เล่นหุ้นตามผลประกอบการ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1827
- ผู้ติดตาม: 1
เล่นหุ้นตามผลประกอบการ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 25 สิงหาคม 55
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
เล่นหุ้นตามผลประกอบการ
การเล่นหุ้นหรือการลงทุนให้ได้กำไรดีในระยะยาวนั้น สำหรับคนจำนวนมากเป็นเรื่องที่ยาก เหตุผลก็คือ พวกเขาไม่มีความรู้หรือความสามารถในการวิเคราะห์กิจการ นอกจากนั้น เขาก็ไม่รู้ว่าอะไรคือหุ้นแพงและอะไรคือหุ้นถูกเมื่อเทียบกับคุณภาพของกิจการ ดังนั้น คนจำนวนไม่น้อยจึงชอบ “เล่นหุ้นตามข่าว” นั่นก็คือ เขาจะซื้อหรือขายหุ้นตามข่าวที่ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์วันต่อวัน เช่น บริษัทประกาศจ่ายหุ้นปันผลในอัตราที่น่าสนใจ พวกเขาก็เข้าไปซื้อ ถือไประยะหนึ่ง อาจจะหลังได้รับปันผลแล้วก็ขาย เป็นต้น การทำแบบนี้ พวกเขาคิดว่าจะได้กำไร แต่นี่เป็นกลยุทธ์ที่ถูกต้องหรือไม่? ผมไม่รู้ เหนือสิ่งอื่นใด บริษัทไม่ได้ประกาศหุ้นปันผลทุกตัวหรือทุกปี การเล่นหุ้นตามข่าวนี้เราอาจจะต้องรอนานและอาจจะไม่มีหุ้นให้เล่นพอ แน่นอน มีข่าวอื่นๆ ให้เล่นได้ทุกวัน แต่ดูเหมือนว่าจะไม่มีกลยุทธ์ไหนที่ชัดเจนว่าถ้าเล่นตามข่าวนั้นแล้วจะได้กำไร ข่าวแบบเดียวกัน หุ้นตัวหนึ่งอาจจะได้กำไรแต่อีกตัวหนึ่งอาจจะขาดทุน รวมๆแล้วการเล่นหุ้นตามข่าววันต่อวันผมคิดว่าไม่คุ้ม เหตุก็เพราะว่าเราจะต้องเสียค่าคอมมิชชั่นสูงเพราะเราต้องซื้อขายบ่อยมาก
ถ้าจะเล่นหุ้นตามข่าวแบบได้กำไรเป็นกอบเป็นกำและเป็นระบบ ผมคิดว่ากลยุทธ์ที่น่าสนใจและมีการศึกษาทางวิชาการว่าสามารถทำเงินได้จริงก็คือ การเล่นหุ้นตาม “ผลประกอบการ” วิธีการก็คือ เราจะซื้อหรือขายหุ้นในวันที่มีการประกาศผลประกอบการประจำไตรมาส ถ้าหุ้นตัวไหนมีผลประกอบการที่ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้มาก เราก็ซื้อ ถ้าหุ้นตัวไหนมีผลประกอบการณ์แย่กว่าที่ประมาณการณ์มาก เราก็ขายหรือขายชอร์ต เหตุผลก็คือ หุ้นที่มีผลประกอบการดีกว่าที่ตลาดคาดไว้มากนั้น ราคาจะปรับตัวขึ้นไปมากกว่าตลาดโดยรวมในช่วงหนึ่งไตรมาสหรือหนึ่งปีข้างหน้า จริงอยู่ ในวันแรกที่มีการประกาศผล ราคาก็มักจะวิ่งขึ้นไปแล้ว เรามักจะต้องซื้อแพงขึ้นกว่าวันก่อนหน้าไม่น้อย เช่น อาจจะขึ้นไป 2-3% แต่โดยส่วนใหญ่แล้วราคาก็มักจะยังขึ้นไปได้อีกโดยเฉพาะในช่วงหนึ่งไตรมาสข้างหน้า หุ้นอาจจะขึ้นไปต่อได้อีกอาจจะเป็น 7-8% ดังนั้น ถึงซื้อแพงขึ้นในวันแรกที่ประกาศงบ มันก็ยังคุ้มมาก
