รวมความคิดเห็นผลกระทบหยวนต่อไทย !!!

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
ภาพประจำตัวสมาชิก
LOSO
Verified User
โพสต์: 2512
ผู้ติดตาม: 0

รวมความคิดเห็นผลกระทบหยวนต่อไทย !!!

โพสต์ที่ 1

โพสต์

นายสมภพ มานะรังสรรค์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงนโยบายบริหารอัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลหยวนของจีน จนกระทั่งแข็งค่าขึ้นประมาณ 2.1% นั้นมีทั้งผลบวกและลบ และเชื่อว่าอัตราค่าเงินหยวนจะไม่หยุดนิ่งเพียงเท่านั้น เพราะสหรัฐจะกดดันจีนอย่างต่อเนื่อง ตราบใดที่สหรัฐยังคงขาดดุลการค้ากับจีนอย่างมหาศาลประมาณ 1.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี และเชื่อว่าภายใน 2007 จีนจะประกาศใช้นโยบายลอยตัวค่าเงินหยวน หลังจากเปิดเสรีทางการเงินแล้ว

"ไม่ถึงปีครึ่งนับจากนี้ จีนต้องปรับเปลี่ยนระบบการเงิน และค่าเงินอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะไม่กระทบต่อเศรษฐกิจจีน แต่จะกระทบต่อกับคู่ค้าของจีน โดยเฉพาะประเทศในเอเชียที่ลงทุนกับจีน" นายรังสรรค์กล่าว

สำหรับประเทศไทยที่จะได้รับผลจากความผันผวนของเงินหยวนนั้น ช่วงนี้จะมีมากขึ้นเพราะอยู่ในภาวะเศรษฐกิจขาลง ก็จะลงร้ายแรงกว่าปกติเมื่อจีนปลดล็อกค่าเงินทำให้การค้าและการแลกเปลี่ยนลำบากยิ่งขึ้น โดยค่าเงินของจีนที่แข็งค่าขึ้นก็จะไปลดทอนส่งออกในแง่มูลค่า ขณะที่การส่งออกสินค้าบางตัวไปต่างประเทศของจีนต้องใช้โควต้ากำหนด ซึ่งส่วนใหญ่เต็มโควต้าแล้ว เมื่อการส่งออกของจีนชะงัก สินค้าล้นตลาด จีนก็ไม่จำเป็นต้องขยายกำลังการผลิต ก็ไม่ต้องนำเข้ามากเหมือนเดิม มีการชะลอการนำเข้า ซึ่งประเทศที่ถูกกระทบเป็นหลักคือเอเชีย เฉพาะประเทศไทยมีแนวโน้มกระทบสูง เพราะที่ผ่านมามีการส่งออกสินค้าวัตถุดิบเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำไปยังจีนเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 40-50% คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของการส่งออกทั้งหมด โดยสินค้าอันดับต้นๆ เช่น ปิโตรเคมี เม็ดพลาสติก ยางพารา มันสำปะหลัง เมื่อจีนชะลอการนำเข้าก็จะลากเศรษฐกิจทั่วโลกให้มีปัญหาตาม ไม่เพียงแต่การส่งออกไปจีนจะมีปัญหาเท่านั้น ไทยอาจมีปัญหาการส่งออกไปยังญี่ปุ่น เกาหลี เพราแน่นอนว่าจีนจะต้องนำเข้าจากญี่ปุ่น และเกาหลี ไต้หวัน ลดลง จนในที่สุดทำให้ขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตามผลกระทบในแง่บวกต้องใช้เวลาประมาณอีก 6 เดือนถึง 1 ปี เช่น จีนอาจเข้ามาลงทุนในเอเชียมากขึ้น อุตสาหกรรมที่เคยแข่งกับจีนไม่ได้ก็จะกระเตื้อง และจะเกิดความร่วมมือเรื่องค่าเงินในเอเชีย

"จีนรักษาการบริหารค่าเงินแบบเดิมไม่ได้ จีนเปลี่ยนแปลงแน่ๆ เราต้องมองว่าการเตรียมตัวของเราดีไหม ผลกระทบในด้านบวกเก็บเกี่ยวเต็มที่หรือไม่ เป็นการบ้านที่ภาครัฐต้องขบคิดและเตรียมตัวล่วงหน้า" นายสมภพกล่าว
ภาพประจำตัวสมาชิก
LOSO
Verified User
โพสต์: 2512
ผู้ติดตาม: 0

รวมความคิดเห็นผลกระทบหยวนต่อไทย !!!

