ได้อย่างเสียอย่าง

กระทู้การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น วีไอ มีประโยชน์ ความรู้ดีดี เป็นประโยชน์เสมอไม่ว่าเวลาจะผ่านมาเนิ่นนาน แค่ไหนก็ตาม
genie
Verified User
โพสต์: 1474
ผู้ติดตาม: 0

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สงสัยช่วงนี้ผมต้องเริ่มขายหุ้นออกจากกรุแล้วละครับหลังจากportเพิ่งเริ่มได้ROIมา100% เพราะบริษัท(ที่บ้าน)เริ่มลงทุนขยายงานเพิ่ม เฮ้อ...เป็นVIที่ไม่มีหุ้นในมือคงน่าเศร้าใจพิลึก :cry: :cry: :cry:
vudhipong
Verified User
โพสต์: 76
ผู้ติดตาม: 0

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ยินดีด้วยครับ ROI ตั้ง 100%
ภาพประจำตัวสมาชิก
tk
Verified User
โพสต์: 343
ผู้ติดตาม: 0

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ได้ถึง100% ใช้เวลานานแค่ไหนครับ ยินดีด้วย
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11444
ผู้ติดตาม: 1

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ไม่เป็นไรครับ ถ้าธุรกิจที่บ้านขยายจนใหญ่แล้ว ค่อยนำเข้าตลาดก็ได้ครับ
นายสต็อก
Verified User
โพสต์: 777
ผู้ติดตาม: 0

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ดีใจด้วยครับ ยังไงเก็บของถูกใจติดก้นพอร์ตไว้บ้างนะครับ... 8)
genie
Verified User
โพสต์: 1474
ผู้ติดตาม: 0

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 6

โพสต์

รู้สึกเสียดายนะครับ กะจะทำสถิติต่อซะหน่อย ส่วน1ท่วมนั้นใช้เวลา 20 เดือนครับ แต่ยังไม่ได้ขายออกไปทั้งหมดนะครับ
vp
ผู้ติดตาม: 0

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ROI หมายถึงอะไรค่ะ
คิดยังไงค่ะ
และสำคัญยังไงค่ะ

ขอโทษนะค่ะ หนูไม่รู้ จริงๆ
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 1

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 8

โพสต์

คงหมายถึง กำไรเมื่อเทียบกับเงินลงทุน

เช่นลงทุนไป 100,000 ตอนนี้ได้กำไร 50,000

ROI = 50 เปอร์เซ็นต์

มั๊งครับ
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 9

โพสต์

การวัด ROI โดยไม่คำนวณเวลาไม่มีความหมายครับ

วิธีที่ดีกว่าคือวัดเทียบกับเวลา คือ IRR (internal rate of return)

เช่นถ้าคุณ ลงทุน 24 เดือน จากเงินต้น 100 บาท เป็น 121 บาท
IRR เท่ากับ 10% ครับ (ไม่ไช่ 21%)

ส่วนของ Genie น่าจะ IRR ประมาณ 50% กว่าๆ ซึ่งเก่งกว่า
Buffett อีก เพราะ Buffett ได้ต่ำกว่า 30%
ภาพประจำตัวสมาชิก
นาย อนุสรณ์ สวัสดี
Verified User
โพสต์: 143
ผู้ติดตาม: 0

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ยินดีด้วยครับ บริษัทคุณ genie ทำอะไรบ้างครับ เล่าให้ฟังบ้างสิครับ

บนกล่องที่ส่งหนังสือมาให้ผม เขียนว่า บริษัท ไอด้า แปซิฟิก จำกัด แสดงว่า
ทำส่งออกหรือเปล่าครับ แล้วส่งออกอะไรเอ่ย

แต่คุณ genie ขายหุ้นหมดแล้ว ก็ไม่แปลกนะครับ เคยอ่านเจอว่า ช่วงที่ Buffett ไม่สนตลาดหุ้นเลยก็มีเหมือนกัน

Congretulation :D
from อนุสรณ์
ภาพประจำตัวสมาชิก
moo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1150
ผู้ติดตาม: 0

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ยินดีกับกิจการส่วนตัวที่ก้าวหน้าและขยายเพิ่มครับ ด้วยภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันนี้ มีกิจการไม่มากนักครับที่ก้าวหน้าและขยายเพิ่ม