ในทางตรงกันข้าม หุ้นที่ประกาศผลประกอบการที่แย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์มากก็มักจะมีราคาลดลงทันทีในวันประกาศ เช่น อาจจะตกไป 3-4% อย่างไรก็ตาม เราก็ควรจะขายทันที อย่าไปรอให้มัน “กระเด้ง” ขึ้นมา เพราะเป็นไปได้ว่าถ้าเรารอไปเรื่อยๆ จนครบหนึ่งไตรมาส ราคาอาจจะตกลงไปอีก 7-8% ดังนั้น ถ้าเรามีหุ้นเราต้องขาย แต่ถ้าไม่มีหุ้น เราก็อาจจะพิจารณาขายชอร์ตเซลซึ่งจะทำให้เราได้กำไรเมื่อราคาหุ้นตกลงไปต่อตามที่คาด
ทั้งสองกรณีที่กล่าวนั้น เราตั้งสมมุติฐานว่าภาวะตลาดหุ้นเป็น “ปกติ” คือดัชนีหุ้นไม่ได้ขึ้นหรือลงอย่างมีนัยสำคัญ เพราะถ้าตลาดหุ้นลงหนักมากในช่วงไตรมาสที่ตามมา ก็เป็นไปได้ว่าแม้แต่หุ้นที่ประกาศผลกำไรสูงกว่าที่คาดการณ์มากก็อาจจะตกลงมาได้ ดังนั้น ถ้าจะให้เราได้กำไรอย่างแน่นอนไม่ว่าภาวะตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร เราก็ควรจะต้องทั้งซื้อหุ้นที่กำไรสูงกว่าคาด และขายชอร์ตหุ้นที่ทำกำไรแย่กว่าที่คาดในเม็ดเงินที่เท่าๆ กัน ซึ่งจะทำให้พอร์ตของเรา “เป็นกลาง” กับภาวะตลาดหุ้น นั่นก็คือ ตลาดหุ้นจะขึ้นหรือตลาดหุ้นจะตก เราก็ได้กำไรถ้าแนวทางการเล่นหุ้นตามผลประกอบการนี้เป็นจริง
คำถามอาจจะเกิดขึ้นว่า อะไรคือผลประกอบการที่คาดของตลาด? คำตอบที่ดีที่สุดก็คือ ข้อมูล Analyst Consensus หรือค่าเฉลี่ยการคาดการณ์กำไรของบริษัทโดยนักวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ทุกแห่งซึ่งก็จะมีการเผยแพร่ในบทวิเคราะห์หุ้นอยู่แล้ว ถ้าหุ้นตัวไหนไม่มีข้อมูลนี้ เราก็คงจะต้องคิดเอาเอง เช่น อาจจะดูแนวโน้มการเติบโตของกำไรในอดีตว่าโตเท่าไรแล้วเอามาคาดว่าผลประกอบการที่จะออกมาน่าจะโตเท่าเดิม ถ้าบริษัทประกาศงบออกมาโตกว่าที่คาดมาก เราก็ซื้อ และถ้าแย่กว่าที่คาดมาก เราก็ขาย แต่การใช้คาดการณ์แบบนี้ ความถูกต้องก็อาจจะไม่ดีนัก
ข้อจำกัดอย่างหนึ่งของการเล่นหุ้นตามผลประกอบการก็คือ หุ้นจำนวนมากโดยเฉพาะหุ้นขนาดเล็กนั้น มักจะมีนักวิเคราะห์ติดตามและทำบทวิเคราะห์น้อยหรือไม่มีเลย ดังนั้น เราอาจจะต้องจำกัดหุ้นที่เราจะเล่นไว้เฉพาะในกลุ่มที่อาจจะค่อนข้างใหญ่และมีสภาพคล่องที่สูง อย่างไรก็ตาม นี่ก็อาจจะไม่ใช่ข้อเสียแม้ว่าเราอาจจะพลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทน “มโหฬาร” หลายๆ ตัวไป เพราะความเสี่ยงของเราในการเล่นหุ้นก็น่าจะต่ำลง
จำนวนหุ้นที่เราจะต้องซื้อลงทุนเองนั้น ผมคิดว่าก็ควรจะต้องมากพอสมควรเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง เพราะนี่เป็นเรื่องของสถิติ ไม่ใช่ว่าการซื้อหุ้นที่มีผลประกอบการที่ดีกว่าที่คาดมากทุกตัวจะได้กำไร การศึกษาเพียงแต่บอกว่าโดยเฉลี่ยแล้วจะได้กำไร โดยส่วนตัวผมคิดว่าอย่างน้อยน่าจะต้องมีหุ้นไม่น้อยกว่า 10 ตัว