$$ รวมหุ้น Turnaround $$
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 271
นี่คือหนึ่งในหลายๆบทความที่ผมอ่านแล้วโดนใจอย่างแรงครับ
แต่ผมอยากบอกว่า ในนั้นยังรวบรวมบทความที่น่าสนใจไว้อีกมากมายทีเดียวครับ
================================================
เหตุการณ์ที่สร้างราคาหุ้น : วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล
Posted by admin in Investment on ก.ค. 24th, 2011
นักลงทุนทุกคนต่างต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติ (Abnormal Returns) จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหมั่นศึกษาถึงงบการเงิน งบกระแสเงินสด ภาวะอุตสาหกรรม ความคิดของนักลงทุนสถาบันของหุ้นตัวนั้น เพื่อหาปัจจัยบวก (Drivers) ในการผลักดันราคาหุ้นว่าจะปรับตัวขึ้นเมื่อไรและอย่างไร
Drivers ต่างๆเหล่านี้ จะมาพร้อมกับการปรับมุมมองของการลงทุนให้ดีขึ้น (Upgrade) นำไปสู่การเปลี่ยนคำแนะนำในที่สุด เช่น จากคำแนะนำเดิมจาก “ถือ” (Hold) เป็น “ซื้อ” (Buy) หรือจาก “ซื้อ” เป็น “ซื้ออย่างเต็มที่” (Strong Buy) แต่ Drivers ต่างๆเหล่านี้ จะต้องเป็นสิ่งที่ตลาดไม่ได้คาดหมาย
ถ้านักลงทุนสามารถคาดการณ์เหตุการณ์เหล่านี้ได้อย่างแม่นยำ นักลงทุนท่านนั้นก็สามารถมีผลตอบแทนสูงกว่าปกติได้ (Buy before market expectations) เนื่องจากในตอนที่หุ้นตัวนั้นราคาถูกๆ นักลงทุนส่วนใหญ่ยังไม่มีหุ้นนั้นในพอร์ต จะเป็นสภาพ Under-owned Stocks เมื่อมีข่าวดีแบบไม่ได้คาดหมาย (Unexpected Good News) นักลงทุนจะรุมซื้อ และทำให้หุ้นปรับตัวขึ้นในที่สุด
ในทางกลับกัน ถ้านักลงทุนได้คาดการณ์เหตุการณ์นั้นแล้ว ซื้อหุ้นเข้าพอร์ตแล้ว หุ้นตัวนั้นจะกลายเป็น สภาพ “Over-owned” คือสภาพที่ทุกคนมีหุ้นตัวนั้นอยู่ในพอร์ต เมื่อข่าวดีออกมา จะถูกเทขายทำกำไรทันที กลายเป็นสภาพ Buy on expectations and sell on facts
ผมได้รวบรวมเหตุการณ์ 13 เหตุการณ์ (จริงๆมีมากกว่านี้มาก) ที่จะเป็นตัวผลักดัน หรือทำให้หุ้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นในขณะที่ราคายังต่ำอยู่
กรณีที่ 1 : ผลการดำเนินงาน “มากกว่า” คาดหมาย (Results beat market expectations) เช่น หุ้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีตัวหนึ่ง นักวิเคราะห์และนักลงทุนได้คาดการณ์ว่า ผลกำไรในไตรมาส 1 ของปี 2548 ได้กำไรกว่า 2,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 250 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกันกับไตรมาสเดียวกันนี้แล้ว ซึ่งเป็นผลการเติบโตของกำไรอย่างมหาศาล แต่เมื่อบริษัทได้ประกาศผลการดำเนินงานแล้ว ก็เป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาด
แต่ราคาหุ้นตัวนั้นกลับถูกแรงเทขายทำกำไร แสดงว่าการคาดการณ์ผลการประกอบการที่ดีนั้นได้ถูกคาดการณ์และนักลงทุนได้ซื้อหุ้น (Build Position) ไว้แล้ว นักลงทุนกลับมุ่งความสนใจไปในผลการดำเนินงานในไตรมาสถัดไปทันที (Forward Expectation) แต่ในทางกลับกัน ถ้าผลกำไรของบริษัทได้เพิ่มเป็น 4,000 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้มาก หุ้นบริษัทปิโตรเคมีตัวนั้นจะตอบสนองในทางบวกทันที เนื่องจากบรรดานักวิเคราะห์ จะพากันพาเหรดกันปรับผลกำไรขึ้นทันที (Upgrade and Re-rate)
กรณีที่ 2 : งบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานหลังหักงบลงทุน (Free Cash Flow) เป็นบวกในไตรมาสแรกหลังจากติดลบมานาน ผมได้ศึกษาเรื่องนี้มา 15 บริษัท พบสิ่งที่น่าสนใจว่า บริษัทใดก็ตามที่มี Free Cash Flow หรืองบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานหลังหักงบลงทุนเป็นบวกในไตรมาสแรก หลังจากติดลบมาหลายๆ ปี ราคาหุ้นตัวนั้นจะมีการตอบสนองเป็นบวก และบวกมากๆด้วย
การที่ Free Cash Flow เป็นบวก สะท้อนให้เห็นถึงธุรกิจกำลังฟื้นตัว (Turn Around) เนื่องจากบริษัทได้ผ่านขั้นตอนการลงทุนไปแล้ว และพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวดอกผลจากการลงทุนนั้น กระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่เหลือจากการลงทุน สามารถคืนหนี้ได้เร็วขึ้น และจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นเร็วขึ้น แต่ถ้า Free Cash Flow ยังคง “ติดลบ” หมายความว่า บริษัทต้องกู้เงินเพิ่ม หรืออาจต้องรบกวนกระเป๋าเงินผู้ถือหุ้นเพิ่มโดยการเพิ่มทุน
เช่นในปี 2546 Free Cash Flow ของ บมจ.สามารถ คอร์ปอเรชั่น (SAMART) เป็นบวกครั้งแรกในไตรมาส 3 ในรอบหลายปี ประกอบกับบริษัทได้ประสบความสำเร็จ ในการปรับโครงสร้างหนี้ด้วย หนี้ได้ลดลงอย่างมหาศาลในปีนั้น ทำให้ราคาหุ้นของ SAMART ได้ทะยานขึ้นราว 4-5 เท่า ในระยะ เวลา 1 ปี
กรณีที่ 3 : การเปลี่ยนแปลงภาวะอุตสาหกรรม หุ้นจะเป็นไปตามวัฏจักรของอุปสงค์และอุปทาน (Demand and Supply) ซึ่งจะมีผลต่ออำนาจการต่อรอง (Pricing Power) ของผู้ซื้อและผู้ขาย และกระทบต่อกำไร (Margins) ของผู้ขาย
เช่นเมื่อปี 2539 ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ในประเทศไทย มีจำนวนผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Property Development) จำนวนมากกว่า 2,000 ราย แต่เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ จำนวนผู้ประกอบการกลับลดลงเหลือแค่ 100-200 ราย ในขณะที่ความต้องการบ้านถึงแม้จะลดลงแต่การลดลงยังน้อยกว่าจำนวนผู้ประกอบการ ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่ ซึ่งแน่นอนต้องเป็นผู้แข็งแกร่งเท่านั้นที่อยู่รอด สามารถกำหนดราคาขายได้
ในช่วงปี 2542-2547 เป็นยุคทองของผู้แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ เช่น บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LH) ในกรณีที่ผู้ขายรายอื่นล้มหายตายไป หรืออยู่ในระหว่างปรับโครงสร้างหนี้ LH กลับสามารถทำกำไรขั้นต้น (Gross Margins) โตถึง 40-45 เปอร์เซ็นต์ แทบจะสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของวงการสังหาริมทรัพย์
ลักษณะวัฏจักรอุตสาหกรรมแบบนี้เรียกว่า “Oligopoly Business” (อุตสาหกรรมที่มีผู้ประกอบการน้อยราย แต่ผู้ประกอบการสามารถตั้งราคาขายที่มีกำไรสูงได้) ซึ่งอำนาจในการกำหนดราคา (Pricing Power) จะอยู่ที่ผู้ขาย หุ้นของบริษัทในอุตสาหกรรมจะปรับตัวขึ้นอย่างมาก เช่น ราคาหุ้น LH ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 20 บาท (Par 10 บาท) มาเป็น 14 บาท (Par 1 บาท) เนื่องจากกำไรจะพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เมื่อไรก็ตามที่กำไรมากก็ต้องดึงดูดจำนวนผู้ประกอบการเข้ามามากขึ้น รวมทั้งผู้ประกอบการรายเก่าที่ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้สินมา มีการลดเงินต้นและลดดอกเบี้ยมากมาย ทำให้ต้นทุนของบริษัทเหล่านี้ถูกลง
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ มีผู้ประกอบการหน้าใหม่และหน้าเก่าเกิดขึ้นแทบจะทุกวันในปี 2546 ถึง 2547 วัฏจักรอุตสาหกรรมเปลี่ยนทันทีจาก Oligopoly เป็นการแข่งขันกันอย่างค่อนข้างดุเดือด (Perfect Competition) ราคาหุ้นของบริษัทในกลุ่มนี้ก็ลดลงอย่างรวดเร็ว
เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมัน โรงกลั่นโรงสุดท้ายที่สร้างขึ้นในประเทศไทย ซึ่งสร้างเมื่อปี 2538-2539 จากนั้นเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ โรงกลั่นไม่ว่าจะดีอย่างไรก็ขาดทุนมหาศาล ไม่ว่าจะเป็น บมจ.ไทยออยล์ (THAI OIL), บมจ.สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (STAR Refinery) เนื่องจากหนี้เพิ่มขึ้นและความต้องการลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นอุตสาหกรรมที่นักลงทุนหลบเลี่ยงในช่วงนั้น ราคาหนี้ของโรงกลั่นเหล่านี้ถูกเทขายในราคา 25 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าตลาด (ราคาได้ตกต่ำกว่าราคาหนี้มาก) จากนั้นใช้เวลาประมาณเกือบ 8-9 ปี ทำให้กลุ่มโรงกลั่นถึงมีกำไรมากๆถึงปีละกว่า 1 หมื่นล้านบาท ธนาคารที่ซื้อหนี้ของไทยออยล์ ที่ราคา 25-30 เปอร์เซ็นต์ ของราคาหน้าตั๋ว แล้วแปลงหนี้เป็นทุนสามารถทำกำไรมหาศาล
กรณีที่ 4 : การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์หรือแก้ไขสัญญาสัมปทาน เช่น ในกรณี บมจ.ไอทีวี (ITV) เมื่อปี 2547 ที่ได้รับการลดค่าสัมปทานจากที่ต้องจ่ายปีละกว่า 1,000 ล้านบาท มาเป็นจ่ายปีละ 200-300 ล้านบาท หรือการที่บริษัทยูบีซี (UBC) สามารถมีโฆษณาในเคเบิลทีวีได้ ตลอดจนการแก้ไขส่วนแบ่งรายได้ของบริษัท โทรคมนาคมต่างๆ ซึ่งการแก้ไขเหล่านี้ ค่าต้นทุนและการแบ่งรายได้กับภาครัฐลดลง ผลกำไรของบริษัทนั้นเพิ่มขึ้น แต่ถ้ามีการกลับคืนของสัญญาสัมปทาน ราคาหุ้นก็พร้อมจะปรับตัวลงทันที
กรณีที่ 5 : การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นรายใหม่หรือเป็นมืออาชีพ (Strategic Partner) เช่น ในกรณีที่ บมจ.แมกเนคคอมพ์ พรีซิชั่น (Magnecomp) เข้าซื้อกิจการ บมจ.เค อาร์ พรีซิชั่น (KRP) เมื่อปลายปี 2547 ในอดีต KRP ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์แขนจับหัวอ่าน ในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ขาดทุนมาตลอด 5-6 ปีที่ผ่านมา และต้องมีการเพิ่มทุนอยู่เสมอ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และ KRP ไม่สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้
เมื่อแมกเนคคอมพ์ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญทางด้านนี้เข้าซื้อกิจการของ KRP โดยการออกหุ้น ทำการแลกหุ้น (swap) และเอาโรงงานของแมกเนคคอมพ์ในสิงคโปร์มา ภายในไตรมาสแรกหลังเข้าซื้อกิจการ บริษัท KRP และแมกเนคคอมพ์มีผลการประกอบการที่ดีขึ้น นอกจากนี้ราคาที่แลกหุ้นกัน ทำให้เกิดค่าความนิยม (Good Will) น้อยมาก ทำให้บริษัทแมกเนคคอมพ์ไม่ต้องมีการคิดค่าใช้จ่ายทางด้านความนิยมด้วย หรือในกรณี บมจ.อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไทย (TPI) ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น บมจ.ไออาร์พีซี (IRPC) ซึ่งบมจ. ปตท. (PTT) และ “พันธมิตร” ได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนในราคาหุ้นละ 3.30 บาท นักลงทุนก็มีความเชื่อว่า หลังจากที่ บมจ.ปตท เข้ามาบริหารงานใน IRPC อาจจะทำให้มูลค่าหุ้นของ IRPC เพิ่มขึ้นกว่ามูลค่าทางบัญชีได้
กรณีที่ 6 : หุ้นที่ได้รับความสนใจภายใต้สภาพเศรษฐกิจภาวะใดภาวะหนึ่ง ในปกติสภาวะเศรษฐกิจจะมีทั้งเงินเฟ้อและเงินฝืด ในสภาวะใดสภาวะหนึ่งของเศรษฐกิจ อาจก่อให้เกิดกระแสเกี่ยวกับการลงทุน (Investment Theme) เกิดขึ้น
เช่น ในภาวะเงินฝืด (Deflation) ซึ่งเป็นสภาวะที่ปริมาณสินค้ามีมากกว่าความต้องการ (Over Capacity) ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขยายตัวลดลง กำลังซื้อหดอย่างฉับพลัน ผู้บริโภคชะลอการซื้อ ทำให้สินค้าหลายอย่างขายไม่ได้ กระแสการลงทุนในช่วงนี้จะเน้นไปสู่หุ้นกลุ่มที่มีอำนาจผูกขาด (Monopoly) หรือมีอำนาจเหนือผู้บริโภค เช่น หุ้นกลุ่มพลังงาน ผู้บริโภคจำเป็นต้องใช้พลังงาน ทำให้หุ้นกลุ่มพลังงานขนาดใหญ่บางบริษัทมีอำนาจในการผูกขาดหรือเกือบผูกขาดเป็นระยะเวลานาน อำนาจกึ่งผูกขาดนี้อาจมาจากสิทธิมอบให้จากภาครัฐ หรือความที่บริษัทนั้นมีส่วนแบ่งตลาดมหาศาลจนสามารถกำหนดราคาได้ หรือเป็นบริษัทที่กระแสเงินสดแข็งแกร่ง จนกระทั่งการขยายตลาดในอนาคตนำไปสู่การผูกขาดในระยะยาว (Life-long Monopoly) เงินจะไหลไปสู่การลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้และจะทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ
กรณีที่ 7 : การเป็นบริษัทหายาก (Scarcity) โดยลักษณะผลิตภัณฑ์หรือรายได้ของบริษัทเหล่านี้ต้องไม่เหมือนใครในท้องตลาด (มี Unique and Scarcity) จะมีอุปสงค์ (Demand) สูงทำให้นักลงทุนยินดีที่จะจ่ายราคาแพง (Premiums) เพื่อซื้อหุ้นกลุ่มนี้
P/E Ratio ของหุ้นกลุ่มนี้จะไม่ต่ำ และจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ตราบเท่าที่นักลงทุนให้ Premium กับหุ้นกลุ่มนี้ เช่น หุ้นในกลุ่มพลังงานตัวหนึ่ง ทำพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งสามารถซื้อขายที่ PE สูงถึง 20-30 เท่าได้ ตราบเท่าที่บริษัทจะมีผลกำไรเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่ถ้าผลกำไรเติบโตลดลง หุ้นก็มีโอกาสปรับตัวลงได้อย่างมาก
กรณีที่ 8 : หุ้นที่ได้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้และธุรกิจ จนสามารถพลิกฟื้นสถานการณ์จากการล้มละลาย (Bankruptcy and Distress) จะสังเกตได้ว่าก่อนวิกฤติทางการเงินปี 2540 บริษัทจดทะเบียนหลายแห่งได้ลงทุนในธุรกิจต่างๆ นอกเหนือจากธุรกิจที่ตัวเองทำและถนัดอยู่ โดยมีความคิดว่าการกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ (Diversified) ถือว่าเป็นบริษัทที่มีวิสัยทัศน์ไกล (High Vision) และสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นได้ โดยที่ตัวเองไม่มีความชำนาญ
การลงทุนส่วนใหญ่จะเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเป็นผู้ถือร่วมในลักษณะการร่วมทุน (Joint Ventures) ในอัตราส่วน 20-25 เปอร์เซ็นต์ โดยหวังจะได้ผลกำไร (Equity Accounting) มาช่วยผลกำไรบริษัทแม่ โดยมิได้สนใจว่าบริษัทร่วมทุนนั้นจะมีเงินปันผลหรือไม่ เพื่อต้องการให้กำไรต่อหุ้นของบริษัทแม่ดูดี เพื่อจะได้ P/E ที่ต่ำ หรืออาจจะจัดตั้งในรูปแบบบริษัท Holding Company ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่งในขณะนี้ใช้โครงสร้างแบบนี้ เพื่อกระจายความเสี่ยงของรายได้
บริษัทก่อสร้างใหญ่ๆ ก็มักทำโครงสร้างแบบร่วมทุนโครงการต่างๆเพื่อการประมูลงาน หรือเข้าไปถือในบริษัทซัพพลายเออร์ โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่มักเป็นเงินกู้ เมื่อเศรษฐกิจถดถอย กระแสเงินสดในบริษัทร่วมทุนเหล่านี้ไม่สามารถที่จะชำระดอกเบี้ยเงินกู้ของบริษัทแม่ที่ยืมมาร่วมทุนได้ ทำให้ต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้ มีการลดเงินต้นและลดดอกเบี้ย (Hair cut) ทำให้มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้นเพิ่มสูงขึ้น และมีการขายทรัพย์สินที่ไม่ใช่สินทรัพย์หลัก (Non-core Assets) เช่น บริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่ที่สุดของไทย ซึ่งแน่นอนว่าราคาหุ้นของบริษัทนั้นจะทรุดหนัก แต่นักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนสูงเป็นพิเศษ ต้องหาจังหวะลงทุนในช่วง “ราคาที่ถูกทุบลงมา” (Distress) โดยที่เราต้องศึกษาและมั่นใจว่า บริษัทนั้นต้องไม่ถูก “ลดทุน” หรือถูก Written off ในส่วนของทุนจดทะเบียนจนหมด ผมเคยแนะนำให้ “เฮดจ์ฟันด์” ลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ ผลตอบแทน 14 เท่า ในรอบ 2 ปี
กรณีที่ 9 : การนำบริษัทลูก (Subsidiary) หรือบริษัทร่วม (Associates) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะเพิ่มมูลค่าให้บริษัทแม่ เพราะบริษัทแม่สามารถมี “กำไรที่ยังไม่รับรู้” (Unrealized Gains) เนื่องจากเป็นมูลค่าซ่อนเร้น ทำให้มูลค่าสินทรัพย์ของบริษัทแม่เพิ่มขึ้น ถ้ามูลค่าของบริษัทลูกหรือบริษัทร่วมอยู่ในงบดุลของบริษัทแม่ มูลค่าเหล่านั้นจะถูกบันทึกเป็นมูลค่าทางบัญชีเท่านั้น แต่ถ้าบริษัทลูกและบริษัทร่วมนั้นถูกจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มูลค่านั้นจะเป็น “มูลค่าตลาดทันที” (Market value) ซึ่งโดยเฉลี่ยจะมีมูลค่าประมาณ 2-3 เท่าของมูลค่าทางบัญชี
บริษัทจดทะเบียนหลายบริษัทที่ได้ใช้กลยุทธ์ดังกล่าว เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถค้นหาได้ว่า บริษัทไหนมีมูลค่าซ่อนเร้นอยู่โดยการเปลี่ยนจากมูลค่าทางบัญชีเป็นมูลค่าตลาด เราก็ลงทุนหุ้นตัวนั้นล่วงหน้าก่อน ก่อนที่คนทั่วไปจะค้นพบ
กรณีที่ 10 : บริษัทที่มีโครงสร้างทางการเงินหรือธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อการควบรวมกิจการ (Merger and Acquisitions) การควบรวมกิจการจะเกิดขึ้นได้ ถ้าบริษัทที่ต้องการซื้อ (Acquirers) เห็นประโยชน์ที่ “ซ่อนเร้น” (Hidden) หรือไม่ซ่อนเร้นในกิจการที่บริษัทกำลังถูกซื้อหรือ “ควบรวมกิจการ” (Takeover Target) ทำให้เกิดการเก็งกำไรได้ บริษัทที่มีโอกาสถูกควบรวมกิจการ มักมีลักษณะ
ก.เป็นบริษัทที่มีสินทรัพย์ (Assets) , ที่ดิน (Land Bank) หรือใบอนุญาต (Licenses) ที่ซ่อนอยู่มหาศาล จนกระทั่งมูลค่าของสินทรัพย์เหล่านั้น มีมูลค่ามากกว่ามูลค่าหุ้นทั้งหมดของบริษัท (Market Capitalization) หรือมากกว่ามูลค่ากิจการทั้งหมดของบริษัท (Enterprise Value) อย่าลืมว่า Enterprise Value จะมีค่าเท่ากับมูลค่า หนี้สินสุทธิ + มูลค่าหุ้นทั้งหมดของบริษัท ซึ่งโดยปกติมูลค่า Enterprise value จะมีค่ามากกว่ามาร์เก็ตแคปเสมอ ยกเว้นในกรณีที่บริษัทนั้นเป็นบริษัทที่ไม่มีหนี้หรือมีเงินสดในมือ
ข.บริษัทที่ขาดทุนสะสมมากจนสามารถนำ “ขาดทุนสะสม” (Loss Carried Foreword) มาใช้ในการหักภาษีได้
ค.มีเงินสดในมือมากกว่ามาร์เก็ตแคป จะเห็นว่า บางช่วงขณะ ราคาหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์บางบริษัทได้ตกลงมามาก จนกระทั่งมูลค่าเงินสดในงบดุลมากกว่ามาร์เก็ตแคปเสียอีก ทำให้เป็นโอกาสในการถูกซื้อกิจการเพื่อเอาเงินสดในบริษัทได้
