SST
-
- Verified User
- โพสต์: 36
- ผู้ติดตาม: 0
SST
โพสต์ที่ 1
ไปซะแล้ว เป็นหุ้นดีอีกตัวที่ต้องจากไป น่าเสียดายจริงๆ ครับ ยินดีด้วยกับคนที่มีอยู่
-
- Verified User
- โพสต์: 25
- ผู้ติดตาม: 0
น่าเสียดายมากครับ
โพสต์ที่ 4
SST เป็นหุ้นที่ผมเก็บไว้มากที่สุดในพอร์ท
ซื้อเฉลี่ยไว้ที่ 39.50 บาท ซึ่งก็ได้กำไรพอสมควร
แต่ผมเสียดายมากกว่า เพราะหุ้นตัวนี้ มีหนี้น้อย และให้ปันผลดีมาตลอด
นับวันหุ้นที่ดีๆ ก็จะน้อยลงไปนะครับ
ซื้อเฉลี่ยไว้ที่ 39.50 บาท ซึ่งก็ได้กำไรพอสมควร
แต่ผมเสียดายมากกว่า เพราะหุ้นตัวนี้ มีหนี้น้อย และให้ปันผลดีมาตลอด
นับวันหุ้นที่ดีๆ ก็จะน้อยลงไปนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 23
- ผู้ติดตาม: 0
SST
โพสต์ที่ 6
มีไม่เยอะครับ แค่ 1400 เองง่ะ :roll:
- ครรชิต ไพศาล
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4637
- ผู้ติดตาม: 1
SST
โพสต์ที่ 8
เขาต้องคำเสนอซื้อตามระเบียบ แต่เขายังอยู่ในตลาดหลักทรัพย์
ไม่ได้ออกจากตลาด
ไม่ได้ออกจากตลาด
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
-
- Verified User
- โพสต์: 118
- ผู้ติดตาม: 0
SST
โพสต์ที่ 9
ถืออยู่หน่อยเดียว สงสัยเหมือนกันว่าทำไมช่วงหลัง ราคาถึงขึ้นมาเยอะ
ข่าวเพิ่มเติมค่ะ
ที่มา: http://www.msnth.com/MSN/Money/moneynews/article8.asp
*************************************
หลาน KSL-บิ๊กไมด้ายึด คุ้มสุดปันผลทุกปี 10%ไทยพาณิชย์ฟัน 300 ล.
ศุภสิทธิ์ สุขะนินทร์ ทายาทน้ำตาลขอนแก่น-กมล เอี้ยวศิวิกูล และพวก ทุ่ม 620 ล้านบาท เทกโอเวอร์บริษัท ทรัพย์ศรีไทยคลังสินค้า ยันไม่ตีจากตลาดหุ้น แบงก์ไทยพาณิชย์รับกำไรเกือบ 300 ล้านบาท
นายอุดมศักดิ์ ชาครียวณิชย์ กรรมการอำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส กล่าวว่า บริษัทฯ ได้เป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับนายศุภสิทธิ์ สุขะนินทร์ ทายาทน้ำตาลขอนแก่น (KSL) ในการจัดทำคำเสนอซื้อหุ้น บริษัท ทรัพย์ศรีไทยคลังสินค้า (SST) จากผู้ถือหุ้นทั้งหมด (เทนเดอร์ออฟเฟอร์) ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน- 27 ธันวาคมนี้
นายอุดมศักดิ์ กล่าวว่า นายศุภสิทธิ์ได้ซื้อ หุ้น SST จากธนาคารไทยพาณิชย์ และผู้บริหารธนาคาร จำนวน 78.29% หรือ 9.47 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 51.25 บาท
นายศุภสิทธิ์ สุขะนินทร์ กรรมการบริหาร บริษัท สรกิจ ซึ่งเป็นนายหน้าซื้อขายในตลาดเกษตรล่วงหน้า และทายาทบริษัท น้ำตาลขอนแก่น กล่าวว่า ได้ร่วมกับนักลงทุนจำนวน 17 คน ซึ่งมีนาย กมล เอี้ยวศิวิกูล ประธานกรรมการ บริษัท ไมด้า แอสเซ็ท ด้วยซื้อหุ้น SST จากธนาคารไทยพาณิชย์ โดยใช้เงิน 485.49 ล้านบาท และยังมีหุ้นที่จะ ต้องรับซื้อจากผู้ถือหุ้นทั่วไปอีก 2.62 ล้านหุ้น หรือ 21.21% จะใช้เงินอีก 134.58 ล้านบาท หรือใช้เงินรวมทั้งสิ้น 620 ล้านบาท
ใช้เงินทุนส่วนตัวและกู้เงินบางส่วน โดย ผมจะเข้าไปถือหุ้น 32.25% และที่เหลือจะเป็นพันธมิตร รวมกัน 46.04% โดยจำนวนนี้มีนาย กมลถือหุ้น 20% และที่เหลือจะกระจายกันไปคนละประมาณ 4% และมีระยะเวลาห้ามขาย 1 ปี และจะไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการบริหาร มีเพียงการเปลี่ยนกรรมการ 3 คนเท่านั้น นายศุภสิทธิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม หลังถือหุ้น 100% ยืนยันที่จะให้หุ้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เหมือนเดิม และจะ หาทางเพิ่มสภาพคล่องในการซื้อขายหุ้น
สำหรับธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งถือหุ้น SST กว่า 7 ล้านหุ้น หรือ 58.29% มีต้นทุน 10 บาท ก็จะได้รับกำไรจากการขายกว่า 290.81 ล้านบาท นายสัมฤทธิ์ ตันติดิลกกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ทรัพย์ศรีไทยคลังสินค้า กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมีสินทรัพย์รวม 556.50 ล้านบาท มีส่วน ผู้ถือหุ้น 517.17 ล้านบาท มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทต่อปี และแต่ละปีมีกำไรสุทธิ 30-50 ล้านบาท มีหนี้สินเพียง 39.33 ล้านบาท
หากดูผลงานตั้งแต่เข้าตลาดหุ้นเมื่อปี 2530 จะเห็นว่าบริษัทโตต่อเนื่องปีละไม่ต่ำกว่า 30% และ 18 ปีที่ผ่านมา จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอในอัตรา 68% ของกำไรสุทธิ หรือให้อัตราผลตอบแทน ไม่ต่ำกว่า 10% และอนาคตยังมีแนวโน้มเติบโต ดีมาก เพราะมีคลังสินค้าใกล้ปากน้ำ อีกทั้งจะมีการขยายถนนและมีถนนวงแหวน ซึ่งจะทำให้มีความสะดวกในการคมนาคม และจะทำให้มีผู้เข้ามาใช้บริการคลังสินค้าของบริษัทมากขึ้นอีก
***********************************
ข่าวเพิ่มเติมค่ะ
ที่มา: http://www.msnth.com/MSN/Money/moneynews/article8.asp
*************************************
หลาน KSL-บิ๊กไมด้ายึด คุ้มสุดปันผลทุกปี 10%ไทยพาณิชย์ฟัน 300 ล.
ศุภสิทธิ์ สุขะนินทร์ ทายาทน้ำตาลขอนแก่น-กมล เอี้ยวศิวิกูล และพวก ทุ่ม 620 ล้านบาท เทกโอเวอร์บริษัท ทรัพย์ศรีไทยคลังสินค้า ยันไม่ตีจากตลาดหุ้น แบงก์ไทยพาณิชย์รับกำไรเกือบ 300 ล้านบาท
นายอุดมศักดิ์ ชาครียวณิชย์ กรรมการอำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส กล่าวว่า บริษัทฯ ได้เป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับนายศุภสิทธิ์ สุขะนินทร์ ทายาทน้ำตาลขอนแก่น (KSL) ในการจัดทำคำเสนอซื้อหุ้น บริษัท ทรัพย์ศรีไทยคลังสินค้า (SST) จากผู้ถือหุ้นทั้งหมด (เทนเดอร์ออฟเฟอร์) ตั้งแต่วันที่ 18 พฤศจิกายน- 27 ธันวาคมนี้
นายอุดมศักดิ์ กล่าวว่า นายศุภสิทธิ์ได้ซื้อ หุ้น SST จากธนาคารไทยพาณิชย์ และผู้บริหารธนาคาร จำนวน 78.29% หรือ 9.47 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 51.25 บาท
นายศุภสิทธิ์ สุขะนินทร์ กรรมการบริหาร บริษัท สรกิจ ซึ่งเป็นนายหน้าซื้อขายในตลาดเกษตรล่วงหน้า และทายาทบริษัท น้ำตาลขอนแก่น กล่าวว่า ได้ร่วมกับนักลงทุนจำนวน 17 คน ซึ่งมีนาย กมล เอี้ยวศิวิกูล ประธานกรรมการ บริษัท ไมด้า แอสเซ็ท ด้วยซื้อหุ้น SST จากธนาคารไทยพาณิชย์ โดยใช้เงิน 485.49 ล้านบาท และยังมีหุ้นที่จะ ต้องรับซื้อจากผู้ถือหุ้นทั่วไปอีก 2.62 ล้านหุ้น หรือ 21.21% จะใช้เงินอีก 134.58 ล้านบาท หรือใช้เงินรวมทั้งสิ้น 620 ล้านบาท
ใช้เงินทุนส่วนตัวและกู้เงินบางส่วน โดย ผมจะเข้าไปถือหุ้น 32.25% และที่เหลือจะเป็นพันธมิตร รวมกัน 46.04% โดยจำนวนนี้มีนาย กมลถือหุ้น 20% และที่เหลือจะกระจายกันไปคนละประมาณ 4% และมีระยะเวลาห้ามขาย 1 ปี และจะไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการบริหาร มีเพียงการเปลี่ยนกรรมการ 3 คนเท่านั้น นายศุภสิทธิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม หลังถือหุ้น 100% ยืนยันที่จะให้หุ้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์เหมือนเดิม และจะ หาทางเพิ่มสภาพคล่องในการซื้อขายหุ้น
สำหรับธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งถือหุ้น SST กว่า 7 ล้านหุ้น หรือ 58.29% มีต้นทุน 10 บาท ก็จะได้รับกำไรจากการขายกว่า 290.81 ล้านบาท นายสัมฤทธิ์ ตันติดิลกกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ทรัพย์ศรีไทยคลังสินค้า กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมีสินทรัพย์รวม 556.50 ล้านบาท มีส่วน ผู้ถือหุ้น 517.17 ล้านบาท มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทต่อปี และแต่ละปีมีกำไรสุทธิ 30-50 ล้านบาท มีหนี้สินเพียง 39.33 ล้านบาท
หากดูผลงานตั้งแต่เข้าตลาดหุ้นเมื่อปี 2530 จะเห็นว่าบริษัทโตต่อเนื่องปีละไม่ต่ำกว่า 30% และ 18 ปีที่ผ่านมา จ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอในอัตรา 68% ของกำไรสุทธิ หรือให้อัตราผลตอบแทน ไม่ต่ำกว่า 10% และอนาคตยังมีแนวโน้มเติบโต ดีมาก เพราะมีคลังสินค้าใกล้ปากน้ำ อีกทั้งจะมีการขยายถนนและมีถนนวงแหวน ซึ่งจะทำให้มีความสะดวกในการคมนาคม และจะทำให้มีผู้เข้ามาใช้บริการคลังสินค้าของบริษัทมากขึ้นอีก
***********************************
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1735
- ผู้ติดตาม: 0
SST
โพสต์ที่ 12
บางที ถ้าเราคอยติดตาม ราคาและปริมาณซื้อขายให้ดีๆ
ไม่จำเป็นต้องมีอินไซด์ก็ดูออกครับ
ผมก็เดาไว้ในใจเหมือนกันว่า
ทรัพย์ศรีไทยผิดปกติแน่ๆ แต่ไม่รู้เรื่องอะไร
เพราะขายชอร์ตน้อยๆ จะซื้อกลับได้
แต่ถ้าขายชอร์ตมากๆ หุ้นจะหายไปทันที
ตอนนี้กำลังตามดูพฤติกรรมของหุ้นอีกตัว
รูปแบบการตั้งซื้อเอาหุ้น
คล้ายๆกันมาก
คุณนักดูดาวคงเดาออกว่า
ผมกำลังพูดถึงตัวไหน
:roll: :roll: :roll: :roll: :roll: :roll:
เมื่อวันศุกร์ซื้อทรัพย์ศรีไทยไปอีกห้าหมืนหุ้น
เขาแจกส่วนต่างให้ตั้งเกือบสองเปอร์เซนต์
ไม่จำเป็นต้องมีอินไซด์ก็ดูออกครับ
ผมก็เดาไว้ในใจเหมือนกันว่า
ทรัพย์ศรีไทยผิดปกติแน่ๆ แต่ไม่รู้เรื่องอะไร
เพราะขายชอร์ตน้อยๆ จะซื้อกลับได้
แต่ถ้าขายชอร์ตมากๆ หุ้นจะหายไปทันที
ตอนนี้กำลังตามดูพฤติกรรมของหุ้นอีกตัว
รูปแบบการตั้งซื้อเอาหุ้น
คล้ายๆกันมาก
คุณนักดูดาวคงเดาออกว่า
ผมกำลังพูดถึงตัวไหน
:roll: :roll: :roll: :roll: :roll: :roll:
เมื่อวันศุกร์ซื้อทรัพย์ศรีไทยไปอีกห้าหมืนหุ้น
เขาแจกส่วนต่างให้ตั้งเกือบสองเปอร์เซนต์
-
- Verified User
- โพสต์: 118
- ผู้ติดตาม: 0
SST
โพสต์ที่ 13
เสริมข่าวเพิ่มเติมค่ะ
**************
ที่มา:http://www.bangkokbizweek.com/20051104/ ... 99809.html
**************
ฉากหลัง..แผนฮุบ 'ทรัพย์ศรีไทยฯ' เชื่อมอาณาจักร 'ชินธรรมมิตร์' รุกธุรกิจปลายน้ำ
การเคลื่อนไหวของ 'บมจ.น้ำตาลขอนแก่น' (KSL) ภายใต้การบริหารของ 'กลุ่มชินธรรมมิตร์' เริ่มทวีความน่าสนใจโดยลำดับ ทางกลุ่มชินธรรมมิตร์กำลังทยอยประกอบจิ๊กซอว์ทุกๆ ชิ้น ของโครงสร้างธุรกิจ และเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ
เมื่อล่าสุดกลุ่มชินธรรมมิตร์ได้ตัดสินใจให้ 'ศุภสิทธิ์ สุขะนินทร์' (หลานชาย 'จำรูญ ชินธรรมมิตร์' ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร KSL) เป็นแกนนำของกลุ่มในการเข้าซื้อธุรกิจคลังสินค้าและท่าเทียบเรือของ 'บมจ.ทรัพย์ศรีไทยคลังสินค้า' (SST) มาจาก ธ.ไทยพาณิชย์ ในสัดส่วน 78.29 เปอร์เซ็นต์ หรือจำนวน 9.47 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่า 485.49 ล้านบาท ที่ราคาเฉลี่ยหุ้นละ 51.25 บาท
พร้อมกับทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมด (Tender offer) จากนักลงทุนต่อไป โดยคาดว่าจะใช้เงินซื้อหุ้นประมาณ 620 ล้านบาท
รอบปีที่ผ่านมา แม้น้ำตาลขอนแก่น (KSL) จะถือเป็นเพียง บจ.น้องใหม่ ที่เริ่มเข้าระดมทุนจากตลาดหุ้นได้ยังไม่ครบปี แต่เส้นทางอนาคตของบริษัทน้ำตาลแห่งนี้กลับถูกแพลน และสร้างขึ้นคล้ายกับซุ่มมานาน
กรุงเทพธุรกิจ BizWeek พบว่า ก่อนหน้านั้น นอกจากกิจการท่าเรือและคลังสินค้าของ SST ที่ทาง 'กลุ่มชินธรรมมิตร์' เข้าไปเทคโอเวอร์มา ยังปรากฏว่ากลุ่มน้ำตาลขอนแก่นยังได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ อยู่ใน 'บมจ.ไทยชูการ์ เทอร์มิเนิ้ล' (TSTE) ซึ่งประกอบธุรกิจ 'ท่าเทียบเรือและคลังสินค้า' อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยที่กลุ่มลูกค้าหลัก คือ กลุ่มโรงงานน้ำตาลขอนแก่น และโรงงานที่มีผู้บริหารบริษัทเป็นผู้ถือหุ้น หรือเป็นกรรมการอยู่
เรื่องราวการเข้าเทคโอเวอร์ 'ทรัพย์ศรีไทยคลังสินค้า' (SST) จึงถูกตั้งข้อสังเกตว่า โจทย์ครั้งนี้คงไม่ใช่เพียงแค่การซื้อลงทุนเพื่อรอรับเงินปันผลตามที่กลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่อ้างไว้
โดยเฉพาะในเรื่องของ 'พื้นที่' และ 'ทำเล' ของคลังสินค้าและท่าเรือ ท่ามกลางภาวะปริมาณสินค้านำเข้า และส่งออกของประเทศกำลังเพิ่มขึ้น
ขณะที่ปริมาณน้ำตาลทรายที่ผลิตได้ทั่วประเทศ อยู่ในอัตราเพิ่มขึ้น โดยปีที่ผ่านมา (2547) มีการผลิตประมาณ 7.01 ล้านตัน แบ่งเป็นน้ำตาลที่บริโภคในประเทศ 1.92 ล้านตัน และส่งออกต่างประเทศ 5.09 ล้านตัน โดยกลุ่มน้ำตาลขอนแก่นมีสัดส่วนรายได้จากการส่งออกน้ำตาลถึงเกือบ 66 เปอร์เซ็นต์
...และน้ำตาลที่ส่งไปนอกประเทศจะต้องถูกขนถ่ายจากโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ ไปยังคลังสินค้าตามภาคต่างๆ แต่พื้นที่คลังสินค้าทั้งในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล กลับแสดงแนวโน้มที่ลดน้อยลงไป
หลังจากช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีผู้ประกอบธุรกิจคลังสินค้ารายเก่า เริ่มทยอยปรับพื้นที่หันไปทำธุรกิจอื่นที่สนองผลตอบแทนได้สูงกว่า ตั้งแต่การสร้างโรงแรม คอนโดมิเนียม และอาคารสำนักงาน
ขณะที่โอกาสที่คลังสินค้าแห่งใหม่จะเกิดขึ้นก็เป็นไปอย่างยากลำบาก ด้วยข้อจำกัดทางด้านราคาที่ดินและพื้นที่ริมแม่น้ำ
ศุภสิทธิ์ ยอมรับว่าพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ถือเป็นทำเลที่มีศักยภาพทางด้านธุรกิจเรียลเอสเตท และแม้ว่า 'กลุ่มชินธรรมมิตร์' จะทำธุรกิจด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (บ.เคเอสแอล เรียลเอสเทต) อยู่ด้วย โดยมีทั้งรีสอร์ท โรงแรม และอาคารสำนักงานเช่า ...แต่ประเด็นการซื้อ SST แม้จะได้ที่ดินริมฝั่งเจ้าพระยามาครอบครอง ทางกลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่ก็ยังขอยืนยันนโยบายเดิมของบริษัท และไม่คิดที่จะดีลีทหุ้น SST ออกจากตลาดหลักทรัพย์
...เท่ากับว่า 'กลุ่มชินธรรมมิตร์' จะมีธุรกิจคลังสินค้าและท่าเทียบเรือ จำนวน 2 บริษัท (TSTE และ SST)...ที่ลิสต์อยู่ในตลาดหุ้น
'การลงทุนใน SST ครั้งนี้ เป็นการซื้อหุ้นทางตรงโดยกลุ่มชินธรรมมิตร์ และมีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนระยะยาว และยืนยันได้ว่า ทางกลุ่มของเรายังไม่ได้คิดไปถึงแนวทางการ 'รวมกิจการ' ของบริษัททั้งสองแห่งเข้าด้วยกัน' ศุภสิทธิ์ ชี้แจง
อย่างไรก็ตาม รอบหลายปีที่ผ่านมา อัตราการใช้พื้นที่คลังสินค้าของ TSTE จะอยู่ในเกณฑ์สูงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ มาโดยตลอด การขยายพื้นที่คลังสินค้าก็ถือเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการ ขณะที่อัตราการใช้พื้นที่ของ SST จะอยู่ในระดับ 70-77 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ประกอบกับคลังสินค้าแห่งนี้ยังอยู่ระหว่างก่อสร้างเพื่อขยายพื้นที่คลังสินค้าเพิ่มเติมอีกจำนวน 8 หลัง พื้นที่รวมประมาณ 14,000 ตร.ม. และจะเริ่มใช้งานได้จริงต้นปี 2549
...คลังสินค้าของ SST จึงถือเป็นกำลัง 'สนับสนุน' แห่งใหม่ให้กับกลุ่มธุรกิจของ 'ชินธรรมมิตร์' ที่จะสามารถรองรับปริมาณสินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามทิศทางการเติบโตของกลุ่ม
การโยงใยทางธุรกิจของกลุ่มชินธรรมมิตร์...จึงเริ่มซับซ้อน เพราะภารกิจใหม่ของ KSL นับจากปี 2549 กำลังเข้าสู่อัตราเร่ง หลังจากบริษัทเตรียมขยายงานออกไปสู่ธุรกิจ 'ปลายน้ำ' โดยเน้นการนำของเหลือที่ได้จากการผลิตน้ำตาล ไปใช้ให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากที่สุด
ตั้งแต่การสร้างโรงไฟฟ้า ภายใต้ชื่อ 'บ.โรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น' เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า (ขนาด 30 MW) และผลิตไอน้ำ โดยใช้ 'ชานอ้อย' ประมาณ 3.1 แสนตันต่อปี เป็นเชื้อเพลิง
ถัดจากนั้น ยังมี 'บ.ขอนแก่นแอลกอฮอล์' (บริษัทย่อย) ถือเป็นอีกธุรกิจต่อเนื่องของ KSL ในการทำหน้าที่ผลิตแอลกอฮอล์เพื่อใช้ผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง หรือ 'เอทานอล' ซึ่งถือเป็นเทรนด์ใหม่ของเศรษฐกิจโลก โดยจะอาศัย 'กากน้ำตาล' ประมาณ 1.2 แสนตันต่อปี ในการผลิต ...ล่าสุดบริษัทเตรียมขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 150,000 ลิตรต่อวัน เป็น 400,000 ลิตรต่อวัน เพื่อรองรับความต้องการเอทานอลที่กำลังสูงขึ้น
และบริษัทยังมีโปรเจค 'ผลิตปุ๋ย' ซึ่งถือเป็นโครงการต่อเนื่องจากการผลิตเอทานอล โดยนำเอาน้ำเสียที่ได้จากการผลิตเอทานอล และกากหม้อกรอง ประมาณ 1.1 แสนตันต่อปี จากกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ย ซึ่งจะดำเนินการไปพร้อมๆ กับกระบวนการผลิตเอทานอล
รวมถึงยังอยู่ระหว่างการศึกษาโครงการผลิต 'สารเคมี' ผ่านทาง 'บ.เค เอส ลักษมี' โดยอาศัยแอลกอฮอล์เป็นวัตถุดิบหลัก นอกจากนี้ กลุ่มน้ำตาลขอนแก่นยังร่วมลงทุนกับพันธมิตรในการจัดตั้ง 'บ.จันทบุรี สตาร์ซ' เพื่อผลิต 'แป้งมัน' ที่ยังสามารถอาศัยมันสำปะหลังร่วมกับธุรกิจผลิตผงชูรสของ 'บ.ราชาชูรส' (บริษัทย่อย) มาใช้เป็นวัตถุดิบร่วมในการผลิตแป้งมัน
ขณะเดียวกัน แม้สินค้าของกลุ่มน้ำตาลขอนแก่นไล่ตั้งแต่น้ำตาลทราย แป้งมันสำปะหลัง รวมถึงเอทานอล จะจัดเป็นสินค้าเกษตรที่ค่อนข้างมีความผันผวนของราคา แต่บริษัทก็ยังสามารถปกป้องความเสี่ยงในจุดนี้ผ่านทางตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (ต.ส.ล.) โดยมี 'บ.สรกิจ' (ศุภสิทธิ์ เป็นประธานบริษัท) ทำหน้าที่เป็นโบรกเกอร์ ซึ่งในอนาคต 'ต.ส.ล.' จะเปิดให้สมาชิกสมามารถซื้อขายสินค้าได้หลายประเภทมากขึ้น
เพราะฉะนั้น การวางแบบแปลนในทุกส่วนธุรกิจ จึงทำให้การเคลื่อนตัวของกลุ่ม 'ชินธรรมมิตร์' ยิ่งน่าติดตาม โดยเฉพาะแผนรุกในธุรกิจต่อเนื่อง ที่ผู้บริหารคาดไว้ว่าจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลตอบแทนได้ตั้งแต่ปี 2549
โครงสร้างธุรกิจ กลุ่มชินธรรมมิตร์
(1) ตระกูลชินธรรมมิตร์ และพันธมิตร
(2) น้ำตาลขอนแก่น (KSL)
(3) กลุ่มธุรกิจน้ำตาล
(4) บ.น้ำตาลท่ามะกา
(5) บ.น้ำตาลนิวกว้างสุ้นหลี
(6) บ.น้ำตาลนิวกรุงไทย
(7) กลุ่มธุรกิจสนับสนุน
(8) ทรัพย์ศรีไทยคลังสินค้า* (SST)
(9) ไทยชูการ์ เทอร์มิเนิ้ล (TSTE)
(10) บ.เค เอส แอล เอ็กซ์ปอร์ตเทรดดิ้ง
(11) กลุ่มธุรกิจพลังงานและเคมี
(12) บ.ขอนแก่นแอลกอฮอล์
(13) บ.โรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น
(14) บ.เค เอส ลักษมี
(15) กลุ่มธุรกิจอื่นๆ
(16) บ.ราชาชูรส*
(17) บ.ราชาเซรามิค*
(18) บ.เค เอส แอล เรียลเอสเตท
(19) บ.แชมเปี้ยน เฟอร์เมนเตชั่น
*หมายเหตุ / กลุ่มชินธรรมมิตร์ถือหุ้นทางตรง
**************
ที่มา:http://www.bangkokbizweek.com/20051104/ ... 99809.html
**************
ฉากหลัง..แผนฮุบ 'ทรัพย์ศรีไทยฯ' เชื่อมอาณาจักร 'ชินธรรมมิตร์' รุกธุรกิจปลายน้ำ
การเคลื่อนไหวของ 'บมจ.น้ำตาลขอนแก่น' (KSL) ภายใต้การบริหารของ 'กลุ่มชินธรรมมิตร์' เริ่มทวีความน่าสนใจโดยลำดับ ทางกลุ่มชินธรรมมิตร์กำลังทยอยประกอบจิ๊กซอว์ทุกๆ ชิ้น ของโครงสร้างธุรกิจ และเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ
เมื่อล่าสุดกลุ่มชินธรรมมิตร์ได้ตัดสินใจให้ 'ศุภสิทธิ์ สุขะนินทร์' (หลานชาย 'จำรูญ ชินธรรมมิตร์' ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร KSL) เป็นแกนนำของกลุ่มในการเข้าซื้อธุรกิจคลังสินค้าและท่าเทียบเรือของ 'บมจ.ทรัพย์ศรีไทยคลังสินค้า' (SST) มาจาก ธ.ไทยพาณิชย์ ในสัดส่วน 78.29 เปอร์เซ็นต์ หรือจำนวน 9.47 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่า 485.49 ล้านบาท ที่ราคาเฉลี่ยหุ้นละ 51.25 บาท
พร้อมกับทำคำเสนอซื้อหุ้นทั้งหมด (Tender offer) จากนักลงทุนต่อไป โดยคาดว่าจะใช้เงินซื้อหุ้นประมาณ 620 ล้านบาท
รอบปีที่ผ่านมา แม้น้ำตาลขอนแก่น (KSL) จะถือเป็นเพียง บจ.น้องใหม่ ที่เริ่มเข้าระดมทุนจากตลาดหุ้นได้ยังไม่ครบปี แต่เส้นทางอนาคตของบริษัทน้ำตาลแห่งนี้กลับถูกแพลน และสร้างขึ้นคล้ายกับซุ่มมานาน
กรุงเทพธุรกิจ BizWeek พบว่า ก่อนหน้านั้น นอกจากกิจการท่าเรือและคลังสินค้าของ SST ที่ทาง 'กลุ่มชินธรรมมิตร์' เข้าไปเทคโอเวอร์มา ยังปรากฏว่ากลุ่มน้ำตาลขอนแก่นยังได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ อยู่ใน 'บมจ.ไทยชูการ์ เทอร์มิเนิ้ล' (TSTE) ซึ่งประกอบธุรกิจ 'ท่าเทียบเรือและคลังสินค้า' อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยที่กลุ่มลูกค้าหลัก คือ กลุ่มโรงงานน้ำตาลขอนแก่น และโรงงานที่มีผู้บริหารบริษัทเป็นผู้ถือหุ้น หรือเป็นกรรมการอยู่
เรื่องราวการเข้าเทคโอเวอร์ 'ทรัพย์ศรีไทยคลังสินค้า' (SST) จึงถูกตั้งข้อสังเกตว่า โจทย์ครั้งนี้คงไม่ใช่เพียงแค่การซื้อลงทุนเพื่อรอรับเงินปันผลตามที่กลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่อ้างไว้
โดยเฉพาะในเรื่องของ 'พื้นที่' และ 'ทำเล' ของคลังสินค้าและท่าเรือ ท่ามกลางภาวะปริมาณสินค้านำเข้า และส่งออกของประเทศกำลังเพิ่มขึ้น
ขณะที่ปริมาณน้ำตาลทรายที่ผลิตได้ทั่วประเทศ อยู่ในอัตราเพิ่มขึ้น โดยปีที่ผ่านมา (2547) มีการผลิตประมาณ 7.01 ล้านตัน แบ่งเป็นน้ำตาลที่บริโภคในประเทศ 1.92 ล้านตัน และส่งออกต่างประเทศ 5.09 ล้านตัน โดยกลุ่มน้ำตาลขอนแก่นมีสัดส่วนรายได้จากการส่งออกน้ำตาลถึงเกือบ 66 เปอร์เซ็นต์
...และน้ำตาลที่ส่งไปนอกประเทศจะต้องถูกขนถ่ายจากโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ ไปยังคลังสินค้าตามภาคต่างๆ แต่พื้นที่คลังสินค้าทั้งในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล กลับแสดงแนวโน้มที่ลดน้อยลงไป
หลังจากช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีผู้ประกอบธุรกิจคลังสินค้ารายเก่า เริ่มทยอยปรับพื้นที่หันไปทำธุรกิจอื่นที่สนองผลตอบแทนได้สูงกว่า ตั้งแต่การสร้างโรงแรม คอนโดมิเนียม และอาคารสำนักงาน
ขณะที่โอกาสที่คลังสินค้าแห่งใหม่จะเกิดขึ้นก็เป็นไปอย่างยากลำบาก ด้วยข้อจำกัดทางด้านราคาที่ดินและพื้นที่ริมแม่น้ำ
ศุภสิทธิ์ ยอมรับว่าพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ถือเป็นทำเลที่มีศักยภาพทางด้านธุรกิจเรียลเอสเตท และแม้ว่า 'กลุ่มชินธรรมมิตร์' จะทำธุรกิจด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (บ.เคเอสแอล เรียลเอสเทต) อยู่ด้วย โดยมีทั้งรีสอร์ท โรงแรม และอาคารสำนักงานเช่า ...แต่ประเด็นการซื้อ SST แม้จะได้ที่ดินริมฝั่งเจ้าพระยามาครอบครอง ทางกลุ่มผู้ถือหุ้นใหม่ก็ยังขอยืนยันนโยบายเดิมของบริษัท และไม่คิดที่จะดีลีทหุ้น SST ออกจากตลาดหลักทรัพย์
...เท่ากับว่า 'กลุ่มชินธรรมมิตร์' จะมีธุรกิจคลังสินค้าและท่าเทียบเรือ จำนวน 2 บริษัท (TSTE และ SST)...ที่ลิสต์อยู่ในตลาดหุ้น
'การลงทุนใน SST ครั้งนี้ เป็นการซื้อหุ้นทางตรงโดยกลุ่มชินธรรมมิตร์ และมีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนระยะยาว และยืนยันได้ว่า ทางกลุ่มของเรายังไม่ได้คิดไปถึงแนวทางการ 'รวมกิจการ' ของบริษัททั้งสองแห่งเข้าด้วยกัน' ศุภสิทธิ์ ชี้แจง
อย่างไรก็ตาม รอบหลายปีที่ผ่านมา อัตราการใช้พื้นที่คลังสินค้าของ TSTE จะอยู่ในเกณฑ์สูงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ มาโดยตลอด การขยายพื้นที่คลังสินค้าก็ถือเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการ ขณะที่อัตราการใช้พื้นที่ของ SST จะอยู่ในระดับ 70-77 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ประกอบกับคลังสินค้าแห่งนี้ยังอยู่ระหว่างก่อสร้างเพื่อขยายพื้นที่คลังสินค้าเพิ่มเติมอีกจำนวน 8 หลัง พื้นที่รวมประมาณ 14,000 ตร.ม. และจะเริ่มใช้งานได้จริงต้นปี 2549
...คลังสินค้าของ SST จึงถือเป็นกำลัง 'สนับสนุน' แห่งใหม่ให้กับกลุ่มธุรกิจของ 'ชินธรรมมิตร์' ที่จะสามารถรองรับปริมาณสินค้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามทิศทางการเติบโตของกลุ่ม
การโยงใยทางธุรกิจของกลุ่มชินธรรมมิตร์...จึงเริ่มซับซ้อน เพราะภารกิจใหม่ของ KSL นับจากปี 2549 กำลังเข้าสู่อัตราเร่ง หลังจากบริษัทเตรียมขยายงานออกไปสู่ธุรกิจ 'ปลายน้ำ' โดยเน้นการนำของเหลือที่ได้จากการผลิตน้ำตาล ไปใช้ให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากที่สุด
ตั้งแต่การสร้างโรงไฟฟ้า ภายใต้ชื่อ 'บ.โรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น' เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า (ขนาด 30 MW) และผลิตไอน้ำ โดยใช้ 'ชานอ้อย' ประมาณ 3.1 แสนตันต่อปี เป็นเชื้อเพลิง
ถัดจากนั้น ยังมี 'บ.ขอนแก่นแอลกอฮอล์' (บริษัทย่อย) ถือเป็นอีกธุรกิจต่อเนื่องของ KSL ในการทำหน้าที่ผลิตแอลกอฮอล์เพื่อใช้ผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง หรือ 'เอทานอล' ซึ่งถือเป็นเทรนด์ใหม่ของเศรษฐกิจโลก โดยจะอาศัย 'กากน้ำตาล' ประมาณ 1.2 แสนตันต่อปี ในการผลิต ...ล่าสุดบริษัทเตรียมขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 150,000 ลิตรต่อวัน เป็น 400,000 ลิตรต่อวัน เพื่อรองรับความต้องการเอทานอลที่กำลังสูงขึ้น
และบริษัทยังมีโปรเจค 'ผลิตปุ๋ย' ซึ่งถือเป็นโครงการต่อเนื่องจากการผลิตเอทานอล โดยนำเอาน้ำเสียที่ได้จากการผลิตเอทานอล และกากหม้อกรอง ประมาณ 1.1 แสนตันต่อปี จากกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ย ซึ่งจะดำเนินการไปพร้อมๆ กับกระบวนการผลิตเอทานอล
รวมถึงยังอยู่ระหว่างการศึกษาโครงการผลิต 'สารเคมี' ผ่านทาง 'บ.เค เอส ลักษมี' โดยอาศัยแอลกอฮอล์เป็นวัตถุดิบหลัก นอกจากนี้ กลุ่มน้ำตาลขอนแก่นยังร่วมลงทุนกับพันธมิตรในการจัดตั้ง 'บ.จันทบุรี สตาร์ซ' เพื่อผลิต 'แป้งมัน' ที่ยังสามารถอาศัยมันสำปะหลังร่วมกับธุรกิจผลิตผงชูรสของ 'บ.ราชาชูรส' (บริษัทย่อย) มาใช้เป็นวัตถุดิบร่วมในการผลิตแป้งมัน
ขณะเดียวกัน แม้สินค้าของกลุ่มน้ำตาลขอนแก่นไล่ตั้งแต่น้ำตาลทราย แป้งมันสำปะหลัง รวมถึงเอทานอล จะจัดเป็นสินค้าเกษตรที่ค่อนข้างมีความผันผวนของราคา แต่บริษัทก็ยังสามารถปกป้องความเสี่ยงในจุดนี้ผ่านทางตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (ต.ส.ล.) โดยมี 'บ.สรกิจ' (ศุภสิทธิ์ เป็นประธานบริษัท) ทำหน้าที่เป็นโบรกเกอร์ ซึ่งในอนาคต 'ต.ส.ล.' จะเปิดให้สมาชิกสมามารถซื้อขายสินค้าได้หลายประเภทมากขึ้น
เพราะฉะนั้น การวางแบบแปลนในทุกส่วนธุรกิจ จึงทำให้การเคลื่อนตัวของกลุ่ม 'ชินธรรมมิตร์' ยิ่งน่าติดตาม โดยเฉพาะแผนรุกในธุรกิจต่อเนื่อง ที่ผู้บริหารคาดไว้ว่าจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลตอบแทนได้ตั้งแต่ปี 2549
โครงสร้างธุรกิจ กลุ่มชินธรรมมิตร์
(1) ตระกูลชินธรรมมิตร์ และพันธมิตร
(2) น้ำตาลขอนแก่น (KSL)
(3) กลุ่มธุรกิจน้ำตาล
(4) บ.น้ำตาลท่ามะกา
(5) บ.น้ำตาลนิวกว้างสุ้นหลี
(6) บ.น้ำตาลนิวกรุงไทย
(7) กลุ่มธุรกิจสนับสนุน
(8) ทรัพย์ศรีไทยคลังสินค้า* (SST)
(9) ไทยชูการ์ เทอร์มิเนิ้ล (TSTE)
(10) บ.เค เอส แอล เอ็กซ์ปอร์ตเทรดดิ้ง
(11) กลุ่มธุรกิจพลังงานและเคมี
(12) บ.ขอนแก่นแอลกอฮอล์
(13) บ.โรงไฟฟ้าน้ำตาลขอนแก่น
(14) บ.เค เอส ลักษมี
(15) กลุ่มธุรกิจอื่นๆ
(16) บ.ราชาชูรส*
(17) บ.ราชาเซรามิค*
(18) บ.เค เอส แอล เรียลเอสเตท
(19) บ.แชมเปี้ยน เฟอร์เมนเตชั่น
*หมายเหตุ / กลุ่มชินธรรมมิตร์ถือหุ้นทางตรง