ยังหวังให้พี่ช้วยดูแลเพื่อนๆ น้องๆ ที่นี่ต่อไปนะครับ

ขอบคุณครับ
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 1

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 12

โพสต์

กิจการ Genie กำลังก้าวหน้า เลยไม่ค่อยมีเวลา

กิจการของพี่ ศูนย์รวมแม่บ้าน ก็ก้าวหน้า นะตอนนี้ แต่มีเวลามาก เพราะใช้ระบบ ดร.เดมมิ่งครับ

ใครเป็นเจ้าของกิจการ ลองซื้อไปอ่านดู สุดยอดเลยครับ TCB และไทยน้ำทิพย์ ในเมืองไทย ก็ใช้ระบบ ดร.เดมมิ่ง อยู่ครับ
Buzz
Verified User
โพสต์: 49
ผู้ติดตาม: 0

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 13

โพสต์

Jeng เขียน:กิจการ Genie กำลังก้าวหน้า เลยไม่ค่อยมีเวลา

กิจการของพี่ ศูนย์รวมแม่บ้าน ก็ก้าวหน้า นะตอนนี้ แต่มีเวลามาก เพราะใช้ระบบ ดร.เดมมิ่งครับ

ใครเป็นเจ้าของกิจการ ลองซื้อไปอ่านดู สุดยอดเลยครับ TCB และไทยน้ำทิพย์ ในเมืองไทย ก็ใช้ระบบ ดร.เดมมิ่ง อยู่ครับ
พี่เจ๋ง..ช่วยอธิบายเรื่อง ระบบ ดร.เดมมิ่ง ให้อ่านคร่าวๆ หน่อยซิครับ
แล้วสามารถใช้กับธุรกิจขนาดย่อม ได้หรือไม่
เคยได้ยินเรื่อง รางวัล เดมมิ่ง ไพร้ส์ ไม่รู้เรื่องเดียวกันหรือเปล่า
อยากรู้อะ
ขอบคุณครับ
"การลงทุนที่ชาญฉลาดที่สุด จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ เราลงทุนแบบทำธุรกิจ"
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 1

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 14

โพสต์

เรื่องเดียวกับเดมมิ่งไพร้ นะครับ

ดร.เดมมิ่ง เป็นหลักการบริหาร ที่สุดยอดมากครับ ถึงขนาดมีการประกาศเกียรติคุณ ที่สำนักงานใหญ่บริษัทโตโยต้า ประเทศญี่ปุ่น ด้วยรูปดร.เดมมิ่ง ที่ใหญ่กว่ารูปประธานบริษัทคนปัจจุบัน และประธานบริษัทคนก่อน

เรื่องที่พอสรุปคร่าวๆในหนังสือเพื่อให้น้อง Buzz อยากซื้อไปอ่านคือ

เกือบทุกเรื่องที่เขียนอยู่ในดร.เดมมิ่ง สอนตรงข้ามกับหลักบริหารธุรกิจที่สอนอยู่ใน MBA

เช่นการไม่ตั้งเป้าหมายเป็นตัวเลข
การไม่ประเมิณผลงานปลายปี
การเพิ่มคุณภาพเป็นการลดค่าใช้จ่าย

ยกตัวอย่างเช่น

การตั้งเป้าหมายยอดขายเป็นตัวเลข ทำให้เซล ต้องรีบขายเพื่อใส่ตัวเลขยอดขายในเดือนที่ตั้งเป้าหมายไว้ เพื่อให้ถึงเป้าหมาย โดยกำลังการผลิตอาจจะไม่ทัน อาจจะทำให้มีการเร่งกำลังการผลิต จนกระทั่งสินค้าไม่ได้คุณภาพหลุดออกไปมาก ซึ่งส่งผลเสียหายให้กับลูกค้า ทำให้ลูกค้าไม่ไว้ใจคุณภาพของสินค้าของบริษัท

การตั้งเป้าหมายเพิ่มกำไร เป็นตัวเลข เช่น 10 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ผู้บริหาร เลือกที่จะตัดค่าฝึกอบรมพนักงาน ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง ทันที กำไรเพิ่มขึ้น แต่ในที่สุด เกิดผลเสียหายต่อพนักงานที่ควรที่จะได้รับการฝึกอบรมอย่างเหมาะสม

