คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ
- โอ@
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4246
- ผู้ติดตาม: 0
คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ
โพสต์ที่ 1713
เฮือก ไม่ไหวแล้วกระทู้นี้ ตาลาย ....
ในที่สุดวันนี้ผมก็ซื้อหุ้นเป็นครั้งแรกแล้ว หลังจากศึกษามา 3 ปีเต็ม 8)
แต่ขอสารภาพ จนถึงตอนนี้ ผมยังสับสนเรื่องการอ่านงบ Cash Flow อยู่เลย :roll: เมื่อไหร่จะเข้าใจดีได้เหมือนพี่ฉัตรชัยบ้างเนี่ย
ผมมีความคิดอย่างนึงไม่รู้พี่ๆจะว่ายังไง การเล่นหุ้นแบบ Warren Buffet เนี่ย ผมกลับมองว่าการคาดการณ์อนาคตสำคัญกว่างบการเงินนะครับ
งบการเงินเอาแค่รู้ว่าบริษัทมีความสามารถขนาดไหน จะล้มหรือเปล่า ส่วนเรื่องการเติบโต ผมว่ามันอยู่ที่ตัวบริษัทเองมากกว่า
ในที่สุดวันนี้ผมก็ซื้อหุ้นเป็นครั้งแรกแล้ว หลังจากศึกษามา 3 ปีเต็ม 8)
แต่ขอสารภาพ จนถึงตอนนี้ ผมยังสับสนเรื่องการอ่านงบ Cash Flow อยู่เลย :roll: เมื่อไหร่จะเข้าใจดีได้เหมือนพี่ฉัตรชัยบ้างเนี่ย
ผมมีความคิดอย่างนึงไม่รู้พี่ๆจะว่ายังไง การเล่นหุ้นแบบ Warren Buffet เนี่ย ผมกลับมองว่าการคาดการณ์อนาคตสำคัญกว่างบการเงินนะครับ
งบการเงินเอาแค่รู้ว่าบริษัทมีความสามารถขนาดไหน จะล้มหรือเปล่า ส่วนเรื่องการเติบโต ผมว่ามันอยู่ที่ตัวบริษัทเองมากกว่า
_________
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 2035
- ผู้ติดตาม: 0
คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ
โพสต์ที่ 1714
อ่านมานานแค่ไหนละครับโอ@ เขียน:เฮือก ไม่ไหวแล้วกระทู้นี้ ตาลาย ....
บางท่านอ่านเป็นเดือน
บางท่าน 7 ชั่วโมงจบ
โอ@ เขียน:ในที่สุดวันนี้ผมก็ซื้อหุ้นเป็นครั้งแรกแล้ว หลังจากศึกษามา 3 ปีเต็ม
-
- Verified User
- โพสต์: 2636
- ผู้ติดตาม: 0
คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ
โพสต์ที่ 1715
สวัสดีครับพี่วิบูลย์ ผมอยากรบกวนพี่แนะนำหนังสือเกี่ยวกับการดูงบการเงิน- งบกระแสเงินสด ที่ดีสัก 2 -3 เล่มหน่อยครับ ภาษาไทยนะครับ เพราะถ้าเป็น Textbook นี้ยังไม่ค่อยคล่องเท่าใหร่ (พี่เคยแนะนำ ที่หน้า 20 กว่า งบกระแสเงินสด-งบการเงินรวมของ ดร.วรศักดิ์ ทุมมานนท์ สนพ.เก็บไปปรับปรุงครับ ผมพึ่่งเข้ามาอ่าน )
อ.มน ครับ ไม่มีโครงการทำวีซีดีเกี่ยวกับ "การบัญชีเบื้องต้น" ที่สอนมา 2-3 คอร์สหรือครับ ผมคนต่างจังหวัด บางทีลำบากในการเข้ากรุงเทพฯ
อ.มน ครับ ไม่มีโครงการทำวีซีดีเกี่ยวกับ "การบัญชีเบื้องต้น" ที่สอนมา 2-3 คอร์สหรือครับ ผมคนต่างจังหวัด บางทีลำบากในการเข้ากรุงเทพฯ
" สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย "
" Whatever your mind can conceive and believe it can achieve "
" Whatever your mind can conceive and believe it can achieve "
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ
โพสต์ที่ 1716
โค้ด: เลือกทั้งหมด
อ.มน ครับ ไม่มีโครงการทำวีซีดีเกี่ยวกับ "การบัญชีเบื้องต้น" ที่สอนมา 2-3 คอร์สหรือครับ ผมคนต่างจังหวัด บางทีลำบากในการเข้ากรุงเทพฯ
เรื่องต่างจังหวัดนี่ผมคิดอยู่ แต่จะให้ผมทำอย่างไงได้ละ ผมก็ต้องทำให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เอาเป็นว่าผมจะตั้งใจเขียนหนังสือเรื่องนี้ให้เป็นเล่มให้จงได้ จะตั้งใจว่าให้คุณอ่านแล้วเหมือนมีผมมานั่งติวอยู่ข้างๆเลย
ตอนนี้ผมมีเทปที่บันทึกเสียงเอาไว้ ว่าจะค่อยๆแกะเทปเขียนเป็นหนังสือให้ได้ ว่าแต่ว่าจะซื้อกันหรือเปล่า?
ส่วนพ่อลูกอ่อนอาทิตย์นี้เห็นลางานทั้งอาทิตย์ มาเลี้ยงไอ้ตัวเล็ก ผมเห็นฝีมือแล้ว มืออาชีพจริงๆ พอลูกตื่น เดินไปล้างมือ ผ้าอ้อมพาดบ่า อุ้มลูกไว้ติดอก มืออาชีพจริงๆขอบอก
พ่อก็เลี้ยงลูกได้ดีไม่แพ้แม่นะจะบอกให้
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 2035
- ผู้ติดตาม: 0
คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ
โพสต์ที่ 1720
ผมมีคำตอบของคุณ Invisible Hand ที่ตอบในกระทู้หนึ่งเกี่ยวกับมูลค่าที่แท้จริง
ดูแล้วน่าอ่าน
เลยเอามาให้อ่านกัน
ดูแล้วน่าอ่าน
เลยเอามาให้อ่านกัน
Invisible Hand เขียน: วิธีของ Buffet ก็มีแนวคิดแบบการหา DCF ครับ แต่ง่ายกว่าเยอะ และได้ผลไม่ค่อยจะต่างกัน
DCF model จะพิจารณา growth ความเสี่ยง ค่าเสื่อมราคา และเงินลงทุน เป็นหลัก
หากทำ DCF บ่อยๆ จะเห็นว่าท้ายสุด ค่าเสื่อมในระยะยาวๆ จะเท่ากับ capex ดังนั้น การ discount cash flow จะเปลี่ยนมาเป็น discount ตัว net profit แทนก็ไม่ได้ผลแตกต่างอะไรนัก
นอกจากนี้ รายการหนึ่งในการคิด DCF คือ terminate value ซึ่งใช้สูตร FCF / WACC -g หากให้ g=0 ก็เท่กับ FCF / WACC
ดังนั้นสูตรการคิด p/e ง่ายๆ คือ ใช้ p/e = 1 / WACC -g
g คือ long-term growth rate ครับ ตัวนี้เป็นที่ถกเถียงกันมากครับ หลายคนจะใช้ g เป็น + เพราะคิดว่าธุรกิจมี growth แต่ผมคิดว่า g ควรใกล้ 0 ครับ ผมคิดว่าหุ้นที่ g มากกว่า 0 ควรจะเป็นหุ้นที่โตได้มากกว่าเศรษฐกิจครับ ดังนั้นหุ้นที่โตตามเศรษฐกิจ g ควรจะเป็น 0 ครับ
และ g ไม่ควรบวกมากๆ เพราะไม่มีธุรกิจไหนครับที่สามารถโตในระยะยาวๆ ได้มากกว่าเศรษฐกิจนานๆ
ผมเคยใช้ g เป็น + พอสมควรสำหรับหุ้นที่ทำบ้านจัดสรร ในช่วง boom ซึ่งท้ายสุดพบว่าเป็นความผิดพลาดร้ายแรงอย่างหนึ่งของการทำงานครับ เพราะทำให้ valuation มันเพี้ยนไปเยอะ เพราะท้ายสุดแล้วอสังหาฯ ก็เป็นหุ้นที่โตได้ตามเศรษฐกิจหรือมากกว่านิดหน่อยเท่านั้นเอง
ปกติแล้วใน model DCF มูลค่าส่วนใหญ่จะอยู่กับ terminate value ครับ
ดังนั้นการคิดมูลค่าหุ้นโดยใช้ model " zero growth " คีอให้ g=0 ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ได้
แต่ Buffet ใช้ long-term gov bond เป็น WACC ซึ่งปกติ WACC จะสูงกว่า gov bond มันเหมือนจะได้มูลค่าสูงเกินจริงเพราะตัวหารต่ำ แต่อย่างที่บอก Buffet ก็ปรับมูลค่าที่จะซื้อด้วย margin of safety เอง
นอกจากนี้ 1 / WACC - g มันจะได้ multiple ค่าหนึ่งซึ่งคล้ายๆ กับ P/e ครับเพราะ p/e สะท้อนความเสี่ยงและการเติบโต
ยกตัวอย่าง หากเราให้ WACC ซึ่งสะท้อนความเสี่ยงที่ 11% และให้หุ้นตัวนั้นมี growth ( g ) ที่ 3% ก็เท่ากับว่า multiple หรือ P/e = 1 / 11% - 3 %
= 1 / 8%
= 12.5 เท่า
WACC ก็คือความเสี่ยง อย่างต่ำต้องใช้เท่ากับพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีครับ ปัจจุบัน 6.8% ปกติหุ้นทั่วๆ ไปอาจจะใช้ WACC 8-15% ครับ แล้วแต่ความเสี่ยง เสี่ยงมาก wacc มาก แต่ยังไง long-term gov bond ก็ควรดูค่าที่น่าจะเป็น long-term ด้วย อย่างเช่นตอนที่ผลตอบแทนพันธบัตรลงไป 4% เราไม่ควรใช้ 4% ตอนนั้นหากเราเชื่อว่าดอกเบี้ยตอนนั้นต่ำกว่าปกติ ควรจะดูค่าเฉลี่ยระยะ 10-15 ปีย้อนหลังดีกว่า
ดังนั้น หากใช้ p/e ให้เป็น คือ รู้ว่าหุ้นตัวนั้นๆ ควรจะ p/e เท่าไหร่ ผมคิดว่ามันก็หมายความว่าเราคิด DCF เป็นนั่นแหละครับ
ผมเคยเห็นหลายกระทู้ก่อนหน้านี้มีเพื่อนๆ แสดงความกังวลว่าหา DCF ไม่เป็นจะลงทุนไหวมั้ย คิดว่านี่น่าจะเป็นคำตอบได้ครับว่าจริงๆ แล้วใช้ p/e ก็พอในระดับหนึ่งครับ แต่ต้องเข้าใจธรรมชาติของ p/e มากๆ ครับ เช่น
1. การใช้ p/e กับหุ้นวัฎจักร ทั้งวัฎจักรเศรษฐกิจและวัฎจักรของราคาผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องต้องระวังมากๆ
2 p/e สะท้อน growth และ risk หุ้นโตสูง p/e สูง หุ้นเสี่ยงสูง p/e ต่ำ
ฯลฯ
ส่วน DCF แม้ว่าจะแม่นยำขึ้น เพราะมีการพิจารณางบดุลเข้ามาประกอบ ซึ่งเราอาจจะ adjusted อีก ratio หนึ่งคือ
EV / net profit คือ แทนที่เอา mkt cap / net profit ก็เพิ่ม long-term debt เข้าไปด้วย เพราะ EV = mkt cap + long-term debt
เหตุผลที่ไม่ใช้ EV/ EBITDA เพราะผมเชื่อว่าระยะยาวๆ Depre = capex ครับ และ interest tax ก็ต้องจ่ายออกไปจริง
ดังนั้น EV/net profit จะสูงกว่า ( หุ้นตัวนั้นแพงกว่า ) สำหรับหุ้นที่มีหนี้มาก และต่ำกว่าหากหนี้น้อย กรณีที่กำไรเท่ากันครับ
สิ่งที่น่าห่วงคือ นักวิเคราะห์ตอนนี้เอา dcf ไปใช้แบบผิดๆ คือ เอาไปใช้กับหุ้นที่ไม่ควรหา valuation แบบ dcf เช่น หุ้นวัฎจักร
เหตุผลหนึ่งที่นักวิเคราะห์ใช้ dcf เพราะว่ามันดูเป็นศาสตร์ชั้นสูง เวลานักลงทุนถามจะรู้สึกว่าตอบไปว่าใช้ dcf จะไม่ถูกถามอะไรกลับมาและดูน่าเชื่อถือ หากใช้ target p/e p/bv จะรู้สึกว่ามีคำถามกลับมาเยอะ
step การเขียนอาจจะไม่ค่อยดีนะครับ ถ้าอ่านแล้วงงก็อาจจะลองอ่านซัก 2 รอบอาจจะช่วยได้นะครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 2035
- ผู้ติดตาม: 0
คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ
โพสต์ที่ 1721
ผมมีข้อความของคุณสุมาอี้ตอบไว้ในกระทู้หนึ่ง
น่าสนใจเลยเอามาให้อ่านกัน
น่าสนใจเลยเอามาให้อ่านกัน
สุมาอี้ เขียน:นั่งสรุปหลักการลงทุนที่ผมยึดถือมาให้อ่านกันแล้วครับ นึกได้แค่ 10 ข้อก่อน ที่จริงอยากเรียกว่า personal biases มากกว่า ไม่อยากเรียกว่าหลักการลงทุนเท่าไร
1. ซื้อก็ต่อเมื่อได้วิเคราะห์ข้อมูลจนมั่นใจว่ามูลค่าตลาดของหุ้นตัวนั้นต่ำกว่ามูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดในอนาคตทั้งหมดที่คาดหวังได้ของบริษัทเท่านั้น ซึ่งถ้ามันเป็นเช่นนั้นจริง ซื้อมาแล้วไม่ต้องขายเลยก็ยังกำไร (กฎข้อนี้สำคัญมากห้ามผ่าฝืนเด็ดขาด)
2. ทิศทางของราคาหุ้นเป็นสิ่งที่ไม่มีทางทำนายได้ อย่าพยายามทำกำไรด้วยการ BLASH การเทรดหุ้นทุกวันเปรียบเสมือนการกระโจนเข้าใส่เครื่องบดเนื้อ
3. ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์บริษัทและอุตสาหกรรมให้มากที่สุด ไม่ต้องให้ความสำคัญกับการทำนายทิศทางเศรษฐกิจมหภาค เรือทุกลำต้องเผชิญพายุเหมือนกันหมด จงพยายามเลือกเรือลำที่ดีที่สุดแทนที่จะพยายามคาดเดาว่าพายุจะมาเมื่อไร
4. ราคาหุ้นไม่มีความสัมพันธ์กับกำไรในปัจจุบันแต่จะวิ่งไปตามความเชื่อของตลาดว่าพรุ่งนี้กำไรของบริษัทจะเป็นเท่าไร หุ้นที่ขึ้นไม่ใช่หุ้นที่ปัจจัยพื้นฐานดี แต่หุ้นที่ขึ้นคือหุ้นที่ปัจจัยพื้นฐานไม่ดีในวันนี้แต่กำลังจะดีขึ้นวันหน้าหรือหุ้นที่ปัจจัยพื้นฐานดีอยู่แล้วและจะดีขึ้นไปอีก
5. หุ้นบูลชิพที่เติบโตช้า แม้ downside จะต่ำ -20% แต่ upside ก็ต่ำด้วย +20% หุ้นเติบโตสูงจึงน่าลงทุนมากกว่าเพราะแม้ว่า downside ของมันอาจจะมากถึง -100% แต่ upside ของมันไม่มีขีดจำกัด (อาจเป็น 200% 500% 1000%...) พอร์ตที่มีหุ้นเติบโตสูงหลายๆ ตัวแม้จะผันผวนมากกว่าแต่จะวิ่งได้ไกลกว่าพอร์ตที่เต็มไปด้วยหุ้นบูลชิพในระยะยาวๆ
6. อย่าให้ความสำคัญกับ dividend yield มากนัก เพราะไม่มีกฎว่าบริษัทต้องจ่ายเงินปันผลเท่าเดิมทุกปี จงสนใจว่าบริษัทเอา retained earnings ไปลงทุนทำอะไรมากกว่า มูลค่าของบริษัทจะเพิ่มขึ้นได้ก็ต่อเมื่อบริษัทลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าเท่านั้น
7. หุ้นเป็นหลักทรัพย์ที่มีผลตอบแทนคุ้มค่ากับการเสี่ยงมากที่สุด อย่าเสียเวลาคิดว่าควรแบ่งเงินไปลงตราสารหนี้เท่าไรหุ้นเท่าไร เงินส่วนใหญ่ของคุณควรอยู่ในหุ้นกับเงินสดตลอดเวลา อย่ากลัว market crash เพราะในระยะยาวๆ ไม่มีตลาดหุ้นไหนในโลกที่ไม่สามารถกลับมาสูงกว่าจุดสูงสุดเดิมได้ เพราะเศรษฐกิจในระบอบทุนนิยมโตต้องขึ้นเรื่อยๆ
8. จงละเลยหุ้นที่มีประวัติเรื่องเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อย หรือมีพฤติกรรมดูแลราคาหุ้นแม้แต่ครั้งเดียว ราวกับว่าบริษัทเหล่านั้นมิได้ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์
9. โอกาสในตลาดหุ้นไม่ได้มีมากขนาดหาได้ทุกวันมิฉะนั้นผู้คนคงเลิกทำงานประจำ บริษัทคงเลิกนำเงินไปลงทุนนอกตลาด ในบรรดาหุ้น 20 ตัวที่คุณอยากซื้อในหนึ่งปี จงใช้เงินทั้งหมดที่มีอยู่ซื้อแค่ 1-2 ตัวที่คุณคิดว่าเป็นโอกาสที่ดีที่สุดใน 20 ตัวนั้น คุณจะพบว่าคุณจะได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าการแบ่งเงินออกเป็น 20 ส่วนเพื่อซื้อทั้ง 20 ตัว
10. นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จร้อยทั้งร้อยมีความคิดที่เป็นอิสระ ถ้าคุณจอดรอไฟแดงอยู่ที่สี่แยกที่ไม่มีรถวิ่งอยู่ แต่รถคันหลังรุมกดดันคุณด้วยการบีบแตรไล่ให้คุณวิ่งออกไปเลย ถ้าคุณไม่สนใจแรงกดดันนั้นและรอจนไฟเขียวจึงค่อยไป คุณมีแนวโน้มที่จะเล่นหุ้นแล้วประสบความสำเร็จครับ
ขอให้โชคดีทุกคน
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 2035
- ผู้ติดตาม: 0
คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ
โพสต์ที่ 1722
มุมมองของคุณ Invisible Hand ใน Green Bull Value
เขียนเมื่อ 14/12/2005
น่าสนใจเหมือนกัน ลองอ่านดู
มีใบ้หุ้นด้วย แต่คงต้องใช้วิจารณญานเอาเองนะครับ
[quote='Invisible Hand"]
ใกล้จะสิ้นปีแล้วก็คงจะถึงเวลาที่ผมจะให้มุมมองสำหรับปีหน้ากับเพื่อนๆ แล้วนะครับ ยังไงเวลาที่ใช้เขียนมีค่อนข้างจำกัดอาจจะเล่าความคิดไม่ได้ทั้งหมดหรือละเอียดมากนักแต่จะขอสรุปประเด็นดังนี้นะครับ
ผมมองว่าปัจจัยหลักที่ยังมีผลกับภาวะการลงทุนในปีหน้าคือเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมัน โดยผมมองว่าทั้งสองอย่างจะไปด้วยกัน หากเศรษฐกิจโลกดี ราคาน้ำมันก็จะแพง แต่หากเศรษฐกิจโลกไม่ดี ราคาน้ำมันจะลดลง
ในกรณีที่เศรษฐกิจโลกดี ก็หมายความว่าการส่งออกของเราจะดี และส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจโดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับการส่งออกซึ่งก็จะมีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมด้วย แต่ก็จะทำให้น้ำมันแพงขึ้น ก็จะทำให้การบริโภคลดลง
ในกรณีที่เศรษฐกิจโลกไม่ดี การส่งออกเราจะแย่ลง และส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมได้รับผลกระทบ แต่ราคาน้ำมันก็จะลดลง และจะทำให้การบริโภคดีขึ้นได้
ดังนั้น ผมจึงคิดว่าอาจจะเสียเวลา และออกจะยากอยู่ที่เราจะมาทำนายว่าเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมันจะเป็นอย่างไร แต่หากให้ผมเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ผมอาจจะเดาว่าเศรษฐกิจโลกจะยังดีอยู่ และราคา commodity ขั้นพื้นฐานคือ น้ำมัน แร่เหล็ก แร่ธาตุอื่นๆ จะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างแพง ด้วยเหตุผลที่ว่าประเทศจีนยังไม่อยู่ในภาวะที่มีการจ้างแรงงานเต็มที่ ( full employment ) เนื่องจากยังมีแรงงานส่วนเกินในภาคชนบทอีกมาก ดังนั้นเศรษฐกิจโลกน่าจะเติบโตได้ต่อเนื่องจากแรงขับดันของประเทศจีน
เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไทยปัจจุบันก็นับว่าไม่สามารถแข็งแกร่งด้วยตัวเองได้มากนัก เมื่อ 8 ปีที่แล้ว เกาหลีใต้ มีปัญหาทางการเงิน ภาระหนี้สินต่างประเทศไม่แพ้เรา แต่เค้ามีทุนที่สำคัญคือ ทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยี การวิจัยพัฒนา ที่เหนือกว่าเรา ทำให้เวลานี้เกาหลีใต้สามารถพัฒนาสินค้าและบริการต่างๆ และส่งขายได้ทั่วโลก แบรนด์ Sumsung เป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมกว่าแบรนด์ญี่ปุ่นบางแบรนด์ เค้ามี แดจังกึม ที่ดังในหลายประเทศทั่วเอเชีย ในขณะที่วงการฟุตบอล เกาหลีใต้ก็เข้ารอบลึกๆ ในบอลโลก และ ปาร์ค จี ซุง ก็สามารถเล่นในสโมสรใหญ่อย่างแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดได้
ในขณะที่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่อย่างจีน และเวียดนาม ก็มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการพัฒนาที่ผมมองว่ามีผลต่อการพัฒนาของประเทศในระยะยาวที่สุด คือ ด้านการศึกษา
ปัญหาที่นักลงทุนต่างชาติพบเวลาไปลงทุนในเมืองจีน คือ คนจีนเกือบทุกคนอยากเป็นผู้ประกอบการ ดังนั้นผู้ประกอบการต่างชาติจะเจอปัญหาที่ลูกจ้างชาวจีนออกไปตั้งโรงงานหรือบริษัทแข่งกับนายจ้าง มีการ copy เครื่องจักรและ brand name ทำให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นสามารถมีต้นทุนต่ำกว่า กระเบื้องจีนที่ราคาถูกกว่าไทยมากเพราะเค้าไม่ต้องนำเข้าเครื่องจักรเพราะมีการ copy เทคโนโลยีเครื่องจักรจากต่างประเทศ แม้กระทั่งมอเตอร์ไซค์ที่จีนก็มียี่ห้อง Yamahe Sazaki Honba ขายและไม่ผิดกฎหมาย เพราะชื่อ Honba ไม่ใช่ Honda ซักหน่อย
สำหรับประเทศเวียดนาม ผมมองว่ามีจุดเด่นด้านทรัพยากรมนุษย์ แต่จุดอ่อนของเวียดนาม คือ ภูมิประเทศ เนื่องจากเวียดนามจะมีพายุไต้ฝุ่นเข้าบ่อยมาก และภูมิประเทศที่ยาวทำให้การขนส่งสินค้าในประเทศทำได้ลำบาก แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็ยังมองว่าเวียดนามจะน่ากลัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต เนื่องจากญี่ปุ่นเองก็มีปัญหาเรื่องภัยธรรมชาติและภูมิประเทศเป็นเกาะเช่นกัน ทรัพยากรมนุษย์สำคัญกว่าครับ
ผมยังเชื่อว่าประเทศไทยยังพอจะมีที่ว่างในระบบเศรษฐกิจโลกอยู่ เนื่องจากคนไทยไม่ชอบเป็นผู้ประกอบการเท่าคนจีน รักสงบ ไม่ตุกติกนัก รวมทั้งเป็นประเทศเดียวในเอเชียแถบตะวันออกที่เป็นมิตรกับญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงไม่มีความบาดหมางใจกัน รวมทั้งวัฒนธรรม อาหารการกินก็เข้ากันได้ ผมเชื่อว่าคนญี่ปุ่นน่าจะชอบอาหารไทยมากกว่าอาหารพื้นเมืองของมาเลเซีย ดังนั้นบริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่วางใจให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตในอันดับต้นๆ และน่าจะรองจากจีนเท่านั้น เศรษฐกิจไทยในอนาคตก็น่าจะพึ่งพาการย้ายฐานการผลิตและลงทุนเพิ่มของญึ่ปุ่นมากพอสมควรในอนาคต
เมื่อเรายังพอจะมีความหวังอยู่ ดังนั้นผมยังมองว่าเศรษฐกิจไทยยังพอไปได้ เพียงแต่เราอย่าหวังว่า GDP จะต้องโตปีละ 8-9% เราคงจะโตได้ซัก 4-5% ซึ่งผมก็ยังมองว่าเป็นระดับที่ไม่เลวร้ายเกินไปนัก ข้อดีอย่างหนึ่งของการที่ GDP เราโตต่ำกว่าเพื่อนบ้านอย่างจีนก็คือ ธุรกิจไทยจะไม่เจอการแข่งขันที่รุนแรงจากต่างชาตินัก บริษัทใหญ่ๆ หลายบริษัทก็เมินการลงทุนในประเทศไทย เช่น Walmart Home Depot Best buy และก็มีที่ถอนตัวออกไปแล้ว เช่น Orange เพราะเค้ามองว่าตลาดในประเทศไทยเล็กไปสู้ไป focus ที่จีนดีกว่า ทำให้สภาพการแข่งขันของธุรกิจหลายอย่างอยู่ในภาวะผู้แข่งขันน้อยราย หรือ Oligopoly ซึ่งเป็นผลดีกับผู้ประกอบการครับ
ผมชอบเศรษฐกิจที่เติบโต 4-5% ต่อปี มากกว่าที่จะโต 10% หรือ 0% ครับ เพราะเป็นระดับที่กำลังดี ไม่ตกต่ำ และไม่ทำให้เกิดภาวะฟองสบู่จนทำให้เกิดการเก็งกำไรหรือการลงทุนเพิ่มของผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างมหาศาลจนทำให้ท้ายสุดเศรษฐกิจอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในอนาคตได้
แต่การที่เศรษฐกิจจะโต 4-5% นั้น แน่นอนครับ ตลาดหุ้นคงจะไม่ได้ขึ้นมากๆ เราคงจะต้องเลือกหุ้นที่เติบโตสูงกว่าระบบเศรษฐกิจครับ และในภาวะเงินเฟ้อที่ค่อนข้างจะสูงอย่างนี้ เราจะต้องเลือกหุ้นที่สามารถผลักภาระด้านต้นทุนในกับผู้บริโภคได้อีกด้วยครับ
ดังนั้น คำขวัญหลักของผมในการลงทุนปีหน้านี้คือ ต้องโตเร็วกว่าเศรษฐกิจและผลักภาระต้นทุนได้ ครับ
หากสังเกตผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในปีนี้ จะเห็นว่าหลายๆ บริษัทได้ประสบปัญหาต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และส่งผลให้กำไรลดลง หลายบริษัทพลิกจากกำไรเป็นขาดทุน ด้วยเหตุผลที่บริษัทเหล่านี้ไม่สามารถปรับราคาขายตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นในภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมัน แร่ธาตุ ยังแพงอย่างนี้ ผมคงยังไม่สนใจบริษัทเหล่านี้นักเพราะไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าบริษัทเหล่านี้จะกลับมาทำกำไรได้ดีในปีหน้า
หากไม่ดูเรื่อง valuation หรือ P/E เลย ผมเชื่อว่ากลุ่มธุรกิจที่จะรักษาความสามารถในการทำกำไรและมีการเติบโตของกำไรให้เห็นในปีหน้าได้ก็พอจะมีดังนี้ครับ
1 กลุ่มค้าปลีก
2 กลุ่มโรงพยาบาล
3 กลุ่มโรงแรม
4 กลุ่มร้านอาหาร
5 กลุ่มธุรกิจที่มีรายได้จากการให้เช่า เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงงาน อาคารสำนักงาน
6 กลุ่มประกัน ( บางบริษัทโดยเฉพาะบริษัทประกันภัยขนาดใหญ่และบริษัทประกันชีวิต )
7 หุ้นสาธารณูปโภคบางตัว เช่น ทางด่วน หรือโรงไฟฟ้า ก็น่าจะรักษาผลกำไรได้ในระดับหนึ่งแม้ว่ากำไรจะไม่เติบโตนัก
อย่างไรก็ตาม หากดูในแง่ valuation แล้ว จะเห็นได้ว่าราคาหุ้นของหุ้นบางตัวใน 1-7 กลุ่มดังกล่าว ได้ปรับขึ้นมาพอสมควรสะท้อนความน่าสนใจในการลงทุนและความแข็งแกร่งของกิจการแล้ว ดังนั้น หุ้นที่แข็งแกร่งบางตัวตอนนี้อาจะเป็นบริษัทเกรด A แต่อาจจะยังไม่น่าสนใจที่จะลงทุน ณ ราคาปัจจุบันก็ได้ครับ ถ้าผมมีเงินมากพอ ผมเองก็คงจะไม่ซื้อ Benz E-class รุ่นใหม่ในราคาปัจจุบันครับ แม้ว่าผมเชื่อว่ามันดี แต่ราคาขายก็สะท้อนคุณภาพไปหมดแล้ว แต่หากใครจะมาขาย e-class ในราคา 50% ของราคาตลาด ถ้าตอนนั้นผมมีเงินพอ ผมก็อาจจะสนใจครับ
ผมเชื่อว่าหุ้น 7 กลุ่มนี้ หากมีอยู่และ p/e ไม่แพงไป ก็น่าจะถือลงทุนไปได้อย่างสบายใจครับ ( ยกเว้นบางตัวที่อาจจะแพงเกินไป ) และน่าจะพิจารณาเลือกหุ้นบางตัวที่ยังไม่แพงเกินไปนักสำหรับการลงทุนครับ
สำหรับกลุ่มที่ควรจะใช้ความระมัดระวังในการลงทุน และข้อคิดต่างๆ นะครับ
1. หุ้นที่กำลังจะใช้ผลขาดทุนสะสมทางภาษีหมด และจะต้องเริ่มเสียภาษีในปีหน้า
2. หุ้นที่เป็นผู้ผลิตที่ลูกค้ามีขนาดใหญ่กว่าตนเองมากๆ ซึ่งหุ้นเหล่านี้อาจจะมีอำนาจต่อรองต่ำ
3. หุ้นที่ราคาวัตถุดิบมีความผันผวนมากๆ และมีปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้หลายๆ อย่าง เช่น โรคระบาด ภัยแล้ง
4. หุ้นที่มีข่าวว่าจะเป็นหุ้น turnaround ผมเชื่อว่าหุ้น turn around จริงๆ ได้ฟื้นกันหมดตั้งแต่ปี 2544-2546 แล้ว
5. Sector ที่มีการ IPO มากๆ ในปีนั้นๆ มักจะเป็นกลุ่มที่ underperform ในปีต่อๆ ไป เพราะในทางเศรษฐศาสตร์อธิบายได้ว่าเมื่อมี capital หรือทุน เข้าไปใน sector ใดมากๆ ก็จะทำให้เกิด excess capital หรือเงินทุนส่วนเกิน ซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนของ capital ทั้งระบบลดลง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อปี 2547 หุ้น IPO เป็นอสังหาฯ และวัสดุก่อสร้างเยอะมาก ปี 2548 ต้นปีหุ้น IPO เป็น ยานยนต์ เยอะมาก
ปีหน้าผมมองว่าน่าจะเป็นอีกปีหนึ่งที่ดีสำหรับหุ้นค้าปลีกครับ ตัวที่ผมคิดว่าหากเทียบศักยภาพของธุรกิจและราคาในปัจจุบันก็น่าจะเป็น IT ( IT City ) และ BIGC ครับ คงจะเล่ารายละเอียดในกระทู้ต่อไปครับ แต่ระหว่างนี้หากเพื่อนๆ สนใจก็ช่วยกันหาข้อมูลและมาแลกเปลี่ยนกันก็จะดีมากเลยครับ
ส่วน TICON มุมมองก็ยังเหมือนเดิมครับไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงครับ
ส่วนระหว่างครึ่งปีแรกหากมีหุ้นน่าสนใจเพิ่มเติมผมอาจจะเข้าไปเล่าในกระทู้ ค้นฟ้าคว้าดาว ข้างบนครับ
การลงทุนในหุ้นก็เป็นสิ่งที่น่าจะทำผลตอบแทนได้ดีกว่าการฝากเงินในระยะยาวครับ แต่มันก็ไม่ใช่ผลตอบแทนที่จะได้มาโดยง่ายครับ ก็ต้องศึกษา หาข้อมูลอย่างสม่ำเสมอครับ ต้องคิดเร็ว ทำเร็วกว่าคนอื่นอย่างน้อย 1 ก้าวเสมอครับ หากทำอะไรพร้อมคนอื่น รู้พร้อมคนอื่น หรือคิดเหมือนกับที่ตลาดคิด โอกาสขาดทุนจะมากกว่ากำไรครับ
ผมก็มองว่าปีหน้าก็จะเป็นอีกปีที่ยากลำบากเหมือน 1-2 ปีที่ผ่านมานี้ครับ ดังนั้นการเลือกหุ้นให้ถูกตัวก็ยังเป็นสิ่งสำคัญครับ แต่หากมันจะเป็นปีที่ดีของตลาดรวมก็ถือว่าเป็นผลพลอยได้ครับ อย่างน้อยเราระมัดระวังไว้ก่อนน่าจะดีกว่าครับ ยังไงก็ขอให้เพื่อนๆ ทุกคนโชคดี ประสบความสำเร็จในการลงทุน และมีสุขภาพแข็งแรงครับ แล้วจะ update กันอีกครั้งในครึ่งหลังของปีหน้าหรือเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนอย่างมีนัยสำคัญครับ
[/quote]
เขียนเมื่อ 14/12/2005
น่าสนใจเหมือนกัน ลองอ่านดู
มีใบ้หุ้นด้วย แต่คงต้องใช้วิจารณญานเอาเองนะครับ
[quote='Invisible Hand"]
ใกล้จะสิ้นปีแล้วก็คงจะถึงเวลาที่ผมจะให้มุมมองสำหรับปีหน้ากับเพื่อนๆ แล้วนะครับ ยังไงเวลาที่ใช้เขียนมีค่อนข้างจำกัดอาจจะเล่าความคิดไม่ได้ทั้งหมดหรือละเอียดมากนักแต่จะขอสรุปประเด็นดังนี้นะครับ
ผมมองว่าปัจจัยหลักที่ยังมีผลกับภาวะการลงทุนในปีหน้าคือเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมัน โดยผมมองว่าทั้งสองอย่างจะไปด้วยกัน หากเศรษฐกิจโลกดี ราคาน้ำมันก็จะแพง แต่หากเศรษฐกิจโลกไม่ดี ราคาน้ำมันจะลดลง
ในกรณีที่เศรษฐกิจโลกดี ก็หมายความว่าการส่งออกของเราจะดี และส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจโดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับการส่งออกซึ่งก็จะมีผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมด้วย แต่ก็จะทำให้น้ำมันแพงขึ้น ก็จะทำให้การบริโภคลดลง
ในกรณีที่เศรษฐกิจโลกไม่ดี การส่งออกเราจะแย่ลง และส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมได้รับผลกระทบ แต่ราคาน้ำมันก็จะลดลง และจะทำให้การบริโภคดีขึ้นได้
ดังนั้น ผมจึงคิดว่าอาจจะเสียเวลา และออกจะยากอยู่ที่เราจะมาทำนายว่าเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมันจะเป็นอย่างไร แต่หากให้ผมเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ผมอาจจะเดาว่าเศรษฐกิจโลกจะยังดีอยู่ และราคา commodity ขั้นพื้นฐานคือ น้ำมัน แร่เหล็ก แร่ธาตุอื่นๆ จะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างแพง ด้วยเหตุผลที่ว่าประเทศจีนยังไม่อยู่ในภาวะที่มีการจ้างแรงงานเต็มที่ ( full employment ) เนื่องจากยังมีแรงงานส่วนเกินในภาคชนบทอีกมาก ดังนั้นเศรษฐกิจโลกน่าจะเติบโตได้ต่อเนื่องจากแรงขับดันของประเทศจีน
เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไทยปัจจุบันก็นับว่าไม่สามารถแข็งแกร่งด้วยตัวเองได้มากนัก เมื่อ 8 ปีที่แล้ว เกาหลีใต้ มีปัญหาทางการเงิน ภาระหนี้สินต่างประเทศไม่แพ้เรา แต่เค้ามีทุนที่สำคัญคือ ทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยี การวิจัยพัฒนา ที่เหนือกว่าเรา ทำให้เวลานี้เกาหลีใต้สามารถพัฒนาสินค้าและบริการต่างๆ และส่งขายได้ทั่วโลก แบรนด์ Sumsung เป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมกว่าแบรนด์ญี่ปุ่นบางแบรนด์ เค้ามี แดจังกึม ที่ดังในหลายประเทศทั่วเอเชีย ในขณะที่วงการฟุตบอล เกาหลีใต้ก็เข้ารอบลึกๆ ในบอลโลก และ ปาร์ค จี ซุง ก็สามารถเล่นในสโมสรใหญ่อย่างแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดได้
ในขณะที่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่อย่างจีน และเวียดนาม ก็มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการพัฒนาที่ผมมองว่ามีผลต่อการพัฒนาของประเทศในระยะยาวที่สุด คือ ด้านการศึกษา
ปัญหาที่นักลงทุนต่างชาติพบเวลาไปลงทุนในเมืองจีน คือ คนจีนเกือบทุกคนอยากเป็นผู้ประกอบการ ดังนั้นผู้ประกอบการต่างชาติจะเจอปัญหาที่ลูกจ้างชาวจีนออกไปตั้งโรงงานหรือบริษัทแข่งกับนายจ้าง มีการ copy เครื่องจักรและ brand name ทำให้ผู้ประกอบการท้องถิ่นสามารถมีต้นทุนต่ำกว่า กระเบื้องจีนที่ราคาถูกกว่าไทยมากเพราะเค้าไม่ต้องนำเข้าเครื่องจักรเพราะมีการ copy เทคโนโลยีเครื่องจักรจากต่างประเทศ แม้กระทั่งมอเตอร์ไซค์ที่จีนก็มียี่ห้อง Yamahe Sazaki Honba ขายและไม่ผิดกฎหมาย เพราะชื่อ Honba ไม่ใช่ Honda ซักหน่อย
สำหรับประเทศเวียดนาม ผมมองว่ามีจุดเด่นด้านทรัพยากรมนุษย์ แต่จุดอ่อนของเวียดนาม คือ ภูมิประเทศ เนื่องจากเวียดนามจะมีพายุไต้ฝุ่นเข้าบ่อยมาก และภูมิประเทศที่ยาวทำให้การขนส่งสินค้าในประเทศทำได้ลำบาก แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็ยังมองว่าเวียดนามจะน่ากลัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต เนื่องจากญี่ปุ่นเองก็มีปัญหาเรื่องภัยธรรมชาติและภูมิประเทศเป็นเกาะเช่นกัน ทรัพยากรมนุษย์สำคัญกว่าครับ
ผมยังเชื่อว่าประเทศไทยยังพอจะมีที่ว่างในระบบเศรษฐกิจโลกอยู่ เนื่องจากคนไทยไม่ชอบเป็นผู้ประกอบการเท่าคนจีน รักสงบ ไม่ตุกติกนัก รวมทั้งเป็นประเทศเดียวในเอเชียแถบตะวันออกที่เป็นมิตรกับญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงไม่มีความบาดหมางใจกัน รวมทั้งวัฒนธรรม อาหารการกินก็เข้ากันได้ ผมเชื่อว่าคนญี่ปุ่นน่าจะชอบอาหารไทยมากกว่าอาหารพื้นเมืองของมาเลเซีย ดังนั้นบริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่วางใจให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตในอันดับต้นๆ และน่าจะรองจากจีนเท่านั้น เศรษฐกิจไทยในอนาคตก็น่าจะพึ่งพาการย้ายฐานการผลิตและลงทุนเพิ่มของญึ่ปุ่นมากพอสมควรในอนาคต
เมื่อเรายังพอจะมีความหวังอยู่ ดังนั้นผมยังมองว่าเศรษฐกิจไทยยังพอไปได้ เพียงแต่เราอย่าหวังว่า GDP จะต้องโตปีละ 8-9% เราคงจะโตได้ซัก 4-5% ซึ่งผมก็ยังมองว่าเป็นระดับที่ไม่เลวร้ายเกินไปนัก ข้อดีอย่างหนึ่งของการที่ GDP เราโตต่ำกว่าเพื่อนบ้านอย่างจีนก็คือ ธุรกิจไทยจะไม่เจอการแข่งขันที่รุนแรงจากต่างชาตินัก บริษัทใหญ่ๆ หลายบริษัทก็เมินการลงทุนในประเทศไทย เช่น Walmart Home Depot Best buy และก็มีที่ถอนตัวออกไปแล้ว เช่น Orange เพราะเค้ามองว่าตลาดในประเทศไทยเล็กไปสู้ไป focus ที่จีนดีกว่า ทำให้สภาพการแข่งขันของธุรกิจหลายอย่างอยู่ในภาวะผู้แข่งขันน้อยราย หรือ Oligopoly ซึ่งเป็นผลดีกับผู้ประกอบการครับ
ผมชอบเศรษฐกิจที่เติบโต 4-5% ต่อปี มากกว่าที่จะโต 10% หรือ 0% ครับ เพราะเป็นระดับที่กำลังดี ไม่ตกต่ำ และไม่ทำให้เกิดภาวะฟองสบู่จนทำให้เกิดการเก็งกำไรหรือการลงทุนเพิ่มของผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างมหาศาลจนทำให้ท้ายสุดเศรษฐกิจอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยในอนาคตได้
แต่การที่เศรษฐกิจจะโต 4-5% นั้น แน่นอนครับ ตลาดหุ้นคงจะไม่ได้ขึ้นมากๆ เราคงจะต้องเลือกหุ้นที่เติบโตสูงกว่าระบบเศรษฐกิจครับ และในภาวะเงินเฟ้อที่ค่อนข้างจะสูงอย่างนี้ เราจะต้องเลือกหุ้นที่สามารถผลักภาระด้านต้นทุนในกับผู้บริโภคได้อีกด้วยครับ
ดังนั้น คำขวัญหลักของผมในการลงทุนปีหน้านี้คือ ต้องโตเร็วกว่าเศรษฐกิจและผลักภาระต้นทุนได้ ครับ
หากสังเกตผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในปีนี้ จะเห็นว่าหลายๆ บริษัทได้ประสบปัญหาต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และส่งผลให้กำไรลดลง หลายบริษัทพลิกจากกำไรเป็นขาดทุน ด้วยเหตุผลที่บริษัทเหล่านี้ไม่สามารถปรับราคาขายตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นในภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมัน แร่ธาตุ ยังแพงอย่างนี้ ผมคงยังไม่สนใจบริษัทเหล่านี้นักเพราะไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าบริษัทเหล่านี้จะกลับมาทำกำไรได้ดีในปีหน้า
หากไม่ดูเรื่อง valuation หรือ P/E เลย ผมเชื่อว่ากลุ่มธุรกิจที่จะรักษาความสามารถในการทำกำไรและมีการเติบโตของกำไรให้เห็นในปีหน้าได้ก็พอจะมีดังนี้ครับ
1 กลุ่มค้าปลีก
2 กลุ่มโรงพยาบาล
3 กลุ่มโรงแรม
4 กลุ่มร้านอาหาร
5 กลุ่มธุรกิจที่มีรายได้จากการให้เช่า เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงงาน อาคารสำนักงาน
6 กลุ่มประกัน ( บางบริษัทโดยเฉพาะบริษัทประกันภัยขนาดใหญ่และบริษัทประกันชีวิต )
7 หุ้นสาธารณูปโภคบางตัว เช่น ทางด่วน หรือโรงไฟฟ้า ก็น่าจะรักษาผลกำไรได้ในระดับหนึ่งแม้ว่ากำไรจะไม่เติบโตนัก
อย่างไรก็ตาม หากดูในแง่ valuation แล้ว จะเห็นได้ว่าราคาหุ้นของหุ้นบางตัวใน 1-7 กลุ่มดังกล่าว ได้ปรับขึ้นมาพอสมควรสะท้อนความน่าสนใจในการลงทุนและความแข็งแกร่งของกิจการแล้ว ดังนั้น หุ้นที่แข็งแกร่งบางตัวตอนนี้อาจะเป็นบริษัทเกรด A แต่อาจจะยังไม่น่าสนใจที่จะลงทุน ณ ราคาปัจจุบันก็ได้ครับ ถ้าผมมีเงินมากพอ ผมเองก็คงจะไม่ซื้อ Benz E-class รุ่นใหม่ในราคาปัจจุบันครับ แม้ว่าผมเชื่อว่ามันดี แต่ราคาขายก็สะท้อนคุณภาพไปหมดแล้ว แต่หากใครจะมาขาย e-class ในราคา 50% ของราคาตลาด ถ้าตอนนั้นผมมีเงินพอ ผมก็อาจจะสนใจครับ
ผมเชื่อว่าหุ้น 7 กลุ่มนี้ หากมีอยู่และ p/e ไม่แพงไป ก็น่าจะถือลงทุนไปได้อย่างสบายใจครับ ( ยกเว้นบางตัวที่อาจจะแพงเกินไป ) และน่าจะพิจารณาเลือกหุ้นบางตัวที่ยังไม่แพงเกินไปนักสำหรับการลงทุนครับ
สำหรับกลุ่มที่ควรจะใช้ความระมัดระวังในการลงทุน และข้อคิดต่างๆ นะครับ
1. หุ้นที่กำลังจะใช้ผลขาดทุนสะสมทางภาษีหมด และจะต้องเริ่มเสียภาษีในปีหน้า
2. หุ้นที่เป็นผู้ผลิตที่ลูกค้ามีขนาดใหญ่กว่าตนเองมากๆ ซึ่งหุ้นเหล่านี้อาจจะมีอำนาจต่อรองต่ำ
3. หุ้นที่ราคาวัตถุดิบมีความผันผวนมากๆ และมีปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้หลายๆ อย่าง เช่น โรคระบาด ภัยแล้ง
4. หุ้นที่มีข่าวว่าจะเป็นหุ้น turnaround ผมเชื่อว่าหุ้น turn around จริงๆ ได้ฟื้นกันหมดตั้งแต่ปี 2544-2546 แล้ว
5. Sector ที่มีการ IPO มากๆ ในปีนั้นๆ มักจะเป็นกลุ่มที่ underperform ในปีต่อๆ ไป เพราะในทางเศรษฐศาสตร์อธิบายได้ว่าเมื่อมี capital หรือทุน เข้าไปใน sector ใดมากๆ ก็จะทำให้เกิด excess capital หรือเงินทุนส่วนเกิน ซึ่งจะทำให้ผลตอบแทนของ capital ทั้งระบบลดลง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อปี 2547 หุ้น IPO เป็นอสังหาฯ และวัสดุก่อสร้างเยอะมาก ปี 2548 ต้นปีหุ้น IPO เป็น ยานยนต์ เยอะมาก
ปีหน้าผมมองว่าน่าจะเป็นอีกปีหนึ่งที่ดีสำหรับหุ้นค้าปลีกครับ ตัวที่ผมคิดว่าหากเทียบศักยภาพของธุรกิจและราคาในปัจจุบันก็น่าจะเป็น IT ( IT City ) และ BIGC ครับ คงจะเล่ารายละเอียดในกระทู้ต่อไปครับ แต่ระหว่างนี้หากเพื่อนๆ สนใจก็ช่วยกันหาข้อมูลและมาแลกเปลี่ยนกันก็จะดีมากเลยครับ
ส่วน TICON มุมมองก็ยังเหมือนเดิมครับไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงครับ
ส่วนระหว่างครึ่งปีแรกหากมีหุ้นน่าสนใจเพิ่มเติมผมอาจจะเข้าไปเล่าในกระทู้ ค้นฟ้าคว้าดาว ข้างบนครับ
การลงทุนในหุ้นก็เป็นสิ่งที่น่าจะทำผลตอบแทนได้ดีกว่าการฝากเงินในระยะยาวครับ แต่มันก็ไม่ใช่ผลตอบแทนที่จะได้มาโดยง่ายครับ ก็ต้องศึกษา หาข้อมูลอย่างสม่ำเสมอครับ ต้องคิดเร็ว ทำเร็วกว่าคนอื่นอย่างน้อย 1 ก้าวเสมอครับ หากทำอะไรพร้อมคนอื่น รู้พร้อมคนอื่น หรือคิดเหมือนกับที่ตลาดคิด โอกาสขาดทุนจะมากกว่ากำไรครับ
ผมก็มองว่าปีหน้าก็จะเป็นอีกปีที่ยากลำบากเหมือน 1-2 ปีที่ผ่านมานี้ครับ ดังนั้นการเลือกหุ้นให้ถูกตัวก็ยังเป็นสิ่งสำคัญครับ แต่หากมันจะเป็นปีที่ดีของตลาดรวมก็ถือว่าเป็นผลพลอยได้ครับ อย่างน้อยเราระมัดระวังไว้ก่อนน่าจะดีกว่าครับ ยังไงก็ขอให้เพื่อนๆ ทุกคนโชคดี ประสบความสำเร็จในการลงทุน และมีสุขภาพแข็งแรงครับ แล้วจะ update กันอีกครั้งในครึ่งหลังของปีหน้าหรือเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนอย่างมีนัยสำคัญครับ
[/quote]
- ch_army
- Verified User
- โพสต์: 1352
- ผู้ติดตาม: 0
คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ
โพสต์ที่ 1724
กระทู้นี้ยืนยงคงกระพันมาอีกปีแล้วนะครับ คนก็ยังเข้าดูอยู่เสมอๆเลย
ปีนี้จะมีใครอาสา รวบรวมสาระดีๆจากกระทู้นี้มาทำเป็นเล่มไหมน้า
น้องๆที่เรียนมหาลัยปี 2-3 แบบว่าที่เรียนไม่หนักมาก พอไหวไหมครับ
ผมว่ามันเป็นอะไรที่มีประโยชน์มากเลยนะครับ
และก็ Happy New year ครับ
Joy, Peace and Wealth be with you all.
และขอให้ภาคใต้สงบสุขซะที ทุกข์มานานแล้ว
ปีนี้จะมีใครอาสา รวบรวมสาระดีๆจากกระทู้นี้มาทำเป็นเล่มไหมน้า
น้องๆที่เรียนมหาลัยปี 2-3 แบบว่าที่เรียนไม่หนักมาก พอไหวไหมครับ
ผมว่ามันเป็นอะไรที่มีประโยชน์มากเลยนะครับ
และก็ Happy New year ครับ
Joy, Peace and Wealth be with you all.
และขอให้ภาคใต้สงบสุขซะที ทุกข์มานานแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 120
- ผู้ติดตาม: 0
คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ
โพสต์ที่ 1727
ผมเอง เพิ่งสมัครสมาชิกเวบนี้ได้ไม่นาน
มีโอกาสเข้ามาดูกระทุ้นี้ครับ อ่านตั้งเเต่เริ่มเเรก (ตอนนี้ยังอ่านไม่จบเลยครับ) อ่านประกอบกับหน้า Investor Guide ด้วยครับ
ต้องบอกว่ารู้เรื่องบ้างไม่รุ้เรื่องบ้าง ครับ เเต่ก็จะพยายามครับ
ผมว่ามันเป็นประโยชน์กับคนที่คิดจะเริ่มต้นเป็น VI อย่างผมมากมายครับ
สุ้ๆครับ สุ้ตาย
ขอบคุณพี่ๆครับ
มีโอกาสเข้ามาดูกระทุ้นี้ครับ อ่านตั้งเเต่เริ่มเเรก (ตอนนี้ยังอ่านไม่จบเลยครับ) อ่านประกอบกับหน้า Investor Guide ด้วยครับ
ต้องบอกว่ารู้เรื่องบ้างไม่รุ้เรื่องบ้าง ครับ เเต่ก็จะพยายามครับ
ผมว่ามันเป็นประโยชน์กับคนที่คิดจะเริ่มต้นเป็น VI อย่างผมมากมายครับ
สุ้ๆครับ สุ้ตาย
ขอบคุณพี่ๆครับ
------
สุดท้าย มนุษย์ก็จะเหลือเเต่ความว่างเปล่า จะไขว่คว้าหาของนอกกายไปเพื่ออะไร
------
สุดท้าย มนุษย์ก็จะเหลือเเต่ความว่างเปล่า จะไขว่คว้าหาของนอกกายไปเพื่ออะไร
------
- prateepd
- Verified User
- โพสต์: 71
- ผู้ติดตาม: 0
คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ
โพสต์ที่ 1728
เห็นด้วยเลยครับ ผมเป็นสมาชิกระยะหนึ่งแล้ว แต่ไม่ค่อยได้เข้าเท่าไร หลังๆ เริ่มหันมาแล้ว VI บ้างแล้ว และได้ไปเรียนรอบสุดท้ายกับพี่มล ทำให้เข้าใจอะไรได้หลายอย่าง ก็ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 593
- ผู้ติดตาม: 0
คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ
โพสต์ที่ 1729
พี่วิบูลย์ครับ
ถ้าลงทุนในหุ้นแล้วหวัง 15 % ต่อปี วัดแค่ปีละครั้งก็พอ
ปรากฏว่าหุ้นเราไม่วิ่งไปไหน เมื่อเทียบกับราคาซื้อ ซัก 2-3 ปี
แต่ผลประกอบการก็ดีขึ้น ทีละนิดละหน่อยอย่างต่อเนื่อง
เช่น SMK TCB เป็นต้น
ได้ปันผลก็เป็น return เดียวที่คิดได้ นานวัน หลายปีเข้า มันก็ไม่เข้าเป้า ซะที
เจออย่างงี้ คิดยังไงดีครับ
ถ้าลงทุนในหุ้นแล้วหวัง 15 % ต่อปี วัดแค่ปีละครั้งก็พอ
ปรากฏว่าหุ้นเราไม่วิ่งไปไหน เมื่อเทียบกับราคาซื้อ ซัก 2-3 ปี
แต่ผลประกอบการก็ดีขึ้น ทีละนิดละหน่อยอย่างต่อเนื่อง
เช่น SMK TCB เป็นต้น
ได้ปันผลก็เป็น return เดียวที่คิดได้ นานวัน หลายปีเข้า มันก็ไม่เข้าเป้า ซะที
เจออย่างงี้ คิดยังไงดีครับ
ต้องเรียนรู้ให้ได้
Li .. Zhi .. Ren
Li .. Zhi .. Ren
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 2035
- ผู้ติดตาม: 0
คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ
โพสต์ที่ 1730
ข้อหนึ่งที่ทำให้หลายท่านถอดใจจากการลงทุนแบบเน้นคุณค่าก็คือTiger เขียน:พี่วิบูลย์ครับ
ถ้าลงทุนในหุ้นแล้วหวัง 15 % ต่อปี วัดแค่ปีละครั้งก็พอ
ปรากฏว่าหุ้นเราไม่วิ่งไปไหน เมื่อเทียบกับราคาซื้อ ซัก 2-3 ปี
แต่ผลประกอบการก็ดีขึ้น ทีละนิดละหน่อยอย่างต่อเนื่อง
เช่น SMK TCB เป็นต้น
ได้ปันผลก็เป็น return เดียวที่คิดได้ นานวัน หลายปีเข้า มันก็ไม่เข้าเป้า ซะที
เจออย่างงี้ คิดยังไงดีครับ
เราไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ราคาหุ้นจะสะท้อนมูลค่าที่แท้จริง
ปัญหานี้ไม่ได้เกิดกับนักลงทุนรายย่อยเท่านั้น
แต่นักลงทุนไม่ว่าระดับไหนต้องมีปัญหานี้กันทั้งนั้น
ไม่ว่าจะเป็นบัฟเฟต ปีเตอร์ ลินซ์ หรือใครก็ตาม
เพราะเราไม่สามารถบังคับนายตลาดได้
ราคาหุ้นจะสะท้อนมูลค่าที่แท้จริงก็เมื่อนายตลาดมาให้ราคานั่นหละครับ
ปัญหาอยู่ที่.....เมื่อไหร่
ผมแนะนำอย่างนี้แล้วกันครับ
หนึ่ง ตรวจสอบธุรกิจที่ถืออยู่ดูอีกครั้งว่ายังดีเหมือนเดิมหรือเปล่า
สอง เช็คว่ามูลค่าที่แท้จริงที่คำนวณได้ยังอยู่ที่เดิมไหม
สาม ตรวจสอบว่าหุ้นยังมีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง
สี่ ถ้าผ่านทั้งสามข้อก็น่าจะยังถือต่อไปได้
ถ้าทนไหวก็ขายเปลี่ยนตัวใหม่ก็ได้ครับ
ไม่มีข้อห้ามว่าห้ามขายหุ้นนี่ครับ
เราพอใจอย่างไรก็ทำตามนั้น
ถ้าผิดพลาดขายหมูขึ้นมาจะได้โทษตัวเอง
ไม่ต้องไปโทษใคร
โชคดีครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11444
- ผู้ติดตาม: 1
คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ
โพสต์ที่ 1731
อยากร่วมแชร์ความเห็นครับ
เราซื้อหุ้น เราหวังผลตอบแทนอะไรจากการซื้อหุ้นครับ
ถ้าเราหวังราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้น เราก็ต้องกลับมาดูที่เหตุและปัจจัยที่ราคาหุ้นจะลดลงหรือเพิ่มขึ้น
จะเห็นได้ว่ามีหลายปัจจัยมาก นอกเหนือจากผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของกิจการ
ถ้าอย่างนั้นความไม่แน่นอนก็สูง ไม่รู้ว่าเมื่อไรปัจจัยอื่นๆนอกเหนือจากผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของบริษัทจะเอื้ออำนวยให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น
แต่ถ้าเราหวังผลตอบแทนจากตัวบริษัทโดยตรง เราก็สามารถที่จะตัดปัจจัยแวดล้อมต่างๆได้อีกมาก
ผลการคาดหวังของเราก็ใกล้เคียงมากขึ้น
เราซื้อหุ้น เราหวังผลตอบแทนอะไรจากการซื้อหุ้นครับ
ถ้าเราหวังราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้น เราก็ต้องกลับมาดูที่เหตุและปัจจัยที่ราคาหุ้นจะลดลงหรือเพิ่มขึ้น
จะเห็นได้ว่ามีหลายปัจจัยมาก นอกเหนือจากผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของกิจการ
ถ้าอย่างนั้นความไม่แน่นอนก็สูง ไม่รู้ว่าเมื่อไรปัจจัยอื่นๆนอกเหนือจากผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของบริษัทจะเอื้ออำนวยให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น
แต่ถ้าเราหวังผลตอบแทนจากตัวบริษัทโดยตรง เราก็สามารถที่จะตัดปัจจัยแวดล้อมต่างๆได้อีกมาก
ผลการคาดหวังของเราก็ใกล้เคียงมากขึ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 593
- ผู้ติดตาม: 0
คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ
โพสต์ที่ 1732
ขอบคุณพี่วิบูลย์ กับพี่ฉัตรชัยครับ
ผมว่าของสะสมหลายประเภท มันมีมูลค่ามากกว่าราคาซื้อ ขาย มากครับ
ถ้าไม่รู้จักหาตลาดและเวลาที่ถูกต้องปล่อยของ
การลงทุนในหุ้นแนว VI คงคล้ายกันมังครับ
รู้ทั้งรู้ว่าราคา (ตลาด) ไม่เท่ามูลค่า
ถ้าต้องปล่อย และปล่อยไม่ถูกจังหวะ นายตลาดก็กดราคา
เพราะฉะนั้น VI มือใหม่นอกจากมั่นใจในการหามูลค่าของตนแล้ว
คงต้องหาหุ้นที่สอดคล้องกับสายป่านความอดทนของเราด้วย
ผมว่าของสะสมหลายประเภท มันมีมูลค่ามากกว่าราคาซื้อ ขาย มากครับ
ถ้าไม่รู้จักหาตลาดและเวลาที่ถูกต้องปล่อยของ
การลงทุนในหุ้นแนว VI คงคล้ายกันมังครับ
รู้ทั้งรู้ว่าราคา (ตลาด) ไม่เท่ามูลค่า
ถ้าต้องปล่อย และปล่อยไม่ถูกจังหวะ นายตลาดก็กดราคา
เพราะฉะนั้น VI มือใหม่นอกจากมั่นใจในการหามูลค่าของตนแล้ว
คงต้องหาหุ้นที่สอดคล้องกับสายป่านความอดทนของเราด้วย
ต้องเรียนรู้ให้ได้
Li .. Zhi .. Ren
Li .. Zhi .. Ren
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 2035
- ผู้ติดตาม: 0
คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ
โพสต์ที่ 1734
เรามักจะได้ยินคำพูดเกี่ยวกับการลงทุนอยู่บ่อยๆที่ว่า
Buy Low, Sell High
แต่ในความเป็นจริง
นักลงทุนจำนวนมากมักจะทำตรงกันข้าม
นั่นคือ
Buy High, Sell Low
อาจจะเพราะความกลัวหรือไม่ก็ตื่นตกใจเวลาหุ้นตกๆ
เช่นเวลานี้เป็นต้น
Buy Low, Sell High
แต่ในความเป็นจริง
นักลงทุนจำนวนมากมักจะทำตรงกันข้าม
นั่นคือ
Buy High, Sell Low
อาจจะเพราะความกลัวหรือไม่ก็ตื่นตกใจเวลาหุ้นตกๆ
เช่นเวลานี้เป็นต้น
-
- Verified User
- โพสต์: 2
- ผู้ติดตาม: 0
paha
โพสต์ที่ 1735
WACC ก็คือความเสี่ยง อย่างต่ำต้องใช้เท่ากับพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีครับ ปัจจุบัน 6.8% ปกติหุ้นทั่วๆ ไปอาจจะใช้ WACC 8-15% ครับ แล้วแต่ความเสี่ยง เสี่ยงมาก wacc มาก แต่ยังไง long-term gov bond ก็ควรดูค่าที่น่าจะเป็น long-term ด้วย อย่างเช่นตอนที่ผลตอบแทนพันธบัตรลงไป 4% เราไม่ควรใช้ 4% ตอนนั้นหากเราเชื่อว่าดอกเบี้ยตอนนั้นต่ำกว่าปกติ ควรจะดูค่าเฉลี่ยระยะ 10-15 ปีย้อนหลังดีกว่า
ดังนั้น หากใช้ p/e ให้เป็น คือ รู้ว่าหุ้นตัวนั้นๆ ควรจะ p/e เท่าไหร่ ผมคิดว่ามันก็หมายความว่าเราคิด DCF เป็นนั่นแหละครับ
ผมเคยเห็นหลายกระทู้ก่อนหน้านี้มีเพื่อนๆ แสดงความกังวลว่าหา DCF ไม่เป็นจะลงทุนไหวมั้ย คิดว่านี่น่าจะเป็นคำตอบได้ครับว่าจริงๆ แล้วใช้ p/e ก็พอในระดับหนึ่งครับ แต่ต้องเข้าใจธรรมชาติของ p/e มากๆ ครับ เช่น
1. การใช้ p/e กับหุ้นวัฎจักร ทั้งวัฎจักรเศรษฐกิจและวัฎจักรของราคาผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องต้องระวังมากๆ
2 p/e สะท้อน growth และ risk หุ้นโตสูง p/e สูง หุ้นเสี่ยงสูง p/e ต่ำ
ฯลฯ
ส่วน DCF แม้ว่าจะแม่นยำขึ้น เพราะมีการพิจารณางบดุลเข้ามาประกอบ ซึ่งเราอาจจะ adjusted อีก ratio หนึ่งคือ
EV / net profit คือ แทนที่เอา mkt cap / net profit ก็เพิ่ม long-term debt เข้าไปด้วย เพราะ EV = mkt cap + long-term debt
เหตุผลที่ไม่ใช้ EV/ EBITDA เพราะผมเชื่อว่าระยะยาวๆ Depre = capex ครับ และ interest tax ก็ต้องจ่ายออกไปจริง
ดังนั้น EV/net profit จะสูงกว่า ( หุ้นตัวนั้นแพงกว่า ) สำหรับหุ้นที่มีหนี้มาก และต่ำกว่าหากหนี้น้อย กรณีที่กำไรเท่ากันครับ
ส่วนที่คุณ HHvo ถามมาว่าการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากการสัมภาษณ์นั้นทำอย่างไร ทำได้โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสรุปอุปนัยและใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเปรียบเทียบ โดยใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่
1. การทำ Case by Case Analysis โดยใช้การจดบันทึกจากการสัมภาษณ์และนำมาวิเคราะห์สรุปผลข้อมูลที่ได้
2. การทำ Cross Case Analysis ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์บุคคลเชิงลึก
ผมเอามาจากหนังสือของคุณชมพูนุช ทรัพย์เจริญ ลองหาดูนะครับ
ดังนั้น หากใช้ p/e ให้เป็น คือ รู้ว่าหุ้นตัวนั้นๆ ควรจะ p/e เท่าไหร่ ผมคิดว่ามันก็หมายความว่าเราคิด DCF เป็นนั่นแหละครับ
ผมเคยเห็นหลายกระทู้ก่อนหน้านี้มีเพื่อนๆ แสดงความกังวลว่าหา DCF ไม่เป็นจะลงทุนไหวมั้ย คิดว่านี่น่าจะเป็นคำตอบได้ครับว่าจริงๆ แล้วใช้ p/e ก็พอในระดับหนึ่งครับ แต่ต้องเข้าใจธรรมชาติของ p/e มากๆ ครับ เช่น
1. การใช้ p/e กับหุ้นวัฎจักร ทั้งวัฎจักรเศรษฐกิจและวัฎจักรของราคาผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องต้องระวังมากๆ
2 p/e สะท้อน growth และ risk หุ้นโตสูง p/e สูง หุ้นเสี่ยงสูง p/e ต่ำ
ฯลฯ
ส่วน DCF แม้ว่าจะแม่นยำขึ้น เพราะมีการพิจารณางบดุลเข้ามาประกอบ ซึ่งเราอาจจะ adjusted อีก ratio หนึ่งคือ
EV / net profit คือ แทนที่เอา mkt cap / net profit ก็เพิ่ม long-term debt เข้าไปด้วย เพราะ EV = mkt cap + long-term debt
เหตุผลที่ไม่ใช้ EV/ EBITDA เพราะผมเชื่อว่าระยะยาวๆ Depre = capex ครับ และ interest tax ก็ต้องจ่ายออกไปจริง
ดังนั้น EV/net profit จะสูงกว่า ( หุ้นตัวนั้นแพงกว่า ) สำหรับหุ้นที่มีหนี้มาก และต่ำกว่าหากหนี้น้อย กรณีที่กำไรเท่ากันครับ
ส่วนที่คุณ HHvo ถามมาว่าการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากการสัมภาษณ์นั้นทำอย่างไร ทำได้โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสรุปอุปนัยและใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเปรียบเทียบ โดยใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่
1. การทำ Case by Case Analysis โดยใช้การจดบันทึกจากการสัมภาษณ์และนำมาวิเคราะห์สรุปผลข้อมูลที่ได้
2. การทำ Cross Case Analysis ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์บุคคลเชิงลึก
ผมเอามาจากหนังสือของคุณชมพูนุช ทรัพย์เจริญ ลองหาดูนะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2
- ผู้ติดตาม: 0
คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ
โพสต์ที่ 1736
WACC ก็คือความเสี่ยง อย่างต่ำต้องใช้เท่ากับพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีครับ ปัจจุบัน 6.8% ปกติหุ้นทั่วๆ ไปอาจจะใช้ WACC 8-15% ครับ แล้วแต่ความเสี่ยง เสี่ยงมาก wacc มาก แต่ยังไง long-term gov bond ก็ควรดูค่าที่น่าจะเป็น long-term ด้วย อย่างเช่นตอนที่ผลตอบแทนพันธบัตรลงไป 4% เราไม่ควรใช้ 4% ตอนนั้นหากเราเชื่อว่าดอกเบี้ยตอนนั้นต่ำกว่าปกติ ควรจะดูค่าเฉลี่ยระยะ 10-15 ปีย้อนหลังดีกว่า
ดังนั้น หากใช้ p/e ให้เป็น คือ รู้ว่าหุ้นตัวนั้นๆ ควรจะ p/e เท่าไหร่ ผมคิดว่ามันก็หมายความว่าเราคิด DCF เป็นนั่นแหละครับ
ผมเคยเห็นหลายกระทู้ก่อนหน้านี้มีเพื่อนๆ แสดงความกังวลว่าหา DCF ไม่เป็นจะลงทุนไหวมั้ย คิดว่านี่น่าจะเป็นคำตอบได้ครับว่าจริงๆ แล้วใช้ p/e ก็พอในระดับหนึ่งครับ แต่ต้องเข้าใจธรรมชาติของ p/e มากๆ ครับ เช่น
1. การใช้ p/e กับหุ้นวัฎจักร ทั้งวัฎจักรเศรษฐกิจและวัฎจักรของราคาผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องต้องระวังมากๆ
2 p/e สะท้อน growth และ risk หุ้นโตสูง p/e สูง หุ้นเสี่ยงสูง p/e ต่ำ
ฯลฯ
ส่วน DCF แม้ว่าจะแม่นยำขึ้น เพราะมีการพิจารณางบดุลเข้ามาประกอบ ซึ่งเราอาจจะ adjusted อีก ratio หนึ่งคือ
EV / net profit คือ แทนที่เอา mkt cap / net profit ก็เพิ่ม long-term debt เข้าไปด้วย เพราะ EV = mkt cap + long-term debt
เหตุผลที่ไม่ใช้ EV/ EBITDA เพราะผมเชื่อว่าระยะยาวๆ Depre = capex ครับ และ interest tax ก็ต้องจ่ายออกไปจริง
ดังนั้น EV/net profit จะสูงกว่า ( หุ้นตัวนั้นแพงกว่า ) สำหรับหุ้นที่มีหนี้มาก และต่ำกว่าหากหนี้น้อย กรณีที่กำไรเท่ากันครับ
ส่วนที่คุณ HHvo ถามมาว่าการวิเคราะห์เชิงคุณภาพผมว่าถ้าข้อมูลที่ได้มาจากการสัมภาษณ์นั้นทำอย่างไร ทำได้โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสรุปอุปนัยและใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเปรียบเทียบ โดยใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่
1. การทำ Case by Case Analysis โดยใช้การจดบันทึกจากการสัมภาษณ์และนำมาวิเคราะห์สรุปผลข้อมูลที่ได้
2. การทำ Cross Case Analysis ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์บุคคลเชิงลึก
ผมเอามาจากหนังสือของคุณชมพูนุช ทรัพย์เจริญ ลองหาดูนะครับ
ลองถามผู้รู้โดยตรงจะดีกว่านะครับ
ดังนั้น หากใช้ p/e ให้เป็น คือ รู้ว่าหุ้นตัวนั้นๆ ควรจะ p/e เท่าไหร่ ผมคิดว่ามันก็หมายความว่าเราคิด DCF เป็นนั่นแหละครับ
ผมเคยเห็นหลายกระทู้ก่อนหน้านี้มีเพื่อนๆ แสดงความกังวลว่าหา DCF ไม่เป็นจะลงทุนไหวมั้ย คิดว่านี่น่าจะเป็นคำตอบได้ครับว่าจริงๆ แล้วใช้ p/e ก็พอในระดับหนึ่งครับ แต่ต้องเข้าใจธรรมชาติของ p/e มากๆ ครับ เช่น
1. การใช้ p/e กับหุ้นวัฎจักร ทั้งวัฎจักรเศรษฐกิจและวัฎจักรของราคาผลิตภัณฑ์เป็นเรื่องต้องระวังมากๆ
2 p/e สะท้อน growth และ risk หุ้นโตสูง p/e สูง หุ้นเสี่ยงสูง p/e ต่ำ
ฯลฯ
ส่วน DCF แม้ว่าจะแม่นยำขึ้น เพราะมีการพิจารณางบดุลเข้ามาประกอบ ซึ่งเราอาจจะ adjusted อีก ratio หนึ่งคือ
EV / net profit คือ แทนที่เอา mkt cap / net profit ก็เพิ่ม long-term debt เข้าไปด้วย เพราะ EV = mkt cap + long-term debt
เหตุผลที่ไม่ใช้ EV/ EBITDA เพราะผมเชื่อว่าระยะยาวๆ Depre = capex ครับ และ interest tax ก็ต้องจ่ายออกไปจริง
ดังนั้น EV/net profit จะสูงกว่า ( หุ้นตัวนั้นแพงกว่า ) สำหรับหุ้นที่มีหนี้มาก และต่ำกว่าหากหนี้น้อย กรณีที่กำไรเท่ากันครับ
ส่วนที่คุณ HHvo ถามมาว่าการวิเคราะห์เชิงคุณภาพผมว่าถ้าข้อมูลที่ได้มาจากการสัมภาษณ์นั้นทำอย่างไร ทำได้โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสรุปอุปนัยและใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเปรียบเทียบ โดยใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่
1. การทำ Case by Case Analysis โดยใช้การจดบันทึกจากการสัมภาษณ์และนำมาวิเคราะห์สรุปผลข้อมูลที่ได้
2. การทำ Cross Case Analysis ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์บุคคลเชิงลึก
ผมเอามาจากหนังสือของคุณชมพูนุช ทรัพย์เจริญ ลองหาดูนะครับ
ลองถามผู้รู้โดยตรงจะดีกว่านะครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 2035
- ผู้ติดตาม: 0
คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ
โพสต์ที่ 1737
ลูกอิสาน เขียน:ช่วงนี้เพื่อนๆคงรับเงินปันผลกันเพลินนะครับ
เคยจำได้ว่านักลงทุนท่านนึงคือคุณเทพ รุ่งธนาภิรมย์
ใช้เทคนิคในการเลือกหุ้น โดยเน้นที่เงินปันผล
และผมได้เก็บบทความเทคนิคคัดหุ้นของท่านไว้
โดยคัดลอกจากกรุงเทพธุรกิจถนนนักลงทุนประมาณ 1-2 ปีมาแล้ว
เอามาให้เพือนๆลองอ่านดูครับ ว่าเหมาะสมกับแนวทาง vi หรือเปล่า
หุ้นห่านทองคำ' เล่นไม่ยากหากจะเล่น
"ผมเองเจอหุ้นนานๆ ดูที ข้อมูลว่างเมื่อไรก็ศึกษา ไม่ได้ต้องมาเกาะติดอยู่ตลอด แต่จะเน้นดูงบ ไปฟังเมื่อบริษัทพรีเซ้นท์ข้อมูล
เวลาที่ให้กับเรื่องหุ้น 90% จะเป็นการค้นคว้า แค่ 5-6% เท่านั้นที่จะมาเทรด" เทพ รุ่งธนาภิรมย์ กล่าวถึง วิธีการลงทุนในหุ้นห่านทองคำของเขา
แนวคิดในการลงทุนแบบหุ้นห่านทองคำนี้ เขาบอกว่าเอามาจากการผสมผสานจากหนังสือหลายๆ เล่ม เช่น ให้เงินทำงาน การเก็บเงินการออมเงิน ความเป็นไททางการเงิน ฯลฯ
แม้กระทั่งหมากโกะ เกมกีฬาโปรดก็ถูกนำมาดัดแปลง
"โกะ มันมีพื้นที่กว้าง ต้องวางหมากไว้หลายจุด ก็เหมือนกับที่เราดูว่าจะมีจำนวนห่านให้มากได้อย่างไร แล้วธรรมชาติของมันจะเอาชนะโดยการไม่เอาชนะ ก็เหมือนการเล่นหุ้นโดยไม่ได้หวังเอาชนะ แต่เราจะเอาเงินปันผล"
ส่วนสไตล์ของนักลงทุนชื่อดังระดับโลกที่ชื่นชอบ Value Stocks ไม่ว่าจะเป็น วอร์เรนต์ บัฟเฟตต์ หรือปีเตอร์ ลินช์ นั้น เขาบอกว่าจะไม่เหมือนกันเสียทีเดียว
"บัฟเฟตต์ เป็น Value Investor เหมือนกัน แต่เขาจะรอจนราคาลงลึก แล้วซื้อทีละหนักๆ ปีเตอร์ ลินช์ เขาบริหารกองทุนก็จะเน้นหุ้นที่ทำให้มีเอ็นเอวีดี
แต่ส่วนตัวผม จะเน้นผลตอบแทนจากเงินปันผล
ไม่แน่ใจว่าใครจะเป็นอย่างผมบ้าง แต่ถ้าเป็นคนแรกก็จะดีใจมาก"
เทพบอกว่า หุ้นทั้งหลายมันเหมือนห่านให้ไข่ทองคำเราทุกปี ถ้าเราขายก็เหมือนฆ่าห่านทิ้ง
"เราจึงต้องมองผลตอบแทนการลงทุนจากเงินปันผล ไม่ใช่ผลตอบแทนจากการขายหุ้น ซึ่งนักลงทุนส่วนใหญ่จะมองแต่ส่วนนั้น
แต่อันนี้ทำกลับกัน ไม่ขายหุ้นทิ้ง ให้มีหุ้น (ห่าน) อยู่ส่วนหนึ่งเสมอ"
สำหรับกลยุทธ์การเลือกหุ้นห่านทองคำของเทพนั้น
หลักอันดับแรก เขาจะใช้ เกณฑ์เงินปันผลของหุ้นเป็นหลัก โดยจะเลือกหุ้นที่ให้ผลตอบแทนมาก 10-20 อันดับแรก ซึ่งหุ้นเหล่านี้จะให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลไม่ต่ำกว่า 7%
"วิธีคัดเลือกแบบง่ายสุด คือเลือกบริษัทที่มีกำไรสูงไว้ก่อน เพราะถ้ากำไรมากก็มีโอกาสจ่ายปันผลมาก"
แต่ก็ต้องระวังหุ้นที่มีกำไรสูงๆ หากมีขาดทุนสะสม เขาบอกว่า "ให้เลี่ยงซะ"
เมื่อได้ "ร่อน" หุ้นได้มาจำนวนหนึ่งแล้วก็ ตั้งคำถามยุทธศาสตร์ เช่น ทำธุรกิจอะไร ผู้บริหารคือใคร ผลงานที่ผ่านมา แผนงานและแนวโน้มในอนาคต
4 คำถามนี้แม้จะดูว่าพื้นๆ แต่ถ้าใครค้นหาคำตอบได้ ก็จะทำให้รู้จัก "ชาติตระกูล" ของห่านทองคำนั้นๆ ว่าเป็น "ห่านทองคำแท้" หรือ "ห่านอมโรค" ได้
ประเมินเชิงคุณภาพ โดยการลิสต์หัวข้อจุดเด่น จุดด้อย ของหุ้นนั้นทั้งหมดแล้วแยกแยะข้อดี-เสียออกจากกัน
ข้อมูลเหล่านี้ อาจจะมาจากข้อมูลพื้นฐาน ข่าวคราวที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับตัวบริษัท
ประเมินเชิงมูลค่า เป็นการหามูลค่าหุ้นที่แท้จริง จากเงินปันผล โดยพิจารณาจากเป้าหมาย "ไข่ทองคำ" หรือเงินปันผลที่เราต้องการ แล้วสรุปเป็นราคาหุ้นที่จะลงทุน
เช่น สมมติ หุ้นแพนเอเชียฟุทแวร์ จ่ายปันผลหุ้นละ 0.50 บาท หากเราต้องการผลตอบแทนจากเงินปันผล 10% ราคาหุ้นที่ต้องการจะเป็นเท่าไรนั้น ก็ใช้เงินปันผลหารด้วยผลตอบแทนที่ต้องการ หรือ .50 หารด้วย 10% ซึ่งผลลัพธ์จะเท่ากับหุ้นละ 5 บาท
จากนั้นก็เปรียบเทียบกับราคาตลาด ถ้าต่ำกว่า 5 บาท ให้ซื้อได้ในจำนวนมาก ถ้าเท่ากับราคาตลาดให้ซื้อบ้าง แต่ถ้าราคาตลาดสูงกว่ามูลค่าหุ้นที่คำนวณได้ให้รอไปก่อน
"ลงทุนและติดตามผล" ถือเป็นขั้นตอนสุดท้าย ทั้งนี้ ก็เพื่อจะปรับการลงทุนให้เหมาะ
โดยข้อมูลที่จะให้ติดตามผลนั้นเขาบอกว่า อาจจะมาจากแหล่งข้อมูลจากตลาดหุ้น www.set.or.th ซึ่งเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ รวมถึงการเข้าฟังการพรีเซ้นท์ข้อมูลหุ้นของบริษัท การร่วมประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท
วิธีการแบบนี้ จึงทำให้เขาแตกต่างกับสมัยก่อน
"สมัยก่อนหุ้นขึ้นก็ดีใจ ลงก็ทำไงดี เดี๋ยวคัทลอสท์ เดี๋ยวมาร์เก็ตไพรส์ เดี๋ยวนี้ไม่ใช่ มันเล่นแบบมีความสงบในใจ ไม่มุ่งเอากำไร แต่มุ่งเอาบริษัทดีๆ ผู้บริหารทำงานจริงจัง มีกำไรก็แบ่งให้เรา จะเลือกหุ้นแบบนี้เข้ามาในพอร์ต"
ใช้หลักลงทุนแบบนี้แล้วจะมีพลาดบ้างไหม เขาบอกว่ามีบ้าง เนื่องจากการวิเคราะห์ยังไม่สมบูรณ์พอ ก็ต้อง "คัทลอสท์" ไป แต่ไม่ได้เป็นไปแบบตื่นตระหนก เพราะโดยรวมแล้วพื้นฐานของบริษัทยังดีอยู่
"การลงทุนเหมือนการทำสวน ค่อยๆ ตกแต่งไปเรื่อยๆ งอกเงยมาก็ลิดกิ่งก้าน หายไปก็เติม หาต้นไม้ใหม่ๆ เข้าสวน"
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 1
คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ
โพสต์ที่ 1740
บุช ซัดเสียงกันกลางอากาศกับ อิหร่าน
พี่เทพ เลยคำนวนไม่ถูกว่า 24 นี้แตกพาร์จะอยู่ที่เท่าไหร่
บางคนว่า...130 อยู่หลัง
บางคนว่า แตกเสร็จเขาจะดันไเท่านั้นเท่านี้
ผมก็งง คุณวิบูลย์ ฟันธงให้หน่อย
พี่เทพ เลยคำนวนไม่ถูกว่า 24 นี้แตกพาร์จะอยู่ที่เท่าไหร่
บางคนว่า...130 อยู่หลัง
บางคนว่า แตกเสร็จเขาจะดันไเท่านั้นเท่านี้
ผมก็งง คุณวิบูลย์ ฟันธงให้หน่อย