ง.การควบรวมกิจการในลักษณะแนวดิ่ง (Vertical Integration) ซึ่งสามารถทำได้ทั้งทางขึ้นหรือต้นน้ำ (Upward) และทางลงหรือปลายน้ำ (Downward) เช่น บมจ.ปิโตรเคมีแห่งชาติ หรือ NPC มีความพยายามที่จะ ขยายกิจการไปทางปลายน้ำ เพื่อลดความผันผวนของกำไรและราคาผลิตภัณฑ์ที่บริษัทผลิตอยู่ หรือกรณีกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดโอกาสให้ทำธนาคารเต็มรูปแบบ (Universal Banking) ทำให้ธนาคารขนาดใหญ่เหล่านี้ต้องการต่อยอดธุรกิจสินเชื่อประเภทเช่าซื้อ หรือ Leasing ที่ตัวเองยังไม่มีความถนัด กลุ่มบริษัท Leasing หรือสถาบันการเงินที่จะเป็นเป้าหมายในการควบรวมกิจการของธนาคารพาณิชย์ บริษัทที่ถูกเข้าซื้อจะมีลักษณะทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงในอัตราส่วนที่สูงหรือกองทุนขั้น 1 เช่น ประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ โดยปกติ สถาบันการเงินถ้ามีทุน 10 บาท สามารถขยายสินเชื่อได้ 10-12 เท่า หรือ 100 บาท หรือ 120 บาท ถ้ามี “อัตราส่วนกองทุนขั้นที่หนึ่งสูง” หมายความว่า สถาบันการเงินนั้นสามารถขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องเพิ่มทุน
นอกจากนี้การควบรวมอาจจะควบรวมกิจการทางแนวราบ (Horizontal Integration) เพื่อลดจำนวนคู่แข่งหรือสกัดดาวรุ่งก็ได้ เช่น การควบรวมกิจการระหว่างเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป (MAJOR) กับ อีจีวี (EGV) แต่การควบรวมกิจการแบบนี้อาจก่อให้เกิดค่า “กู๊ดวิลล์” (Good will หรือส่วนต่างระหว่างราคาซื้อขายกับ มูลค่าทางบัญชี) และจะทำให้บริษัทที่เป็นบริษัทแม่ (Acquirers) มีกำไรที่ลดลงจากการตัดค่าใช้จ่ายทางกู๊ดวิลล์ ได้ แต่ถ้าการควบรวมกิจการเป็นไปในลักษณะการเกิดบริษัทใหม่ หรือ Amalgamation เช่นกรณี บมจ.ปิโตรเคมี แห่งชาติ (NP) กับ บมจ.ไทยโอเลฟินส์ (TOC) การรวมลักษณะนี้ทำให้ บมจ.การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่สามารถมีสิทธิในการออกเสียงได้ ตลอดจนนำไปสู่การลดสัดส่วนการถือหุ้นของ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้น บมจ.ไทยโอเลฟินส์ ได้
เหมือนสมัยหนึ่งนานมาแล้ว บริษัทเคเบิลทีวี 2 แห่งในประเทศไทย เช่น ยูทีวี กับ ไอบีซี รวมกันเกิดบริษัท ใหม่เป็น “ยูบีซี” แต่ถ้าการควบรวมแบบซื้อกิจการเลยเหมือนในกรณีเมเจอร์ ผู้ถือรายใหญ่จะไม่มีสิทธิในการออก เสียง
กรณีที่ 11 : การเพิ่มทุนแต่กลับทำให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นและทำให้หุ้นปรับตัวขึ้น เช่น กรณีบมจ.อาปิโก ไฮเทค (AH) ที่มีการเพิ่มทุนในปี 2546 และการเพิ่มทุนนี้ทำให้ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Assets) หลังเพิ่มทุนสูงขึ้น
กรณีที่ 12 : การที่บริษัทสามารถเริ่มจ่ายเงินปันผลให้เป็นครั้งแรก (Dividend Signaling) ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม ราคาหุ้นจะตอบสนองในทางบวกทันที เช่น บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น (SHIN) เริ่มจ่ายปันผลในปี 2546 หลังจากเป็น Holding company ที่ไม่จ่ายปันผลเสียนาน ราคาหุ้น SHIN ก็เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อมา
กรณีที่ 13 : การที่ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าสร้างใหม่ (Replacement Cost) มาก ซึ่งจะทำให้หุ้นของบริษัทนั้นมีการปรับตัวขึ้นมาก เช่น HMPRO (เมื่อกลางปี 2547) TPI (เมื่อกลางปี 2547 เช่นกัน) รายละเอียดในเรื่องนี้ ผมจะขยายความต่อไป เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะเราสามารถหาหุ้นที่มีโอกาสปรับตัวขึ้นสูงเป็น ร้อยเปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ราคายังต่ำอยู่
ส่วนหนึ่งจากหนังสือ Money Game โดย วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล
ที่มา : http://www.thaistockinfo.com/forum2010/f0058.html
====================================================
Source : http://www.sarut-homesite.net/2011/07/% ... %e0%b8%ab/
แต่ผมอยากบอกว่า ในนั้นยังรวบรวมบทความที่น่าสนใจไว้อีกมากมายทีเดียวครับ
================================================
เหตุการณ์ที่สร้างราคาหุ้น : วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล
Posted by admin in Investment on ก.ค. 24th, 2011
นักลงทุนทุกคนต่างต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติ (Abnormal Returns) จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องหมั่นศึกษาถึงงบการเงิน งบกระแสเงินสด ภาวะอุตสาหกรรม ความคิดของนักลงทุนสถาบันของหุ้นตัวนั้น เพื่อหาปัจจัยบวก (Drivers) ในการผลักดันราคาหุ้นว่าจะปรับตัวขึ้นเมื่อไรและอย่างไร
Drivers ต่างๆเหล่านี้ จะมาพร้อมกับการปรับมุมมองของการลงทุนให้ดีขึ้น (Upgrade) นำไปสู่การเปลี่ยนคำแนะนำในที่สุด เช่น จากคำแนะนำเดิมจาก “ถือ” (Hold) เป็น “ซื้อ” (Buy) หรือจาก “ซื้อ” เป็น “ซื้ออย่างเต็มที่” (Strong Buy) แต่ Drivers ต่างๆเหล่านี้ จะต้องเป็นสิ่งที่ตลาดไม่ได้คาดหมาย
ถ้านักลงทุนสามารถคาดการณ์เหตุการณ์เหล่านี้ได้อย่างแม่นยำ นักลงทุนท่านนั้นก็สามารถมีผลตอบแทนสูงกว่าปกติได้ (Buy before market expectations) เนื่องจากในตอนที่หุ้นตัวนั้นราคาถูกๆ นักลงทุนส่วนใหญ่ยังไม่มีหุ้นนั้นในพอร์ต จะเป็นสภาพ Under-owned Stocks เมื่อมีข่าวดีแบบไม่ได้คาดหมาย (Unexpected Good News) นักลงทุนจะรุมซื้อ และทำให้หุ้นปรับตัวขึ้นในที่สุด
ในทางกลับกัน ถ้านักลงทุนได้คาดการณ์เหตุการณ์นั้นแล้ว ซื้อหุ้นเข้าพอร์ตแล้ว หุ้นตัวนั้นจะกลายเป็น สภาพ “Over-owned” คือสภาพที่ทุกคนมีหุ้นตัวนั้นอยู่ในพอร์ต เมื่อข่าวดีออกมา จะถูกเทขายทำกำไรทันที กลายเป็นสภาพ Buy on expectations and sell on facts
ผมได้รวบรวมเหตุการณ์ 13 เหตุการณ์ (จริงๆมีมากกว่านี้มาก) ที่จะเป็นตัวผลักดัน หรือทำให้หุ้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นในขณะที่ราคายังต่ำอยู่
กรณีที่ 1 : ผลการดำเนินงาน “มากกว่า” คาดหมาย (Results beat market expectations) เช่น หุ้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีตัวหนึ่ง นักวิเคราะห์และนักลงทุนได้คาดการณ์ว่า ผลกำไรในไตรมาส 1 ของปี 2548 ได้กำไรกว่า 2,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 250 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกันกับไตรมาสเดียวกันนี้แล้ว ซึ่งเป็นผลการเติบโตของกำไรอย่างมหาศาล แต่เมื่อบริษัทได้ประกาศผลการดำเนินงานแล้ว ก็เป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาด
แต่ราคาหุ้นตัวนั้นกลับถูกแรงเทขายทำกำไร แสดงว่าการคาดการณ์ผลการประกอบการที่ดีนั้นได้ถูกคาดการณ์และนักลงทุนได้ซื้อหุ้น (Build Position) ไว้แล้ว นักลงทุนกลับมุ่งความสนใจไปในผลการดำเนินงานในไตรมาสถัดไปทันที (Forward Expectation) แต่ในทางกลับกัน ถ้าผลกำไรของบริษัทได้เพิ่มเป็น 4,000 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้มาก หุ้นบริษัทปิโตรเคมีตัวนั้นจะตอบสนองในทางบวกทันที เนื่องจากบรรดานักวิเคราะห์ จะพากันพาเหรดกันปรับผลกำไรขึ้นทันที (Upgrade and Re-rate)
กรณีที่ 2 : งบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานหลังหักงบลงทุน (Free Cash Flow) เป็นบวกในไตรมาสแรกหลังจากติดลบมานาน ผมได้ศึกษาเรื่องนี้มา 15 บริษัท พบสิ่งที่น่าสนใจว่า บริษัทใดก็ตามที่มี Free Cash Flow หรืองบกระแสเงินสดจากการดำเนินงานหลังหักงบลงทุนเป็นบวกในไตรมาสแรก หลังจากติดลบมาหลายๆ ปี ราคาหุ้นตัวนั้นจะมีการตอบสนองเป็นบวก และบวกมากๆด้วย
การที่ Free Cash Flow เป็นบวก สะท้อนให้เห็นถึงธุรกิจกำลังฟื้นตัว (Turn Around) เนื่องจากบริษัทได้ผ่านขั้นตอนการลงทุนไปแล้ว และพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวดอกผลจากการลงทุนนั้น กระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่เหลือจากการลงทุน สามารถคืนหนี้ได้เร็วขึ้น และจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นเร็วขึ้น แต่ถ้า Free Cash Flow ยังคง “ติดลบ” หมายความว่า บริษัทต้องกู้เงินเพิ่ม หรืออาจต้องรบกวนกระเป๋าเงินผู้ถือหุ้นเพิ่มโดยการเพิ่มทุน
เช่นในปี 2546 Free Cash Flow ของ บมจ.สามารถ คอร์ปอเรชั่น (SAMART) เป็นบวกครั้งแรกในไตรมาส 3 ในรอบหลายปี ประกอบกับบริษัทได้ประสบความสำเร็จ ในการปรับโครงสร้างหนี้ด้วย หนี้ได้ลดลงอย่างมหาศาลในปีนั้น ทำให้ราคาหุ้นของ SAMART ได้ทะยานขึ้นราว 4-5 เท่า ในระยะ เวลา 1 ปี
กรณีที่ 3 : การเปลี่ยนแปลงภาวะอุตสาหกรรม หุ้นจะเป็นไปตามวัฏจักรของอุปสงค์และอุปทาน (Demand and Supply) ซึ่งจะมีผลต่ออำนาจการต่อรอง (Pricing Power) ของผู้ซื้อและผู้ขาย และกระทบต่อกำไร (Margins) ของผู้ขาย
เช่นเมื่อปี 2539 ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ในประเทศไทย มีจำนวนผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Property Development) จำนวนมากกว่า 2,000 ราย แต่เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ จำนวนผู้ประกอบการกลับลดลงเหลือแค่ 100-200 ราย ในขณะที่ความต้องการบ้านถึงแม้จะลดลงแต่การลดลงยังน้อยกว่าจำนวนผู้ประกอบการ ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่เหลืออยู่ ซึ่งแน่นอนต้องเป็นผู้แข็งแกร่งเท่านั้นที่อยู่รอด สามารถกำหนดราคาขายได้
ในช่วงปี 2542-2547 เป็นยุคทองของผู้แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ เช่น บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LH) ในกรณีที่ผู้ขายรายอื่นล้มหายตายไป หรืออยู่ในระหว่างปรับโครงสร้างหนี้ LH กลับสามารถทำกำไรขั้นต้น (Gross Margins) โตถึง 40-45 เปอร์เซ็นต์ แทบจะสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของวงการสังหาริมทรัพย์
ลักษณะวัฏจักรอุตสาหกรรมแบบนี้เรียกว่า “Oligopoly Business” (อุตสาหกรรมที่มีผู้ประกอบการน้อยราย แต่ผู้ประกอบการสามารถตั้งราคาขายที่มีกำไรสูงได้) ซึ่งอำนาจในการกำหนดราคา (Pricing Power) จะอยู่ที่ผู้ขาย หุ้นของบริษัทในอุตสาหกรรมจะปรับตัวขึ้นอย่างมาก เช่น ราคาหุ้น LH ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 20 บาท (Par 10 บาท) มาเป็น 14 บาท (Par 1 บาท) เนื่องจากกำไรจะพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เมื่อไรก็ตามที่กำไรมากก็ต้องดึงดูดจำนวนผู้ประกอบการเข้ามามากขึ้น รวมทั้งผู้ประกอบการรายเก่าที่ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้สินมา มีการลดเงินต้นและลดดอกเบี้ยมากมาย ทำให้ต้นทุนของบริษัทเหล่านี้ถูกลง
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ มีผู้ประกอบการหน้าใหม่และหน้าเก่าเกิดขึ้นแทบจะทุกวันในปี 2546 ถึง 2547 วัฏจักรอุตสาหกรรมเปลี่ยนทันทีจาก Oligopoly เป็นการแข่งขันกันอย่างค่อนข้างดุเดือด (Perfect Competition) ราคาหุ้นของบริษัทในกลุ่มนี้ก็ลดลงอย่างรวดเร็ว
เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมัน โรงกลั่นโรงสุดท้ายที่สร้างขึ้นในประเทศไทย ซึ่งสร้างเมื่อปี 2538-2539 จากนั้นเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ โรงกลั่นไม่ว่าจะดีอย่างไรก็ขาดทุนมหาศาล ไม่ว่าจะเป็น บมจ.ไทยออยล์ (THAI OIL), บมจ.สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง จำกัด (STAR Refinery) เนื่องจากหนี้เพิ่มขึ้นและความต้องการลดลงอย่างรวดเร็ว เป็นอุตสาหกรรมที่นักลงทุนหลบเลี่ยงในช่วงนั้น ราคาหนี้ของโรงกลั่นเหล่านี้ถูกเทขายในราคา 25 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าตลาด (ราคาได้ตกต่ำกว่าราคาหนี้มาก) จากนั้นใช้เวลาประมาณเกือบ 8-9 ปี ทำให้กลุ่มโรงกลั่นถึงมีกำไรมากๆถึงปีละกว่า 1 หมื่นล้านบาท ธนาคารที่ซื้อหนี้ของไทยออยล์ ที่ราคา 25-30 เปอร์เซ็นต์ ของราคาหน้าตั๋ว แล้วแปลงหนี้เป็นทุนสามารถทำกำไรมหาศาล
กรณีที่ 4 : การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์หรือแก้ไขสัญญาสัมปทาน เช่น ในกรณี บมจ.ไอทีวี (ITV) เมื่อปี 2547 ที่ได้รับการลดค่าสัมปทานจากที่ต้องจ่ายปีละกว่า 1,000 ล้านบาท มาเป็นจ่ายปีละ 200-300 ล้านบาท หรือการที่บริษัทยูบีซี (UBC) สามารถมีโฆษณาในเคเบิลทีวีได้ ตลอดจนการแก้ไขส่วนแบ่งรายได้ของบริษัท โทรคมนาคมต่างๆ ซึ่งการแก้ไขเหล่านี้ ค่าต้นทุนและการแบ่งรายได้กับภาครัฐลดลง ผลกำไรของบริษัทนั้นเพิ่มขึ้น แต่ถ้ามีการกลับคืนของสัญญาสัมปทาน ราคาหุ้นก็พร้อมจะปรับตัวลงทันที
กรณีที่ 5 : การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นรายใหม่หรือเป็นมืออาชีพ (Strategic Partner) เช่น ในกรณีที่ บมจ.แมกเนคคอมพ์ พรีซิชั่น (Magnecomp) เข้าซื้อกิจการ บมจ.เค อาร์ พรีซิชั่น (KRP) เมื่อปลายปี 2547 ในอดีต KRP ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์แขนจับหัวอ่าน ในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ขาดทุนมาตลอด 5-6 ปีที่ผ่านมา และต้องมีการเพิ่มทุนอยู่เสมอ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และ KRP ไม่สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้
เมื่อแมกเนคคอมพ์ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญทางด้านนี้เข้าซื้อกิจการของ KRP โดยการออกหุ้น ทำการแลกหุ้น (swap) และเอาโรงงานของแมกเนคคอมพ์ในสิงคโปร์มา ภายในไตรมาสแรกหลังเข้าซื้อกิจการ บริษัท KRP และแมกเนคคอมพ์มีผลการประกอบการที่ดีขึ้น นอกจากนี้ราคาที่แลกหุ้นกัน ทำให้เกิดค่าความนิยม (Good Will) น้อยมาก ทำให้บริษัทแมกเนคคอมพ์ไม่ต้องมีการคิดค่าใช้จ่ายทางด้านความนิยมด้วย หรือในกรณี บมจ.อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไทย (TPI) ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น บมจ.ไออาร์พีซี (IRPC) ซึ่งบมจ. ปตท. (PTT) และ “พันธมิตร” ได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนในราคาหุ้นละ 3.30 บาท นักลงทุนก็มีความเชื่อว่า หลังจากที่ บมจ.ปตท เข้ามาบริหารงานใน IRPC อาจจะทำให้มูลค่าหุ้นของ IRPC เพิ่มขึ้นกว่ามูลค่าทางบัญชีได้
กรณีที่ 6 : หุ้นที่ได้รับความสนใจภายใต้สภาพเศรษฐกิจภาวะใดภาวะหนึ่ง ในปกติสภาวะเศรษฐกิจจะมีทั้งเงินเฟ้อและเงินฝืด ในสภาวะใดสภาวะหนึ่งของเศรษฐกิจ อาจก่อให้เกิดกระแสเกี่ยวกับการลงทุน (Investment Theme) เกิดขึ้น
เช่น ในภาวะเงินฝืด (Deflation) ซึ่งเป็นสภาวะที่ปริมาณสินค้ามีมากกว่าความต้องการ (Over Capacity) ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจขยายตัวลดลง กำลังซื้อหดอย่างฉับพลัน ผู้บริโภคชะลอการซื้อ ทำให้สินค้าหลายอย่างขายไม่ได้ กระแสการลงทุนในช่วงนี้จะเน้นไปสู่หุ้นกลุ่มที่มีอำนาจผูกขาด (Monopoly) หรือมีอำนาจเหนือผู้บริโภค เช่น หุ้นกลุ่มพลังงาน ผู้บริโภคจำเป็นต้องใช้พลังงาน ทำให้หุ้นกลุ่มพลังงานขนาดใหญ่บางบริษัทมีอำนาจในการผูกขาดหรือเกือบผูกขาดเป็นระยะเวลานาน อำนาจกึ่งผูกขาดนี้อาจมาจากสิทธิมอบให้จากภาครัฐ หรือความที่บริษัทนั้นมีส่วนแบ่งตลาดมหาศาลจนสามารถกำหนดราคาได้ หรือเป็นบริษัทที่กระแสเงินสดแข็งแกร่ง จนกระทั่งการขยายตลาดในอนาคตนำไปสู่การผูกขาดในระยะยาว (Life-long Monopoly) เงินจะไหลไปสู่การลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้และจะทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ
กรณีที่ 7 : การเป็นบริษัทหายาก (Scarcity) โดยลักษณะผลิตภัณฑ์หรือรายได้ของบริษัทเหล่านี้ต้องไม่เหมือนใครในท้องตลาด (มี Unique and Scarcity) จะมีอุปสงค์ (Demand) สูงทำให้นักลงทุนยินดีที่จะจ่ายราคาแพง (Premiums) เพื่อซื้อหุ้นกลุ่มนี้
P/E Ratio ของหุ้นกลุ่มนี้จะไม่ต่ำ และจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ตราบเท่าที่นักลงทุนให้ Premium กับหุ้นกลุ่มนี้ เช่น หุ้นในกลุ่มพลังงานตัวหนึ่ง ทำพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งสามารถซื้อขายที่ PE สูงถึง 20-30 เท่าได้ ตราบเท่าที่บริษัทจะมีผลกำไรเติบโตอย่างก้าวกระโดด แต่ถ้าผลกำไรเติบโตลดลง หุ้นก็มีโอกาสปรับตัวลงได้อย่างมาก
กรณีที่ 8 : หุ้นที่ได้ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้และธุรกิจ จนสามารถพลิกฟื้นสถานการณ์จากการล้มละลาย (Bankruptcy and Distress) จะสังเกตได้ว่าก่อนวิกฤติทางการเงินปี 2540 บริษัทจดทะเบียนหลายแห่งได้ลงทุนในธุรกิจต่างๆ นอกเหนือจากธุรกิจที่ตัวเองทำและถนัดอยู่ โดยมีความคิดว่าการกระจายความเสี่ยงทางธุรกิจ (Diversified) ถือว่าเป็นบริษัทที่มีวิสัยทัศน์ไกล (High Vision) และสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นได้ โดยที่ตัวเองไม่มีความชำนาญ
การลงทุนส่วนใหญ่จะเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเป็นผู้ถือร่วมในลักษณะการร่วมทุน (Joint Ventures) ในอัตราส่วน 20-25 เปอร์เซ็นต์ โดยหวังจะได้ผลกำไร (Equity Accounting) มาช่วยผลกำไรบริษัทแม่ โดยมิได้สนใจว่าบริษัทร่วมทุนนั้นจะมีเงินปันผลหรือไม่ เพื่อต้องการให้กำไรต่อหุ้นของบริษัทแม่ดูดี เพื่อจะได้ P/E ที่ต่ำ หรืออาจจะจัดตั้งในรูปแบบบริษัท Holding Company ซึ่งบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่งในขณะนี้ใช้โครงสร้างแบบนี้ เพื่อกระจายความเสี่ยงของรายได้
