ลองหัดทำ Five Force Model มาส่งครับ รบกวนช่วยวิจารณ์ทีครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า ลงทุนหุ้น VI เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
Onemai Ch.
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 149
ผู้ติดตาม: 0

ลองหัดทำ Five Force Model มาส่งครับ รบกวนช่วยวิจารณ์ทีครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

คือผมเป็นมือใหม่ทำ Five Force Model ในที่นี้ผมทำของ AIS มายาวนิดนึง(หรือสั้นไปก็ไม่แน่ใจ)นะครับ หาก Admin เห็นว่าควรจะไปอยู่ร้อยคนร้อยหุ้นก็ลบได้ย้ายได้ครับ

วิเคระห์ Five Force Model for AIS

1.การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม (5/5 คะแนน)
ปัจจุบัน AIS ดำเนินธุรกิจด้านโทรคมนาคม เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งประกอบไปด้วย VOICE และ NON VOICE service
โดยธุรกิจนี้เป็นลักษณะของการทำสัญญาสัมปทาน ปัจจุบันมีคู่แข่งรายใหญ่ในอุตสาหกรรมเดียวกันเพียงสองรายคือ TRUE และ DTAC และ AIS เป็นผู้
ครองส่วนแบ่งตลาดสูงสุด(ส่วนแบ่งทางการตลาดในเชิงรายได้อยู่ที่ 54% ในปี 2554) จากการศึกษาแบบคร่าวๆของผู้เขียน มียุคสมัยหนึ่งที่การแข่งขัน
ระหว่างผู้ให้บริการทั้งสามเจ้าเป็นลักษณะของ Red Ocean มาก่อนมีการแข่งขันตัดราคากันสูงมากผลสุดท้ายไม่มีใครได้อะไรจากธุรกิจนี้ ต่อมามีลักษะ
ของการเก็บค่าบริการที่ค่อนข้างใกล้เคียงมีการแข่งขันกันน้อยลง แต่สิ่งที่สังเกตได้ง่ายคือ AIS มีจุดแข็งในเรื่องของคุณภาพสัญญาณที่เหนือกว่าคู่แข่ง
ทั้งในเมืองและต่างจังหวัด ในขณะที่ DTAC ยังคงมีปัญหาเรื่องสัญญาณล่มบ่อยในปีนี้ (2012) ส่วน TRUE คุณภาพสัญญาณยังต่ำอยู่ในต่างจังหวัด

2.อำนาจการต่อรองของ Supplier (2/5 คะแนน)
ด้วยลักษณะการประกอบธุรกิจที่เป็นสัญญาสัมปทานกับรัฐ เสมือนว่ารัฐคือ Supplier ผู้ให้สิทธิ์ในการใช้คลื่น ในที่นี้คือ TOT สำหรับการให้บริการ
ที่ความถี่ 900 Mhzโดย TOT ได้ส่วนแบ่งรายได้อยู่ที่ 20% สำหรับลูกค้าเติมเงินและ 30% สำหรับลูกค้ารายเดือน และAIS จ่ายรายได้ 30% ให้กับ กสท.
สำหรับสิทธิ์การใช้คลื่น 1800 Mhz เนื่องจากเป็นธุรกิจสัมปทานอำนาจต่อรองกับ Supplier จึงค่อนข้างต่ำ มีคู่แข่งรายอื่นๆที่ยินดีจ่ายค่าสัมปทานหาก
AIS ไม่จ่าย ไม่ทำ ก็มีคนมาทำแทนอยู่ดี อย่างไรก็ดีในอนาคตกำลังมีการให้ใบอนุญาต 3G เพื่อใช้คลื่นความที่ 2100 Mhz อายุ 15 ปี โดยมีการประมูล
ไปแล้วและ AIS เสียค่าใช้จ่ายสำหรับใบอนุญาตอยู่ที่ 14,625 ล้านบาทซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ FIX ไม่แปรผันกับปริมาณรายได้ในแต่ละปี เท่ากับว่า AIS มีค่า
ใช้จ่ายรายปีสำหรับการบริการคลื่น 2100 Mhz อยู่ที่ 975 ล้านบาทต่อปีเท่านั้นซึ่งค่อนข้างต่ำ แต่ด้วยราคาที่ต่ำทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างองค์กรของ
รัฐว่าอาจเกิดการเสียประโยชน์โดยไม่สมควร ทำให้อาจมีมาตรการคุมค่าบริการเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งหากมีมติใดๆออกมาก็จำเป็นที่จะ
ต้องยอมรับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

