CHANGE/ธันวา เลาหศิริวงศ์

บทความต่างๆ ที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม เพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
little wing
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 187
ผู้ติดตาม: 0

CHANGE/ธันวา เลาหศิริวงศ์

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

   CHANGE หรือการเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่อยู่คู่โลกตลอดมา ดังคำพูดที่ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ในโลกธุรกิจนั้น เทคโนโลยีเป็นอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว มาดูกันว่ากิจการในอุตสาหกรรมนี้ได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง
	บริษัทแอปเปิ้ล (AAPL) เป็นบริษัทที่นำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ สู่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องโดยเพิ่งเปิดตัว iSO6 และแม็คบุ๊คใหม่ล่าสุด บริษัทได้ขยายธุรกิจจากที่เคยพึ่งพาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในอดีต มายังอุตสาหกรรมเพลง สื่อบันเทิง อุปกรณ์สื่อสารพกพา ผลิตภัณฑ์ iPod, iPad และ iPhone ประสบความสำเร็จอย่างสูง ส่งผลให้ประกอบการดีขึ้นอย่างมากและกลายเป็นกิจการที่มีมูลค่าตลาดสูงสุดในโลกกว่า 540 พันล้านเหรียญสหรัฐ ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นจาก 8, 16, 85 เหรียญในปี 2000, 2004 และ 2008 ตามลำดับ มาอยู่ที่ 575 เหรียญในปัจจุบัน
	บริษัทไอบีเอ็ม (IBM)  ดำเนินกิจการมากว่า 100 ปี เปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจโดยมุ่งเน้นธุรกิจซอฟแวร์และธุรกิจบริการที่เพิ่มคุณค่าและสร้างความแตกต่าง นอกจากฮาร์ดแวร์ซึ่งเคยเป็นธุรกิจหลักในอดีต ทำให้ผลประกอบการดี ฐานะการเงินมั่นคงต่อเนื่องและนำเงินส่วนเกินมาซื้อหุ้นคืน วอร์เรน บัฟเฟต์จึงตัดสินใจลงทุนกว่า 10 พันล้านเหรียญหรือกว่า 5% ราคาหุ้นเพิ่มจาก 58, 84 เหรียญในปี 2002, 2008 มาอยู่ที่ 194 เหรียญ ปัจจุบันมีมูลค่าตลาดถึง 225 พันล้านเหรียญ ในทางเดียวกัน บริษัทซัมซุง (005930.KS) ที่ประสบความสำเร็จและมีหลายผลิตภัณฑ์ที่ส่วนแบ่งทางการตลาดสูงขึ้นมาก ราคาหุ้นปรับเพิ่มขึ้นเท่าตัวในเวลาเพียง 10 เดือนที่ผ่านมา 
	บริษัทฮิวแลตต์ แพคการ์ค (HPQ) เป็นบริษัทเทคโนโลยีมายาวนานเช่นกัน แม้กำลังเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจและเพิ่งประกาศลดพนักงาน 24,000 คน แต่ผลการเปลี่ยนแปลงยังต้องรอเวลาพิสูจน์ ราคาหุ้นลดจาก 66, 53 เหรียญในปี 2000, 2010 มาเป็น 22 เหรียญในปัจจุบัน มีมูลค่าตลาดที่ 43 พันล้านเหรียญ บริษัทเดลล์ คอมพิวเตอร์ (DELL) ที่เคยโดดเด่นด้านซับพลายเชน ได้รับผลกระทบจากกระแสแทบแล็ต สมาร์ทโฟน ราคาหุ้นตกจาก 50, 40, 24 ในปี 2000, 2005 และ 2008 มาเป็น 12 เหรียญในปัจจุบัน โดยมีมูลค่าตลาด 21 พันล้านเหรียญ ส่วนหุ้นเทคโนโลยีอื่น เช่น อินเทล (INTL) หรือ ซิสโก้ (CSCO) แม้ไม่สร้างความผิดหวังแก่ผู้ถือหุ้นแต่ก็ไม่ได้สร้างความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
	บริษัทโนเกีย (NOK)  ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและความต้องการของผู้บริโภค ต้องลดพนักงานลง 10,000 คน ราคาหุ้นร่วงจาก 56, 40, 15 ในปี 2000, 2007, 2010 เหลือเพียง 2.8 เหรียญส่งผลให้มูลค่าตลาดเหลือเพียง 10 พันล้านเหรียญในปัจจุบัน  บริษัทรีเสริช อิน โมชั่น (RIMM) ผู้ผลิตแบลคเบอรี่ที่เคยได้ความนิยมมาก ราคาหุ้นตกจาก 145, 70 ในปี 2008, 2011 เหลือ 10.6 เหรียญในปัจจุบันโดยมูลค่าตลาดอยู่ที่ 5.5 พันล้านเหรียญ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ยังส่งผลถึงธุรกิจค้าปลีกเทคโนโลยีอย่างบริษัทเบสบาย (BBY) ที่ราคาหุ้นตกจาก 56 , 42 เหรียญในปี 2006, 2010 มาเป็น 19 เหรียญในปัจจุบัน มูลค่าตลาดอยู่ที่ 6.3 พันล้านเหรียญอีกด้วย
