VSOP แบบฉบับสำนักมวยวัด บริหารพอร์ตแบบเจ้าสำนัก copy มาครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1046
- ผู้ติดตาม: 0
VSOP แบบฉบับสำนักมวยวัด บริหารพอร์ตแบบเจ้าสำนัก copy มาครับ
โพสต์ที่ 1
ที่มา: http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=156351
ออกจะขัดกระแส จน เครียด เลิกเหล้า และการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปหน่อย แต่รับรองว่า จะไม่โดนแบนแน่ๆ เพราะ VSOP ที่เราพูดถึงกันไม่ใช่บรั่นดีชั้นยอด แต่เป็นชื่อเรียก นักลงทุนหุ้น ที่มีสไตล์การลงทุนแบบหนึ่ง
ธานินทร์ งามวิทยาพงศ์ นักลงทุนมากประสบการณ์ ที่นักลงทุนในชุมชนออนไลน์ขนาดใหญ่อย่างพันทิป (ห้องสินธร) เขารู้จักกันในชื่อ คลายเครียด หรือ endophine ผู้เขียนหนังสือ เทมเปิ้ล BOXING: คัมภีร์การลงทุนแนว VSOP เป็นคนบัญญัติศัพท์และให้คำอธิบาย ที่รับรองว่า แม้แต่ฝรั่งเจ้าตำรับการลงทุนยังคิดไม่ถึง
วิถีทางของหนุ่มหมัดเมา
ถ้านักลงทุนที่มีสไตล์การลงทุนแบบ VI หรือ เรียกว่า Value Investor เป็นนักรบฝ่ายบุ๋น ที่ตัดสินใจซื้อขายหุ้นตามปัจจัยพื้นฐานของบริษัท และพร้อมที่จะอดทนรอเก็บเกี่ยวดอกผลจากการลงทุน เพราะเชื่อว่า ในท้ายที่สุดราคาหุ้นจะสะท้อนผลประกอบการของบริษัท
แอบแถมให้อีกนิดว่า วิชชุ จันทาทับ ผู้จัดการกองทุน ฝ่ายการลงทุนตราสารทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ บอกว่า การลงทุนแบบ VI น่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสำหรับการลงทุนในภาวะตลาดปัจจุบันมากที่สุด
นักลงทุนแบบ VS (Value Speculator) ที่ตัดสินใจซื้อขายหุ้นตาม อำนาจซื้อของเงิน และ อำนาจขายของหุ้น โดยไม่สนใจปัจจัยพื้นฐานของบริษัท คงได้ชื่อว่า จอมยุทธ์นักบู๊
ธานินทร์ ระบุว่า นักลงทุนกลุ่มนี้เชื่อว่า ราคาหุ้น คือ ผลลัพธ์ที่เกิดจากแรงปะทะของอำนาจซื้อของเงินกับอำนาจขายของหุ้น ปัจจัยทุกอย่างจะสะท้อนออกมาที่ราคาหุ้น ดังนั้น แค่มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการจับตาผลลัพธ์ที่เกิดจากแรงปะทะของอำนาจทั้งสองนี้ก็สามารถลงทุนได้อย่างปลอดภัย
นักลงทุนแนว VSOP ที่ธานินทร์ให้ความหมายไว้ว่า Value Surfing by Open-minded Pragmatist ซึ่งหมายถึง นักลงทุนที่เน้นการลงทุนแบบเปิดกว้าง ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไปตามสภาพแวดล้อมของตลาดหุ้น ไม่ยึดหลักวิชาการอะไรแบบตายตัวแน่นอน
คำว่า VSOP ผมคิดขึ้นมาจากการอ่านกระทู้ของคุณคัดท้าย หนึ่งในนักลงทุนชั้นแนวหน้า ที่สามารถผสมผสานแนวความคิดแบบดูแรงกรรมของผลประกอบการของหุ้นเข้ากับแรงกรรมของตลาดหุ้น ด้วยการดูผลประกอบการควบคู่ไปกับการดูกราฟทางเทคนิค ดูจิตวิทยามวลชน ตีความข่าววงนอกและวงในได้อย่างกลมกลืน เป็นการฉีกแนวไปจากนักลงทุนสำนักใหญ่ๆ สองสำนัก คือ VI และ VS
เป็นคนที่เล่นไปตามไพ่ที่ตัวเองถืออยู่ในมือ ไม่ว่าไพ่ที่มีอยู่จะดีไม่ดีอย่างไร ก็จำเป็นต้องเล่นไปตามที่มันเป็นจริง ไม่ใช่เล่นไปตามที่ใจต้องการ ธานินทร์ ระบุ
นักลงทุนแบบ VSOP จะใช้ปัจจัยพื้นฐานในการตัดสินใจว่า ควรจะซื้อหรือขายหุ้นตัวไหน และใช้ปัจจัยทางเทคนิคเพื่อตัดสินใจว่า ควรจะซื้อหรือขายหุ้นตัวนั้นเมื่อไร
เพราะฉะนั้น คงไม่แปลกถ้าเราจะเรียกนักลงทุนแบบ VSOP ลูกผสมระหว่าง VI กับ VS ที่ไม่ยอมจำกัดตัวเองอยู่ แต่ในกรอบของฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ว่าเป็น หนุ่มหมัดเมา ที่ดูภายนอกแทบจะยืนไม่อยู่ แต่ก็ไม่มีใครเอาชนะได้
และลูกผสมแบบนี้เองที่มักจะอดทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่ออกจะแปรปรวนแบบที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้นได้ดี
แม้จะทนแดดทนฝน แต่ก็มีบ้างที่ ธาตุไฟแตก ซึ่งธานินทร์ บอกว่า นักลงทุนแนว VSOP ที่ธาตุไฟแตกมักจะเกิดจากลังเลใจ เลือกไม่ถูกว่า การผสมผสานของอัตราส่วนระหว่าง VI กับ VS ที่เหมาะสม ควรจะอยู่ที่อัตราส่วนเท่าไร
เขาให้คำแนะนำไว้ว่า ให้พิจารณาจาก อำนาจซื้อของเงินในตลาด (หรือความต้องการซื้อหุ้นของนักลงทุน)
ยามใดที่อำนาจซื้อของเงินลดลงควรให้อัตราส่วนของ VI สูงกว่า VS และถ้าอำนาจซื้อของเงินส่อแววว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง อัตราส่วนของ VI อาจจะต้องสูงถึง 80% ขึ้นไป
ในทางกลับกันในยามใดอำนาจซื้อของเงินในตลาดเพิ่มมากขึ้นควรให้อัตราส่วนของ VS สำคัญกว่า VI และถ้าอำนาจซื้อของเงินเริ่มส่อแววว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อัตราส่วนผสมของ VS ต้องมากกว่า VI ตามไปด้วย บางครั้งอาจจะต้องสูงถึง 95% มิฉะนั้นอาจจะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ตกรถ ได้ง่ายๆ
ธานินทร์ บอกว่า นักลงทุนแนวทาง VSOP ที่ประสบความสำเร็จน่าจะต้องมีเครื่องมือที่สามารถประยุกต์ใช้ได้เหมาะสมกับตัวเอง รวมถึงการผสมอัตราส่วนระหว่าง VI กับ VS ที่ลงตัวสำหรับตัวเอง
แม้ว่านักลงทุนที่มีรูปแบบการตัดสินใจลงทุนที่ผสมผสานระหว่างปัจจัยพื้นฐานและเทคนิค ก็น่าจะได้ชื่อว่า VSOP เหมือนกัน แต่วิธีการที่จะนำมาใช้ย่อมแตกต่างกัน เพราะหนุ่มหมัดเมาแต่ละคนก็คงรื่นรมย์ในการ ร่ำสุราไม่เหมือนกัน ในระดับที่แตกต่างกัน
และถ้าเป็น VSOP ในแบบฉบับของ Temple Boxing (มวยวัด) ที่มี เฮียคลายเครียด เป็นเจ้าสำนัก ซึ่งเขาออกตัว ว่า ไม่ใช่วิชาการจากสำนักไหน แต่เป็นประสบการณ์การลงทุนที่สั่งสมมาเป็นเวลานาน
เพราะฉะนั้น เครื่องมือ หลายอย่างที่เจ้าสำนักมวยวัดเขานำมาใช้อาจจะไม่คุ้นหูคุ้นตานักลงทุนที่กอดตำราวิชาการเท่าไรนัก ไม่ว่าจะเป็นสมเกินราคาหุ้น, หุ้น 4 ประเภทตามแรงกรรมของผลประกอบการ และคลายเครียดเรโช (Klai Kriad Ratio: KKR)
แต่ถึงจะใช้กลยุทธ์อย่างไร สำนัก VSOP เฉพาะแนวทางของผมก็จะไม่ทิ้งปัจจัยพื้นฐานด้านผลประกอบการ
สมเกินราคาหุ้น
สำนักมวยวัด เชื่อว่า ราคาหุ้น คือ ผลลัพธ์หรือสมดุลที่เกิดจากแรงปะทะระหว่าง อำนาจซื้อของปริมาณเงิน กับ อำนาจขายของปริมาณหุ้น ราคาหุ้นคือตัวปรับสมดุลของอำนาจทั้งสองฝ่ายให้เข้าที่ โดยผลลัพธ์ที่ออกมาจะต้องเท่ากับ 1 เสมอ
หรือหากจะอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น อำนาจซื้อของปริมาณเงิน ในความหมายของธานินทร์ ก็คือ Demand หรือความต้องการซื้อของนักลงทุน ขณะที่อำนาจขายของปริมาณหุ้น คือ Supply หรือความต้องการขายของนักลงทุน
ราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นจะลดอำนาจซื้อของเงินและเพิ่มอำนาจขายของหุ้น
ราคาหุ้นที่ลดลงจะเพิ่มอำนาจซื้อของเงินและลดอำนาจขายของหุ้น
และตัวชี้ขาดราคาหุ้นที่แท้จริง คือ ปริมาณเงิน ที่จะเข้าไปหมุนเวียนอยู่ในหุ้นตัวนั้นๆ ส่วน ปริมาณ หุ้น ที่หมุนเวียนมีอำนาจจำกัดแค่จำนวน หุ้นจดทะเบียนของบริษัทเท่านั้น
บ่อยครั้งที่เราไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ของราคาหุ้น เมื่อวิเคราะห์ตามแรงกรรมของผลประกอบการของบริษัทแบบ VI เพราะปัจจัยที่สำคัญกว่าแรงกรรมของผลประกอบการ คือราคาหุ้นขึ้นลง โดยอาศัยแรงกรรมของคนในตลาดหุ้น คลายเครียด อธิบายความเชื่อของสำนัก
หุ้น 4 ประเภท
หุ้น 4 ประเภท ตามแรงกรรมของตลาดหุ้น (ซึ่งมี PE, PBV, Yield และข่าว เป็นเครื่องมือมาตรฐาน) โดยดูจากพัฒนาการของราคาหุ้นในอดีต มาถึงปัจจุบัน (ภาพประกอบ)
หุ้น 4 ประเภท ตามแรงกรรมของผลประกอบการ (ซึ่งมี EPS, BV, Dividend, Discount Cashflow และอื่นๆ เป็นเครื่องมือมาตรฐาน) โดยดูจากพัฒนาการของผลประกอบการในอดีต ไปสู่ผลประกอบการในอนาคต (ภาพประกอบ)
ธานินทร์ แนะนำนักลงทุนว่า ลองจัดหุ้นที่ถืออยู่ในมือว่าอยู่ในหุ้นประเภทไหน แล้วอาจจะได้แนวทางในการลงทุน
ย้อนไปสำรวจพอร์ตตัวเองผมตอบได้ทันทีว่า หุ้นที่ทำกำไรให้มากที่สุดจะอยู่ในประเภท 3A และ 3B ส่วนหุ้นที่ขาดทุนเละเทะที่สุดอยู่ในหุ้นประเภท 2B ที่ซื้อโดยไม่ยอมใช้เครื่องมือมาตรฐานว่าด้วยพีอี พีบีวี เข้าไปวัดกะจะวัดดวงกับแรงกรรมแห่งความโลภและความกลัวของตลาดเลยเจ๊งเละเทะ
คลายเครียดเรโช
รับรองว่า เราจะไม่เคยได้ยินอัตราส่วนนี้จากในตำราไหน ยกเว้นตำราของคุณคลายเครียด ซึ่งเขาบอกว่า...
คลายเครียดเรโชเป็นแค่วิธีบริหารความเสี่ยง (ลดความเครียด) ของนักลงทุน จากสิ่งที่เราไม่รู้ เพราะไม่มีเครื่องมืออะไรที่จะใช้คาดเดาราคาหุ้นได้
คลายเครียดเรโช ยังแบ่งออกเป็น มหภาค และจุลภาค โดย คลายเครียดเรโชระดับมหภาค คือ ยุทธศาสตร์ของพอร์ต ส่วน คลายเครียดเรโชระดับ จุลภาค คือ ยุทธวิธีรูปแบบหนึ่งในการบริหารพอร์ต (ภาพประกอบ)
คลายเครียดเรโช (มหภาค) จะหาได้จากกำไรทั้งหมดจากเงินลงทุน หารด้วยเงินลงทุนทั้งหมดในปัจจุบัน ซึ่งจะให้หายเครียดก็ต้องเท่ากับหรือมากกว่า 1
ยิ่งมากกว่า 1 มากเท่าใด ก็หมายความว่าเงินที่ลงทุนอยู่ในตอนนี้ไม่ใช่ของเรา ธานินทร์ กล่าว และ ยิ่งมากกว่า 1 มากขึ้นเท่าใด ความเครียดก็ยิ่งน้อยลงไปเท่านั้น
คลายเครียดเรโช (จุลภาค) จะใช้กับตัวหุ้น โดยจะหาได้จากการนำราคาขาย หารด้วยราคาต้นทุน แล้วลบออก 1 (ลบเงินทุนของตัวเองออกไปก่อน) ค่าที่ได้จะต้องเท่ากับหรือมากกว่า 1 จึงจะลดความเครียดลงไปได้
สัดส่วนนี้เป็นการคลายเครียดของคนที่ กำไร มากๆ เพราะจะขายทำกำไรก็กลัวว่า มันจะวิ่งไปต่อ จะถือต่อก็กลัวว่า หัวมันจะทิ่มลง เพราะฉะนั้น ก็จำเป็นต้องขายบางส่วนออกไป เพื่อ เอาทุนคืน มาก่อน แล้วส่วนที่ยังเหลืออยู่ก็มีแต่กำไร (ส่วนเกินทุน) เท่านั้น... หายเครียด
ถ้าเราขายหุ้นตามวิธีคลายเครียดเรโชที่เท่ากับ 1 ก็หมายความว่า เราได้เก็บส่วนทุนของเราเอาไว้แล้วอย่างปลอดภัย 100% เจ้าของแนวคิดระบุ แต่เขาบอกว่า เขาไม่ใช่คนคิดค้นอัตราส่วนนี้ แต่เป็นนักลงทุนที่ชอบ ปลอดภัยไว้ก่อน เป็นคนคิดขึ้น
วิธีการนี้เหมาะกับ หุ้นขาขึ้น คือ หุ้นที่ราคาถูกลากไปที่ ราคาอนาคต เพื่อรอผลประกอบการที่ดีใน อนาคต และหุ้นที่ราคาขึ้นมา เพราะข่าวลือ ข่าวปล่อย ข่าววงใน ข่าววงนอก
แต่ไม่ใช่ว่า หุ้นทุกตัวที่ทำราคาเกินเท่าตัวตามคลายเครียดเรโชแล้วจะต้องถูกขายออกไป เพราะบางตัวที่เป็นหุ้นที่ดีเขาก็ยอมถือ แม้ว่าราคาจะเกินทุนไปหลายเท่าตัว
หลังจากมองย้อนกลับไปดูการทำคลายเครียดเรโชในอดีต ผมได้พบจุดบกพร่องที่สำคัญที่สุดของการทำคลายเครียดเรโช คือ การทำแบบเหวี่ยงแห โดยคิดเพียงแต่จะเอาเงินทุนของเราขึ้นมาก่อน น่าเสียดายมากๆ ที่ผมเพิ่งคิดวิธีแยกหุ้นเป็น 4 ประเภท และหลักสมเกินราคาหุ้นขึ้นมาได้ หลังจากวัฏจักรขาขึ้นครั้งใหญ่ของหุ้นผ่านไปแล้ว
แม้ว่า คลายเครียดเรโชจะช่วยบริหารความเสี่ยง ไม่ให้เงินทุนเสียหายได้ แต่มันก็ทำให้พอร์ตไม่โตเท่าที่ควรจะเป็น
เมื่อบรรลุเคล็ดวิชาขั้นสูง ในวันนี้เจ้าสำนักมวยวัดจึงกำหนดวิธีการจัดการ (บริหารพอร์ต) ให้กับหุ้นที่ไปตกอยู่ในแต่ละประเภทแตกต่างกันออกไป เช่น
ต้องทำ คลายเครียดเรโชกับหุ้นประเภท 2 และ 4 ที่ถูกแรงกรรมของตลาดหุ้นปั่นขึ้นมาสูงๆ แบบไดเวอร์เจนต์กับผลประกอบการ และ เลือกทำ คลายเครียด เรโช หรือชอร์ตอะเกนส์พอร์ต หุ้นประเภท 1 และ 3
ตอนนี้คิดไว้ว่า หุ้นกลุ่ม 1 และ 3 จะชอร์ตอะ เกนส์พอร์ต หรือไม่ก็ซื้อเพิ่ม ไม่มีการขายทิ้ง หุ้นกลุ่ม 2 และ 4 ไม่มีการซื้อเพิ่ม เลือกคัทลอสเป็นหลัก ตามมาด้วยการชอร์ตอะเกนส์พอร์ต เพื่อหาทางลดต้นทุนลง
