกเว้นตะวันออกกลาง)
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีจะกลับไปเกิดที่ อเมริกา และ จะกลายเป็นผู้ส่งออก พลาสติกและเคมีภัณฑ์ ที่น่าจับตามองหลังจากอุตสาหกรรมนี้ไม่สามารถแข่งขันได้มานานกว่า 3 ทศวรรษ
น้ำมันจาก Shale Oil จะทำให้ อเมริกาลดปริมาณการนำเข้าน้ำมันได้อีกอย่างน้อย 3 ล้าน บาเรลต่อวัน
ฯลฯ....
ลองคิดดูนะครับว่า จะเกิดอะไรขึ้นกับถ่านหิน ราคาถ่านหิน
ผมคงฟันธงไม่ได้ แต่มันไม่ใช่เหมือนเมื่อ สามปีที่แล้ว อีกต่อไป
พื้นฐานเปลี่ยนแล้วครับ ทั้งอุตสาหกรรม ด้านพลังงาน และ ปิโตรเคมี
ใครปรับตัวไม่ทัน งานนี้เสียหาย (ผมหมายถึงอุตสาหกรรมฯ)
ถ้าใครสนใจลอง Search Google ในสิ่งที่ผมพูดไปคร่าวๆ เห็นด้วยไม่เห็นด้วยไม่ว่ากันครับ
และที่น่าตกใจสุดขีดจากข้อมูลล่าสุดคือ อเมริกามีแหล่ง Shale Gas น้อยกว่า จีน อาเยนติน่า อัฟริกาใต้ และ กำลังตกอันดับลงไปอีกเมื่อการสำรวจเพิ่มเติมเข้าไปใน รัชเซีย และ อาเซียน
อินโดนีเซีย เพื่อนบ้านเราพึงมีตัวเลขของแหล่ง Shale Gas แค่ประกาศออกมาก็มากระดับ แสนล้านคิวบิกฟุต คือมากกว่า 7 เท่าของที่ PTTEP มีสำรองทั้งในอ่าวไทย และ ทะเลอารากัน-->ทะเลด้านตะวันตกของพม่า
ระวังกันหน่อยครับน้องๆ
ถ้าขายถูกก็ยิ้มเลยนะครับ ^^
LOVER
- Tsurumi
- Verified User
- โพสต์: 268
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิบากกรรมของบริษัทถ่านหิน
โพสต์ที่ 8
[color=#0000FF]บางส่วนแหล่งข้อมูลความรู้เบื้องต้นสำหรับผู้สนใจ Shale Gas มีดังนี้ [/color]
1. เปรียบเทียบ shale gas กับ เชื้อเพลิงพลังงานอื่นๆ http://www.pepanz.org.nz/newsdocument/s ... may_11.pdf
2. Shale Gas ของ อเมริกา http://geology.com/articles/marcellus-shale.shtml
3. ความรู้เบื้องต้นถ่านหิน ลองเปิดดูที่ Document --> The Coal Resourches http://www.worldcoal.org/coal/market-am ... portation/
1. เปรียบเทียบ shale gas กับ เชื้อเพลิงพลังงานอื่นๆ http://www.pepanz.org.nz/newsdocument/s ... may_11.pdf
2. Shale Gas ของ อเมริกา http://geology.com/articles/marcellus-shale.shtml
3. ความรู้เบื้องต้นถ่านหิน ลองเปิดดูที่ Document --> The Coal Resourches http://www.worldcoal.org/coal/market-am ... portation/
- NAI-A SIKHIU
- Verified User
- โพสต์: 584
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิบากกรรมของบริษัทถ่านหิน
โพสต์ที่ 9
ครั้งนี้เป็นการเปลี่ยน trend ของกลุ่มพลังงานเลย เจอ shale gas เข้าไปทำให้เหมือนกับว่าพลังงานในโลกยังเหลืออีกบานตะไท ผิดกับ 2-3 ปีที่แล้วกลุ่มนี้แพงหูฉี่
นครจันทึก จารึกภาพ ๔,๐๐๐ ปี สี่เขี้ยวต้นตำนาน คู่บ้านลำตะคลอง
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 174
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิบากกรรมของบริษัทถ่านหิน
โพสต์ที่ 10
รบกวนถามท่านผู้รู้นะครับว่าแล้วเรื่องต้นทุนและความยากง่ายของการนำขึ้นมา รวมไปถึงเรื่องมลภาวะข้างเคียงที่ตามมาเป็นยังไงบ้างครับ เพราะถ้าต้นทุนรวมไปถึงเรื่องมลภาวะไม่ได้มากกว่า conventional petroleum เยอะ งานนี้กลุ่มพลังงานโดยรวมก็งานเข้าล่ะครับ โดยเฉพาะเมื่อมูลค่าของปริมาณสำรองถูกทำให้ด้อยค่าลง
Always stay humble or be swallowed by the market.
- xavi
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิบากกรรมของบริษัทถ่านหิน
โพสต์ที่ 11
ข้อมูลจาก Website ของ PTT เมื่อปีที่แล้วครับ เข้าใจง่ายดี
Shale Gas หรือ ก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน คืออะไร
คำนิยามของ Shale Gas ที่ง่ายและตรงที่สุดก็คือ ก๊าซธรรมชาติที่เกิด
จากการหมักหมมของซากพืชและสัตว์ที่ตายทับถมกันมาเป็นเวลาล้านๆ ปี
และถูกกักอยู่ภายในชั้นหินดินดาน โดยหินดินดานจะทำหน้าที่เป็นทั้งแหล่ง
กำเนิดของก๊าซฯ และเป็นแหล่งเก็บของก๊าซฯโดยธรรมชาติด้วย
สำนักงานข่าวสารพลังงานสหรัฐ (US EIA) ระบุว่า ทั่วโลกเท่าที่ค้นพบ ณ
ขณะนี้ มีแหล่งก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานรวมทั้งสิ้นประมาณ 48 แห่ง (เรียก
ว่า Shale Basins) ครอบคลุม 32 ประเทศทั่วโลก คิดเป็นปริมาณก๊าซ
ธรรมชาติในเบื้องต้นประมาณ 170 tcm หรือ 170 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็น
ตัวเลขกว่า 40% ของแหล่งสำรองก๊าซธรรมชาติในปัจจุบัน และ ในอนาคต
เชื่อว่าน่าจะพบได้มากกว่านี้อีกหลายเท่า แน่นอนว่า ตัวเลขดังกล่าวย่อมก่อ
ให้เกิดการเคลื่อนไหวในวงการก๊าซธรรมชาติอย่างรุนแรง และที่รุนแรงที่สุดก็
คงหนีไม่พ้น “สหรัฐอเมริกา” เพราะเป็นประเทศที่ใช้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
มากที่สุดในโลก
Shale Gas หรือ ก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน คืออะไร
คำนิยามของ Shale Gas ที่ง่ายและตรงที่สุดก็คือ ก๊าซธรรมชาติที่เกิด
จากการหมักหมมของซากพืชและสัตว์ที่ตายทับถมกันมาเป็นเวลาล้านๆ ปี
และถูกกักอยู่ภายในชั้นหินดินดาน โดยหินดินดานจะทำหน้าที่เป็นทั้งแหล่ง
กำเนิดของก๊าซฯ และเป็นแหล่งเก็บของก๊าซฯโดยธรรมชาติด้วย
สำนักงานข่าวสารพลังงานสหรัฐ (US EIA) ระบุว่า ทั่วโลกเท่าที่ค้นพบ ณ
ขณะนี้ มีแหล่งก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานรวมทั้งสิ้นประมาณ 48 แห่ง (เรียก
ว่า Shale Basins) ครอบคลุม 32 ประเทศทั่วโลก คิดเป็นปริมาณก๊าซ
ธรรมชาติในเบื้องต้นประมาณ 170 tcm หรือ 170 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็น
