ว่าด้วยเรื่อง ของ owner's earning
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2846
- ผู้ติดตาม: 1
ว่าด้วยเรื่อง ของ owner's earning
โพสต์ที่ 1
ที่ว่า owner's earning คือ กำไรสุทธิ บวกด้วย ค่าเสื่อมราคา ปรับแต่งด้วย working capital และ เงินลงทุนขยายกิจการ
ผมสงสัยว่า จะมีกี่บริษัทในเมืองไทยกัน ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มของ owner's earning ได้อย่างต่อเนื่อง อย่างที่ warren buffet ซื้อบริษัท โค้ก
เพราะ net profit ที่บริษัทได้เพิ่มขึ้นมา นั้นมาจาก เงินลงทุนที่ขยายกิจการ เพิ่มสาขา เพิ่มกำลังการผลิต ต่างๆนานา บางบริษัทเห็น net profit เพิ่มขึ้นมาตลอด แต่ก็เนื่องมาจาก การลงทุนจำนวนมาก ทำให้ส่วน owner's earning ติดลบมีก็มาก หรือไม่ก็ มีสินค้าคงเหลือเพิ่มสูงมาก จนทำให้ owner's earning นั้นติดลบ
คือหาบริษัท ที่มี owner's earning เป็นบวก ตลอดนั้นยากกว่า หาบริษัทที่มี กำไรตลอด มากกกว่า มากครับ ( ดูแค่ไม่กี่บริษัทนะครับ แต่ส่วนใหญ่น่าจะเป็นอย่างนั้น)
ราคาหุ้นมันจะสะท้อนจาก owner's earning จริงหรือครับ ? หรือเรื่องนี้ ต้องดูในระยะยาวมาก จริงๆ ? บางทีมองที่ กำไรสุทธิน่าจะเพียงพอหรือไม่ ?
ผมสงสัยว่า จะมีกี่บริษัทในเมืองไทยกัน ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มของ owner's earning ได้อย่างต่อเนื่อง อย่างที่ warren buffet ซื้อบริษัท โค้ก
เพราะ net profit ที่บริษัทได้เพิ่มขึ้นมา นั้นมาจาก เงินลงทุนที่ขยายกิจการ เพิ่มสาขา เพิ่มกำลังการผลิต ต่างๆนานา บางบริษัทเห็น net profit เพิ่มขึ้นมาตลอด แต่ก็เนื่องมาจาก การลงทุนจำนวนมาก ทำให้ส่วน owner's earning ติดลบมีก็มาก หรือไม่ก็ มีสินค้าคงเหลือเพิ่มสูงมาก จนทำให้ owner's earning นั้นติดลบ
คือหาบริษัท ที่มี owner's earning เป็นบวก ตลอดนั้นยากกว่า หาบริษัทที่มี กำไรตลอด มากกกว่า มากครับ ( ดูแค่ไม่กี่บริษัทนะครับ แต่ส่วนใหญ่น่าจะเป็นอย่างนั้น)
ราคาหุ้นมันจะสะท้อนจาก owner's earning จริงหรือครับ ? หรือเรื่องนี้ ต้องดูในระยะยาวมาก จริงๆ ? บางทีมองที่ กำไรสุทธิน่าจะเพียงพอหรือไม่ ?
- kspnwwn
- Verified User
- โพสต์: 78
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง ของ owner's earning
โพสต์ที่ 3
ผมยังงงๆกับเรือ่ง Owner's Earning น่ะครับ ว่าทำไมต้องเอา กำไรสุทธิ บวกด้วยค่าเสื่อมราคา เขามองว่าค่าเสื่อมราคาเป็น earning ของเข้าจองเหรอครับ ถ้าใช่ทำไมเขาถึงมองแบบนั้น แล้วเห็น Buffett เขาว่าเขาชอบใช้เจ้าตัวนี้มากเลย
งงครับ คือแบบว่าไม่ค่อยรู้เรื่องพวกบัญชีมากเท่าไหร่ ช่วยแนะนำทีครับ
แล้ว Owner's Earning กับ Free cash flow ใช่ตัวเดียวกันไม๊ครับ
งงครับ คือแบบว่าไม่ค่อยรู้เรื่องพวกบัญชีมากเท่าไหร่ ช่วยแนะนำทีครับ
แล้ว Owner's Earning กับ Free cash flow ใช่ตัวเดียวกันไม๊ครับ
- Simply
- Verified User
- โพสต์: 150
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง ของ owner's earning
โพสต์ที่ 4
จริงๆแล้ว owner earningน่าจะคล้ายๆคำว่า Free Cash Flow...ตามที่ผมเข้าใจนะครับ...ในหนังสือของคุณพรชัยเรื่องบทเรียนจากนักลงทุนชั้นนำของโลก ในบทของบัฟเฟตต์ตอนหนึ่ง เขาบอกว่าบัฟเฟตต์ชอบถามว่า"ให้แสดงกระแสเงินสดกับกำไรส่วนเจ้าของ ให้ดู"
กระแสเงินสด=กำไรสุทธิ+ค่าเสื่อมราคา
กำไรส่วนเจ้าของ=กำไรสุทธิ+ค่าเสื่อมราคา-ต้นทุน
กระแสเงินสดอิสระ=กำไรสุทธิ+ค่าเสื่อมราคา-ต้นทุน-ส่วนที่ปันผล
จากที่เคยอ่าน กระแสเงินสดนั้นเป็นแนวทางทางด้านการเงิน คือต้องการดูว่าเงินจริงๆที่หมุนเวียนในบริษัทมีเท่าไหร่ แต่ค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถตั้งขึ้นได้ตามมาตรฐานทางบัญชี โดยจริงๆแล้วไม่ได้มีการควักเงินจ่ายๆจริงๆเป็นค่าเสื่อมราคา ดังนั้นจึงต้องนำเอามาบวกกลับเพื่อดูปริมาณเงินจริงๆที่อยู่ในมือบริษัท...ผมเข้าใจอย่างนี้ครับ ไม่รู้ว่าเข้าใจผิดหรือเปล่า เคยอ่านหนังสือของคุณชาย ค่ายFmpเคยเห็นตัวอย่างที่คุณชายเล่าให้ฟังว่า บริษัทขาดทุนตัวเลขทางบัญชีไปสองสามล้าน คือบริษัทโชว์ว่าขาดทุน แต่เจ้าของบริษัทเปิดแชมเปญฉลอง เพราะตั้งค่าเสื่อมราคาในปีนั้นไว้ สิบล้านบาทครับ คือเงินสิบล้านที่กั๊กไว้ตามบัญชี คือเงินที่ถ้าเราหักจากตัวเลขขาดทุนสามล้านบาท ยังเหลืออีกตั้งเจ็ดล้านบาท เจ้าของเลยฉลองเงินกันโดยที่บริษัทก็ไม่ต้องจ่ายปันผลเพราะขาดทุนทางบัญชี....เด็ดไหมครับ
...ถ้าผมเข้าใจผิด ขอให้พี่ๆช่วยเตือนด้วยครับ
กระแสเงินสด=กำไรสุทธิ+ค่าเสื่อมราคา
กำไรส่วนเจ้าของ=กำไรสุทธิ+ค่าเสื่อมราคา-ต้นทุน
กระแสเงินสดอิสระ=กำไรสุทธิ+ค่าเสื่อมราคา-ต้นทุน-ส่วนที่ปันผล
จากที่เคยอ่าน กระแสเงินสดนั้นเป็นแนวทางทางด้านการเงิน คือต้องการดูว่าเงินจริงๆที่หมุนเวียนในบริษัทมีเท่าไหร่ แต่ค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายที่สามารถตั้งขึ้นได้ตามมาตรฐานทางบัญชี โดยจริงๆแล้วไม่ได้มีการควักเงินจ่ายๆจริงๆเป็นค่าเสื่อมราคา ดังนั้นจึงต้องนำเอามาบวกกลับเพื่อดูปริมาณเงินจริงๆที่อยู่ในมือบริษัท...ผมเข้าใจอย่างนี้ครับ ไม่รู้ว่าเข้าใจผิดหรือเปล่า เคยอ่านหนังสือของคุณชาย ค่ายFmpเคยเห็นตัวอย่างที่คุณชายเล่าให้ฟังว่า บริษัทขาดทุนตัวเลขทางบัญชีไปสองสามล้าน คือบริษัทโชว์ว่าขาดทุน แต่เจ้าของบริษัทเปิดแชมเปญฉลอง เพราะตั้งค่าเสื่อมราคาในปีนั้นไว้ สิบล้านบาทครับ คือเงินสิบล้านที่กั๊กไว้ตามบัญชี คือเงินที่ถ้าเราหักจากตัวเลขขาดทุนสามล้านบาท ยังเหลืออีกตั้งเจ็ดล้านบาท เจ้าของเลยฉลองเงินกันโดยที่บริษัทก็ไม่ต้องจ่ายปันผลเพราะขาดทุนทางบัญชี....เด็ดไหมครับ
...ถ้าผมเข้าใจผิด ขอให้พี่ๆช่วยเตือนด้วยครับ
Margin Of Safety+Intrinsic Value+Mr.Market
ขอบคุณอ.เกรแฮมที่ทำให้เกิด Value Investing
ขอบคุณบรรดาเหล่าVIทั้งหลายที่พิสูจน์คุณค่าที่แท้จริงของVI
ขอบคุณท่านดร.นิเวศน์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าVIใช้ได้กับบ้านเรา
ขอบคุณอ.เกรแฮมที่ทำให้เกิด Value Investing
ขอบคุณบรรดาเหล่าVIทั้งหลายที่พิสูจน์คุณค่าที่แท้จริงของVI
ขอบคุณท่านดร.นิเวศน์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าVIใช้ได้กับบ้านเรา
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
ว่าด้วยเรื่อง ของ owner's earning
โพสต์ที่ 5
ผมว่าขาดทุนสามล้าน ถึงแม้จะมีเงินสดเหลือจากค่าเสื่อมราคาเจ็ดล้าน เจ้าของกิจการก็ไม่น่าจะแฮปปี้ถึงขนาดฉลองหรอกครับ ถ้าไม่มีการหลบภาษีอย่างผิดกฏหมาย
ค่าเสื่อมราคายังไงก็ต้องคิดตามหลักการ ห้านคิดมากเกินไปเพื่อลดภาษีนะครับ กรมสรรพากรไม่ยอม รวมทั้งค่าใช้จ่ายประเภทตั้งสำรองทั้งหลายไม่ว่า การตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ การตั้งสำรองสินค้าเสื่อมสภาพ
ค่าเสื่อมราคายังไงก็ต้องคิดตามหลักการ ห้านคิดมากเกินไปเพื่อลดภาษีนะครับ กรมสรรพากรไม่ยอม รวมทั้งค่าใช้จ่ายประเภทตั้งสำรองทั้งหลายไม่ว่า การตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ การตั้งสำรองสินค้าเสื่อมสภาพ
- kspnwwn
- Verified User
- โพสต์: 78
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง ของ owner's earning
โพสต์ที่ 6
ขอบคุณสำหรับคำตอบครับคุณ Simply กับพี่ฉัตรชัย
อีกนิดครับ คือ ค่าเสื่อมราคาที่เอามาคิดนี่รวมส่วนที่ตัดค่าความนิยมด้วยไม๊ครับ เคยเห็นแว๊บๆในตำราว่ามันให้เอากำไรมารวมกับ Depreciation กับ Amortization ไม่แน่ใจเดี๋ยวคงต้องไปค้นดูอีกที
แล้วถ้าเกิดผมไม่มั่นในการตัดค่าเสื่อมราคา ผมจะไม่เอาส่วนของค่าเสื่อมราคามาบวกกับกำไรสุทธิ จะได้ไม๊ครับ ซึ่งแบบนี้ตัวเลขมันออกจะออกมาต่ำกว่าความเป็นจริง ออกสไตล์ conservative หน่อย
อีกนิดครับ คือ ค่าเสื่อมราคาที่เอามาคิดนี่รวมส่วนที่ตัดค่าความนิยมด้วยไม๊ครับ เคยเห็นแว๊บๆในตำราว่ามันให้เอากำไรมารวมกับ Depreciation กับ Amortization ไม่แน่ใจเดี๋ยวคงต้องไปค้นดูอีกที
แล้วถ้าเกิดผมไม่มั่นในการตัดค่าเสื่อมราคา ผมจะไม่เอาส่วนของค่าเสื่อมราคามาบวกกับกำไรสุทธิ จะได้ไม๊ครับ ซึ่งแบบนี้ตัวเลขมันออกจะออกมาต่ำกว่าความเป็นจริง ออกสไตล์ conservative หน่อย
- Simply
- Verified User
- โพสต์: 150
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง ของ owner's earning
โพสต์ที่ 7
ผมขอตอบเท่าที่ผมรู้เรื่อง(ซึ่งคงจะรู้ไม่มากนัก เพราะอ่านศึกษาเอง ยังไม่มีโอกาสเทคคอร์สทางการเงินและบัญชี)...สำหรับการไม่เอาค่าเสื่อมราคามาบวกกลับนั้น ผมไม่เห็นด้วยเพราะผมไม่รู้ว่ามีค่าอย่างอื่นหรือวิธีคำนวณแบบอื่นที่ใช้แทนกันได้ไหม แต่ผมคิดว่าเราอาจต้องตรวจสอบว่าค่าเสื่อมราคาที่เห็นในงบการเงินของบริษัทนั้นใช้ได้จริงไหม
...ดูว่าบริษัทตั้งค่าเสื่อมราคาสมเหตุสมผลไหม
ข้อนี้ ผมไม่มีความชำนาญ ผมไม่มีความสามารถชี้ว่าในธุรกิจแบบนี้ ขายสินค้าแบบนี้ วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาแบบเท่ากันทุกปีจนครบอายุหรือให้น้ำหนักในปีแรกมากแล้วลดน้ำหนักในปีหลังๆดีไหม อันไหนดีกว่ากัน คงต้องอาศัยประสบการณ์ดูจากสายธุรกิจเดียวกัน มีการลงทุนคล้ายๆกันว่า เขาตั้งค่าเสื่อมราคาวิธีไหน
...ดูว่าในปีก่อนๆมีการตั้งค่าเสื่อมราคาเท่าไหร่ ในปีปัจจุบันสูงกว่าปกติหรือเปล่า
เท่าที่เคยอ่านมา ไม่เคยเจอว่ามีการตั้งค่าเสื่อมราคาแบบว่าค่อยๆเพิ่มจากปีแรกจนมีค่าเสื่อมราคาสูงในปีหลังๆ(ถ้าจำผิด ก็เตือนผมด้วยครับ)
ผมเสนอว่า คุณkspnwwnอาจปรับค่าเสื่อมราคามายังระดับที่เหมาะสมกับธุรกิจก่อนแล้วค่อยคำนวณมาก็ได้ แล้วเทียบดูกับค่าเสื่อมราคาของบริษัท
สำหรับตัดค่าความนิยม ผมเข้าใจว่าคงหมายถึง สินค้าที่อยู่ในสต็อคนั้นมีมูลค่าลดลงเท่าไหร่มากกว่า ซึ่งตรงนี้คงต้องมีความใชนาญและประสบการณ์ถึงจะประเมินได้เหมือนกัน ซึ่งในแต่ละธุรกิจก็ตั้งไว้ไม่เหมือนกัน หรือแม้แต่สินค้าต่างชนิดกันที่ผลิตในบริษัทเดียวกันก็ตั้งไว้ไม่เท่ากันครับ
พี่Chatchaiซึ่งมีความรู้มากกว่าผมสามารถให้คำตอบที่ชัดเจนกว่าผมได้ครับ...ผมตอบตามที่ผมเข้าใจ(ไม่รู้ว่าผิดหรือเปล่าครับ)
...ดูว่าบริษัทตั้งค่าเสื่อมราคาสมเหตุสมผลไหม
ข้อนี้ ผมไม่มีความชำนาญ ผมไม่มีความสามารถชี้ว่าในธุรกิจแบบนี้ ขายสินค้าแบบนี้ วิธีการคิดค่าเสื่อมราคาแบบเท่ากันทุกปีจนครบอายุหรือให้น้ำหนักในปีแรกมากแล้วลดน้ำหนักในปีหลังๆดีไหม อันไหนดีกว่ากัน คงต้องอาศัยประสบการณ์ดูจากสายธุรกิจเดียวกัน มีการลงทุนคล้ายๆกันว่า เขาตั้งค่าเสื่อมราคาวิธีไหน
...ดูว่าในปีก่อนๆมีการตั้งค่าเสื่อมราคาเท่าไหร่ ในปีปัจจุบันสูงกว่าปกติหรือเปล่า
เท่าที่เคยอ่านมา ไม่เคยเจอว่ามีการตั้งค่าเสื่อมราคาแบบว่าค่อยๆเพิ่มจากปีแรกจนมีค่าเสื่อมราคาสูงในปีหลังๆ(ถ้าจำผิด ก็เตือนผมด้วยครับ)
ผมเสนอว่า คุณkspnwwnอาจปรับค่าเสื่อมราคามายังระดับที่เหมาะสมกับธุรกิจก่อนแล้วค่อยคำนวณมาก็ได้ แล้วเทียบดูกับค่าเสื่อมราคาของบริษัท
สำหรับตัดค่าความนิยม ผมเข้าใจว่าคงหมายถึง สินค้าที่อยู่ในสต็อคนั้นมีมูลค่าลดลงเท่าไหร่มากกว่า ซึ่งตรงนี้คงต้องมีความใชนาญและประสบการณ์ถึงจะประเมินได้เหมือนกัน ซึ่งในแต่ละธุรกิจก็ตั้งไว้ไม่เหมือนกัน หรือแม้แต่สินค้าต่างชนิดกันที่ผลิตในบริษัทเดียวกันก็ตั้งไว้ไม่เท่ากันครับ
พี่Chatchaiซึ่งมีความรู้มากกว่าผมสามารถให้คำตอบที่ชัดเจนกว่าผมได้ครับ...ผมตอบตามที่ผมเข้าใจ(ไม่รู้ว่าผิดหรือเปล่าครับ)
Margin Of Safety+Intrinsic Value+Mr.Market
ขอบคุณอ.เกรแฮมที่ทำให้เกิด Value Investing
ขอบคุณบรรดาเหล่าVIทั้งหลายที่พิสูจน์คุณค่าที่แท้จริงของVI
ขอบคุณท่านดร.นิเวศน์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าVIใช้ได้กับบ้านเรา
ขอบคุณอ.เกรแฮมที่ทำให้เกิด Value Investing
ขอบคุณบรรดาเหล่าVIทั้งหลายที่พิสูจน์คุณค่าที่แท้จริงของVI
ขอบคุณท่านดร.นิเวศน์ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าVIใช้ได้กับบ้านเรา
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2846
- ผู้ติดตาม: 1
ว่าด้วยเรื่อง ของ owner's earning
โพสต์ที่ 8
เพิ่มเติมนิดครับ
คือ บริษัทที่มีการควบรวมกิจการกับบริษัทอื่นๆ หรือไป take over เค้ามา