การตั้งเป้าหมายยอดการผลิตต่อเดือน เช่นต้องเพิ่มยอดการผลิตให้สูงขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ ฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องก็จะเร่งการผลิต เพื่อให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ บางครั้งเห็นอยู่ว่าสินค้าที่ผลิตมีข้อบกพร่อง แต่เพื่อให้ได้ตามตัวเลขที่ฝ่ายบริหารกำหนดไว้ ก็ทำเป็นละเลย จนกระทั่งผลิตได้ตัวเลขตามเป้าหมาย แต่คุณภาพแย่ลง

เดมมิ่งยกตัวอย่าง ว่าถ้าในโรงงานแห่งหนึ่ง ประกาศว่า ถ้าวันนี้ไม่มีอุบัติเหตุเลย จะให้รางวัลทุกคนคนละ 200 เหรียญ

น่าประหลาดใจมาก โรงงานที่มีอุบัติเหตุ ประจำ ในวันนี้กลับไม่มีอุบัติเหตุเลย แต่คนที่เดินมารับรางวัล มีทั้งเดินขากะเป๋ แขนหัก ซึ่งนั้นบ่งถึงการมีอุบัติเหตุแต่ไม่มีใครรายงาน
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 1

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 15

โพสต์

สรุปเรื่องเดมมิ่งคือ

เขาเน้นว่าถ้ามีปัญหาอะไรก็ตามเกิดขึ้นในการทำงาน 94 เปอร์เซ็นต์เกิดจากระบบงาน ยังไม่ถูกต้อง อีก 6 เปอร์เซ็นต์เกิดจากคนทำผิดพลาด

แต่ส่วนใหญ่เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นในการทำงาน หัวหน้างาน มักจะโทษคนไว้ก่อน ว่า

1. ไม่ตั้งใจ 2. สอนไม่รู้จักจำ 3. ทำงานไม่เป็น และอื่นๆ

แต่ในความเป็นจริง ปัญหาเกิดจากระบบงานไม่ดีถึง 94 เปอร์เซ็นต์

ยกตัวอย่างเช่น

ในคลีนิคทำฟันแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นองค์กรขนาดเล็กมาก ผู้ช่วยชอบทำถาดเครื่องมือตก ขณะที่คนไข้กำลังทำฟันกับคุณหมอ

ถ้าเป็นสมัยก่อน ก็ต้องเรียกมาตำหนิ 2 ครั้ง ถ้ามีครั้งที่ 3 ไล่ออก

แต่ถ้าใช้หลักเดมมิ่ง ต้องอดทน แล้ว มามองว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดจากความผิดพลาดของระบบงานตรงไหน

มีอะไรหรือเปล่าที่มีส่วนทำให้ ผู้ช่วยท่านนี้ ทำถาดเครื่องมือตกอยู่เป็นประจำ เราในฐานะเจ้าของ หรือผู้บริหาร จะช่วยให้พนักงานคนนี้ทำงานอย่างมีความสุขในการทำงานได้อย่างไร

ในที่สุดเมื่อมีการปรับเปลี่ยนอะไรบางอย่าง ผู้ช่วยที่สะเพร่าท่านนี้ ก็ทำงานผิดพลาดน้อยลง จนกระทั่งได้รับการเลื่อนตำแหน่ง

ถ้าระบบของเราดี คนที่สะเพร่ายังสามารถทำงานได้ คนที่ไม่สะเพร่ายิ่งทำงานได้ดีเข้าไปใหญ่เลยครับ

อัตราการลาออกของพนักงานลดลง
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 1

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 16

โพสต์

buzz ลองซื้อมาอ่านดูนะครับ

บริษัทไหนก็ตามนำหนังสือเล่มนี้ไปใช้ จะมีเวลามาเล่นหุ้นเยอะขึ้นนะครับ เพราะไม่ต้องปวดหัวกับการจัดการ

ถ้าระบบของเราดีจริง
ผลงานจะออกมาดี
ลูกค้าจะพอใจในสินค้าและบริการ ทำให้กลับมาซื้อซ้ำ และบอกต่อให้เพื่อนๆมาซื้อซ้ำ
พนักงานจะทำงานสบาย และมีเวลา
อัตราการลาออกจะน้อย
เจ้าของจะได้กำไร และมีเวลา

รายละเอียดลองอ่านดูนะครับ

ถ้าเรื่องหุ้น ต้อง The New Buffetology
ถ้าเรื่องคุณภาพ ต้อง ดร.เดมมิ่ง
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 1

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 17

โพสต์

นึกเรื่องดร.เดมมิ่งแล้ว เพี้ยนพอๆกับ วอเรนเลย

ถ้าจะผลิตสินค้า 3 ล้านชิ้น ดร.เดมมิ่งต้องประชุมผู้เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับบนสุด และต้องเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัตงานจริงมีส่วนร่วมในการปรับปรุงคุณภาพในการผลิต

เป้าหมายคือ ต้องไม่มีของเสียเกิดขึ้นเลย

แน่นอนว่าดูเหมือนเป็นไปไม่ได้

แต่สำหรับดร.เดมมิ่งแล้ว เป็นไปได้ และพัฒนาระบบขึ้นทุกวัน

เช่นการจัดซื้อเกียร์รถยนต์ของอเมริกา จะจัดซื้อ 3 เจ้า เพื่อป้องกันว่าเจ้าใดเจ้าหนึ่ง เกิดเล่น ตัว ก็ยังเหลืออีก 2 เจ้า

แต่ดร.เดมมิ่งไม่ทำเช่นนั้น

ดร.เดมมิ่งจะจัดซื้อเพียงเจ้าเดียวเท่านั้น

ฟังดูแปลกลองฟังเหตุผลดร.เดมมิ่ง

การจัดซื้อเกียร์ 3 เจ้า แต่ละผู้ผลิตได้รับมาตรฐานที่กำหนด ไปผลิต ทุกเจ้าผลิตเกียร์ออกมาได้มาตรฐานหมดเลย แต่

แต่

แต่ละเจ้ามีส่วนต่างกันเล็กน้อย

ลองดูนะครับ ว่ารถยนต์ที่อะไหล่แต่ละชิ้นที่มาประกอบเป็นตัวรถ มีส่วนต่างกันคนละเล็กคนละน้อย

ผลคือ เกียร์อัตโนมัติ ของรถอเมริกา เสียงดังกว่าเกียร์รถโตโยต้า

เนื่องจากสั่งจากผู้ผลิตเพียงเจ้าเดียว ผลคือ มีมาตรฐานเดียวที่ออกมา

บริษัทเองก็มีมุมมองกับผู้ผลิตที่รับช่วงไปผลิตต่อในลักษณะการทำงานเป็นทีม

ไม่ใช่ว่าเราเป็นผู้กำหนดมาตรฐาน แล้วให้เขาไปผลิตแล้วก็จบกัน

แต่ต้องเข้าไปให้ความรู้ที่จำเป็นในอุปกรณ์ที่เขาผลิตขึ้นมา เพื่อให้เราได้รับอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ และสอดคล้องกับอุปกรณ์อื่นๆที่จะนำมาต่อเชื่อมกัน

การให้ผู้ผลิตรับช่วงไป ทั้งหมด ในแต่ละชิ้น ทำให้ผู้ผลิตที่รับช่วงไป ตั้งใจทำงานอย่างมาก เพราะเราก็มีเขาเจ้าเดียว เขาก็ได้รับออเดอร์ที่ใหญ่มากจนกระทั่งสนใจผลิตให้เราอย่างเดียวก็พอแล้ว ถ้าเขาทำไม่ได้ ขึ้นมา เขาจะสูญเสียออเดอร์ขนาดใหญ่มาก เพราะฉะนั้น ผู้รับช่วงไปผลิตต่อจะตั้งใจปรับระบบงานเพื่อให้เกิดการทำงานสอดคล้องกัน

เป็นต้น
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 1

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 18

โพสต์

อีกตัวอย่างที่ทำให้เข้าใจเรื่องระบบงานคือ

ขวดโหลที่มี ลูกปัดสีแดง 50 ลูก และลูกปัดสีขาว 50 ลูก รวม 100 ลูก

งานของคนงานของเราคือการหยิบลูกปัดสีแดงจากขวดโหล

ถ้าหยิบเจอสีขาว ต้องถูกทำโทษ หรือถูกตำหนิ

ความตั้งใจของคนงาน จะทำให้โอกาสในการหยิบได้สีแดง สูงขึ้น

แต่อย่างไรก็ตามบางทีก็พลาดที่จะหยิบผิด หยิบเอาสีขาวขึ้นมา

ซึ่งอาจจะเกิดจากความล้า ของสายตา

ยิ่งถ้าเราเอาขวดโหลมาปั่น การหยิบให้ได้สีแดงก็จะยากขึ้น

ถ้าเราแก้ระบบงานคือ เอาสีขาวออกมาให้หมด แล้วในขวดโหลมีแต่สีแดง

ผลคือ เอาใครมาหยิบ ลูกปัด หยิบอย่างไรก็ได้สีแดงครับ

นี่คือตัวอย่างของการแก้ระบบงานครับ
บุคคลทั่วไป
ผู้ติดตาม: 0

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 19

โพสต์


โอ้โห.....

เรื่องที่พี่เล่ามาทำให้ผม "ตาสว่าง"เลย (เอ๊ะ...คำพูดใครนะ คุ้นๆ) อิ อิ

ขอบคุณครับ...พรุ่งนี้ จะรีบไปซื้อเลยครับ น่าหนุก น่าหนุก
เคยอ่าน แต่แนวความคิด ของ คุณ โสภณ สุภาพงษ์ เป็นเรื่องเดียวกันกับ
ดร.เดมมิ่ง ที่ใช้ในการบริหาร/จัดการ คนในองค์กร ว่า เวลาเกิดปัญหา
คำถามแรก เขาจะไม่ถามว่า ใครเป็นคนผิด/ใครเป็นคนก่อเหตุ
แต่เขาจะถามว่า เรื่องเกิดขึ้นได้อย่างไร และเรามาช่วยกันคิดว่า
ต่อไปเราจะป้องกัน ไม่ให้เกิดขึ้นอีกได้อย่างไร

ขอบคุณครับ[/b]
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 1

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 20

โพสต์

การตรวจสอบของเสีย ไม่มีส่วนช่วยให้คุณภาพดีขึ้น

ปกติเวลาเราผลิตสินค้า เมื่อสินค้าถูกบรรจุใส่รถบรรทุกวิ่งออกไป หาลูกค้า

จะมีวิธีสุ่มตรวจสอบ เช่นหยิบสินค้าแบบสุ่มออกมา ซัก 100 ชิ้น ถ้ามีของเสียเกินจากมาตรฐานที่รับได้ เช่น 2 ชิ้น เราจะถือว่ารถคันนี้ทั้งคัน ไม่ผ่านการตรวจสอบ ต้องเลี้ยวกลับไป ที่ฝ่ายผลิตเพื่อตรวจเช็คทั้งคัน หรือทำในขึ้นตอนอื่นๆ

ลองคิดดูนะครับ ถ้าในรถคันนี้มีของเสียเกินมาตรฐาน แต่การสุ่มตรวจ ปรากฏว่าไม่เจอของเสียเลย คนตรวจก็ต้องให้ผ่านไป สินค้าที่เสียหายจะถึงมือลูกค้า ลูกค้าจะนำสินค้ามาเปลี่ยน หรือไม่ก็รู้สึกไม่ดีกับสินค้า จนกระทั่งไปบอกต่อเพื่อนถึงความห่วยของสินค้า ทำให้เกิดผลเสียต่อการสร้างแบรนด์

การตรวจสอบไม่ได้ช่วยให้สินค้าดีขึ้น สินค้าที่เสีย ก็คือสินค้าที่เสีย สินค้าที่ดีก็คือสินค้าที่ดี

ดร.เดมมิ่ง วางระบบผลิตสินค้าให้ดี 100 เปอร์เซ็นต์ แล้วไม่ต้องตรวจสอบเพิ่มให้เสียเวลา เปลืองพลังงานและไม่ช่วยให้เกิดผลดีใดๆทั้งสิ้น

ระบบของดร.เดมมิ่ง เปรียบเสมือน มีการตรวจสอบโดยตัวของมันเองอยู่แล้ว ถ้าไม่ได้ทำตามขั้นตอนที่ตั้งไว้ สินค้าก็ผลิตไม่เสร็จ ถ้าผลิตเสร็จปั๊บ สินค้านั้นดี 100 เปอร์เซ็นต์
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 1

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ต้นทุนในการผลิตสินค้าที่ดี จะถูกกว่าต้นทุนในการผลิตสินค้าที่เสีย

เพราะสินค้าที่เสีย ต้องถูกตีกลับ มาเข้าโกดัง ต้องเสียพื้นที่ ต้องมีคนไปตรวจเช็ค ว่าสินค้าเสียตรงไหน ต้องนำสินค้าที่เสียนั้นกลับมาเข้าสายการผลิตเพื่อแก้ไข และในที่สุดต้องมีของเสียหายเกิดขึ้น ไม่ใช่ทุกชิ้นจะแก้ได้หมด

ผลคือต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าที่เสียหายนั้น จะแพงกว่าของดี

เช่น สินค้าชนิดหนึ่งปกติผลิตขึ้นมาต้นทุน 100 บาท แต่ถ้าเราทำให้เกิดของเสีย 10 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เราได้สินค้า 90 เปอร์เซ็นต์ ต้นทุนของดีก็จะแพงขึ้นไปตามของเสียที่เกิดขึ้น

ถ้าไม่มีของเสียหายเลย โดยผู้นำองค์กรเท่านั้นที่จะต้องรู้เรื่องนี้ และเปิดโอกาสให้ให้ เกิดบรรยาศในการปรับปรุงคุณภาพ โดยคนงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

ถ้าผู้นำไม่ร่วมมือ ระบบจะไม่ถูกปรับเปลี่ยน
ถ้าคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ร่วมมือ ระบบก็จะถูกปรับเปลี่ยนจากหอคอยงาช้าง เปลี่ยนจากข้างบน ซึ่งไม่ได้ปฏิบัติงานจริง

มีอีกเยอะที่พอจะนึกออก ไว้ว่างๆจะมาเขียนให้อ่านกัน

เพราะคิดว่าเพื่อนๆในเว็บนี้มีเจ้าของกิจการหลายคน ลองซื้อไปอ่านดูครับ จะมีเวลาเล่นหุ้นมากเลยครับ

ส่วนผมเอง เดี๋ยวจะไปลองหาหนังสือมาอ่านอีกสักรอบ ไม่รู้ว่าหายไปไหนแล้ว

เวลาไปซื้อซื้อได้ที่ se-ed นะครับ ชื่อ ดร.เดมมิ่ง
Buzz
Verified User
โพสต์: 49
ผู้ติดตาม: 0

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 22

โพสต์

Anonymous เขียน: โอ้โห.....

เรื่องที่พี่เล่ามาทำให้ผม "ตาสว่าง"เลย (เอ๊ะ...คำพูดใครนะ คุ้นๆ) อิ อิ

ขอบคุณครับ...พรุ่งนี้ จะรีบไปซื้อเลยครับ น่าหนุก น่าหนุก
เคยอ่าน แต่แนวความคิด ของ คุณ โสภณ สุภาพงษ์ เป็นเรื่องเดียวกันกับ
ดร.เดมมิ่ง ที่ใช้ในการบริหาร/จัดการ คนในองค์กร ว่า เวลาเกิดปัญหา
คำถามแรก เขาจะไม่ถามว่า ใครเป็นคนผิด/ใครเป็นคนก่อเหตุ
แต่เขาจะถามว่า เรื่องเกิดขึ้นได้อย่างไร และเรามาช่วยกันคิดว่า
ต่อไปเราจะป้องกัน ไม่ให้เกิดขึ้นอีกได้อย่างไร

ขอบคุณครับ[/b]
ผมเองครับ ลืม log in
"การลงทุนที่ชาญฉลาดที่สุด จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ เราลงทุนแบบทำธุรกิจ"
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 1

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 23

โพสต์

ใครมีความรูเกี่ยวกับดร.เดมมิ่ง หรือรางวัลเดมมิ่ง ไพร้ ถ้าผมเขียนผิดตรงไหน ช่วยแก้ด้วยนะครับ เพราะใช้ไปนิดเดียวกิจการก็ดีขึ้นมาก เพราะเป็นกิจการเล็กๆ ปัญหายังน้อยอยู่ครับ

แต่ผมเน้นปรับปรุงกิจการตั้งแต่ยังเล็กครับ เพื่อไม่ให้มีปัญหามากวนใจเวลาเล่นหุ้นครับ

ขอบคุณครับ
genie
Verified User
โพสต์: 1474
ผู้ติดตาม: 0

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ถ...ถ....ถ....ถ...ถูกต้องตรงประเด็นที่สุดเลย ผมกำลังหาอยู่เลยครับหนังสือที่จะไขปัญหาที่บริษัท(ทั้ง3ข้อมีครบเลยครับ) ต้องไปหามาอ่านซะแล้วขอบคุณนะครับพี่เจ๋ง อ้อส่วนบริษัทผมไม่ได้ทำส่งออกครับ บริษัทเรามี 2 สายธุรกิจคือ ธุรกิจงานพิมพ์(printingไม่ใช่publishingต้องใช้ภาษาอังกฤษถึงแยกได้ชัด) และ ผลิตป้ายชนิดต่างๆ ครับ :wink:
ภาพประจำตัวสมาชิก
นาย อนุสรณ์ สวัสดี
Verified User
โพสต์: 143
ผู้ติดตาม: 0

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 25

โพสต์

น่าสนใจมากครับ เรื่องระบบงานที่ทุกคนทำได้ เหมือนกับ win-win ใช่ไหมครับ คือ ได้ประโยชน์ทุกฝ่าย

นอกจากโตโยต้าแล้ว กับ ศูนย์รวมแม่บ้านแล้ว มีบริษัทไหนที่รับแนวคิดของ ดร. เดมมิ่งไปใช้งานอย่างจริงจังบ้างครับ ( มีจดทะเบียนใน set ไหมครับ วกเข้าเรื่องนี้อีกแล้ว อิอิ )

อนุสรณ์
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14784
ผู้ติดตาม: 1

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 26

โพสต์

เท่าทีทราบมี TCB ของคุณปีเตอร์ ชางครับ ใช้ระบบ ดร.เดมมิ่ง
ภาพประจำตัวสมาชิก
Meeja
Verified User
โพสต์: 333
ผู้ติดตาม: 0

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 27

โพสต์

ปูนใหญ่ก็ใช้ TQM ครับ
TQM = Total Quality Management
ระบบการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร
มีที่ปูนทุ่งสงได้รางวัล Deming Prize ไปแล้วครับ
และที่ทำงานผม TPC (ผลิตภัณฑ์กระดาษไทย) ก็มีการขอตรวจ
Deming Prize ไปแล้วเช่นกัน (แต่สงสัยจะอดได้!!)

ขอเสริมเล็กน้อยเท่าที่พอจำได้จากการใช้งานจริงครับ
เรื่องที่สำคัญที่สุดก็คือ TQM ต้องทำทุกคนในองค์กรครับ
ถึงจะเกิดประสิทธิภาพที่แท้จริง

หัวข้อที่สำคัญในการตรวจขอรางวัล Deming Prize มีอยู่ 4 หัวข้อครับ
1. Policy Deployment
2. Shining Case Study
3. QC Story
4. Daily Management

คำว่า Policy Deployment ก็คือนโยบายของผู้บริหารครับ
ผู้บริหารต้องมีแผนการทำงานที่ชัดเจน มีตัววัดผลที่ชัดเจน
ตัววัดผลก็คือ "คุณภาพ" ครับ ไม่ใช่ปริมาณ
เช่น ของเสียเป็นศูนย์ (คุณภาพ 100%)
คำว่า Shining Case Study ก็คือตัวอย่างงานที่ใช้ TQM แล้วประสบผล
ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่ Breakthrough จากงานแบบเดิมๆ
คือยกระดับคุณภาพงานมากๆ
เช่น แผนกซ่อมเครื่องกล (ผมทำงานอยู่) นำเสนอผลการลดเวลาหยุดเครื่องจักร
จากปีละ 100 ชม. เหลือ 0 ชม. (เยอะมากนะครับ)
โดยใช้การวิเคราะห์แบบ TQM (QC Story) ครับ

คำว่า QC Story ก็คือการแก้ปัญหาหน้างานโดยใช้แบบแผน QC
หรือ Task Achiving หรือ FMEA หรือ DOE (เป็นชื่อ Tools ที่ใช้งาน)
ที่ดังสุดๆ จริงๆ ก็คือ วงแหวน PDCA (Plan-Do-Check-Act)
ต้องมีงานที่ใช้ QC Story ทุกระดับ ทั้งช่าง วิศวกร ฝ่ายขาย ฯลฯ
สรุปคือ ต้องแก้ปัญหาโดย QC Story ในทุกๆ งานโดยใช้ Tools ต่างๆ
ง่ายๆ เช่น Control Chart, Histogram, ผังวิเคราะห์ปัญหาแบบก้างปลา, Why-Why Analysis
ยากๆ เช่น DOE (เดาเอาเอง ไม่ใช่ครับ Design Of Experiment), FMEA ฯลฯ

คำว่า Daily Management ก็คือการบริหารงานประจำวันโดยใช้วงแหวน PDCA ล่ะครับ
เป็นระดับหัวหน้าแผนกซะมากกว่า

ทำจริงๆ ในองค์กรใหญ่ๆ จะเหนื่อยมากๆๆๆๆๆๆๆๆ ครับ

ก็ลองดูล่ะกันครับ สำหรับผุ้สนใจ
ภาพประจำตัวสมาชิก
นาย อนุสรณ์ สวัสดี
Verified User
โพสต์: 143
ผู้ติดตาม: 0

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 28

โพสต์

ขอบคุณครับ พี่ Jeng ที่ให้ข้อมูลและคุณ Meeja ที่พิมพ์มาให้อ่าน มันส์มาก

แสดงว่าเรื่องของ ดร.เดมมิ่ง ก็คือ เรื่อง TQM ผมเข้าใจถูกไหมครับ
( แนววิศวกรรมอุตสาหการ )

มีงานลักษณะใดหรือไม่ครับที่ไม่เหมาะกับวิธีของ ดร.เดมมิ่ง

อนุสรณ์
Buzz
Verified User
โพสต์: 49
ผู้ติดตาม: 0

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 29

โพสต์

ขอบคุณ พี่ JENG และพี่ Meeja มากครับ ที่ช่วยให้คำแนะนำ และช่วย
เปิด โลกทัศน์ เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากๆ ครับ ไว้จะรีบไปอ่านเพิ่มเติม

ขออภัย พี่ genie ด้วยครับ เลยนอกเรื่อง กระทู้ ของพี่ไปเลย
แต่ดีใจมากๆ ครับ สังคมชาว TVI อบอุ่น จริงๆครับ แบ่งปันความรู้กัน
ได้ทุกเรื่อง

ขอบคุณจากใจจริงครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Meeja
Verified User
โพสต์: 333
ผู้ติดตาม: 0

ได้อย่างเสียอย่าง

โพสต์ที่ 30

โพสต์

ที่ทาง TCB ได้รางวัลนี้
ผมแทบอยากจะกราบแทบเท้าจริงๆ
แน่มากๆ

แต่ดูก่อน ถ้าบริษัทผมได้รางวัลนี้ด้วย
ผมคงเชื่อถือชื่อเสียงของ TCB ลดลงเยอะทีเดียว
ตอนบริษัทผมขอ Deming Prize เนี่ย
ทำเอกสารแบบส่งๆ เลยครับ
ปั้นน้ำเป็นตัวเยอะแยะ Hahahahaha

คุณอนุสรณ์
อุตสาหกรรมที่ไม่เหมาะกับการบริหารงานแบบนี้คงเป็น
อุตสาหกรรมงานบริการล่ะครับ
การใช้ Tool ต่างๆ จะยากมาก ไม่รู้จะหาตัวชี้วัดอะไร
แต่งานพี่ Jeng ก็เป็นงานบริการ เดี๋ยวรอแกมาอธิบายล่ะกัน
ว่าใช้ Tool อะไรบ้าง และใช้อะไรเป็นตัวชี้วัด

Deming Prize คือรางวัล TQM ยอดเยี่ยม ถูกต้องครับ
แต่ถ้า ดร. เดมมิ่ง แกคิดอะไรมาบ้าง ผมไม่รู้นะครับ
ที่ดังสุดของแกก็คือ PDCA Cycle ครับ

ปล. มีส่วนได้ส่วนเสียกะ TCB อยู่ 45% ของ Port แน่ะ...
โพสต์โพสต์