3. อำนาจต่อรองของลูกค้า (4/5 คะแนน)
ในธุรกิจนี้ลูกค้ามีตัวเลือกเพียงสามเจ้าคือ AIS DTAC และ TRUE โดยปัจจัยที่ลูกค้าใช้เลือกผู้ให้บริการมักขึ้นอยู่กับคุณภาพและราคา จาก
สถานการณ์ปัจจุบันที่ AIS ครองความเป็นหนึ่งด้านคุณภาพ จึงเป็นตัวเลือกต้นๆของลูกค้า ซึ่งมักจะยอมจ่ายด้วยราคาที่แพงกว่าเจ้าอื่นๆเพื่อให้ตนเองได้
รับบริการที่ดีขึ้น อย่างไรก็ดีธรรมชาติของธุรกิจมือถือมักเปิดโอกาสให้ลูกค้าได้พบกับ Promotion ที่หลากหลายขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งาน จึงดูเหมือน
ว่าลูกค้ามีอำนาจในการเลือกผลิตภัณฑ์ แต่จากประสบการณ์ของผู้เขียนเองมักพบว่าผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ถูกออกแบบมานั้น ออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าเดินใน
เกมของผู้ให้บริการ เช่น สิทธิในการโทรเข้าเครือข่ายเดียวกันด้วยราคาพิเศษ หรือ โทร Buffet ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งเท่านั้น หากจะโทรอีกช่วงเวลาจะได้
Rate ค่าใช้จ่ายที่ต่างกัน โทรน้อยได้วันเยอะมีค่าบริการโทรที่แพงกว่าโทรเยอะได้วันน้อยเป็นต้น

4. ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน (5/5 คะแนน)
โดยพื้นฐานรายได้ส่วนใหญ่ของค่าย AIS มาจากการให้บริการด้าน VOICE เป็นหลัก และรองลงมาคือบริการ NON-VOICE หรือบริการ DATA บนมือถือ ซึ่งตอนนี้ยังมองไม่เห็นถึงสินค้าที่จะทดแทนได้ในธุรกิจนี้ หรือหากมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามาก็มีความเป็นไปได้สูงที่จะต้องพึ่งพาสัญญาสัมปทาน หรือใบอนุญาตใดๆอยู่ดี และมีต้นทุนในการลงทุนตั้งต้นค่อนข้างสูง ซึ่งคาดว่าเหล่าผู้ที่จะเข้ามาทำสินค้าทดแทนดังกล่าวก็ยังคงเป็นผู้ให้บริการรายใหญ่เจ้าเดิม

5.ภัยคุกคามจากผู้แข่งขันหน้าใหม่ (5/5 คะแนน)
ด้วยความที่เป็นธุรกิจที่ต้องมีการลงทุนสูงทั้งในด้านโครงข่าย การให้บริการ สัญญาสัมปทานหรือใบอนุญาต(จากสานะงบดุลของผู้บริการรายใหญ่
มักมีสินทรัพย์อยู่ในระดับแสนล้านขึ้นไป) จึงมีโอกาสน้อยที่จะมีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาในธุรกิจนี้ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีเสียเลย ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการ 3G ราย
ย่อยภายใต้สัปทานของ TOT เช่น I-MOBILE 3GX, 365 3G, MOJO 3G แต่ก็ถือได้ว่ามีขนาดที่เล็กมากไม่ถึง 1% ของ Market Cap ในขณะที่ CAT
และ HUTCH อยู่ที่ 1.47 % (อ้างอิงจากข้อมูลในเว็บ กสทช nbtc.go.th) ซึ่งในอนาคตก็มีโอกาสที่ผู้เล่นรายย่อยเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นแต่ไม่น่าเป็นภัยคุกคาม
มากนัก