ซึ่งนี่ก็นำมาสู่ประเด็นว่าเราจะเลือกหุ้นที่มีผลประกอบการดีกว่าที่คาดการณ์ตั้งแต่กี่เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป? อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องพิจารณาก็คือ การขายชอร์ตหุ้นว่าเราจะทำแค่ไหน? เพราะการชอร์ตนั้นโดยตัวมันเองก็เป็นความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูง สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว ก็อาจจะไม่เหมาะนักที่จะทำ ดังนั้น พอร์ตเล่นหุ้นตามผลประกอบการของเราจึงอาจจะไม่สมบูรณ์และไม่สามารถการันตีว่าต้องได้กำไรร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่ว่าภาวะตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร เพียงแต่เป็นพอร์ตที่น่าจะมีโอกาสทำกำไรได้สูงกว่าปกติโดยที่เราไม่จำเป็นต้องเป็น “เซียน” และไม่ต้องทำงานหนัก
สุดท้ายก็คือ คำถามสำคัญที่ว่าพฤติกรรมของหุ้นที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นจริงหรือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาเหมือนอย่างกลยุทธ์ทำกำไรหุ้นแบบอื่นๆ ซึ่งมาแล้วก็ไปตามแฟชั่นหรือตามช่วงเวลา? คำตอบก็คือ การศึกษาในตลาดหุ้นอเมริกาตลอดช่วงประมาณ 30 ปีที่ผ่านมาดูเหมือนว่าจะเป็นกลยุทธ์ที่ได้ผลจริง แต่ในเมืองไทยนั้นผมเองก็ไม่แน่ใจว่ามีใครทำการศึกษาไว้บ้างหรือไม่ เหนือสิ่งอื่นใด การคาดการผลประกอบการโดยนักวิเคราะห์เองก็เพิ่งมีมาไม่นาน ดังนั้น ในตลาดหุ้นไทยคงต้องบอกว่าเราจะต้อง “ดูกันต่อไป” และเราอาจจะเป็นคนลองทำดูก่อนก็อาจจะได้ผลดีก็ได้
อะไรคือเหตุผลที่ทำให้ราคาหุ้นไม่สนองตอบต่อการประกาศผลประกอบการอย่างเต็มที่และทันที? นี่คือสิ่งที่นักวิชาการเองก็ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน โดยทฤษฎีแล้ว ถ้าตลาดหุ้นมีประสิทธิภาพ ราคาหุ้นจะต้องสะท้อนรับข่าวผลประกอบการทั้งหมดทันทีนั่นคือ ราคาหุ้นจะต้องวิ่งขึ้นไปตามผลประกอบการที่ดีขึ้น ถ้าดีกว่าประมาณการมาก ราคาหุ้นก็ต้องขึ้นไปมากตั้งแต่วันแรก คนที่เข้าไปซื้อหุ้นหลังประกาศงบแล้วไม่ควรได้กำไรมากกว่าปกติ คำตอบที่มีมีคนเสนอขึ้นมาก็คือ หุ้นพวกนี้อาจจะมีความเสี่ยงมากขึ้นเมื่อมันประกาศงบที่ดีมากออกมา กล่าวคือ อนาคตกำไรมันอาจจะไม่โตเท่าเดิม ดังนั้น การเล่นหุ้นแบบนี้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น นักวิชาการบางคนก็เสนอว่า มันอาจจะเป็นเรื่องของการ “ย่อยข้อมูล” ที่ต้องใช้เวลาของนักลงทุน นั่นก็คือ การประกาศงบวันแรกนั้น นักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็นสถาบันยังไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไร จะซื้อหรือขาย ทำให้ราคาหุ้นไม่สะท้อนข้อมูลทั้งหมด หลังจากนั้น พวกเขาจึงเข้ามาซื้อซึ่งทำให้ราคาค่อยๆ ปรับตัวขึ้นไปเป็นเวลาหนึ่งไตรมาสหรือเป็นปี ไม่ว่าเหตุผลคืออะไร นี่ก็คือ การเล่นหุ้นตามข่าวที่น่าสนใจแบบหนึ่ง