ตัวเลขกว่า 40% ของแหล่งสำรองก๊าซธรรมชาติในปัจจุบัน และ ในอนาคต
เชื่อว่าน่าจะพบได้มากกว่านี้อีกหลายเท่า แน่นอนว่า ตัวเลขดังกล่าวย่อมก่อ
ให้เกิดการเคลื่อนไหวในวงการก๊าซธรรมชาติอย่างรุนแรง และที่รุนแรงที่สุดก็
คงหนีไม่พ้น “สหรัฐอเมริกา” เพราะเป็นประเทศที่ใช้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ
มากที่สุดในโลก
- xavi
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิบากกรรมของบริษัทถ่านหิน
โพสต์ที่ 12
เพิ่มเติมอีกนิดส่วนที่น่าสนใจครับ ดูแล้ว Shale Gas นี่น่าจะทำให้วงการพลังงานเปลี่ยนแปลงแน่นอน
ขั้นตอนและกระบวนการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน
เมื่อไม่ถึงสิบปีมานี้ วงการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานได้ค้นพบ
เทคนิคที่เรียกว่า Hydraulic Fracturing หรือที่เรียกกันสั้นๆ ในวงการว่า Fracking
ซึ่งจะใช้ควบคู่กับเทคนิคการขุดเจาะแบบใหม่ที่เรียกว่า Horizontal Drilling
หรือการเจาะแนวราบ โดยการเจาะแนวราบนี้จะช่วยเพิ่มผิวสัมผัสของหลุมเจาะ
กับชั้นหิน Shale ทำให้สามารถผลิตก๊าซฯได้มากขึ้นต่อการเจาะแต่ละครั้งนั่นเอง
ทำให้ช่วยลดต้นทุนการขุดเจาะลงได้มหาศาลจากเดิม และเริ่มใกล้เคียงกับต้นทุน
การขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากแหล่งปรกติแล้ว (ต้นทุนโดยเฉลี่ยในปัจจุบัน
ประมาณ 6$/MMBTU)
การทำ Hydraulic Fracturing เป็นการจะขุดเจาะเอาก๊าซฯออกมาจาก
หินดินดานที่อยู่ลึกจากผิวโลกเป็นระยะทางหลายพันเมตรโดยใช้แรงดันน้ำ
ขนาดสูง แต่จะทำให้หินที่แข็งมากร้าว (Fractured) ได้นั้นจำเป็นต้องอาศัย
“สารเคมี” หลายชนิด และต้องใช้ “ทราย” ผสมเข้าไปด้วย โดยสารเคมีที่ใช้ในการ
“สร้างรอยร้าว” ในชั้นหินนั้น มีมากมายหลายชนิด ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ บางมลรัฐ
ในสหรัฐอเมริกายังไม่มีกฎหมายบังคับให้ผู้ขุดเจาะต้องแจงรายละเอียด จึงยัง
ไม่อาจระบุได้ชัดถ้อยชัดคำว่ามี “สารพิษ” ปะปนด้วยหรือไม่
แต่จากข้อมูลพบว่าในบริเวณที่มีการขุดเจาะแล้วในสหรัฐ ปรากฏว่าทั้งน้ำใต้ดินและน้ำในบ่อ
มีสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกายปะปนอยู่ด้วยในปริมาณที่ค่อนข้างสูง
ประการที่สอง กระบวนการสร้างรอยร้าวเพื่อชักนำก๊าซฯออกมาจากชั้น
หินนั้นก่อให้เกิดการรั่วซึมของก๊าซมีเทนออกมาด้วย ซึ่งอย่างที่ทราบกันดี
“ก๊าซมีเทน” เป็นก๊าซพิษ หากสูดดมเข้าไปในปริมาณมากก็มีอันตรายถึงแก่
ชีวิตได้ และหากควบคุมไม่ได้ก็อาจเกิดการระเบิดได้อีกด้วย
อนาคตของก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน (Shale Gas)
แม้ Shale Gas จะถูกโจมตีอย่างหนักจากนักอนุรักษ์ในระยะหลัง แต่
เมื่อพิจารณาปัจจัยต่างๆ ทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัจจัย
ความปั่นป่วนวุ่นวายในตะวันออกกลาง ความเสี่ยงจากภาวะวิกฤตโรงไฟฟ้า
พลังงานนิวเคลียร์ และปัจจัยการเมืองระหว่ างอภิมหาอำนาจรัสเซีย
สหรัฐอเมริกา และจีน แนวโน้มของการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติชนิดนี้คงจะมาก
ขึ้น และทวีความรวดเร็วขึ้น ด้วยเหตุผลที่สำคัญหลักๆสามประการ
ประการแรก ก๊าซฯชนิดนี้เป็นแหล่งพลังงานที่สหรัฐอเมริกา จีน และยุโรป
มีอยู่มากในอาณาเขตของตน มักจะพูดกันว่า Shale Gas is in the backyard :
อยู่หลังบ้านนั่นเอง หรือก็คือ หากขุดก๊าซฯพวกนี้ขึ้นมาใช้ได้มาก ประเทศเหล่านี้
อาจสามารถลดการพึ่งพาพลังงานจากประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะรัสเซียกับ
ตะวันออกกลางได้
ประการที่สอง ในเชิงเศรษฐศาสตร์ แนวโน้มที่ต้นทุนการขุดเจาะก๊าซฯ
ชนิดนี้จะลดลงต่ำกว่าก๊าซธรรมชาติแบบ Conventional Gas เป็นสิ่งที่เป็นไปได้
ซึ่งเมื่อต้นทุนพลังงานมีราคาสูงขึ้น แนวโน้มที่การขุดเจาะก๊าซฯชนิดนี้จะได้รับ
การสนับสนุนก็มีมากขึ้นตามไปด้วย
ประการที่สาม ยิ่งเมื่อพิจารณาว่าน้ำมันก็คงจะเหลือน้อยเต็มที่และแพง
ขึ้นเรื่อยๆ ก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง Conventional ก็กำลังร่อยหรอลงไปทุกวัน
หากไม่เตรียมการขุดเจาะและกักตุนก๊าซฯจากหินดินดานไว้ก็คงเป็นเรื่องที่
ผิดปรกติอย่างมากสำหรับรัฐบาลชาติที่มีแหล่งก๊าซฯชนิดนี้มาก อย่างเช่น
สหรัฐอเมริกาและจีน
ท้ายที่สุด กุญแจสำคัญในการพัฒนา Shale Gas คือ เทคโนโลยีการผลิต
แม้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตจะถูกจำกัดอยู่ในอเมริกา แต่เชื่อว่าในไม่ช้า
ประเทศผู้นำอย่าง จีน หรือ ยุโรป จะสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าวได้เช่นกัน
ขั้นตอนและกระบวนการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน
เมื่อไม่ถึงสิบปีมานี้ วงการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานได้ค้นพบ
เทคนิคที่เรียกว่า Hydraulic Fracturing หรือที่เรียกกันสั้นๆ ในวงการว่า Fracking
ซึ่งจะใช้ควบคู่กับเทคนิคการขุดเจาะแบบใหม่ที่เรียกว่า Horizontal Drilling
หรือการเจาะแนวราบ โดยการเจาะแนวราบนี้จะช่วยเพิ่มผิวสัมผัสของหลุมเจาะ
กับชั้นหิน Shale ทำให้สามารถผลิตก๊าซฯได้มากขึ้นต่อการเจาะแต่ละครั้งนั่นเอง
ทำให้ช่วยลดต้นทุนการขุดเจาะลงได้มหาศาลจากเดิม และเริ่มใกล้เคียงกับต้นทุน
การขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากแหล่งปรกติแล้ว (ต้นทุนโดยเฉลี่ยในปัจจุบัน
ประมาณ 6$/MMBTU)