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ลองช่วยๆกันรวมหน่อยครับ ...............
ภาพประจำตัวสมาชิก
tummeng
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3665
ผู้ติดตาม: 0

รวมความคิดเห็นผลกระทบหยวนต่อไทย !!!

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ศูนย์วิจัยฯเตือนการปรับค่าหยวนอาจสร้างความผันผวนในตลาดเงิน

25 กรกฎาคม 2548 12:37 น.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเตือนว่า การปรับค่าเงินหยวนของจีน แม้จะส่งผลดีในช่วงแรกต่อการค้าการลงทุนของไทย

แต่ก็อาจจะสร้างความผันผวนให้กับตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งจะทำให้การบริหารความเสี่ยงทั้งของเอกชน และ ธปท. ทำได้ด้วยความยากลำบากมากขึ้น

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ระบุว่า การปรับค่าเงินหยวนของจีนขึ้นไปที่อีก2.1% ส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคแข็งค่าขึ้น แต่ส่วนใหญ่เป็นการแข็งค่าในอัตราที่น้อยกว่าการปรับค่าเงินหยวน ซึ่งทำให้ในรอบแรกนี้
ดูเหมือนว่าการปรับค่าเงินหยวนดังกล่าวน่าจะเป็นผลดีต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียรวมทั้งไทย โดยที่ไทยน่าจะได้รับประโยชน์จากการส่งออกไปยังจีน โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์ที่จีนใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ส่วนการส่งออกสินค้าในหมวดสิ่งทอ ตลอดจนสินค้าอื่น ๆ ที่ใช้แรงงานในสัดส่วนสูงที่มีจีนเป็นคู่แข่งโดยตรงนั้น อาจจะไม่สามารถประเมินผลได้ชัดเจนนัก เพราะความได้เปรียบจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นน้อยกว่าค่าเงินหยวนนั้น อาจจะยังคงมีขนาดไม่มากพอ เมื่อเทียบกับความแตกต่างระหว่างต้นทุนการผลิตของผู้ส่งออกของจีนกับผู้ประกอบการไทย

อย่างไรก็ตาม นอกจากการปรับเพิ่มค่าเงินหยวน 2.1% แล้ว ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่ควรจะตระหนักก็คือ จีนได้หันมาผูกค่าเงินของตนกับตะกร้าเงิน ซึ่งระบบดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเงินแบบค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่จะทำให้การเคลื่อนไหวของเงินหยวนต่อดอลลาร์สหรัฐมีอัตราน้อยกว่าการเคลื่อนไหวของเงินเยนต่อดอลลาร์สหรัฐ และเงินยูโรต่อดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกัน ทางการจีนยังจำกัดกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินหยวนต่อดอลลาร์สหรัฐไว้ที่เพียงร้อยละ 0.3 จากค่ากลางที่ทางการจีนเป็นผู้กำหนด ซึ่งการใช้ระบบดังกล่าวน่าจะทำให้จีนยังคงสามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันของตนไว้ได้ ยกเว้นว่าจีนจะมีการปรับเพิ่มค่าเงินหยวนอีกอย่างต่อเนื่อง

