ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ
- Willpower
- Verified User
- โพสต์: 87
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ
โพสต์ที่ 31
เรียนทุกท่านขณะนี้ มีธนาคารแลนด์แอนเฮ้าส์เพื่อรายย่อย จำกัดมหาชน แล้วจ้า
คุณเจง
1. ปกติ ประเทศทุกประเทศที่เป็นสมาชิก IMF หรือ WorldBank ADB ในแต่ละปีเราส่งเงินไปลงขันกับเขาหนะครับหรือแล้วแต่เขาเรียกเก็บ แล้วประเทศที่เป็นสมาชิกก็จะสามารถกู้ได้ และเราไม่เป็นสมาชิก เราก็จะกู้ไม่ได้
หรือเช่น การออกพันธบัตร อันนี้ก็กู้เงินจากประชาชนหรือนักลงทุนหนะครับสมมุติว่าออกพันธบัตรแล้วให้เอาไปทุนให้กู้ต่อ ก็ทำให้ยังมีเงินให้กู้ได้เรื่อย ๆ หนะครับ มันหมุนรอบ หรือเวียนเทียน
ซึ่งปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้นอีกส่วนนี้อาจจะอธิบายได้โดยเรื่อง Multiplyer ของปริมาณเงินตามหลักเศรษฐศาสตร์การเงิน อันนี้ผมคงอธิบายไม่ชัดหนะครับเพราะ อ่านแล้วก็งง ๆ แต่หาอ่านได้ตามตำราเศรษฐศาสตร์มหภาคด้านการเงินทั่วไป คล้ายกับว่าธนาคารให้เรากู้ 1000 ล้าน ปกติเราก็คงไม่เบิกหมดมาฝังตุ่ม ถูกไหมครับ เราก็ฝากธนาคารมันอยู่ดี ดังนั้นธนาคารต้องกันสำรองไว้ส่วนหนึ่งแต่เงินสดบางส่วนที่เราไม่ถอนเขาก็ต้องไปฝากไว้ธนาคารอืน เงินจึงเพิ่มขึ้นในระบบหนะครับ
คุณดิงด่าง ก็พึ่งอ่านมาเหมือนกันว่า Friedman บอกว่าบางครั้งจีดีพีเยอะอาจไม่ทำให้คนรู้สึกรวยขึ้นเพราะคนเราจะรู้สึกรวยขึ้นบางครั้งเราเปรียบเทียบกับคนข้างเราแล้วเขาจนกว่าหนะ
คล้าย เบียร์เชียร์มีความสุขกับสิ่งเล็ก ๆ บ้างชีวิตจะรู้สึกดีขึ้นเยอะ
คุณเจง
1. ปกติ ประเทศทุกประเทศที่เป็นสมาชิก IMF หรือ WorldBank ADB ในแต่ละปีเราส่งเงินไปลงขันกับเขาหนะครับหรือแล้วแต่เขาเรียกเก็บ แล้วประเทศที่เป็นสมาชิกก็จะสามารถกู้ได้ และเราไม่เป็นสมาชิก เราก็จะกู้ไม่ได้
หรือเช่น การออกพันธบัตร อันนี้ก็กู้เงินจากประชาชนหรือนักลงทุนหนะครับสมมุติว่าออกพันธบัตรแล้วให้เอาไปทุนให้กู้ต่อ ก็ทำให้ยังมีเงินให้กู้ได้เรื่อย ๆ หนะครับ มันหมุนรอบ หรือเวียนเทียน
ซึ่งปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้นอีกส่วนนี้อาจจะอธิบายได้โดยเรื่อง Multiplyer ของปริมาณเงินตามหลักเศรษฐศาสตร์การเงิน อันนี้ผมคงอธิบายไม่ชัดหนะครับเพราะ อ่านแล้วก็งง ๆ แต่หาอ่านได้ตามตำราเศรษฐศาสตร์มหภาคด้านการเงินทั่วไป คล้ายกับว่าธนาคารให้เรากู้ 1000 ล้าน ปกติเราก็คงไม่เบิกหมดมาฝังตุ่ม ถูกไหมครับ เราก็ฝากธนาคารมันอยู่ดี ดังนั้นธนาคารต้องกันสำรองไว้ส่วนหนึ่งแต่เงินสดบางส่วนที่เราไม่ถอนเขาก็ต้องไปฝากไว้ธนาคารอืน เงินจึงเพิ่มขึ้นในระบบหนะครับ
คุณดิงด่าง ก็พึ่งอ่านมาเหมือนกันว่า Friedman บอกว่าบางครั้งจีดีพีเยอะอาจไม่ทำให้คนรู้สึกรวยขึ้นเพราะคนเราจะรู้สึกรวยขึ้นบางครั้งเราเปรียบเทียบกับคนข้างเราแล้วเขาจนกว่าหนะ
คล้าย เบียร์เชียร์มีความสุขกับสิ่งเล็ก ๆ บ้างชีวิตจะรู้สึกดีขึ้นเยอะ
-
- Verified User
- โพสต์: 1474
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ
โพสต์ที่ 35
เรื่องเงินไหลเข้าออกให้ดูที่ตารางนี้นะครับ http://www.bot.or.th/bothomepage/databa ... /tab54.asp เวลาดูตารางนี้ต้องดูแบบตารางCash Flow Statementนะครับ แต่ถ้าอยากดูข้อมูลย้อนหลังยาวๆคลิ๊กที่มุมซ้ายบนนะครับ มันจะออกมาเป็นExcelครับ ส่วนถ้าอยากรู้ว่าเรื่องเงินไหลออกจากไทยโดยบริษัทต่างชาติมันเยอะแค่ไหนลองเอาบรรทัดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในส่วนของส่งออก(อันนี้หมายความว่าส่งเงินออกนอกประเทศนะครับไม่ใช่ส่งสินค้าออกนอกประเทศอย่าสับสน) แล้วเอาไปplot graphดูนะครับว่าแนวโน้มเป็นยังไง แล้วลองพล็อตตัวอื่นๆด้วยนะครับจะได้เปรียบเทียบได้
-
- Verified User
- โพสต์: 1474
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ
โพสต์ที่ 37
ถ้าแนวโน้มการลงทุนจากต่างประเทศลดลง ถ้าเรามองในมุมเดียวอาจจะดูเหมือนว่าไม่ดี ประมาณว่าประเทศไทยมีความน่าสนใจในการลงทุนลดลง แต่.... เศรษฐกิจไทยก็ยังคงเจริญเติบโตและถือได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเมื่อเทียบกับประเทศข้างเคียงในระดับเดียวกัน เมื่อผนวกกับการลดลงของเงินทุนไหลเข้า นั่นน่าจะอนุมานได้ว่า(ยังไม่ดูตัวแปรอื่นๆเพิ่มนะครับ)ปัจจุบันประเทศไทยสามารถขยายตัวได้โดยพึ่งพิงเงินทุนไหลเข้าน้อยลง หรือจะพูดง่ายๆก็คือเราสามารถยืนได้ด้วยลำแข้งเราเองมากขึ้น อืม....ๆๆๆ ช่วยคิดกันต่อด้วยนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1474
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ
โพสต์ที่ 38
อืมผมขอเสริมtrickในการอ่านเศรษฐกิจให้นิดนึงนะครับ เวลาเรามองเศรษฐกิจอย่ามองเหมือนบุคคลนะครับ โดยเฉพาะเรื่องหนี้หรือเรื่องค่าใช้จ่าย เพราะหัวใจสำคัญของนโยบายทางเศรษฐกิจคือทำยังไงให้คนว่างงานน้อยที่สุด และราคาสินค้าต่ำที่สุด เหมือนอย่างบอกว่าทำไมรัฐต้องจ่ายโน่นจ่ายนี่ออกไปเยอะแยะ นั่นเพราะทุกครั้งที่รัฐจ่ายประชาชนก็จะมีงานทำมากขึ้น แต่ถ้ารัฐอมเงินเอาไว้อย่างเดียวอันนี้ฉิบหายครับ เศรษฐกิจไม่โต คนตกงานไม่มีงานทำ ดังนั้นการอ่านเศรษฐกิจอย่าอ่านในสายตาปัจเจกบุคคลนะครับ ไม่งั้นคุณจะงงและก็จะรู้สึกอะไรผิดจากความเป็นจริงไปหมด พูดเหมือนง่ายผมเองเรียนเป็นปีๆกว่าจะเข้าใจ(นิดหน่อย)
-
- Verified User
- โพสต์: 312
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ
โพสต์ที่ 39
ผม(ไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์นะครับ)ว่า
1.ความสุข = 0 = (ความจำเป็น + ความต้องการ) - (ความสำเร็จในการตอบสนองความจำเป็นและความต้องการ)
2.จีดีพี = ความสำเร็จในการตอบสนองความจำเป็นและความต้องการของทุกคนในประเทศที่เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ(การแลกเปลี่ยนซื้อขายโดยมีเงินเป็นตัวกลาง)
ความสุขกับจีดีพีเป็นคนละตัว แต่จีดีพีเป็นเครื่องมือให้รัฐสร้างความสำเร็จในการตอบสนองความจำเป็นและความต้องการ(ผ่านขบวนการทางภาษีตามที่คุณWillpowerว่าไว้)ซึ่งนำไปสู่ความสุขได้หากความจำเป็น + ความต้องการไม่วิ่งไปเร็วนัก(อยู่ที่ใจ)
ความสำเร็จในการตอบสนองความจำเป็นและความต้องการไม่จำเป็นต้องเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจเสมอไป เช่นการเพาะปลูกพืชอาหารไว้บริโภคเองของคนชนบท ฯลฯ
อยากถามผู้รู้ว่าแบงค์ชาติรู้ได้อย่างไรว่าจะพิมพ์ธนบัตรออกมาในระบบเมื่อไร(ไม่นับรวมที่พิมพ์ชดเชยที่ชำรุด) แล้วยอดที่พิมพ์ออกมานี่เข้าบัญชีอะไรหรือแนะนำหนังสือก็ได้ครับ(ภาษาไทยเด้อ)
1.ความสุข = 0 = (ความจำเป็น + ความต้องการ) - (ความสำเร็จในการตอบสนองความจำเป็นและความต้องการ)
2.จีดีพี = ความสำเร็จในการตอบสนองความจำเป็นและความต้องการของทุกคนในประเทศที่เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ(การแลกเปลี่ยนซื้อขายโดยมีเงินเป็นตัวกลาง)
ความสุขกับจีดีพีเป็นคนละตัว แต่จีดีพีเป็นเครื่องมือให้รัฐสร้างความสำเร็จในการตอบสนองความจำเป็นและความต้องการ(ผ่านขบวนการทางภาษีตามที่คุณWillpowerว่าไว้)ซึ่งนำไปสู่ความสุขได้หากความจำเป็น + ความต้องการไม่วิ่งไปเร็วนัก(อยู่ที่ใจ)
ความสำเร็จในการตอบสนองความจำเป็นและความต้องการไม่จำเป็นต้องเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจเสมอไป เช่นการเพาะปลูกพืชอาหารไว้บริโภคเองของคนชนบท ฯลฯ
อยากถามผู้รู้ว่าแบงค์ชาติรู้ได้อย่างไรว่าจะพิมพ์ธนบัตรออกมาในระบบเมื่อไร(ไม่นับรวมที่พิมพ์ชดเชยที่ชำรุด) แล้วยอดที่พิมพ์ออกมานี่เข้าบัญชีอะไรหรือแนะนำหนังสือก็ได้ครับ(ภาษาไทยเด้อ)
การทำอะไรแบบเดิมๆเป็นเวลานานๆทำให้ชีวิตเสียหาย
-
- Verified User
- โพสต์: 84
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ
โพสต์ที่ 41
เมื่อ จีดีพี เป็นการพยายามตอบสนองความจำเป็นและความต้องการของทุกคนในประเทศ
ดังนั้น GDP ดีขึ้น แสดงว่า คนส่วนใหญ่จะมีความสุขมากขึ้น หาก (ความจำเป็น + ความต้องการ) คงที่
แต่สังเกตุว่า GDP จะแสดงผลที่ดีเยี่ยม หากคนส่วนใหญ่ได้รับอานิสงฆ์จากการขับดันไม่ต่างกันมากนัก
ข้อที่สงสัยอย่างหนึ่งคือ การผลักดัน GDP นั้น มีผลทำให้ (ความจำเป็น + ความต้องการ) เพิ่มขึ้นหรือไม่
อันนี้ทำให้คิดว่าเป็นผลทำให้หนี้เพิ่มขึ้นหรือไม่
ดูไปแล้ว หากใช้ GDP เป็นหลัก มันเป็นการพัฒนาจากบนสู่ล่าง
ซึ่งในระยะยาวคงส่งผลดั่งเช่นคุณด๊กดิงด่างกล่าวไว้
การเลือกเอาความแข็งแรงภาคเมืองไปรักษาภาคเกษตรเพื่อการยังชีพ
เป็นวิถีทางที่น่าสนใจมาก แต่นั่นต้องการความเข้มแข็งของคนที่มีโอกาศในสังคมผลักดัน
เพราะคนเหล่านี้ จะเป็นปราการด่านสุดท้าย ที่จะต่อต้านการกัดเซาะทำลายรากฐานของสังคม
เราไม่อาจพูดแต่ปากว่าอย่ามาเลยบางกอก ในขณะที่เราหาความสุขอย่างไม่ลืมหูลืมตา
เราไม่อาจบอกเขาว่าอย่าสิ้นเปลืองเลย ในขณะที่เราอยู่กันอย่างหรูหรา
มีอะไรหรือไม่ที่ควรดู คู่ไปกับ GDP ... ในเมื่อ GDP ไม่ได้บ่งบอกถึงความสุขของคนในสังคม
เนื่องเพราะท้ายที่สุด ... มีเงินล้นฟ้า ก็อาจหาความสุขไม่ได้ ก็มีให้เห็นอยู่มาก
หรือ เราไม่อาจวัดหรือพัฒนาความสุขของสังคมได้ ในวิถีแห่งเศรษฐศาสตร์
หรือ เศรษฐศาสตร์ ตอบสนองเพียงความจำเป็นและความต้องการ ในเชิงเศรษฐกิจ เท่านั้น
ดังนั้น GDP ดีขึ้น แสดงว่า คนส่วนใหญ่จะมีความสุขมากขึ้น หาก (ความจำเป็น + ความต้องการ) คงที่
แต่สังเกตุว่า GDP จะแสดงผลที่ดีเยี่ยม หากคนส่วนใหญ่ได้รับอานิสงฆ์จากการขับดันไม่ต่างกันมากนัก
ข้อที่สงสัยอย่างหนึ่งคือ การผลักดัน GDP นั้น มีผลทำให้ (ความจำเป็น + ความต้องการ) เพิ่มขึ้นหรือไม่
อันนี้ทำให้คิดว่าเป็นผลทำให้หนี้เพิ่มขึ้นหรือไม่
ดูไปแล้ว หากใช้ GDP เป็นหลัก มันเป็นการพัฒนาจากบนสู่ล่าง
ซึ่งในระยะยาวคงส่งผลดั่งเช่นคุณด๊กดิงด่างกล่าวไว้
การเลือกเอาความแข็งแรงภาคเมืองไปรักษาภาคเกษตรเพื่อการยังชีพ
เป็นวิถีทางที่น่าสนใจมาก แต่นั่นต้องการความเข้มแข็งของคนที่มีโอกาศในสังคมผลักดัน
เพราะคนเหล่านี้ จะเป็นปราการด่านสุดท้าย ที่จะต่อต้านการกัดเซาะทำลายรากฐานของสังคม
เราไม่อาจพูดแต่ปากว่าอย่ามาเลยบางกอก ในขณะที่เราหาความสุขอย่างไม่ลืมหูลืมตา
เราไม่อาจบอกเขาว่าอย่าสิ้นเปลืองเลย ในขณะที่เราอยู่กันอย่างหรูหรา
มีอะไรหรือไม่ที่ควรดู คู่ไปกับ GDP ... ในเมื่อ GDP ไม่ได้บ่งบอกถึงความสุขของคนในสังคม
เนื่องเพราะท้ายที่สุด ... มีเงินล้นฟ้า ก็อาจหาความสุขไม่ได้ ก็มีให้เห็นอยู่มาก
หรือ เราไม่อาจวัดหรือพัฒนาความสุขของสังคมได้ ในวิถีแห่งเศรษฐศาสตร์
หรือ เศรษฐศาสตร์ ตอบสนองเพียงความจำเป็นและความต้องการ ในเชิงเศรษฐกิจ เท่านั้น
- Willpower
- Verified User
- โพสต์: 87
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ
โพสต์ที่ 42
คุณเจง นอนนึกมาเมื่อคืนได้ความว่า
ในส่วนผมว่าฐานะการคลังอยู่ในระดับปานกลางมากกว่า 8) ปกติเราใช้ดอก+เงินต้น ร้อยละ 15 ของเงินงบประมาณ เงินเดือน ร้อยละ 30 และมีรูมในการลงทุนประมาณ ร้อยละ 25-30 ถ้ารายได้รัฐมันบีบลงจนกระแทกกรอบล่างเงินเดือนหรือค่าใช้หนี้และค่าใช้จ่ายประจำ อันนี้แหละปัญหาเพราะรัฐต้องก่อหนี้เพิ่มทันที
เหตุที่เขาใช้อัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพี มาจากนักวิชาการไอเอ็มเอฟ (เนื่องไอเอ็มเอฟเป็นนักให้กู้)เขาไป solve สมการหา fiscal Sustainabilities หรือความยั่งยืนทางการคลัง ซะยืดยาวจนได้มาว่า ประเทศชาติจะอยู่ได้หรือใช้หนี้ไอเอ็มเอฟได้ต้องอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มี Growth เร็วกว่าการgrowth ของหนี้ ปกติ จีดีพีไม่ควรต่ำกว่าร้อยละ 3 หรือติดลบ ไม่งั้นหนี้มันจะโตเร็วกว่า อัตราแลกเปลี่ยนบาทยิ่งแข็งหนี้จะลดโดยอัตโมนัติ
จริง ๆ มันมีปัจจัยอื่นมากกว่านั้น พวกกลุ่ม ภาระผูกพัน สถาบันการเงินของรัฐหรืออะไรอีกมากมาย:?:
ในส่วนผมว่าฐานะการคลังอยู่ในระดับปานกลางมากกว่า 8) ปกติเราใช้ดอก+เงินต้น ร้อยละ 15 ของเงินงบประมาณ เงินเดือน ร้อยละ 30 และมีรูมในการลงทุนประมาณ ร้อยละ 25-30 ถ้ารายได้รัฐมันบีบลงจนกระแทกกรอบล่างเงินเดือนหรือค่าใช้หนี้และค่าใช้จ่ายประจำ อันนี้แหละปัญหาเพราะรัฐต้องก่อหนี้เพิ่มทันที
เหตุที่เขาใช้อัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพี มาจากนักวิชาการไอเอ็มเอฟ (เนื่องไอเอ็มเอฟเป็นนักให้กู้)เขาไป solve สมการหา fiscal Sustainabilities หรือความยั่งยืนทางการคลัง ซะยืดยาวจนได้มาว่า ประเทศชาติจะอยู่ได้หรือใช้หนี้ไอเอ็มเอฟได้ต้องอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มี Growth เร็วกว่าการgrowth ของหนี้ ปกติ จีดีพีไม่ควรต่ำกว่าร้อยละ 3 หรือติดลบ ไม่งั้นหนี้มันจะโตเร็วกว่า อัตราแลกเปลี่ยนบาทยิ่งแข็งหนี้จะลดโดยอัตโมนัติ
จริง ๆ มันมีปัจจัยอื่นมากกว่านั้น พวกกลุ่ม ภาระผูกพัน สถาบันการเงินของรัฐหรืออะไรอีกมากมาย:?:
-
- Verified User
- โพสต์: 312
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ
โพสต์ที่ 43
(เนื่องจากไม่มีเครื่องหมายคณิตศาสตร์ที่แป้นพิมพ์)ที่จริง
ความสุข มากกว่า/เท่ากับ ผลต่างของทั้งสองเทอม ตามคำตอบข้างบน แต่อย่างน้อยต้องเท่ากับศูนย์
ผมพยายามเซ็ทอัพสมการแบบเบสิคๆเพื่อใช้อธิบายสิ่งที่กำลังเป็นไปตามที่ผมเข้าใจ ถ้าผลต่างเป็นบวกก็ยิ่งดีตามที่คุณเวฟฯว่าไว้ ที่จีดีพีไม่ส่งอานิสงฆ์ไปเท่าเทียมกันให้คนส่วนใหญ่ก็เพราะจีดีพีมันต้องยืนอยู่บนพื้นฐานของทุนนิยมแบบเสรีซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ผิด(สังคมนิยมเพียวๆล่มไปแล้ว) คนที่มีความสามารถมากกว่าทำงานมากว่าเหนื่อยกว่าก็ต้องได้รับผลตอบแทนมากกว่าอันนี้ธรรมดา แต่เป้าหมายคือทุกคนควรมีผลต่างตามสมการเป็นบวกหรือมากกว่าศูนย์โดยปริมาณตั้งต้นของตัวแปรในสมการของแต่ละคนไม่จำเป็นต้องเท่ากัน
จีดีพีมีผลแน่นอนที่ทำให้หนี้เพิ่ม เพราะพฤติกรรมการเลียนแบบซึ่งเป็นเรื่องของใจ(อยู่ในส่วนของความต้องการมากกว่าความจำเป็น)เป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่เรียกว่าความสามารถในการควมคุมตนเองหรือการเลือก(ซึ่งคู่กับทางเลือกตัวนี้แหละที่ผมว่าต้องดูควบคู่ไปกับจีดีพี)
ขณะที่จีดีพีเพิ่มขึ้นทางเลือกของแต่ละคนลดลงหรือเพิ่มขึ้น คนที่มีเงินมากกับคนที่มีเงินน้อย(ระดับบนและล่างตามโครงสร้างของระบบทุนนิยมเสรี)ใครมีทางเลือกมากหรือน้อยหรือไม่มีเลย แน่นอนระดับบนมีโอกาสมากกว่าอย่างชัดเจน ถ้าจีดีพีเพิ่มแล้วทำให้คนมีทางเลือกน้อยลงการทำให้สมการข้างบนเป็นบวกก็คงน้อยลงด้วย(ไม่สามารถตอบสนองความจำเป็นและความต้องการได้สำเร็จ) จีดีพีเพิ่มขึ้นแล้วดึงคนให้เข้ามาสู่ระบบทุนนิยมมากขึ้นบีบให้ความสามารถเฉพาะตัวลดลงความสุขก็คงลดลง มีใครเคยพูดไว้ว่าทุนนิยมมันกลืนกินตัวมันเองตลอดเวลา(หาเท่าไรก็ไม่พอใช้ไม่มั่นคง) ในที่สุดอาจจะลำบากกันทั้งระบบ
ทางออกที่จะรักษาความสุขไว้นั่นคือการรักษาทางเลือกและโอกาสในการเลือกไว้ ซึ่งทางเลือกที่เหมาะสมกับสังคมไทยเราและน่าจะอยู่ได้อย่างยั่งยืนตามความเห็นของผมก็คือการเกษตรเพื่อการยังชีพที่คนส่วนใหญ่มีพื้นฐานอยู่แล้ว(ไม่ปฏิเสธทางเลือกอื่นซึ่งอาจเข้าคู่กับความสามารถในการควบคุมตนเองหรือการเลือกของแต่ละคนแตกต่างกันไป) แบบว่าอยู่ในเมืองก็มีตังค์กลับบ้านนอกก็มีกิน ผู้ที่มีโอกาสในการผลักดันอย่างเข้มแข็งก็คือภาครัฐที่มีรัฐบาลเป็นผู้นำ แต่รัฐบาลก็ต้องตระหนักในแนวคิดนี้มากกว่าว่าต้องรักษาความสมดุลย์ของเมืองกับชนบทไว้และรับรู้ตลอดว่าปัจจุบันเสียสมดุลย์หรือยัง ความเห็นผมก็คือเสียสมดุลย์มาตั้งนานแล้ว ชนบทล่มสลายมีแต่คนแก่กับเด็กในหมู่บ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นสูญหาย ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย ฯลฯ มีการพูดถึงมานานซึ่งที่จริงรัฐบาลก็แก้ไขอยู่แต่ผมเห็นว่าโอกาสสำเร็จมันน้อยไปหน่อย(ความทุ่มเทจริงจังต่ำ)ไม่เหมือนโปรเจ็คในเขตเมือง
ถ้ารัฐจำกัดการเติบโตของเมืองนำเงินที่จะใช้ในเมกกะโปรเจ็ค ไปฟื้นฟูระบบนิเวศน์ในชนบทในรูปของการจ้างงานประชาชนรายย่อย มีภาครัฐ ภาคเอกชนและสถาบันวิชาการต่างๆเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงอย่างเต็มที่ วางเป้าหมายพื้นที่ต้นแบบ ผลิตผลเป้าหมาย จำนวนประชาชนที่เข้าร่วม ระยะเวลาหวังผลตามความเป็นไปได้ทางวิชาการ แบบทำโครงการอย่างเข้มข้นเป็นเมกกะโปรเจ็คภาคชนบทผมว่าจีดีพีที่เพิ่มขึ้นเพราะการเติบโตของชนบทจะหนุนให้เมืองมั่นคงมากขึ้นแบบที่ไม่กลืนกินตัวเอง ไม่ทำให้ทางเลือกของคนส่วนใหญ่ลดลง
สรุปว่า จีดีพีคู่กับทางเลือก ถ้าจีดีพีเพิ่มแต่ทางเลือกลด ความสุขน่าจะลด ถือว่าไม่สำเร็จ รัฐต้องเอาภาษีจากจีดีพีไปรักษาความสมดุลย์และทางเลือกไว้ตลอดเวลา
เป็นแค่ความคิดเห็นหนึ่ง ไม่ใช่แฟ็ค
ความสุข มากกว่า/เท่ากับ ผลต่างของทั้งสองเทอม ตามคำตอบข้างบน แต่อย่างน้อยต้องเท่ากับศูนย์
ผมพยายามเซ็ทอัพสมการแบบเบสิคๆเพื่อใช้อธิบายสิ่งที่กำลังเป็นไปตามที่ผมเข้าใจ ถ้าผลต่างเป็นบวกก็ยิ่งดีตามที่คุณเวฟฯว่าไว้ ที่จีดีพีไม่ส่งอานิสงฆ์ไปเท่าเทียมกันให้คนส่วนใหญ่ก็เพราะจีดีพีมันต้องยืนอยู่บนพื้นฐานของทุนนิยมแบบเสรีซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ผิด(สังคมนิยมเพียวๆล่มไปแล้ว) คนที่มีความสามารถมากกว่าทำงานมากว่าเหนื่อยกว่าก็ต้องได้รับผลตอบแทนมากกว่าอันนี้ธรรมดา แต่เป้าหมายคือทุกคนควรมีผลต่างตามสมการเป็นบวกหรือมากกว่าศูนย์โดยปริมาณตั้งต้นของตัวแปรในสมการของแต่ละคนไม่จำเป็นต้องเท่ากัน
จีดีพีมีผลแน่นอนที่ทำให้หนี้เพิ่ม เพราะพฤติกรรมการเลียนแบบซึ่งเป็นเรื่องของใจ(อยู่ในส่วนของความต้องการมากกว่าความจำเป็น)เป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่เรียกว่าความสามารถในการควมคุมตนเองหรือการเลือก(ซึ่งคู่กับทางเลือกตัวนี้แหละที่ผมว่าต้องดูควบคู่ไปกับจีดีพี)
ขณะที่จีดีพีเพิ่มขึ้นทางเลือกของแต่ละคนลดลงหรือเพิ่มขึ้น คนที่มีเงินมากกับคนที่มีเงินน้อย(ระดับบนและล่างตามโครงสร้างของระบบทุนนิยมเสรี)ใครมีทางเลือกมากหรือน้อยหรือไม่มีเลย แน่นอนระดับบนมีโอกาสมากกว่าอย่างชัดเจน ถ้าจีดีพีเพิ่มแล้วทำให้คนมีทางเลือกน้อยลงการทำให้สมการข้างบนเป็นบวกก็คงน้อยลงด้วย(ไม่สามารถตอบสนองความจำเป็นและความต้องการได้สำเร็จ) จีดีพีเพิ่มขึ้นแล้วดึงคนให้เข้ามาสู่ระบบทุนนิยมมากขึ้นบีบให้ความสามารถเฉพาะตัวลดลงความสุขก็คงลดลง มีใครเคยพูดไว้ว่าทุนนิยมมันกลืนกินตัวมันเองตลอดเวลา(หาเท่าไรก็ไม่พอใช้ไม่มั่นคง) ในที่สุดอาจจะลำบากกันทั้งระบบ
ทางออกที่จะรักษาความสุขไว้นั่นคือการรักษาทางเลือกและโอกาสในการเลือกไว้ ซึ่งทางเลือกที่เหมาะสมกับสังคมไทยเราและน่าจะอยู่ได้อย่างยั่งยืนตามความเห็นของผมก็คือการเกษตรเพื่อการยังชีพที่คนส่วนใหญ่มีพื้นฐานอยู่แล้ว(ไม่ปฏิเสธทางเลือกอื่นซึ่งอาจเข้าคู่กับความสามารถในการควบคุมตนเองหรือการเลือกของแต่ละคนแตกต่างกันไป) แบบว่าอยู่ในเมืองก็มีตังค์กลับบ้านนอกก็มีกิน ผู้ที่มีโอกาสในการผลักดันอย่างเข้มแข็งก็คือภาครัฐที่มีรัฐบาลเป็นผู้นำ แต่รัฐบาลก็ต้องตระหนักในแนวคิดนี้มากกว่าว่าต้องรักษาความสมดุลย์ของเมืองกับชนบทไว้และรับรู้ตลอดว่าปัจจุบันเสียสมดุลย์หรือยัง ความเห็นผมก็คือเสียสมดุลย์มาตั้งนานแล้ว ชนบทล่มสลายมีแต่คนแก่กับเด็กในหมู่บ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นสูญหาย ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย ฯลฯ มีการพูดถึงมานานซึ่งที่จริงรัฐบาลก็แก้ไขอยู่แต่ผมเห็นว่าโอกาสสำเร็จมันน้อยไปหน่อย(ความทุ่มเทจริงจังต่ำ)ไม่เหมือนโปรเจ็คในเขตเมือง
ถ้ารัฐจำกัดการเติบโตของเมืองนำเงินที่จะใช้ในเมกกะโปรเจ็ค ไปฟื้นฟูระบบนิเวศน์ในชนบทในรูปของการจ้างงานประชาชนรายย่อย มีภาครัฐ ภาคเอกชนและสถาบันวิชาการต่างๆเข้าไปเป็นพี่เลี้ยงอย่างเต็มที่ วางเป้าหมายพื้นที่ต้นแบบ ผลิตผลเป้าหมาย จำนวนประชาชนที่เข้าร่วม ระยะเวลาหวังผลตามความเป็นไปได้ทางวิชาการ แบบทำโครงการอย่างเข้มข้นเป็นเมกกะโปรเจ็คภาคชนบทผมว่าจีดีพีที่เพิ่มขึ้นเพราะการเติบโตของชนบทจะหนุนให้เมืองมั่นคงมากขึ้นแบบที่ไม่กลืนกินตัวเอง ไม่ทำให้ทางเลือกของคนส่วนใหญ่ลดลง
สรุปว่า จีดีพีคู่กับทางเลือก ถ้าจีดีพีเพิ่มแต่ทางเลือกลด ความสุขน่าจะลด ถือว่าไม่สำเร็จ รัฐต้องเอาภาษีจากจีดีพีไปรักษาความสมดุลย์และทางเลือกไว้ตลอดเวลา
เป็นแค่ความคิดเห็นหนึ่ง ไม่ใช่แฟ็ค
การทำอะไรแบบเดิมๆเป็นเวลานานๆทำให้ชีวิตเสียหาย
-
- Verified User
- โพสต์: 1474
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ
โพสต์ที่ 44
อืม....ผมอ่านของคุณ ดดด ผมชักงง บอกตามตรงนะครับไม่ใช่ว่าไม่เห็นด้วยกับไอเดีย แต่ ความสุขกับGDPมันคนละเรื่องกันเลยนะครับ เพราะสมการของGDPเกิดจาก การบริโภคภาคประชาขน(C)+การลงทุนภาคเอกชน(I)+การใช้จ่ายและลงทุนภาครัฐ(G)+ส่วนต่างระหว่างการส่งออกและนำเข้า(X-M) หรือเขียนอีกทีให้ดูง่ายหน่อยก็คือ GDP=C+I+G+X-M ซึ่งหลายๆท่านก็รู้จักสมการนี้ดี แต่ขอให้ดูในสมการนะครับไม่มี H หรือ Happyness เลยนะครับ คือประเด็นของ GDPมันเป็นเรื่องของ"การบริหารทรัพยากรครับ"มันคนละเรื่องกับ"การบริหารความสุข"ซึ่งเป็นมิติด้านสังคม คือการมองมิติของประเทศจะต้องดูหลายๆมิติและแยกแต่ละมิติออกจากกัน อันได้แก่ มิติด้านเสถียรภาพทางการเมือง มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคมและคุณภาพชีวิต มิติด้านการศึกษาและสันทนาการ มิติด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร เป็นต้น ดังนั้นการผมผมบอกว่าอ่านของคุณ ดดด แล้วงงก็เพราะคุณเอาเรื่องมิติด้านสังคมมาอ่านบนมิติด้านเศรษฐกิจ มันเลยเหมือนมั่วๆงงๆ ดังนั้นถ้าจะมองมิติด้านสังคมไม่ต้องไปดูGDPครับ มันไม่เกี่ยวกันเลย แต่สิ่งที่ต้องดูคือ ประเด็นเรื่องความทั่วถึงของบริการภาครัฐ โครงสร้างการใช้จ่าย การกระจายอำนาจ และมิติของการศึกษาเป็นปัจจัยเกื้อหนุน เป็นต้น ซึ่งผมว่าถ้าเรามองแบบแยกมิติจะทำให้เราเห็นภาพที่ชัดเจนมากกว่านะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1474
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ
โพสต์ที่ 45
ยกตัวอย่างเอาให้เห็นง่ายๆหน่อยเรื่องมิติด้านสังคม สิ่งที่น่าจะนำมาพิจารณา 1.ระดับการรู้หนังสือ 2.ระดับรายได้ประชากร 3.อัตราการว่างงานและอัตราการมีงานทำ 4.สถิติการเกิดอาชญากรรม 5.การเข้าถึงบริการภาครัฐ 6.ปริมาณการถือครองที่ดินและการมีที่ดินทำกิน เป็นต้น เห็นไหมครับถ้าเรามองแบบนี้น่าจะเห็นภาพหรือมองปัญหาของคุณ ดดด ได้ง่ายขึ้นกว่ามองโดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า GDP กว่าไหมครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 312
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ
โพสต์ที่ 46
ใช่ครับคนละตัว ผมก็ว่า(เขียน)ไว้อย่างนั้น เพียงแต่หยิบเอานามธรรมเชิงคุณภาพของแต่ละตัวมาจัดความสัมพันธ์เพื่อพยายามอธิบายแนวคิดของผม ซึ่งไม่อาจกำหนดเป็นตัวเลขเชิงปริมาณได้ กล่าวโดยสรุป
1.ความสุขเกิดจากความจำเป็นและความต้องการที่ได้รับการตอบสนอง(ผลต่างเท่ากับหรือมากกว่าศูนย์)
2.ความจำเป็นและความต้องการที่ได้รับการตอบสนองส่วนหนึ่งเกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ(การแลกเปลี่ยนซื้อขาย)ทั้งระดับบุคคลต่อบุคคล บุคคลกับองค์กรและองค์กรกับองค์กร อันนี้เป็นจีดีพีได้
3.รัฐได้ค่าต๋ง(ภาษี)จาก2.
4.จีดีพีเพิ่มบนโครงสร้างของทุนนิยมเสรีทำให้ทางเลือกและความสุขของคนบางระดับน้อยลงเพราะต้องทุ่มเทเพื่อเงินเอามาแลกเปลี่ยนกับ1.
5.รัฐควรเอา3.ไปฟื้นฟูรักษาชนบทซึ่งประชาชนดำเนินชีวิตด้วยการเกษตรเพื่อการยังชีพให้เกิดทางเลือกและความสมดุลย์ระหว่างเมืองกับชนบทซึ่งจะทำให้เกิด1.ได้มากขึ้น
ที่คุณgenieว่าผมก็เข้าใจตามนั้น แต่รัฐจะบริหารความสุขของประชาชนได้รัฐก็ต้องมีงบที่มาจากภาษีซึ่งมาจากจีดีพีอีกที แล้วบังคับใช้งบให้เกิดความสำเร็จในมิติต่างๆตามที่คุณgenieกล่าวถึง ที่เห็นต่างก็คือจีดีพีกับโครงสร้างแบบทุนนิยมเสรีและความสุขเกี่ยวข้องกัน เน้นที่ว่าให้รัฐเอาภาษีจากจีดีพีไปสร้างทางเลือกในการดำเนินชีวิตของประชาชนเพื่อชดเชยด้านลบของโครงสร้างแบบทุนนิยมเสรีให้มากขึ้นครับ
1.ความสุขเกิดจากความจำเป็นและความต้องการที่ได้รับการตอบสนอง(ผลต่างเท่ากับหรือมากกว่าศูนย์)
2.ความจำเป็นและความต้องการที่ได้รับการตอบสนองส่วนหนึ่งเกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจ(การแลกเปลี่ยนซื้อขาย)ทั้งระดับบุคคลต่อบุคคล บุคคลกับองค์กรและองค์กรกับองค์กร อันนี้เป็นจีดีพีได้
3.รัฐได้ค่าต๋ง(ภาษี)จาก2.
4.จีดีพีเพิ่มบนโครงสร้างของทุนนิยมเสรีทำให้ทางเลือกและความสุขของคนบางระดับน้อยลงเพราะต้องทุ่มเทเพื่อเงินเอามาแลกเปลี่ยนกับ1.
5.รัฐควรเอา3.ไปฟื้นฟูรักษาชนบทซึ่งประชาชนดำเนินชีวิตด้วยการเกษตรเพื่อการยังชีพให้เกิดทางเลือกและความสมดุลย์ระหว่างเมืองกับชนบทซึ่งจะทำให้เกิด1.ได้มากขึ้น
ที่คุณgenieว่าผมก็เข้าใจตามนั้น แต่รัฐจะบริหารความสุขของประชาชนได้รัฐก็ต้องมีงบที่มาจากภาษีซึ่งมาจากจีดีพีอีกที แล้วบังคับใช้งบให้เกิดความสำเร็จในมิติต่างๆตามที่คุณgenieกล่าวถึง ที่เห็นต่างก็คือจีดีพีกับโครงสร้างแบบทุนนิยมเสรีและความสุขเกี่ยวข้องกัน เน้นที่ว่าให้รัฐเอาภาษีจากจีดีพีไปสร้างทางเลือกในการดำเนินชีวิตของประชาชนเพื่อชดเชยด้านลบของโครงสร้างแบบทุนนิยมเสรีให้มากขึ้นครับ
การทำอะไรแบบเดิมๆเป็นเวลานานๆทำให้ชีวิตเสียหาย
-
- Verified User
- โพสต์: 312
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ
โพสต์ที่ 48
นั่นดิ อยาถือสาผมนะ ผมแค่นักเศษกระดาษ(ฮาๆๆ)
การทำอะไรแบบเดิมๆเป็นเวลานานๆทำให้ชีวิตเสียหาย
-
- Verified User
- โพสต์: 1
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ
โพสต์ที่ 49
### ตอบพี่เจ๋ง
เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาใหม่ที่ไม่สมบูรณ์ ไม่มีหลักการไหนที่แน่นอนน่ะครับ เหมือนกับถามว่าทำไม หนี้ต่อGDPถึงห้ามเกิน 50 ทำไม 50.1 ไมได้เหรอ
นักเศรษฐศาสตร์คือกลุ่มคนที่ไม่รู้และพยายามค้นหาข้อสรุปจนถึงปัจจุบันก็ยังเป็นแบบนั้นก็คือ..ยังไม่รู้
ในช่วงนึง ทฤษฎีของนักเศรษฐศาสตร์ที่ช่วยให้ประเทศหนึ่งๆในเวลานั้นเจริญเติบโตได้ จะเป็นที่ยอมรับ แน่นอนว่าไม่นานมันก็วิกฤตเศรษฐกิจ เจ๊ง จน ตามเดิม
ถ้าหากมีใครมาบอกวิธีการทำให้เศรษฐกิจมันเจริญได้ไม่มีที่สิ้นสุด ก็หมายความว่า ไม่มีวัฏฐจักรเศรษฐกิจอีกต่อไป ต่อไปนี้
มีแต่ความ รวย รวย รวย กับ รวย เมื่อนั้นวิชาเศรษฐศาสตร์อาจจะสมบุรณ์ มันก็เหมือนกับที่คนเราพยายามจะหนีออกจากวัฏฏะสงสารนั่นแหละครับ
สภาพของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันนี้ที่มันเหมือนกับว่าทุกประเทศติดหนี้จริงๆแล้วเงินน่ะถูกปล่อยมาจากสหรัฐ จินตนาการไปว่า เหนือโลกนี้ในชั้นอวกาศมีก๊อกน้ำยักษ์ปล่อยน้ำลงมาสู่โลก สภาพปัจจุบันมันเป็นแบบนี้ จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม พูดยาวไปก็งง แล้วก็ไม่มีเหตุผล ไม่มีที่มาที่ไปอยู่ดี
แน่นอนว่าประเทศไทยอยุ่ในวัฏฐจักรเศรษฐกิจ และเป็นช่วงฟื้นฟูปลอมหลังวิกฤตปี 40 ผมหมายถึงมันกำลังจะค่อยๆ เจ๊ง..
กินเวลานานแค่ไหน นานครับ อาจจะ5-10 ปีหรือ 20ปี เศรษฐกิจไทยจะตกต่ำ จนไปสิ้นสุดเมื่อ CLSA บอกว่า ผมจะไม่มาลงทุนที่ประเทศไทยอีกผมจะไปจากประเทศนี้ถาวร และเมื่อนั้น ถึงจะเป็นช่วงเริ่มต้นยุคทองของการลงทุนใหม่อีกครั้ง ที่จะนำไปสู่ความฮ็อทในการเก็งกำไรที่จะทำให้เซ็ทไปถึง 2000 จุด
จะให้ดีต้องภาวนาให้ประเทศไทยวิกฤติอีกทีไวๆ
สาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบันคือเรื่องของการกระจุกตัวของรายได้ และก็เรื่องเทคนิคการผลิต เรื่องของอุปสงค์ต่ำระดับ ถ้ารัฐไม่มาแก้ตรงนี้ แต่กลับไปแก้โดยการปล่อยให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นโดยไม่เพิ่มดอกเบี้ย ก็จะช่วยชะลอปัญหาโดยเป็นการซ้ำเติมให้เกิดความเลวร้ายมากขึ้นในวันข้างหน้าครับ
ทั้งหมดนี้เป็นความคิดของผมในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ที่ทำคะแนนได้ต่ำที่สุดในรุ่นครับ ปัจจุบันยังไม่มีผลงานอะไร ยังไม่เคยทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ทุกวันนี้ยังทุ่มเทเวลาทั้งหมดเพื้อการแก้ปัญหาในหลายๆเรื่องที่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์และผมไม่เคยใช้ทฤษฎีจากตำราเรียนเก่าๆ มาเป็นบรรทัดฐาน ผมให้คุณค่ากับหนังสือเหล่านี้เป็นแค่บันทึกประวัติศาสตร์เท่านั้น
เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาใหม่ที่ไม่สมบูรณ์ ไม่มีหลักการไหนที่แน่นอนน่ะครับ เหมือนกับถามว่าทำไม หนี้ต่อGDPถึงห้ามเกิน 50 ทำไม 50.1 ไมได้เหรอ
นักเศรษฐศาสตร์คือกลุ่มคนที่ไม่รู้และพยายามค้นหาข้อสรุปจนถึงปัจจุบันก็ยังเป็นแบบนั้นก็คือ..ยังไม่รู้
ในช่วงนึง ทฤษฎีของนักเศรษฐศาสตร์ที่ช่วยให้ประเทศหนึ่งๆในเวลานั้นเจริญเติบโตได้ จะเป็นที่ยอมรับ แน่นอนว่าไม่นานมันก็วิกฤตเศรษฐกิจ เจ๊ง จน ตามเดิม
ถ้าหากมีใครมาบอกวิธีการทำให้เศรษฐกิจมันเจริญได้ไม่มีที่สิ้นสุด ก็หมายความว่า ไม่มีวัฏฐจักรเศรษฐกิจอีกต่อไป ต่อไปนี้
มีแต่ความ รวย รวย รวย กับ รวย เมื่อนั้นวิชาเศรษฐศาสตร์อาจจะสมบุรณ์ มันก็เหมือนกับที่คนเราพยายามจะหนีออกจากวัฏฏะสงสารนั่นแหละครับ
สภาพของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันนี้ที่มันเหมือนกับว่าทุกประเทศติดหนี้จริงๆแล้วเงินน่ะถูกปล่อยมาจากสหรัฐ จินตนาการไปว่า เหนือโลกนี้ในชั้นอวกาศมีก๊อกน้ำยักษ์ปล่อยน้ำลงมาสู่โลก สภาพปัจจุบันมันเป็นแบบนี้ จะด้วยเหตุผลใดก็ตาม พูดยาวไปก็งง แล้วก็ไม่มีเหตุผล ไม่มีที่มาที่ไปอยู่ดี
แน่นอนว่าประเทศไทยอยุ่ในวัฏฐจักรเศรษฐกิจ และเป็นช่วงฟื้นฟูปลอมหลังวิกฤตปี 40 ผมหมายถึงมันกำลังจะค่อยๆ เจ๊ง..
กินเวลานานแค่ไหน นานครับ อาจจะ5-10 ปีหรือ 20ปี เศรษฐกิจไทยจะตกต่ำ จนไปสิ้นสุดเมื่อ CLSA บอกว่า ผมจะไม่มาลงทุนที่ประเทศไทยอีกผมจะไปจากประเทศนี้ถาวร และเมื่อนั้น ถึงจะเป็นช่วงเริ่มต้นยุคทองของการลงทุนใหม่อีกครั้ง ที่จะนำไปสู่ความฮ็อทในการเก็งกำไรที่จะทำให้เซ็ทไปถึง 2000 จุด
จะให้ดีต้องภาวนาให้ประเทศไทยวิกฤติอีกทีไวๆ
สาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบันคือเรื่องของการกระจุกตัวของรายได้ และก็เรื่องเทคนิคการผลิต เรื่องของอุปสงค์ต่ำระดับ ถ้ารัฐไม่มาแก้ตรงนี้ แต่กลับไปแก้โดยการปล่อยให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นโดยไม่เพิ่มดอกเบี้ย ก็จะช่วยชะลอปัญหาโดยเป็นการซ้ำเติมให้เกิดความเลวร้ายมากขึ้นในวันข้างหน้าครับ
ทั้งหมดนี้เป็นความคิดของผมในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ที่ทำคะแนนได้ต่ำที่สุดในรุ่นครับ ปัจจุบันยังไม่มีผลงานอะไร ยังไม่เคยทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ทุกวันนี้ยังทุ่มเทเวลาทั้งหมดเพื้อการแก้ปัญหาในหลายๆเรื่องที่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์และผมไม่เคยใช้ทฤษฎีจากตำราเรียนเก่าๆ มาเป็นบรรทัดฐาน ผมให้คุณค่ากับหนังสือเหล่านี้เป็นแค่บันทึกประวัติศาสตร์เท่านั้น
-
- Verified User
- โพสต์: 1474
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ
โพสต์ที่ 51
ตอบประเด็นของคุณดดดครับ
คือประเด็นเรื่องGDPเอาง่ายๆแบบเห็นภาพเลยนะครับ GDP เป็นการสะท้อนภาพของความมั่งคั่งของประเทศ เหมือนภาพของคนรวยคนมีตังค์ประมาณนั้น แต่ผมคงต้องถามว่า คนรวยมีตังค์มาก มีความสุขจริงหรือ คือตัวเลขGDPมันก็ไม่ต่างกับตัวเลขในบัญชี ไม่สามารถบอกได้ว่าคนๆนั้นมีความสุขหรือไม่ ดังนั้นผมถึงบอกว่าGDPไม่ได้เกี่ยวข้องกับความสุขของประเทศยังไงละครับ แต่สิ่งที่จะบอกได้เบื้องต้น(ย้ำนะครับเบื้องต้น) ก็คือเรื่องต่างๆอย่างที่กล่าวไปแล้ว เครื่องมือพวกนี้ต่างหากที่จะชี้วัดความสุข เหมือนจะวัดความสุขของครอบครัว เราดูที่ตัวเลขในบัญชีหรือครับ? ซึ่งหลายๆท่านก็ทราบดีว่าเงินซื้อความสุข(ที่แท้จริง)ไม่ได้ ดังนั้นถ้าจะวัดต้องดูปัจจัยอื่น เช่น ปริมาณการที่พ่อแม่ลูกกอดกัน ปริมาณการกินข้าวพร้อมกัน หรือ จำนวนชั่วโมงที่พูดคุยกัน เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือที่ผมบอกข้างต้นน่าจะวัดระดับความสุขของครอบครัวได้มากกว่าตัวเลขในบัญชีหรือไม่ครับ หนึ่งในประเด็นสำคัญสำหรับการวิเคราะห์คือ การใช้เครื่องมือที่ถูกต้องครับ
ตอบประเด็นของคุณดดดไหมครับ :)
คือประเด็นเรื่องGDPเอาง่ายๆแบบเห็นภาพเลยนะครับ GDP เป็นการสะท้อนภาพของความมั่งคั่งของประเทศ เหมือนภาพของคนรวยคนมีตังค์ประมาณนั้น แต่ผมคงต้องถามว่า คนรวยมีตังค์มาก มีความสุขจริงหรือ คือตัวเลขGDPมันก็ไม่ต่างกับตัวเลขในบัญชี ไม่สามารถบอกได้ว่าคนๆนั้นมีความสุขหรือไม่ ดังนั้นผมถึงบอกว่าGDPไม่ได้เกี่ยวข้องกับความสุขของประเทศยังไงละครับ แต่สิ่งที่จะบอกได้เบื้องต้น(ย้ำนะครับเบื้องต้น) ก็คือเรื่องต่างๆอย่างที่กล่าวไปแล้ว เครื่องมือพวกนี้ต่างหากที่จะชี้วัดความสุข เหมือนจะวัดความสุขของครอบครัว เราดูที่ตัวเลขในบัญชีหรือครับ? ซึ่งหลายๆท่านก็ทราบดีว่าเงินซื้อความสุข(ที่แท้จริง)ไม่ได้ ดังนั้นถ้าจะวัดต้องดูปัจจัยอื่น เช่น ปริมาณการที่พ่อแม่ลูกกอดกัน ปริมาณการกินข้าวพร้อมกัน หรือ จำนวนชั่วโมงที่พูดคุยกัน เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือที่ผมบอกข้างต้นน่าจะวัดระดับความสุขของครอบครัวได้มากกว่าตัวเลขในบัญชีหรือไม่ครับ หนึ่งในประเด็นสำคัญสำหรับการวิเคราะห์คือ การใช้เครื่องมือที่ถูกต้องครับ
ตอบประเด็นของคุณดดดไหมครับ :)
-
- Verified User
- โพสต์: 1474
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ
โพสต์ที่ 52
โถคุณCWไม่ต้องงงหรอกครับ ผมเองต้องเรียนเป็นปีกว่าจะเข้าใจ ยิ่งตอนเรียนตรีนะซ้ำแล้วซ้ำอีก บอกตรงๆเศรษฐศาสตร์มันไม่ใช่เรื่องง่ายครับ เพราะคุณต้องแม่นในเรื่องของตรรกศาสตร์แบบตกผลึก ไม่งั้นคุณวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์คุณจะปวดกระบาลตาย :lovl:
-
- Verified User
- โพสต์: 84
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ
โพสต์ที่ 54
ผีเสื้อน้อยขยับปีกในแดนไกล
ก่อให้เกิดพายุใหญ่ในแผ่นดิน
แม้เราจะรู้มากเพียงใดในกระจกใบนี้
กระจกใบอื่นอีกห้าด้าน ก็ไม่อาจมองข้าม
แยกเพื่อพิชิต แต่ต้องรวมเพื่อยั่งยืน
การแลกเปลี่ยนความรู้นี้ เป็นประโยชน์จริงๆ
... แต่ว่า ... GDP ย่อมาจากอะไรหรือ
ช่างยากเกินปัญญาจะเข้าใจ ... นั่นคงถึงเวลาเดินทางต่อแล้วสินะ
จาก ... นักเดินทาง เพื่อนเต่าโบราณในกะลา
ก่อให้เกิดพายุใหญ่ในแผ่นดิน
แม้เราจะรู้มากเพียงใดในกระจกใบนี้
กระจกใบอื่นอีกห้าด้าน ก็ไม่อาจมองข้าม
แยกเพื่อพิชิต แต่ต้องรวมเพื่อยั่งยืน
การแลกเปลี่ยนความรู้นี้ เป็นประโยชน์จริงๆ
... แต่ว่า ... GDP ย่อมาจากอะไรหรือ
ช่างยากเกินปัญญาจะเข้าใจ ... นั่นคงถึงเวลาเดินทางต่อแล้วสินะ
จาก ... นักเดินทาง เพื่อนเต่าโบราณในกะลา
-
- Verified User
- โพสต์: 312
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ
โพสต์ที่ 55
ตอบคุณgenie
ผมปล่าวบอกว่าจีดีพีเป็นตัวบอกว่าประชาชนมีความสุขหรือไม่นะครับ แต่บอกว่าจีดีพีกับความสุขของคนในประเทศ มีความสัมพันธ์กัน และมองว่าจีดีพีที่โตบนระบบทุนนิยมเสรีทำให้คนส่วนหนึ่งมีความสุขน้อยลงเพราะมีทางเลือกน้อยลง จีดีพีเพิ่มความสุขอาจจะเพิ่มหรือลดก็ได้ ขึ้นอยู่กับการบริหารความสัมพันธ์นั้นว่าจะทำอย่างไรกับเงิน(ถ้าของรัฐก็คือภาษี ของชาวบ้านก็เงินเดือน กำไร ฯลฯ) ในแง่รัฐผมก็บอกแล้วว่าควรนำภาษีไปสร้างทางเลือกให้กับคนชนบท(อาจมีวิธีอื่นๆอีก)ไม่ต้องเข้ามาลำบากในเมืองเพราะเข้ามาก็เป็นคนระดับล่างของระบบทุนนิยมเสรีซึ่งมีทางเลือกน้อย
ส่วนคนระดับบนมีทางเลือกมากกว่าเพราะฐานะทางการเงิน เช่นจะเอาเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้นก็ได้ เว้นแต่ไม่เลือกอันนี้(ไม่ใช่ไม่มีทางเลือก)แต่เลือกที่จะหาเพิ่มขึ้นเอาเวลาไปสนับสนุนกิจกรรมทางธุระกิจหรืออื่นๆแบบไม่ห่วงครอบครัวซึ่งเป็นเรื่องของความสามารถในการควบคุมตนเองหรือการเลือก(ตัวความจำเป็น+ความต้องการวิ่งเร็วเกินไป-อยู่ที่ใจ ?)
ถ้ารัฐจัดการได้ถูกต้องมิติด้านต่างๆที่เป็นตัววัดความสุขของประชาชนก็น่าจะดีขึ้น เว้นแต่ประชาชนจะไม่เลือกเอาความสุข
ผมปล่าวบอกว่าจีดีพีเป็นตัวบอกว่าประชาชนมีความสุขหรือไม่นะครับ แต่บอกว่าจีดีพีกับความสุขของคนในประเทศ มีความสัมพันธ์กัน และมองว่าจีดีพีที่โตบนระบบทุนนิยมเสรีทำให้คนส่วนหนึ่งมีความสุขน้อยลงเพราะมีทางเลือกน้อยลง จีดีพีเพิ่มความสุขอาจจะเพิ่มหรือลดก็ได้ ขึ้นอยู่กับการบริหารความสัมพันธ์นั้นว่าจะทำอย่างไรกับเงิน(ถ้าของรัฐก็คือภาษี ของชาวบ้านก็เงินเดือน กำไร ฯลฯ) ในแง่รัฐผมก็บอกแล้วว่าควรนำภาษีไปสร้างทางเลือกให้กับคนชนบท(อาจมีวิธีอื่นๆอีก)ไม่ต้องเข้ามาลำบากในเมืองเพราะเข้ามาก็เป็นคนระดับล่างของระบบทุนนิยมเสรีซึ่งมีทางเลือกน้อย
ส่วนคนระดับบนมีทางเลือกมากกว่าเพราะฐานะทางการเงิน เช่นจะเอาเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้นก็ได้ เว้นแต่ไม่เลือกอันนี้(ไม่ใช่ไม่มีทางเลือก)แต่เลือกที่จะหาเพิ่มขึ้นเอาเวลาไปสนับสนุนกิจกรรมทางธุระกิจหรืออื่นๆแบบไม่ห่วงครอบครัวซึ่งเป็นเรื่องของความสามารถในการควบคุมตนเองหรือการเลือก(ตัวความจำเป็น+ความต้องการวิ่งเร็วเกินไป-อยู่ที่ใจ ?)
ถ้ารัฐจัดการได้ถูกต้องมิติด้านต่างๆที่เป็นตัววัดความสุขของประชาชนก็น่าจะดีขึ้น เว้นแต่ประชาชนจะไม่เลือกเอาความสุข
การทำอะไรแบบเดิมๆเป็นเวลานานๆทำให้ชีวิตเสียหาย
-
- Verified User
- โพสต์: 312
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ
โพสต์ที่ 56
เพราะไม่รู้ว่าความสุขที่แท้จริงคืออะไร
การทำอะไรแบบเดิมๆเป็นเวลานานๆทำให้ชีวิตเสียหาย
-
- Verified User
- โพสต์: 1474
- ผู้ติดตาม: 0
ประเทศไทยจะรอดได้ไง ดูหนี้สาธารณะดิ
โพสต์ที่ 57
ผมไม่ปฏิเสธครับว่าGDPมีความสัมพันธ์กับความสุขของประชาชน เหมือนฐานะทางการเงินก็มีความสัมพันธ์ต่อความสุขของปัจเจกชนเช่นกัน แต่ถึงแม้มีความสัมพันธ์มันมีความสัมพันธ์ขนาดไหนครับ อธิบายความสุขได้แค่ไหนครับ 90% 80% 70%.........10%.....(ผมว่ามันไม่ถึง10%ด้วยซ้ำ) นี่คือสิ่งที่ผมพูดถึงครับ เพราะอย่างที่คุณดดดได้กล่าวไปแล้ว แม้GDPจะมีความสัมพันธ์กับความสุขของประชาชนแต่มันอธิบายได้น้อยมากครับ ถ้าคนที่เรียนวิชาสถิติน่าจะเข้าใจความหมายนี้ดี(ผมหมายถึงค่า R^2ครับ) เพราะมันเป็นเรื่องของความมั่งคั่งของประเทศ ดังนั้นถ้าเราจะพิจารณาว่า"รัฐ"ได้ให้ความสำคัญของประชาชนแค่ไหนเราไม่ควรพิจารณาแค่GDPหรือแม้แต่ไม่ควรใช้GDPเป็นตัวแปรในการวิเคราะห์ด้วยซ้ำเพราะมันอธิบายได้น้อย อีกทั้งในการที่รัฐให้ความสำคัญในเรื่องของGDPก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะเดี๋ยวนี้เขามีGPP(ผลผลิตมวลรวมรายจังหวัด)ด้วยนะครับ ลองไปดูที่เว็บสภาพัฒน์สิครับ แต่รู้สึกว่ากำลังอยู่ในช่วงพัฒนา ซึ่งตัวนี้แหละครับจะตอบโจทย์คุณดดดว่าความมั่งคั่งของประเทศได้ถูกกระจายออกไปตามภูมิภาคหรือไม่ นอกจากนี้จะมีเรื่องภาษีพัฒนาท้องถิ่นอีก ที่จะเป็นตัวชี้ถึงความสามารถในการบริหารท้องถิ่นอีกต่างหาก เครื่องมือมีให้เลือกเล่นเยอะครับ อย่ามองแค่ตัวเดียวเดี๋ยวจะงง :)
- ขงเบ้ง
- Verified User
- โพสต์: 399
- ผู้ติดตาม: 0
สินทรัพย์=หนี้สิน+ทุน
โพสต์ที่ 58
สินทรัพย์=หนี้สิน+ทุน :?: :?: :?: :?: :idea:
ไม่มีกลยุทธ์ใดตายตัวขึ้นอยู่กับสภาวะการณ์
เวลารุกคิดให้นานแต่เวลาถอยต้องเร็วไร้เงา
อิสรภาพทางการเงินเป็นแค่การเริ่มต้น
ปลายทาง คือ ความหลุดพ้น
ชีวิต คือ ความว่างเปล่า
ไม่มีใครหนีพ้นความตาย
แม้เป็นมหาเศรษฐีอันดับ 1ของโลก
เวลารุกคิดให้นานแต่เวลาถอยต้องเร็วไร้เงา
อิสรภาพทางการเงินเป็นแค่การเริ่มต้น
ปลายทาง คือ ความหลุดพ้น
ชีวิต คือ ความว่างเปล่า
ไม่มีใครหนีพ้นความตาย
แม้เป็นมหาเศรษฐีอันดับ 1ของโลก