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
เล่นหุ้นตามผลประกอบการ
การเล่นหุ้นหรือการลงทุนให้ได้กำไรดีในระยะยาวนั้น สำหรับคนจำนวนมากเป็นเรื่องที่ยาก เหตุผลก็คือ พวกเขาไม่มีความรู้หรือความสามารถในการวิเคราะห์กิจการ นอกจากนั้น เขาก็ไม่รู้ว่าอะไรคือหุ้นแพงและอะไรคือหุ้นถูกเมื่อเทียบกับคุณภาพของกิจการ ดังนั้น คนจำนวนไม่น้อยจึงชอบ “เล่นหุ้นตามข่าว” นั่นก็คือ เขาจะซื้อหรือขายหุ้นตามข่าวที่ปรากฏตามหน้าหนังสือพิมพ์วันต่อวัน เช่น บริษัทประกาศจ่ายหุ้นปันผลในอัตราที่น่าสนใจ พวกเขาก็เข้าไปซื้อ ถือไประยะหนึ่ง อาจจะหลังได้รับปันผลแล้วก็ขาย เป็นต้น การทำแบบนี้ พวกเขาคิดว่าจะได้กำไร แต่นี่เป็นกลยุทธ์ที่ถูกต้องหรือไม่? ผมไม่รู้ เหนือสิ่งอื่นใด บริษัทไม่ได้ประกาศหุ้นปันผลทุกตัวหรือทุกปี การเล่นหุ้นตามข่าวนี้เราอาจจะต้องรอนานและอาจจะไม่มีหุ้นให้เล่นพอ แน่นอน มีข่าวอื่นๆ ให้เล่นได้ทุกวัน แต่ดูเหมือนว่าจะไม่มีกลยุทธ์ไหนที่ชัดเจนว่าถ้าเล่นตามข่าวนั้นแล้วจะได้กำไร ข่าวแบบเดียวกัน หุ้นตัวหนึ่งอาจจะได้กำไรแต่อีกตัวหนึ่งอาจจะขาดทุน รวมๆแล้วการเล่นหุ้นตามข่าววันต่อวันผมคิดว่าไม่คุ้ม เหตุก็เพราะว่าเราจะต้องเสียค่าคอมมิชชั่นสูงเพราะเราต้องซื้อขายบ่อยมาก
ถ้าจะเล่นหุ้นตามข่าวแบบได้กำไรเป็นกอบเป็นกำและเป็นระบบ ผมคิดว่ากลยุทธ์ที่น่าสนใจและมีการศึกษาทางวิชาการว่าสามารถทำเงินได้จริงก็คือ การเล่นหุ้นตาม “ผลประกอบการ” วิธีการก็คือ เราจะซื้อหรือขายหุ้นในวันที่มีการประกาศผลประกอบการประจำไตรมาส ถ้าหุ้นตัวไหนมีผลประกอบการที่ดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้มาก เราก็ซื้อ ถ้าหุ้นตัวไหนมีผลประกอบการณ์แย่กว่าที่ประมาณการณ์มาก เราก็ขายหรือขายชอร์ต เหตุผลก็คือ หุ้นที่มีผลประกอบการดีกว่าที่ตลาดคาดไว้มากนั้น ราคาจะปรับตัวขึ้นไปมากกว่าตลาดโดยรวมในช่วงหนึ่งไตรมาสหรือหนึ่งปีข้างหน้า จริงอยู่ ในวันแรกที่มีการประกาศผล ราคาก็มักจะวิ่งขึ้นไปแล้ว เรามักจะต้องซื้อแพงขึ้นกว่าวันก่อนหน้าไม่น้อย เช่น อาจจะขึ้นไป 2-3% แต่โดยส่วนใหญ่แล้วราคาก็มักจะยังขึ้นไปได้อีกโดยเฉพาะในช่วงหนึ่งไตรมาสข้างหน้า หุ้นอาจจะขึ้นไปต่อได้อีกอาจจะเป็น 7-8% ดังนั้น ถึงซื้อแพงขึ้นในวันแรกที่ประกาศงบ มันก็ยังคุ้มมาก
ในทางตรงกันข้าม หุ้นที่ประกาศผลประกอบการที่แย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์มากก็มักจะมีราคาลดลงทันทีในวันประกาศ เช่น อาจจะตกไป 3-4% อย่างไรก็ตาม เราก็ควรจะขายทันที อย่าไปรอให้มัน “กระเด้ง” ขึ้นมา เพราะเป็นไปได้ว่าถ้าเรารอไปเรื่อยๆ จนครบหนึ่งไตรมาส ราคาอาจจะตกลงไปอีก 7-8% ดังนั้น ถ้าเรามีหุ้นเราต้องขาย แต่ถ้าไม่มีหุ้น เราก็อาจจะพิจารณาขายชอร์ตเซลซึ่งจะทำให้เราได้กำไรเมื่อราคาหุ้นตกลงไปต่อตามที่คาด