บริษัทก่อสร้างใหญ่ๆ ก็มักทำโครงสร้างแบบร่วมทุนโครงการต่างๆเพื่อการประมูลงาน หรือเข้าไปถือในบริษัทซัพพลายเออร์ โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่มักเป็นเงินกู้ เมื่อเศรษฐกิจถดถอย กระแสเงินสดในบริษัทร่วมทุนเหล่านี้ไม่สามารถที่จะชำระดอกเบี้ยเงินกู้ของบริษัทแม่ที่ยืมมาร่วมทุนได้ ทำให้ต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้ มีการลดเงินต้นและลดดอกเบี้ย (Hair cut) ทำให้มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้นเพิ่มสูงขึ้น และมีการขายทรัพย์สินที่ไม่ใช่สินทรัพย์หลัก (Non-core Assets) เช่น บริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่ที่สุดของไทย ซึ่งแน่นอนว่าราคาหุ้นของบริษัทนั้นจะทรุดหนัก แต่นักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนสูงเป็นพิเศษ ต้องหาจังหวะลงทุนในช่วง “ราคาที่ถูกทุบลงมา” (Distress) โดยที่เราต้องศึกษาและมั่นใจว่า บริษัทนั้นต้องไม่ถูก “ลดทุน” หรือถูก Written off ในส่วนของทุนจดทะเบียนจนหมด ผมเคยแนะนำให้ “เฮดจ์ฟันด์” ลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้ ผลตอบแทน 14 เท่า ในรอบ 2 ปี
กรณีที่ 9 : การนำบริษัทลูก (Subsidiary) หรือบริษัทร่วม (Associates) เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะเพิ่มมูลค่าให้บริษัทแม่ เพราะบริษัทแม่สามารถมี “กำไรที่ยังไม่รับรู้” (Unrealized Gains) เนื่องจากเป็นมูลค่าซ่อนเร้น ทำให้มูลค่าสินทรัพย์ของบริษัทแม่เพิ่มขึ้น ถ้ามูลค่าของบริษัทลูกหรือบริษัทร่วมอยู่ในงบดุลของบริษัทแม่ มูลค่าเหล่านั้นจะถูกบันทึกเป็นมูลค่าทางบัญชีเท่านั้น แต่ถ้าบริษัทลูกและบริษัทร่วมนั้นถูกจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มูลค่านั้นจะเป็น “มูลค่าตลาดทันที” (Market value) ซึ่งโดยเฉลี่ยจะมีมูลค่าประมาณ 2-3 เท่าของมูลค่าทางบัญชี
บริษัทจดทะเบียนหลายบริษัทที่ได้ใช้กลยุทธ์ดังกล่าว เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถค้นหาได้ว่า บริษัทไหนมีมูลค่าซ่อนเร้นอยู่โดยการเปลี่ยนจากมูลค่าทางบัญชีเป็นมูลค่าตลาด เราก็ลงทุนหุ้นตัวนั้นล่วงหน้าก่อน ก่อนที่คนทั่วไปจะค้นพบ
กรณีที่ 10 : บริษัทที่มีโครงสร้างทางการเงินหรือธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อการควบรวมกิจการ (Merger and Acquisitions) การควบรวมกิจการจะเกิดขึ้นได้ ถ้าบริษัทที่ต้องการซื้อ (Acquirers) เห็นประโยชน์ที่ “ซ่อนเร้น” (Hidden) หรือไม่ซ่อนเร้นในกิจการที่บริษัทกำลังถูกซื้อหรือ “ควบรวมกิจการ” (Takeover Target) ทำให้เกิดการเก็งกำไรได้ บริษัทที่มีโอกาสถูกควบรวมกิจการ มักมีลักษณะ
ก.เป็นบริษัทที่มีสินทรัพย์ (Assets) , ที่ดิน (Land Bank) หรือใบอนุญาต (Licenses) ที่ซ่อนอยู่มหาศาล จนกระทั่งมูลค่าของสินทรัพย์เหล่านั้น มีมูลค่ามากกว่ามูลค่าหุ้นทั้งหมดของบริษัท (Market Capitalization) หรือมากกว่ามูลค่ากิจการทั้งหมดของบริษัท (Enterprise Value) อย่าลืมว่า Enterprise Value จะมีค่าเท่ากับมูลค่า หนี้สินสุทธิ + มูลค่าหุ้นทั้งหมดของบริษัท ซึ่งโดยปกติมูลค่า Enterprise value จะมีค่ามากกว่ามาร์เก็ตแคปเสมอ ยกเว้นในกรณีที่บริษัทนั้นเป็นบริษัทที่ไม่มีหนี้หรือมีเงินสดในมือ
ข.บริษัทที่ขาดทุนสะสมมากจนสามารถนำ “ขาดทุนสะสม” (Loss Carried Foreword) มาใช้ในการหักภาษีได้
ค.มีเงินสดในมือมากกว่ามาร์เก็ตแคป จะเห็นว่า บางช่วงขณะ ราคาหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์บางบริษัทได้ตกลงมามาก จนกระทั่งมูลค่าเงินสดในงบดุลมากกว่ามาร์เก็ตแคปเสียอีก ทำให้เป็นโอกาสในการถูกซื้อกิจการเพื่อเอาเงินสดในบริษัทได้
ง.การควบรวมกิจการในลักษณะแนวดิ่ง (Vertical Integration) ซึ่งสามารถทำได้ทั้งทางขึ้นหรือต้นน้ำ (Upward) และทางลงหรือปลายน้ำ (Downward) เช่น บมจ.ปิโตรเคมีแห่งชาติ หรือ NPC มีความพยายามที่จะ ขยายกิจการไปทางปลายน้ำ เพื่อลดความผันผวนของกำไรและราคาผลิตภัณฑ์ที่บริษัทผลิตอยู่ หรือกรณีกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดโอกาสให้ทำธนาคารเต็มรูปแบบ (Universal Banking) ทำให้ธนาคารขนาดใหญ่เหล่านี้ต้องการต่อยอดธุรกิจสินเชื่อประเภทเช่าซื้อ หรือ Leasing ที่ตัวเองยังไม่มีความถนัด กลุ่มบริษัท Leasing หรือสถาบันการเงินที่จะเป็นเป้าหมายในการควบรวมกิจการของธนาคารพาณิชย์ บริษัทที่ถูกเข้าซื้อจะมีลักษณะทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงในอัตราส่วนที่สูงหรือกองทุนขั้น 1 เช่น ประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ โดยปกติ สถาบันการเงินถ้ามีทุน 10 บาท สามารถขยายสินเชื่อได้ 10-12 เท่า หรือ 100 บาท หรือ 120 บาท ถ้ามี “อัตราส่วนกองทุนขั้นที่หนึ่งสูง” หมายความว่า สถาบันการเงินนั้นสามารถขยายสินเชื่อเพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องเพิ่มทุน
นอกจากนี้การควบรวมอาจจะควบรวมกิจการทางแนวราบ (Horizontal Integration) เพื่อลดจำนวนคู่แข่งหรือสกัดดาวรุ่งก็ได้ เช่น การควบรวมกิจการระหว่างเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป (MAJOR) กับ อีจีวี (EGV) แต่การควบรวมกิจการแบบนี้อาจก่อให้เกิดค่า “กู๊ดวิลล์” (Good will หรือส่วนต่างระหว่างราคาซื้อขายกับ มูลค่าทางบัญชี) และจะทำให้บริษัทที่เป็นบริษัทแม่ (Acquirers) มีกำไรที่ลดลงจากการตัดค่าใช้จ่ายทางกู๊ดวิลล์ ได้ แต่ถ้าการควบรวมกิจการเป็นไปในลักษณะการเกิดบริษัทใหม่ หรือ Amalgamation เช่นกรณี บมจ.ปิโตรเคมี แห่งชาติ (NP) กับ บมจ.ไทยโอเลฟินส์ (TOC) การรวมลักษณะนี้ทำให้ บมจ.การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่สามารถมีสิทธิในการออกเสียงได้ ตลอดจนนำไปสู่การลดสัดส่วนการถือหุ้นของ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้น บมจ.ไทยโอเลฟินส์ ได้
เหมือนสมัยหนึ่งนานมาแล้ว บริษัทเคเบิลทีวี 2 แห่งในประเทศไทย เช่น ยูทีวี กับ ไอบีซี รวมกันเกิดบริษัท ใหม่เป็น “ยูบีซี” แต่ถ้าการควบรวมแบบซื้อกิจการเลยเหมือนในกรณีเมเจอร์ ผู้ถือรายใหญ่จะไม่มีสิทธิในการออก เสียง
กรณีที่ 11 : การเพิ่มทุนแต่กลับทำให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นและทำให้หุ้นปรับตัวขึ้น เช่น กรณีบมจ.อาปิโก ไฮเทค (AH) ที่มีการเพิ่มทุนในปี 2546 และการเพิ่มทุนนี้ทำให้ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return on Assets) หลังเพิ่มทุนสูงขึ้น
กรณีที่ 12 : การที่บริษัทสามารถเริ่มจ่ายเงินปันผลให้เป็นครั้งแรก (Dividend Signaling) ไม่ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม ราคาหุ้นจะตอบสนองในทางบวกทันที เช่น บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น (SHIN) เริ่มจ่ายปันผลในปี 2546 หลังจากเป็น Holding company ที่ไม่จ่ายปันผลเสียนาน ราคาหุ้น SHIN ก็เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อมา
กรณีที่ 13 : การที่ราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าสร้างใหม่ (Replacement Cost) มาก ซึ่งจะทำให้หุ้นของบริษัทนั้นมีการปรับตัวขึ้นมาก เช่น HMPRO (เมื่อกลางปี 2547) TPI (เมื่อกลางปี 2547 เช่นกัน) รายละเอียดในเรื่องนี้ ผมจะขยายความต่อไป เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะเราสามารถหาหุ้นที่มีโอกาสปรับตัวขึ้นสูงเป็น ร้อยเปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ราคายังต่ำอยู่
ส่วนหนึ่งจากหนังสือ Money Game โดย วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล
ที่มา : http://www.thaistockinfo.com/forum2010/f0058.html
====================================================
Source : http://www.sarut-homesite.net/2011/07/% ... %e0%b8%ab/
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 272
edit :
นี่เป็นอีก "หนึ่งแหล่งข้อมูล" ที่รวมเนื้อหาดีๆไว้อย่างมากมาย...ควรค่าแก่การเข้าไปค้นคว้ายิ่งนัก
ต้องขออนุญาต คุณ i_sarut ในการนำมาเผยแพร่บอกต่อด้วยนะครับ
...เพราะมันเยี่ยมจริงๆครับผม
ที่ http://www.sarut-homesite.net/
pak
นี่เป็นอีก "หนึ่งแหล่งข้อมูล" ที่รวมเนื้อหาดีๆไว้อย่างมากมาย...ควรค่าแก่การเข้าไปค้นคว้ายิ่งนัก
ต้องขออนุญาต คุณ i_sarut ในการนำมาเผยแพร่บอกต่อด้วยนะครับ
...เพราะมันเยี่ยมจริงๆครับผม
ที่ http://www.sarut-homesite.net/
pak
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 328
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 273
NCH จะเป็นอีกตัวที่ TURNAROUND หรือเปล่าครับ
เห็นใน PANTIP น่าสนใจ
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... ินที่พัทยา จะมีเงินสดเกือบ 1 พันล้านบาท
หนี้บริษัทมีน้อยมาก
ที่ดินที่จะพัฒนาต่อไปมี 800 ไร่ ทำได้อีก 4 ปี
โดยปีหน้าไม่ต้องซื้อที่ดินเพิ่ม
ปันผล สิบกว่าสตางค์ อีกไม่นานก็ได้แล้ว
10:28 07/10/2011
In The News : NCH : บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส
7 ต.ค.--ดีบีเอส วิคเคอร์ส
Distributor - Bisnews AFE
In The News
NCH คำแนะนำ ซื้อ
ราคาปิด 1.10 บาท ราคาพื้นฐาน 1.76 บาท
วันนี้ดีเดย์โอนที่ดินรับ 437.6 ล้านบาท
o เพื่อความมั่นใจ วานนี้เราได้ตรวจสอบกับทางบริษัทว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเปล่า
หาดจอมเทียน พัทยา จำนวน 24 ไร่ ในราคาขายสูงเป็น 547 ล้านบาท เป็นไปตามกำหนดการคือ วันนี้
หรือ 7 ต.ค.54 หรือไม่ ทางบริษัทได้ยืนยันว่าเป็นไปตามแผนอย่างแน่นอน เราเห็นว่าเป็นเรื่องดีที่บริษัท
จะทำได้ตามประมาณการของเรา ส่วนเงื่อนไขการชำระเงินนั้น ลูกค้าได้แบ่งการจ่ายเป็น 3 งวดคือ 1) 1
เม.ย.54 จ่าย 54.7 ล้านบาท 2) ก.ค.54 จ่าย 54.7 ล้านบาท และ 3) 7 ต.ค.54 วันโอนกรรมสิทธิ์
รับเงินงวดสุดท้าย 437.6 ล้านบาท
o สำหรับการบันทึกรายได้จากการขายที่ดินเปล่าจะเกิดขึ้นในงวด 4Q54 ในจำนวนทั้ง
หมดที่ 547 ล้านบาท ที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ แต่สำหรับการรับเงินใน 2 งวดแรกหรือ 109.4 ล้านบาท
จะบันทึกเป็นเงินรับล่วงหน้าค่าที่ดินเป็นหนี้สินไปก่อนในงวด 9M54 ก็แสดงว่าผลการดำเนินงานใน 4Q54
จะออกมาดีมาก ขณะที่ในงวด 9M54 ยังไม่มีการบันทึกรายได้และกำไรจากการขายที่ดินเปล่าแต่อย่างใด
เราคาดว่าบริษัทจะมีกำไรสุทธิหลังหักภาษีจากการขายที่ดินเปล่าถึง 237 ล้านบาท ผลดีคือ ทำให้กำไรสุทธิปี
54 มากเป็นพิเศษคือ เพิ่มขึ้นจากกำไรปกติปี 54 ที่ 112 ล้านบาท ถึง 112% และคิดเป็นการเติบโตก้าว
กระโดด 280% y-o-y จากเดิมที่กำไรปกติปี 54 เติบโตดีอยู่แล้วที่ 21% y-o-y
o แนะนำ ซื้อ P/E ปี 54 จะลดลงอย่างรวดเร็วเป็นเพียง 3.7 เท่า เทียบกับปี 53 ที่
14.7 เท่า เนื่องจากการเติบโตก้าวกระโดดของกำไรสุทธิปี 54 ประเมินราคาพื้นฐานปี 54 ไว้ที่ 1.76
บาท ซึ่งประเมินด้วย P/E ปี 54 ที่ 6.0 เท่า หรือเทียบเท่า P/BV ปี 54 ที่ 0.9 เท่า ราคาปิดมีส่วน
เพิ่มเทียบกับราคาพื้นฐานได้อีกถึง 60% ส่วนคาดการณ์อัตราผลตอบแทนเงินปันผลปี 54 สูงเป็นพิเศษถึง
10.4%
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... iew=unread
แก้ไขเมื่อ 20 ม.ค. 55 17:54:22
จากคุณ : สม293
บริษัทมีเงินสดเยอะ
และที่ดินยังเหลืออีกมาก ไม่ต้องซื้อเพิ่ม
อาจใจดีปันผลพิเศษมากกว่า 40 %ของกำไรก็ได้
เห็นใน PANTIP น่าสนใจ
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... ินที่พัทยา จะมีเงินสดเกือบ 1 พันล้านบาท
หนี้บริษัทมีน้อยมาก
ที่ดินที่จะพัฒนาต่อไปมี 800 ไร่ ทำได้อีก 4 ปี
โดยปีหน้าไม่ต้องซื้อที่ดินเพิ่ม
ปันผล สิบกว่าสตางค์ อีกไม่นานก็ได้แล้ว
10:28 07/10/2011
In The News : NCH : บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส
7 ต.ค.--ดีบีเอส วิคเคอร์ส
Distributor - Bisnews AFE
In The News
NCH คำแนะนำ ซื้อ
ราคาปิด 1.10 บาท ราคาพื้นฐาน 1.76 บาท
วันนี้ดีเดย์โอนที่ดินรับ 437.6 ล้านบาท
o เพื่อความมั่นใจ วานนี้เราได้ตรวจสอบกับทางบริษัทว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเปล่า
หาดจอมเทียน พัทยา จำนวน 24 ไร่ ในราคาขายสูงเป็น 547 ล้านบาท เป็นไปตามกำหนดการคือ วันนี้
หรือ 7 ต.ค.54 หรือไม่ ทางบริษัทได้ยืนยันว่าเป็นไปตามแผนอย่างแน่นอน เราเห็นว่าเป็นเรื่องดีที่บริษัท
จะทำได้ตามประมาณการของเรา ส่วนเงื่อนไขการชำระเงินนั้น ลูกค้าได้แบ่งการจ่ายเป็น 3 งวดคือ 1) 1
เม.ย.54 จ่าย 54.7 ล้านบาท 2) ก.ค.54 จ่าย 54.7 ล้านบาท และ 3) 7 ต.ค.54 วันโอนกรรมสิทธิ์
รับเงินงวดสุดท้าย 437.6 ล้านบาท
o สำหรับการบันทึกรายได้จากการขายที่ดินเปล่าจะเกิดขึ้นในงวด 4Q54 ในจำนวนทั้ง
หมดที่ 547 ล้านบาท ที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ แต่สำหรับการรับเงินใน 2 งวดแรกหรือ 109.4 ล้านบาท
จะบันทึกเป็นเงินรับล่วงหน้าค่าที่ดินเป็นหนี้สินไปก่อนในงวด 9M54 ก็แสดงว่าผลการดำเนินงานใน 4Q54
จะออกมาดีมาก ขณะที่ในงวด 9M54 ยังไม่มีการบันทึกรายได้และกำไรจากการขายที่ดินเปล่าแต่อย่างใด
เราคาดว่าบริษัทจะมีกำไรสุทธิหลังหักภาษีจากการขายที่ดินเปล่าถึง 237 ล้านบาท ผลดีคือ ทำให้กำไรสุทธิปี
54 มากเป็นพิเศษคือ เพิ่มขึ้นจากกำไรปกติปี 54 ที่ 112 ล้านบาท ถึง 112% และคิดเป็นการเติบโตก้าว
กระโดด 280% y-o-y จากเดิมที่กำไรปกติปี 54 เติบโตดีอยู่แล้วที่ 21% y-o-y
o แนะนำ ซื้อ P/E ปี 54 จะลดลงอย่างรวดเร็วเป็นเพียง 3.7 เท่า เทียบกับปี 53 ที่
14.7 เท่า เนื่องจากการเติบโตก้าวกระโดดของกำไรสุทธิปี 54 ประเมินราคาพื้นฐานปี 54 ไว้ที่ 1.76
บาท ซึ่งประเมินด้วย P/E ปี 54 ที่ 6.0 เท่า หรือเทียบเท่า P/BV ปี 54 ที่ 0.9 เท่า ราคาปิดมีส่วน
เพิ่มเทียบกับราคาพื้นฐานได้อีกถึง 60% ส่วนคาดการณ์อัตราผลตอบแทนเงินปันผลปี 54 สูงเป็นพิเศษถึง
10.4%
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... iew=unread
แก้ไขเมื่อ 20 ม.ค. 55 17:54:22
จากคุณ : สม293
บริษัทมีเงินสดเยอะ
และที่ดินยังเหลืออีกมาก ไม่ต้องซื้อเพิ่ม
อาจใจดีปันผลพิเศษมากกว่า 40 %ของกำไรก็ได้
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 274
ขออนุญาตนำมาเก็บไว้ในกระทู้นี้หน่อยนะครับ
เป็นคำถามจาก FB ของผมอ่ะนะครับ มีดังนี้ครับ
v
v
===================================================================
อยากสอบถามพี่อ๋องเพื่อเป็นความรู้นิดหนึ่งครับ
-เหตุผลของผู้บริหารPAEไม่ค่อยเห็นซื้อหุ้นคืน(ยกเว้นคุณอภิสิทธิ์)ในช่วง 90 สตางค์ไม่เห็นเลยถ้าเทียบกับ บริษัทต่างๆ raimon Bland
-Bland เจ้าของซื้อหุ้นไม่หยุดเลยครับ ทำไมถ้า PAE จะ turn ทำไมเจ้าของไม่ไล่เก็บหุ้นบ้าง ครับ สมมุติถ้าเขาซื้อในชื่อคนอื่นเพราะอะไรครับ(จะได้เป็นกรณีศึกษาของผมด้วยครับ)
ตอบ
ผมเองมองว่า..."Handicap มันต่างกันมากเหลือเกินครับ!!!"
เพราะ "ผู้บริหารรู้ข้อมูลจริงทุกอย่าง ในขณะที่พวกเราไม่รู้อะไรจริงๆซักอย่าง(นอกจากต้องคาดการณ์เอาเอง)"
เพราะผู้บริหารท่านต้อวนั่งประชุมบอร์ดฯ เพื่อรับฟังผลการดำเนินงานและกลยุทธ์ต่างๆทั้งหมด
ดังนั้น ท่านจะรู้ทุกอย่าง ว่า "ประมาณการรายได้เป็นอย่างไร? ไตรมาสนี้น่าจะกำไรเท่าไหร่?"
ดังนั้น ผมมีความเห็นส่วนตัวใน 2 ข้อ ว่า...
1. ดูไม่เหมาะสมครับ ถ้าผู้บริหารลงมาเล่นหุ้นแข่งกับรายย่อย
ดังนั้นการซื้อขายที่เหมาะสมของผู้บริหาร จึงน่าจะเป็น "Strategic Transaction" เป็นครั้งคราวมากกว่าครับ
2. การเข้าซื้อขาย ต้องมีการแจ้งต่อตลาดฯ
ดังนั้นถ้าซื้อผ่านนอมินี (หรือ "บัญชี 2") ก็ไม่จำเป็นต้องแจ้งใคร
ซึ่งจะส่งผลให้มีความคล่องตัวมากกว่าครับ
สรุปว่า ผู้บริหารเราไม่เล่นหุ้น และไม่ใช้รายการดังกล่าวมาชี้นำแก่นักลงทุนแบบพร่ำเพรื่อแบบนี้ ผมโอเคแล้วนะครับ
-หุ้น turn around คือหุ้นที่กำลังจะเติบโตไปเรื่อยๆใช่หรือเปล่าครับ ในกรณีที่ ทำบ้านหรือคอนโดที่เสร็จแล้วจะมีกำไรมากเป็นพิเศษในบางไตรมาส นี่เรียก turnaround หรือเปล่าครับ เราควรลงทุนในหุ้นประเภทนี้ยังงัยครับ
ตอบ
การ Turnaround ของธุรกิจมีมากมายหลายรูปแบบครับ
ตัวอย่างที่กำลังฮิต เช่น...
- บริษัท โกดัก อายุกว่า 130 ปี เพิ่งจะประกาศขอยื่นล้มละลายไปไม่นานนี้ ถ้าเค้าคิดอยากจะ Turnaround คงน่าสนใจ แต่ก็คงไม่ใช่เรื่องง่ายครับ
- การรถไฟฯบ้านเรา ขาดทุนมาโดยตลอด แต่กำลังจะพยายาม Turnaround ด้วยการให้เช่าที่ดินที่มีศักยภาพในการเปิด Shopping Mall
และยังกำลังตัดสินใจครั้งใหญ่ในการลงทุน "รถไฟความเร็วสูง" เพื่อพลิกผันผลประกอบการของตนเอง
- ปั๊มน้ำมัน ขายน้ำมันกำไรลิตรละ 30 สต. ไปไม่รอด
แต่ ปั๊ม ปตท. ตัดสินใจผันตัวเองเข้าสู่ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 7-11 และกาแฟสด Cafe Amazon ที่มี Margin มากมายกว่ามากนัก
ดังนั้น การ Turnaround ที่สมบูรณ์แบบ คือ การแก้ไขปัญหาแบบ "สิ้นเชิง" และ "แก้ที่ต้นเหตุของปัญหาอย่างแท้จริง"
ประเภท Turnaround แบบฉาบฉวย เช่น มีกำไรรอบเดียว One Gain Time
หรือประเภท Turnaround แบบวูบวาบ เช่น การขายบ้านหรือคอนโด ที่ผลประกอบการเป็นไปตามการโอนและการรับรู้รายได้
...เหล่านี้ ล้วนไม่ "ยั่งยืน" หรือ Sustainable
ดังนั้น ถามตัวเองครับว่า บริษัทฯที่เราจะตัดสินใจลงทุน มันแก้ปัญหาแบบ "สิ้นเชิง" และ "ยั่งยืน" ได้หรือไม่?