การทำ Hydraulic Fracturing เป็นการจะขุดเจาะเอาก๊าซฯออกมาจาก
หินดินดานที่อยู่ลึกจากผิวโลกเป็นระยะทางหลายพันเมตรโดยใช้แรงดันน้ำ
ขนาดสูง แต่จะทำให้หินที่แข็งมากร้าว (Fractured) ได้นั้นจำเป็นต้องอาศัย
“สารเคมี” หลายชนิด และต้องใช้ “ทราย” ผสมเข้าไปด้วย โดยสารเคมีที่ใช้ในการ
“สร้างรอยร้าว” ในชั้นหินนั้น มีมากมายหลายชนิด ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ บางมลรัฐ
ในสหรัฐอเมริกายังไม่มีกฎหมายบังคับให้ผู้ขุดเจาะต้องแจงรายละเอียด จึงยัง
ไม่อาจระบุได้ชัดถ้อยชัดคำว่ามี “สารพิษ” ปะปนด้วยหรือไม่
แต่จากข้อมูลพบว่าในบริเวณที่มีการขุดเจาะแล้วในสหรัฐ ปรากฏว่าทั้งน้ำใต้ดินและน้ำในบ่อ
มีสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกายปะปนอยู่ด้วยในปริมาณที่ค่อนข้างสูง
ประการที่สอง กระบวนการสร้างรอยร้าวเพื่อชักนำก๊าซฯออกมาจากชั้น
หินนั้นก่อให้เกิดการรั่วซึมของก๊าซมีเทนออกมาด้วย ซึ่งอย่างที่ทราบกันดี
“ก๊าซมีเทน” เป็นก๊าซพิษ หากสูดดมเข้าไปในปริมาณมากก็มีอันตรายถึงแก่
ชีวิตได้ และหากควบคุมไม่ได้ก็อาจเกิดการระเบิดได้อีกด้วย
อนาคตของก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน (Shale Gas)
แม้ Shale Gas จะถูกโจมตีอย่างหนักจากนักอนุรักษ์ในระยะหลัง แต่
เมื่อพิจารณาปัจจัยต่างๆ ทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัจจัย
ความปั่นป่วนวุ่นวายในตะวันออกกลาง ความเสี่ยงจากภาวะวิกฤตโรงไฟฟ้า
พลังงานนิวเคลียร์ และปัจจัยการเมืองระหว่ างอภิมหาอำนาจรัสเซีย
สหรัฐอเมริกา และจีน แนวโน้มของการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติชนิดนี้คงจะมาก
ขึ้น และทวีความรวดเร็วขึ้น ด้วยเหตุผลที่สำคัญหลักๆสามประการ
ประการแรก ก๊าซฯชนิดนี้เป็นแหล่งพลังงานที่สหรัฐอเมริกา จีน และยุโรป
มีอยู่มากในอาณาเขตของตน มักจะพูดกันว่า Shale Gas is in the backyard :
อยู่หลังบ้านนั่นเอง หรือก็คือ หากขุดก๊าซฯพวกนี้ขึ้นมาใช้ได้มาก ประเทศเหล่านี้
อาจสามารถลดการพึ่งพาพลังงานจากประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะรัสเซียกับ
ตะวันออกกลางได้
ประการที่สอง ในเชิงเศรษฐศาสตร์ แนวโน้มที่ต้นทุนการขุดเจาะก๊าซฯ
ชนิดนี้จะลดลงต่ำกว่าก๊าซธรรมชาติแบบ Conventional Gas เป็นสิ่งที่เป็นไปได้
ซึ่งเมื่อต้นทุนพลังงานมีราคาสูงขึ้น แนวโน้มที่การขุดเจาะก๊าซฯชนิดนี้จะได้รับ
การสนับสนุนก็มีมากขึ้นตามไปด้วย
ประการที่สาม ยิ่งเมื่อพิจารณาว่าน้ำมันก็คงจะเหลือน้อยเต็มที่และแพง
ขึ้นเรื่อยๆ ก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง Conventional ก็กำลังร่อยหรอลงไปทุกวัน
หากไม่เตรียมการขุดเจาะและกักตุนก๊าซฯจากหินดินดานไว้ก็คงเป็นเรื่องที่
ผิดปรกติอย่างมากสำหรับรัฐบาลชาติที่มีแหล่งก๊าซฯชนิดนี้มาก อย่างเช่น
สหรัฐอเมริกาและจีน
ท้ายที่สุด กุญแจสำคัญในการพัฒนา Shale Gas คือ เทคโนโลยีการผลิต
แม้ว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตจะถูกจำกัดอยู่ในอเมริกา แต่เชื่อว่าในไม่ช้า
ประเทศผู้นำอย่าง จีน หรือ ยุโรป จะสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าวได้เช่นกัน
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 33
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิบากกรรมของบริษัทถ่านหิน
โพสต์ที่ 14
ความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมว่าการที่ไม่มีแหล่งเชื้อเพลิงมากนักเป็นเรื่องใหญ่ครับอินทรีทอง เขียน:รบกวนถามท่านผู้รู้นะครับว่าแล้วเรื่องต้นทุนและความยากง่ายของการนำขึ้นมา รวมไปถึงเรื่องมลภาวะข้างเคียงที่ตามมาเป็นยังไงบ้างครับ เพราะถ้าต้นทุนรวมไปถึงเรื่องมลภาวะไม่ได้มากกว่า conventional petroleum เยอะ งานนี้กลุ่มพลังงานโดยรวมก็งานเข้าล่ะครับ โดยเฉพาะเมื่อมูลค่าของปริมาณสำรองถูกทำให้ด้อยค่าลง
แต่ถ้าค้นพบและการที่มันมีผลกระทบในการนำขึ้นมาใช้ ยังงัยก็ไม่พ้นความพยายาม บวกกับความสามารถของมนุษย์แน่ๆครับ
โจทย์อยู่ที่ว่าจะช้าหรือเร็วเท่านั้น ซึ่งคิดว่าผลประโยชน์จะเป็นตัวเร่งที่สำคัญครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 760
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิบากกรรมของบริษัทถ่านหิน
โพสต์ที่ 16
จากรายการแกะรอยหุ้นครับ ตัวบริษัทบ้านปูเอง ดูเขายังสู้และมีความหวังอยู่นะครับ แต่จะรอดหรือเปล่า นี่อีกเรื่อง
http://www.youtube.com/watch?v=U6RPzQqP ... r_embedded
http://www.youtube.com/watch?v=U6RPzQqP ... r_embedded
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 1667
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิบากกรรมของบริษัทถ่านหิน
โพสต์ที่ 17
บทความชุด the cheap coal is dead
http://www.bloomberg.com/news/2012-06-1 ... rt-1-.html
ภาค 2
http://www.renewableenergyworld.com/rea ... age-part-2
ภาค 3
http://www.renewableenergyworld.com/rea ... ?cmpid=rss
http://www.bloomberg.com/news/2012-06-1 ... rt-1-.html
ภาค 2
http://www.renewableenergyworld.com/rea ... age-part-2
ภาค 3
http://www.renewableenergyworld.com/rea ... ?cmpid=rss
คงไม่มีใคร หาเงินมากมาย ไว้ยัดใส่โลงศพตัวเอง
.........
เชิญรับแจก เมล็ดพันธุ์พืชนานาชนิดได้ที่
http://www.kasetporpeang.com/forums/ind ... board=22.0
เชิญฟังธรรมฟรี ที่ http://www.fungdham.com
.........