	ที่กล่าวมานั้นเป็นกรณีศึกษาอย่างย่อของกิจการในกลุ่มเทคโนโลยีซึ่งมีความไวสูงต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบถึงราคาหุ้นและความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้น แม้กิจการดังกล่าวไม่ได้อยู่ในประทศ แต่บริษัทจดทะเบียนในไทยที่เกี่ยวข้องเช่น เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนให้ธุรกิจดังกล่าว ต้องได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การตัดสินใจลงทุนจึงต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัทเหล่านี้ด้วย
	การเปลี่ยนแปลง 3 อย่างที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจและความอยู่รอดของกิจการได้แก่ หนึ่ง การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี การค้นคว้าวิจัยอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดนวัตกรรมที่ดีขึ้น เร็วขึ้น  ความสามารถมากขึ้น ราคาถูกลง  กิจการต้องพิจารณาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสินค้าและบริการที่ตรงความต้องการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน สอง การเปลี่ยนแปลงของลูกค้า กิจการต้องตอบสนองการเปลี่ยนแปลงความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้าหรือกระทั่งลูกค้าของลูกค้า ที่คาดหวังมากขึ้น ดีขึ้น สะดวกสบายมากขึ้น กิจการที่ตอบสนองต่อลูกค้าได้ดีจะครองส่วนแบ่งการตลาดและอยู่รอดในอุตสาหกรรมได้ต่อเนื่องยาวนาน สาม การเปลี่ยนแปลงด้านการแข่งขัน จากรายเดิมและรายใหม่ ทั้งในประเทศ ระดับภูมิภาคและระดับโลก คู่แข่งสังคมออนไลน์ไร้พรมแดน ด้วยรูปแบบและวิธีการใหม่ๆ กิจการที่ดีต้องมีแผนงานและพร้อมรับมือการแข่งขันในรูปแบบต่างๆ
	ในการตัดสินใจลงทุน เราต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบว่า กิจการที่เราสนใจนั้นเคยรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทั้งสามอย่างไร  กิจการดังกล่าวจะจัดการได้ดีเพียงใดหากมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งนี้ก็เพื่อความอยู่รอดและการเติบโตอย่างต่อเนื่องของกิจการ และที่สำคัญที่สุดก็เพื่อความปลอดภัยในการลงทุนของเรานั่นเอง
	กล่าวกันว่า ยามกิจการเผชิญความท้าทายและปัญหารุมเร้า คือช่วงที่พิสูจน์ความสามารถของผู้บริหาร ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเสมอในโลกธุรกิจคือบททดสอบผู้บริหารในวาระที่ต่างกัน ผู้บริหารที่เก่งและเอาชนะปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตน่าจะจัดการกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตแต่ก็ไม่ได้การันตีความสำเร็จทุกครั้งเช่นในอดีต ในฐานะ Value Investor หากพบกิจการที่มีรูปแบบและโครงสร้างธุรกิจที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้ดีและไม่ต้องพึ่งพาผู้บริหารที่เก่งมากนัก นั่นคือกิจการที่เราควรเลือกลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ ในทางตรงข้าม หากกิจการที่เราลงทุนอยู่ ไม่สามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงได้ดีและยังต้องขึ้นอยู่กับผู้บริหารที่เก่งเพียงอย่างเดียว อาจจะถึงเวลาที่เราต้องเป็นคน “เปลี่ยน” กิจการที่เราเป็นเจ้าของแล้วครับ !!

[/size]
humdrum
Verified User
โพสต์: 1961
ผู้ติดตาม: 0

Re: CHANGE/ธันวา เลาหศิริวงศ์

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณครับ ตั้งแต่พี่เขียน ผมก็สะสม Thanwa' s ckecklist เข้าไปเพิ่มในรายการ value investing ckecklists ของผมตลอด รายการ checklists ไม่ได้หากันง่าย ๆ ครับ ยิ่งถ้าได้จากคนที่มีประสบการณ์การลงทุนแนว VI มาอย่างยาวนานแล้ว ยิ่งหายาก พวกเราโชคดีที่มีพี่ธันวากับอาจารย์มาแบ่งความรู้ให้น้องเสมอ ขอให้พี่มีสุขภาพแข็งแรงและขอบคุณอีกครั้งสำหรับวิทยาทานที่พี่สอนน้องๆ ครับ

บัฟเฟตลงทุนในบริษัทที่มีคุณสมบัติ capacity to suffer ของผู้บริหารเป็นองค์ประกอบหลักในการลงทุนของเขา ตัวนักลงทุนเน้นคุณค่าเองสมัยก่อนกับสมัยปัจจุบันเองก็แตกต่างกันมากในเรื่อง capacity to suffer จนกลายเป็นหัวข้อที่เด่นชัดขึ้นมาในการแสกนนักลงทุนที่โดดเด่นกว่าคนอื่นๆ ครับ

ขอบคุณอีกครั้งครับ


การรับมือกับความเปลี่ยนแปลง

1. กิจการที่เราสนใจเคยรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนอย่างไรบ้าง
2. กิจการที่เราสนใจเคยรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่อความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้าอย่างไรบ้าง
3. กิจการที่เราสนใจเคยรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่อการแข่งขันในรูปแบบต่างๆ ทั้งจากรายเดิม, รายใหม่, ทั้งในประเทศ, ต่างประเทศม, ระดับภูมิภาค (AEC) และระดับโลก และ คู่แข่งสังคมออนไลน์ไร้พรมแดนอย่างไรบ้าง

4. บริษัทที่สนใจมีโครงสร้างธุรกิจที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งสามข้อได้ดีในตัวของมันเองอยู่แล้วและไม่ต้องพึ่งพาผู้บริหารเพียงคนเดียวในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
setthavuth
Verified User
โพสต์: 7
ผู้ติดตาม: 0

Re: CHANGE/ธันวา เลาหศิริวงศ์

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอขอบคุณมากครับ สำหรับบทความดีๆ แบบนี้ครับ
:P :P :P :P :P
Leesak
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 123
ผู้ติดตาม: 0

Re: CHANGE/ธันวา เลาหศิริวงศ์

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณครับสำหรับบทความ....หวังว่าจะมีหนังสือออกมาให้นักลงทุนสะสมนะครับพี่ธันวา
rerkit
Verified User
โพสต์: 189
ผู้ติดตาม: 0

Re: CHANGE/ธันวา เลาหศิริวงศ์

โพสต์ที่ 5

โพสต์

เป็นบทความที่สุดยอดครับ
Keep It Simple and Stupid.
ภาพประจำตัวสมาชิก
kongkiti
Verified User
โพสต์: 5830
ผู้ติดตาม: 0

Re: CHANGE/ธันวา เลาหศิริวงศ์

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ครับ
ส่วนตัวชอบที่เคยดี แต่ปัจจุบันกำลังย่ำแย่ แล้วเปลี่ยน CEO ใหม่ครับ (CEO ต้องเก่งกว่าคนเดิมด้วยน่ะครับ)
ปล. น่าเสียดาย Steve Job จริงๆ ตอนนี้ Steve Balmer กำลังร่าเริง หลังจากนี้อาจเป็นยุค Microsoft กลับมาครองเมืองอีกรอบ :cry:
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee

FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
ภาพประจำตัวสมาชิก
KGYF
Verified User
โพสต์: 399
ผู้ติดตาม: 0

Re: CHANGE/ธันวา เลาหศิริวงศ์

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณมากครับ

แต่ผมไม่เคยใช้สินค้าของ เอปเปิ้ล เลย

เพราะคิดว่ามันคงไม่ Value สำหรับผม



:D :D :D
" สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ = การให้ธรรมะเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง "

" ทุกข์มี เพราะยึด ทุกข์ยืด เพราะอยาก ทุกข์มาก เพราะพลอย ทุกข์น้อย เพราะหยุด ทุกข์หลุด เพราะปล่อย"
ภาพประจำตัวสมาชิก
xavi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 123
ผู้ติดตาม: 0

Re: CHANGE/ธันวา เลาหศิริวงศ์

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณสำหรับแนวคิดดีๆครับ

ผมเพิ่งเริ่มลงทุนในแนว VI ได้ไม่นาน ยังไม่ได้ผ่านร้อนผ่านหนาวกับมันมาเยอะเท่าไร
แต่ก็เริ่มรู้ว่ามีอุปสรรคบางอย่างเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเรื่องความรู้สึกของ "ความเป็นเจ้าของ"
เพราะการซื้อหุ้นในแบบ VI เราต้องทำการบ้านเยอะ ต้องศึกษาพื้นฐานบริษัท ความสามารถในการแข่งขัน แนวโน้มในการเติบโต วิสัยทัศน์และฝีมือของผู้บริหาร เราต้องใช้เวลาอยู่กับมันมาก มีความผูกพันธ์กับบริษัทนั้นๆมากขึ้นทุกวันๆ :D

ตั้งแต่ช่วง Sub Prime ภาพรวม Set ก็ขึ้นมาโดยตลอด แม้กระทั้งช่วงน้ำท่วม Set ก็ตกลงมาไม่มากแล้วก็ยังขึ้นต่อเช่นเดียวกัน หุ้นในบางตัวของ Port ผมไม่ตกลงเลยด้วยซ้ำ จนทำให้เรารู้สึกผ่านร้อนผ่านหนาวกับมันมามาก สิ่งที่น่ากลัวสำหรับผมคือเมื่อเราเริ่มมีความรู้สึก "ความเป็นเจ้าของ" จริงๆสำหรับหุ้นบางตัวขึ้นมาแล้ว หากพื้นฐานของหุ้นนั้นเปลี่ยนจริงๆ บริษัทไม่สามารถแข่งขันได้จริงๆ เราจะสามารถตัดสินใจขายบริษัทของเราออกไปได้จริงหรือเปล่า หรือเราต้องรอให้ราคามันตกลงมามากๆก่อนถึงจะตัดสินใจได้ :wall:

แต่ได้อ่านบทความของพี่ธันวาแล้วรู้สึกเหมือนมีคนมาเตือนสติจริงๆครับ ถ้าเรายังต้องการรักษาความมั่งคั่งของ Port เราไว้ให้ได้ เราต้องละเว้นความรู้สึกของ "ความเป็นเจ้าของให้ได้" เราถึงจะเป็นนักลงทุนที่สมบูรณ์ในแนว VI ได้อย่างแท้จริง :bow:
birthboro
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 458
ผู้ติดตาม: 0

Re: CHANGE/ธันวา เลาหศิริวงศ์

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ธุรกิจค้าปลีกเทคโนโลยีอย่างบริษัทเบสบาย (BBY) ที่ราคาหุ้นตกจาก 56 , 42 เหรียญในปี 2006, 2010 มาเป็น 19 เหรียญในปัจจุบัน มูลค่าตลาดอยู่ที่ 6.3 พันล้านเหรียญอีกด้วย

ตัวนี้ทำกิจการเหมือน IT CITY หรือเปล่าครับ แล้วแพ้อะไรยังไงใครทราบบ้างครับ :D

ขอบคุณสำหรับบทความนะครับ :D
sptong2406
Verified User
โพสต์: 22
ผู้ติดตาม: 0

Re: CHANGE/ธันวา เลาหศิริวงศ์

โพสต์ที่ 10

โพสต์

birthboro เขียน:ธุรกิจค้าปลีกเทคโนโลยีอย่างบริษัทเบสบาย (BBY) ที่ราคาหุ้นตกจาก 56 , 42 เหรียญในปี 2006, 2010 มาเป็น 19 เหรียญในปัจจุบัน มูลค่าตลาดอยู่ที่ 6.3 พันล้านเหรียญอีกด้วย

ตัวนี้ทำกิจการเหมือน IT CITY หรือเปล่าครับ แล้วแพ้อะไรยังไงใครทราบบ้างครับ :D

ขอบคุณสำหรับบทความนะครับ :D
โพสต์โพสต์