ทั้งสองกรณีที่กล่าวนั้น เราตั้งสมมุติฐานว่าภาวะตลาดหุ้นเป็น “ปกติ” คือดัชนีหุ้นไม่ได้ขึ้นหรือลงอย่างมีนัยสำคัญ เพราะถ้าตลาดหุ้นลงหนักมากในช่วงไตรมาสที่ตามมา ก็เป็นไปได้ว่าแม้แต่หุ้นที่ประกาศผลกำไรสูงกว่าที่คาดการณ์มากก็อาจจะตกลงมาได้ ดังนั้น ถ้าจะให้เราได้กำไรอย่างแน่นอนไม่ว่าภาวะตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร เราก็ควรจะต้องทั้งซื้อหุ้นที่กำไรสูงกว่าคาด และขายชอร์ตหุ้นที่ทำกำไรแย่กว่าที่คาดในเม็ดเงินที่เท่าๆ กัน ซึ่งจะทำให้พอร์ตของเรา “เป็นกลาง” กับภาวะตลาดหุ้น นั่นก็คือ ตลาดหุ้นจะขึ้นหรือตลาดหุ้นจะตก เราก็ได้กำไรถ้าแนวทางการเล่นหุ้นตามผลประกอบการนี้เป็นจริง
คำถามอาจจะเกิดขึ้นว่า อะไรคือผลประกอบการที่คาดของตลาด? คำตอบที่ดีที่สุดก็คือ ข้อมูล Analyst Consensus หรือค่าเฉลี่ยการคาดการณ์กำไรของบริษัทโดยนักวิเคราะห์ของโบรกเกอร์ทุกแห่งซึ่งก็จะมีการเผยแพร่ในบทวิเคราะห์หุ้นอยู่แล้ว ถ้าหุ้นตัวไหนไม่มีข้อมูลนี้ เราก็คงจะต้องคิดเอาเอง เช่น อาจจะดูแนวโน้มการเติบโตของกำไรในอดีตว่าโตเท่าไรแล้วเอามาคาดว่าผลประกอบการที่จะออกมาน่าจะโตเท่าเดิม ถ้าบริษัทประกาศงบออกมาโตกว่าที่คาดมาก เราก็ซื้อ และถ้าแย่กว่าที่คาดมาก เราก็ขาย แต่การใช้คาดการณ์แบบนี้ ความถูกต้องก็อาจจะไม่ดีนัก
ข้อจำกัดอย่างหนึ่งของการเล่นหุ้นตามผลประกอบการก็คือ หุ้นจำนวนมากโดยเฉพาะหุ้นขนาดเล็กนั้น มักจะมีนักวิเคราะห์ติดตามและทำบทวิเคราะห์น้อยหรือไม่มีเลย ดังนั้น เราอาจจะต้องจำกัดหุ้นที่เราจะเล่นไว้เฉพาะในกลุ่มที่อาจจะค่อนข้างใหญ่และมีสภาพคล่องที่สูง อย่างไรก็ตาม นี่ก็อาจจะไม่ใช่ข้อเสียแม้ว่าเราอาจจะพลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทน “มโหฬาร” หลายๆ ตัวไป เพราะความเสี่ยงของเราในการเล่นหุ้นก็น่าจะต่ำลง
จำนวนหุ้นที่เราจะต้องซื้อลงทุนเองนั้น ผมคิดว่าก็ควรจะต้องมากพอสมควรเพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง เพราะนี่เป็นเรื่องของสถิติ ไม่ใช่ว่าการซื้อหุ้นที่มีผลประกอบการที่ดีกว่าที่คาดมากทุกตัวจะได้กำไร การศึกษาเพียงแต่บอกว่าโดยเฉลี่ยแล้วจะได้กำไร โดยส่วนตัวผมคิดว่าอย่างน้อยน่าจะต้องมีหุ้นไม่น้อยกว่า 10 ตัว ซึ่งนี่ก็นำมาสู่ประเด็นว่าเราจะเลือกหุ้นที่มีผลประกอบการดีกว่าที่คาดการณ์ตั้งแต่กี่เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป? อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องพิจารณาก็คือ การขายชอร์ตหุ้นว่าเราจะทำแค่ไหน? เพราะการชอร์ตนั้นโดยตัวมันเองก็เป็นความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูง สำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว ก็อาจจะไม่เหมาะนักที่จะทำ ดังนั้น พอร์ตเล่นหุ้นตามผลประกอบการของเราจึงอาจจะไม่สมบูรณ์และไม่สามารถการันตีว่าต้องได้กำไรร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่ว่าภาวะตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร เพียงแต่เป็นพอร์ตที่น่าจะมีโอกาสทำกำไรได้สูงกว่าปกติโดยที่เราไม่จำเป็นต้องเป็น “เซียน” และไม่ต้องทำงานหนัก
สุดท้ายก็คือ คำถามสำคัญที่ว่าพฤติกรรมของหุ้นที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นจริงหรือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาเหมือนอย่างกลยุทธ์ทำกำไรหุ้นแบบอื่นๆ ซึ่งมาแล้วก็ไปตามแฟชั่นหรือตามช่วงเวลา? คำตอบก็คือ การศึกษาในตลาดหุ้นอเมริกาตลอดช่วงประมาณ 30 ปีที่ผ่านมาดูเหมือนว่าจะเป็นกลยุทธ์ที่ได้ผลจริง แต่ในเมืองไทยนั้นผมเองก็ไม่แน่ใจว่ามีใครทำการศึกษาไว้บ้างหรือไม่ เหนือสิ่งอื่นใด การคาดการผลประกอบการโดยนักวิเคราะห์เองก็เพิ่งมีมาไม่นาน ดังนั้น ในตลาดหุ้นไทยคงต้องบอกว่าเราจะต้อง “ดูกันต่อไป” และเราอาจจะเป็นคนลองทำดูก่อนก็อาจจะได้ผลดีก็ได้
อะไรคือเหตุผลที่ทำให้ราคาหุ้นไม่สนองตอบต่อการประกาศผลประกอบการอย่างเต็มที่และทันที? นี่คือสิ่งที่นักวิชาการเองก็ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน โดยทฤษฎีแล้ว ถ้าตลาดหุ้นมีประสิทธิภาพ ราคาหุ้นจะต้องสะท้อนรับข่าวผลประกอบการทั้งหมดทันทีนั่นคือ ราคาหุ้นจะต้องวิ่งขึ้นไปตามผลประกอบการที่ดีขึ้น ถ้าดีกว่าประมาณการมาก ราคาหุ้นก็ต้องขึ้นไปมากตั้งแต่วันแรก คนที่เข้าไปซื้อหุ้นหลังประกาศงบแล้วไม่ควรได้กำไรมากกว่าปกติ คำตอบที่มีมีคนเสนอขึ้นมาก็คือ หุ้นพวกนี้อาจจะมีความเสี่ยงมากขึ้นเมื่อมันประกาศงบที่ดีมากออกมา กล่าวคือ อนาคตกำไรมันอาจจะไม่โตเท่าเดิม ดังนั้น การเล่นหุ้นแบบนี้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น นักวิชาการบางคนก็เสนอว่า มันอาจจะเป็นเรื่องของการ “ย่อยข้อมูล” ที่ต้องใช้เวลาของนักลงทุน นั่นก็คือ การประกาศงบวันแรกนั้น นักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็นสถาบันยังไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไร จะซื้อหรือขาย ทำให้ราคาหุ้นไม่สะท้อนข้อมูลทั้งหมด หลังจากนั้น พวกเขาจึงเข้ามาซื้อซึ่งทำให้ราคาค่อยๆ ปรับตัวขึ้นไปเป็นเวลาหนึ่งไตรมาสหรือเป็นปี ไม่ว่าเหตุผลคืออะไร นี่ก็คือ การเล่นหุ้นตามข่าวที่น่าสนใจแบบหนึ่ง