ถ้าบริษัทจ่ายเงินไป สูงกว่า มากกว่า มูลค่าทางบัญชีของบริษัทที่ takeมานั้น เค้าจะบันทึกมูลค่า ส่วนต่างที่เกินมานี้ ไว้ในส่วนของ Goodwill ซึ่งจะอยู่ในส่วนของ Asset ในงบดุล - - - ประมาณว่า เงินที่จ่ายแพงกว่าเพิ่มมานั้นมันคือ ค่า Brand ค่า goodwill ของบริษัทที่ซื้อมา
รายการนี้ เค้าจะตัดมูลค่าทางบัญชีไปเรื่อยๆ เหมือน การตัดค่าเสื่อมราคา
คือถ้าไม่มีการควบรวม เราก็ไม่ต้องสน Amortization ครับ
ขออธิบาย การตัด ค่าความนิยม Amortizationอีกนิดครับ คือ ค่าเสื่อมราคาที่เอามาคิดนี่รวมส่วนที่ตัดค่าความนิยมด้วยไม๊ครับ เคยเห็นแว๊บๆในตำราว่ามันให้เอากำไรมารวมกับ Depreciation กับ Amortization ไม่แน่ใจเดี๋ยวคงต้องไปค้นดูอีกที
คือ บริษัทที่มีการควบรวมกิจการกับบริษัทอื่นๆ หรือไป take over เค้ามา
ถ้าบริษัทจ่ายเงินไป สูงกว่า มากกว่า มูลค่าทางบัญชีของบริษัทที่ takeมานั้น เค้าจะบันทึกมูลค่า ส่วนต่างที่เกินมานี้ ไว้ในส่วนของ Goodwill ซึ่งจะอยู่ในส่วนของ Asset ในงบดุล - - - ประมาณว่า เงินที่จ่ายแพงกว่าเพิ่มมานั้นมันคือ ค่า Brand ค่า goodwill ของบริษัทที่ซื้อมา
รายการนี้ เค้าจะตัดมูลค่าทางบัญชีไปเรื่อยๆ เหมือน การตัดค่าเสื่อมราคา
คือถ้าไม่มีการควบรวม เราก็ไม่ต้องสน Amortization ครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วยเรื่อง ของ owner's earning
โพสต์ที่ 10
กระทู้คุณภาพครับ ถ้าขอเอาไปเก็บในส่วนของบทความ ท่านเจ้าของกระทู้คงไม่ว่ากระไร ดีกว่ากระทู้เชียร์หุ้นใบ้หุ้นมากมาย
- สามัญชน
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 5162
- ผู้ติดตาม: 1
ว่าด้วยเรื่อง ของ owner's earning
โพสต์ที่ 11
เห็นด้วยครับ เป็นกระทู้คุณภาพจริงๆ สมควรที่จะเก็บไว้ในห้องบทความ
ส่วนกระทู้ใบ้หุ้นก็ไม่เป็นไรครับ อ่านแล้วสนุกและลุ้นดีครับ ไม่ซีเรียส
owner's earning ผมก็ได้อ่านครับ แต่อ่านแล้วก็ยังตีประเด็นไม่ค่อยแตก ยังมองได้แค่ผิวเผิน คงต้องรอฟังมุมมองจากหลายๆท่านเพิ่มเติม
ในขั้นต้นจึงต้องยกเครดิตให้กับเครื่องมือตัวนี้ไปก่อน ขนาดบัฟเฟตต์ยังยึดเป็นหลักในการเลือกหุ้น แสดงว่าต้องมีอะไรดีๆ
ส่วนกระทู้ใบ้หุ้นก็ไม่เป็นไรครับ อ่านแล้วสนุกและลุ้นดีครับ ไม่ซีเรียส
owner's earning ผมก็ได้อ่านครับ แต่อ่านแล้วก็ยังตีประเด็นไม่ค่อยแตก ยังมองได้แค่ผิวเผิน คงต้องรอฟังมุมมองจากหลายๆท่านเพิ่มเติม
ในขั้นต้นจึงต้องยกเครดิตให้กับเครื่องมือตัวนี้ไปก่อน ขนาดบัฟเฟตต์ยังยึดเป็นหลักในการเลือกหุ้น แสดงว่าต้องมีอะไรดีๆ
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด