เกมคนแก่ โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- Verified User
- โพสต์: 3763
- ผู้ติดตาม: 0
เกมคนแก่ โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
ถ้าคุณเคยอ่านคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดพอร์ตโฟลิโอของการลงทุนก็จะต้องพบว่า อายุเป็นปัจจัยสำคัญของการจัดสรรเงินลงทุน เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ถ้าคุณยังอายุน้อย ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าคุณควรลงทุนในหุ้นมากกว่าพันธบัตรหรือเงินฝากในธนาคาร เหตุผลก็คือ หุ้นจะให้ผลตอบแทนสูง แต่ความเสี่ยงก็สูงด้วย แต่เนื่องจากอายุคุณยังน้อย คุณสามารถรับความเสี่ยงได้มาก ความหมายก็คือ ถ้าเกิดหุ้นตก คุณขาดทุนมากมาย คุณก็ยังมีทางหาเงินจากน้ำพักน้ำแรงได้
ตรงกันข้าม ถ้าอายุมาก คุณควรจะลดการลงทุนในหุ้นลง เพราะคุณไม่สามารถรับความเสี่ยงได้ถ้าหุ้นเกิดตก เงินหดหาย คุณไม่สามารถทำงานหาเงินมาชดเชยได้เพียงพอซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหามากมายในยามแก่เฒ่า พูดง่าย ๆ ยิ่งคุณมีอายุมากขึ้น คุณก็ควรลดการลงทุนในหุ้นลง และถ้าคุณเป็นคนแก่แล้ว คุณก็ไม่ควรลงทุนในหุ้นเลย หุ้นกับความแก่ดูเหมือนจะเดินไปคนละทาง หุ้นดูเหมือนจะไม่เหมาะกับคนแก่ แต่นี่เป็นเรื่องจริงหรือล้อเล่นกันแน่?
วอเร็น บัฟเฟตต์ อายุ 70 กว่าแล้ว เช่นเดียวกับชาร์ลี มังเจอร์ และนักลงทุนมือพระกาฬอีกมากมายที่ แก่ แล้วแต่ก็ยังลงทุนกันเต็มที่ด้วยผลงานที่ยอดเยี่ยมเหนือกว่าคนหนุ่มคนสาวมาก ผมเองคิดว่าการลงทุนเป็นงานน้อยอย่างมากในโลกนี้ที่อายุไม่เป็นอุปสรรค ว่าที่จริง ยิ่งอายุมาก ฝีมือก็น่าจะยิ่งดีขึ้น โดยเฉพาะถ้าเป็นการลงทุนแบบ Value Investment ซึ่งพละกำลังและความรวดเร็วทางร่างกายและความคิดเป็นเรื่องรอง แต่ประสบการณ์และความเยือกเย็นกลับมีความสำคัญมากกว่า
ข้อได้เปรียบของคนอายุมากที่เห็นได้ชัดก็คือประสบการณที่ได้เห็นหุ้นและตลาดหุ้นผ่านภาวะเลวร้ายและช่วงโดดเด่นมาหลาย ๆ ครั้ง เพราะฉะนั้นเขาจะมีความระมัดระวังในยามที่ผู้คนกำลังบ้าคลั่งกับตลาดหุ้นในยามที่หุ้นบูม และจะรู้ว่า มีโอกาสงดงามรออยู่ในยามที่คนในตลาดสิ้นหวัง การตัดสินใจของคนอายุมากน่าจะใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์เมื่อเทียบกับคนอายุน้อยที่ไม่เคยได้สัมผัสกับสภาวะแวดล้อมหลาย ๆ แบบด้วยตนเอง
ข้อได้เปรียบของคนสูงวัยอีกอย่างหนึ่งก็คือ เขามักจะเป็น ผู้สังเกตการณ์ ที่ดีเมื่อเทียบกับคนอายุน้อยซึ่งมักจะเป็น ผู้เล่น เสียมากกว่า คนแก่มักมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของสังคมและพฤติกรรมของคนได้ดีกว่า ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะเขาผ่านชีวิตมามาก และได้เห็นและดูแลชีวิตของลูกหลานซึ่งสามารถนำมาเปรียบเทียบกับชีวิตของตนเอง สิ่งนี้ทำให้คนแก่เห็น วิวัฒนาการ ของคน และแน่นอน รวมไปถึงวิถีของเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และนี่คือข้อได้เปรียบสำหรับการหาหุ้น แห่งอนาคต
ข้อได้เปรียบของคนแก่อีกข้อหนึ่งก็คือ เขาสามารถแยกแยะกิจการที่แข็งแกร่งดีเยี่ยมจากกิจการที่หวือหวาแต่อ่อนแอได้ดีกว่าคนที่อายุยังน้อย สิ่งนี้น่าจะเกิดจากความลำเอียงของคนแก่ที่ชอบกิจการที่เก่าแก่ มั่นคง เป็นกิจการเข้าใจง่ายที่เขาได้สัมผัสมายาวนาน ในขณะที่คนหนุ่มมักชอบหุ้นใหม่ที่ลึกลับ ตื่นเต้น น่าท้าทาย ซึ่งประวัติศาสตร์บอกเราเสมอมาว่า หุ้นประเภทแรกนั้นเหนือกว่าหุ้นประเภทหลัง
ความสุขุมเยือกเย็นและถือหุ้นได้ยาวกว่าของคนสูงอายุเป็นผลด้านบวกในการลงทุนเมื่อเทียบกับความใจร้อนและเร่งซื้อขายหุ้นของคนอายุน้อยกว่า ซึ่งทำให้เสียค่าคอมมิชชั่นและความแตกต่างระหว่างราคาเสนอซื้อกับราคาเสนอขายในการซื้อขายหุ้นแต่ละครั้ง สิ่งนี้ดูผิวเผินอาจจะไม่รู้สึกว่ามาก แต่ในระยะยาวแล้ว มันคือปัจจัยสำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งของการแพ้หรือชนะในการลงทุน
ข้อได้เปรียบสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ ผู้สูงอายุนั้นมักจะอนุรักษ์นิยมกว่าคนหนุ่มสาว คนแก่จะเลือกลงทุนซื้อหุ้นอย่างระมัดระวัง มีการพิจารณาปัจจัยเสี่ยงอย่างละเอียดถี่ถ้วนกว่า คนแก่นั้นกลัวขาดทุน ในขณะที่คนหนุ่มสาวนั้นมักจะเน้นหุ้นที่จะ ทำกำไร ได้เร็ว ดังนั้น คนอายุน้อยมักจะเน้นไปที่หุ้นเก็งกำไรมากกว่า บางคนอาจจะมองว่านี่ไม่ใช่ข้อได้เปรียบของคนแก่ แต่ผมเชื่อคำพูดของบัฟเฟตต์ที่ว่า การลงทุนนั้น สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ อย่าขาดทุน
นอกจากเรื่องของฝีไม้ลายมือที่เหนือกว่าแล้ว คนสูงอายุนั้นผมคิดว่าควรจะมีกิจกรรมที่ใช้ความคิด ใช้การสังเกตการณ์ ติดตามและวิเคราะห์กิจการต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวและเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น รวมทั้งควรจะมีโอกาสได้ตื่นเต้นกับผลการลงทุนของตนเองเป็นระยะ ๆ เพื่อทำให้สมองตื่นตัวอยู่เสมอ ดังนั้น คำแนะนำให้คนแก่หย่าขาดจากหุ้นจึงเป็นเรื่องที่ไม่ใคร่จะมีเหตุผลนัก
แน่นอน ไม่ใช่คนแก่ทุกคนจะเหมาะกับการลงทุนในหุ้น แต่อายุนั้น ผมคิดว่าไม่ใช่เป็นปัจจัยสำคัญเท่าไร คนแก่ที่มีเงินมากถึงระดับหนึ่ง เช่นมีเงินเท่ากับ 2-300 เท่าของรายจ่ายประจำเดือนแล้ว การลงทุนในหุ้นมากน้อยเท่าไรก็ไม่น่าจะเกี่ยวกับอายุ แต่น่าจะขึ้นอยู่กับความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการลงทุนมากกว่า คนแก่ที่ไม่ควรลงทุนในหุ้นเลยผมคิดว่าน่าจะมีน้อย ผมคิดว่าคนแก่ทุกคนควรจะลงทุนในหุ้นบ้าง เพราะการมีหุ้นบ้างนั้นน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นขณะที่ความเสี่ยงไม่น่าจะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับการลงทุนในพันธบัตรและการฝากเงินเพียงอย่างเดียว ซึ่งถึงแม้ว่าโอกาสที่ต้นเงินหายจะมีน้อย แต่ก็มีโอกาสที่เงินเฟ้อจะทำให้อำนาจการซื้อลดลงซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ไม่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับพอร์ตโฟลิโอที่มีหุ้นผสมอยู่บ้าง ถึงอย่างไรก็ตาม การลงทุนหุ้นนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นเกมของคนแก่ เป็นเกมที่คนแก่ได้เปรียบ แล้วทำไมเราจะไม่ทำ?