และถ้าจะให้เป็น เจ้าสำนักมวยวัด ตัวจริงเสียงจริง เขาจะต้องปิดท้ายเรื่องนี้ด้วยประโยคเด็ดจาก ภาพยนตร์ดังที่ว่า คนเราเชี่ยวผิดกันเว้ยไอ้ศร ทางใครก็ทางมันสิวะ
ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับพวกเราแล้วล่ะว่า จะเดินตามวิถีทางอย่าง VSOP ในฐานะลูกผสมที่ทนทุกสภาพอากาศ อย่างไอ้หนุ่มหมัดเมา ผู้ไม่กลัวใคร หรือจะยังเดิน สะเปะสะปะไร้ทิศทางเหมือนอย่างที่เป็นมา
ที่มา http://hoontoday.com/tb/index.php?topic=27.0
ออกจะขัดกระแส จน เครียด เลิกเหล้า และการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปหน่อย แต่รับรองว่า จะไม่โดนแบนแน่ๆ เพราะ VSOP ที่เราพูดถึงกันไม่ใช่บรั่นดีชั้นยอด แต่เป็นชื่อเรียก นักลงทุนหุ้น ที่มีสไตล์การลงทุนแบบหนึ่ง
ธานินทร์ งามวิทยาพงศ์ นักลงทุนมากประสบการณ์ ที่นักลงทุนในชุมชนออนไลน์ขนาดใหญ่อย่างพันทิป (ห้องสินธร) เขารู้จักกันในชื่อ คลายเครียด หรือ endophine ผู้เขียนหนังสือ เทมเปิ้ล BOXING: คัมภีร์การลงทุนแนว VSOP เป็นคนบัญญัติศัพท์และให้คำอธิบาย ที่รับรองว่า แม้แต่ฝรั่งเจ้าตำรับการลงทุนยังคิดไม่ถึง
วิถีทางของหนุ่มหมัดเมา
ถ้านักลงทุนที่มีสไตล์การลงทุนแบบ VI หรือ เรียกว่า Value Investor เป็นนักรบฝ่ายบุ๋น ที่ตัดสินใจซื้อขายหุ้นตามปัจจัยพื้นฐานของบริษัท และพร้อมที่จะอดทนรอเก็บเกี่ยวดอกผลจากการลงทุน เพราะเชื่อว่า ในท้ายที่สุดราคาหุ้นจะสะท้อนผลประกอบการของบริษัท
แอบแถมให้อีกนิดว่า วิชชุ จันทาทับ ผู้จัดการกองทุน ฝ่ายการลงทุนตราสารทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ บอกว่า การลงทุนแบบ VI น่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสำหรับการลงทุนในภาวะตลาดปัจจุบันมากที่สุด
นักลงทุนแบบ VS (Value Speculator) ที่ตัดสินใจซื้อขายหุ้นตาม อำนาจซื้อของเงิน และ อำนาจขายของหุ้น โดยไม่สนใจปัจจัยพื้นฐานของบริษัท คงได้ชื่อว่า จอมยุทธ์นักบู๊
ธานินทร์ ระบุว่า นักลงทุนกลุ่มนี้เชื่อว่า ราคาหุ้น คือ ผลลัพธ์ที่เกิดจากแรงปะทะของอำนาจซื้อของเงินกับอำนาจขายของหุ้น ปัจจัยทุกอย่างจะสะท้อนออกมาที่ราคาหุ้น ดังนั้น แค่มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการจับตาผลลัพธ์ที่เกิดจากแรงปะทะของอำนาจทั้งสองนี้ก็สามารถลงทุนได้อย่างปลอดภัย
นักลงทุนแนว VSOP ที่ธานินทร์ให้ความหมายไว้ว่า Value Surfing by Open-minded Pragmatist ซึ่งหมายถึง นักลงทุนที่เน้นการลงทุนแบบเปิดกว้าง ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไปตามสภาพแวดล้อมของตลาดหุ้น ไม่ยึดหลักวิชาการอะไรแบบตายตัวแน่นอน
คำว่า VSOP ผมคิดขึ้นมาจากการอ่านกระทู้ของคุณคัดท้าย หนึ่งในนักลงทุนชั้นแนวหน้า ที่สามารถผสมผสานแนวความคิดแบบดูแรงกรรมของผลประกอบการของหุ้นเข้ากับแรงกรรมของตลาดหุ้น ด้วยการดูผลประกอบการควบคู่ไปกับการดูกราฟทางเทคนิค ดูจิตวิทยามวลชน ตีความข่าววงนอกและวงในได้อย่างกลมกลืน เป็นการฉีกแนวไปจากนักลงทุนสำนักใหญ่ๆ สองสำนัก คือ VI และ VS
เป็นคนที่เล่นไปตามไพ่ที่ตัวเองถืออยู่ในมือ ไม่ว่าไพ่ที่มีอยู่จะดีไม่ดีอย่างไร ก็จำเป็นต้องเล่นไปตามที่มันเป็นจริง ไม่ใช่เล่นไปตามที่ใจต้องการ ธานินทร์ ระบุ
นักลงทุนแบบ VSOP จะใช้ปัจจัยพื้นฐานในการตัดสินใจว่า ควรจะซื้อหรือขายหุ้นตัวไหน และใช้ปัจจัยทางเทคนิคเพื่อตัดสินใจว่า ควรจะซื้อหรือขายหุ้นตัวนั้นเมื่อไร
เพราะฉะนั้น คงไม่แปลกถ้าเราจะเรียกนักลงทุนแบบ VSOP ลูกผสมระหว่าง VI กับ VS ที่ไม่ยอมจำกัดตัวเองอยู่ แต่ในกรอบของฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ว่าเป็น หนุ่มหมัดเมา ที่ดูภายนอกแทบจะยืนไม่อยู่ แต่ก็ไม่มีใครเอาชนะได้
และลูกผสมแบบนี้เองที่มักจะอดทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศที่ออกจะแปรปรวนแบบที่เกิดขึ้นในตลาดหุ้นได้ดี
แม้จะทนแดดทนฝน แต่ก็มีบ้างที่ ธาตุไฟแตก ซึ่งธานินทร์ บอกว่า นักลงทุนแนว VSOP ที่ธาตุไฟแตกมักจะเกิดจากลังเลใจ เลือกไม่ถูกว่า การผสมผสานของอัตราส่วนระหว่าง VI กับ VS ที่เหมาะสม ควรจะอยู่ที่อัตราส่วนเท่าไร
เขาให้คำแนะนำไว้ว่า ให้พิจารณาจาก อำนาจซื้อของเงินในตลาด (หรือความต้องการซื้อหุ้นของนักลงทุน)
ยามใดที่อำนาจซื้อของเงินลดลงควรให้อัตราส่วนของ VI สูงกว่า VS และถ้าอำนาจซื้อของเงินส่อแววว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง อัตราส่วนของ VI อาจจะต้องสูงถึง 80% ขึ้นไป
ในทางกลับกันในยามใดอำนาจซื้อของเงินในตลาดเพิ่มมากขึ้นควรให้อัตราส่วนของ VS สำคัญกว่า VI และถ้าอำนาจซื้อของเงินเริ่มส่อแววว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อัตราส่วนผสมของ VS ต้องมากกว่า VI ตามไปด้วย บางครั้งอาจจะต้องสูงถึง 95% มิฉะนั้นอาจจะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ตกรถ ได้ง่ายๆ
ธานินทร์ บอกว่า นักลงทุนแนวทาง VSOP ที่ประสบความสำเร็จน่าจะต้องมีเครื่องมือที่สามารถประยุกต์ใช้ได้เหมาะสมกับตัวเอง รวมถึงการผสมอัตราส่วนระหว่าง VI กับ VS ที่ลงตัวสำหรับตัวเอง
แม้ว่านักลงทุนที่มีรูปแบบการตัดสินใจลงทุนที่ผสมผสานระหว่างปัจจัยพื้นฐานและเทคนิค ก็น่าจะได้ชื่อว่า VSOP เหมือนกัน แต่วิธีการที่จะนำมาใช้ย่อมแตกต่างกัน เพราะหนุ่มหมัดเมาแต่ละคนก็คงรื่นรมย์ในการ ร่ำสุราไม่เหมือนกัน ในระดับที่แตกต่างกัน
และถ้าเป็น VSOP ในแบบฉบับของ Temple Boxing (มวยวัด) ที่มี เฮียคลายเครียด เป็นเจ้าสำนัก ซึ่งเขาออกตัว ว่า ไม่ใช่วิชาการจากสำนักไหน แต่เป็นประสบการณ์การลงทุนที่สั่งสมมาเป็นเวลานาน
เพราะฉะนั้น เครื่องมือ หลายอย่างที่เจ้าสำนักมวยวัดเขานำมาใช้อาจจะไม่คุ้นหูคุ้นตานักลงทุนที่กอดตำราวิชาการเท่าไรนัก ไม่ว่าจะเป็นสมเกินราคาหุ้น, หุ้น 4 ประเภทตามแรงกรรมของผลประกอบการ และคลายเครียดเรโช (Klai Kriad Ratio: KKR)
แต่ถึงจะใช้กลยุทธ์อย่างไร สำนัก VSOP เฉพาะแนวทางของผมก็จะไม่ทิ้งปัจจัยพื้นฐานด้านผลประกอบการ
สมเกินราคาหุ้น
สำนักมวยวัด เชื่อว่า ราคาหุ้น คือ ผลลัพธ์หรือสมดุลที่เกิดจากแรงปะทะระหว่าง อำนาจซื้อของปริมาณเงิน กับ อำนาจขายของปริมาณหุ้น ราคาหุ้นคือตัวปรับสมดุลของอำนาจทั้งสองฝ่ายให้เข้าที่ โดยผลลัพธ์ที่ออกมาจะต้องเท่ากับ 1 เสมอ
หรือหากจะอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น อำนาจซื้อของปริมาณเงิน ในความหมายของธานินทร์ ก็คือ Demand หรือความต้องการซื้อของนักลงทุน ขณะที่อำนาจขายของปริมาณหุ้น คือ Supply หรือความต้องการขายของนักลงทุน
ราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นจะลดอำนาจซื้อของเงินและเพิ่มอำนาจขายของหุ้น
ราคาหุ้นที่ลดลงจะเพิ่มอำนาจซื้อของเงินและลดอำนาจขายของหุ้น
และตัวชี้ขาดราคาหุ้นที่แท้จริง คือ ปริมาณเงิน ที่จะเข้าไปหมุนเวียนอยู่ในหุ้นตัวนั้นๆ ส่วน ปริมาณ หุ้น ที่หมุนเวียนมีอำนาจจำกัดแค่จำนวน หุ้นจดทะเบียนของบริษัทเท่านั้น
บ่อยครั้งที่เราไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ของราคาหุ้น เมื่อวิเคราะห์ตามแรงกรรมของผลประกอบการของบริษัทแบบ VI เพราะปัจจัยที่สำคัญกว่าแรงกรรมของผลประกอบการ คือราคาหุ้นขึ้นลง โดยอาศัยแรงกรรมของคนในตลาดหุ้น คลายเครียด อธิบายความเชื่อของสำนัก
หุ้น 4 ประเภท
หุ้น 4 ประเภท ตามแรงกรรมของตลาดหุ้น (ซึ่งมี PE, PBV, Yield และข่าว เป็นเครื่องมือมาตรฐาน) โดยดูจากพัฒนาการของราคาหุ้นในอดีต มาถึงปัจจุบัน (ภาพประกอบ)
หุ้น 4 ประเภท ตามแรงกรรมของผลประกอบการ (ซึ่งมี EPS, BV, Dividend, Discount Cashflow และอื่นๆ เป็นเครื่องมือมาตรฐาน) โดยดูจากพัฒนาการของผลประกอบการในอดีต ไปสู่ผลประกอบการในอนาคต (ภาพประกอบ)
ธานินทร์ แนะนำนักลงทุนว่า ลองจัดหุ้นที่ถืออยู่ในมือว่าอยู่ในหุ้นประเภทไหน แล้วอาจจะได้แนวทางในการลงทุน
ย้อนไปสำรวจพอร์ตตัวเองผมตอบได้ทันทีว่า หุ้นที่ทำกำไรให้มากที่สุดจะอยู่ในประเภท 3A และ 3B ส่วนหุ้นที่ขาดทุนเละเทะที่สุดอยู่ในหุ้นประเภท 2B ที่ซื้อโดยไม่ยอมใช้เครื่องมือมาตรฐานว่าด้วยพีอี พีบีวี เข้าไปวัดกะจะวัดดวงกับแรงกรรมแห่งความโลภและความกลัวของตลาดเลยเจ๊งเละเทะ
คลายเครียดเรโช
รับรองว่า เราจะไม่เคยได้ยินอัตราส่วนนี้จากในตำราไหน ยกเว้นตำราของคุณคลายเครียด ซึ่งเขาบอกว่า...
คลายเครียดเรโชเป็นแค่วิธีบริหารความเสี่ยง (ลดความเครียด) ของนักลงทุน จากสิ่งที่เราไม่รู้ เพราะไม่มีเครื่องมืออะไรที่จะใช้คาดเดาราคาหุ้นได้
คลายเครียดเรโช ยังแบ่งออกเป็น มหภาค และจุลภาค โดย คลายเครียดเรโชระดับมหภาค คือ ยุทธศาสตร์ของพอร์ต ส่วน คลายเครียดเรโชระดับ จุลภาค คือ ยุทธวิธีรูปแบบหนึ่งในการบริหารพอร์ต (ภาพประกอบ)
คลายเครียดเรโช (มหภาค) จะหาได้จากกำไรทั้งหมดจากเงินลงทุน หารด้วยเงินลงทุนทั้งหมดในปัจจุบัน ซึ่งจะให้หายเครียดก็ต้องเท่ากับหรือมากกว่า 1
ยิ่งมากกว่า 1 มากเท่าใด ก็หมายความว่าเงินที่ลงทุนอยู่ในตอนนี้ไม่ใช่ของเรา ธานินทร์ กล่าว และ ยิ่งมากกว่า 1 มากขึ้นเท่าใด ความเครียดก็ยิ่งน้อยลงไปเท่านั้น
คลายเครียดเรโช (จุลภาค) จะใช้กับตัวหุ้น โดยจะหาได้จากการนำราคาขาย หารด้วยราคาต้นทุน แล้วลบออก 1 (ลบเงินทุนของตัวเองออกไปก่อน) ค่าที่ได้จะต้องเท่ากับหรือมากกว่า 1 จึงจะลดความเครียดลงไปได้
สัดส่วนนี้เป็นการคลายเครียดของคนที่ กำไร มากๆ เพราะจะขายทำกำไรก็กลัวว่า มันจะวิ่งไปต่อ จะถือต่อก็กลัวว่า หัวมันจะทิ่มลง เพราะฉะนั้น ก็จำเป็นต้องขายบางส่วนออกไป เพื่อ เอาทุนคืน มาก่อน แล้วส่วนที่ยังเหลืออยู่ก็มีแต่กำไร (ส่วนเกินทุน) เท่านั้น... หายเครียด