เชิญรับแจก เมล็ดพันธุ์พืชนานาชนิดได้ที่
http://www.kasetporpeang.com/forums/ind ... board=22.0
เชิญฟังธรรมฟรี ที่ http://www.fungdham.com
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิบากกรรมของบริษัทถ่านหิน
โพสต์ที่ 18
คลิปนี้สุดยอดจริงๆ ครับ ทำไปได้...จุดไฟใส่น้ำแทนที่จะดับกลับลุกเป็นไฟ (มีแก็ส methane)KriangL เขียน:ดูเล่นๆครับ หลุมเจาะ shale gas ไม่ได้มาตรฐานแล้วก๊าซรั่วเข้าชั้นน้ำใต้ดิน
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิบากกรรมของบริษัทถ่านหิน
โพสต์ที่ 20
จากห้อง banpu ครับ
hungrysomuch เขียน:เหรียญ2ด้าน
Shale Gas
ก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน(shale Gas)คืออะไร?
ความหมายตรงตัวของคำว่า "ก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน" คือ ก๊าซธรรมชาติที่เกิดจากการหมักหมมของซากพืชและสัตว์ที่ตายทับถมกันมาเป็นเวลาล้าน ๆ ปี และถูกกักอยู่ภายในชั้นหินดินดาน โดยหินดินดานจะทำหน้าที่เป็นทั้งแหล่งกำเนิดของก๊าซ และเป็นแหล่งเก็บของมันโดยธรรมชาติด้วย
ล่าสุด ตัวเลขของสำนักงานข่าวสารพลังงานสหรัฐ (US EIA) ระบุว่า ทั่วโลกเท่าที่ค้นพบ ณ ขณะนี้ น่าจะมีแหล่งก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานรวมทั้งสิ้นประมาณ 48 แห่ง ครอบคลุม 32 ประเทศทั่วโลก คิดเป็นปริมาณก๊าซธรรมชาติในเบื้องต้นประมาณ 170 tcm หรือ 170 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นตัวเลขกว่า 40% ของแหล่งสำรองก๊าซธรรมชาติในปัจจุบัน และนี่เป็นเพียงการค้นพบเบื้องต้นเท่านั้น ในอนาคตเชื่อว่าน่าจะพบได้มากกว่านี้อีกหลายเท่า
แน่นอนว่าตัวเลขดังกล่าว ย่อมก่อให้เกิดการไหวกระเพื่อมในวงการอย่างรุนแรง และที่รุนแรงที่สุดก็คงหนีไม่พ้น "สหรัฐอเมริกา" เพราะเป็นประเทศที่ใช้น้ำมันและก๊าซธรรมชาติมากที่สุดในโลก และเมื่อต้นปีก็เพิ่งเจอวิกฤติแท่นขุดเจาะน้ำมันกลางทะเลระเบิดมีคนตายไปสิบกว่าคน และสร้างปัญหามลภาวะแก่อ่าวเม็กซิโกอย่างยาก จะประเมินความเสียหายได้ ส่วนจะหวนกลับไปบุกสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ก็ดันมาเจอปัญหาวิกฤติฟุกุชิมะในประเทศญี่ปุ่นอีก "ก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน" จึงดูเป็นคำตอบที่น่าสนใจที่สุด ณ ขณะนี้
ใครมีแหล่งสำรองก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานมากที่สุด และใครมีเทคโนโลยี?
คำตอบก็คือ จากผลสำรวจปัจจุบัน ประเทศจีนมีแหล่งสำรองก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานมากที่สุดคือประมาณ 36 tcm หรือประมาณ 21% ส่วนสหรัฐอเมริกามีอยู่ประมาณ 20+tcm หรือประมาณ 12% สหภาพยุโรป (โดยเฉพาะที่ประเทศโปแลนด์) มีอยู่ไล่เลี่ยกันคือประมาณ 10% พูดง่ายๆ ก็คือ สามเจ้านี้รวมกันครอบครองแหล่งก๊าซชนิดนี้ไปประมาณครึ่งหนึ่งของทั้งโลกนั่นเอง
สำหรับสหรัฐอเมริกา มีจุดเด่นก็คือ เป็นเจ้าของเทคโนโลยีในการขุดเจาะที่เรียกกันในขณะนี้ว่า Hydraulic Fracturing และ Horizontal Drilling และในระยะเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา สหรัฐก็ได้ทำการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานมาหลายรูปหลายแบบด้วยเทคโนโลยีหลากหลาย แต่ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าใด เพราะนอกจากจะแพงที่ต้นทุนแล้ว กรรมวิธียังก่อให้เกิดมลภาวะค่อนข้างสูงด้วย จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา บรรดา Wildcatters ของสหรัฐก็ได้เฮ เมื่อกรรมวิธีที่เรียกว่า Hydraulic Fracturing ดูเหมือนจะประสบผลสำเร็จ เมื่อผนวกเข้ากับวิธีขุดเจาะตามแนวนอนที่เรียกว่า Horizontal Drilling
แม้สหรัฐจะเริ่มฝันหวานถึงอนาคตที่โชติช่วงชัชวาลไปด้วย Shale Gas แต่ต้นทุนการขุดเจาะก็ยังสูงอยู่ และที่สำคัญ "ต้นทุนทางสังคม" (Social Costs) กำลังเริ่มถูกนำมาตีแผ่มากขึ้นทุกที ไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำเสียที่แทรกซึมเข้าไปในแหล่งน้ำใต้ดิน ปัญหาก๊าซมีเทน และการระเบิด หรือประเด็นความเชื่อมโยงระหว่างแผ่นดินไหวกับการขุดเจาะแบบพิสดารแบบใหม่นี้ ฯลฯ
ขั้นตอนและกระบวนการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน ทำอย่างไร?
เทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบันก็คือ Hydraulic Fracturing หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ในวงการว่า Fracking ซึ่งจะใช้ควบคู่กับเทคนิคการขุดเจาะแบบใหม่ที่เรียกว่า Horizontal Drilling โดยจะเจาะหินให้ร้าว ยากาวให้พอดี เพื่อดึงก๊าซออกมาใช้ ซึ่งเป็นเทคนิควิธีการที่อันตรายมาก!!