สรุป
จากการประเมินให้คะแนน Five Force Model ที่ (21/25 คะแนน) โดยรวมแล้วบริษัท AIS อยู่ในสภาพตลาดที่ตัวบริษัทเองมีความสามารถ
แข่งขันได้ค่อนสูง อันเป็นผลมาจากคุณภาพของการให้บริการซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคจดจำ มีความสามารถที่ทำให้ผู้บริโภคยอมควักกระเป๋าเพื่อจ่ายค่าบริการ
ที่สูงกว่าผู้ให้บริการรายอื่นๆได้ นอกจากนี้ยังอยู่ในอุตสาหกรรมที่การแข่งขันไม่รุนแรง และโอกาสที่ผู้แข่งขันหน้าใหม่จะเข้ามาได้ลำบากเนื่องจากมีค่าใช้
จ่ายในการลงทุนสูงมาก แต่ปัจจัยที่ไม่ควรละเลยคือเรื่องของการทำสัญญาสัมปทาน หรือใบอนุญาตกับรัฐซึ่งอาจมีผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทจากการ
กำหนดค่าบริการเพื่อปกป้องผู้บริโภค หรือรายได้ส่วนแบ่งที่ต้องจัดส่งให้กับรัฐ
yakjabon
Verified User
โพสต์: 314
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลองหัดทำ Five Force Model มาส่งครับ รบกวนช่วยวิจารณ์ทีคร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ โดยสมมุติฐานที่เข้าใจจากการวิเคราะห์ของ จขกท. ว่า (5/5) = Low pressure = ได้เปรียบในการแข่งขัน (เราชอบ) .. ผมมีความคิดเห็น ดังนี้

1) การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม -- ผมให้ (2/5) หรือ High pressure ครับ เพราะการแข่งขันไม่ได้มีแค่คุณภาพของสัญญาณ เช่น DTAC อาจสู้สัญญาณไม่ได้ ก็นำเสนอ promotion สำหรับคนในเมือง เช่น DTAC Wifi ในหลายห้างใหญ่จะมีสัญญาณที่ดีกว่าเครือข่ายอื่น หรือ ทำส่วนลดในการซื้อตั๋วหนังได้ดีกว่าเจ้าอื่น ในขณะที่ True ก็เน้นการ convergence รวมกันมันส์กว่า ถูกกว่า สรุปผมว่าเป็นการแข่งขันที่เข้มข้น กินกันไม่ขาด โปรโมชั่นตามหลังกันติดๆ ยิ่งตอนนี้สามารถเปลี่ยนเครือข่ายได้เบอร์เดิมล่ะก็ ... :wall: :wall:

2) อำนาจการต่อรองของ Supplier -- เห็นด้วยกับ (2/5) .. Supplier ใหญ่มว๊ากก โดยเฉพาะช่วงสัญญาใกล้จะหมด

3) อำนาจต่อรองของลูกค้า -- ผมให้ (3/5) เพราะตอนนี้สามารถเปลี่ยนเครือข่ายได้เบอร์เดิม แต่ลูกค้าส่วนมหญ่ก็คงไม่อยากผ่านกระบวนการทำสัญญาเปลี่ยนเครือข่ายที่ยุ่งยาก (นิดหน่อย) ถ้าไม่จำเป็น

4) ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน -- เห็นด้วยกับ (5/5) เพราะยังไม่น่ามี Technology revolution อื่นเร็วๆนี้

5) ภัยคุกคามจากผู้แข่งขันหน้าใหม่ -- เห็นด้วยกับ (5/5) ใครเข้าใหม่ไม่ง่ายใคร ทั้งในแง่ต้นทุน, ฐานลูกค้าเดิม, โปรโมชั่นต้องแหวก แปลก เจาะ จริง, ฯลฯ

สรุป -- ข้อ 2) น่ากลัวสุดครับ ถ้าเป็นช่วงสัญญ่าใกล้หมด เพราะบริษัทอาจกลายเป็นแค่ใบหุ้นได้ ถ้ามีอะไรพลิกโผให้ Supplier (รัฐบาล/กระทรวง/กรม) มิพอใจต่อสัมปทานด้วยเหตุอันใดก็ตาม เพราะเจ้าที่เหลือพร้อมรับอยู่แล้ว :mrgreen:
Invincible MOS is knowing what you're doing
ภาพประจำตัวสมาชิก
Guiman
Verified User
โพสต์: 320
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลองหัดทำ Five Force Model มาส่งครับ รบกวนช่วยวิจารณ์ทีคร

โพสต์ที่ 3

โพสต์

exellence krub :B
http://guimanstock.blogspot.com/
บันทึกการลงทุน & รีวิวหนังสือ
Onemai Ch.
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 149
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลองหัดทำ Five Force Model มาส่งครับ รบกวนช่วยวิจารณ์ทีคร

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณทุกความคิดเห็นครับ พบว่ามีหลายเรื่องที่ผมลืมนึกถึงไปเลย :ohno:
ภาพประจำตัวสมาชิก
vim
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2770
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลองหัดทำ Five Force Model มาส่งครับ รบกวนช่วยวิจารณ์ทีคร

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ผมเห็นคล้ายกับคุณ yakjabon นะครับ ต่างนิดนึง

1) การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม -- (2/5) เพราะกินกันไม่ขาด แต่ละเจ้ามีข้อดีของตัวเอง
2) อำนาจการต่อรองของ Supplier -- (2/5) โดนแทรงแซงจากรัฐหรือกสทช.ได้
3) อำนาจต่อรองของลูกค้า -- (3/5) ลูกค้าเปลี่ยนโปรโมชันได้ หรือไม่ก็ย้ายค่ายเบอร์เดิม อนาคตน่าจะลดเหลือ (2/5) หากการย้ายค่ายมันง่ายขึ้น
4) ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน -- (5/5) ไม่เห็นวี่แวว
5) ภัยคุกคามจากผู้แข่งขันหน้าใหม่ -- (4/5) ตรงนี้ยังไม่มีคู่แข่งรายใหญ่เข้ามาเพราะต้นทุนสูง บริษัทต่างชาติยังเข้ามาลงทุนไม่ได้เพราะติดกฎหมายไม่ให้คนต่างด้าวถือครองเกิน 49% แต่ถ้าตรงนี้ปลดล็อคเมื่อไหร่การแข่งขันก็จะเป็นไปอย่างเสรีครับ

รวม 16 / 25 อยู่ระดับกลางๆ
Vi IMrovised
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลองหัดทำ Five Force Model มาส่งครับ รบกวนช่วยวิจารณ์ทีคร

โพสต์ที่ 6

โพสต์

วันนี้ไม่ได้ไปทำงาน มีเวลาเลยมาช่วยเสริมครับ

Supplier คุณนึกถึงแต่ด้านความถี่และกฎระเบียบ แต่ใน supply chain คุณลืมนึกไป ว่ายังมีอีก ผมลอง list มาให้ใหญ่ๆ
- ความถี่ที่พูดถึงไปแล้ว เป็นเหมือนวัตถุดิบป้อนให้โรงงาน และมี content provider อีกเรื่อง (แต่ก็ดูไม่มีพิษสงอะไร)
- ส่วนอุปกรณ์หากินหลัก ถ้าเปรียบเป็นโรงงานเครื่องจักรล่ะ?
นั่นคืออุปกรณ์เครือข่าย ก็เป็นต้นทุนก้อนใหญ่ด้วย มากกว่าความถี่อีก เพราะอีกหลายหมื่นล้าน เพื่อความครบถ้วน ควรรวมไว้ในการวิเคราะห์
เพียงแต่ไม่ใช่เรื่องน่าหนักใจ เพราะใช้การประมูลให้คนขายของแข่งกัน ต่อรองได้ bargaining power อยู่ที่คนซื้อมากกว่า force นี้ เลยไม่มีแรงบีบมาก
แตก็ไม่ใช่ว่าไม่มีเลย ระวังจีนไว้ให้ดี ขายของได้เยอะๆ แล้วจะกลายเป็นผูกขาดเล่นตัวกลายเป็นภาระทีหลัง มีค่าใช้จ่ายแฝง ต้อง repeat order เท่านั้น ยังไงก็ต้องมีฝรั่งไว้ถ่วงดุลย์
- อุปกรณ์ส่วนประกอบเครือข่ายหากินอีกตัวแต่สำคัญ ที่พึงระวังกว่าน่าห่วง คือ Facilities ได้แก่ตัวเสาและพื้นที่ตั้งเสา อย่าลืมว่าของเก่า ต้องตกเป็นของ TOT และ CAT ตามสัญญาสัมปทานเก่า BTO (build-transfer-operate) ถ้าใช้ของเก่าก็คือเช่าต่อ การเช่ามีเงื่อนไขอะไรบ้าง คุยกันหรือยัง?
ถ้าสร้างใหม่ ทั้ง 100% ต้นทุนก็สูงอีกมีเรื่องเวลาในการสร้างมายุ่งเกี่ยว ระยะนี้ เชื่อว่าทุกรายลงกับการเช่าของเก่าไปก่อน
แต่การที่ไม่ใช่ของตัวเอง สำนวนไทยก็คือยืมจมูกคนอื่นมาหายใจและเป็นจมูกของรัฐ ความเสี่ยงก็มีประเด็นได้ง่าย
อย่างที่กรณี true ที่เจอกับ CAT คือทั้งประเด็นรัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งเล่นตัวและประเด็นการเมืองที่หาช่องมาเล่นกัน แบบห้ามกระพริบตา <---- คงได้ยินข่าว เริ่มมีเอามาเล่นแล้ว บอกว่า true และ DTAC ยังไม่ส่งมอบอุปกรณ์
- ค่าไฟเป็น expense ก้อนใหญ่สุด (supplier ถึงแข่งกันผลิตอุปกรณ์ go green คือกินไฟลดลง) ผมห่างเรื่องค่าไฟในไทยมานาน ไม่รู้ว่าอนาคตมีความเสี่ยงขึ้นราคาขนาดไหน