-หุ้น turn around กับหุ้นก้นบุหรี่ เป็นตัวเดียวกันหรือเปล่าครับ ที่ผมเข้าใจคือ
หุ้น turnaround คือหุ้นที่เกิดวิกฤต แล้วก็ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรณ์แล้วกลับมายิ่งใหญ่เช่นเดิมและเติบโตเรื่อยๆ
หุ้นก้นบุหรี่ประมาณว่าหุ้นยังพอมีคุณค่าเหลืออยู่บ้างแต่คนไม่ค่อยสนใจ พอเก็บกลับมาสูบพอได้ชื่นใจแล้วก็หมอดดับไป
ตอนแรกว่าจะไม่กล้าถาม แต่ถ้าไม่ถามก็ไม่รู้
ตอบ
อันนี้แล้วแต่ "สำนัก" มั้งครับ 555+
สำหรับพี่เอง มองว่า "หุ้นก้นบุหรี่" คือ หุ้นที่ไม่มีคนสนใจ โยนทิ้งเรี่ยราดอยู่ตามถังขยะ
หรือประหนึ่งว่า ไม่มีคนเห็นคุณค่าของมันแล้ว!!!
แต่เรากลับมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่ทิ้งไว้ตามพื้นดินนั้น เราจึงเก็บสะสมมันขึ้นมา ในขณะที่คนอื่นทิ้งขว้างมัน
ดังนั้น มันจึงมีราคาถูกกว่าความเป็นจริง (ซึ่งนี่ก็คือแก่นแท้ของการลงทุนแบบวีไอครับ คือ การซื้อกิจการที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานที่แท้จริงครับ)
พี่เองคิดแบบนี้นะ...
ขอบคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้าครับ
ยินดีครับ
ปล.มีคนเขาพูดว่าคนที่เล่นหุ้นประเภทนี้ได้ดีจะเป็นคนโรแมนติกมาก พี่เป็นคนโรแมนติกไหมครับ
โรแมนติคไหมไม่รู้ รู้แต่ว่า ต้อง "ใจนิ่ง" มากครับ
นักลงทุนประเภทนี้ ต้องสร้างสมดุลระหว่าง "ความรู้" และ "ความศรัทธา" ให้ได้อย่างเหมาะสมครับ
เป็นคำถามจาก FB ของผมอ่ะนะครับ มีดังนี้ครับ
v
v
===================================================================
อยากสอบถามพี่อ๋องเพื่อเป็นความรู้นิดหนึ่งครับ
-เหตุผลของผู้บริหารPAEไม่ค่อยเห็นซื้อหุ้นคืน(ยกเว้นคุณอภิสิทธิ์)ในช่วง 90 สตางค์ไม่เห็นเลยถ้าเทียบกับ บริษัทต่างๆ raimon Bland
-Bland เจ้าของซื้อหุ้นไม่หยุดเลยครับ ทำไมถ้า PAE จะ turn ทำไมเจ้าของไม่ไล่เก็บหุ้นบ้าง ครับ สมมุติถ้าเขาซื้อในชื่อคนอื่นเพราะอะไรครับ(จะได้เป็นกรณีศึกษาของผมด้วยครับ)
ตอบ
ผมเองมองว่า..."Handicap มันต่างกันมากเหลือเกินครับ!!!"
เพราะ "ผู้บริหารรู้ข้อมูลจริงทุกอย่าง ในขณะที่พวกเราไม่รู้อะไรจริงๆซักอย่าง(นอกจากต้องคาดการณ์เอาเอง)"
เพราะผู้บริหารท่านต้อวนั่งประชุมบอร์ดฯ เพื่อรับฟังผลการดำเนินงานและกลยุทธ์ต่างๆทั้งหมด
ดังนั้น ท่านจะรู้ทุกอย่าง ว่า "ประมาณการรายได้เป็นอย่างไร? ไตรมาสนี้น่าจะกำไรเท่าไหร่?"
ดังนั้น ผมมีความเห็นส่วนตัวใน 2 ข้อ ว่า...
1. ดูไม่เหมาะสมครับ ถ้าผู้บริหารลงมาเล่นหุ้นแข่งกับรายย่อย
ดังนั้นการซื้อขายที่เหมาะสมของผู้บริหาร จึงน่าจะเป็น "Strategic Transaction" เป็นครั้งคราวมากกว่าครับ
2. การเข้าซื้อขาย ต้องมีการแจ้งต่อตลาดฯ
ดังนั้นถ้าซื้อผ่านนอมินี (หรือ "บัญชี 2") ก็ไม่จำเป็นต้องแจ้งใคร
ซึ่งจะส่งผลให้มีความคล่องตัวมากกว่าครับ
สรุปว่า ผู้บริหารเราไม่เล่นหุ้น และไม่ใช้รายการดังกล่าวมาชี้นำแก่นักลงทุนแบบพร่ำเพรื่อแบบนี้ ผมโอเคแล้วนะครับ
-หุ้น turn around คือหุ้นที่กำลังจะเติบโตไปเรื่อยๆใช่หรือเปล่าครับ ในกรณีที่ ทำบ้านหรือคอนโดที่เสร็จแล้วจะมีกำไรมากเป็นพิเศษในบางไตรมาส นี่เรียก turnaround หรือเปล่าครับ เราควรลงทุนในหุ้นประเภทนี้ยังงัยครับ
ตอบ
การ Turnaround ของธุรกิจมีมากมายหลายรูปแบบครับ
ตัวอย่างที่กำลังฮิต เช่น...
- บริษัท โกดัก อายุกว่า 130 ปี เพิ่งจะประกาศขอยื่นล้มละลายไปไม่นานนี้ ถ้าเค้าคิดอยากจะ Turnaround คงน่าสนใจ แต่ก็คงไม่ใช่เรื่องง่ายครับ
- การรถไฟฯบ้านเรา ขาดทุนมาโดยตลอด แต่กำลังจะพยายาม Turnaround ด้วยการให้เช่าที่ดินที่มีศักยภาพในการเปิด Shopping Mall
และยังกำลังตัดสินใจครั้งใหญ่ในการลงทุน "รถไฟความเร็วสูง" เพื่อพลิกผันผลประกอบการของตนเอง
- ปั๊มน้ำมัน ขายน้ำมันกำไรลิตรละ 30 สต. ไปไม่รอด
แต่ ปั๊ม ปตท. ตัดสินใจผันตัวเองเข้าสู่ธุรกิจร้านสะดวกซื้อ 7-11 และกาแฟสด Cafe Amazon ที่มี Margin มากมายกว่ามากนัก
ดังนั้น การ Turnaround ที่สมบูรณ์แบบ คือ การแก้ไขปัญหาแบบ "สิ้นเชิง" และ "แก้ที่ต้นเหตุของปัญหาอย่างแท้จริง"
ประเภท Turnaround แบบฉาบฉวย เช่น มีกำไรรอบเดียว One Gain Time
หรือประเภท Turnaround แบบวูบวาบ เช่น การขายบ้านหรือคอนโด ที่ผลประกอบการเป็นไปตามการโอนและการรับรู้รายได้
...เหล่านี้ ล้วนไม่ "ยั่งยืน" หรือ Sustainable
ดังนั้น ถามตัวเองครับว่า บริษัทฯที่เราจะตัดสินใจลงทุน มันแก้ปัญหาแบบ "สิ้นเชิง" และ "ยั่งยืน" ได้หรือไม่?
-หุ้น turn around กับหุ้นก้นบุหรี่ เป็นตัวเดียวกันหรือเปล่าครับ ที่ผมเข้าใจคือ
หุ้น turnaround คือหุ้นที่เกิดวิกฤต แล้วก็ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรณ์แล้วกลับมายิ่งใหญ่เช่นเดิมและเติบโตเรื่อยๆ
หุ้นก้นบุหรี่ประมาณว่าหุ้นยังพอมีคุณค่าเหลืออยู่บ้างแต่คนไม่ค่อยสนใจ พอเก็บกลับมาสูบพอได้ชื่นใจแล้วก็หมอดดับไป
ตอนแรกว่าจะไม่กล้าถาม แต่ถ้าไม่ถามก็ไม่รู้
ตอบ
อันนี้แล้วแต่ "สำนัก" มั้งครับ 555+
สำหรับพี่เอง มองว่า "หุ้นก้นบุหรี่" คือ หุ้นที่ไม่มีคนสนใจ โยนทิ้งเรี่ยราดอยู่ตามถังขยะ
หรือประหนึ่งว่า ไม่มีคนเห็นคุณค่าของมันแล้ว!!!
แต่เรากลับมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่ทิ้งไว้ตามพื้นดินนั้น เราจึงเก็บสะสมมันขึ้นมา ในขณะที่คนอื่นทิ้งขว้างมัน
ดังนั้น มันจึงมีราคาถูกกว่าความเป็นจริง (ซึ่งนี่ก็คือแก่นแท้ของการลงทุนแบบวีไอครับ คือ การซื้อกิจการที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานที่แท้จริงครับ)
พี่เองคิดแบบนี้นะ...
ขอบคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้าครับ
ยินดีครับ
ปล.มีคนเขาพูดว่าคนที่เล่นหุ้นประเภทนี้ได้ดีจะเป็นคนโรแมนติกมาก พี่เป็นคนโรแมนติกไหมครับ
โรแมนติคไหมไม่รู้ รู้แต่ว่า ต้อง "ใจนิ่ง" มากครับ
นักลงทุนประเภทนี้ ต้องสร้างสมดุลระหว่าง "ความรู้" และ "ความศรัทธา" ให้ได้อย่างเหมาะสมครับ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 275
^pak เขียน:หรือประเภท Turnaround แบบวูบวาบ เช่น การขายบ้านหรือคอนโด ที่ผลประกอบการเป็นไปตามการโอนและการรับรู้รายได้
...เหล่านี้ ล้วนไม่ "ยั่งยืน" หรือ Sustainable
^
ประโยคนี้ ผมว่า...ผมเขียนไม่ถูกครับ!!!
เพราะบางบริษัทฯที่ขายบ้านและคอนโดฯ ก็มีแผนธุรกิจที่ดี และมีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เสมอ
ดังนั้น บางบริษัทฯก็จะสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องเช่นกันครับผม
ผมต้องขออภัยในความผิดพลาดด้วย เนื่องจากตัวเองตอบไปด้วยความรวดเร็วครับ
_/\_
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 276
งานแถลงข่าวโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่
วันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2012 เวลา 14:06 น.
เมื่อ วันที่ 14 มกราคม 2555 มีการแถลงข่าวโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพมหานคร- เชียงใหม่ โดย พลตำรวจโทชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ณ โรงแรมเซ็นทาราดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่ มีคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ นำโดยนายณรงค์ คองประเสริฐ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ และองค์กรภาครัฐภาคเอกชนร่วมกันยื่นข้อเสนอต่อรัฐมนตรี
พลตำรวจโทชัจจ์ กุลดิลก กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีความคืบหน้าไปมาก มีหลายประเทศเช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส ตุรกี ได้มาเจรจาขอร่วมทุน ในลักษณะ PPP หรือ การร่วมมือร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน ล่าสุดเมื่อครั้งที่รองประธานาธิบดีของจีนเยือนไทยอย่างเป็นทางการก็ได้มาลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าจีนยินดีจะสนับสนุนโครงการดังกล่าว ขณะเดียวกันไทยก็ไม่ได้ปิดกั้นประเทศอื่นที่จะแสดงความประสงค์ขอร่วมทุน โดยจะมีการเดินทางไปเจรจากับอีกหลายประเทศ และในการเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีในเดือนกุมภาพันธ์นี้ก็จะนำเรื่องรถไฟความเร็วสูงไปเจรจาอีกครั้ง อย่างไรก็ตามจะมีการเจรจาต่อรองกับเจ้าของทุนเนื่องจากรัฐบาลไม่สนับสนุนระบบ PPP เนื่องจากอาจจะมีปัญหาในภายหลัง โดยจะขอทยอยจ่ายคืนเป็นผลิตผลทางการเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ลำไย เป็นต้น
สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงจะนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ด้วย โดยรถไฟความเร็วสูงนี้มีความเร็ว 210-220 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในอนาคตจะเชื่อมโยงการเดินทางถึงกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยจะเจรจากับผู้ร่วมทุนภายใน 1 ปีนับจากนี้ หลังจากนั้นจะใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2558
ที่มา สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่, 19 ม.ค. 55
Source : http://logisticscorner.com/index.php?op ... &Itemid=55
วันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2012 เวลา 14:06 น.
เมื่อ วันที่ 14 มกราคม 2555 มีการแถลงข่าวโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพมหานคร- เชียงใหม่ โดย พลตำรวจโทชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ณ โรงแรมเซ็นทาราดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่ มีคณะกรรมการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ นำโดยนายณรงค์ คองประเสริฐ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ และองค์กรภาครัฐภาคเอกชนร่วมกันยื่นข้อเสนอต่อรัฐมนตรี
พลตำรวจโทชัจจ์ กุลดิลก กล่าวว่า โครงการดังกล่าวมีความคืบหน้าไปมาก มีหลายประเทศเช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส ตุรกี ได้มาเจรจาขอร่วมทุน ในลักษณะ PPP หรือ การร่วมมือร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน ล่าสุดเมื่อครั้งที่รองประธานาธิบดีของจีนเยือนไทยอย่างเป็นทางการก็ได้มาลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าจีนยินดีจะสนับสนุนโครงการดังกล่าว ขณะเดียวกันไทยก็ไม่ได้ปิดกั้นประเทศอื่นที่จะแสดงความประสงค์ขอร่วมทุน โดยจะมีการเดินทางไปเจรจากับอีกหลายประเทศ และในการเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีในเดือนกุมภาพันธ์นี้ก็จะนำเรื่องรถไฟความเร็วสูงไปเจรจาอีกครั้ง อย่างไรก็ตามจะมีการเจรจาต่อรองกับเจ้าของทุนเนื่องจากรัฐบาลไม่สนับสนุนระบบ PPP เนื่องจากอาจจะมีปัญหาในภายหลัง โดยจะขอทยอยจ่ายคืนเป็นผลิตผลทางการเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ลำไย เป็นต้น
สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงจะนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ด้วย โดยรถไฟความเร็วสูงนี้มีความเร็ว 210-220 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในอนาคตจะเชื่อมโยงการเดินทางถึงกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยจะเจรจากับผู้ร่วมทุนภายใน 1 ปีนับจากนี้ หลังจากนั้นจะใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2558
ที่มา สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่, 19 ม.ค. 55
Source : http://logisticscorner.com/index.php?op ... &Itemid=55
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 277
คอลัมน์อ่านเอาฮา : บทสัมภาษณ์นักลงทุนหุ้น Turnaround นิรนาม
นักข่าว : เข้าประเด็นเลยละกันครับ หุ้น Turnaround ในความหมายของคุณคืออะไร?
นักลงทุนนิรนาม : ทุกอย่างบนโลกนี้ล้วนเปลี่ยนแปลง ทุกวันนี้ที่เราลงทุนหรือเล่นในตลาดหุ้น ก็คือการคาดเดาการเปลี่ยนแปลง...จริงไหม?
ถ้าทุกบริษัทฯไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย ทำรายได้และกำไรได้เท่าเดิมตลอด มันจะมีกลไกของตลาดหุ้นให้เราลงทุนได้ไหม?
หุ้น Turnaround ก็ใช้ประโยชน์จาก "การเปลี่ยนแปลง" นี้เช่นกัน
นักข่าว : ฟังแล้วงงๆหน่อยนะครับ กับแนวคิดของคุณ - -"
ว่าแต่หุ้นดีๆมีเต็มตลาด ทำไมคุณถึงมาจมปลักกับหุ้นเน่าๆครับ?
นักลงทุนนิรนาม : ผมขอถามกลับบ้างดีกว่าครับ ว่า...
ถ้ามีหุ้นอยู่ 2 บริษัท บริษัทฯหนึ่งเพิ่งผ่านจุดสูงสุดมา กับอีกบริษัทฯหนึ่งเพิ่งผ่านจุดต่ำสุดของมันมา
ในฐานะของนักลงทุน คุณจะเลือกลงทุนในบริษัทฯไหน?
นักข่าว : แล้วหลักการในการเลือดกหุ้นของคุณคืออะไรครับ?
นักลงทุนนิรนาม : ถ้าผมไม่มีปัญญาใช้เงินจำนวนหนึ่งเพื่อสร้างบริษัทฯที่ผมสนใจและชื่นชอบขึ้นมาเองได้ ผมจะใช้เงินจำนวนนั้นเข้าซื้อกิจการของบริษัทฯนั้น ผมคิดแบบนั้นนะ
นักข่าว : แล้วถ้าบริษัทฯนั้นเจ๊ง คุณจะทำอย่างไร?
นักลงทุนนิรนาม : ก็คงเสียใจเหมือนเราลงทุนเปิดร้านอาหารแล้วก็เจ๊ง...ประมาณนั้นมั้ง
แต่คิดว่า อาจจะขอนัดทานข้าวกับผู้บริหารสักมื้อนึง ถ้าผมยังพอเหลือเงินผมจะเลี้ยงปลอบใจท่าน
แต่ถ้าผมหมดตัว ก็อาจต้องรบกวนให้ท่านเป็นเจ้ามืออ่ะนะ
นักข่าว : แล้วถ้าบริษัทฯนั้นเติบโต พี่ก็รวยใช่ไหม?
นักลงทุนนิรนาม : มากกว่าคำว่า "รวย" มันคือ ความภาคภูมิใจครับ
เพราะคำว่าหุ้นสำหรับผม มันแปลว่า เราต้องเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมัน
ถ้ามันรุ่งเราก็รวย ถ้ามันมอดเราก็ม้วยเช่นกัน
นักข่าว : แบบนี้มันเสี่ยงนะพี่
นักลงทุนนิรนาม : ทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง แค้่คิดจะเปิดร้านส้มตำ...มันก็เสี่ยงแล้ว
นักข่าว : สรุปหลักการเลือกหุ้นแบบชัดๆให้หน่อยดีกว่า
นักลงทุนนิรนาม : ต้องเป็นหุ้นที่มีผลประกอบการตกต่ำ และไม่จ่ายปันผลติดต่อกันยาวนาน จะให้ดีถ้ามีขาดทุนสะสมติดปลายนวมบ้างก็ดีนะ แต่สำคัญที่สุดต้องมีปัจจัยสำหรับ Turnaround Point และบริษัทฯนั้นต้องผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว
นักข่าว : เอ่อ...พี่ครับ หลักการที่พี่เลือกหุ้นมันแนวมากเลยนะครับ ใครทำตามมีโอกาสเจ๊งสูงมากเลยนะครับพี่ - -"
ว่าแต่...พี่มีจังหวะเข้าซื้อและขายทำกำไรอย่างไรบ้างครับ
นักลงทุนนิรนาม : ผมจะพยายามเข้ามาในวันที่บริษัทฯอ่อนแอที่สุด และผมจะเดินจากไปในวันที่บริษัทฯแข็งแรงที่สุด
และเดินจากไปด้วยรอยยิ้มและความรู้สึกดีๆเสมอ เพราะนั่นคือปลายทางของนักลงทุนหุ้น Turnaround อย่างผม
เมื่อถึงวันนั้น ภาระกิจหน้าที่ของผมจบลงแล้วครับ
นักข่าว : พี่อยากฝากอะไรกับนักลงทุนบ้าง?
นักลงทุนนิรนาม : หุ้นกับดอกไม้มันเหมือนกันนะ ในความเห็นของพี่
คือเราไปใจร้อนไม่ได้ เราอยากเห็นดอกไม้บานเร็วๆไม่ได้ แต่เราต้องรอคอย
ให้อนาคตคือความหวัง แต่จงมีความสุขกับการลงทุนในวันนี้ จงมีความสุขและมีรอยยิ้มเสมอเมื่อคิดถึงบริษัทฯที่เราลงทุนอยู่
หุ้นไม่เหมือนมาม่า...ที่ปิดฝา 3 นาทีก็กินได้
นักข่าว : แล้วพี่คิดว่าตัวเองเป็นเซียนไหมครับ?
นักลงทุนนิรนาม : อืมม คำถามนี้ดีนะ
ที่ Set พันกว่าจุด เซียนเกิดใหม่เพียบเลย ให้ตัวนั้นก็ถูก บอกตัวนั้นก็ตรง เชียร์ตัวไหนก็ขึ้นหมด
มีคนมากมายสถาปนาตัวเองเป็นอาจารย์ ก็คงมีทั้งตัวจริงและตัวปลอม
แต่แปลกนะ ช่วง Set ขาลง เซียนไม่รู้หายไปไหนกันหมด
พี่ไม่ใกล้เคียงกับคำว่าเซียนเลยนะ เรียกพี่ว่า "นักเดินทาง" ดีกว่า
และมากกว่านั้น...ระหว่างการเดินทางพี่มีผู้บริหารที่เป็นเหมือนอาจารย์และเอ็นดูเรา, มีเพื่อนร่วมทางร่วมฝันมากมาย แค่นั้นพี่ก็พอใจแล้ว
นักข่าว : คุยกับพี่แล้วสนุกดีนะครับ ได้มุมมองแปลกๆเยอะ แต่ผมไม่ขออนุญาตนำไปลงละกันนะครับพี่ ผมกลัวชาวบ้านหมดตัว
นักลงทุนนิรนาม : (^_^)
นักข่าว : เข้าประเด็นเลยละกันครับ หุ้น Turnaround ในความหมายของคุณคืออะไร?
นักลงทุนนิรนาม : ทุกอย่างบนโลกนี้ล้วนเปลี่ยนแปลง ทุกวันนี้ที่เราลงทุนหรือเล่นในตลาดหุ้น ก็คือการคาดเดาการเปลี่ยนแปลง...จริงไหม?
ถ้าทุกบริษัทฯไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย ทำรายได้และกำไรได้เท่าเดิมตลอด มันจะมีกลไกของตลาดหุ้นให้เราลงทุนได้ไหม?
หุ้น Turnaround ก็ใช้ประโยชน์จาก "การเปลี่ยนแปลง" นี้เช่นกัน
นักข่าว : ฟังแล้วงงๆหน่อยนะครับ กับแนวคิดของคุณ - -"
ว่าแต่หุ้นดีๆมีเต็มตลาด ทำไมคุณถึงมาจมปลักกับหุ้นเน่าๆครับ?
นักลงทุนนิรนาม : ผมขอถามกลับบ้างดีกว่าครับ ว่า...