ถ้าเราขายหุ้นตามวิธีคลายเครียดเรโชที่เท่ากับ 1 ก็หมายความว่า เราได้เก็บส่วนทุนของเราเอาไว้แล้วอย่างปลอดภัย 100% เจ้าของแนวคิดระบุ แต่เขาบอกว่า เขาไม่ใช่คนคิดค้นอัตราส่วนนี้ แต่เป็นนักลงทุนที่ชอบ ปลอดภัยไว้ก่อน เป็นคนคิดขึ้น
วิธีการนี้เหมาะกับ หุ้นขาขึ้น คือ หุ้นที่ราคาถูกลากไปที่ ราคาอนาคต เพื่อรอผลประกอบการที่ดีใน อนาคต และหุ้นที่ราคาขึ้นมา เพราะข่าวลือ ข่าวปล่อย ข่าววงใน ข่าววงนอก
แต่ไม่ใช่ว่า หุ้นทุกตัวที่ทำราคาเกินเท่าตัวตามคลายเครียดเรโชแล้วจะต้องถูกขายออกไป เพราะบางตัวที่เป็นหุ้นที่ดีเขาก็ยอมถือ แม้ว่าราคาจะเกินทุนไปหลายเท่าตัว
หลังจากมองย้อนกลับไปดูการทำคลายเครียดเรโชในอดีต ผมได้พบจุดบกพร่องที่สำคัญที่สุดของการทำคลายเครียดเรโช คือ การทำแบบเหวี่ยงแห โดยคิดเพียงแต่จะเอาเงินทุนของเราขึ้นมาก่อน น่าเสียดายมากๆ ที่ผมเพิ่งคิดวิธีแยกหุ้นเป็น 4 ประเภท และหลักสมเกินราคาหุ้นขึ้นมาได้ หลังจากวัฏจักรขาขึ้นครั้งใหญ่ของหุ้นผ่านไปแล้ว
แม้ว่า คลายเครียดเรโชจะช่วยบริหารความเสี่ยง ไม่ให้เงินทุนเสียหายได้ แต่มันก็ทำให้พอร์ตไม่โตเท่าที่ควรจะเป็น
เมื่อบรรลุเคล็ดวิชาขั้นสูง ในวันนี้เจ้าสำนักมวยวัดจึงกำหนดวิธีการจัดการ (บริหารพอร์ต) ให้กับหุ้นที่ไปตกอยู่ในแต่ละประเภทแตกต่างกันออกไป เช่น
ต้องทำ คลายเครียดเรโชกับหุ้นประเภท 2 และ 4 ที่ถูกแรงกรรมของตลาดหุ้นปั่นขึ้นมาสูงๆ แบบไดเวอร์เจนต์กับผลประกอบการ และ เลือกทำ คลายเครียด เรโช หรือชอร์ตอะเกนส์พอร์ต หุ้นประเภท 1 และ 3
ตอนนี้คิดไว้ว่า หุ้นกลุ่ม 1 และ 3 จะชอร์ตอะ เกนส์พอร์ต หรือไม่ก็ซื้อเพิ่ม ไม่มีการขายทิ้ง หุ้นกลุ่ม 2 และ 4 ไม่มีการซื้อเพิ่ม เลือกคัทลอสเป็นหลัก ตามมาด้วยการชอร์ตอะเกนส์พอร์ต เพื่อหาทางลดต้นทุนลง
และถ้าจะให้เป็น เจ้าสำนักมวยวัด ตัวจริงเสียงจริง เขาจะต้องปิดท้ายเรื่องนี้ด้วยประโยคเด็ดจาก ภาพยนตร์ดังที่ว่า คนเราเชี่ยวผิดกันเว้ยไอ้ศร ทางใครก็ทางมันสิวะ
ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับพวกเราแล้วล่ะว่า จะเดินตามวิถีทางอย่าง VSOP ในฐานะลูกผสมที่ทนทุกสภาพอากาศ อย่างไอ้หนุ่มหมัดเมา ผู้ไม่กลัวใคร หรือจะยังเดิน สะเปะสะปะไร้ทิศทางเหมือนอย่างที่เป็นมา
ที่มา http://hoontoday.com/tb/index.php?topic=27.0
ซื้อเมื่อราคาต่ำกว่ามูลค่า ขายเมื่อมูลค่าต่ำกว่าราคา
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 583
- ผู้ติดตาม: 1
Re: VSOP แบบฉบับสำนักมวยวัด บริหารพอร์ตแบบเจ้าสำนัก copy มา
โพสต์ที่ 5
คนเรามันเชี่ยวมันเชี่ยวผิดกันเว้ยไอ้ศร ทางใครก็ทางมันซิวะ...
ต้นแบบนักลงทุนแห่งยุคสมัย จอมยุทธ์ผู้โอบอ้อมอารีย์
แม้ไม่เคยเจรจากัน แต่ก็ขอคารวะท่านเจ้าสำนักด้วยความชื่นชม นะครับผม^^
ต้นแบบนักลงทุนแห่งยุคสมัย จอมยุทธ์ผู้โอบอ้อมอารีย์
แม้ไม่เคยเจรจากัน แต่ก็ขอคารวะท่านเจ้าสำนักด้วยความชื่นชม นะครับผม^^
เรียนรู้และเข้าใจ คุณค่าที่แท้จริงของสรรพสิ่ง...
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1735
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VSOP แบบฉบับสำนักมวยวัด บริหารพอร์ตแบบเจ้าสำนัก copy มา
โพสต์ที่ 7
ขอบคุณทุกๆท่านครับ
ความจริงเป็นบทความเก่า ที่ผู้เชียน เรียบเรียงไปตามที่อ่านจากเวบและจากข้อมูลที่ผมส่งไปให้ครับ
เวลาเปลี่ยน ความคิดคนก็เปลี่ยน
ไม่แน่ใจว่า ผมบอกผิดหรือคนเชียนคอลัมส์ตีความผิด
โดยเฉพาะข้อความนี้่
เขาให้คำแนะนำไว้ว่า ให้พิจารณาจาก อำนาจซื้อของเงินในตลาด (หรือความต้องการซื้อหุ้นของนักลงทุน)
ยามใดทีี color=#BF0000]อำนาจซื้อ[[/color]/color]ของเงินลดลง ควรให้อัตราส่วนของ VI สูงกว่า VS และถ้าอำนาจซื้อของเงินส่อแววว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง อัตราส่วนของ VI อาจจะต้องสูงถึง 80% ขึ้นไป
ในทางกลับกันในยามใดอำนาจซื้อของเงินในตลาดเพิ่มมากขึ้นควรให้อัตราส่วนของ VS สำคัญกว่า VI และถ้าอำนาจซื้อของเงินเริ่มส่อแววว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อัตราส่วนผสมของ VS ต้องมากกว่า VI ตามไปด้วย บางครั้งอาจจะต้องสูงถึง 95% มิฉะนั้นอาจจะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ตกรถ ได้ง่ายๆ
ขอชี้แจงดังนี้
เดี๋ยวนี้ ผมไม่ใช่คำว่าvs หรือ value speculator แล้ว ส่วนของวีไอยังเหมือนเดิม
ผมจะใช้คำว่า ps price speculator แทนคำว่า vs
ปริมาณเงิน กับอำนาจซื้อของเงิน ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน
ตัวอย่างเช่น เงินล้านบาท ซื้อหุ้นที่ราคา ๑ บาท ได้หนึ่งแสนหุ้น
แต่พอราคาหุ้นขึ้นเป็น ๑๐ บาท ก็ซื้อได้แค่หนึ่งหมื่นหุ้นเท่านั้น
เท่ากับว่า ปริมาณเงิน เท่าๆกัน หนึ่งล้านบาท มีอำนาจซื้อต่างกันถึงสิบเท่า
ดังนั้น ขอแก้ไขข้อความเป็นดังนี้ครับ
เขาให้คำแนะนำไว้ว่า ให้พิจารณาจาก ปริมาณของเงินในตลาด (หรือความต้องการซื้อหุ้นของนักลงทุน)
ยามใดทีี color=#BF0000]ปริมาณ[[/color]/color]ของเงินในตลาดลดลง ควรให้อัตราส่วนของ VI สูงกว่า VS และถ้าปริมาณของเงินในตลาด ส่อแววว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง อัตราส่วนของ VI อาจจะต้องสูงถึง 80% ขึ้นไป
ในทางกลับกันในยามใดปริมาณของเงินในตลาดเพิ่มมากขึ้น ควรให้อัตราส่วนของ VS สำคัญกว่า VI และถ้าปริมาณของเงินในตลาด เริ่มส่อแววว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อัตราส่วนผสมของ VS ต้องมากกว่า VI ตามไปด้วย บางครั้งอาจจะต้องสูงถึง 95% มิฉะนั้นอาจจะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ตกรถ ได้ง่ายๆ
ความจริงเป็นบทความเก่า ที่ผู้เชียน เรียบเรียงไปตามที่อ่านจากเวบและจากข้อมูลที่ผมส่งไปให้ครับ
เวลาเปลี่ยน ความคิดคนก็เปลี่ยน
ไม่แน่ใจว่า ผมบอกผิดหรือคนเชียนคอลัมส์ตีความผิด
โดยเฉพาะข้อความนี้่
เขาให้คำแนะนำไว้ว่า ให้พิจารณาจาก อำนาจซื้อของเงินในตลาด (หรือความต้องการซื้อหุ้นของนักลงทุน)
ยามใดทีี color=#BF0000]อำนาจซื้อ[[/color]/color]ของเงินลดลง ควรให้อัตราส่วนของ VI สูงกว่า VS และถ้าอำนาจซื้อของเงินส่อแววว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง อัตราส่วนของ VI อาจจะต้องสูงถึง 80% ขึ้นไป
ในทางกลับกันในยามใดอำนาจซื้อของเงินในตลาดเพิ่มมากขึ้นควรให้อัตราส่วนของ VS สำคัญกว่า VI และถ้าอำนาจซื้อของเงินเริ่มส่อแววว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อัตราส่วนผสมของ VS ต้องมากกว่า VI ตามไปด้วย บางครั้งอาจจะต้องสูงถึง 95% มิฉะนั้นอาจจะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ตกรถ ได้ง่ายๆ
ขอชี้แจงดังนี้
เดี๋ยวนี้ ผมไม่ใช่คำว่าvs หรือ value speculator แล้ว ส่วนของวีไอยังเหมือนเดิม
ผมจะใช้คำว่า ps price speculator แทนคำว่า vs
ปริมาณเงิน กับอำนาจซื้อของเงิน ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน
ตัวอย่างเช่น เงินล้านบาท ซื้อหุ้นที่ราคา ๑ บาท ได้หนึ่งแสนหุ้น
แต่พอราคาหุ้นขึ้นเป็น ๑๐ บาท ก็ซื้อได้แค่หนึ่งหมื่นหุ้นเท่านั้น
เท่ากับว่า ปริมาณเงิน เท่าๆกัน หนึ่งล้านบาท มีอำนาจซื้อต่างกันถึงสิบเท่า
ดังนั้น ขอแก้ไขข้อความเป็นดังนี้ครับ
เขาให้คำแนะนำไว้ว่า ให้พิจารณาจาก ปริมาณของเงินในตลาด (หรือความต้องการซื้อหุ้นของนักลงทุน)
ยามใดทีี color=#BF0000]ปริมาณ[[/color]/color]ของเงินในตลาดลดลง ควรให้อัตราส่วนของ VI สูงกว่า VS และถ้าปริมาณของเงินในตลาด ส่อแววว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่อง อัตราส่วนของ VI อาจจะต้องสูงถึง 80% ขึ้นไป
ในทางกลับกันในยามใดปริมาณของเงินในตลาดเพิ่มมากขึ้น ควรให้อัตราส่วนของ VS สำคัญกว่า VI และถ้าปริมาณของเงินในตลาด เริ่มส่อแววว่าจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อัตราส่วนผสมของ VS ต้องมากกว่า VI ตามไปด้วย บางครั้งอาจจะต้องสูงถึง 95% มิฉะนั้นอาจจะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า ตกรถ ได้ง่ายๆ