นั่นคือความเสี่ยงที่ต้องระวัง แต่ละประเด็น impact มากน้อยอีกเรื่อง


สินค้าทดแทน และผู้แข่งหน้าใหม่ ยังไม่แน่ หรืออาจใหม่ในรูปแบบคนเก่า
อุตสาหกรรมอื่นคนละเรื่อง แต่อุตสาหกรรมนี้ บ่อยครั้งมันมาพร้อมกันได้

สินค้าเสริมและทดแทน อนาคต 4G จะมีรายอื่นมาแข่งหรือเปล่า อย่าประมาทว่าเป็นหมูในอวย และ 4G ก็ยังมีเทคโนโลยีแยกออกมาเป็น LTE และ WiMax
ต่อไปหลายอย่างจะเน้นไปทาง data แม้แต่ "LINE" ก็อาจทำให้ voice ธรรมดาลดลงได้มาขี่บน data ตอนนี้ถึงจะยังไม่มาก แต่อนาคตเทคโนโลยีมันมีอะไรแปลกใหม่เรื่อยๆ

ถึงแม้วินาทีนี้ยังไม่มีคู่แข่งนอกจาก 3 รายปัจจุบัน และเทคโนโลยีใหม่ยังชะงักด้วย 3G ยังโดนตี แต่เมื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ ก็ไม่แน่
เพราะตอนนี้ กสทช. โดนบีบกับการประมูลล่าสุด โอกาสการประมูลรอบต่อไปจะเปลี่ยนให้ที่รายเล็กกว่า หรือเกิดคู่แข่งรายใหม่ก็ยังเป็นไปได้ ถ้าโดนกดดันหนักขึ้น โดยเฉพาะมีคนตั้งประเด็นว่าคนออกประมูลเจาะจงให้แค่ 3 รายนี้ เป็นการประเคนไม่ใช่การประมูล (แม้ข้อเท็จจริงมันอาจอีกเรื่องก็ตาม)


ข้างบนถึงแม้ความเป็นไปได้ตอนนี้แรงบีบ มันจะน้อยพอๆ กับที่จะคิดว่า TOT และ CAT จะกลายมาเป็นคู่แข่งใหญ่ แต่ก็อย่าลืมไม่ใช่ว่าไม่มีเลย

เช่น อย่างที่ศ.ดร.ถวิล พึ่งมา อธิการบดีลาดกระบังบอก เทคโนโลยีโลกมันไปไกล 4G แล้ว เราเพิ่งเริ่ม 3G มัวมาคิดแต่จะชาร์จค่า license โหดๆ หลงประเด็นจนไม่เกิด มูลค่าความถี่มันจะลดลงไปทุกวัน เพราะอายุการทำกำไรมันลดลง แต่มูลค่าจะไปเพิ่มความถี่ 4G แทน
4G ไม่ใช่ว่าจะทำให้ 3G ตาย แต่จะเป็นเสริมให้แข็งแรง เหมือนคนที่มี 2G ต้องดิ้นรนหา 3G มาเสริม
ดังนั้น ถ้าได้ 3G มาแล้ว กสทช. เปิดประมูล 4G ก็ต้องดิ้นรนให้ได้มาด้วย ถ้าไม่งั้นเสีย Competitive advantage อย่างแรง ตอนนี้ 4G LTE ลูกข่ายในตลาดเริ่มผลิตเป็นมวลชนแล้ว เริ่มจากย่านยุโรป ตามด้วย iPhone อุปกรณ์ 4G คงภายใน 2-3 ปีนี้ ต้องกลายเป็น % ใหญ่ของตลาดแน่ๆ (อย่าคิดถึงแต่มือถือ แต่คิดถึง tablet และ USB air card อีกด้วย)

เคยมีประวัติศาสตร์ให้เรียนรู้มาแล้ว คงไม่ลืมก่อนหน้า ก็เคยมีวิธีการ N-1 มาแล้ว ใครประกันได้ว่าจะไม่มีอีก จะบอกว่า AIS เป็นรายใหญ่ แต่อะไรที่เอาแน่ไม่ได้ คือการมี % ด้านความเสี่ยง

หรือที่ AIS กับ DTAC แข่งกันอยู่แค่ 2 รายมันส์ๆ ก็มี orange มาใหม่ใจป้ำ ที่กลายเป็น true ทุกวันนี้ มาแย่ง market share อยู่ดีๆ นึกว่าจบ ก็มี hutch โผล่มาอีกเป็นต้น แต่บังเอิญแพ้ทาง เทคโนโลยี cdma มันสู้ gsm ไม่ไหว แค่นั้นเอง
ถ้าไม่ใช่รายใหม่แต่มาในรูปแบบคนเก่าที่ผมว่า ก็เดิมๆแบบ CP orange ในอดีตล่ะ
ถ้า true ที่มีปัญหาว่าเพิ่มทุนซ้ำซาก ใช้การหา strategic partner รายใหญ่ แล้วใจป้ำทุ่มตลาดเพราะวางแผนมุ่งเป็นเบอร์ 1 โดยใช้กลยุทธไล่ฆ่าดะปูพรมฟาดคู่ต่อสู้ให้เปลี้ยก่อนแล้วค่อยมาหาวิธีคืนทุนทีหลัง อาจสำเร็จหรือไม่ก็ได้ แต่ประเด็นคือใครกล้าประกันว่าจะไม่เกิดขึ้น
ในโลกทุนนิยม AIS เป็นเสือในไทย แต่ในโลกเป็นแค่แมวเหมียวนะ

(แม้ถ้าจะดูกันทุกวันนี้ true น่าจะตายล้มละลายไปแล้ว แต่ก็ยังอยู่เพราะยังอยากอยู่ ถ้ามองในมุมที่ porter เขียนไว้ มันคือ exit barrier ถลำตัวเข้ามาแล้วลงทุนไปเยอะ เพิ่มทุนไปหลายตลบแล้ว เจ้าสัวมองเป็นส่วนใหญ่ส่วนหนึ่งของ portfolio ต้องดิ้นให้อยู่ต่อ ถึงที่ผ่านมาจะรู้ว่าต้องติดคอกลืนไม่ลงอยู่บ่อยๆ แต่ยังรู้สึกน้ำลายไหลเพราะว่าสื่อสารยังหอมน่ากินยังมีอนาคตอยู่ ไม่ด้อยไปกว่าค้าปลีก เพราะ 1 เบอร์ ก็คือลูกค้าปลีก 1 ราย เงินไหลเข้าสดๆ ทั้งนั้น กลับกับธุรกิจอื่นที่เต็มใจจ่ายก่อนใช้มากกว่าใช้ก่อนจ่ายอีกด้วย)


สุดท้าย
การแข่งขันภายในอุตสาหกรรม คุณ focus แต่การแข่งด้านปฏิบัติการ
แต่ว่าลืมเรื่องใหญ่สุดที่ถูกล้มประมูลครั้งก่อนและยังทำให้การประมูลครั้งนี้ยังไม่จบไปได้ไง
ต้นเหตุเบิ้องหลังก็มาจากการแข่งขันกันในอุตสาหกรรม (จะบอกว่าคนทักท้วงรักประเทศชาติ ทำไมคนรักชาติเต็มไปหมดวันใกล้จะประมูล ก่อนหน้าคนรักชาติรักผู้บริโภคสงสัยนอนหลับกันอยู่)
วินาทีนี้ ก็ยังเป็นภัยคุกคามใหญ่อยู่