เมื่อไม่ถึงสิบปีมานี้เอง ที่วงการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานได้ค้นพบเทคนิคที่เรียกว่า Hydraulic Fracturing ซึ่งช่วยลดต้นทุนการขุดเจาะลงได้มหาศาลจากเดิมมากกว่า $10 ต่อหนึ่งล้านบีทียู มาเหลือเพียง $3-5 ต่อหนึ่งล้านบีทียู ซึ่งเริ่มใกล้เคียงกับต้นทุนการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากแหล่งปกติแล้ว
เทคนิคดังกล่าวอาศัยหลักที่ว่า แรงดันน้ำสามารถทะลุทะลวงทุกสรรพสิ่งในจักรวาล ฉะนั้นหากต้องการจะขุดเจาะเอาก๊าซออกมาจากหินดินดานที่อยู่ลึกจากผิวโลกเป็นระยะทางหลายพันเมตร วิธีที่ง่ายและถูกที่สุดคือ "ใช้น้ำ" แต่จะทำให้หินที่แข็งขนาดนั้น "ร้าว" (Fractured) ก็ต้องรวมศูนย์และกำหนดทิศทางของน้ำได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะทำได้ก็ต้องอาศัย "สารเคมี" หลายชนิด และต้องอาศัย "ทราย"
ประการแรก สารเคมีที่ใช้ในการ "สร้างรอยร้าว" ในชั้นหินนั้น มีมากมายหลายชนิด ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีกฎหมายบังคับให้ผู้ขุดเจาะต้องแจงรายละเอียด จึงยังไม่อาจระบุได้ชัดถ้อยชัดคำว่ามี "สารพิษ" ปะปนด้วยหรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ ก็คือ ในบริเวณที่มีการขุดเจาะแล้วในสหรัฐ ปรากฏว่าทั้งน้ำใต้ดินและน้ำในบ่อมีสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกายปะปนอยู่ด้วยในปริมาณที่ค่อนข้างสูง
ประการที่สอง กระบวนการสร้างรอยร้าวเพื่อชักนำก๊าซออกมาจากชั้นหินนั้นก่อให้เกิดการรั่วซึมของก๊าซมีเทนออกมาด้วย ซึ่งอย่างที่ทราบกันดี "ก๊าซมีเทน" เป็นก๊าซพิษ หากสูดดมเข้าไปในปริมาณมากก็มีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ และหากควบคุมไม่ได้ก็อาจเกิดการระเบิดได้อีกด้วย
นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ และนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมประเมินว่ามลภาวะ (Greenhouse Gas Footprint) ที่เกิดจากกระบวนการขุดเจาะก๊าซจากหินดินดาน (Shale Gas) น่าจะมากกว่าถ่านหินถึง 20% เป็นอย่างน้อย และยิ่งนานวันก็ยิ่งมากขึ้น เพราะแหล่งน้ำที่ถูกมลภาวะจะแพร่กระจายเข้าสู่ตาน้ำ และดำรงอยู่อีกหลายสิบปี ส่วนก๊าซมีเทนนั้นก็มีปริมาณมาก ถึงขนาดที่ในบริเวณที่มีการขุดเจาะก๊าซชนิดนี้ในสหรัฐอเมริกา ชาวนาสามารถจุดไฟบนน้ำจากบ่อในฟาร์มของตนเองได้ จนในสหรัฐอเมริกากลุ่มอนุรักษ์ได้จัดทำสารคดีขึ้นชุดหนึ่งเป็นหนังสั้นชื่อว่า GasLand เพื่อเปิดโปงความเลวร้ายของกระบวนการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติแบบใหม่นี้
อนาคตของก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานจะเป็นอย่างไร? (อันตรายเพียงใดก็จะทำอยู่ดี)
แม้ Shale Gas จะถูกโจมตีอย่างหนักจากนักอนุรักษ์ในระยะหลัง แต่เมื่อพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัจจัยความปั่นป่วนวุ่นวายในตะวันออกกลาง ความเสี่ยงจากภาวะ Meldown ของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และปัจจัยการเมืองระหว่างอภิมหาอำนาจรัสเซีย สหรัฐอเมริกาและจีน แนวโน้มของการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติชนิดนี้คงจะมากขึ้น และทวีความรวดเร็วขึ้น ด้วยเหตุผลที่สำคัญสามประการ
ประการแรก ก๊าซชนิดนี้เป็นแหล่งพลังงานที่สหรัฐอเมริกา จีน และยุโรป มีอยู่มากในอาณาเขตของตน ซึ่งถ้าใช้แสลงอเมริกันก็คือ In the Backyard แปลไทย ๆ ก็คืออยู่หลังบ้านนั่นเอง พูดง่ายๆ ก็คือ หากขุดก๊าซพวกนี้ขึ้นมาใช้ได้ ทั้งสามพี่เบิ้มก็ไม่ต้องพึ่งใครอีกแล้ว โดยเฉพาะรัสเซียกับตะวันออกกลาง
ประการที่สอง ในเชิงเศรษฐศาสตร์ แนวโน้มที่ต้นทุนการขุดเจาะก๊าซชนิดนี้จะลดลงต่ำกว่าก๊าซธรรมชาติเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ซึ่งเมื่อถึงวันนั้น ในทางการเมืองจะมีนักการเมืองคนไหนไม่สนับสนุนการขุดเจาะก๊าซชนิดนี้
ประการที่สาม ยิ่งเมื่อพิจารณาว่าน้ำมันก็คงจะเหลือน้อยเต็มที่และแพงขึ้นเรื่อย ก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง Conventional ก็กำลังร่อยหรอลงไปทุกวัน หากไม่เตรียมการขุดเจาะและกักตุนก๊าซจากหินดินดานไว้ก็คงเป็นเรื่องที่ผิดปรกติอย่างมากสำหรับรัฐบาลชาติที่มีแหล่งก๊าซชนิดนี้มาก อย่างเช่น สหรัฐอเมริกาและจีน
ข้อมูลจากไทยโพสต์
- Financeseed
- Verified User
- โพสต์: 1304
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิบากกรรมของบริษัทถ่านหิน
โพสต์ที่ 21
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1487
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิบากกรรมของบริษัทถ่านหิน
โพสต์ที่ 22
Presentation ของบริษัท Chesapeake Energy ครับ เป็นบริษัท Shale gas อันดับต้นๆในอเมริกา
http://www.chk.com/Investors/Documents/ ... tation.pdf
ดูแล้วที่ราคาก๊าซระดับปัจจุบัน บริษัทอยู่ได้ก็มาจากการขายสินทรัพย์เป็นหลัก ลำพัง operating cash flow ไม่สามารถยืนอยู่ได้
ถ้าไปแกะดูงบยังเจออีกว่ามันคิดค่าเสื่อมน้อยกว่าความเป็นจริง จริงๆแล้วบริษัทควรขาดทุนมากกว่านี้และ balance sheet ก็ไม่ควรจะดี (ควรขาดทุนสะสมแทนที่จะกำไรสะสม)
ถ้าอยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าเสื่อมลองดูบทความนี้ได้ครับ
http://brontecapital.blogspot.fr/2011/0 ... thern.html
สุดท้ายมีผลได้สองอย่างคือ ถ้าไม่ราคาก๊าซกลับมาสูงเหมือนเดิม ก็มีบริษัท shale gas ล้มละลายไปเป็นแถบๆครับ
http://www.chk.com/Investors/Documents/ ... tation.pdf
ดูแล้วที่ราคาก๊าซระดับปัจจุบัน บริษัทอยู่ได้ก็มาจากการขายสินทรัพย์เป็นหลัก ลำพัง operating cash flow ไม่สามารถยืนอยู่ได้
ถ้าไปแกะดูงบยังเจออีกว่ามันคิดค่าเสื่อมน้อยกว่าความเป็นจริง จริงๆแล้วบริษัทควรขาดทุนมากกว่านี้และ balance sheet ก็ไม่ควรจะดี (ควรขาดทุนสะสมแทนที่จะกำไรสะสม)
ถ้าอยากรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าเสื่อมลองดูบทความนี้ได้ครับ
http://brontecapital.blogspot.fr/2011/0 ... thern.html
สุดท้ายมีผลได้สองอย่างคือ ถ้าไม่ราคาก๊าซกลับมาสูงเหมือนเดิม ก็มีบริษัท shale gas ล้มละลายไปเป็นแถบๆครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2166
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิบากกรรมของบริษัทถ่านหิน
โพสต์ที่ 23
จะว่าไปแล้ว shale gas ก็เป็น commodity อย่างหนึ่ง ซึ่งราคาของมันก็จะต้องเป็นไปตาม demand และsupply เมื่อราคาถูก ผู้ผลิตก็ชะลอการผลิตลงได้หรือไปเน้นในแหล่งที่ liquid-rich แทน ผู้บริโภคเมื่อเห็นว่าราคาถูกก็จะหันมาใช้มากขึ้น ไม่ช้าก็เร็วราคาก็จะปรับตัวไปสู่จุดสมดุลของมันเองครับ เป็นวงจรของมันอย่างนี้มาตลอดครับ
ส่วนผู้ที่ต้องการเข้ามาลงทุนหรือขยายธุรกิจ ก็คงจะจดจ้อง ประเมินมูลค่าครับ ท้ายสุดอุตสาหกรรมก็จะเกิดการควบรวม บริษัทเล็กๆก็คงถูกยักษ์ใหญ่กลืนไปครับ
ส่วนผู้ที่ต้องการเข้ามาลงทุนหรือขยายธุรกิจ ก็คงจะจดจ้อง ประเมินมูลค่าครับ ท้ายสุดอุตสาหกรรมก็จะเกิดการควบรวม บริษัทเล็กๆก็คงถูกยักษ์ใหญ่กลืนไปครับ
Minimize risk through an in-depth knowledge. Buy at bargain price. Wait patiently.
http://valueinvestors.wordpress.com/
http://valueinvestors.wordpress.com/
- Paul Octopus
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิบากกรรมของบริษัทถ่านหิน
โพสต์ที่ 24
ขอโทษอย่างแรง วันนี้สบายๆกลับมาอ่านสิ่งที่ post ไว้ ตัวเลขปริมาณ Shale Gas ของ อินโดนีเซีย คือ 111 ล้านล้านคิวบิกฟุต ครับ (ผิดไปล้านเท่า ) ปริมาณสำรองของไทยเรารวมๆกันมีเพียง 10-15 ล้านล้านคิวบิกฟุต....Paul Octopus เขียน:ปัญหาของถ่านหินทั้งโลก .............. .. อินโดนีเซีย เพื่อนบ้านเราพึงมีตัวเลขของแหล่ง Shale Gas แค่ประกาศออกมาก็มากระดับ แสนล้านคิวบิกฟุต คือมากกว่า 7 เท่าของที่ PTTEP มีสำรองทั้งในอ่าวไทย และ ทะเลอารากัน-->ทะเลด้านตะวันตกของพม่า
ระวังกันหน่อยครับน้องๆ
และที่ว่าถ้าผลสำรวจที่รัชเซียออกมาละก็ โลกอาจจะตะลีง (แต่พี่รัชเซียแกไม่ค่อยเปิดเผย จะมีกี่คนที่รู้ว่า รัชเซียเป็นผู้ส่งออกน้ำมัน และ แน่นอน gas ที่มากที่สุดในโลกแซงหน้า แขกซาอุดิอาราเบียไปเรียบร้อยแล้ว) รัชเชียมีแหล่ง Oil & Gas ขนาดยักษ์ที่ปกปิดปริมาณสำรองมาตลอด และ ล่าสุดก็เป็นที่สะสม Shale Gas ด้วย แหล่งนี้เรียกว่า "Western Syberian oil field"
พื้นที่เริ่มจากบริเวณ คาซักสถาน ผ่านพื้นที่ด้านตะวันตกของไซบีเรีย ลงไปในทะเลติดขัวโลกเหนือกินพื้นที่ 2.2 ล้านตารางกิโลเมตร คือ 4 เท่าประเทศไทย (ต้องร้องว่าโอ้มายก๊อด ) ตอนนี้คาดการณ์แบบไม่เปิดเผยว่ามีน้ำมันกว่า 144 พันล้านบาเรล (เกือบเท่าซาอุดิอาราเบีย) และ Conventional Gas 1300 ล้านล้านคิวบิกฟุต มากกว่าใครๆในโลก และ แน่นอน Shale Gas กำลังอยู่ในช่วงศีกษาปริมาณและคงจะออกมาด้วยตัวเลขที่น่าตกใจเช่นกัน
เรื่องเหล่านี้กำลังเปลี่ยนอุตสาหกรรมด้านพลังงาน และ ปิโตรเคมี ไปอย่างสิ้นเชิง ลองย้อนกลับมาดูถ่านหิน วันนี้มันดูแปลกไปใหม ถ้าคุณเป็นนักลงทุนในระดับโลก เช่นกองทุนต่างชาติ .....คุณจะลงทุน ถ่านหินในแง่มุมของอะไร แน่นอนมันต่างจากสองสามปีก่อนแน่ครับ
- Highway_Star
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 452
- ผู้ติดตาม: 1
Re: วิบากกรรมของบริษัทถ่านหิน
โพสต์ที่ 25
ใครสนใจเรื่องพวกนี้แนะนำให้อ่านหนังสือชื่อ บูรพาภิวัฒน์ นะครับ
มีข้อมูลอยู่พอสมควรเลยทีเดียว (คือไม่ได้เน้นเรื่องพวกพลังงานนะครับ แต่เน้นด้านการไหลกลับของการเป็นมหาอำนาจมาด้านโลกต.อ.
และมีข้อมูลด้านพื้นฐานของประเทศต่างๆ มาเกี่ยวข้อง)
มีข้อมูลอยู่พอสมควรเลยทีเดียว (คือไม่ได้เน้นเรื่องพวกพลังงานนะครับ แต่เน้นด้านการไหลกลับของการเป็นมหาอำนาจมาด้านโลกต.อ.
และมีข้อมูลด้านพื้นฐานของประเทศต่างๆ มาเกี่ยวข้อง)
-
- Verified User
- โพสต์: 241
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิบากกรรมของบริษัทถ่านหิน
โพสต์ที่ 26
ถ้ามาลักษณะนี้ พี่เทพของเราจะได้ประโยชน์มากมั้ยครับ จากการสำรวจที่มีมากขึ้น
"สุขใดยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี"
- Paul Octopus
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิบากกรรมของบริษัทถ่านหิน
โพสต์ที่ 27
ต้องมีเทคโนโลยี่การเจาะ Shale Gas ครับถึงจะไม่ตกกระแสsakana_sushi เขียน:ถ้ามาลักษณะนี้ พี่เทพของเราจะได้ประโยชน์มากมั้ยครับ จากการสำรวจที่มีมากขึ้น
เปโตรนาส ของมาเลเซีย กำลังดำเนินการเรื่องนี้สุดกำลัง ใครรู้เรื่องพี่เทพฯมา share ได้ครับ
- Tsurumi
- Verified User
- โพสต์: 268
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิบากกรรมของบริษัทถ่านหิน
โพสต์ที่ 28
วันที่ 24 กรกฎาคม 2555 15:42
บ้านปูปรับแผนลงทุน หลังราคาถ่านหินวูบ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"บ้านปู"ประกาศปรับแผนลงทุนในช่วง 4 ปีข้างหน้า (2555-2558) ลดเหลือ 1.15 พันล้านดอลลาร์ จากเดิม 1.75 พันล้านดลอลาร์ หลังราคาถ่านหินลด
นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) (BANPU) เปิดเผยว่า บริษัทปรับแผนการลงทุนระยะ 4 ปี ระหว่างปี 2555-2558 จากวงเงิน 1.75 พันล้านดอลลาร์ เหลือ 1.15 พันล้านดอลลาร์ ลดลงประมาณ 500-600 ล้านดอลลาร์ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตลาดในปัจจุบันที่ราคาถ่านหินในตลาดโลกอ่อนตัวลง และคาดว่าราคายังทรงตัวไปจนถึงอย่างน้อยในปลายปีนี้หรือต้นปี 2555
นอกจากนี้ บริษัทยังปรับลดเป้าหมายรายได้รวมปีนี้เหลือเป็นเติบโตเพียง 3% จากเดิมตั้งเป้าขยายตัว 15% เนื่องจากราคาขายถ่านหินปรับตัวลดลง
บ้านปูปรับแผนลงทุน หลังราคาถ่านหินวูบ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
"บ้านปู"ประกาศปรับแผนลงทุนในช่วง 4 ปีข้างหน้า (2555-2558) ลดเหลือ 1.15 พันล้านดอลลาร์ จากเดิม 1.75 พันล้านดลอลาร์ หลังราคาถ่านหินลด
นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) (BANPU) เปิดเผยว่า บริษัทปรับแผนการลงทุนระยะ 4 ปี ระหว่างปี 2555-2558 จากวงเงิน 1.75 พันล้านดอลลาร์ เหลือ 1.15 พันล้านดอลลาร์ ลดลงประมาณ 500-600 ล้านดอลลาร์ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตลาดในปัจจุบันที่ราคาถ่านหินในตลาดโลกอ่อนตัวลง และคาดว่าราคายังทรงตัวไปจนถึงอย่างน้อยในปลายปีนี้หรือต้นปี 2555
นอกจากนี้ บริษัทยังปรับลดเป้าหมายรายได้รวมปีนี้เหลือเป็นเติบโตเพียง 3% จากเดิมตั้งเป้าขยายตัว 15% เนื่องจากราคาขายถ่านหินปรับตัวลดลง
- อ่อนซ่อนศิลป์
- Verified User
- โพสต์: 274
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิบากกรรมของบริษัทถ่านหิน
โพสต์ที่ 29
ขยายความฉบับเต็มจากห้องบ้านปูครับ
BANPU เลื่อนแผนลงทุน,ลดเป้าหมายปริมาณขาย-รายได้ หลังราคาถ่านหินวูบ
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 24 กรกฎาคม 2555 15:28:58 น.
นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บ้านปู (BANPU) เปิดเผยว่า บริษัทปรับแผนการลงทุนระยะ 4 ปี(ปี 55-58)จากวงเงิน 1.75 พันล้านเหรียญสหรัฐ ปรับลดลง 30% หรือประมาณ 500-600 ล้านเหรียญสหรัฐ คงเหลือวงเงินลงทุน 1.15 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตลาดในปัจจุบันที่ราคาถ่านหินในตลาดโลกอ่อนตัวลง และคาดว่าราคายังทรงตัวไปจนถึงอย่างน้อยในปลายปีนี้หรือต้นปี 56
"การเลื่อนใช้เงินเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะตลาดถ่านหินโลกที่ปรับตัวลดลงขณะนี้ และความไม่แน่นอนเศรษฐกิจโลกและยุโรป จึงต้องดูแลตัวเองให้แข็งแรงก่อนเพื่อมีเงินเตรียมพร้อมหาโอกาสใหม่ในวันข้างหน้า"นายชนินท์ กล่าว
นายชนินท์ ขี้แจงรายละเอียดของการปรับแผนลงทุนว่า บริษัทจะเลื่อนแผนใช้เงินลงทุนในออสเตรเลีย จาก 600 ล้านเหรียญสหรัฐ จะเลื่อนไปก่อนราว 200 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเลื่อนกรอบเวลาการลงทุนโครงการ Newstan ออกไปก่อน ส่วนเหมืองที่มองโกเลีย เดิมตั้งงบลงทุนไว้ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ ก็จะเลื่อนออกไปประมาณ 200-250 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะทำให้แผนที่จะเริ่มผลิตปีนี้ 1 ล้านตัน ต้องเลื่อนออกไป และปีถัดไปจากเดิมกำหนดจะผลิตเพิ่มเป็น 3.0-4.5 ล้านตัน ก็เลื่อนออกไปก่อนเช่นกัน
ทั้งนี้ เงินลงทุนในแผนงานจะเน้นใช้กับโครงการสำคัญก่อน โดยเฉพาะการพัฒนาท่าเรือ รวมทั้งการพัฒนาเหมืองบารินโตะในอินโดนีเซียที่เปิดหน้าเหมืองไปแล้วก็คงจะต้องดำเนินการต่อเนื่องและพยายามผลิตถ่านหินให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
พร้อมกันนั้น บริษัทยังปรับลดเป้าหมายรายได้รวมปี 55 เหลือเติบโต 3% จากเดิมตั้งเป้าเติบโต 15% เนื่องจากราคาขายถ่านหินปรับลดลง ขณะที่บริษัทได้ปรับลดเป้าการผลิตและการขาย จากเดิม 47 ล้านตัน เหลือ 44 ล้านตัน เนื่องจากได้เลื่อนแผนการผลิตเหมืองในมองโกเลีย จากที่คาดว่าจะเริ่มผลิต 1 ล้านตันในปีนี้ เนื่องจากเห็นว่ายังไม่คุ้มค่าการลงทุน รวมทั้งลดการผลิตเหมืองในอินโดนีเซียและออสเตรเลียลงอีก 1 ล้านตัน ดังนั้น จะส่งผลให้กำไรจากการดำเนินงานปีนี้ต่ำกว่าปี 54 ที่มีกำไรประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท และ บริษัทได้ปรับลดเป้าปริมาณการผลิตและขายในปี 56-58 จากเดิมที่ตั้งเป้าในปี 58 ทั้งกลุ่มจะมีปริมาณการผลิตและขายที่ 60 ล้านตัน โดยปรับลดลง 10% เหลือราว 55 ล้านตัน นอกจากนั้น บริษัทยังได้ออกมาตรการลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงานกลุ่มธุรกิจถ่านหินในประเทศอินโดนีเซียในปีนี้ ลงอีก 6-7% ของงบประมาณที่ตั้งไว้ หรือ 4 เหรียญฯ/ตัน และปีหน้าจะลดต้นทุนเป็น 10-12%
"แผนทั้งหมดที่ทำเพื่อรักษากระแสเงินสดและฐานะการเงินของบริษัทให้แข็งแกร่ง จากปัจจุบันมีกระแสเงินสด 3 หมื่นล้านบาท และบริษัทยังคงนโยบายการจ่ายปันผลไม่ต่ำกว่า 50% ของกำไรสุทธิ...ส่วนเป้าหมายรายได้ 5 ปีคงเปลี่ยนไป เพราะปริมาณขายที่ลดลง แต่ต้องดูราคาถ่านหินปี 56-58 หาราคายังต่ำก็คงกระทบเป้ารายได้ 5 ปี"นายชนินทร์ กล่าว
นายชนินท์ กล่าวว่า ราคาถ่านหินจากนี้ถึงสิ้นปี 55 และต้นปี 56 จะทรงตัวที่ 94 เหรียญฯ/ตัน จากเดิมคาดราคาถ่านหินอยู่ที่ 100-120 เหรียญฯ/ตัน แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ากรณีเลวร้ายสุดราคาถ่านหินก็คงไม่ต่ำกว่า 90 เหรียญฯ/ตัน ขณะที่ราคาขายถ่านหินเฉลี่ยในอินโดนีเซียปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 95 เหรียญฯ/ตัน รวมกำไรจากการขาย coal swap แล้ว จากปีก่อนอยู่ที่ 97 เหรียญฯ/ตัน
สำหรับกระแสการใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทนถ่านหิน โดยเฉพาะ shale gas นั้น นายชนินท์ เชื่อว่า แนวโน้มราคาก๊าซ โดยเฉพาะในสหรัฐน่าจะปรับขึ้นไปจากระดับ 2 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู โดยมองว่าราคาในระดับดังกล่าวไม่สามารถคงอยู่ได้เพราะไม่คุ้มทุน และผู้ผลิตก็ยังจะต้องมีการลงทุนอีกมาก ดังนั้น การที่ก๊าซต้องปรับราคาเพิ่มขึ้น จะทำให้ความต้องการถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลักยังคงอยู่ในระยะเวลาที่ยาวกว่า ขณะนี้ทางฝ่ายบริหารของบริษัทกำลังพิจารณาแผนงานรองรับในระยะยาวต่อไป
"แผนระยะยาวของบริษัทคงจะต้องมีการทบทวนทุกปี เพราะต้องขึ้นอยู่กับราคาก๊าซ และดีมานด์ถ่านหิน ซึ่งแผนจากนี้ไปถึงปี 58 คงไม่กระทบ แต่เราจะเน้นปรับสินทรัพย์ที่จะลงทุนมากกว่าเพื่อคงสถานะการเงินเป็นบวก"นายชนินท์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังมีสินทรัพย์อีกหลายแห่งที่สามารถสร้างความแข็งแกร่งด้านกระแสเงินสดให้กับบริษัท โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี และโรงไฟฟ้าหงสาที่การก่อสร้างเร็วกว่าแผนอย่างมาก แต่เงินลงทุนส่วนใหญ่จะใช้ในช่วงปลายปี 58 จีงไม่กระทบแผนการลงทุนในขณะนี้ และเชื่อว่าทั้งสองโครงการจะสร้างรายได้อย่างมั่นคงให้กับบริษัท ส่วนถ่านหินจากเหมืองเกาเหอในจีนเน้นขายให้กับอุตสาหกรรมเหล็กและขายให้กับตลาดในประเทศ ซึ่งถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
-จบ-
BANPU เลื่อนแผนลงทุน,ลดเป้าหมายปริมาณขาย-รายได้ หลังราคาถ่านหินวูบ
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 24 กรกฎาคม 2555 15:28:58 น.
นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บ้านปู (BANPU) เปิดเผยว่า บริษัทปรับแผนการลงทุนระยะ 4 ปี(ปี 55-58)จากวงเงิน 1.75 พันล้านเหรียญสหรัฐ ปรับลดลง 30% หรือประมาณ 500-600 ล้านเหรียญสหรัฐ คงเหลือวงเงินลงทุน 1.15 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตลาดในปัจจุบันที่ราคาถ่านหินในตลาดโลกอ่อนตัวลง และคาดว่าราคายังทรงตัวไปจนถึงอย่างน้อยในปลายปีนี้หรือต้นปี 56
"การเลื่อนใช้เงินเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะตลาดถ่านหินโลกที่ปรับตัวลดลงขณะนี้ และความไม่แน่นอนเศรษฐกิจโลกและยุโรป จึงต้องดูแลตัวเองให้แข็งแรงก่อนเพื่อมีเงินเตรียมพร้อมหาโอกาสใหม่ในวันข้างหน้า"นายชนินท์ กล่าว
นายชนินท์ ขี้แจงรายละเอียดของการปรับแผนลงทุนว่า บริษัทจะเลื่อนแผนใช้เงินลงทุนในออสเตรเลีย จาก 600 ล้านเหรียญสหรัฐ จะเลื่อนไปก่อนราว 200 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเลื่อนกรอบเวลาการลงทุนโครงการ Newstan ออกไปก่อน ส่วนเหมืองที่มองโกเลีย เดิมตั้งงบลงทุนไว้ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ ก็จะเลื่อนออกไปประมาณ 200-250 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะทำให้แผนที่จะเริ่มผลิตปีนี้ 1 ล้านตัน ต้องเลื่อนออกไป และปีถัดไปจากเดิมกำหนดจะผลิตเพิ่มเป็น 3.0-4.5 ล้านตัน ก็เลื่อนออกไปก่อนเช่นกัน
ทั้งนี้ เงินลงทุนในแผนงานจะเน้นใช้กับโครงการสำคัญก่อน โดยเฉพาะการพัฒนาท่าเรือ รวมทั้งการพัฒนาเหมืองบารินโตะในอินโดนีเซียที่เปิดหน้าเหมืองไปแล้วก็คงจะต้องดำเนินการต่อเนื่องและพยายามผลิตถ่านหินให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น
พร้อมกันนั้น บริษัทยังปรับลดเป้าหมายรายได้รวมปี 55 เหลือเติบโต 3% จากเดิมตั้งเป้าเติบโต 15% เนื่องจากราคาขายถ่านหินปรับลดลง ขณะที่บริษัทได้ปรับลดเป้าการผลิตและการขาย จากเดิม 47 ล้านตัน เหลือ 44 ล้านตัน เนื่องจากได้เลื่อนแผนการผลิตเหมืองในมองโกเลีย จากที่คาดว่าจะเริ่มผลิต 1 ล้านตันในปีนี้ เนื่องจากเห็นว่ายังไม่คุ้มค่าการลงทุน รวมทั้งลดการผลิตเหมืองในอินโดนีเซียและออสเตรเลียลงอีก 1 ล้านตัน ดังนั้น จะส่งผลให้กำไรจากการดำเนินงานปีนี้ต่ำกว่าปี 54 ที่มีกำไรประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท และ บริษัทได้ปรับลดเป้าปริมาณการผลิตและขายในปี 56-58 จากเดิมที่ตั้งเป้าในปี 58 ทั้งกลุ่มจะมีปริมาณการผลิตและขายที่ 60 ล้านตัน โดยปรับลดลง 10% เหลือราว 55 ล้านตัน นอกจากนั้น บริษัทยังได้ออกมาตรการลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงานกลุ่มธุรกิจถ่านหินในประเทศอินโดนีเซียในปีนี้ ลงอีก 6-7% ของงบประมาณที่ตั้งไว้ หรือ 4 เหรียญฯ/ตัน และปีหน้าจะลดต้นทุนเป็น 10-12%
"แผนทั้งหมดที่ทำเพื่อรักษากระแสเงินสดและฐานะการเงินของบริษัทให้แข็งแกร่ง จากปัจจุบันมีกระแสเงินสด 3 หมื่นล้านบาท และบริษัทยังคงนโยบายการจ่ายปันผลไม่ต่ำกว่า 50% ของกำไรสุทธิ...ส่วนเป้าหมายรายได้ 5 ปีคงเปลี่ยนไป เพราะปริมาณขายที่ลดลง แต่ต้องดูราคาถ่านหินปี 56-58 หาราคายังต่ำก็คงกระทบเป้ารายได้ 5 ปี"นายชนินทร์ กล่าว
นายชนินท์ กล่าวว่า ราคาถ่านหินจากนี้ถึงสิ้นปี 55 และต้นปี 56 จะทรงตัวที่ 94 เหรียญฯ/ตัน จากเดิมคาดราคาถ่านหินอยู่ที่ 100-120 เหรียญฯ/ตัน แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ากรณีเลวร้ายสุดราคาถ่านหินก็คงไม่ต่ำกว่า 90 เหรียญฯ/ตัน ขณะที่ราคาขายถ่านหินเฉลี่ยในอินโดนีเซียปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 95 เหรียญฯ/ตัน รวมกำไรจากการขาย coal swap แล้ว จากปีก่อนอยู่ที่ 97 เหรียญฯ/ตัน
สำหรับกระแสการใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทนถ่านหิน โดยเฉพาะ shale gas นั้น นายชนินท์ เชื่อว่า แนวโน้มราคาก๊าซ โดยเฉพาะในสหรัฐน่าจะปรับขึ้นไปจากระดับ 2 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู โดยมองว่าราคาในระดับดังกล่าวไม่สามารถคงอยู่ได้เพราะไม่คุ้มทุน และผู้ผลิตก็ยังจะต้องมีการลงทุนอีกมาก ดังนั้น การที่ก๊าซต้องปรับราคาเพิ่มขึ้น จะทำให้ความต้องการถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลักยังคงอยู่ในระยะเวลาที่ยาวกว่า ขณะนี้ทางฝ่ายบริหารของบริษัทกำลังพิจารณาแผนงานรองรับในระยะยาวต่อไป
"แผนระยะยาวของบริษัทคงจะต้องมีการทบทวนทุกปี เพราะต้องขึ้นอยู่กับราคาก๊าซ และดีมานด์ถ่านหิน ซึ่งแผนจากนี้ไปถึงปี 58 คงไม่กระทบ แต่เราจะเน้นปรับสินทรัพย์ที่จะลงทุนมากกว่าเพื่อคงสถานะการเงินเป็นบวก"นายชนินท์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังมีสินทรัพย์อีกหลายแห่งที่สามารถสร้างความแข็งแกร่งด้านกระแสเงินสดให้กับบริษัท โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี และโรงไฟฟ้าหงสาที่การก่อสร้างเร็วกว่าแผนอย่างมาก แต่เงินลงทุนส่วนใหญ่จะใช้ในช่วงปลายปี 58 จีงไม่กระทบแผนการลงทุนในขณะนี้ และเชื่อว่าทั้งสองโครงการจะสร้างรายได้อย่างมั่นคงให้กับบริษัท ส่วนถ่านหินจากเหมืองเกาเหอในจีนเน้นขายให้กับอุตสาหกรรมเหล็กและขายให้กับตลาดในประเทศ ซึ่งถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
-จบ-
เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาคือของจริง