มือใหม่ขอคำชี้แนะเรื่องแหล่งข้อมูล
- drchatri
- Verified User
- โพสต์: 767
- ผู้ติดตาม: 0
มือใหม่ขอคำชี้แนะเรื่องแหล่งข้อมูล
โพสต์ที่ 1
สวัสดีครับผม drchatri เพิ่งสมัครเป็น new hand VI ด้วยคนครับ อยากขอฝากเนื้อฝากตัวและขอคำชี้แนะด้วยคนนะครับ ผมเป็นหมอครับลูกหนึ่ง ภรรยาก็หนึ่ง(แฮะๆ ไม่คิดจะมีกิ๊ก นะครับ) ผมได้ศึกษาเรื่องการลงทุนมาบ้าง ได้เคยอ่านหนังสือของตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง รู้จักตนเอง รู้จักเครื่องมือ รู้จักจังหวะเวลา หุ้นห่านทองคำ ของ ดร.นิเวศน์ เริ่มมีความศรัทธาในแนวทาง และปรํชญาการลงทุนแบบ VI มาก ปัจจุบัน port ของผมมีเงินสดอยู่พอควร ทองนิดหน่อย และ หุ้นซึ่งมีแต่ LTF และกองทุนรวม (ของ TMBAM และ SCBAM) แต่ผมสังเกตว่าการลงทุนในกองทุนรวมเขาจะซื้อแต่หุ้น blueship high marget cap ยังไม่ค่อยสะใจโก๋เท่าไหร่ จึงอยากจะเริ่มลองสะสมหุ้นตามแนวทางแบบ VI เองบ้าง แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร รู้มาว่าเรื่องงบการเงิน ทั้งงบดุล งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสด สำคัญมาก และต้องศึกษาย้อนหลังอย่างน้อย 5ปี ไม่ทราบว่าแหล่งข้อมูลหาได้จากไหนครับ ผมเคยลองคลิกเข้าไปที่ Set.or.th หรือ settrade ก็ไม่เห็นข้อมูลครบ(หรือผมเข้าไม่เป็นก็ไม่ทราบ) หรือว่าต้องลงทุนสมัครเป็นสมาชิกวารสารตลาด หรือสมาชิก เพื่อซื้อข้อมูลพวกนี้ครับ อีกอย่างครับ ผมอยู่ นครสวรรค์ครับ มีBroker ดีๆ ที่ให้บริการข้อมูลอย่างเต็มใจแบบ VI หรือเปล่าครับ (ไม่ชอบการเกร้งกำไรครับ กะใช้สูตรอึดเต็มพิกัดแบบ ดร.นิเวศน์) ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ ปล.ตอนนี้ผมกำลังอ่านหนังสือ แก่นแท้ของบัฟเฟต์ และ เหนือกว่าวอลล์สตรีทของปีเตอร์ ลินซ์ด้วยครับ ขอบคุณมากครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
มือใหม่ขอคำชี้แนะเรื่องแหล่งข้อมูล
โพสต์ที่ 2
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ลัทธิครับ
แต่เป็นลัทธิที่ดีนะครับ มีแต่นำความเจริญ รุ่งเรืองมาให้กับชีวิต
ข้อมูลงบย้อนหลังคุณชาตรีสามารถหาได้จาก sec.or.th ครับ
คลิกเข้าไปที่ งบการเงินและหมายเหตุ สามารถดูย้อนหลังไปประมาณ 4-5 ปี ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเพียงพอแล้วสำหรับการลงทุน หากต้องการข้อมูลนานกว่านั้นต้องไปที่ห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์หรืออาศัยงบแบบคร่าวๆจากพี่ครรชิตครับ
ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นตัวเลขที่ชัดเจน แต่การลงทุนคงต้องอาศัยข้อมูลเชิงคุณภาพ เช่นความสามารถในการแข่งขัน ธรรมภิบาลของผู้บริหารและอื่นๆอีกหลายประเด็น ซึ่งไม่สามารถหาได้จากงบการเงิน ต้องอาศัยการติดตามข่าวสารเศรษกิจทั่วไป อ่านหนังสือพิมพ์ ทั้งจากตัวบริษัทเอง คู่แข่ง และภาวะอุตสาหกรรมครับ ฟังดูแล้วเหมือนยากนะครับ แต่ทำได้ง่ายๆ ใช้เวลา 1-2 ชม. ต่อวันก็น่าจะเพียงพอแล้วครับ โชคดีนะครับ
แต่เป็นลัทธิที่ดีนะครับ มีแต่นำความเจริญ รุ่งเรืองมาให้กับชีวิต
ข้อมูลงบย้อนหลังคุณชาตรีสามารถหาได้จาก sec.or.th ครับ
คลิกเข้าไปที่ งบการเงินและหมายเหตุ สามารถดูย้อนหลังไปประมาณ 4-5 ปี ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเพียงพอแล้วสำหรับการลงทุน หากต้องการข้อมูลนานกว่านั้นต้องไปที่ห้องสมุดตลาดหลักทรัพย์หรืออาศัยงบแบบคร่าวๆจากพี่ครรชิตครับ
ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นตัวเลขที่ชัดเจน แต่การลงทุนคงต้องอาศัยข้อมูลเชิงคุณภาพ เช่นความสามารถในการแข่งขัน ธรรมภิบาลของผู้บริหารและอื่นๆอีกหลายประเด็น ซึ่งไม่สามารถหาได้จากงบการเงิน ต้องอาศัยการติดตามข่าวสารเศรษกิจทั่วไป อ่านหนังสือพิมพ์ ทั้งจากตัวบริษัทเอง คู่แข่ง และภาวะอุตสาหกรรมครับ ฟังดูแล้วเหมือนยากนะครับ แต่ทำได้ง่ายๆ ใช้เวลา 1-2 ชม. ต่อวันก็น่าจะเพียงพอแล้วครับ โชคดีนะครับ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- ksnk
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 414
- ผู้ติดตาม: 0
มือใหม่ขอคำชี้แนะเรื่องแหล่งข้อมูล
โพสต์ที่ 3
ยินดีต้อนรับครับ :D
ข้อมูลงบย้อนหลังที่นี่ครับ
http://capital.sec.or.th/webapp/corp_fi ... ntent_id=1
ข้อมูลงบย้อนหลังที่นี่ครับ
http://capital.sec.or.th/webapp/corp_fi ... ntent_id=1
- drchatri
- Verified User
- โพสต์: 767
- ผู้ติดตาม: 0
drchatri
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณ คุณสูกอีสานมากครับ รู้สึกอบอุ่นขึ้นมาทันทีที่เข้ามาสู่ชมรมนี้ ผมว่าประเทศไทยเราน่าจะมีนักลงทุนแบบนี้มากๆนะครับ ตลาดเราจะได้พัฒนาดีๆ ปัจจุบันผมพอจะติดตามข่าวสารอยู่ค่อนข้างจะสมำเสมอพอสมควร ทั้งจากรายการทางช่อง MCOT และ ITV รวมถึง ช่อง 11และ money channel อ่าน นสพ.เกือบทุกวันโดยเฉพาะ กรุงเทพธรก.แต่ไม่ได้เจาะข้อมูลลึกมากนัก ใจผมเองยังค่อนข้างสนใจในการลงทุนแบบ Peter L. และ ดร.นิเวศน์ ที่เน้นการลงทุนในหุ้นที่เข้าใจง่าย และผลิตสินค้าที่เราใช้อยู่แล้วในชีวิตประจำวัน เช่นหุ้นกลุ่มอาหาร ตอนนี้ยังไม่ได้เปิดบัญชีเลยครับ ช่วยแนะนำวิธีการให้ด้วยครับ จะเป็นพระคุณยิ่ง ผมอยากได้โบกเกอร์ที่ไม่หวังแต่ค่าคอมนะครับ และยินทีที่จะตอบคำถามของเราในเรื่องข้อมูลขั้นพื้นฐานบ้างไม่ใช่จะเอาแต่ใบ้หวยรายวันแบบในจอทีวีหน่ะครับ (เฮ้อไม่รู้จะมีหรือเปล่าหนอ) เออครับ แล้วอีกอย่างเนื่องจากการลงทุนแบบ VI นี่ควรจะต้องอึดเต็มพิกัดแบบ อ.นิเวศน์ ผมยังมีข้อสงสัยอีกข้อครับ คือช่วงนี้ สถานการณ์บ้านเมืองโดยเฉพาะการเมืองไม่นิ่งเลย ผม่ค่อนข้างเป็นห่วงหน่ะครับ ข้อมูลเรื่องความไม่โปร่งใสในการบริหารของรัฐบาลก็ไม่ดี ผมเกรงว่าหากเกิดเหตุการณ์วิกฤติทางการเมืองขึ้นมาอย่างรุนแรง มันจะกระทบตลาดหุ้นทั้งหมดและจะกระทบหุ้น VI ของเรามากน้อยแค่ไหน ตอนนี้ใจหนึ่งก็อยากเริ่มทะยอยเก็บหุ้นเลยเพราะเห็นว่าช่วงนี้ ของดีราคาถูกน่าจะมีพอควรเพราะตลาดซบเซาแบบนี้ VI น่าจะชอบ แต่อีกใจหนึ่งก็กลัวมันจะ collaps ทั้งตลาดเหมือนกัน (จริงๆก็เคยอ่านหนังสือของ อ.นิเวศน์ที่ว่าท่านสามารถได้กำไรได้ในช่วง IMF ) ก็เลยยังค่อนข้างสับสนตัวเองเหมือนกันครับ แต่ใจหนึ่งก็อยากลองลงทุนจริงๆเลยเพื่อการเรียนรู้ เพราะถ้าไม่ปฎิบัติจริงรู้แต่ทฤษฎีก็คงไปไม่ถึงไหน ผมยินจะเจ็บตัวเพื่อการเรียนรู้ครับ ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ ขอบคุณครับ :D (Email:[email protected]
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
มือใหม่ขอคำชี้แนะเรื่องแหล่งข้อมูล
โพสต์ที่ 8
1.แนะนำให้เปิดบัญชีกับโบรคที่มีงานวิจัยดีครับ มีความมั่นคง เช่น asia plus, tisco, cns ครับ และแนะนำให้เปิดบัญชีที่ซื้อขายผ่านอินเตอร์เนต ไม่ต้องผ่านมาร์ เพราะจะจ่ายค่าคอมถูกกว่า และสะดวกมากครับ ถ้าไปเปิดบัญชีเจ้าหน้าที่อาจจะแนะนำให้ซื้อขายผ่านมาร์ อย่าใจอ่อนนะครับ ให้ยืนยันว่าต้องการซื้อขายผ่านอินเตอร์เนตเท่านั้น หากเกิดกรณีที่คอมเสีย connect internet ไม่ได้เราก็ยังโทรไปซื้อขายผ่านมาร์ได้อยู่ดีครับ
2.เหตุการณ์ภายนอกเราไม่สามารถควบคุมได้ครับ การก่อการร้าย โรคระบาด เศรษกิจตกต่ำ การเมืองยุ่งเหยิง แต่สิ่งที่เราควบคุมได้ คือการเลือกบริษัทที่ดี ซึ่งหากหุ้นที่เลือกดีจริง ในที่สุดราคาก็จะสะท้อนแน่นอนครับ ไม่ช้าก็เร็ว ไม่ว่าเหตุการณ์ภายนอกต่างๆจะเป็นอย่างไร ผมถือหุ้นเต็ม 100% ตลอด ไม่เคยกลัวเหตุการณ์ต่างๆ ตอน 9-11 ผมก็ยังซื้อ แต่หากเป็นข่าวที่มีผลต่อเศรษกิจอย่างชัดเจน ผมก็ต้องพิจารณาปรับพอร์ตด้วยเช่นกันครับ
หากจะเป็นนักลงทุนระยะยาว เราต้องเจอเหตุการณ์ในด้านลบต่างๆเข้ามามากมายแน่นอนที่สุด ใจเราต้องนิ่งและมีเหตุมีผล ไม่อย่างนั้น เราก็ซื้อๆขายๆ กลายเป็นนักลงทุนระยะสั้นไป
3.ลงทุนเริ่มต้นแนะนำให้ซื้อหุ้นที่ดูงบไม่ยาก ไม่ซับซ้อน ติดตามข่าวได้ไม่ยาก ความเสี่ยงต่ำ เช่น กลุ่มอาหาร กลุ่มค้าปลีกครับ
2.เหตุการณ์ภายนอกเราไม่สามารถควบคุมได้ครับ การก่อการร้าย โรคระบาด เศรษกิจตกต่ำ การเมืองยุ่งเหยิง แต่สิ่งที่เราควบคุมได้ คือการเลือกบริษัทที่ดี ซึ่งหากหุ้นที่เลือกดีจริง ในที่สุดราคาก็จะสะท้อนแน่นอนครับ ไม่ช้าก็เร็ว ไม่ว่าเหตุการณ์ภายนอกต่างๆจะเป็นอย่างไร ผมถือหุ้นเต็ม 100% ตลอด ไม่เคยกลัวเหตุการณ์ต่างๆ ตอน 9-11 ผมก็ยังซื้อ แต่หากเป็นข่าวที่มีผลต่อเศรษกิจอย่างชัดเจน ผมก็ต้องพิจารณาปรับพอร์ตด้วยเช่นกันครับ
หากจะเป็นนักลงทุนระยะยาว เราต้องเจอเหตุการณ์ในด้านลบต่างๆเข้ามามากมายแน่นอนที่สุด ใจเราต้องนิ่งและมีเหตุมีผล ไม่อย่างนั้น เราก็ซื้อๆขายๆ กลายเป็นนักลงทุนระยะสั้นไป
3.ลงทุนเริ่มต้นแนะนำให้ซื้อหุ้นที่ดูงบไม่ยาก ไม่ซับซ้อน ติดตามข่าวได้ไม่ยาก ความเสี่ยงต่ำ เช่น กลุ่มอาหาร กลุ่มค้าปลีกครับ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- drchatri
- Verified User
- โพสต์: 767
- ผู้ติดตาม: 0
มือใหม่ขอคำชี้แนะเรื่องแหล่งข้อมูล
โพสต์ที่ 9
ขอบคุณ คุณสูกอีสานมากๆครับ ข้อมูลเคลียร์และเข้าใจดีครับ เคลียร์ความคิดผมได้ดีมาก และผมชอบสโลแกนนี้มากครับ "การลงทุนคืออาหารมื้อที่อร่อยที่สุดเมื่อมันเย็นดีแล้ว" มันแทบจะให้ข้อคิดตรงกับปรัชญาการลงทุนแบบ VI อย่างครบถ้วนที่เดียวครับ ไว้เปิดบัญชีเมื่อไหร่จะปรึกษาอีกทีนะครับ
- drchatri
- Verified User
- โพสต์: 767
- ผู้ติดตาม: 0
drchatri
โพสต์ที่ 10
อ้อ ผมลืมบอกไปนะครับ คือผมเป็นหมอเฉพาะทางด้านอายุรกรรมทั่วไป ส่วนภรรยาเป็นหมอด้านกุมารเวชกรรม(หมอเด็ก ไม่ใช่หมอฟันเด็กนะครับ ) หากคุณ ลูกอิสาน ksnk genie มีปัญหาทางการแพทย์ ผมยินดีรับใช้นะครับ เมล์มาคุยกันได้ครับที่ [email protected] ยินดีที่ได้ รู้จักนะครับ :lol:
- harry
- Verified User
- โพสต์: 4200
- ผู้ติดตาม: 0
Re: drchatri
โพสต์ที่ 11
ผมว่ามีแค่พวกเรากลุ่มเล็กๆนี้พอแล้วนะ เยอะเกินไป เด๋วราคามันไม่ลงอ่ะdrchatri เขียน:ขอบคุณ คุณสูกอีสานมากครับ รู้สึกอบอุ่นขึ้นมาทันทีที่เข้ามาสู่ชมรมนี้ ผมว่าประเทศไทยเราน่าจะมีนักลงทุนแบบนี้มากๆนะครับ
Expecto Patronum!!!!!!
- drchatri
- Verified User
- โพสต์: 767
- ผู้ติดตาม: 0
มือใหม่ขอคำชี้แนะเรื่องแหล่งข้อมูล
โพสต์ที่ 12
เอ่อ..เพิ่งนึกได้หน่ะครับอยากจะถามเพิ่มอีกนิดนะครับ หุ้นแบบ VI นี่เท่าที่ผมเข้าใจคิดว่าจะเป็นหุ้นดีที่มีอัตราการเติบโตในแง่ของกำไร แล้วสามารถนำกำไรไปลงทุนเพิ่มเพื่อผลประกอบการที่เพิ่มนำไปสู่มูลค่าหุ้นที่เติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ต้องรบกวนขอเงินลงทุนเพิ่มด้วยการก่อหนี้หรือ ขายหุ้นเพิ่มทุนแก่ผู้ลงทุนใช่หรือไม่ และไม่จำเป็นใช่หรือไม่ที่จะต้องเป็นหุ้นที่มีการจ่ายเงินปันผลมากๆ สมำเสมออย่างที่เรามักจะเรียกว่าหุ้นห่านทองคำใช่ไหมครับ เพราะหุ้นพวกนี้อาจเป็นหุ้นที่เรียกอีกอย่างว่า พระอาทิตย์กำลังจะตกดินคือหมดมุขในการนำเงินไปต่อเงินด้วยการขยายกิจการ ผู้บริหารหมดไฟ เลยนำเงินกำไรมาจ่ายปันผลมากๆ เพื่อเอาใจผู้ถือหุ้น แต่ระยะยาวแล้วไม่ดีจริงเนื่องจากเมื่อไม่มีการขยายกิจการต่อไป ความสามารถในการแข่งขันก็จะลดลงในที่สุด ในที่สุดรายได้ก็ลดลง จนมูลค่าลดลงในที่สุด คุ้นๆว่าเคยอ่านเจอในหนังสือของ ดร.นิเวศน์ครับ ดังนั้นหุ้น VI ที่ดีไม่จำเป็นว่าต้องเป็นหุ้นที่จ่ายปันผลดีใช่หรือไม่ แต่บาง concept ก็เห็นแนะนำให้หาหุ้นประเภทห่านทองคำติด port ไว้บ้าง ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าผมเข้าใจแนวนี้ถูกหรือเปล่าครับ ขอบคุณมากครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
มือใหม่ขอคำชี้แนะเรื่องแหล่งข้อมูล
โพสต์ที่ 13
ขอบคุณครับ คุณหมอชาตรี
ไว้หากมีอะไร คงได้รบกวนครับ
แต่ใจจริงไม่อยากคุยกับหมอครับ อยากสบายๆดีกว่า :lol: :lol:
ความหมายของหุ้นแบบ vi คือเป็นหุ้นที่ราคาต่ำกว่าพื้นฐาน ดังนั้นเราต้องรู้ว่าราคาพื้นฐานควรเป็นเท่าไหร่ หรืออย่างน้อยก็รู้คร่าวๆ การจะหาราคาพื้นฐานได้ก็ต้องศึกษาจากข้อมูลต่างๆ ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพครับ
มาถึงคำถามว่าหุ้น vi ควรจะปันผลสูงๆหรือเปล่า มองตามหลักการ หากกิจการสามารถนำกำไรไปลงทุนต่อ ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าผู้ถือหุ้นจะทำได้ กิจการก็ไม่ควรปันผล เหมือน Berkshiere ของวอร์เรน ที่ไม่ปันผล เพราะเค้าคิดว่าหากเงินอยู่ในบริษัท สามารถทำผลตอบแทนได้สูงกว่า การคืนเงินให้ผู้ถือหุ้นนำไปหาประโยชน์เอง แต่หากกิจการไม่สามารถทำอย่างนั้นได้ ก็ควรคืนเงินให้ผู้ถือหุ้นเช่นการปันผล หรือซื้อหุ้นคืน
หากถามผม การนำเงินไปลงทุนต่อ มีความเสี่ยงพอสมควร โดยเฉพาะลงทุนในกิจการใหม่ๆ แต่เงินปันผลเป็นเงินที่ผู้ถือหุ้นได้รับทันที ไม่มีความเสี่ยง ดังนั้นหุ้นที่ผมชอบคือหุ้นที่มีความสามารถในการแข่งขันในตัวเอง(ไม่ต้องใช้จ่ายมากมายเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน) จ่ายปันผลสูง และเหลือส่วนที่จะนำไปลงทุนต่อครับ
ไว้หากมีอะไร คงได้รบกวนครับ
แต่ใจจริงไม่อยากคุยกับหมอครับ อยากสบายๆดีกว่า :lol: :lol:
ความหมายของหุ้นแบบ vi คือเป็นหุ้นที่ราคาต่ำกว่าพื้นฐาน ดังนั้นเราต้องรู้ว่าราคาพื้นฐานควรเป็นเท่าไหร่ หรืออย่างน้อยก็รู้คร่าวๆ การจะหาราคาพื้นฐานได้ก็ต้องศึกษาจากข้อมูลต่างๆ ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพครับ
มาถึงคำถามว่าหุ้น vi ควรจะปันผลสูงๆหรือเปล่า มองตามหลักการ หากกิจการสามารถนำกำไรไปลงทุนต่อ ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าผู้ถือหุ้นจะทำได้ กิจการก็ไม่ควรปันผล เหมือน Berkshiere ของวอร์เรน ที่ไม่ปันผล เพราะเค้าคิดว่าหากเงินอยู่ในบริษัท สามารถทำผลตอบแทนได้สูงกว่า การคืนเงินให้ผู้ถือหุ้นนำไปหาประโยชน์เอง แต่หากกิจการไม่สามารถทำอย่างนั้นได้ ก็ควรคืนเงินให้ผู้ถือหุ้นเช่นการปันผล หรือซื้อหุ้นคืน
หากถามผม การนำเงินไปลงทุนต่อ มีความเสี่ยงพอสมควร โดยเฉพาะลงทุนในกิจการใหม่ๆ แต่เงินปันผลเป็นเงินที่ผู้ถือหุ้นได้รับทันที ไม่มีความเสี่ยง ดังนั้นหุ้นที่ผมชอบคือหุ้นที่มีความสามารถในการแข่งขันในตัวเอง(ไม่ต้องใช้จ่ายมากมายเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน) จ่ายปันผลสูง และเหลือส่วนที่จะนำไปลงทุนต่อครับ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- drchatri
- Verified User
- โพสต์: 767
- ผู้ติดตาม: 0
มือใหม่ขอคำชี้แนะเรื่องแหล่งข้อมูล
โพสต์ที่ 14
ขอบคุณมากครับคุณลูกอิสาน จริงแล้วคุยกับหมอตอนที่ยังปรกติสุขดีอยู่นี่ดีกว่านะครับ ไม่ต้องรอจนแย่แล้วค่อยหาหมอ :lol: ผมเป็นหมออายุรกรรมที่ต้องดูแลคนไข้ที่เกี่ยวกับโรคอย่างเช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ซึ่งโรคต่างๆ เหล่านี้เป็นโรคต้นทางที่จะนำไปสู่โรคร้ายปลายทางเช่นโรคเส้นโลหิตในหัวใจตีบ และโรคอัมพฤก อัมพาต (ฟังแล้วเริ่มน่ากลัวไหมเนี่ยที่มาคุยกับหมอ) อย่าเพิ่งกลัวนะครับ เพราะที่ผมชี้แจงให้ฟังอย่างนี้ ผมกำลังจะบอกคุณลูกอิสานหน่ะครับว่า เราน่าจะมองการดูแลสุขภาพในแง่มุมของการลงทุนแบบเน้นคุณค่าได้ คือถ้าเรารู้ว่าเราควรดูแลตัวเองอย่างไร เราก็มีสุขภาพดีๆ อีกนานซึ่งจะกลายเป็นการลดค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่จะเกิดในอนาคต ผมเคยอ่านหนังสือของ ดร.สุวรรณ หน่ะครับที่แกบอกเรื่องว่าแกวิดพื้นทุกวัน และระมัดระวังเรื่องอาหารการกิน อ่านแล้วก็ชอบใจ และผมก็เป็นหมอที่อยากดูแลคนไข้ตอนที่สุขภาพดีๆ คุยกันเฮฮาไม่ใช่เจอกันตอนร่อแร่แล้ว คนไข้ประจำผมที่เป็นนายธนาคาร นักธุรกิจ ข้าราชการก็มีเยอะครับ ชอบคุยกับผมทั้งนั้น
มาเข้าเรื่องลงทุนต่อดีกว่า(ออกนอกเรื่องไปตั้งไกล) ผมพอเข้าใจแล้วครับเรื่องมูลค่าหุ้นที่สูงกว่าราคาของมัน รู้สึกว่าจะเป็นสูตรสำเร็จในการเข้าซื้อกิจการของ เบนเกรแฮม พระอาจารย์ของบัฟเฟต์ แต่ เท่าที่ได้เคยอ่านต่อมารู้สึกว่าตอนหลังบัฟเฟต์ก็มีแหกกฎนี้อยู่เหมือนกันคือไม่ได้จ้องแต่จะซื้อกิจการที่สินทรัพย์หักด้วยหนี้สินแล้วคำนวณเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นมีมูลค่าทางบัญชีมากกว่าราคาหุ้นอย่างเดียว เพราะพบว่าหุ้นที่มีสักษณะอย่างนี้อาจกำลังกลายเป็นหุ้นที่กำลังจะแย่ และต่อมาบัฟเฟต์ได้ผนวกความคิดของเพื่อนนนักลงทุนอีกท่าน (ผมจำชื่อไม่ได้ )กับอีกคนรู้สึกว่าจะเป็น ปีเตอร์ ลินซ์นี่แหล่ะที่ เปลี่ยนแนวความคิดที่ว่าจะซื้อแต่กิจการที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงเป็นซื้อกิจการในราคาที่ "เหมาะสม" แทน นั่นคืออาจเป็นกิจการที่ราคาไม่ได้ต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานก็จริง แต่นะตอนที่ซื้อมันเป็นราคาที่สมเหตุสมผลแล้ว โดยไปเน้นกับ การวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพมากขึ้น เช่นความสามารถในการแข่งขัน ความแข็งแกร่งของแบรนด์ อัตราการเจริญเติบโตของกำไร ประสิทธิภาพของบริษัท เพราะเขามองว่าซื้อกิจการนี้มาแล้วถึงจะไม่ใช่ของถูกเลหลังแต่ก็เป็นของดีที่จะทำกำไรในระยะยาว ไม่แน่ใจว่าผมว่ามานี้ถูกต้องหรือเปล่าครับ
ส่วนประเด็นเรื่องเงินปันผล ผมเข้าใจแล้วครับ คุณลูกอิสานพูดเหมือนที่ ดร.สุวรรณ เปรียบเทียบการลงทุนในหุ้นก็เหมือนเราเอาเรือสำเภาออกไปขายสินค้าได้เงินกลับมาก็ตอบทะยอยนำขึ้นมาเก็บบนฝั่งก่อน เพราะขืนไม่นำขึ้นฝั่งแต่ออกทะเลไปอีก ระหว่างทางอาจเจอคลื่นลมมรสุมพัดเรืออัปปางลงเลยกลายเป็นจมไปอยู่ก้นทะเลหมด อย่างน้อยถ้าเก็บขึ้นมาก่อน(ได้เงินปันผล ก็ยังมีเหลืออยู่) ตามความคิดผมก็ค่อนข้างเห็นด้วยครับ เพราะตลาดบ้านเรายังใหม่ และก็ไม่เก่งอย่างบัฟเฟต์ด้วยคงใจไม่ด้านพอเหมือนกัน ถ้าได้ปันผลก็เอาไว้ก่อนดีกว่า
มาเข้าเรื่องลงทุนต่อดีกว่า(ออกนอกเรื่องไปตั้งไกล) ผมพอเข้าใจแล้วครับเรื่องมูลค่าหุ้นที่สูงกว่าราคาของมัน รู้สึกว่าจะเป็นสูตรสำเร็จในการเข้าซื้อกิจการของ เบนเกรแฮม พระอาจารย์ของบัฟเฟต์ แต่ เท่าที่ได้เคยอ่านต่อมารู้สึกว่าตอนหลังบัฟเฟต์ก็มีแหกกฎนี้อยู่เหมือนกันคือไม่ได้จ้องแต่จะซื้อกิจการที่สินทรัพย์หักด้วยหนี้สินแล้วคำนวณเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นมีมูลค่าทางบัญชีมากกว่าราคาหุ้นอย่างเดียว เพราะพบว่าหุ้นที่มีสักษณะอย่างนี้อาจกำลังกลายเป็นหุ้นที่กำลังจะแย่ และต่อมาบัฟเฟต์ได้ผนวกความคิดของเพื่อนนนักลงทุนอีกท่าน (ผมจำชื่อไม่ได้ )กับอีกคนรู้สึกว่าจะเป็น ปีเตอร์ ลินซ์นี่แหล่ะที่ เปลี่ยนแนวความคิดที่ว่าจะซื้อแต่กิจการที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงเป็นซื้อกิจการในราคาที่ "เหมาะสม" แทน นั่นคืออาจเป็นกิจการที่ราคาไม่ได้ต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานก็จริง แต่นะตอนที่ซื้อมันเป็นราคาที่สมเหตุสมผลแล้ว โดยไปเน้นกับ การวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพมากขึ้น เช่นความสามารถในการแข่งขัน ความแข็งแกร่งของแบรนด์ อัตราการเจริญเติบโตของกำไร ประสิทธิภาพของบริษัท เพราะเขามองว่าซื้อกิจการนี้มาแล้วถึงจะไม่ใช่ของถูกเลหลังแต่ก็เป็นของดีที่จะทำกำไรในระยะยาว ไม่แน่ใจว่าผมว่ามานี้ถูกต้องหรือเปล่าครับ
ส่วนประเด็นเรื่องเงินปันผล ผมเข้าใจแล้วครับ คุณลูกอิสานพูดเหมือนที่ ดร.สุวรรณ เปรียบเทียบการลงทุนในหุ้นก็เหมือนเราเอาเรือสำเภาออกไปขายสินค้าได้เงินกลับมาก็ตอบทะยอยนำขึ้นมาเก็บบนฝั่งก่อน เพราะขืนไม่นำขึ้นฝั่งแต่ออกทะเลไปอีก ระหว่างทางอาจเจอคลื่นลมมรสุมพัดเรืออัปปางลงเลยกลายเป็นจมไปอยู่ก้นทะเลหมด อย่างน้อยถ้าเก็บขึ้นมาก่อน(ได้เงินปันผล ก็ยังมีเหลืออยู่) ตามความคิดผมก็ค่อนข้างเห็นด้วยครับ เพราะตลาดบ้านเรายังใหม่ และก็ไม่เก่งอย่างบัฟเฟต์ด้วยคงใจไม่ด้านพอเหมือนกัน ถ้าได้ปันผลก็เอาไว้ก่อนดีกว่า
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
มือใหม่ขอคำชี้แนะเรื่องแหล่งข้อมูล
โพสต์ที่ 15
ขอบคุณ คุณหมอชาตรีครับ
ที่จริงการลงทุนในสุขภาพก็เป็นการลงทุนที่จำเป็นอย่างนึงนะครับ และโดยเฉพาะการลงทุนแบบ vi ที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการทบต้น หากเรามีอายุยืน ก็มีโอกาสในการทบต้นสูงๆ ดร.นิเวศน์ท่านเคยพูดทำนองว่า ปัจจุบันปัญหาของท่านไม่ใช่การเลือกหุ้น แต่เป็นการพยายามรักษาสุขภาพ เพื่อให้สามารถลงทุนได้นานที่สุดครับ
ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับว่า หมอด้านอายุรกรรม เป็นหมอที่เกี่ยวข้องกับโรคที่ต้องใช้ยาในการบำบัด ใช่ไหมครับ งั้นผมขอรับความปราถนาดี :lol: ด้วยการถามคำถามสัก 2-3 ข้อนะครับ เผื่อเป็นประโยชน์กับท่านอื่นๆด้วย..