ตรงกันข้าม ถ้าอายุมาก คุณควรจะลดการลงทุนในหุ้นลง เพราะคุณไม่สามารถรับความเสี่ยงได้ถ้าหุ้นเกิดตก เงินหดหาย คุณไม่สามารถทำงานหาเงินมาชดเชยได้เพียงพอซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหามากมายในยามแก่เฒ่า พูดง่าย ๆ ยิ่งคุณมีอายุมากขึ้น คุณก็ควรลดการลงทุนในหุ้นลง และถ้าคุณเป็นคนแก่แล้ว คุณก็ไม่ควรลงทุนในหุ้นเลย หุ้นกับความแก่ดูเหมือนจะเดินไปคนละทาง หุ้นดูเหมือนจะไม่เหมาะกับคนแก่ แต่นี่เป็นเรื่องจริงหรือล้อเล่นกันแน่?
วอเร็น บัฟเฟตต์ อายุ 70 กว่าแล้ว เช่นเดียวกับชาร์ลี มังเจอร์ และนักลงทุนมือพระกาฬอีกมากมายที่ แก่ แล้วแต่ก็ยังลงทุนกันเต็มที่ด้วยผลงานที่ยอดเยี่ยมเหนือกว่าคนหนุ่มคนสาวมาก ผมเองคิดว่าการลงทุนเป็นงานน้อยอย่างมากในโลกนี้ที่อายุไม่เป็นอุปสรรค ว่าที่จริง ยิ่งอายุมาก ฝีมือก็น่าจะยิ่งดีขึ้น โดยเฉพาะถ้าเป็นการลงทุนแบบ Value Investment ซึ่งพละกำลังและความรวดเร็วทางร่างกายและความคิดเป็นเรื่องรอง แต่ประสบการณ์และความเยือกเย็นกลับมีความสำคัญมากกว่า
ข้อได้เปรียบของคนอายุมากที่เห็นได้ชัดก็คือประสบการณที่ได้เห็นหุ้นและตลาดหุ้นผ่านภาวะเลวร้ายและช่วงโดดเด่นมาหลาย ๆ ครั้ง เพราะฉะนั้นเขาจะมีความระมัดระวังในยามที่ผู้คนกำลังบ้าคลั่งกับตลาดหุ้นในยามที่หุ้นบูม และจะรู้ว่า มีโอกาสงดงามรออยู่ในยามที่คนในตลาดสิ้นหวัง การตัดสินใจของคนอายุมากน่าจะใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์เมื่อเทียบกับคนอายุน้อยที่ไม่เคยได้สัมผัสกับสภาวะแวดล้อมหลาย ๆ แบบด้วยตนเอง
ข้อได้เปรียบของคนสูงวัยอีกอย่างหนึ่งก็คือ เขามักจะเป็น ผู้สังเกตการณ์ ที่ดีเมื่อเทียบกับคนอายุน้อยซึ่งมักจะเป็น ผู้เล่น เสียมากกว่า คนแก่มักมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของสังคมและพฤติกรรมของคนได้ดีกว่า ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะเขาผ่านชีวิตมามาก และได้เห็นและดูแลชีวิตของลูกหลานซึ่งสามารถนำมาเปรียบเทียบกับชีวิตของตนเอง สิ่งนี้ทำให้คนแก่เห็น วิวัฒนาการ ของคน และแน่นอน รวมไปถึงวิถีของเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และนี่คือข้อได้เปรียบสำหรับการหาหุ้น แห่งอนาคต
ข้อได้เปรียบของคนแก่อีกข้อหนึ่งก็คือ เขาสามารถแยกแยะกิจการที่แข็งแกร่งดีเยี่ยมจากกิจการที่หวือหวาแต่อ่อนแอได้ดีกว่าคนที่อายุยังน้อย สิ่งนี้น่าจะเกิดจากความลำเอียงของคนแก่ที่ชอบกิจการที่เก่าแก่ มั่นคง เป็นกิจการเข้าใจง่ายที่เขาได้สัมผัสมายาวนาน ในขณะที่คนหนุ่มมักชอบหุ้นใหม่ที่ลึกลับ ตื่นเต้น น่าท้าทาย ซึ่งประวัติศาสตร์บอกเราเสมอมาว่า หุ้นประเภทแรกนั้นเหนือกว่าหุ้นประเภทหลัง
ความสุขุมเยือกเย็นและถือหุ้นได้ยาวกว่าของคนสูงอายุเป็นผลด้านบวกในการลงทุนเมื่อเทียบกับความใจร้อนและเร่งซื้อขายหุ้นของคนอายุน้อยกว่า ซึ่งทำให้เสียค่าคอมมิชชั่นและความแตกต่างระหว่างราคาเสนอซื้อกับราคาเสนอขายในการซื้อขายหุ้นแต่ละครั้ง สิ่งนี้ดูผิวเผินอาจจะไม่รู้สึกว่ามาก แต่ในระยะยาวแล้ว มันคือปัจจัยสำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งของการแพ้หรือชนะในการลงทุน
ข้อได้เปรียบสุดท้ายที่ผมจะพูดถึงก็คือ ผู้สูงอายุนั้นมักจะอนุรักษ์นิยมกว่าคนหนุ่มสาว คนแก่จะเลือกลงทุนซื้อหุ้นอย่างระมัดระวัง มีการพิจารณาปัจจัยเสี่ยงอย่างละเอียดถี่ถ้วนกว่า คนแก่นั้นกลัวขาดทุน ในขณะที่คนหนุ่มสาวนั้นมักจะเน้นหุ้นที่จะ ทำกำไร ได้เร็ว ดังนั้น คนอายุน้อยมักจะเน้นไปที่หุ้นเก็งกำไรมากกว่า บางคนอาจจะมองว่านี่ไม่ใช่ข้อได้เปรียบของคนแก่ แต่ผมเชื่อคำพูดของบัฟเฟตต์ที่ว่า การลงทุนนั้น สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ อย่าขาดทุน
นอกจากเรื่องของฝีไม้ลายมือที่เหนือกว่าแล้ว คนสูงอายุนั้นผมคิดว่าควรจะมีกิจกรรมที่ใช้ความคิด ใช้การสังเกตการณ์ ติดตามและวิเคราะห์กิจการต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวและเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น รวมทั้งควรจะมีโอกาสได้ตื่นเต้นกับผลการลงทุนของตนเองเป็นระยะ ๆ เพื่อทำให้สมองตื่นตัวอยู่เสมอ ดังนั้น คำแนะนำให้คนแก่หย่าขาดจากหุ้นจึงเป็นเรื่องที่ไม่ใคร่จะมีเหตุผลนัก
แน่นอน ไม่ใช่คนแก่ทุกคนจะเหมาะกับการลงทุนในหุ้น แต่อายุนั้น ผมคิดว่าไม่ใช่เป็นปัจจัยสำคัญเท่าไร คนแก่ที่มีเงินมากถึงระดับหนึ่ง เช่นมีเงินเท่ากับ 2-300 เท่าของรายจ่ายประจำเดือนแล้ว การลงทุนในหุ้นมากน้อยเท่าไรก็ไม่น่าจะเกี่ยวกับอายุ แต่น่าจะขึ้นอยู่กับความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการลงทุนมากกว่า คนแก่ที่ไม่ควรลงทุนในหุ้นเลยผมคิดว่าน่าจะมีน้อย ผมคิดว่าคนแก่ทุกคนควรจะลงทุนในหุ้นบ้าง เพราะการมีหุ้นบ้างนั้นน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นขณะที่ความเสี่ยงไม่น่าจะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับการลงทุนในพันธบัตรและการฝากเงินเพียงอย่างเดียว ซึ่งถึงแม้ว่าโอกาสที่ต้นเงินหายจะมีน้อย แต่ก็มีโอกาสที่เงินเฟ้อจะทำให้อำนาจการซื้อลดลงซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ไม่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับพอร์ตโฟลิโอที่มีหุ้นผสมอยู่บ้าง ถึงอย่างไรก็ตาม การลงทุนหุ้นนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นเกมของคนแก่ เป็นเกมที่คนแก่ได้เปรียบ แล้วทำไมเราจะไม่ทำ?
- Tao Investor
- Verified User
- โพสต์: 200
- ผู้ติดตาม: 0
เกมคนแก่ โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 2
Value Investor
คนหนุ่ม ที่ลงทุนแบบคนแก่
คนหนุ่ม ที่ลงทุนแบบคนแก่
Inmagination is more importan than knowledge
- มือเก่าหัดขับ
- Verified User
- โพสต์: 1112
- ผู้ติดตาม: 0
เกมคนแก่ โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 3
ผมอายุ 38
แต่ลงทุนเหมือนคนอายุ 50 มาตั้งแต่ไหนแต่ไร
สบายใจมากๆ
อีกอย่างหนึ่ง
ดร. เคยบอกไว้ว่า เกมส์การลงทุนนี้ บ่อยครั้ง ก็เป็น Looser's Game
เหมือนกับกีฬาบางประเภทเช่น กอล์ฟ, โบว์ลิ่ง, ยิงปืน
เพียงแต่เราไม่ทำอะไรผิดพลาด ก็น่าจะได้ผลงานที่ดี หรือชนะได้
แต่ลงทุนเหมือนคนอายุ 50 มาตั้งแต่ไหนแต่ไร
สบายใจมากๆ
อีกอย่างหนึ่ง
ดร. เคยบอกไว้ว่า เกมส์การลงทุนนี้ บ่อยครั้ง ก็เป็น Looser's Game
เหมือนกับกีฬาบางประเภทเช่น กอล์ฟ, โบว์ลิ่ง, ยิงปืน
เพียงแต่เราไม่ทำอะไรผิดพลาด ก็น่าจะได้ผลงานที่ดี หรือชนะได้
คนอื่นเขาสะสมอย่างอื่น เราขอสะสมความดี, ความรู้, ประสบการณ์, เงินทอง, กับหุ้นก็แล้วกัน
http://www.muegao.blogspot.com หุ้น การเงิน การลงทุน ธุรกิจ
http://www.muegao.blogspot.com หุ้น การเงิน การลงทุน ธุรกิจ
-
- Verified User
- โพสต์: 2509
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เกมคนแก่ โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 4
ทั่น อ. สวนกระแส อีกแล้ว 8)woody เขียน:ถ้าคุณเคยอ่านคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดพอร์ตโฟลิโอของการลงทุนก็จะต้องพบว่า อายุเป็นปัจจัยสำคัญของการจัดสรรเงินลงทุน เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ถ้าคุณยังอายุน้อย ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าคุณควรลงทุนในหุ้นมากกว่าพันธบัตรหรือเงินฝากในธนาคาร เหตุผลก็คือ หุ้นจะให้ผลตอบแทนสูง แต่ความเสี่ยงก็สูงด้วย แต่เนื่องจากอายุคุณยังน้อย คุณสามารถรับความเสี่ยงได้มาก ความหมายก็คือ ถ้าเกิดหุ้นตก คุณขาดทุนมากมาย คุณก็ยังมีทางหาเงินจากน้ำพักน้ำแรงได้ ตรงกันข้าม ถ้าอายุมาก คุณควรจะลดการลงทุนในหุ้นลง เพราะคุณไม่สามารถรับความเสี่ยงได้ถ้าหุ้นเกิดตก เงินหดหาย คุณไม่สามารถทำงานหาเงินมาชดเชยได้เพียงพอซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหามากมายในยามแก่เฒ่า พูดง่าย ๆ ยิ่งคุณมีอายุมากขึ้น คุณก็ควรลดการลงทุนในหุ้นลง และถ้าคุณเป็นคนแก่แล้ว คุณก็ไม่ควรลงทุนในหุ้นเลย หุ้นกับความแก่ดูเหมือนจะเดินไปคนละทาง หุ้นดูเหมือนจะไม่เหมาะกับคนแก่ แต่นี่เป็นเรื่องจริงหรือล้อเล่นกันแน่?
ผมคิดว่าคนแก่ทุกคนควรจะลงทุนในหุ้นบ้าง เพราะการมีหุ้นบ้างนั้นน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นขณะที่ความเสี่ยงไม่น่าจะสูงขึ้นเมื่อเทียบกับการลงทุนในพันธบัตรและการฝากเงินเพียงอย่างเดียว ซึ่งถึงแม้ว่าโอกาสที่ต้นเงินหายจะมีน้อย แต่ก็มีโอกาสที่เงินเฟ้อจะทำให้อำนาจการซื้อลดลงซึ่งเป็นความเสี่ยงที่ไม่น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับพอร์ตโฟลิโอที่มีหุ้นผสมอยู่บ้าง
ถึงอย่างไรก็ตาม การลงทุนหุ้นนั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นเกมของคนแก่ เป็นเกมที่คนแก่ได้เปรียบ แล้วทำไมเราจะไม่ทำ?
-
- Verified User
- โพสต์: 314
- ผู้ติดตาม: 0
เกมคนแก่ โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 5
ผมว่านอกจากจะลงทุนให้ได้กำไรดีๆแล้ว ที่บัฟเฟตสำเร็จมาได้ถึงจุดนี้ยังเพราะเขาฉลาดในการหาช่องทางที่จะเอาเงินที่ไม่ใช่ของตัวเองซะทีเดียวมาแสวงหาประโยชน์ด้วยนะครับ บางทีข้อนี้อาจสำคัญกว่าด้วยซ้ำ คิดดูถ้าเขายังไม่ปิด Buffett Parntership และยังลงทุนแบบนั้นต่อโดยสมมุติให้ได้กำไรทบต้นปีละ 50% เลย ก็ยังไม่ถึงจุดนี้หรอก :lol:
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
เกมคนแก่ โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 7
เห็นด้วยครับ เอาเงินต้นทุนถูกจากบริษัทประกัน ทำให้ผลตอบแทนสูงกว่าปกติมากครับ ไม่เหมือนเมืองไทยนะครับ บริษัทประกันลงทุนส่วนใหญ่ในพันธบัตร หรือตราสารที่เสี่ยงน้อย มากเกินไป ทำให้ไม่บริษัทประกันไม่มีกำไรเท่าที่ควรจะเป็นztep เขียน: ผมว่านอกจากจะลงทุนให้ได้กำไรดีๆแล้ว ที่บัฟเฟตสำเร็จมาได้ถึงจุดนี้ยังเพราะเขาฉลาดในการหาช่องทางที่จะเอาเงินที่ไม่ใช่ของตัวเองซะทีเดียวมาแสวงหาประโยชน์ด้วยนะครับ บางทีข้อนี้อาจสำคัญกว่าด้วยซ้ำ คิดดูถ้าเขายังไม่ปิด Buffett Parntership และยังลงทุนแบบนั้นต่อโดยสมมุติให้ได้กำไรทบต้นปีละ 50% เลย ก็ยังไม่ถึงจุดนี้หรอก :lol:
แต่ผมเข้าใจว่าถ้าทบต้นปีละ 50% แม้จะเป็นเงินไม่มากใน buffet partnership ถึงตอนนี้วอร์เรนคงรวยที่สุดในโลกไปแล้วครับ ลองเช็คตัวเลขผลตอบแทนทบต้นปีละ 50% นะครับ ผมก็ไม่แน่ใจ แต่ผลตอบแทนน่าจะสูงมากๆๆ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 314
- ผู้ติดตาม: 0
เกมคนแก่ โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 8
ขอเสริมครับ พอดีกำลังเรียนวิชาประกันอยู่เทอมนี้ ประกันของไทยมีสัดส่วนที่ระดมเงินฝากของประชาชน ไม่ถึง 7% แต่ถือว่าพัฒนาขึ้นมากเมื่อเทียบกับก่อนวิกฤตที่มีราว 1 กว่า% และเมื่อคิดป็นสัดส่วนของโลกเรามีไม่ถึง 1% ขอโทษครับที่จำตัวเลขแม่นๆไม่ได้ และผู้ที่ครองสัดส่วนตลาดมูลค่าสูงสุด คือ อเมริกา ญี่ปุ่น และอังกฤษ ครับ ส่วนการลงทุนรู้สึกว่ากฏหมายเรายังค่อนข้างจำกัดในการลงทุนครับ อันนี้ไม่ค่อยแน่ใจ เดี๋ยวสอบอังคารนี้คาดว่าหลังสอบข้อมูลจะแน่นกว่านี้ครับ :lol: