ธุรกิจ : Global Corporate
วันที่ 2 กรกฎาคม 2555 06:10
เหล็กล้นตลาด ชนวนพิพาทการค้า
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... C3%92.html
อุตสาหกรรมเหล็กโลก กำลังเจอพิษเศรษฐกิจ ออร์เดอร์หด ผลผลิตล้นตลาด ส่งผลให้ราคาร่วงลง และกำลังนำไปสู่สงครามการค้าของหลายคู่กรณี
ผู้ผลิตเหล็กทั่วโลกกำลังกล่าวหากันและกันว่า คู่แข่งเอาเปรียบด้วยการกดราคาเหล็กให้ถูกลง จนส่อเค้าว่าจะเกิดสงครามการค้าขนาดย่อมๆเป็นระลอกๆ
แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาทั่วโลก ทำให้เกิดภาวะเหล็กล้นตลาด และทำให้เกิดการเอาเปรียบด้านราคา ตั้งแต่สหรัฐไปจนถึงไทย
ขณะที่ มาตรการคว่ำบาตรอิหร่าน และการที่ตะวันออกกลางยังไม่ฟื้นตัวจากเหตุจลาจลอาหรับ สปริง ส่งผลให้แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กตึงเครียดมากยิ่งขึ้น เพราะตลาดนำเข้าเหล็กรายใหญ่ๆ พากันลดปริมาณการนำเข้า
ตอนนี้ ไม่เฉพาะจีนเท่านั้น ที่ถูกมองว่าเป็นผู้ร้าย รัสเซียและยูเครน ก็ถูกกล่าวหา ทำให้เกิดปัญหาขัดแย้งทางการค้าเด่นชัดมากขึ่น หลังจากส่อเค้ามานาน อุตสาหกรรมเหล็กโลกจึงกำลังเผชิญมรุสมลูกใหม่ที่อาจมาในรูปของการปิดกิจการ และมีกรณีพิพาททางการค้า
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ กำลังทบทวนมาตรการต่อต้านการทุ่มตลาดเหล็กแผ่นรีดร้อนจากรัสเซีย ซึ่งใช้ในอุปกรณ์ต่างๆและใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ ที่ใช้มานานกว่าทศวรรษ ทำให้ผู้ค้าเหล็กรายใหญ่ของสหรัฐรายหนึ่ง เลิกนำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากรัสเซีย เพราะกลัวจะได้รับผลกระทบจากนโยบายการค้าของสหรัฐ
“สมมุติฐานที่เป็นสาเหตุให้เกิดกรณีพิพาททางการค้าหวนกลับมาอีกครั้ง โดยเฉพาะ ปัญหานี้เกิดจากการที่บรรดาผู้ผลิตต่างชาติ ที่เพลิดเพลินกับการได้เงินอุดหนุนจากรัฐบาล พยายามผลิตเหล็กออกมาปริมาณมาก จนไม่คำนึงถึงความต้องการ จนส่งผลให้สินค้าล้นตลาด ราคาเหล็กก็ถูกลง" อลัน ไพรซ์ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการการค้าระหว่างประเทศของบริษัทกฎหมาย วิลีย์ ไรน์ แอล แอล พี กล่าว
หลายปีที่ผ่านมา จีน คือต้นตอของปัญหานี้ เพราะจีนส่งออกเหล็กมายังสหรัฐเพิ่มขึ้นถึงสองในสาม แต่สหรัฐ ได้กำหนดอัตราภาษีเพื่อตอบโต้การทุ่มตลาดเหล็กจากจีนหลายประเภทด้วยกัน แต่ใช่ว่าตลาดพัฒนาแล้วเท่านั้นที่ได้รับความบอบช้ำจากปัญหาเหล็กล้นตลาด ปัญหานี้ ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง สู่ประเทศที่กำลังพัฒนาอย่าง ตุรกี ไทย และไต้หวัน ทำให้เกิดการขายตัดราคากันอย่างดุเดือด
พอล โอมอลเลย์ ซีอีโอ บริษัทบลูสโคป สตีล ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย กล่าวกับรอยเตอร์ว่า บริษัทได้ยื่นฟ้องต่อศาล ภายใต้มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาดเหล็กแผ่นรีดร้อนนำเข้าจากญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ และมาเลเซีย
แต่ราคาเหล็กที่ถูกลง และการแข่งขันกันอย่างดุเดือดนี้ นับเป็นข่าวดีสำหรับลูกค้า เช่น ผู้ผลิตรถยนต์ และเครื่องใช้ต่างๆ เช่นเดียวกับบริษัทก่อสร้าง ทว่าข้อขัดแย้งดังกล่าวอาจนำไปสู่สงครามการค้า ซึ่งประเทศที่รู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็อาจออกมาตรการตอบโต้
จีน ซึ่งเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคเหล็กรายใหญ่ที่สุดของโลก กำหนดภาษีนำเข้าเหล็กชนิดพิเศษที่เรียกกันว่า "grain-oriented electrical steel "จากสหรัฐ และเดือนที่แล้ว ได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อองค์การการค้าโลก (ดับบลิวทีโอ) เพื่อเอาผิดสหรัฐ กรณีที่ตั้งกำแพงภาษีผลิตภัณฑ์นำเข้าจากจีน ตั้งแต่แผงโซลาร์เซลล์ ไปจนถึงชั้นวางของในครัว
การแข่งขันระหว่างผู้ผลิตเหล็กทั่วโลกจึงทวีความรุนแรงมากขึ้น เมื่อความต้องการของตลาดอ่อนแอลง ขณะที่มาตรการคว่ำบาตรอิหร่านของสหรัฐและยุโรป ซึ่งเริ่มตั้งแต่ต้นปีก็เข้มงวดขึ้น ส่งผลให้ลูกค้ารายสำคัญอย่างอิหร่านต้องมองหาคู่ค้าใหม่ และทำให้อุตสาหกรรมเหล็กของสหรัฐทรุดลงไปอีก
ปีที่แล้ว อิหร่านนำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนในสัดส่วน 4% ของปริมาณเหล็กชนิดนี้ที่ขายทั่วโลก 51.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากที่นำเข้าเพียง 1.4% เมื่อปี 2551 โดยรัสเซีย มีสัดส่วนในการจัดหาเหล็ก 63% ของปริมาณนำเข้าเมื่อปี 2554 เพิ่มขึ้นสองเท่าจากช่วง 4 ปีก่อนหน้านี้
ขณะที่การส่งออกไปยังประเทศผู้ซื้อสำคัญอื่นๆในภูมิภาค อย่าง อียิปต์ และลิเบีย ก็ย่ำแย่ จากเหตุลุกฮือขึ้นมาประท้วงขับไล่ผู้นำที่เรียกว่า "อาหรับ สปริง" และจนถึงขณะนี้ สถานการณ์ก็ยังไม่กระเตื้อง เป็นเหตุให้ผู้นำเข้าต้องมองหาตลาดใหม่ๆ และนี่เป็นสัญญาณเตือนภัยสำหรับอุตสาหกรรมเหล็กสหรัฐ
"ผมเชื่อว่า บรรดาโรงถลุงเหล็กในสหรัฐ กำลังวิตกกังวลว่า ปัญหาออร์เดอร์หดในตลาดอื่นๆทั่วโลกจะลุกลามไปยังตลาดสหรัฐ” นายอูเกอร์ ดัลเบเรอร์ กรรมการผู้จัดการบริษัท โคลาโค-กลู เมทัลเออร์จี 1 ในกลุ่มผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่สุด ของตุรกี กล่าว
ดอลลาร์แข็งค่า บวกกับความต้องการที่แข็งแกร่ง ทำให้สหรัฐ ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับผู้นำเข้า ในปีที่ผ่านมา บรรดาบริษัทพลังงานแข่งกันสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และพยายามแสวงหาประโยชน์จากแหล่งก๊าซและน้ำมัน ส่วนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมรถยนต์ ก็เร่งผลผลิตเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
ทุกวันนี้ เหล็กแผ่นรีดร้อนนำเข้าจากรัสเซียล้นตลาดสหรัฐ เพราะราคาถูกกว่าคู่แข่ง แต่ก็ยังสูงพอที่จะทำกำไรได้ สาเหตุที่รัสเซียสามารถกดราคาได้ เพราะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตต่ำที่สุดในโลก ในฐานะที่รัสเซียมีวัตถุดิบมากมาย
ปีเตอร์ ฟิช กรรมการผู้จัดการบริษัท เอ็มอีพีเอส ซึ่งให้คำปรึกษาด้านเหล็ก ให้ความเห็นว่า ตลาดเหล็กทุกวันนี้ถึงจุดอิ่มตัว ผู้ประกอบการ ต้องยอมขายของขาดทุน เพื่อโละเหล็กที่ขายไม่ออก ซึ่งปรากฏการณ์ลักษณะนี้ ทำให้ราคาเหล็กแผ่นรีดร้อนในสหรัฐ ทรุดฮวบถึง 10% ในเดือนนี้ หรือประมาณตันละ 600 ดอลลาร์ ราคาเกือบเท่าต้นทุนการผลิต
กลุ่มเหล็ก
- leaderinshadow
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
กลุ่มเหล็ก
โพสต์ที่ 1
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2603
- ผู้ติดตาม: 1
Re: กลุ่มเหล็ก
โพสต์ที่ 2
ขอเเจมครับ...ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ"เหล็ก"
http://www.thaifta.com/thaifta/Portals/ ... _steel.doc
เข้าไปตามlinkนี้นะครับเราจะเข้าใจอุตสาหกรรมเหล็กมากขึ้นเเละเค้าเเยกเป็นชื่อบริษัทเลยว่าบริษัทไหนอยู่ขั้นตอนใดของอุตสาหกรรม
http://www.thaifta.com/thaifta/Portals/ ... _steel.doc
เข้าไปตามlinkนี้นะครับเราจะเข้าใจอุตสาหกรรมเหล็กมากขึ้นเเละเค้าเเยกเป็นชื่อบริษัทเลยว่าบริษัทไหนอยู่ขั้นตอนใดของอุตสาหกรรม
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o