1.ปกติคนทั่วไป ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอายุเท่าไหร่ครับ
2.แนวทางในการกิน อยู่ เพื่อป้องกันโรคข้างต้น มีแนวทางอย่างไรครับ
3.จำเป็นหรือเปล่าที่เราควรทานอาหาร- วิตามินเสริมครับ
เข้าเรื่องการลงทุนนะครับ เท่าที่ผมเข้าใจ การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ที่นิยม มี 2 แนวทางครับ คือ
1.การซื้อหุ้นราคาถูกถึงถูกมาก โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพมากนัก เจ้าของแนวคิดนี้ก็คือ Benjamin Graham บิดาแห่งการลงทุนแบบเน้นคุณค่า อาจารย์คนแรกของวอร์เรน แนวคิดนี้คือซื้อหุ้นที่ราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์ในงบดุล และขายไปหากราคาเพิ่มขึ้นหรือสะท้อนมูลค่าไปแล้ว ข้อเสียของแนวคิดนี้คือ เป็นการมองที่ด้านเดียว คือตัวเลขในงบดุล แต่ไม่มองอนาคตของกิจการ เพราะหากในอนาคตกิจการขาดทุนไปเรื่อยๆ สินทรัพย์เหล่านี้ก็จะลดลง หายไปได้เช่นกัน ระยะเริ่มแรกในชีวิตการลงทุนวอร์เรนใช้แนวคิดนี้อย่างเคร่งครัด การเข้าซื้อ Berkshier Hataway ก็เกิดจากแนวคิดนี้
2. ต่อมาเมื่อวอร์เรนได้อ่าน Common Stocks and Uncommon Profits เขียนโดย Philip Fisher ก็ความประทับใจมาก และได้เดินทางไปพบ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และนับแต่นั้นมา วอร์เรนก็ใช้แนวคิดนี้ในการเลือกหุ้นมากขึ้นเรื่อยๆครับ
แนวคิดนี้เลือกหุ้นโดยให้ความสำคัญของปัจจัยคุณภาพค่อนข้างมาก โดยไม่ให้ความสำคัญกับราคาที่ซื้อหุ้นมากนัก เรียกว่าซื้อหุ้นคุณภาพดีมาก ในราคาที่สมเหตสมผล
ผมสรุปว่าทั้ง 2 แนวคิดก็เป็นการลงทุนแบบเน้นคุณค่าเหมือนกัน ต่างกันที่วิธีการ วิธีหนึ่ง ซื้อหุ้นที่ถูกในปัจจุบัน มองสิ่งที่จับต้องได้ ในขณะที่วิธีที่สอง ซื้อหุ้นที่ถูกเมื่อมองไปในอนาคต ให้ความสำคัญกับคุณภาพที่จับต้องไม่ได้ครับ
ที่จริงการลงทุนในสุขภาพก็เป็นการลงทุนที่จำเป็นอย่างนึงนะครับ และโดยเฉพาะการลงทุนแบบ vi ที่ต้องอาศัยระยะเวลาในการทบต้น หากเรามีอายุยืน ก็มีโอกาสในการทบต้นสูงๆ ดร.นิเวศน์ท่านเคยพูดทำนองว่า ปัจจุบันปัญหาของท่านไม่ใช่การเลือกหุ้น แต่เป็นการพยายามรักษาสุขภาพ เพื่อให้สามารถลงทุนได้นานที่สุดครับ
ผมเข้าใจถูกหรือเปล่าครับว่า หมอด้านอายุรกรรม เป็นหมอที่เกี่ยวข้องกับโรคที่ต้องใช้ยาในการบำบัด ใช่ไหมครับ งั้นผมขอรับความปราถนาดี :lol: ด้วยการถามคำถามสัก 2-3 ข้อนะครับ เผื่อเป็นประโยชน์กับท่านอื่นๆด้วย..
1.ปกติคนทั่วไป ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอายุเท่าไหร่ครับ
2.แนวทางในการกิน อยู่ เพื่อป้องกันโรคข้างต้น มีแนวทางอย่างไรครับ
3.จำเป็นหรือเปล่าที่เราควรทานอาหาร- วิตามินเสริมครับ
เข้าเรื่องการลงทุนนะครับ เท่าที่ผมเข้าใจ การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ที่นิยม มี 2 แนวทางครับ คือ
1.การซื้อหุ้นราคาถูกถึงถูกมาก โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพมากนัก เจ้าของแนวคิดนี้ก็คือ Benjamin Graham บิดาแห่งการลงทุนแบบเน้นคุณค่า อาจารย์คนแรกของวอร์เรน แนวคิดนี้คือซื้อหุ้นที่ราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์ในงบดุล และขายไปหากราคาเพิ่มขึ้นหรือสะท้อนมูลค่าไปแล้ว ข้อเสียของแนวคิดนี้คือ เป็นการมองที่ด้านเดียว คือตัวเลขในงบดุล แต่ไม่มองอนาคตของกิจการ เพราะหากในอนาคตกิจการขาดทุนไปเรื่อยๆ สินทรัพย์เหล่านี้ก็จะลดลง หายไปได้เช่นกัน ระยะเริ่มแรกในชีวิตการลงทุนวอร์เรนใช้แนวคิดนี้อย่างเคร่งครัด การเข้าซื้อ Berkshier Hataway ก็เกิดจากแนวคิดนี้
2. ต่อมาเมื่อวอร์เรนได้อ่าน Common Stocks and Uncommon Profits เขียนโดย Philip Fisher ก็ความประทับใจมาก และได้เดินทางไปพบ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และนับแต่นั้นมา วอร์เรนก็ใช้แนวคิดนี้ในการเลือกหุ้นมากขึ้นเรื่อยๆครับ
แนวคิดนี้เลือกหุ้นโดยให้ความสำคัญของปัจจัยคุณภาพค่อนข้างมาก โดยไม่ให้ความสำคัญกับราคาที่ซื้อหุ้นมากนัก เรียกว่าซื้อหุ้นคุณภาพดีมาก ในราคาที่สมเหตสมผล
ผมสรุปว่าทั้ง 2 แนวคิดก็เป็นการลงทุนแบบเน้นคุณค่าเหมือนกัน ต่างกันที่วิธีการ วิธีหนึ่ง ซื้อหุ้นที่ถูกในปัจจุบัน มองสิ่งที่จับต้องได้ ในขณะที่วิธีที่สอง ซื้อหุ้นที่ถูกเมื่อมองไปในอนาคต ให้ความสำคัญกับคุณภาพที่จับต้องไม่ได้ครับ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- drchatri
- Verified User
- โพสต์: 767
- ผู้ติดตาม: 0
มือใหม่ขอคำชี้แนะเรื่องแหล่งข้อมูล
โพสต์ที่ 16
ขอบคุณมากครับคุณลูกอิสาน ยินดีรับใช้บ้างครับ
1.การตรวจสุขภาพประจำปี จริงๆไม่ได้มีกำหนดตายตัวครับว่าเท่าไหร่ควรตรวจเช็ค แต่ที่นิยมทำกันในปัจจุบัน ควรเริ่มตรวจอย่างช้า คือ อายุตั้งแต่ 30-35ปี เนื่องจากในวัยนี้สมรรถภาพ และสรีรวิทยาของระบบต่างๆในร่างกายเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยลงไปตามวัยครับ(เริ่มแก่ อิอิ :lol: ) การตรวจในวัยนี้ที่น่าตรวจก็คือ CBC(complete blood cout คือความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดต่างๆ มีโลหิตจาง หรือโรคเลือดหรือไม่), BUN/Cr และ UAคือการตรวจสมรรถภาพไต และคุณภาพของปัสสาวะ, FBS หรือการตรวจหาเบาหวาน, Lipid profile ได้แก่ การตรวจหาระดับไขมันในเลือด ซึ่งประกอบด้วยChol TG HDL LDL, LFT(Liver Function Test คือการตรวจความผิดปรกติของตับ), Chest film คือการตรวจเอ็กซเรย์ทรวงอก ตรวจดู วัณโรคปอด โรคระบบทางเดินหายใจที่อาจเกิดจาการทำงาน มะเร็งปอด , EKG คือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจหาโรคหัวใจเช่นโรคเส้นโลหิตในหัวใจตีบ, stool exam คือการตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิ หรือดูว่ามีเลือดออกในทางเดินอาหารหรือไม่ ซึ่งเป็นสัญญาญเตือนว่าอาจมีมะเร็งร้ายซ่อนอยู่ในระบบทางเดินอาหารของเรา ผมคิดว่าเท่าที่น่าจำเป็นก็เพียงพอครับ ยกเว้นบางคนมีปัญหาพิเศษก็อาตรวจอย่างอื่นเพิ่มอีก เช่น พวกเคยเที่ยวซุกซน อาจตรวจ VDRLเพื่อหาว่าเคยติดเชื้อSyphilis หรือไม่ (บางคนขอตรวจ antiHIV ด้วย) บางคนมีประวัติครอบครัวเป็นโรคทางตับอักเสบ อาจขอตรวจ HBsAg เพื่อดูว่าตนเองเคยได้รับเชื้อเป็นพาหะตับอักเสบบี ซึ่งอาเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับได้ ถ้าอายุมากขึ้น ที่เรียกกันว่าเมเข้าสู่วัยทอง(ตรงนี้ในผู้ชายไม่มีกำหนดชัดเจนแต่ในผู้หญิงก็คือวัยหมดประจำเดือน อายุราวๆ 45-55 ปี ในคนวัยนี้เริ่มมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งมากขึ้น อาจตรวจเพิ่มขึ้นอีกหลายอย่าง เช่นการตรวจ ltrasound ช่องท้อง การครวจหา tumor marker ของมะเร็งต่างๆ) สำหรับคุณผู้หญิงก็ต้องตรวจ Papsmear หามะเร็งปากมดลูกระยะแรกซึ่งแนะนำให้ตรวจในหญิงวัยเจริญพันธุ์ทุกคน ตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกปี บางคนครวจเอ็กซเรย์ลำไส้ใหญ่ด้วย กล่าวโดยสรุปคือเราควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจร่างกายประจำปี ตั้งแต้อายุ 30-35ปีเป็นต้นไป ส่วนรายละเอียดให้ปรึกษาอายุรแพทย์ประจำตัวของท่านได้ครับ เอ่อ..แนะนำอีกอย่างนะครับว่าการตรวจสุขภาพพวกนี้ถ้าจะให้ครบถ้วนที่เราต้องการ คงต้องเสียเงินตรวจเองดีกว่าครับ หรือหน่วยงานบางหน่วยงานก็จะมีสิทธิ์ให้อยู่แล้ว แต่จะไปใช้สิทธิ์ ปกส.หรือ 30บ.คงไม่ได้นะครับ อย่าไปทะเลาะกับหมอเพื่อขอให้หมอสั่งตรวจให้เลยครับเพราะมันไม่อยู่ในความคุ้มครอง
2.เรื่องการออกกำลังกายโดยรวมก็ดีทั้งนั้นครับ แต่ที่จะมีประโยชน์อย่างชัดเจนต่อการเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายและหัวใจก็คือการออกกำลังที่เรียกว่า แอโรบิก เอกเซอไซ ซึ่งเป็นการออกกำลังกายโดยให้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ได้เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องจนเกิดการเผาผลาญนำเอาพลังงาน และไขมันส่วนเกินที่สะสมอยู่ออกมาใช้ เป็นการหมุนเวียนเอาพลังงานเก่ามาใช้ ถ้ากินเข้าไปใหม่ก็ไปสะสมใหม่ ไม่ใช่มีแต่เกินไปเรือยๆ กิจกรรมที่เข้าข่ายนี้ก็คือ วิ่งจ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดินเร็ว เต้นแอโรบิก หรือการออกกำลังกายแนวใหม่เช่นชกมวยผสมท่าเต้นแอโรบิก ขอให้มีการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ต่อเนื่องและหนักพอเป็นใช้ได้ครับ สำหรับผมนิยมว่ายน้ำ และเดินเร็วครับ เคยวิ่ง แต่ไม่ค่อยชอบครับเพราะมักประสบปัญหาการบาดเจ็บเอ็นและกล้ามเนื้อ ระยะเวลาขอให้ได้อย่างน้อย 20-30นาที่ บ่อยราว 3-4ครั้งต่อสัปดาห์ถือว่าเพียงพอ ปัญหาของการออกกำลังกายไม่ใช่วิธีการแต่อยู่ที่ ความต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ จะมีข้ออ้างให้ตนเองผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อย(ผมเองก็เป็นครับ) ไปทำได้ไม่กี่ทีก็ขี้เกียจ พอคึกๆ ก็เอาใหม่ ผมบอกได้เลยว่ามันจำเป็นมากที่เราต้อง set priority ให้เทียบเท่ากับที่เราจะต้องกินข้าวทุกวัน หรือต้องใส่เงินลงทุนแบบ VIอย่างต่อเนื่อง(แฮ่ จับมาโยงกันได้เห็นไหม) ไม่เช่นนั้นมักจะเลิกลาไปไม่ต่อเนื่องครับ ผมบอกได้เลยครับว่า การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและการดูแลสุขภาพ มีความสำคัญมากๆครับ เพราะส่วนใหญ่ละเลยมัวแต่หาเงินจนสืมดูแลสุขภาพ ผมมีคนไข้หลายคนครับที่เป็นอัมพฤก โรคหัวใจ โรคปอด(สูบบุหรี่จัด เพราะเเครียดตลอดเวลา) ได้ใช้เงินของตัวเองที่หามาได้บนเตียงผู้ป่วยแทน กิจกรรมเดินเร็วนี่เหมาะมากนะครับกับคนที่มีปัญหาเรื่อง น้ำหนักเกิน สูงอายุ ผมแนะนำมากๆครับ ถ้าท่านใดเล่นกอล์ฟอยู่แล้วจะไม่ใช่กิจกรรมที่ถือว่าเป็นแอโรบิก ให้ชวนก๊วนของท่านเพื่อนฝูง เดินระหว่างหลุมแทนการนั่งรถไฟฟ้าครับสุขภาพของท่านจะดีขึ้นมาก
3.ส่วนเรื่องการกินอาหารเสริมและวิตามิน แล้วแต่ความเชื่อครับ โดยหลักแล้วถือว่าไม่จำเป็นถ้าท่านกินอาหารได้ครบ 5 หมู่ แต่ในชีวิตจริงส่วนใหญ่เราก็จะกินเกินหรือขาดไป เช่นเรามักจะกินอาหารที่มีไขมันสูงเกินไปเช่น เนื้อสัตว์ติดมัน ของทอด หนังสัตว์เครื่องในสัตว์ เนย หรือกินอาหารขนมผลไม้ที่หวานหรืมีนำตาลมากไป ทุกวันนี้ผมจะดื่มเป็บซี่แมกซ์ กับไลท์ไดเอทโค๊กครับซึ่งปราศจากน้ำตาล กินกาแฟดำไม่ใส่นมข้นหวานหรือคอฟฟี่เมทใส่น้ำตาลทรายแค่ ช้อนชาหรือใส่ Equal แทนคือเราต้องยอมปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตบ้างครับ นานๆครั้งโหยๆก็ฟาดซะหน่อย บางคนกินผักผลไม่น้อยก็อาจต้องเสริมวิตามินหรืออาหารที่มีกากใยเช่นเม็ดแมงลัก ส่วนผมชอบกิน สารผงทำจากธัญญพืชครับ Mucilin ช่วยระบาย ผลไม้ถ้าจะกินควรระวัง ทุเรียน มะม่วงสุก ลำไย สัปประรด พวกนี้เปลี่ยนเป็นน้ำตาลในเลือดสูงครับ(เสี่ยงเบาหวาน) แล้วก็อย่ากินเค็มหรือรสจัดมากจนเกินไป เสี่ยงต่อการเกิดโรคไต และโรคลำไส้กระเพาะอาหารครับ กินอาหารที่ปรุงสุกถูกสุขลักษณะ หลักก็ประมาณนี้นะครับ
1.การตรวจสุขภาพประจำปี จริงๆไม่ได้มีกำหนดตายตัวครับว่าเท่าไหร่ควรตรวจเช็ค แต่ที่นิยมทำกันในปัจจุบัน ควรเริ่มตรวจอย่างช้า คือ อายุตั้งแต่ 30-35ปี เนื่องจากในวัยนี้สมรรถภาพ และสรีรวิทยาของระบบต่างๆในร่างกายเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยลงไปตามวัยครับ(เริ่มแก่ อิอิ :lol: ) การตรวจในวัยนี้ที่น่าตรวจก็คือ CBC(complete blood cout คือความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดต่างๆ มีโลหิตจาง หรือโรคเลือดหรือไม่), BUN/Cr และ UAคือการตรวจสมรรถภาพไต และคุณภาพของปัสสาวะ, FBS หรือการตรวจหาเบาหวาน, Lipid profile ได้แก่ การตรวจหาระดับไขมันในเลือด ซึ่งประกอบด้วยChol TG HDL LDL, LFT(Liver Function Test คือการตรวจความผิดปรกติของตับ), Chest film คือการตรวจเอ็กซเรย์ทรวงอก ตรวจดู วัณโรคปอด โรคระบบทางเดินหายใจที่อาจเกิดจาการทำงาน มะเร็งปอด , EKG คือการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจหาโรคหัวใจเช่นโรคเส้นโลหิตในหัวใจตีบ, stool exam คือการตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิ หรือดูว่ามีเลือดออกในทางเดินอาหารหรือไม่ ซึ่งเป็นสัญญาญเตือนว่าอาจมีมะเร็งร้ายซ่อนอยู่ในระบบทางเดินอาหารของเรา ผมคิดว่าเท่าที่น่าจำเป็นก็เพียงพอครับ ยกเว้นบางคนมีปัญหาพิเศษก็อาตรวจอย่างอื่นเพิ่มอีก เช่น พวกเคยเที่ยวซุกซน อาจตรวจ VDRLเพื่อหาว่าเคยติดเชื้อSyphilis หรือไม่ (บางคนขอตรวจ antiHIV ด้วย) บางคนมีประวัติครอบครัวเป็นโรคทางตับอักเสบ อาจขอตรวจ HBsAg เพื่อดูว่าตนเองเคยได้รับเชื้อเป็นพาหะตับอักเสบบี ซึ่งอาเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับได้ ถ้าอายุมากขึ้น ที่เรียกกันว่าเมเข้าสู่วัยทอง(ตรงนี้ในผู้ชายไม่มีกำหนดชัดเจนแต่ในผู้หญิงก็คือวัยหมดประจำเดือน อายุราวๆ 45-55 ปี ในคนวัยนี้เริ่มมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งมากขึ้น อาจตรวจเพิ่มขึ้นอีกหลายอย่าง เช่นการตรวจ ltrasound ช่องท้อง การครวจหา tumor marker ของมะเร็งต่างๆ) สำหรับคุณผู้หญิงก็ต้องตรวจ Papsmear หามะเร็งปากมดลูกระยะแรกซึ่งแนะนำให้ตรวจในหญิงวัยเจริญพันธุ์ทุกคน ตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกปี บางคนครวจเอ็กซเรย์ลำไส้ใหญ่ด้วย กล่าวโดยสรุปคือเราควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจร่างกายประจำปี ตั้งแต้อายุ 30-35ปีเป็นต้นไป ส่วนรายละเอียดให้ปรึกษาอายุรแพทย์ประจำตัวของท่านได้ครับ เอ่อ..แนะนำอีกอย่างนะครับว่าการตรวจสุขภาพพวกนี้ถ้าจะให้ครบถ้วนที่เราต้องการ คงต้องเสียเงินตรวจเองดีกว่าครับ หรือหน่วยงานบางหน่วยงานก็จะมีสิทธิ์ให้อยู่แล้ว แต่จะไปใช้สิทธิ์ ปกส.หรือ 30บ.คงไม่ได้นะครับ อย่าไปทะเลาะกับหมอเพื่อขอให้หมอสั่งตรวจให้เลยครับเพราะมันไม่อยู่ในความคุ้มครอง
2.เรื่องการออกกำลังกายโดยรวมก็ดีทั้งนั้นครับ แต่ที่จะมีประโยชน์อย่างชัดเจนต่อการเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายและหัวใจก็คือการออกกำลังที่เรียกว่า แอโรบิก เอกเซอไซ ซึ่งเป็นการออกกำลังกายโดยให้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ได้เคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องจนเกิดการเผาผลาญนำเอาพลังงาน และไขมันส่วนเกินที่สะสมอยู่ออกมาใช้ เป็นการหมุนเวียนเอาพลังงานเก่ามาใช้ ถ้ากินเข้าไปใหม่ก็ไปสะสมใหม่ ไม่ใช่มีแต่เกินไปเรือยๆ กิจกรรมที่เข้าข่ายนี้ก็คือ วิ่งจ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดินเร็ว เต้นแอโรบิก หรือการออกกำลังกายแนวใหม่เช่นชกมวยผสมท่าเต้นแอโรบิก ขอให้มีการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ต่อเนื่องและหนักพอเป็นใช้ได้ครับ สำหรับผมนิยมว่ายน้ำ และเดินเร็วครับ เคยวิ่ง แต่ไม่ค่อยชอบครับเพราะมักประสบปัญหาการบาดเจ็บเอ็นและกล้ามเนื้อ ระยะเวลาขอให้ได้อย่างน้อย 20-30นาที่ บ่อยราว 3-4ครั้งต่อสัปดาห์ถือว่าเพียงพอ ปัญหาของการออกกำลังกายไม่ใช่วิธีการแต่อยู่ที่ ความต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ จะมีข้ออ้างให้ตนเองผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อย(ผมเองก็เป็นครับ) ไปทำได้ไม่กี่ทีก็ขี้เกียจ พอคึกๆ ก็เอาใหม่ ผมบอกได้เลยว่ามันจำเป็นมากที่เราต้อง set priority ให้เทียบเท่ากับที่เราจะต้องกินข้าวทุกวัน หรือต้องใส่เงินลงทุนแบบ VIอย่างต่อเนื่อง(แฮ่ จับมาโยงกันได้เห็นไหม) ไม่เช่นนั้นมักจะเลิกลาไปไม่ต่อเนื่องครับ ผมบอกได้เลยครับว่า การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องและการดูแลสุขภาพ มีความสำคัญมากๆครับ เพราะส่วนใหญ่ละเลยมัวแต่หาเงินจนสืมดูแลสุขภาพ ผมมีคนไข้หลายคนครับที่เป็นอัมพฤก โรคหัวใจ โรคปอด(สูบบุหรี่จัด เพราะเเครียดตลอดเวลา) ได้ใช้เงินของตัวเองที่หามาได้บนเตียงผู้ป่วยแทน กิจกรรมเดินเร็วนี่เหมาะมากนะครับกับคนที่มีปัญหาเรื่อง น้ำหนักเกิน สูงอายุ ผมแนะนำมากๆครับ ถ้าท่านใดเล่นกอล์ฟอยู่แล้วจะไม่ใช่กิจกรรมที่ถือว่าเป็นแอโรบิก ให้ชวนก๊วนของท่านเพื่อนฝูง เดินระหว่างหลุมแทนการนั่งรถไฟฟ้าครับสุขภาพของท่านจะดีขึ้นมาก
3.ส่วนเรื่องการกินอาหารเสริมและวิตามิน แล้วแต่ความเชื่อครับ โดยหลักแล้วถือว่าไม่จำเป็นถ้าท่านกินอาหารได้ครบ 5 หมู่ แต่ในชีวิตจริงส่วนใหญ่เราก็จะกินเกินหรือขาดไป เช่นเรามักจะกินอาหารที่มีไขมันสูงเกินไปเช่น เนื้อสัตว์ติดมัน ของทอด หนังสัตว์เครื่องในสัตว์ เนย หรือกินอาหารขนมผลไม้ที่หวานหรืมีนำตาลมากไป ทุกวันนี้ผมจะดื่มเป็บซี่แมกซ์ กับไลท์ไดเอทโค๊กครับซึ่งปราศจากน้ำตาล กินกาแฟดำไม่ใส่นมข้นหวานหรือคอฟฟี่เมทใส่น้ำตาลทรายแค่ ช้อนชาหรือใส่ Equal แทนคือเราต้องยอมปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตบ้างครับ นานๆครั้งโหยๆก็ฟาดซะหน่อย บางคนกินผักผลไม่น้อยก็อาจต้องเสริมวิตามินหรืออาหารที่มีกากใยเช่นเม็ดแมงลัก ส่วนผมชอบกิน สารผงทำจากธัญญพืชครับ Mucilin ช่วยระบาย ผลไม้ถ้าจะกินควรระวัง ทุเรียน มะม่วงสุก ลำไย สัปประรด พวกนี้เปลี่ยนเป็นน้ำตาลในเลือดสูงครับ(เสี่ยงเบาหวาน) แล้วก็อย่ากินเค็มหรือรสจัดมากจนเกินไป เสี่ยงต่อการเกิดโรคไต และโรคลำไส้กระเพาะอาหารครับ กินอาหารที่ปรุงสุกถูกสุขลักษณะ หลักก็ประมาณนี้นะครับ
- drchatri
- Verified User
- โพสต์: 767
- ผู้ติดตาม: 0
มือใหม่ขอคำชี้แนะเรื่องแหล่งข้อมูล
โพสต์ที่ 17
เพิ่มเติมอีกนิดครับเรื่องอาหารเสริมและวิตามินควรปรึกษาเภสัชกรก่อนซื้อหามารับประทานจะปลอดภัยกว่าครับ และต้องมี อย.รับรองด้วยนะครับ ประเภทผีบอกคนบอกต้องระวังเหมือนกันครับ ผมเจอที่คนไข้กินแล้วเกิดปัญหาก็เยอะครับ โดยส่วนตัวผมก็มีทานบ้างครับโดยเฉพาะช่วงที่เราเพลียมาก หรือรู้สึกว่าพักผ่อนน้อย แต่ที่สำคัญกว่าคือสิ่งที่ผมบรรยายไว้ใน สองข้อข้างต้นครับ อาหารเสริมและวิตามินไม่อาจชดเชยผลของการปฏิบัติตัวดังข้างต้นได้นะครับ ฉะนั้นหากเราต้องการมีสุขภาพดีเพื่ออยู่ลงทุนได้นานๆก็ต้องเริ่มหยอดกระปุก และลงทุนสำหรับสุขภาพตั้วแต่วันนี้นะครับซิบอกให้...
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4886
- ผู้ติดตาม: 0
มือใหม่ขอคำชี้แนะเรื่องแหล่งข้อมูล
โพสต์ที่ 18
ผมมีความคิดต่างจากคุณ ลูกอีสานเล็กน้อยครับ
ในกรณีที่ หมอยังไม่มีประสบการณ์tradeหุ้น อยากให้เปิดกับ มารก่อน
เพราะ ว่าบางที หุ้น ขึ้นแรง หรือตกแรง เนื่องจากมีข่าวทีนี้ มารส่วนใหญ่เขาจะทราบครับเพราะบางทีเขาตามข่าว ไม่ว่าจากห้องค้า หรือ ผู้บริหาร
ส่วนการ วิเคราะห์ตัดสินใจ หมอต้องตัดสินใจเองครับ ยึดหลัก vi ถูกแล้ว
ค่าคอม แพงกว่า.4ครับ แต่ว่าถ้าหมอtradeหลัก หมื่นแสน ผมว่า มารก็ไม่เสียหาย เพราะต่างกันอย่างมาก 100 200 อะครับ
อีกทั้ง เวลาเปิดอย่าลืม พิจรณาบริการนะครับว่ามี webhoonให้รึเปล่า
อย่าง ays scib จะมีให้ ครับซึ่งจะให้ข้อมูล ทั้ง graph eps profile ครบ
แต่กระนั้นหมอก็ต้อง วิเคราะห์เองอยู่ดีนะครับ
56-1 ที่พี่ genieบอกหาได้ที่เว็บ www.sec.or.th นะครับ
กดที่ งบการเงิน แล้วจะมีห้วข้อ 56-1 ครับ
_______________
กระบี่อยู่ที่ใจ
ในกรณีที่ หมอยังไม่มีประสบการณ์tradeหุ้น อยากให้เปิดกับ มารก่อน
เพราะ ว่าบางที หุ้น ขึ้นแรง หรือตกแรง เนื่องจากมีข่าวทีนี้ มารส่วนใหญ่เขาจะทราบครับเพราะบางทีเขาตามข่าว ไม่ว่าจากห้องค้า หรือ ผู้บริหาร
ส่วนการ วิเคราะห์ตัดสินใจ หมอต้องตัดสินใจเองครับ ยึดหลัก vi ถูกแล้ว
ค่าคอม แพงกว่า.4ครับ แต่ว่าถ้าหมอtradeหลัก หมื่นแสน ผมว่า มารก็ไม่เสียหาย เพราะต่างกันอย่างมาก 100 200 อะครับ
อีกทั้ง เวลาเปิดอย่าลืม พิจรณาบริการนะครับว่ามี webhoonให้รึเปล่า
อย่าง ays scib จะมีให้ ครับซึ่งจะให้ข้อมูล ทั้ง graph eps profile ครบ
แต่กระนั้นหมอก็ต้อง วิเคราะห์เองอยู่ดีนะครับ
56-1 ที่พี่ genieบอกหาได้ที่เว็บ www.sec.or.th นะครับ
กดที่ งบการเงิน แล้วจะมีห้วข้อ 56-1 ครับ
_______________
กระบี่อยู่ที่ใจ
- harry
- Verified User
- โพสต์: 4200
- ผู้ติดตาม: 0
มือใหม่ขอคำชี้แนะเรื่องแหล่งข้อมูล
โพสต์ที่ 19
ผมขอเพิ่มเติมให้ว่า
คุณหมอไม่ต้องรีบลงทุนครับ หาหนังสือมาอ่านศึกษาหาความรู้ไปสักระยะหนึ่งก่อน
จากนั้น ให้คิดว่าอยากทำธุรกิจอะไรที่จะได้มีส่งต่อให้ลูกหลาน จากนั้นก็มาพิจารณาว่าธุรกิจนั้น มีอยู่ในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่ หากไม่มี ก็มีที่ใกล้เคียงหรือไม่
แล้วก็เลือกซื้อบริษัทที่ดีที่สุด ซึ่งคุณหมอเข้าใจการดำเนินธุรกิจของบริษัทนั้นมากที่สุด แล้วถือเอาไว้ตราบที่ยังเป็นบริษัทที่ดี หมั่นตามข่าว ถ้ามันแย่แบบกู่ไม่กลับ ก็ขายทิ้งทันที แต่ถ้ายังคงดี ก็หาโอกาสซื้อเพิ่มเมื่อได้ราคาที่ไม่แพง
คุณหมอไม่ต้องรีบลงทุนครับ หาหนังสือมาอ่านศึกษาหาความรู้ไปสักระยะหนึ่งก่อน
จากนั้น ให้คิดว่าอยากทำธุรกิจอะไรที่จะได้มีส่งต่อให้ลูกหลาน จากนั้นก็มาพิจารณาว่าธุรกิจนั้น มีอยู่ในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่ หากไม่มี ก็มีที่ใกล้เคียงหรือไม่
แล้วก็เลือกซื้อบริษัทที่ดีที่สุด ซึ่งคุณหมอเข้าใจการดำเนินธุรกิจของบริษัทนั้นมากที่สุด แล้วถือเอาไว้ตราบที่ยังเป็นบริษัทที่ดี หมั่นตามข่าว ถ้ามันแย่แบบกู่ไม่กลับ ก็ขายทิ้งทันที แต่ถ้ายังคงดี ก็หาโอกาสซื้อเพิ่มเมื่อได้ราคาที่ไม่แพง
Expecto Patronum!!!!!!
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
มือใหม่ขอคำชี้แนะเรื่องแหล่งข้อมูล
โพสต์ที่ 21
ขอบคุณ คุณหมดชาตรีครับ
ผมล่ะถูกใจจริงๆ ครับ
ขอถามต่อสั้นๆ ในประเด็นต่อเนื่องครับ..
1.เราควรตรวจร่างกายเป็นประจำ กี่ปีครั้ง และค่าใช้จ่ายในการตรวจแบบ full package ของโรงพยาบาลเอกชนทั่วไป ต่อครั้งเป็นเงินเท่าไหร่ครับ
2.การตรวจร่างกายโดยการเอกซเรย์ทุกครั้ง จะทำให้ร่างกายรับรังสี x-ray บ่อยๆ เป็นอันตรายหรือเปล่าครับ
คุณหมอตอบ แล้วจะ copy ไปไว้ในห้องทั่วไปครับ เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อท่านอื่นๆ
ส่วนประเด็นการลงทุน เกือบลืมไปว่าคุณหมอเพิ่งลงทุนไม่นาน ถ้าให้ดีลงทุนน้อยๆก่อนก็ครับ ไว้ถ้าไปได้ดีก็ค่อยเพิ่มเงิน เพราะเราอ่านแต่ทฤษฎี พอมาปฏิบัติจริง จะต่างกันเพราะจะมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยครับ
ผมล่ะถูกใจจริงๆ ครับ
ผมบอกได้เลยว่ามันจำเป็นมากที่เราต้อง set priority ให้เทียบเท่ากับที่เราจะต้องกินข้าวทุกวัน หรือต้องใส่เงินลงทุนแบบ VIอย่างต่อเนื่อง
ผมเห็นหลายคน ทำงานหนักมาทั้งชีวิตเพื่อเก็บเงิน พอแก่ตัวแทนที่จะได้ใช้เงินหาความสุขบ้าง กลับต้องมาจ่ายไปกับเรื่องสุขภาพ บางคนถึงกับหมดเงิน ไม่คุ้มเลยครับ บางคนพูดว่าโรคภัยเป็นเรื่องของโชค-ดวง แต่ผมคิดว่าส่วนใหญ่เป็นผลของการปฎิบัติตัวมากกว่า หลายโรคก็ป้องกันได้ หากเราไม่ประมาท ใช่ไหมครับ ขอาหารเสริมและวิตามินไม่อาจชดเชยผลของการปฏิบัติตัวดังข้างต้นได้นะครับ ฉะนั้นหากเราต้องการมีสุขภาพดีเพื่ออยู่ลงทุนได้นานๆก็ต้องเริ่มหยอดกระปุก และลงทุนสำหรับสุขภาพตั้วแต่วันนี้
ขอถามต่อสั้นๆ ในประเด็นต่อเนื่องครับ..
1.เราควรตรวจร่างกายเป็นประจำ กี่ปีครั้ง และค่าใช้จ่ายในการตรวจแบบ full package ของโรงพยาบาลเอกชนทั่วไป ต่อครั้งเป็นเงินเท่าไหร่ครับ
2.การตรวจร่างกายโดยการเอกซเรย์ทุกครั้ง จะทำให้ร่างกายรับรังสี x-ray บ่อยๆ เป็นอันตรายหรือเปล่าครับ
คุณหมอตอบ แล้วจะ copy ไปไว้ในห้องทั่วไปครับ เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อท่านอื่นๆ
ส่วนประเด็นการลงทุน เกือบลืมไปว่าคุณหมอเพิ่งลงทุนไม่นาน ถ้าให้ดีลงทุนน้อยๆก่อนก็ครับ ไว้ถ้าไปได้ดีก็ค่อยเพิ่มเงิน เพราะเราอ่านแต่ทฤษฎี พอมาปฏิบัติจริง จะต่างกันเพราะจะมีอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยครับ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- drchatri
- Verified User
- โพสต์: 767
- ผู้ติดตาม: 0
มือใหม่ขอคำชี้แนะเรื่องแหล่งข้อมูล
โพสต์ที่ 22
ขอบคุณสำหรับทุกคนที่ชี้แนะครับ ผมยินดีที่จะรับใช้บ้าง คนเรามีความถนัด กันคนละอย่างก็ควรแบ่งปันกันนะครับโลกนี้จะได้น่าอยู่ (Win Win) ผมเป็นหมอครับวันๆก็คลุกคลีอยู่แต่กับโรคภัยไข้เจ็บ เห็นมามากตั้งแต่เกิดจนตาย บางครั้งก็ต้องปลงบ้าง อยู่ที่ทำงานก็มีแต่คุยกับเพื่อนแพทย์ด้วยกัน บางครั้งก็รู้สึกโลกทัศน์คับแคบ ผมเป็นคนชอบอ่านหนังสือมากครับแต่ชอบอ่านที่ไม่เกี่ยวกับแพทย์ เช่นเรื่องการลงทุนนี่หล่ะครับ การได้เข้ามาพูดคุยกับคนใน web นี้ทำให้ผมได้เพื่อนใหม่ๆ ยินดีมากๆครับ ขอตอบรับใช้ต่อนะครับ
เราจะต้องตรวจร่างกายประจำปีนี่ บ่อยแค่ไหนไม่มีหลักเกณฑ์ ตายตัวครับ แต่โดยทั่วไป ผมคิดว่าถ้าอายุเริ่ม เข้าเกณฑ์ที่ผมว่านี้ก็ควรรับการตรวจทุกปีนะครับ เพราะเราไม่รู้ว่าโรคร้ายดังกล่าวจะมาเมื่อไหร่ ผมมีคนไข้อยู่หลายคนครับที่มาเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง อายุยังไม่ถึง 40ปีเลยครับ บางคนกลายเป็นโรคปลายทางไปแล้ว เช่นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งถ้าเป็นโรคนี้แล้วชีวิตเราหมดความสุขไปมากพอควรครับ เพราะอาจจะต้องกินยาหลายอย่างครับ กว่า 8-10อย่าง (ไม่ใช่ 8-10เม็ดนะครับ เพราะอย่างละอีก 1-3 เม็ด) ฉะนั้นการตรวจค้นหาโรคต้นทางมีความสำคัญที่จะพบโรคแต่ระยะเริ่มแรก จะได้ดูแลสุขภาพแต่เนิ่นๆ และถึงแม้ว่ายังไม่พบโรคดังกล่าวก็ต้องเริ่มปฏิบัติตัวให้ดีตั้งแต่ตอนนี้นะครับ สำหรับค่าใช้จ่ายในการตรวจ ก็แล้วแต่ราคาของแต่ละ รพ.อย่างรพ.ผม (รพ.เอกชนใน ตจว.) ถ้าตรวจ CBC UA BUN/CR Uric FBS Chol TG EKG CXR Stool exam ก็ราวๆ 800-1500 บ. หากตรวจเพิ่มเติมอย่างอื่นก็ บวกกันเข้าไป อย่าง รพ.ผม package ที่มีตรวจ Ultrasound tumor marker ด้วยก็ราวๆ 3000-4000 บ.ราคา และ package แต่ละ รพ.คงไม่เท่ากัน คงต้องสอบถามเอาหน่ะครับ แต่ไม่ใช่หลักหมื่นแน่นอน แต่มีหลักว่า เราต้องสอบถามทาง รพ.นะครับว่า เราได้รับบริการการตรวจร่างกาย และการแปลผล Lab โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมหรือไม่ เพราะการแปลผล Lab โดยแพทย์มีความสำคัญมาก ผมเคยมีคนไข้หลายคน ต้องนำผล Labที่ตรวจจาก รพ.อื่นมาถามผม เพราะทาง รพ.แห่งนั้นเขาให้ ผป.ตรวจเสร็จ แล้วส่งผลไปทาง ปณ. ซึ่งในความเห็นผมว่าไม่ถูกต้องครับ การแปลผล Lab ต้องอ้างอิงประวัติของคนไข้ครับ ต้องมีการพูดคุยกันกับคนไข้ครับ บางครั้งรายงานมาสั้นๆเช่นว่า "ตรวจพบจุดผิดปรกติในปอด ขอให้ไปพบแพทย์ด่วน" หรือ "ตรวจพบ ตับผิดปรกติ ให้ไปพบแพทย์" ทำให้เรากังวลเปล่าๆครับ เพราะบางครั้งจุดที่พบในปอดอาจไม่ใช่สิ่งที่จะผิดปรกติเสมอไป หาก รพ.ไหน บริการอย่างนี้ก็อย่าไปใช้เลยครับ โดยส่วนตัวผมเวลาให้บริการคนไข้เรื่องตรวจสุขภาพ จะใช้เวลาพูดคุยค่อนข้างนานครับ และจะพยายามแนะนำคนไข้เรื่องการปฏิบัติตัวอย่างละเอียดด้วยเสมอ
2.ประเด็นเรื่องการรับรังสีเอ็กเรย์ จากการตรวจร่างกายประจำปี ถือว่าน้อยมากครับ คงไม่ต้องกังวลครับ เราจะกังวลหน่อยก็ถ้ายังอายุยังน้อยๆครับ วัยเด็กหรือวัยรุ่น หรืออยู่ในช่วงตั้งครรภ์ บางคนตอนอยู่ รพ.เป็นโรคปอดบางอย่างหมอต้อง เอ๊กซเรย์เกือบทุกวันยังไม่เป็นอะไรครับ หรือถ้าเป็นเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับรังสี พวกนี้จึงมีโอกาสที่จะรับรังสีทุกวันถึงต้องระวังครับ เดี๋ยวนี้เครื่องเอ๊กซเรย์เรามีประสิทธิภาพสูงครับสามารถ ปรับความเข้มของรังสีให้พอเหมาะและใช้เท่าที่จำเป็นได้
ท้ายนี้ขอฝากข้อคิดเล็กๆครับ เวลาเราใช้รถเรายังต้องเอารถ เข้าตรวจเช็คทุกๆ 5000-10000โล น้ำมันเครื่องยังต้องถ่าย ไส้กรองน้ำหล่อเย็น ก็ต้องเปลี่ยนตามระยะ เราทำสิ่งต่างๆเหล่านี้ ก่อนที่เครื่องจะพังหรือมีสัญญาณเตือนใช่ไหมครับ เพราะเรากลัวว่า รถ ราคาหลายแสน หรือเป็นล้าน อายุการใช้งานจะสั้นลง ค่าใช้จ่ายก็หลักพันถึงเป็นหมื่นต่อครั้งเรายังยอมจ่าย แต่เรื่องที่ต้องจ่ายเพื่อสุขภาพของเรา ซึ่งผมว่าประเมิณเป็นตัวเงินทุกท่านคงประเมิณออกมาไม่ถูกใช่ไหมครับ เรากลับคิดมาก จริงไหมครับ การตรวจสุขภาพขอให้เป็นแค่ตัวช่ววยแต่ที่สำคัญที่สุดคือท่านต้องเริ่มปฏิบัติตัวเพื่อดูแลสุขภาพตั้งแต่วันนี้ อย่าผัดวันประกันพรุ่งครับ
เราจะต้องตรวจร่างกายประจำปีนี่ บ่อยแค่ไหนไม่มีหลักเกณฑ์ ตายตัวครับ แต่โดยทั่วไป ผมคิดว่าถ้าอายุเริ่ม เข้าเกณฑ์ที่ผมว่านี้ก็ควรรับการตรวจทุกปีนะครับ เพราะเราไม่รู้ว่าโรคร้ายดังกล่าวจะมาเมื่อไหร่ ผมมีคนไข้อยู่หลายคนครับที่มาเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง อายุยังไม่ถึง 40ปีเลยครับ บางคนกลายเป็นโรคปลายทางไปแล้ว เช่นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ซึ่งถ้าเป็นโรคนี้แล้วชีวิตเราหมดความสุขไปมากพอควรครับ เพราะอาจจะต้องกินยาหลายอย่างครับ กว่า 8-10อย่าง (ไม่ใช่ 8-10เม็ดนะครับ เพราะอย่างละอีก 1-3 เม็ด) ฉะนั้นการตรวจค้นหาโรคต้นทางมีความสำคัญที่จะพบโรคแต่ระยะเริ่มแรก จะได้ดูแลสุขภาพแต่เนิ่นๆ และถึงแม้ว่ายังไม่พบโรคดังกล่าวก็ต้องเริ่มปฏิบัติตัวให้ดีตั้งแต่ตอนนี้นะครับ สำหรับค่าใช้จ่ายในการตรวจ ก็แล้วแต่ราคาของแต่ละ รพ.อย่างรพ.ผม (รพ.เอกชนใน ตจว.) ถ้าตรวจ CBC UA BUN/CR Uric FBS Chol TG EKG CXR Stool exam ก็ราวๆ 800-1500 บ. หากตรวจเพิ่มเติมอย่างอื่นก็ บวกกันเข้าไป อย่าง รพ.ผม package ที่มีตรวจ Ultrasound tumor marker ด้วยก็ราวๆ 3000-4000 บ.ราคา และ package แต่ละ รพ.คงไม่เท่ากัน คงต้องสอบถามเอาหน่ะครับ แต่ไม่ใช่หลักหมื่นแน่นอน แต่มีหลักว่า เราต้องสอบถามทาง รพ.นะครับว่า เราได้รับบริการการตรวจร่างกาย และการแปลผล Lab โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมหรือไม่ เพราะการแปลผล Lab โดยแพทย์มีความสำคัญมาก ผมเคยมีคนไข้หลายคน ต้องนำผล Labที่ตรวจจาก รพ.อื่นมาถามผม เพราะทาง รพ.แห่งนั้นเขาให้ ผป.ตรวจเสร็จ แล้วส่งผลไปทาง ปณ. ซึ่งในความเห็นผมว่าไม่ถูกต้องครับ การแปลผล Lab ต้องอ้างอิงประวัติของคนไข้ครับ ต้องมีการพูดคุยกันกับคนไข้ครับ บางครั้งรายงานมาสั้นๆเช่นว่า "ตรวจพบจุดผิดปรกติในปอด ขอให้ไปพบแพทย์ด่วน" หรือ "ตรวจพบ ตับผิดปรกติ ให้ไปพบแพทย์" ทำให้เรากังวลเปล่าๆครับ เพราะบางครั้งจุดที่พบในปอดอาจไม่ใช่สิ่งที่จะผิดปรกติเสมอไป หาก รพ.ไหน บริการอย่างนี้ก็อย่าไปใช้เลยครับ โดยส่วนตัวผมเวลาให้บริการคนไข้เรื่องตรวจสุขภาพ จะใช้เวลาพูดคุยค่อนข้างนานครับ และจะพยายามแนะนำคนไข้เรื่องการปฏิบัติตัวอย่างละเอียดด้วยเสมอ
2.ประเด็นเรื่องการรับรังสีเอ็กเรย์ จากการตรวจร่างกายประจำปี ถือว่าน้อยมากครับ คงไม่ต้องกังวลครับ เราจะกังวลหน่อยก็ถ้ายังอายุยังน้อยๆครับ วัยเด็กหรือวัยรุ่น หรืออยู่ในช่วงตั้งครรภ์ บางคนตอนอยู่ รพ.เป็นโรคปอดบางอย่างหมอต้อง เอ๊กซเรย์เกือบทุกวันยังไม่เป็นอะไรครับ หรือถ้าเป็นเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับรังสี พวกนี้จึงมีโอกาสที่จะรับรังสีทุกวันถึงต้องระวังครับ เดี๋ยวนี้เครื่องเอ๊กซเรย์เรามีประสิทธิภาพสูงครับสามารถ ปรับความเข้มของรังสีให้พอเหมาะและใช้เท่าที่จำเป็นได้
ท้ายนี้ขอฝากข้อคิดเล็กๆครับ เวลาเราใช้รถเรายังต้องเอารถ เข้าตรวจเช็คทุกๆ 5000-10000โล น้ำมันเครื่องยังต้องถ่าย ไส้กรองน้ำหล่อเย็น ก็ต้องเปลี่ยนตามระยะ เราทำสิ่งต่างๆเหล่านี้ ก่อนที่เครื่องจะพังหรือมีสัญญาณเตือนใช่ไหมครับ เพราะเรากลัวว่า รถ ราคาหลายแสน หรือเป็นล้าน อายุการใช้งานจะสั้นลง ค่าใช้จ่ายก็หลักพันถึงเป็นหมื่นต่อครั้งเรายังยอมจ่าย แต่เรื่องที่ต้องจ่ายเพื่อสุขภาพของเรา ซึ่งผมว่าประเมิณเป็นตัวเงินทุกท่านคงประเมิณออกมาไม่ถูกใช่ไหมครับ เรากลับคิดมาก จริงไหมครับ การตรวจสุขภาพขอให้เป็นแค่ตัวช่ววยแต่ที่สำคัญที่สุดคือท่านต้องเริ่มปฏิบัติตัวเพื่อดูแลสุขภาพตั้งแต่วันนี้ อย่าผัดวันประกันพรุ่งครับ
- oatty
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2444
- ผู้ติดตาม: 0
มือใหม่ขอคำชี้แนะเรื่องแหล่งข้อมูล
โพสต์ที่ 23
อ่านคำตอบคุณหมอแล้ว ผมว่าคุณหมอไม่โลกทัศน์แคบหรอกครับ ออกจะกว้างเกินกว่าหลาย ๆ คนด้วยซ้ำ ขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำนะครับ ส่วนการลงทุน ผมว่าไปเปิดพอร์ตไว้ก่อนก็ได้ แต่ยังไม่จำเป็นต้องซื้อถ้ายังไม่มั่นใจ เพราะจะได้อาศัยติดตามข้อมูลและข่าวสารประจำวันได้
- drchatri
- Verified User
- โพสต์: 767
- ผู้ติดตาม: 0
มือใหม่ขอคำชี้แนะเรื่องแหล่งข้อมูล
โพสต์ที่ 24
ขอบคุณมากครับ ผมคิดว่าจะค่อยๆสร้าง port เล็กๆก่อนหน่ะครับ คงไม่ทุ่มมากอยู่แล้ว คงต้องมี margin of safety ไว้ด้วยหน่ะครับ ไม่ผลีผลามแน่นอน แต่ผมคิดว่าการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง มีความสำคัญมากครับ เพราะผมเป็นหมอจึงเข้าใจเรื่องนี้ดีครับ ผมจะไม่มีวันรักษาคนไข้ได้ดีเลยถ้าอ่านแต่ตำรามา การเรียนแพทย์ก็เริ่มคล้ายๆกันอย่างนี้ละครับ เรื่มจากทฤษฎี ต่อมาก็ เริ่ม round ผู้ป่วยโดยมี อาจารย์และแพทย์พี่เลี้ยง ต่อมา รับผิดชอบเองแล้ว แต่การลงทุนผมว่าน่าจะง่ายกว่นะครับ เพราะรับผิดชอบแค่ตัวเรา แต่รักษาคนไข้ ต้องรับผิดชอบมากว่านี้ อีก ผมชอบ Learning by Doing and well practise นะครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6483
- ผู้ติดตาม: 1
มือใหม่ขอคำชี้แนะเรื่องแหล่งข้อมูล
โพสต์ที่ 25
ขอบคุณมากครับ :D
คำตอบคุณหมอชัดเจนมากครับ หากมีอะไรสงสัยเรื่องหุ้นผมหรือเพื่อนๆ ที่พอจะตอบคำถามได้ก็ยินดีมากครับ
นึกไม่ถึงว่าผมก็ถึงวัยที่ควรจะตรวจร่างกายแล้วครับ เดี่ยวนี้ไม่ทราบเป็นอย่างไร หากเห็นหรือต้องเจาะเลือดจะหน้ามืดทุกที ก่อนหน้านี้ไม่เคยเป็นครับ เคยไปบริจาคเลือดก็หน้ามืด พยาบาลบอกว่าคราวหน้า ไม่ต้องมาบริจาคแล้ว สงสัยจะผอมไปครับ
คำตอบคุณหมอชัดเจนมากครับ หากมีอะไรสงสัยเรื่องหุ้นผมหรือเพื่อนๆ ที่พอจะตอบคำถามได้ก็ยินดีมากครับ
นึกไม่ถึงว่าผมก็ถึงวัยที่ควรจะตรวจร่างกายแล้วครับ เดี่ยวนี้ไม่ทราบเป็นอย่างไร หากเห็นหรือต้องเจาะเลือดจะหน้ามืดทุกที ก่อนหน้านี้ไม่เคยเป็นครับ เคยไปบริจาคเลือดก็หน้ามืด พยาบาลบอกว่าคราวหน้า ไม่ต้องมาบริจาคแล้ว สงสัยจะผอมไปครับ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- drchatri
- Verified User
- โพสต์: 767
- ผู้ติดตาม: 0
มือใหม่ขอคำชี้แนะเรื่องแหล่งข้อมูล
โพสต์ที่ 26
แสดงว่าคุณลูกอิสานกับผมก็คง "แก่" พอๆกันแล้วละครับ อย่างนี้ต้องเตรียมฟิตเครื่องเคราไว้ใช้งานนานๆกันหน่อยนะครับ เอ่อ..ผมลืมบอกไปอีกอย่างหน่ะครับอันนี้สำคัญมากเลย โดยเฉพาะสำหรับพวกผู้ชายอย่างเรา อย่าเอ็ดไปนะครับ (จุ๊ๆ..ขอกระซิบหน่อย...) คุณสูกอิสานรู้ไหมครับว่าสาเหตุของเซ็กซ์ เสื่อมนี่อันดับแรกๆเลย ก็คือไอ้ 3-4โรคที่ผมว่ามานี่หล่ะครับ เวลาคนไข้ไปหาหมอด้วยอาการที่เรียกว่า Impotent (เซ็กซ์เสื่อม) หรือ Erectile dysfunction (นกเขาไม่ขัน อาการเริ่มแรกคือ มันขี้เกียจตื่นมาขันตอนเช้า) ถ้าเริ่มมีอาการเหล่านี้เมื่อไหร่ละก็ สิ่งที่หมอเขาจะตรวจเช็คอันดับแรกเลยคือตรวจหา โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไขมันในเลือดสูง ก่อนเลย เพราะมันเป็นสาเหตุสำคัญเลยครับ ส่วนใหญ่จะไม่รู้กัน (เห็นไหมว่ามันสำคัญจริงๆอิอิ..)
"ออกกำลังกายวันละนิด กินอยู่อย่างมีคุณภาพ เรานักลงทุนหุ้นเน้นคุณค่า สุขภาพจะดีตลอดไป"
ขอให้ชาว TVI ทุกท่านประสบแด่ความสุขความเจริญ สมหวัง ตลอดปีใหม่ ครับ
"ออกกำลังกายวันละนิด กินอยู่อย่างมีคุณภาพ เรานักลงทุนหุ้นเน้นคุณค่า สุขภาพจะดีตลอดไป"
ขอให้ชาว TVI ทุกท่านประสบแด่ความสุขความเจริญ สมหวัง ตลอดปีใหม่ ครับ
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 1
มือใหม่ขอคำชี้แนะเรื่องแหล่งข้อมูล
โพสต์ที่ 27
[quote="drchatri"]ขอบคุณมากครับ ผมคิดว่าจะค่อยๆสร้าง port เล็กๆก่อนหน่ะครับ คงไม่ทุ่มมากอยู่แล้ว คงต้องมี margin of safety ไว้ด้วยหน่ะครับ ไม่ผลีผลามแน่นอน แต่ผมคิดว่าการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง มีความสำคัญมากครับ เพราะผมเป็นหมอจึงเข้าใจเรื่องนี้ดีครับ ผมจะไม่มีวันรักษาคนไข้ได้ดีเลยถ้าอ่านแต่ตำรามา การเรียนแพทย์ก็เริ่มคล้ายๆกันอย่างนี้ละครับ เรื่มจากทฤษฎี ต่อมาก็