สำหรับผลต่อตลาดเงินและตลาดทุนนั้น สำหรับตลาดสหรัฐแล้วการปรับค่าเงินหยวนของจีน น่าจะถือได้ว่าเป็นผลดีต่อตลาดหุ้น แต่เป็นปัจจัยลบต่อตลาดพันธบัตร เนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนตัวลงจะส่งผลกดดันต่ออัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ส่วนตลาดทุนของไทยนั้น การที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นน้อยกว่าเงินหยวน น่าจะเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการที่ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์และวัตถุดิบไปยังจีน รวมทั้งต่อธุรกิจท่องเที่ยวที่มีจีนเป็นฐานลูกค้า ในขณะที่ผลดีที่อาจมีต่อผู้ประกอบการที่แข่งขันโดยตรงกับจีน เช่น ในหมวดสิ่งทอนั้นยังคงไม่ชัดเจนนัก อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากระแสการเก็งกำไรในค่าเงินหยวนและค่าเงินสกุลต่าง ๆ ในภูมิภาคอาจจะส่งผลให้เงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าสู่ตลาดทุนของไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจมองได้ว่า เป็นปัจจัยบวกต่อตลาดหุ้นไทย แต่ในขณะเดียวกันก็อาจทำให้ตลาดหุ้นและค่าเงินบาทมีความผันผวนมากขึ้นได้ ส่วนผลต่อตลาดพันธบัตรนั้น การแข็งค่าของเงินบาทน่าที่จะช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อผ่านการปรับลดของต้นทุนการนำเข้าสินค้าโดยเฉพาะน้ำมัน ซึ่งทำให้เป็นปัจจัยบวกต่อตลาดพันธบัตรไทย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า สิ่งที่ตามมาจากการปรับค่าเงินหยวนของจีนคือ ความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งความเสี่ยงดังกล่าวนอกจากจะมีผลต่อผู้ส่งออกและนำเข้าแล้ว ยังจะมีผลโดยตรงต่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการที่จะบริหารจัดการทุนสำรองของประเทศ ซึ่งจะมีความสำคัญมากขึ้น หลังจากที่ไทยมีแนวโน้มที่จะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในปีถัดไปต่อเนื่องจากที่ขาดดุลในปี 2548
Price is what you pay. Value is what you get...
ภาพประจำตัวสมาชิก
tummeng
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3665
ผู้ติดตาม: 0

รวมความคิดเห็นผลกระทบหยวนต่อไทย !!!

โพสต์ที่ 4

โพสต์

โกลด์แมน แซคส์คาดตลาดหุ้นส้มหล่นจากจีนลอยตัวหยวน

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 22 กรกฎาคม 2548 13:46 น.


วาณิชธนกรยักษ์แใหญ่แดนมะกัน โกลด์แมน แซคส์ คาดการลอยตัวค่าเงินหยวนแบบมีการจัดการของจีน ส้มหล่นตลาดหุ้น-เศรษฐกิจทั่วโลก

"เรามองการปรับขึ้นค่าเงินหยวนของจีน ว่าเป็นสถานการณ์ด้านบวกสำหรับเศรษฐกิจ และตลาดหุ้นทั่วโลก และเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่จะทำให้เรามีมุมมองในเชิงบวกต่อตลาดหุ้นทั่วทั้งภูมิภาคเอเซีย เนื่องจากกิจกรรมด้านอุตสาหกรรมทั่วโลกฟื้นตัวขึ้น" โกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) ระบุในรายงาน

สำนักข่าวซินหัว ไฟแนนซ์รายงานว่า ธนาคารกลางจีนตัดสินใจยกเลิกระบบผูกติดค่าเงินหยวนกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ 8.28 ซึ่งใช้มานานนับทศวรรษ โดยปรับตัวเทียบกับตะกร้าสกุลเงิน ส่งผลค่าเงินหยวนอยู่ที่ 8.11 ทันที แข็งค่าขึ้นประมาณ 2%

โกลด์แมน แซค์ระบุว่า การปรับขึ้นค่าเงินครั้งนี้ แม้จะมีสัดส่วนไม่มากนัก แต่เมื่อพิจารณาโดยรวม ถือเป็นผลดี เนื่องจากทำให้เงินหลายสกุลแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบดอลลาร์ โดยเฉพาะในเอเชีย การที่ดอลลาร์อ่อนตัวลง จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ จะช่วยลดภาวะไร้ดุลยภาพเศรษฐกิจทั่วโลกด้วย
Price is what you pay. Value is what you get...
ภาพประจำตัวสมาชิก
ksnk
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 414
ผู้ติดตาม: 0

รวมความคิดเห็นผลกระทบหยวนต่อไทย !!!

โพสต์ที่ 5

โพสต์

นักวิเคราะห์ประเมินตลาดหุ้นไทยหลังปรับค่าหยวน...กลุ่มไหนดี กลุ่มไหนร้าย

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 25 กรกฎาคม 2548 21:35 น.


หลังหยวนปรับค่าตลาดหุ้นไทยได้น้ำหล่อเลี้ยง นักวิเคราะห์ชี้นักลงทุนส่วนใหญ่ยังกังวลปัจจัยในประเทศ ส่งผลวอลุ่มซื้อขายไม่มาก ขณะที่ปรับหยวนส่งผลศก.โลกดี และดีต่อตลาดหุ้นระยะสั้น ส่วนระยะยาวต้องติดตามอัตราแลกเปลี่ยนหากบาทแข็งน่าห่วง ส่วนส่งออกดีเฉพาะไปจีน "พัฒนสิน" ระบุ ชินส่วนยานยนต์ รับผลดี ปิโตรฯรับผลลบ เหตุรายได้ดอลลาร์ "บัวหลวง" คาดวันนี้ต่อดีเน้นหุ้นได้ประโยชน์จากหยวน แบงก์ พลังงาน

การเปลี่ยนแปลงนโนบายอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนของประเทศจีนเมื่อวันที่ 21 ก.ค. ทำให้เงินหยวนแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดหลายคนเห็นตรงกันว่าส่งผลดีต่อเศรษฐกิจทั่วโลกโดยรวม บรรดาตลาดหุ้นเอเชียต่างปรับตัวขานรับทันทีเมื่อตลาดหุ้นเปิดทำการซื้อขาย

ซึ่งรวมถึงตลาดหุ้นไทย แม้จะเปิดทำการซื้อขายหลังตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน เนื่องจากติดวันหยุดเทศกาลเข้าพรรษา แต่ดัชนีหุ้นไทยก็ทะยานขึ้นทันที เมื่อเปิดตลาด และดัชนีพุ่งเข้าใกล้ระดับ 660 จุด ได้ไม่ยากเย็นนัก เพียงแต่มูลค่าการซื้อขายยังเบาบาง

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการ ฝ่ายสายงานและข้อมูลสารสนเทศ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การที่ประเทศจีนประกาศลอยตัวค่าเงินหยวน 2.1% นั้น ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ซึ่งจะช่วยลดกระแสกดดันทางการเมืองระหว่างประเทศจีนและสหรัฐอเมริกาเรื่องการกีดกันทางด้านการค้า ซึ่งหากจีนไม่มีการประกาศปรับขึ้นค่าเงินก็จะส่งผลให้มีการเพิ่มกำแพงภาษีเกิดขึ้น

ทั้งนี้การขึ้นค่าเงินหยวนครั้งนี้จะส่งผลดีกับค่าเงินบาทของไทยมีการแข็งค่าขึ้น ทำให้มีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากขึ้น รวมถึงจะส่งผลดีกับการส่งออกของไทยโดยรวมดีขึ้น แต่การส่งออกไปจีนอาจะมีการปรับตัวลดลงบ้าง
ภาพประจำตัวสมาชิก
tummeng
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 3665
ผู้ติดตาม: 0

รวมความคิดเห็นผลกระทบหยวนต่อไทย !!!

โพสต์ที่ 6

โพสต์

เปิดหุ้นเป็นรายตัว ใครได้-ใครเสียจากเงินหยวนที่แข็งค่าขึ้น/CPF-TPI-RCI-TT&T-TRUE-THAI-TTA-PSL-TOP มีเฮ



ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.เอเซียพลัส เปิดเผยว่าการแข็งค่าของเงินหยวนเป็นการค้า
ปรับสมดุลการค้าโลก จากที่จีนได้เปรียบการค้าทั่วโลกจากที่ต้นทุนต่ำ ทั้งค่าแรงงานและค่าเงิน
หยวนที่ต่ำเกินจริง แม้ระยะสั้นส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคแข็งค่าตามกระทบต่อภาคส่งออก แต่
ก็ช่วยลดขาดดุลการค้า และดึงดูดเม็ดเงินจากต่างประเทศ ในระยะยาวจะช่วยเพิ่มขีดความ
สามารถการส่งออกของไทยในตลาดโลก ส่วนค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นต่อหรือไม่ ขึ้นกับพื้นฐาน
ของประเทศเป็นสำคัญ

*ค่าเงินบาทมีโอกาสแข็งค่าตามเงินหยวน กระทบภาคส่งออกระยะสั้น แต่ดีต่อตลาดหุ้น
หลังเงินหยวนลอยตัว ปรากฎว่าค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นไป 2% และมีแนวโน้มว่าค่าเงิน
บาทจะแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องตามทิศทางของค่าเงินหยวน ที่คาดว่ายังมีโอกาสที่จะแข็งขึ้นในอัตราไม่
ต่ำกว่ากว่า 10% เมื่อเทียบกับความมั่นคงของจีน แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าค่าเงินหยวนจะถูกปรับ
ให้แข็งค่าขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อให้ผู้ประกอบการมีการปรับตัว และไม่ส่งผลกระทบต่อการ
ส่งออกของจีนในระยะสั้นมาก เรามองว่าระยะสั้นกระทบต่อไทยใน 2 เรื่อง คือ ภาคส่งออกสินค้า
จะมีราคาแพงขึ้นในสายตาผู้นำเข้า แต่กลับเป็นผลดีช่วยดึงดูดให้เม็ดเงินลงาทุนของนักลงทุน
ต่างชาติเข้ามาเก็งกำไรตลาดภูมิภาคนี้ รวมถึงไทย ส่วนในระยะยาวจะช่วยเพิ่มความสามารถใน
การแข่งขันของไทยมากขึ้น จากที่ต้นทุนการส่งออกของจีนสูงขึ้น และที่สำคัญจะช่วยลดการเสีย
ดุลการค้าของไทยกับจีน

*ระยะสั้นกระทบต่อผู้ประกอบการที่มีรายได้สุทธิ และสินทรัพย์ในรูปสกุลดอลลาร์
ผู้ประกบการที่จะได้รับผลกระทบด้านลบจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น จะเป็นกลุ่มที่มีรายได้
สุทธิ (หลังหักต้นทุน) ในรูปสกุลดอลลาร์ และสินทรัพย์สุทธิต่างประเทศ ได้แก่อุตสาหกรรมส่งออก
ในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเกษตร ผู้ประกอบการที่มีกิจการลงทุนในต่างประเทศ ส่วนใหญ่
จะอยู่ในกลุ่มพลังงาน แต่อย่างไรก็ตามพบว่าส่วนใหญ่จะมีลักษณะของการป้องกันความเสี่ยงตาม
ธรรมชาติ จากที่โครงสร้างรายได้ ต้นทุน สินทรัพย์และหนี้สิน อยู่ในรูปสกุลต่างประเทศ รายละเอียด
ระดับบริษัทดังปรากฎในตารางข้างล่าง

*ผู้ประกอบการที่มีต้นทุนสุทธิ และหนี้สินสกุลต่างประเทศ ได้รับประโยชน์ในระยะสั้น
ส่วนผู้ประกอบการอีกกลุ่มจะได้รับประโยชน์ตรงกับข้ามกับกลุ่มก่อนหน้านี้ เนื่องจากมี
ต้นทุนสุทธิ และหนี้สินในรูปสกุลดอลลาร์ จึงน่าจะเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์ระยะสั้นจากที่ค่าเงินบาท
แข็งค่าขึ้น เช่น กลุ่มขนส่งและสื่อสาร เป็นต้น รายละเอียดตามตาราง
ผลกระทบต่ออุตสาหกรรม เหตุผล
อุตสาหกรรม + - 0
เกษตร
CPF * รายได้ 10% เป็น USD และอีก 9% เป็นยูโร ได้ประโยชน์จากค่าเงินยูโรที่อ่อนตัว
DFPT * รายได้ 15% เป็น USD ต้นทุน 9% เป็น USD
STA * รายได้เป็น USD ต้นทุนเป็นบาท
CEI * รายได้เป็น USD ต้นทุนเป็นบาท
ชิ้นส่วน
KCE * รายได้ 56% เป็น USD ต้นทุน 80% เป็น USD
HANA * รายได้ 100% เป็น USD ต้นทุน63% เป็น USD
DELTA * รายได้ 100% เป็น USD ต้นทุน 90% เป็น USD
ปิโตรเคมี
ATC * Demand ในจีนอาจชะลอตัว ทำให้การส่งออกเม็ดพลาสติกของไทยอาจได้รับผลกระทบ
TOC * Demand ในจีนอาจชะลอตัว ทำให้การส่งออกเม็ดพลาสติกของไทยอาจได้รับผลกระทบ
NPC * Demand ในจีนอาจชะลอตัว ทำให้การส่งออกเม็ดพลาสติกของไทยอาจได้รับผลกระทบ
TPI * หนี้สินในรูป USD 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ
วัสดุก่อสร้าง
SSI * เหล็กทรงแบน ราคานำเข้าน่าจะกระเตื้องขึ้นเล็กน้อยตามค่าเงินหยวน
NSM *
MS * เหล็กทรงยาว ไม่มีนำเข้าและส่งออก
DCC * สินค้าระดับล่าง ไม่กระทบจากการนำเข้า
RCI, TGCI * สินค้านำเข้าระดับกลาง บน จากจีนจะแพงขึ้น
อสังหาริมทรัพย์ *
สื่อสาร
TT&T * 50% ของหนี้สินอยู่ในรูป USD
TRUE * 12% ของเงินกู้เป็นเงินตราต่างประเทศ
SATTEL * Natural Hedge
กลุ่มขนส่ง
BECL * หนี้สินอยู่ในรูปสกุลเงินบาททั้งหมด
AOT * หนี้สินต่างประเทศส่วนใหญ่อยู่ในรุปเงินเยน 154,571 ล้านเยน
THAI * ต้นทุนน้ำมันลดลง หนี้สินอยู่ในรูป USD 910.04 ล้านเหรียญสหรัฐ
TTA * หนี้สินทั้งหมดอยู่ในรูป USD 216 ล้านเหรียญสหรัฐ
PSL * หนี้สินทั้งหมดอยู่ในรูป USD 169 ล้านเหรียญสหรัฐ
RCL * รายได้ USD 100% แต่ต้นทุน 60% ในรูป USD แต่มีหนี้ USD 155 ล้านเหรียญฯ
พลังงาน
PTT * Natural Hedge
PTTEP * Natural Hedge
TOP * หนี้สินส่วนใหญ่เป็นอยู่ในรูป USD
ฺBANPU * รายได้ส่วนใหญ่อยู่ในรูป USD (ได้รับผลกระทบทางบัญชี)
RATCH * รายได้ ต้นทุน หนี้สิน เป็นเงินบาท
EGCOMP * หนี้สินส่วนใหญ่เป็นเงิน USD แต่ EGAT เป็นผู้รับภาระ
Price is what you pay. Value is what you get...
ภาพประจำตัวสมาชิก
roadtrip
Verified User
โพสต์: 79
ผู้ติดตาม: 0

รวมความคิดเห็นผลกระทบหยวนต่อไทย !!!

โพสต์ที่ 7

โพสต์

"ทำไม เดี๋ยว ก็แข็งค่า เดี๋ยว ก็ อ่อนค่า"

- เป็นเพราะพื้นฐานเศรษฐกิจของไทย ซึ่งนำไปสู่อุปสงค์อุปทานในตลาดเงินทั้งในและนอกประเทศ เสริมด้วยแรงเกร็งกำไรของนักค้าเงินตรา

- สมมุติว่าเมื่อวันพุธ ผมมีเงินดอลล่าร์อยู่ 1 เหรียญ ผมเข้าซื้อเงินบาทได้มา 42 บาท พอถึงวันนี้ผมใช้เงินบาทแค่ 41.30 เพื่อซื้อเงิน 1 ดอลล่าร์กลับคืน สรุปตอนนี้ผมมีเงิน 1 ดอลล่าร์ + กำไรเงินบาทอยู่ 70 สตางค์


"เห็นข่าว ว่า เกิดคาดการณ์ ว่า จีน ยังจะไม่ปรับหยวนให้แข็งในเวลาอันใกล้ พวกเก็งกำไร เลย ถอยทัพ ซะก่อน"

- อันนี้คิดว่าไม่น่าจะใช่ ที่จีนไม่เปลี่ยนเป็นลอยตัวค่าเงินหยวนทันทีก็เพราะกลัวพวกเกร็งกำไรนี่แหล่ะ ซึ่งพร้อมที่จะเข้าโจมตีเงินหยวนตลอดเวลา

- แม้ว่าจีนมีการขยายตัวของเศรษฐกิจสูง มีเงินสำรองระหว่างประเทศมหาศาล แต่ในความเป็นจริงแล้วเศรษฐกิจจีนยังเปราะบางเกินไปที่จะซึมซับแรงกระแทกจากการลอยตัวค่าเงินหยวนแบบทันทีทันใด

- ตอนนี้ hedge funds ทั่วโลกมีเงินทุนประมาณ 800 พันล้านดอลล่าร์ - 1 ล้านล้านดอลล่าร์ และระบบการเงินของจีนก็ยังจัดว่าอ่อนแอ จีนยังจัดว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนา

- จีนยอมลดค่าเงินหยวน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการกดดันของอเมริกาและยุโรป และอีกส่วนหนึ่งมาจากต้องการนำเข้าสินค้าให้ถูกลง (โดยเฉพาะน้ำมัน) อีกทั้งการชำระหนี้ต่างประเทศก็จะใช้เงินหยวนน้อยลงด้วย (เรียกว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัวเลย)

http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 29862.html
Give More, Take Less.
Do More, Talk Less.
ล็อคหัวข้อ