ถ้ามีหุ้นอยู่ 2 บริษัท บริษัทฯหนึ่งเพิ่งผ่านจุดสูงสุดมา กับอีกบริษัทฯหนึ่งเพิ่งผ่านจุดต่ำสุดของมันมา
ในฐานะของนักลงทุน คุณจะเลือกลงทุนในบริษัทฯไหน?
นักข่าว : แล้วหลักการในการเลือดกหุ้นของคุณคืออะไรครับ?
นักลงทุนนิรนาม : ถ้าผมไม่มีปัญญาใช้เงินจำนวนหนึ่งเพื่อสร้างบริษัทฯที่ผมสนใจและชื่นชอบขึ้นมาเองได้ ผมจะใช้เงินจำนวนนั้นเข้าซื้อกิจการของบริษัทฯนั้น ผมคิดแบบนั้นนะ
นักข่าว : แล้วถ้าบริษัทฯนั้นเจ๊ง คุณจะทำอย่างไร?
นักลงทุนนิรนาม : ก็คงเสียใจเหมือนเราลงทุนเปิดร้านอาหารแล้วก็เจ๊ง...ประมาณนั้นมั้ง
แต่คิดว่า อาจจะขอนัดทานข้าวกับผู้บริหารสักมื้อนึง ถ้าผมยังพอเหลือเงินผมจะเลี้ยงปลอบใจท่าน
แต่ถ้าผมหมดตัว ก็อาจต้องรบกวนให้ท่านเป็นเจ้ามืออ่ะนะ
นักข่าว : แล้วถ้าบริษัทฯนั้นเติบโต พี่ก็รวยใช่ไหม?
นักลงทุนนิรนาม : มากกว่าคำว่า "รวย" มันคือ ความภาคภูมิใจครับ
เพราะคำว่าหุ้นสำหรับผม มันแปลว่า เราต้องเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมัน
ถ้ามันรุ่งเราก็รวย ถ้ามันมอดเราก็ม้วยเช่นกัน
นักข่าว : แบบนี้มันเสี่ยงนะพี่
นักลงทุนนิรนาม : ทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง แค้่คิดจะเปิดร้านส้มตำ...มันก็เสี่ยงแล้ว
นักข่าว : สรุปหลักการเลือกหุ้นแบบชัดๆให้หน่อยดีกว่า
นักลงทุนนิรนาม : ต้องเป็นหุ้นที่มีผลประกอบการตกต่ำ และไม่จ่ายปันผลติดต่อกันยาวนาน จะให้ดีถ้ามีขาดทุนสะสมติดปลายนวมบ้างก็ดีนะ แต่สำคัญที่สุดต้องมีปัจจัยสำหรับ Turnaround Point และบริษัทฯนั้นต้องผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว
นักข่าว : เอ่อ...พี่ครับ หลักการที่พี่เลือกหุ้นมันแนวมากเลยนะครับ ใครทำตามมีโอกาสเจ๊งสูงมากเลยนะครับพี่ - -"
ว่าแต่...พี่มีจังหวะเข้าซื้อและขายทำกำไรอย่างไรบ้างครับ
นักลงทุนนิรนาม : ผมจะพยายามเข้ามาในวันที่บริษัทฯอ่อนแอที่สุด และผมจะเดินจากไปในวันที่บริษัทฯแข็งแรงที่สุด
และเดินจากไปด้วยรอยยิ้มและความรู้สึกดีๆเสมอ เพราะนั่นคือปลายทางของนักลงทุนหุ้น Turnaround อย่างผม
เมื่อถึงวันนั้น ภาระกิจหน้าที่ของผมจบลงแล้วครับ
นักข่าว : พี่อยากฝากอะไรกับนักลงทุนบ้าง?
นักลงทุนนิรนาม : หุ้นกับดอกไม้มันเหมือนกันนะ ในความเห็นของพี่
คือเราไปใจร้อนไม่ได้ เราอยากเห็นดอกไม้บานเร็วๆไม่ได้ แต่เราต้องรอคอย
ให้อนาคตคือความหวัง แต่จงมีความสุขกับการลงทุนในวันนี้ จงมีความสุขและมีรอยยิ้มเสมอเมื่อคิดถึงบริษัทฯที่เราลงทุนอยู่
หุ้นไม่เหมือนมาม่า...ที่ปิดฝา 3 นาทีก็กินได้
นักข่าว : แล้วพี่คิดว่าตัวเองเป็นเซียนไหมครับ?
นักลงทุนนิรนาม : อืมม คำถามนี้ดีนะ
ที่ Set พันกว่าจุด เซียนเกิดใหม่เพียบเลย ให้ตัวนั้นก็ถูก บอกตัวนั้นก็ตรง เชียร์ตัวไหนก็ขึ้นหมด
มีคนมากมายสถาปนาตัวเองเป็นอาจารย์ ก็คงมีทั้งตัวจริงและตัวปลอม
แต่แปลกนะ ช่วง Set ขาลง เซียนไม่รู้หายไปไหนกันหมด
พี่ไม่ใกล้เคียงกับคำว่าเซียนเลยนะ เรียกพี่ว่า "นักเดินทาง" ดีกว่า
และมากกว่านั้น...ระหว่างการเดินทางพี่มีผู้บริหารที่เป็นเหมือนอาจารย์และเอ็นดูเรา, มีเพื่อนร่วมทางร่วมฝันมากมาย แค่นั้นพี่ก็พอใจแล้ว
นักข่าว : คุยกับพี่แล้วสนุกดีนะครับ ได้มุมมองแปลกๆเยอะ แต่ผมไม่ขออนุญาตนำไปลงละกันนะครับพี่ ผมกลัวชาวบ้านหมดตัว
นักลงทุนนิรนาม : (^_^)
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 328
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 279
PF น่าจะ TRUNAROUND หรือไม่
17 ก.พ.--บล.โกลเบล็ก
Distributor - Bisnews AFE
COMPANY VISIT NOTE 17 กุมภาพันธ์ 2555
Sector: Property ราคาปิด 0.84 บาท
PROPERTY PERFECT PCL.(PF) "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 1.26 บาท
กำไรปี 55 มีแนวโน้มเติบโตก้าวกระโดดจากปี54
- ปี55 ตั้งเป้ายอดขาย presale 1.7 หมื่นล้านบาทเติบโต 60จากปี 54
- กำไรปี 55 มีแนวโน้มเติบโตก้าวกระโดด
- มีแผนสร้างรายได้ประจำที่ชัดเจนขึ้น
- แนะนำ "ซื้อ" ราคาเหมาะสม 1.26 บาท
ประเด็นสำคัญในการเข้าพบผู้บริหาร :
* ปี55 ตั้งเป้ายอดขาย presale 1.7 หมื่นล้านบาทเติบโต 60จากปี 54 : โดยมีแผนเปิดขาย
โครงการใหม่ 24 โครงการมูลค่ารวม 2.5 หมื่นล้านบาทซึ่งมีทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์
คอนโดมิเนียม และหอพักนักศึกษาเพื่อรองรับการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งหลังของปีอีกด้วย
ในช่วงเกือบ 2 เดือนแรกของปี 55 มียอดขาย presale แล้วกว่า 1.2 พันล้านบาทเติบโต 60% จากปี
54 ที่มียอดขาย 750 ล้านบาท
* กำไรปี 55 มีแนวโน้มเติบโตสูง : ผู้บริหารตั้งเป้ารายได้ปี 55 ราว 1.4 หมื่นล้านบาทซึ่ง
เติบโตถึง 68% จากปี 54 ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยคาดการณ์ไว้ราว 8.4 พันล้านบาท และคาดการกำไรสุทธิปี 54
ราว 549 ล้านบาททรงตัวใกล้เคียงกับปี 53 ขณะที่รายได้ปี 55 ที่มีแนวโน้มเติบโตสูงประกอบกับอัตราภาษี
เงินได้นิติบุคคลที่ลดลงเหลือ 23 จาก 30 ในปี 54 จะส่งผลให้กำไรสุทธิปี 55 มีแนวโน้มเติบโตก้าว
กระโดด ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยคาดการณ์กำไรปกติปี 55 จะเติบโตราว 80% เป็น 988 ล้านบาททั้งนี้ยังไม่รวม
upside หากสามารถมีกำไรจากการขายสินทรัพย์เข้ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์นักศึกษาที่จะจัดตั้งในปีนี้
* มีแผนสร้างรายได้ประจำที่ชัดเจนขึ้น : บริษัทมีแผนนำโครงการหอพักนักศึกษาที่จะเปิดขายในปีนี้ 2
โครงการที่เชียงใหม่และศาลายามูลค่า 2 พันล้านบาท ปี 56-57 ปีละ 1 โครงการใกล้เอแบคและหอการ
ค้าไทยมูลค่ารวม 4 พันล้านบาท โดยจะเริ่มจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งหลังของปี 55 และ
ในอนาคตมีแผนเริ่มต้นธุรกิจค้าปลีกในรูปแบบของศูนย์การค้าชุมชนหรือคอมมูนิตี้มอลล์ซึ่งได้เตรียมพัฒนา 2
โครงการที่ถ.กัลปพฤกษ์และสุขุมวิท 77 จากที่ก่อนหน้านี้ได้ซื้อบมจ.ไดโดมอนและเปลี่ยนชื่อเป็นบมจ.วีรีเทล
และในอนาคตบริษัทมีแผนนำศูนย์การค้าจัดตั้งเป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย ซึ่งข้อดีของการมี
สินทรัพย์ที่มีรายได้ประจำนอกจากช่วยสร้างเสถียรภาพรายได้แล้วยังเป็นทางเลือกอื่นในการระดมทุนแทน
การกู้เงินเนื่องจากปัจจุบันมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) ค่อนข้างสูงที่ระดับ 1.7 เท่า(ค่ากลาง
ของกลุ่ม 1.2 เท่า) ทั้งนี้การเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิมในปี 54 ไม่สำเร็จ
* แนะนำ "ซื้อ" ราคาเหมาะสม 1.26 บาท: ฝ่ายวิจัยประเมินราคาเหมาะสมซึ่งคำนวณด้วย
Prospect PER ที่ระดับ 6 เท่าได้เท่ากับ 1.26 บาท ซึ่งยังสูงกว่าราคาปิดล่าสุด และการถือหุ้นระยะ
ยาวมีอัตราผลตอบแทนเงินปันผลในระดับสูงเกือบ 7 จากที่คาดเงินปันผลจากผลการดำเนินงานปี 54 ราว
0.06 บาทเท่ากับปีที่แล้ว เราจึงแนะนำ "ซื้อ" เพื่อลงทุนระยะยาวและรับเงินปันผล
http://www.settrade.com/AnalystConsensu ... tSymbol=pf
17 ก.พ.--บล.โกลเบล็ก
Distributor - Bisnews AFE
COMPANY VISIT NOTE 17 กุมภาพันธ์ 2555
Sector: Property ราคาปิด 0.84 บาท
PROPERTY PERFECT PCL.(PF) "ซื้อ" ราคาเป้าหมาย 1.26 บาท
กำไรปี 55 มีแนวโน้มเติบโตก้าวกระโดดจากปี54
- ปี55 ตั้งเป้ายอดขาย presale 1.7 หมื่นล้านบาทเติบโต 60จากปี 54
- กำไรปี 55 มีแนวโน้มเติบโตก้าวกระโดด
- มีแผนสร้างรายได้ประจำที่ชัดเจนขึ้น
- แนะนำ "ซื้อ" ราคาเหมาะสม 1.26 บาท
ประเด็นสำคัญในการเข้าพบผู้บริหาร :
* ปี55 ตั้งเป้ายอดขาย presale 1.7 หมื่นล้านบาทเติบโต 60จากปี 54 : โดยมีแผนเปิดขาย
โครงการใหม่ 24 โครงการมูลค่ารวม 2.5 หมื่นล้านบาทซึ่งมีทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์
คอนโดมิเนียม และหอพักนักศึกษาเพื่อรองรับการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งหลังของปีอีกด้วย
ในช่วงเกือบ 2 เดือนแรกของปี 55 มียอดขาย presale แล้วกว่า 1.2 พันล้านบาทเติบโต 60% จากปี
54 ที่มียอดขาย 750 ล้านบาท
* กำไรปี 55 มีแนวโน้มเติบโตสูง : ผู้บริหารตั้งเป้ารายได้ปี 55 ราว 1.4 หมื่นล้านบาทซึ่ง
เติบโตถึง 68% จากปี 54 ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยคาดการณ์ไว้ราว 8.4 พันล้านบาท และคาดการกำไรสุทธิปี 54
ราว 549 ล้านบาททรงตัวใกล้เคียงกับปี 53 ขณะที่รายได้ปี 55 ที่มีแนวโน้มเติบโตสูงประกอบกับอัตราภาษี
เงินได้นิติบุคคลที่ลดลงเหลือ 23 จาก 30 ในปี 54 จะส่งผลให้กำไรสุทธิปี 55 มีแนวโน้มเติบโตก้าว
กระโดด ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยคาดการณ์กำไรปกติปี 55 จะเติบโตราว 80% เป็น 988 ล้านบาททั้งนี้ยังไม่รวม
upside หากสามารถมีกำไรจากการขายสินทรัพย์เข้ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์นักศึกษาที่จะจัดตั้งในปีนี้
* มีแผนสร้างรายได้ประจำที่ชัดเจนขึ้น : บริษัทมีแผนนำโครงการหอพักนักศึกษาที่จะเปิดขายในปีนี้ 2
โครงการที่เชียงใหม่และศาลายามูลค่า 2 พันล้านบาท ปี 56-57 ปีละ 1 โครงการใกล้เอแบคและหอการ
ค้าไทยมูลค่ารวม 4 พันล้านบาท โดยจะเริ่มจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งหลังของปี 55 และ
ในอนาคตมีแผนเริ่มต้นธุรกิจค้าปลีกในรูปแบบของศูนย์การค้าชุมชนหรือคอมมูนิตี้มอลล์ซึ่งได้เตรียมพัฒนา 2
โครงการที่ถ.กัลปพฤกษ์และสุขุมวิท 77 จากที่ก่อนหน้านี้ได้ซื้อบมจ.ไดโดมอนและเปลี่ยนชื่อเป็นบมจ.วีรีเทล
และในอนาคตบริษัทมีแผนนำศูนย์การค้าจัดตั้งเป็นกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย ซึ่งข้อดีของการมี
สินทรัพย์ที่มีรายได้ประจำนอกจากช่วยสร้างเสถียรภาพรายได้แล้วยังเป็นทางเลือกอื่นในการระดมทุนแทน
การกู้เงินเนื่องจากปัจจุบันมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) ค่อนข้างสูงที่ระดับ 1.7 เท่า(ค่ากลาง
ของกลุ่ม 1.2 เท่า) ทั้งนี้การเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นเดิมในปี 54 ไม่สำเร็จ
* แนะนำ "ซื้อ" ราคาเหมาะสม 1.26 บาท: ฝ่ายวิจัยประเมินราคาเหมาะสมซึ่งคำนวณด้วย
Prospect PER ที่ระดับ 6 เท่าได้เท่ากับ 1.26 บาท ซึ่งยังสูงกว่าราคาปิดล่าสุด และการถือหุ้นระยะ
ยาวมีอัตราผลตอบแทนเงินปันผลในระดับสูงเกือบ 7 จากที่คาดเงินปันผลจากผลการดำเนินงานปี 54 ราว
0.06 บาทเท่ากับปีที่แล้ว เราจึงแนะนำ "ซื้อ" เพื่อลงทุนระยะยาวและรับเงินปันผล
http://www.settrade.com/AnalystConsensu ... tSymbol=pf
-
- Verified User
- โพสต์: 328
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 280
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 17:14:36 น.
น.ส.ศิริรัตน์ วงศ์วัฒนา รองประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มสนับสนุน บมจ. พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค (PF) คาดว่ายอดขาย ณ สิ้นไตรมาสแรกของปีนี้ น่าจะทำได้ประมาณ 3,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาซึ่งทำได้ที่ 2,200 ล้านบาท เติบโต 36% อันจะส่งผลให้ยอดรับรู้รายได้ไตรมาส 1/55 น่าจะมีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่า
บริษัทคาดว่าไตรมาสแรกของปียอดขายรอโอน(Backlog)เพิ่มขึ้นเป็น 4,500 ล้านบาท เนื่องจากช่วง 2 เดือนแรกมียอดขายแล้วประมาณ 1,900 ล้านบาท ซึ่งเติบโตขึ้น 57% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยยอดขายที่เพิ่มขึ้นมากจากบ้านขนาดใหญ่แบรนด์ “เพอร์เฟค มาสเตอร์พีซ"ทั้ง 4 ทำเล ได้แก่ พระราม 9 รามคำแหง ราชพฤกษ์ และ รัตนาธิเบศร์ ทั้งนี้ บริษัทยังมีแผนจะเปิดตัวโครงการใหม่เพิ่มเติมในช่วงต้นเดือนมี.ค.นี้
สำหรับการลงทุนของบริษัทนั้นในไตรมาสแรกจะมีประมาณ 300 ล้านบาทเท่านั้น ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากบริษัทจะนำ Land Bank ที่มีอยู่มาพัฒนาให้มากที่สุด
นอกจากนี้ บริษัทยังเตรียมเสนอขายหุ้นกู้มูลค่า 2,500 ล้านบาทให้กับประชาชนทั่วไปและผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีธนาคารธนชาต เป็นผู้รับประกันการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ทั้งจำนวน หุ้นกู้ที่จะจัดจำหน่ายในครั้งนี้มีอายุ 2-3 ปี อัตราดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่า 5% ต่อปี โดยจะเปิดให้จองซื้อได้ในกลางเดือนมีนาคมนี้
http://www.ryt9.com/s/iq05/1354649
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555 18:25:59 น.
บมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟ็ค(PF) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติให้จัดสรรเงิยกำไรส่วนหนึ่งเป็นทุนสำรองตามกฎหมาย 17 ล้านบาท และมีมติให้จ่ายเงินปันผลสำหรับผลดำเนินงานประจำปี 54 ให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.04 บาท/หุ้น ในวันที่ 25 พ.ค.2555 กำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผลในวันที่ 10 พ.ค.25555 และให้รวบรวมรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยวิธีปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นในวันที่ 11 พ.ค.2555 วันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล(XD) 8 พ.ค. 2555
พร้อมทั้งเสนอให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติออกหุ้นกู้วงเงินรวมไม่เกิน 4 พันล้านบาท หรือเงินสกุลต่างประเทศในวงเงินเทียบเท่าจำนวนดังกล่าว อายุไม่เกิน 5 ปีนับตั้งแต่วันออกหุ้นกู้ในแต่ละคราว เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานและรองรับการขยายธุรกิจ เพื่อซื้อที่ดินในการพัฒนาโครงการ และเพื่อชำระคืนหนี้เดิม
นอกจากนั้น ยังจะเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติให้บริษัทออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญจำนวน 393,865,360 หน่วย เพื่อจูงใจในการจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทโดยไม่คิดมูลค่า
ทั้งนี้ การออกใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ดังกล่าวเป็นมติบริษัทเคยได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อ 29 เม.ย.2554 มาแล้ว แต่เนื่องจากสภาวะตลาดและเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย รวมถึงเกิดอุทกภัยช่วงปลายปีก่อน จึงทำให้บริษัทยังไม่สามารถออกและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน และออกใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ได้ภายใน 1 ปีนับจากนั้น จึงต้องเสนอให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาอีกครั้ง
รวมถึงการเสนอขออนุมัติให้บริษัทจัดรรหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 1,181,596,080 หุ้น เพื่อรองรับการเสนอขายหุ้นสามัญที่ออกใหม่จำนวน 787,730,720 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 1 บาทต่อหุ้นให้กับผู้ถือหุ้นเดิมในสัดส่วน 6 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ในราคา 1 บาท/หุ้น และจัดสรรจำนวน 393,865,360 หุ้น ไว้รองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ที่จะออกและเสนอขายให้กับผู้จองซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว
http://www.ryt9.com/s/iq10/1353681
น.ส.ศิริรัตน์ วงศ์วัฒนา รองประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มสนับสนุน บมจ. พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค (PF) คาดว่ายอดขาย ณ สิ้นไตรมาสแรกของปีนี้ น่าจะทำได้ประมาณ 3,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาซึ่งทำได้ที่ 2,200 ล้านบาท เติบโต 36% อันจะส่งผลให้ยอดรับรู้รายได้ไตรมาส 1/55 น่าจะมีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่า
บริษัทคาดว่าไตรมาสแรกของปียอดขายรอโอน(Backlog)เพิ่มขึ้นเป็น 4,500 ล้านบาท เนื่องจากช่วง 2 เดือนแรกมียอดขายแล้วประมาณ 1,900 ล้านบาท ซึ่งเติบโตขึ้น 57% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยยอดขายที่เพิ่มขึ้นมากจากบ้านขนาดใหญ่แบรนด์ “เพอร์เฟค มาสเตอร์พีซ"ทั้ง 4 ทำเล ได้แก่ พระราม 9 รามคำแหง ราชพฤกษ์ และ รัตนาธิเบศร์ ทั้งนี้ บริษัทยังมีแผนจะเปิดตัวโครงการใหม่เพิ่มเติมในช่วงต้นเดือนมี.ค.นี้
สำหรับการลงทุนของบริษัทนั้นในไตรมาสแรกจะมีประมาณ 300 ล้านบาทเท่านั้น ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากบริษัทจะนำ Land Bank ที่มีอยู่มาพัฒนาให้มากที่สุด
นอกจากนี้ บริษัทยังเตรียมเสนอขายหุ้นกู้มูลค่า 2,500 ล้านบาทให้กับประชาชนทั่วไปและผู้ลงทุนสถาบัน โดยมีธนาคารธนชาต เป็นผู้รับประกันการจัดจำหน่ายหุ้นกู้ทั้งจำนวน หุ้นกู้ที่จะจัดจำหน่ายในครั้งนี้มีอายุ 2-3 ปี อัตราดอกเบี้ยไม่ต่ำกว่า 5% ต่อปี โดยจะเปิดให้จองซื้อได้ในกลางเดือนมีนาคมนี้
http://www.ryt9.com/s/iq05/1354649
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555 18:25:59 น.
บมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟ็ค(PF) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติให้จัดสรรเงิยกำไรส่วนหนึ่งเป็นทุนสำรองตามกฎหมาย 17 ล้านบาท และมีมติให้จ่ายเงินปันผลสำหรับผลดำเนินงานประจำปี 54 ให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราหุ้นละ 0.04 บาท/หุ้น ในวันที่ 25 พ.ค.2555 กำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผลในวันที่ 10 พ.ค.25555 และให้รวบรวมรายชื่อผู้ถือหุ้นโดยวิธีปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นในวันที่ 11 พ.ค.2555 วันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล(XD) 8 พ.ค. 2555
พร้อมทั้งเสนอให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติออกหุ้นกู้วงเงินรวมไม่เกิน 4 พันล้านบาท หรือเงินสกุลต่างประเทศในวงเงินเทียบเท่าจำนวนดังกล่าว อายุไม่เกิน 5 ปีนับตั้งแต่วันออกหุ้นกู้ในแต่ละคราว เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานและรองรับการขยายธุรกิจ เพื่อซื้อที่ดินในการพัฒนาโครงการ และเพื่อชำระคืนหนี้เดิม
นอกจากนั้น ยังจะเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติให้บริษัทออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญจำนวน 393,865,360 หน่วย เพื่อจูงใจในการจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทโดยไม่คิดมูลค่า
ทั้งนี้ การออกใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ดังกล่าวเป็นมติบริษัทเคยได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อ 29 เม.ย.2554 มาแล้ว แต่เนื่องจากสภาวะตลาดและเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย รวมถึงเกิดอุทกภัยช่วงปลายปีก่อน จึงทำให้บริษัทยังไม่สามารถออกและเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน และออกใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ได้ภายใน 1 ปีนับจากนั้น จึงต้องเสนอให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาอีกครั้ง
รวมถึงการเสนอขออนุมัติให้บริษัทจัดรรหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 1,181,596,080 หุ้น เพื่อรองรับการเสนอขายหุ้นสามัญที่ออกใหม่จำนวน 787,730,720 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 1 บาทต่อหุ้นให้กับผู้ถือหุ้นเดิมในสัดส่วน 6 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ในราคา 1 บาท/หุ้น และจัดสรรจำนวน 393,865,360 หุ้น ไว้รองรับการใช้สิทธิตามใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ที่จะออกและเสนอขายให้กับผู้จองซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าว
http://www.ryt9.com/s/iq10/1353681
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 281
นี่เป็นอีกโพสต์หนึ่งที่ผมเขียนจากความรู้สึกของตนเองอ่ะนะครับ
ขออนุญาตนำมาเก็บไว้ในกระทู้นี้หน่อยนะขอรับ
ขออนุญาตนำมาเก็บไว้ในกระทู้นี้หน่อยนะขอรับ
pak เขียน:บทความเรื่อง : REAL PAE
By pak, 13 March 2012
ทำไมบริษัทฯกำไรน้อยจัง?
ทำไมต้องให้ผลตอบแทนผู้บริหารสูงขึ้นด้วย?
ทำไมบริษัทฯยังไม่ยอมตัดสินใจลดทุน/เพิ่มทุนซักกะที?
ทำไมใน Q4/54 ที่ผ่านมา...บริษัทฯประมาณการว่าจะมีรายได้ 774.38 ล้านบาท แต่เอาเข้าจริงกลับทำได้แค่ 354.03 ล้านบาท?
ทำไมหุ้นถึงซึมตลอด(แถมยังซึมลงเสียอีกด้วย)?
ทำไมหุ้นจึงมีสภาพคล่องน้อยเหลือเกิน?
ทำไมเจ้ามือไม่ยอมลาก?
ทำไม?
ทำไม?
...และ ทำไม?
คำถามเหล่านี้..."วนเวียน" และ "คาอยู่ในหัวใจ" ของนักลงทุนส่วนใหญ่เสมอมา
แม้จะเป็นคำถามที่เป็นความจริง และชวนให้น่าสงสัย
แต่ผมมองว่า...
คำถามเหล่านี้...มันได้ "ละเลย" บางสิ่งบางอย่างที่ละเอียดอ่อนที่สุดไป!!!
ลองถามหัวใจตัวเองดีๆว่า...PAE คือ "อะไรก็ได้ที่สร้างความร่ำรวยให้กับคุณ" หรือ "มันเป็นบริษัทฯของคุณ" กันแน่?
แท้จริงแล้ว คุณมองว่า "บริษัท PAE มันคืออะไรสำหรับคุณ?"
สิ่งที่ผมมองว่า พวกเราส่วนใหญ่มักจะ "ละเลย" และ "หลงลืมไป" นั่นก็คือ...
หัวใจหลักของบริษัท PAE ซึ่งผมมองว่าสิ่งนั้นคือ..."คน"
"คน" ที่มีลมหายใจ หรือ พนักงานนี่เอง...ที่เป็นสินทรัพย์ที่สำคัญที่สุดขององค์กร
มันไม่ใช่เป็นเพียงสิ่งของ หรือเป็นแค่อะไรบางอย่างที่สร้างกำไรให้กับคุณ แล้วก็จบๆกันไป
องค์กรจะมีรับงานเพิ่มได้อย่างไร...ถ้าเรามีพนักงานเท่าเดิม
องค์กรจะมีรายได้เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดได้อย่างไร...ถ้าเราไม่เพิ่มจำนวนพนักงาน
องค์กรจะเติบโตอย่างยั่งยืนได้อย่างไร...ถ้าเราไม่พัฒนาศักยภาพของบุคลากร!!!
คุณมองเห็นอะไรในภาพเหล่านี้
^
^
คุณมองว่าสิ่งนี่เป็นเพียง "รายจ่าย" ของคุณ หรือคุณมองว่าสิ่งนี้ต่างหากที่จะเป็น "แนวร่วมหรือกำลังสำคัญ" ในการสร้างอนาคตไปด้วยกัน
จาก Annual Report ปี 2553 ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า...
เดือน ธันวาคม 2551 PAE มีจำนวนพนักงานทั้งสิ้นจำนวน 422 คน
เดือน ธันวาคม 2552 PAE มีจำนวนพนักงานทั้งสิ้นจำนวน 577 คน
เดือน ธันวาคม 2553 PAE มีจำนวนพนักงานทั้งสิ้นจำนวน 631 คน
และจากหมายเหตุประกอบงบข้อที่ 26 ของงบการเงินปี 2554 ได้ให้ข้อมูลเรื่อง "รายจ่าย" กับเราไว้ว่า...
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ปี 2553 = 268.48 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงาน ปี 2554 = 332.98 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น +24% เมื่อเทียบกับปี 2553)
ใช่ครับ...ผมเชื่อมั่นว่าจำนวนพนักงานของเรามีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น
ซึ่งก็เป็นไปตาม Strategy ขององค์กร ที่ต้องการเติบโตแบบก้าวกระโดด
แต่ฝีมือที่เราต้องยกเครดิตให้กับท่านประธาน คุณอภิสิทธิ์ รุจิเกียรติกำจรของเรา ก็คือ...
ท่านเลือกให้พนักงานที่เงินเดือนแพงๆ(แต่ทำงานไม่คุ้ม)ร่วมใจลาออกไป และรับพนักงานใหม่ที่เงินเดือนต่ำกว่าแต่มีประสิทธิภาพในการทำงานเข้ามาทดแทน
นี่คือ ฝีมือ และ เครดิต ในการปรับโครงสร้าง ที่เราควรต้องยกให้กับท่าน
บริษัทฯที่ขาดทุนบักโกรกหลายร้อยล้าน แต่ทำกลับมาให้มีกำไรได้...ถือว่าไม่ใช่ของง่ายครับ!!!
ถ้าเป็นเมืองนอกคงไม่ยากครับ เพราะเราจะไล่ใครออกก็ได้
แต่เมืองไทย ขืนไปทำซี้ซั๊ว...โดนฟ้อง หรือถูกศาลแรงงานเล่นงานอย่างแน่นอนครับ
มาถึงข้อสรุปของบทความนี้ดีกว่าครับ
คำว่า "REAL PAE" สำหรับผม...มันคือ คน (หรือพนักงาน) ครับ
พนักงานที่รักบริษัทฯ และทำงานอย่างทุ่มเทให้กับบริษัทฯ
ถามตัวเองดีๆครับว่า...
"ในฐานะของนักลงทุน เรารักบริษัทฯได้สักครึ่งนึงของที่พนักงานรักหรือไม่?"
pak
(^_^)
ที่มา :
1) http://www.pae.co.th/Download/Annual%20 ... 010_th.pdf
2) http://www.set.or.th/set/companynews.do ... country=TH
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 282
ส่วนตัวแล้ว ผมชอบอ่านข่าวแบบนี้ครับ
เพราะมีข้อมูลเกี่ยวกับ "การลดทุน, การล้างขาดทุนสะสม และการพยายามเปลี่ยน Business Model" ครับผม
v
v
==============================================
'สุทธิชัย'ลั่น'นิวเนชั่น' ล้างขาดทุนสะสม
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, วันที่ 27 เมษายน 2555 08:37
"สุทธิชัย หยุ่น"กร้าว"เครือเนชั่น"พร้อมพุ่งทะยานครั้งใหม่ ลดทุนจดทะเบียนเหลือ 873.302 ล้านบาท ล้างขาดทุนสะสม 770 ล้านบาท เหลือแค่ 2 ล้านบาท
การประชุมสามัญประจำปีผู้ถือหุ้น บริษัทเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป มีขึ้นในวานนี้ (26 เม.ย.) ณ โรงแรมเลอบัว แอดท เสตททาวเวอร์ กรุงเทพ ฯ มีมติสำคัญ คือลดทุนจดทะเบียน พร้อมนำส่วนเกินมูลค่าหุ้นไปล้างขาดทุนสะสม ซึ่งทำให้ ทุนจดทะเบียนของบริษัท ลดจาก 2,500,000 บาท เหลือ 873,302,359 บาท ส่งผลให้ขาดทุนสะสมของบริษัท เหลือเพียง 2,017,174 บาท เท่านั้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า การประชุมผู้ถือหุ้นของเครือเนชั่นครั้งนี้ ได้รับความสนใจล้นหลาม นอกจาก ผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วม ทั้งทีแสดงตน และมอบฉันทะ เป็นอัตราส่วนถึง 76.56 % ของผู้ถือหุ้นทั้งหมด ยังรวมถึงสื่อมวลชน และ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ที่เข้าร่วมประชุมนักวิเคราะห์ในวันเดียวกัน โดยมีเป้าหมายหลักคือต้องการพบปะ คณะกรรมการบริหารชุดใหม่ ซึ่งถือเป็น “เลือดใหม่” ของเครือเนชั่น
นายสุทธิชัย หยุ่น ประธาน บริษัทเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป กล่าวเปิดการประชุม โดยให้คำมั่นกับผู้ถือหุ้นว่า ภายใต้การบริหารของทีมผู้บริหารชุดใหม่ เครือเนชั่น พร้อมก้าวไปข้างหน้า ด้วยโมเดล “C = ME3” ( C เท่ากับ ME ยกกำลังสาม) ซึงจะทำให้เครือเนชั่นทะยานไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง
"สูตรของเนชั่น คือ C เท่ากับ ME ยกกำลังสาม เราตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเข้าถึงผู้บริโภค คือ Consumer อย่างไร้ขีดจำกัด ด้วย ME กำลังสาม M หรือมวลสารของเรา คือ เนื้อหาสาระหรือคอนเทนท์ที่แข็งแกร่ง ส่วนตัวคูณ หรือ ความเร็วแสงของไอสไตน์ สำหรับเรา คือ M 3 ตัว และ E 3 ตัว ประกอบด้วย Multi Plat form , Multi Content และ Multi Region เราจะก้าวไปอาเซียน และ ก้าวไปทั่วโลกในอนาต ส่วน E ทั้ง 3 ตัวได้แก่ E คือ Edutainment Entertainment และ E Business" นายสุทธิชัย กล่าว
เขาขยายความว่า ในด้าน Multi Content เครือเนชั่น พร้อมขยายคอนเทนท์ หรือเนื้อให้ครอบคลุมทุกกลุ่มผู้รับสื่อ โดยจะมุ่งเดินหน้า ข่าวสาร ไปสู่ ข้อมูล ความรู้ และ ปัญญาในที่สุด ในด้าน Multi Platform เครือเนชั่นจะมุ่งแผ่ขยายด้านแพลทฟอร์ม โดยเปิดเกมรุกในธุรกิจดิจิทัล และบรอดคาสท์อย่างจริงจัง
ส่วนการก้าวสู่ธุรกิจในต่างประเทศ หรือ Multi Region เครือเนชั่น จะเริ่มรุกเข้าสู่ต่างประเทศ ทั้งในธุรกิจสื่อ และ ธุรกิจการศึกษา ผ่านเครือข่ายที่แข็งแกร่ง ของหนังสือพิมพ์ The Nation
"เรามีเครือข่ายสื่อต่างประเทศที่แข็งแกร่งคือ ANN (Asia News Network) เครือข่ายสื่อที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย มีสมาชิกมากถึง 21 สื่อ ใน 18 ประเทศ ตั้งแต่ปากีสถานไปจนถึงญี่ปุ่น ตั้งแต่จีนจรดอินเดีย ซึ่งเครือข่าย ANN จะเป็นสะพานให้การเปิดธุรกิจในต่างประเทศทั้งธุรกิจสื่อ และ ธุรกิจการศึกษา ของเครือเนชั่น เป็นไปได้ง่ายขึ้น"
นายสุทธิชัย ยังเปิดเผยด้วยว่า เครือเนชั่น ได้รับการติดต่อจากสื่อเอกชนของพม่า Eleven Media เจ้าของ นสพ.ภาษาพม่า และ นสพ.ภาษาอังกฤษในพม่า และเป็นผู้ให้บริการข่าว SMS ภาษาอังกฤษครั้งแรกในพม่า โดยทาบทามให้เครือเนชั่นเข้าไปช่วยเหลือในการขยายธุรกิจ เพราะชื่อเสียงของเนชั่นกรุ๊ปที่เป็นที่รู้จักดีในกลุ่มสื่อประเทศอาเซียน
"เราจะก้าวสู่สากล โดยมี ANN เป็นฐานที่สำคัญ จากสื่อทั้งหมด 21 ฉบับ ใน 18 ประเทศ ข่าวของเราจะเข้าถึง 15 ล้านคน ทั่วเอเชีย นี่คือ จุดแข็งที่คนอื่นไม่มี"
สำหรับแนวคิด 3 E คือ ยุทธศาสตร์ ก้าวรุกสู่ ธุรกิจการศึกษา และ ธุรกิจบันเทิง พร้อมด้วยการรุกสู่ E-Business ซึ่งจะเป็นแหล่งก่อเกิดรายได้ที่สำคัญในอนาคต โดยมีนายต่อบุญ พ่วงมหา อดีตซีอีโอสนุกดอทคอม เป็นกำลังสำคัญ ด้วยประสบการณ์ที่บ่มเพาะในธุรกิจดิจิทัลเกินทศวรรษ เชื่อมั่นได้ว่านายต่อบุญ จะนำเครือเนชั่น ก้าวสู่ยุคดิจิทัล และสร้างรายได้จากสื่อใหม่ได้ต่อเนื่อง
ภายใต้การนำทีมของผู้บริหารชุดใหม่ และทิศทางธุรกิจ C= ME กำลัง 3 นายสุทธิชัย กล่าวว่า จะนำพาเนชั่นให้ก้าวไปข้างหน้า โดยเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคอย่างไร้ขีดจำกัด ตั้งแต่ Generation X , Generation Y ไปจนถึง Generation C หรือ Generation “Click&Connect”
"จากปัจจุบัน เครือเนชั่น เข้าถึงผู้บริโภค 35 ล้านคน ผมคิดว่าใน 5 ปี เราจะเข้าถึงมากกว่า 70 ล้านคน" นายสุทธิชัย กล่าว พร้อมทิ้งท้ายว่า “นายแบงก์ท่านหนึ่ง พูดกับทีมใหม่ของเราว่านี่คือ New Blood , Old Brain” เลือดใหม่ แต่สมองขั้นเก๋า ผมคิดว่าเขาเห็นค่าประสบการณ์ และ ค่าสมองของประสบการณ์ความเป็นมืออาชีพ กว่า 40 ปีของเรา เหล่านื้คือพลังมหาศาลที่จะทำให้เครือเนชั่น ทะยานขึ้นไปในท้องฟ้า ผมว่าอนาคตของเครือเนชั่น สุดยอดครับ” นายสุทธิชัย กล่าว
ขณะเดียวกัน นางสาวดวงกมล โชตะนา กรรมการ และกรรมการผู้อำนวยการ บริษัทเนชั่น มัลติมีเดียกรุ๊ป ยังระบุว่า ภายใต้ ทิศทางใหม่ เครือเนชั่นพร้อมก้าวสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีโครงสร้างรายได้ที่สมดุล และลดความเสี่ยง โดย ใน 5 ปีข้างหน้า รายได้จาก สื่อดิจิทัลและบรอดคาสท์ จะมีสัดส่วนเพิ่มเป็น 40 % และรายได้จากธุรกิจการศึกษา จะเพิ่มเป็น 20% ส่วนรายได้จากสื่อสิ่งพิมพ์ จะลดจาก 60 % ในปัจจุบัน เหลือ 40%
"กลุ่ม NMG ได้ ขยายธุรกิจเพื่อสร้างสมดุลรายได้มานานแล้ว จะเห็นได้ว่า เรามีสถานีข่าวเนชั่น แชนแนล มาแล้วถึง12 ปี และในปีนี้ เราจะมีสถานีโทรทัศน์ ดาวเทียม เพิ่มขึ้นอีก 2 สถานี คือ สถานีกรุงเทพธุรกิจทีวี มุ่งโฟกัสกลุ่มนักธุรกิจ และ สถานี Kid Zone หรือคิดโซน เจาะกลุ่มเยาวชน ซึ่งจะทำให้รายได้ของเราเติบโตอย่างมั่นคงขึ้น" นางสาวดวงกมล กล่าว
นายศิริวัฒน์ วรเวท์วุฒิคุณ หนึ่งในผู้ถือหุ้น บริษัทเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป ให้ความเห็นว่าการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งนี้ ทำให้ มองเห็นอนาคตของเนชั่นชัดเจนมากขึ้น “เป็น นิว เนชั่น อย่างแท้จริง ผมขอชื่นมการตัดสนใจลดทุนของบริษัท เพื่อให้หลุดพ้นจากภาวะขาดทุนสะสม ซึ่งจะทำให้มีโอกาสจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ในอนาคต”
สำหรับผลประกอบการของบริษัทปี 2554 บริษัทมีรายได้ทั้งสิ้น 2,643 ล้านบาท ลดลง 2 % จากปี 2553 ที่มีรายได้ 2,697 ล้านบาท ทั้งที่ใน 9 เดือนแรกของปีบริษัทมีผลการดำเนินงานที่ดีมาตลอด แต่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในไตรมาสสุดท้าย อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่เกิดขึ้นนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมสื่อด้วยกัน แต่ทั้งนี้ ในภาพรวมบริษัทมีงบการเงินรวมปี 2554 ยังคงมีกำไรสุทธิ 104 ล้านบาท
การปรับเปลี่ยนโครงสร้างบริหารงานเครือเนชั่น เริ่มขึ้นเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากการก้าวขึ้นมาของ นายสุทธิชัย หยุ่น ในฐานะประธานกรรมการบริษัทแล้ว ยังปรากฏทีมผู้บริหารเลือดใหม่ในฐานะกรรมการบริหาร ที่ประกอบด้วย นายเสริมสิน สมะลาภา ดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการ พร้อม กรรมการบริหาร อีก 3 คน คือ นางสาวดวงกมล โชตะนา กรรมการผู้อำนวยการ เนชั่นกรุ๊ป , นายพนา จันทวิโรจน์ กรรมการ ผู้อำนวยการ ธุรกิจต่างประเทศ เนชั่นกรุ๊ป และนายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทเนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือNBC
นอกจากนี้ยังทีมผู้บริหารรุ่นใหม่ ที่เข้าร่วมสมทบอีก 3 คน คือ นายศิวะพร ชมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เนชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ NINE , ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น และสุดท้ายนายต่อบุญ พ่วงมหา อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สนุกดอทคอม จำกัด ในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการ ธุรกิจดิจิทัล
เพราะมีข้อมูลเกี่ยวกับ "การลดทุน, การล้างขาดทุนสะสม และการพยายามเปลี่ยน Business Model" ครับผม
v
v
==============================================
'สุทธิชัย'ลั่น'นิวเนชั่น' ล้างขาดทุนสะสม
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, วันที่ 27 เมษายน 2555 08:37
"สุทธิชัย หยุ่น"กร้าว"เครือเนชั่น"พร้อมพุ่งทะยานครั้งใหม่ ลดทุนจดทะเบียนเหลือ 873.302 ล้านบาท ล้างขาดทุนสะสม 770 ล้านบาท เหลือแค่ 2 ล้านบาท
การประชุมสามัญประจำปีผู้ถือหุ้น บริษัทเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป มีขึ้นในวานนี้ (26 เม.ย.) ณ โรงแรมเลอบัว แอดท เสตททาวเวอร์ กรุงเทพ ฯ มีมติสำคัญ คือลดทุนจดทะเบียน พร้อมนำส่วนเกินมูลค่าหุ้นไปล้างขาดทุนสะสม ซึ่งทำให้ ทุนจดทะเบียนของบริษัท ลดจาก 2,500,000 บาท เหลือ 873,302,359 บาท ส่งผลให้ขาดทุนสะสมของบริษัท เหลือเพียง 2,017,174 บาท เท่านั้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า การประชุมผู้ถือหุ้นของเครือเนชั่นครั้งนี้ ได้รับความสนใจล้นหลาม นอกจาก ผู้ถือหุ้นที่เข้าร่วม ทั้งทีแสดงตน และมอบฉันทะ เป็นอัตราส่วนถึง 76.56 % ของผู้ถือหุ้นทั้งหมด ยังรวมถึงสื่อมวลชน และ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ที่เข้าร่วมประชุมนักวิเคราะห์ในวันเดียวกัน โดยมีเป้าหมายหลักคือต้องการพบปะ คณะกรรมการบริหารชุดใหม่ ซึ่งถือเป็น “เลือดใหม่” ของเครือเนชั่น
นายสุทธิชัย หยุ่น ประธาน บริษัทเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป กล่าวเปิดการประชุม โดยให้คำมั่นกับผู้ถือหุ้นว่า ภายใต้การบริหารของทีมผู้บริหารชุดใหม่ เครือเนชั่น พร้อมก้าวไปข้างหน้า ด้วยโมเดล “C = ME3” ( C เท่ากับ ME ยกกำลังสาม) ซึงจะทำให้เครือเนชั่นทะยานไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง
"สูตรของเนชั่น คือ C เท่ากับ ME ยกกำลังสาม เราตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเข้าถึงผู้บริโภค คือ Consumer อย่างไร้ขีดจำกัด ด้วย ME กำลังสาม M หรือมวลสารของเรา คือ เนื้อหาสาระหรือคอนเทนท์ที่แข็งแกร่ง ส่วนตัวคูณ หรือ ความเร็วแสงของไอสไตน์ สำหรับเรา คือ M 3 ตัว และ E 3 ตัว ประกอบด้วย Multi Plat form , Multi Content และ Multi Region เราจะก้าวไปอาเซียน และ ก้าวไปทั่วโลกในอนาต ส่วน E ทั้ง 3 ตัวได้แก่ E คือ Edutainment Entertainment และ E Business" นายสุทธิชัย กล่าว
เขาขยายความว่า ในด้าน Multi Content เครือเนชั่น พร้อมขยายคอนเทนท์ หรือเนื้อให้ครอบคลุมทุกกลุ่มผู้รับสื่อ โดยจะมุ่งเดินหน้า ข่าวสาร ไปสู่ ข้อมูล ความรู้ และ ปัญญาในที่สุด ในด้าน Multi Platform เครือเนชั่นจะมุ่งแผ่ขยายด้านแพลทฟอร์ม โดยเปิดเกมรุกในธุรกิจดิจิทัล และบรอดคาสท์อย่างจริงจัง
ส่วนการก้าวสู่ธุรกิจในต่างประเทศ หรือ Multi Region เครือเนชั่น จะเริ่มรุกเข้าสู่ต่างประเทศ ทั้งในธุรกิจสื่อ และ ธุรกิจการศึกษา ผ่านเครือข่ายที่แข็งแกร่ง ของหนังสือพิมพ์ The Nation
"เรามีเครือข่ายสื่อต่างประเทศที่แข็งแกร่งคือ ANN (Asia News Network) เครือข่ายสื่อที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย มีสมาชิกมากถึง 21 สื่อ ใน 18 ประเทศ ตั้งแต่ปากีสถานไปจนถึงญี่ปุ่น ตั้งแต่จีนจรดอินเดีย ซึ่งเครือข่าย ANN จะเป็นสะพานให้การเปิดธุรกิจในต่างประเทศทั้งธุรกิจสื่อ และ ธุรกิจการศึกษา ของเครือเนชั่น เป็นไปได้ง่ายขึ้น"
นายสุทธิชัย ยังเปิดเผยด้วยว่า เครือเนชั่น ได้รับการติดต่อจากสื่อเอกชนของพม่า Eleven Media เจ้าของ นสพ.ภาษาพม่า และ นสพ.ภาษาอังกฤษในพม่า และเป็นผู้ให้บริการข่าว SMS ภาษาอังกฤษครั้งแรกในพม่า โดยทาบทามให้เครือเนชั่นเข้าไปช่วยเหลือในการขยายธุรกิจ เพราะชื่อเสียงของเนชั่นกรุ๊ปที่เป็นที่รู้จักดีในกลุ่มสื่อประเทศอาเซียน
"เราจะก้าวสู่สากล โดยมี ANN เป็นฐานที่สำคัญ จากสื่อทั้งหมด 21 ฉบับ ใน 18 ประเทศ ข่าวของเราจะเข้าถึง 15 ล้านคน ทั่วเอเชีย นี่คือ จุดแข็งที่คนอื่นไม่มี"
สำหรับแนวคิด 3 E คือ ยุทธศาสตร์ ก้าวรุกสู่ ธุรกิจการศึกษา และ ธุรกิจบันเทิง พร้อมด้วยการรุกสู่ E-Business ซึ่งจะเป็นแหล่งก่อเกิดรายได้ที่สำคัญในอนาคต โดยมีนายต่อบุญ พ่วงมหา อดีตซีอีโอสนุกดอทคอม เป็นกำลังสำคัญ ด้วยประสบการณ์ที่บ่มเพาะในธุรกิจดิจิทัลเกินทศวรรษ เชื่อมั่นได้ว่านายต่อบุญ จะนำเครือเนชั่น ก้าวสู่ยุคดิจิทัล และสร้างรายได้จากสื่อใหม่ได้ต่อเนื่อง
ภายใต้การนำทีมของผู้บริหารชุดใหม่ และทิศทางธุรกิจ C= ME กำลัง 3 นายสุทธิชัย กล่าวว่า จะนำพาเนชั่นให้ก้าวไปข้างหน้า โดยเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคอย่างไร้ขีดจำกัด ตั้งแต่ Generation X , Generation Y ไปจนถึง Generation C หรือ Generation “Click&Connect”
"จากปัจจุบัน เครือเนชั่น เข้าถึงผู้บริโภค 35 ล้านคน ผมคิดว่าใน 5 ปี เราจะเข้าถึงมากกว่า 70 ล้านคน" นายสุทธิชัย กล่าว พร้อมทิ้งท้ายว่า “นายแบงก์ท่านหนึ่ง พูดกับทีมใหม่ของเราว่านี่คือ New Blood , Old Brain” เลือดใหม่ แต่สมองขั้นเก๋า ผมคิดว่าเขาเห็นค่าประสบการณ์ และ ค่าสมองของประสบการณ์ความเป็นมืออาชีพ กว่า 40 ปีของเรา เหล่านื้คือพลังมหาศาลที่จะทำให้เครือเนชั่น ทะยานขึ้นไปในท้องฟ้า ผมว่าอนาคตของเครือเนชั่น สุดยอดครับ” นายสุทธิชัย กล่าว
ขณะเดียวกัน นางสาวดวงกมล โชตะนา กรรมการ และกรรมการผู้อำนวยการ บริษัทเนชั่น มัลติมีเดียกรุ๊ป ยังระบุว่า ภายใต้ ทิศทางใหม่ เครือเนชั่นพร้อมก้าวสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีโครงสร้างรายได้ที่สมดุล และลดความเสี่ยง โดย ใน 5 ปีข้างหน้า รายได้จาก สื่อดิจิทัลและบรอดคาสท์ จะมีสัดส่วนเพิ่มเป็น 40 % และรายได้จากธุรกิจการศึกษา จะเพิ่มเป็น 20% ส่วนรายได้จากสื่อสิ่งพิมพ์ จะลดจาก 60 % ในปัจจุบัน เหลือ 40%
"กลุ่ม NMG ได้ ขยายธุรกิจเพื่อสร้างสมดุลรายได้มานานแล้ว จะเห็นได้ว่า เรามีสถานีข่าวเนชั่น แชนแนล มาแล้วถึง12 ปี และในปีนี้ เราจะมีสถานีโทรทัศน์ ดาวเทียม เพิ่มขึ้นอีก 2 สถานี คือ สถานีกรุงเทพธุรกิจทีวี มุ่งโฟกัสกลุ่มนักธุรกิจ และ สถานี Kid Zone หรือคิดโซน เจาะกลุ่มเยาวชน ซึ่งจะทำให้รายได้ของเราเติบโตอย่างมั่นคงขึ้น" นางสาวดวงกมล กล่าว
นายศิริวัฒน์ วรเวท์วุฒิคุณ หนึ่งในผู้ถือหุ้น บริษัทเนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป ให้ความเห็นว่าการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งนี้ ทำให้ มองเห็นอนาคตของเนชั่นชัดเจนมากขึ้น “เป็น นิว เนชั่น อย่างแท้จริง ผมขอชื่นมการตัดสนใจลดทุนของบริษัท เพื่อให้หลุดพ้นจากภาวะขาดทุนสะสม ซึ่งจะทำให้มีโอกาสจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นได้ในอนาคต”
สำหรับผลประกอบการของบริษัทปี 2554 บริษัทมีรายได้ทั้งสิ้น 2,643 ล้านบาท ลดลง 2 % จากปี 2553 ที่มีรายได้ 2,697 ล้านบาท ทั้งที่ใน 9 เดือนแรกของปีบริษัทมีผลการดำเนินงานที่ดีมาตลอด แต่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ในไตรมาสสุดท้าย อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่เกิดขึ้นนับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมสื่อด้วยกัน แต่ทั้งนี้ ในภาพรวมบริษัทมีงบการเงินรวมปี 2554 ยังคงมีกำไรสุทธิ 104 ล้านบาท
การปรับเปลี่ยนโครงสร้างบริหารงานเครือเนชั่น เริ่มขึ้นเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากการก้าวขึ้นมาของ นายสุทธิชัย หยุ่น ในฐานะประธานกรรมการบริษัทแล้ว ยังปรากฏทีมผู้บริหารเลือดใหม่ในฐานะกรรมการบริหาร ที่ประกอบด้วย นายเสริมสิน สมะลาภา ดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการ พร้อม กรรมการบริหาร อีก 3 คน คือ นางสาวดวงกมล โชตะนา กรรมการผู้อำนวยการ เนชั่นกรุ๊ป , นายพนา จันทวิโรจน์ กรรมการ ผู้อำนวยการ ธุรกิจต่างประเทศ เนชั่นกรุ๊ป และนายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทเนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือNBC
นอกจากนี้ยังทีมผู้บริหารรุ่นใหม่ ที่เข้าร่วมสมทบอีก 3 คน คือ นายศิวะพร ชมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เนชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ NINE , ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น และสุดท้ายนายต่อบุญ พ่วงมหา อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สนุกดอทคอม จำกัด ในตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการ ธุรกิจดิจิทัล
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 283
มีคนโยนคำถาม ถามผมมา ว่า...
"ผมติด 1.7 ทำยังไงดีครับ?"
ผมตอบเค้ากลับไปว่า...
อยากได้คำตอบไหน ก็สามารถเลือกได้ตามชอบใจเลยนะขอรับ ^ ^
Twenty Ways to answer :-
1. ไม่ขายไม่ขาดทุนครับ
2. ซื้อด้วยเหตุผลไหน ก็จงขายด้วยเหตุผลนั้น
3. "คัสลอส"...เป็นคำตอบสุดท้ายครับ
4. ตอนกำไรไม่เห็นมาบ่น พอขาดทุนจะมาพูดอะไร?
5. ถ้ามั่นใจพื้นฐานกิจการ ก็ "ถือต่อ" ครับ
6. ให้คิดว่า นี่คือโอกาสที่ดีในการซื้อของเพิ่มในราคาถูกๆ สรุปว่า..."ซื้อถัว" ครับ
7. ถ้าพื้นฐานกิจการไม่เปลี่ยน ก็ไม่เห็นต้องแคร์อะไร
8. ไม่อยากเชื่อว่า ชาวไทยวีไอจะมีคำถามแบบนี้
9. คุณขาดทุนแล้ว ขายเถอะครับ...เพราะคติคือ "ขายวันนี้ กำขี้ ดีกว่ากำตด"
10. ดอยชัดๆ!!!
11. VI ทมิฬ
12. เล่นหุ้นปั่นเอง แล้วจะโทษใคร?
13. พื้นฐานไม่มี มันก็แค่เล่นตามรอบของ "เจ้ามือ" ครับ
14. เป็นนักลงทุน ใจต้องนิ่งครับ
15. ถ้าผมเป็นคุณ ผมจะหาเงินมาซื้อเพิ่มครับ
16. หุ้นมีห้าร้อยกว่าตัว ถามจริงเหอะ ทำไมถึงมาซื้อตัวนี้?
17. ซื้ออนาคตครับ ดังนั้นควรถือต่อเพื่อรอผลประกอบการที่ดีขึ้น
18. จะถือไปทำไมครับ ปันผลก็ไม่มี อนาคตก็ยังเลือนลาง
19. รอเจ้ามือลาก ถ้าโชคดี อาจปล่อยของได้ (แต่ไม่รู้เมื่อไหร่นะ)
20. ถามตัวเองดีๆครับว่า คุณเป็น "นักเล่นหุ้น" หรือ "นักลงทุน" กันแน่?
*** การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน ***
"ผมติด 1.7 ทำยังไงดีครับ?"
ผมตอบเค้ากลับไปว่า...
อยากได้คำตอบไหน ก็สามารถเลือกได้ตามชอบใจเลยนะขอรับ ^ ^
Twenty Ways to answer :-
1. ไม่ขายไม่ขาดทุนครับ
2. ซื้อด้วยเหตุผลไหน ก็จงขายด้วยเหตุผลนั้น
3. "คัสลอส"...เป็นคำตอบสุดท้ายครับ
4. ตอนกำไรไม่เห็นมาบ่น พอขาดทุนจะมาพูดอะไร?
5. ถ้ามั่นใจพื้นฐานกิจการ ก็ "ถือต่อ" ครับ
6. ให้คิดว่า นี่คือโอกาสที่ดีในการซื้อของเพิ่มในราคาถูกๆ สรุปว่า..."ซื้อถัว" ครับ
7. ถ้าพื้นฐานกิจการไม่เปลี่ยน ก็ไม่เห็นต้องแคร์อะไร
8. ไม่อยากเชื่อว่า ชาวไทยวีไอจะมีคำถามแบบนี้
9. คุณขาดทุนแล้ว ขายเถอะครับ...เพราะคติคือ "ขายวันนี้ กำขี้ ดีกว่ากำตด"
10. ดอยชัดๆ!!!
11. VI ทมิฬ
12. เล่นหุ้นปั่นเอง แล้วจะโทษใคร?
13. พื้นฐานไม่มี มันก็แค่เล่นตามรอบของ "เจ้ามือ" ครับ
14. เป็นนักลงทุน ใจต้องนิ่งครับ
15. ถ้าผมเป็นคุณ ผมจะหาเงินมาซื้อเพิ่มครับ
16. หุ้นมีห้าร้อยกว่าตัว ถามจริงเหอะ ทำไมถึงมาซื้อตัวนี้?
17. ซื้ออนาคตครับ ดังนั้นควรถือต่อเพื่อรอผลประกอบการที่ดีขึ้น
18. จะถือไปทำไมครับ ปันผลก็ไม่มี อนาคตก็ยังเลือนลาง
19. รอเจ้ามือลาก ถ้าโชคดี อาจปล่อยของได้ (แต่ไม่รู้เมื่อไหร่นะ)
20. ถามตัวเองดีๆครับว่า คุณเป็น "นักเล่นหุ้น" หรือ "นักลงทุน" กันแน่?
*** การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุน ***
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 191
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 284
ขอออกความคิดเห็นเกี่ยวกับหุ้น "อสังหาริมทรัพย์"
ในฐานะที่ผมเป็นผู้หนึ่งที่อยู่ในธุรกิจนี้ ผมมีความคิดเห็นว่าเป็นอะไรที่ประเมินได้ยากมากครับสำหรับ "กลุ่มที่พัฒนาเพื่อขาย" เพียงอย่างเดียวเพราะปัจจัยสำคัญคือ "ทำเล และกลยุทธ์การขาย" ถ้าโครงการไหนเวริค มันจะขายเร็วมากครับเมื่อเศรษฐกิจดีบริษัทเหล่านี้จะทำกำไรได้มหาศาล แต่ผมคิดว่าบริษัทที่ดีจริงๆ คือบริษัทที่มี "รายได้ประจำเพียงพอสำหรับการประคองธุรกิจไว้ไม่ให้ขาดทุน" เพราะจะทนต่อภาวะการณ์ตกต่ำในอนาคตได้ ดังนั้นถ้าคิดจะเลือกหุ้นกลุ่มนี้ ผมว่าควรมีรายได้ประจำที่มาจาก "ค่าเช่า" คุ้มทุนในการดำรงอยู่ของบริษัท และไม่กู้หนี้ยืมสินมาขยายโครงการมากเสียจนเกินไป น่าจะปลอดภัยกว่ามาก เพราะว่าประสบการณ์ของผมก็คือ "ยอดขายในวันนี้ 100% อาจกลายเป็นยอดโอนเพียงแค่ 50% ในวันที่บ้านสร้างเสร็จเพราะทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลงได้ครับ" และ "ราคาขายที่คาดว่าจะกำไร 40% ในวันนี้ อาจกลายเป็นขาดทุนได้เสมอเมื่อเราโอนบ้าน" เพราะต้นทุนมันวิ่งขึ้นวิ่งลงตลอดเวลา บางโครงการทำยอดขาย Presale ได้มโหฬาร แต่กลับมีรายการผ่อนดาวน์ยาวนานถึง 16 เดือน โครงการเหล่านี้มีความเสี่ยงจะขาดทุนมากครับ ต้องระวังให้ดีครับ
ขออภัยที่สอดแทรกความคิดเห็นมาในบอร์ดที่คุณ Pak ตั้งขึ้น
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆของคุณ Pak ซึ่งทำให้บอร์ด ThaiVi ยังคงมีเสน่ห์ดั่งเดิมเหมือนที่เคยเป็น
ในฐานะที่ผมเป็นผู้หนึ่งที่อยู่ในธุรกิจนี้ ผมมีความคิดเห็นว่าเป็นอะไรที่ประเมินได้ยากมากครับสำหรับ "กลุ่มที่พัฒนาเพื่อขาย" เพียงอย่างเดียวเพราะปัจจัยสำคัญคือ "ทำเล และกลยุทธ์การขาย" ถ้าโครงการไหนเวริค มันจะขายเร็วมากครับเมื่อเศรษฐกิจดีบริษัทเหล่านี้จะทำกำไรได้มหาศาล แต่ผมคิดว่าบริษัทที่ดีจริงๆ คือบริษัทที่มี "รายได้ประจำเพียงพอสำหรับการประคองธุรกิจไว้ไม่ให้ขาดทุน" เพราะจะทนต่อภาวะการณ์ตกต่ำในอนาคตได้ ดังนั้นถ้าคิดจะเลือกหุ้นกลุ่มนี้ ผมว่าควรมีรายได้ประจำที่มาจาก "ค่าเช่า" คุ้มทุนในการดำรงอยู่ของบริษัท และไม่กู้หนี้ยืมสินมาขยายโครงการมากเสียจนเกินไป น่าจะปลอดภัยกว่ามาก เพราะว่าประสบการณ์ของผมก็คือ "ยอดขายในวันนี้ 100% อาจกลายเป็นยอดโอนเพียงแค่ 50% ในวันที่บ้านสร้างเสร็จเพราะทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลงได้ครับ" และ "ราคาขายที่คาดว่าจะกำไร 40% ในวันนี้ อาจกลายเป็นขาดทุนได้เสมอเมื่อเราโอนบ้าน" เพราะต้นทุนมันวิ่งขึ้นวิ่งลงตลอดเวลา บางโครงการทำยอดขาย Presale ได้มโหฬาร แต่กลับมีรายการผ่อนดาวน์ยาวนานถึง 16 เดือน โครงการเหล่านี้มีความเสี่ยงจะขาดทุนมากครับ ต้องระวังให้ดีครับ
ขออภัยที่สอดแทรกความคิดเห็นมาในบอร์ดที่คุณ Pak ตั้งขึ้น
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆของคุณ Pak ซึ่งทำให้บอร์ด ThaiVi ยังคงมีเสน่ห์ดั่งเดิมเหมือนที่เคยเป็น
อย่าเชื่อสิ่งที่พระเจ้าบอก แต่จงคิดและเลือกที่จะเชื่อด้วยตัวท่านเอง !!
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 286
ประโยคสั้นๆจาก "คุณประภาส ชลศรานนท์"
แต่มันสามารถใช้อธิบาย "ความรู้สึกทั้งหมดในหัวใจ(ของนักลงทุนคนนี้)" ได้เป็นอย่างดีจริงๆครับ
"เมื่อเราอยู่บนถนนเส้นหนึ่ง
และเราก็เชื่อว่าถนนเส้นนี้มันมีทางไปต่อมากกว่าที่เราเห็น
...
นี่แหละคือศรัทธา"
โดย Prapas Cholsaranon
แต่มันสามารถใช้อธิบาย "ความรู้สึกทั้งหมดในหัวใจ(ของนักลงทุนคนนี้)" ได้เป็นอย่างดีจริงๆครับ
"เมื่อเราอยู่บนถนนเส้นหนึ่ง
และเราก็เชื่อว่าถนนเส้นนี้มันมีทางไปต่อมากกว่าที่เราเห็น
...
นี่แหละคือศรัทธา"
โดย Prapas Cholsaranon
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 288
เทคนิคการลงทุนในกิจการที่มีขาดทุนสะสม
posted on 06 Jun 2012 22:08 by value in Invesment directory Knowledge
Credit : Web Blog ชื่อ สอนเล่นหุ้นให้รวย
ที่มา : http://value.exteen.com/20120606/entry
ตัวเลขในบัญชีก็เหมือนบัญชีหนังหมาที่บันทึกผลกรรมในอดีตชาติที่ทำไว้ ถ้าทำกรรมดีกิจการขายของได้มีกำไรก็จะบันทึกในกำไรสะสม แต่ถ้าขาดทุนก็จะบันทึกเป็นขาดทุนสะสม ซึ่งจะปรากฏอยู่ในงบดุลในส่วนของผู้ถือหุ้น จากผลกรรมที่ผู้บริหารได้ก่อไว้ได้ส่งผลให้บริษัทไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ ผู้ถือหุ้นที่เอาเงินมาลงก็เงินจมรอกันเหงือกแห้ง ไม่มีเงินปันผลกินต้องอยู่แบบอดๆอยากๆ
สำหรับบริษัทที่ต้องรับวิบากจากการมีขาดทุนสะสมในส่วนของผู้ถือหุ้น สามารถลดหรือล้างขาดทุนสะสมได้ด้วยกรรมวิธีดังนี้
•กำไรจากผลประกอบการ
•ลดทุนจดทะเบียน(ไม่ลดจำนวนหุ้น)
•สามารถขออนุมัติเอาส่วนเกินมูลค่าราคาพาร์ (เงินที่ขายเกินราคาพาร์ตอน IPO) มาลดหรือล้างขาดทุนสะสม แต่ว่าถ้ามี "ส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น (ขายหุ้นต่ำกว่าราคาพาร์ในอดีต)" ต้องนำส่วนเกินไปล้างให้หมดก่อนส่วนเหลือนำมาล้างขาดทุนสะสม
•กู้เงินมามันก็เป็นเงินคนอื่นไม่ใช่เงินของบริษัทจะนำไปลดหรือล้างขาดทุนสะสมไม่ได้ ย้ำ ไม่ได้
เมื่อผ่านพิธีกรรมเหล่านี้ราคาจะเป็นอย่างไรไม่ต้องบอก
ตัวอย่างที่ 1 บริษัท XYZ
A. จุดประสงค์การลดทุน(ไม่ลดจำนวนหุ้น)ทำเพื่อล้างหรือลดขาดทุนสะสมจะกระทบรายการบัญชีในส่วนผู้ถือหุ้น (Equity) ในงบดุล เป็นการปรับตัวเลขบัญชีให้ตรงกับความเป็นจริง (ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับงบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด) บัญชีที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
•ทุนจดทะเบียน - หุ้นสามัญ
•ทุนที่ออกและชำระแล้ว - หุ้นสามัญ
•ส่วนเกินทุน (ขายหุ้นสูงกว่าราคาพาร์)
•ส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น (ขายหุ้นต่ำกว่าราคาพาร์)
•กำไรสะสม - ยังไม่ได้จัดสรร
•รวมส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่
B. ตัวอย่าง ในปี 2546 บริษัท xyz ได้จดทะเบียนเงินทุน 10,000.00 บาท โดยออกหุ้น 1,000 หุ้นๆละ 10.00 บาท ขายหุ้นหมดได้รับเงินมาเรียบร้อย ระหว่างดำเนินงานของปีมีกำไร 1,000.00 บาท สิ้นปีงบดุลแสดง
(๑) เงินทุน 10,000.00 บาท
(๒) กำไรสะสม 1,000.00 บาท
(๓) สัดส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มเป็น 11,000.00 บาท หรือ มูลค่าทางบัญชี 11.00 บาทต่อหุ้น
•B.1 ในปี 2547 กิจการขาดทุน 2,000.00 บาท สิ้นปีงบดุลแสดง
(๔)เงินทุน 10,000.00 บาท
(๕) กำไรสะสมปีที่แล้วกลับมาเป็น ขาดทุนสะสม -1,000.00 บาท
(๖) สัดส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มเป็น 9,000.00 บาทลดลง หรือ มูลค่าทางบัญชี 9.00 บาทต่อหุ้น นั้นหมายถึงว่าเงินที่ลงไป 10.00 บาท เหลือ 9.00 บาท
•B.2 ในปีต่อๆมา กิจการขาดทุนเพิ่มอีก 7,000.00 บาท งบดุลย์แสดง
(๗)เงินทุน 10,000.00 บาท
(๘) ขาดทุนสะสม -8,000.00 บาท เพิ่มขึ้น
(๙) สัดส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มเป็น 2,000.00 บาทลดลง หรือ มูลค่าทางบัญชี 2.00 บาทต่อหุ้น นั้นหมายถึงว่าเงินที่ลงไป 10.00 บาท เหลือ 2.00 บาท
•B.3 บรัษัทต้องการล้างหรือลดขาดทุนสะสมเพือสะส้างปรับบัญชีให้ตรงความเป็นจริง ในเมื่อทุนที่ลงไป 10.00 บาทหายไปแทบหมดเหลือเพียง 2.00 บาท บริษัทขอลดทุนจดทะเบียนเป็น 2,000 บาท พาร์ 2.00 บาทโดยไม่ลดจำนวนหุ้น 1,000 หุ้น งบดุลย์แสดง
(๑๐) เงินทุน 2,000.00 บาท
(๑๑) ส่วนเกินขายหุ้นสูงกว่าพาร์ 8,00.00 บาท
(๑๒) ขาดทุนสะสม -8,000.00 บาท
(๑๓) สัดส่วนผู้ถือหุ้น 2,000.00 บาทเท่ากับทุนจดทะเบียน หรือ มูลค่าทางบัญชี 2.00 บาทต่อหุ้น เป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่
(๑๔) บริษัทสามารถขออนุมัติจาก กลต หรือ ตลท แล้วแต่กรณี นำ ข้อ (๑๑) มาล้างขาดทุนสะสมในข้อ (๑๒) หมดไปได้จะทำให้บริษัทสามารถจ่ายปันผลได้
C. บริษัทสามารถขอแตกพาร์จาก 2.00 บาท เป็น 1.00 บาท โดยขอเปลี่ยนทุนจดทะเบียนส่วนราคาพาร์และจำนวนหุ้นเพิ่มเป็น 2,000 หุ้น จำนวนเงินไม่เปลียนแปลง 2,000 บาทที่เหลืออยู่
D. หลังจากปรับตัวเลขตรงความเป็นจริง บริษัทสามารถหาผู้มาร่วมทุน บริษัทขอจดทะเบียนเพิ่มทุนเป็น 10,000 บาท ราคาพาร์ 1.00 บาท จำนวนหุ้น 10,000 หุ้น หุ้นที่เพิ่มขึ้น 8,000 หุ้น (จาก ข้อ C) นำออกขายที่ราคาเท่าไร(ส่วนใหญ่ไม่ต่ำกว่าราคาพาร์)ก็แล้วแต่ผู้บริหาร เงินที่ได้มาก็จะเพิ่มกระแสเงินสด
E. ลดทุน แตกพาร์ เพิ่มทุน บริษัทจะเลือกวิธีหนึ่งวิธีใด หรือสองใด หรือทั้งสามวิธีพร้อมๆกัน
ตัวอย่างที่ 2 หุ้น SUPER
ตัวอย่งที่ 2 หุ้น SUPER ได้รับผลกรรมจากการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์มาทำโรงงานผลิตอิฐมวลเบา มีส่วนเกินมูลค่าหุ้น 284.97 ล้านบาท แต่ผู้บริหาร vision ล้ำไปหน่อยตลาดยังไม่โตแต่มีโรงงานตั้งมา 5 โรงพร้อมๆกัน แต่ละเจ้าก็กลัวไม่มีงานทำตัดราคากันกระจุย กำไรขั้นต้นยังไม่มี ขาดทุนไม่ยั้งจนงบการเงิน Q1 ในปี 2555 แสดงขาดทุนสะสม ในส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 670.53 ล้านบาท
คำถาม ในปจุจบันอุตสาหกรรมอิฐมวลเบามีการเจริฐเติบโตเนื่องจากโครงการบ้านจัดสรร คอนโดนิยมนำมาใช้ก่อสร้างเนื่องจากนำมาทดแทนอิฐมอญที่ทำงานช้าและใช้แรงงานคนมากได้ ถ้าท่านเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทนี้จะทำอย่างไรให้บริษัทสามารถจ่ายเงินเงินปันผลจากกำไรได้ หลังจากที่ลงทุนไปแล้วต้องอยู่อย่างอดอยากปากแห้งมานาน
ที่มา http://www.set.or.th/set/factsheet.do?s ... country=TH (ค้นเมื่อ 6 มิย 55
posted on 06 Jun 2012 22:08 by value in Invesment directory Knowledge
Credit : Web Blog ชื่อ สอนเล่นหุ้นให้รวย
ที่มา : http://value.exteen.com/20120606/entry
ตัวเลขในบัญชีก็เหมือนบัญชีหนังหมาที่บันทึกผลกรรมในอดีตชาติที่ทำไว้ ถ้าทำกรรมดีกิจการขายของได้มีกำไรก็จะบันทึกในกำไรสะสม แต่ถ้าขาดทุนก็จะบันทึกเป็นขาดทุนสะสม ซึ่งจะปรากฏอยู่ในงบดุลในส่วนของผู้ถือหุ้น จากผลกรรมที่ผู้บริหารได้ก่อไว้ได้ส่งผลให้บริษัทไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ ผู้ถือหุ้นที่เอาเงินมาลงก็เงินจมรอกันเหงือกแห้ง ไม่มีเงินปันผลกินต้องอยู่แบบอดๆอยากๆ
สำหรับบริษัทที่ต้องรับวิบากจากการมีขาดทุนสะสมในส่วนของผู้ถือหุ้น สามารถลดหรือล้างขาดทุนสะสมได้ด้วยกรรมวิธีดังนี้
•กำไรจากผลประกอบการ
•ลดทุนจดทะเบียน(ไม่ลดจำนวนหุ้น)
•สามารถขออนุมัติเอาส่วนเกินมูลค่าราคาพาร์ (เงินที่ขายเกินราคาพาร์ตอน IPO) มาลดหรือล้างขาดทุนสะสม แต่ว่าถ้ามี "ส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น (ขายหุ้นต่ำกว่าราคาพาร์ในอดีต)" ต้องนำส่วนเกินไปล้างให้หมดก่อนส่วนเหลือนำมาล้างขาดทุนสะสม
•กู้เงินมามันก็เป็นเงินคนอื่นไม่ใช่เงินของบริษัทจะนำไปลดหรือล้างขาดทุนสะสมไม่ได้ ย้ำ ไม่ได้
เมื่อผ่านพิธีกรรมเหล่านี้ราคาจะเป็นอย่างไรไม่ต้องบอก
ตัวอย่างที่ 1 บริษัท XYZ
A. จุดประสงค์การลดทุน(ไม่ลดจำนวนหุ้น)ทำเพื่อล้างหรือลดขาดทุนสะสมจะกระทบรายการบัญชีในส่วนผู้ถือหุ้น (Equity) ในงบดุล เป็นการปรับตัวเลขบัญชีให้ตรงกับความเป็นจริง (ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับงบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด) บัญชีที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
•ทุนจดทะเบียน - หุ้นสามัญ
•ทุนที่ออกและชำระแล้ว - หุ้นสามัญ
•ส่วนเกินทุน (ขายหุ้นสูงกว่าราคาพาร์)
•ส่วนต่ำกว่ามูลค่าหุ้น (ขายหุ้นต่ำกว่าราคาพาร์)
•กำไรสะสม - ยังไม่ได้จัดสรร
•รวมส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่
B. ตัวอย่าง ในปี 2546 บริษัท xyz ได้จดทะเบียนเงินทุน 10,000.00 บาท โดยออกหุ้น 1,000 หุ้นๆละ 10.00 บาท ขายหุ้นหมดได้รับเงินมาเรียบร้อย ระหว่างดำเนินงานของปีมีกำไร 1,000.00 บาท สิ้นปีงบดุลแสดง
(๑) เงินทุน 10,000.00 บาท
(๒) กำไรสะสม 1,000.00 บาท
(๓) สัดส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มเป็น 11,000.00 บาท หรือ มูลค่าทางบัญชี 11.00 บาทต่อหุ้น
•B.1 ในปี 2547 กิจการขาดทุน 2,000.00 บาท สิ้นปีงบดุลแสดง
(๔)เงินทุน 10,000.00 บาท
(๕) กำไรสะสมปีที่แล้วกลับมาเป็น ขาดทุนสะสม -1,000.00 บาท
(๖) สัดส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มเป็น 9,000.00 บาทลดลง หรือ มูลค่าทางบัญชี 9.00 บาทต่อหุ้น นั้นหมายถึงว่าเงินที่ลงไป 10.00 บาท เหลือ 9.00 บาท
•B.2 ในปีต่อๆมา กิจการขาดทุนเพิ่มอีก 7,000.00 บาท งบดุลย์แสดง
(๗)เงินทุน 10,000.00 บาท
(๘) ขาดทุนสะสม -8,000.00 บาท เพิ่มขึ้น
(๙) สัดส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มเป็น 2,000.00 บาทลดลง หรือ มูลค่าทางบัญชี 2.00 บาทต่อหุ้น นั้นหมายถึงว่าเงินที่ลงไป 10.00 บาท เหลือ 2.00 บาท
•B.3 บรัษัทต้องการล้างหรือลดขาดทุนสะสมเพือสะส้างปรับบัญชีให้ตรงความเป็นจริง ในเมื่อทุนที่ลงไป 10.00 บาทหายไปแทบหมดเหลือเพียง 2.00 บาท บริษัทขอลดทุนจดทะเบียนเป็น 2,000 บาท พาร์ 2.00 บาทโดยไม่ลดจำนวนหุ้น 1,000 หุ้น งบดุลย์แสดง
(๑๐) เงินทุน 2,000.00 บาท
(๑๑) ส่วนเกินขายหุ้นสูงกว่าพาร์ 8,00.00 บาท
(๑๒) ขาดทุนสะสม -8,000.00 บาท
(๑๓) สัดส่วนผู้ถือหุ้น 2,000.00 บาทเท่ากับทุนจดทะเบียน หรือ มูลค่าทางบัญชี 2.00 บาทต่อหุ้น เป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่
(๑๔) บริษัทสามารถขออนุมัติจาก กลต หรือ ตลท แล้วแต่กรณี นำ ข้อ (๑๑) มาล้างขาดทุนสะสมในข้อ (๑๒) หมดไปได้จะทำให้บริษัทสามารถจ่ายปันผลได้
C. บริษัทสามารถขอแตกพาร์จาก 2.00 บาท เป็น 1.00 บาท โดยขอเปลี่ยนทุนจดทะเบียนส่วนราคาพาร์และจำนวนหุ้นเพิ่มเป็น 2,000 หุ้น จำนวนเงินไม่เปลียนแปลง 2,000 บาทที่เหลืออยู่
D. หลังจากปรับตัวเลขตรงความเป็นจริง บริษัทสามารถหาผู้มาร่วมทุน บริษัทขอจดทะเบียนเพิ่มทุนเป็น 10,000 บาท ราคาพาร์ 1.00 บาท จำนวนหุ้น 10,000 หุ้น หุ้นที่เพิ่มขึ้น 8,000 หุ้น (จาก ข้อ C) นำออกขายที่ราคาเท่าไร(ส่วนใหญ่ไม่ต่ำกว่าราคาพาร์)ก็แล้วแต่ผู้บริหาร เงินที่ได้มาก็จะเพิ่มกระแสเงินสด
E. ลดทุน แตกพาร์ เพิ่มทุน บริษัทจะเลือกวิธีหนึ่งวิธีใด หรือสองใด หรือทั้งสามวิธีพร้อมๆกัน
ตัวอย่างที่ 2 หุ้น SUPER
ตัวอย่งที่ 2 หุ้น SUPER ได้รับผลกรรมจากการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์มาทำโรงงานผลิตอิฐมวลเบา มีส่วนเกินมูลค่าหุ้น 284.97 ล้านบาท แต่ผู้บริหาร vision ล้ำไปหน่อยตลาดยังไม่โตแต่มีโรงงานตั้งมา 5 โรงพร้อมๆกัน แต่ละเจ้าก็กลัวไม่มีงานทำตัดราคากันกระจุย กำไรขั้นต้นยังไม่มี ขาดทุนไม่ยั้งจนงบการเงิน Q1 ในปี 2555 แสดงขาดทุนสะสม ในส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 670.53 ล้านบาท
คำถาม ในปจุจบันอุตสาหกรรมอิฐมวลเบามีการเจริฐเติบโตเนื่องจากโครงการบ้านจัดสรร คอนโดนิยมนำมาใช้ก่อสร้างเนื่องจากนำมาทดแทนอิฐมอญที่ทำงานช้าและใช้แรงงานคนมากได้ ถ้าท่านเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทนี้จะทำอย่างไรให้บริษัทสามารถจ่ายเงินเงินปันผลจากกำไรได้ หลังจากที่ลงทุนไปแล้วต้องอยู่อย่างอดอยากปากแห้งมานาน
ที่มา http://www.set.or.th/set/factsheet.do?s ... country=TH (ค้นเมื่อ 6 มิย 55
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 290
นี่ก็เป็นอีกหนึ่งบริษัทฯที่เป็นกรณีศึกษาของหุ้น Turnaround ที่ดีครับ
โดยเราควรต้องดูย้อนหลังไปนานๆ!!!
เพราะ Story ของเค้าเดินมานานแล้ว และนี่คือเฟสเกือบจะสุดท้ายของการ Turnaround ของบริษัทฯเค้าแล้วครับผม
โดยเราควรต้องดูย้อนหลังไปนานๆ!!!
เพราะ Story ของเค้าเดินมานานแล้ว และนี่คือเฟสเกือบจะสุดท้ายของการ Turnaround ของบริษัทฯเค้าแล้วครับผม
pak เขียน:CCP แย้มข่าวดีล้างขาดทุนหมดปีหน้าจ่ายปันผล [ ข่าวหุ้น, 19 มิ.ย. 55 ]
CCP ลั่นปีนี้ล้างขาดทุนสะสม 135 ล้านบาทหมดเกลี้ยงประกาศปีหน้าจ่ายปันผลผู้ถือหุ้นเป็นครั้งแรกใน
รอบ 5 ปี แย้มครึ่งหลังรอเซ็นงานใหญ่มูลค่าพันล้านบาท ย้ำเป้ารายได้ปีนี้โต 20% ส่วนงบ Q2 รายได้
กำไรงาม แต่งตัวลูก "สมาร์ทคอนกรีต" เข้าตลาดหุ้นต้นปีหน้า
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 732
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 291
ตามสูตรเรื่อง : การลดทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วของ "MALEE"
ชื่อบริษัท : บริษัท มาลีสามพราน จำกัด (มหาชน) (MALEE)
มูลค่าที่ตราไว้เดิม (บาท) : 10.00
มูลค่าที่ตราไว้ใหม่ (บาท) : 2.00
วันที่มีผล : 22 มิ.ย. 2555
หมายเหตุ : ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นจดทะเบียน
___________________________________________________________________
ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
- raynus
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 720
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 292
ถามคุณ pak ครับ
มีวิธี บริหารความเสี่ยง หุ้นใน port อย่างไรครับ ?
อย่างเช่น ถ้าติดตามไปเรื่องๆแล้วมันยังไม่มีแนวโน้มจะ turn ในช่วงเวลาหนึ่ง
หรือ
แนวโน้มไม่ฟิ้นซะที ก็ลดการลงทุนลง
หรือ ถือหลายๆตัวกระจายบความเสี่ยง
ขอบคุณล่วงหน้าครับ
มีวิธี บริหารความเสี่ยง หุ้นใน port อย่างไรครับ ?
อย่างเช่น ถ้าติดตามไปเรื่องๆแล้วมันยังไม่มีแนวโน้มจะ turn ในช่วงเวลาหนึ่ง
หรือ
แนวโน้มไม่ฟิ้นซะที ก็ลดการลงทุนลง
หรือ ถือหลายๆตัวกระจายบความเสี่ยง
ขอบคุณล่วงหน้าครับ
สายปันผลครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 293
หากพูดถึง "หุ้น Turnaround" สำหรับผมแล้วraynus เขียน:ถามคุณ pak ครับ
มีวิธี บริหารความเสี่ยง หุ้นใน port อย่างไรครับ ?
อย่างเช่น ถ้าติดตามไปเรื่องๆแล้วมันยังไม่มีแนวโน้มจะ turn ในช่วงเวลาหนึ่ง
หรือ
แนวโน้มไม่ฟิ้นซะที ก็ลดการลงทุนลง
หรือ ถือหลายๆตัวกระจายบความเสี่ยง
ขอบคุณล่วงหน้าครับ
ผมมองว่า...
มันเหมือน "หนังดีๆสักเรื่องหนึ่ง" หรือ "หนังที่มี Story อันแสนน่าติดตาม"
เรื่องที่เราดูผ่านไป เรื่องแล้วเรื่องเล่า
... จาก "BATA" สู่ "NC"
จาก "NC" สู่ "FOCUS" และ "BLAND"
และไม่จำเป็นที่เราจะต้องได้อะไรจากมัน
แต่แค่เราเฝ้าดูมัน นั่นก็คือความสุขของผู้เฝ้ามองแล้วหล่ะครับ
กับหนังเรื่องยาวที่ชื่อ "PAE"
คนดูก็คงเฝ้าลุ้น ว่าหนังเรื่องนี้จะจบอย่างไร?
อาจจะจบแบบ "Happy Ending" หรืออาจเป็น "โศกนาฏกรรม"
ผู้กำกับจะสร้างหนังเรื่องนี้ให้ไปจบลงที่ใด?
...ไม่อาจมีใครหยั่งรู้ นอกจากการเฝ้าดูต่อไป
สำหรับเรื่อง "การกระจายความเสี่ยง" นั้น...ผมช่างไม่เอาไหนเอาเสียเลยครับ
ชอบเหลือเกินกับ "การตีตั๋ว VIP" เพื่อเฝ้าดูหนังเรื่องโปรดที่ตัวเองชื่นชอบ
ทั้งๆที่ก็รู้ว่า...เมื่อหนังจบ ผมอาจจะมี "รอยยิ้ม" หรือ "น้ำตา" ออกมาก็ได้
สรุปว่า...เป็นตัวอย่างที่ไม่ดี และไม่น่าทำตามครับผม
Pak ThaiVI
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
- Outliers
- Verified User
- โพสต์: 527
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 295
NOBLE ไม่น่าจะใช่หุ้น Turnaround นะครับpak เขียน:ปล.
ยังมีหนังที่น่าติดตามอย่างยิ่งอยู่อีก 2 - 3 เรื่อง ที่ผมแอบชำเลืองมองอยู่เป็นประจำ
นั่นก็คือ "SSI , NOBLE และ RML" ครับผม
น่าจะเป็นหุ้นที่รอเวลาที่ผลประกอบการจะเติบโตแบบมหาศาลมากกว่า
The Miracle of 10,000 hrs
-
- Verified User
- โพสต์: 112
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 296
ชำเลืองมอง SSI แล้วเห็นเป็นอย่างไรช่วยแชร์ได้มั๊ยครับ?pak เขียน:ปล.
ยังมีหนังที่น่าติดตามอย่างยิ่งอยู่อีก 2 - 3 เรื่อง ที่ผมแอบชำเลืองมองอยู่เป็นประจำ
นั่นก็คือ "SSI , NOBLE และ RML" ครับผม
อยากได้ความเห็นของท่านหัวหน้าก๊กครับ
- anubist
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1373
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Re:
โพสต์ที่ 297
คุณpakครับ ทำไมp/bvถึงสูงได้ขาด2xxเท่าล่ะครับ บ.เคยโดนrehabหรือว่าทุนติดลบเหรอครับpak เขียน:^pak เขียน:ขออนุญาตินำเสนออีกบริษัทฯหนึ่งเอาไว้
เพื่อเป็นกรณีศึกษาต่อไป
บริษัทฯที่ยังคาบลูกคาบดอก และมีความเสี่ยงมากทีเดียว
บริษัทฯขนาดเล็กๆ แต่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
บริษัทฯที่มีฐานะและผลกอบการย่ำแย่ แต่กลับมีสินค้าบริการ และรายชื่อลูกค้าที่ไม่ธรรมดา
"จะฟื้นหรือฟุบยาว" ยังไม่มีตัวบ่งชี้ที่ชัดเจน!!!
PAE ครับผม
^
ผมเริ่มลงทุนในหุ้นตัวนี้ในวันที่ 1 ต.ค. 53
และได้นำเสนอหุ้นโดย Post ไว้ในในกระทู้นี้เมื่อวันที่ 2 ต.ค. 53
1 ปีผ่านไป...เกิดอะไรขึ้นบ้าง?
คำตอบเป็นดังนี้ขอรับ
สรุปเหตุการณ์สำคัญของ PAE ในปี 2553
สรุปเหตุการณ์สำคัญของ PAE ในปี 2554
เห็นไหมครับ ว่าเราไม่จำเป็นต้องคุยกันเรื่อง "ราคา" กันเลย!!!
เราเพียงดู Story และผลประกอบการ(เปรียบเทียบกับ Business Plan)...นั่นก็เพียงพอแล้ว
หุ้นลง...ผมก็ยังไม่ขาย
หุ้นขึ้น...ผมก็ยังไม่ขาย
อืมมม...แล้วผมจะสนใจราคา(ในระยะสั้นๆ)ไปเพื่อ???
ถ้ามีโอกาส ไว้ปีหน้าเรามาดูกันใหม่นะครับ
ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปได้บ้าง
(^_^)
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 732
- ผู้ติดตาม: 0
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 299
หุ้นปัญหาเยอะสิ่งที่หล่อเลี้ยงก็คือความหวังครับ แต่ "ความหวังที่ไม่มีความเพียรก็เป็นแค่ความสิ้นหวัง" ดูจากแผนที่คุณ pak ยกมาเห็นถึงความเพียรของผู้บริหารที่จะพาบริษัทก้าวหน้าจริงๆครับ
แนบไฟล์
ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 1
Re: $$ รวมหุ้น Turnaround $$
โพสต์ที่ 300
ส่วนตัวแล้ว ผมเชื่อว่า...rTee เขียน:ชำเลืองมอง SSI แล้วเห็นเป็นอย่างไรช่วยแชร์ได้มั๊ยครับ?
อยากได้ความเห็นของท่านหัวหน้าก๊กครับ
"ถ้าจะถือ PAE น่าจะต้องรอถึงเดือน พฤศจิกายน 2555 (รออีก 4 เดือน)
และถ้าจะถือ SSI น่าจะต้องรอถึงเดือน เมษายน 2556 (รออีก 9 เดือน)"
คำถามเดียวสั้นๆ คือ "คุณทนถือไหวไหม?"...ก็เท่านั้นเองครับ
^ ^
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."