จะให้ชัดเจนรอบคอบเพิ่ม ควรเพิ่ม PEST analysis ไปด้วย เพราะเมื่อมันผลิตภัณฑ์เป็นผลประโยชน์ใหญ่ระดับรัฐ เทคโนโลยีความก้าวหน้าที่โครงการถึงขั้นสอดคล้องกับ GDP ลูกค้าเป็นมวลชนและเกี่ยวข้องการเมืองระดับชาติ impact มันเข้มข้นชัดเจนมาก
External Environment Analysis: Remote Environment (PEST analysis ~ O&T in SWOT)
ปัจจัยทางการเมือง Political Factor
ปัจจัยทางเศรษฐกิจ/สิ่งแวดล้อม Economic/Ecological Factor
ปัจจัยทางสังคม Sociestal Factor
ปัจจัยทางเทคโนโลยี Technological Factor

http://eiamsri.wordpress.com/2011/06/03 ... %E0%B8%9E/
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลองหัดทำ Five Force Model มาส่งครับ รบกวนช่วยวิจารณ์ทีคร

โพสต์ที่ 7

โพสต์

Ii'8N เขียน: - อุปกรณ์ส่วนประกอบเครือข่ายหากินอีกตัวแต่สำคัญ ที่พึงระวังกว่าน่าห่วง คือ Facilities ได้แก่ตัวเสาและพื้นที่ตั้งเสา อย่าลืมว่าของเก่า ต้องตกเป็นของ TOT และ CAT ตามสัญญาสัมปทานเก่า BTO (build-transfer-operate)
ปล. ของเก่า AIS มี 2 สัมปทานในบริษัท
navapon
Verified User
โพสต์: 760
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลองหัดทำ Five Force Model มาส่งครับ รบกวนช่วยวิจารณ์ทีคร

โพสต์ที่ 8

โพสต์

คุณ vim เอางั้นเลยหรือครับ โห :shock: :shock: :shock:
ผมเห็นต่างคุณvimเล็กน้อยครับ

3) อำนาจต่อรองของลูกค้า
ลูกค้าเปลี่ยนโปรโมชันได้ หรือไม่ก็ย้ายค่ายมือถือ(โดยคงเบอร์เดิม)ได้ง่ายๆ ผมกลัวว่าลูกค้าจะย้ายค่ายมา ais เพิ่มซะมากกว่า
5) ภัยคุกคามจากผู้แข่งขันหน้าใหม่
การที่บริษัทต่างชาติยังเข้ามาลงทุนไม่ได้เพราะติดกฎหมายไม่ให้คนต่างด้าวถือครองเกิน 49%
มองตามจริงผมว่า มันจะยังเป็นอย่างนี้ต่อไปอีกนั่นแหละ คงเปลี่ยนกฎหมายยาก ผมว่ากำแพง barrier of entry นี้ ก็เป็นกำแพงต่อไปเรื่อยๆครับ
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลองหัดทำ Five Force Model มาส่งครับ รบกวนช่วยวิจารณ์ทีคร

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ลืมเขียนปายทางสุดท้ายของ value chain คือ ลูกค้า


เมื่อมี 3G ทุกรายที่เห็น จะกำจัดข้ออ้างการย้ายค่ายเบอร์เดิมหรือ number portability ทีนี้ จะอำนวยความสะดวกกันสุดฤทธิ์
(ส่วนการขอเลขหมายเพิ่มจากกสทช. ขายเบอร์ใหม่มันแน่ๆ อยู่แล้ว เป็นอีกเรื่อง)

เพราะอยู่ๆ จะย้ายฐานข้อมูลลูกค้าจากระบบเก่า ไปหาระบบใหม่ ทิ้งแต่ระบบไว้ให้ CAT กับ TOT เป็นแค่โครงเหล็ก มันจะอุกอาจเกินไป เป็นประเด็นเป็นผู้ร้าย
เพราะต่างจากสมัยก่อน ย้ายจาก Analog 1G มา 2G ใช้วิธีย้ายมาดื้อๆ ได้เลย ที่เรียกว่า migration

แต่หนนี้ ไม่ใช่แล้ว ขึ้นอยู่กับว่า ใครจะเนียนขนาดไหน และใช้วิธีดึงดูดลูกค้าอย่างไร ต้องคิด เพราะกลายเป็นคนละธุรกิจ คนละ regulations


ทั้งนี้ มันก็ขึ้นกับระบบเก่า ว่า CAT กับ TOT จะตัดสินใจให้เป็น business model แบบไหน
- รับไปทำเอง ให้พนักงานรัฐวิสาหกิจจากทั้งสองราย เข้าปฏิบัติการแทนพนักงานเอกชนเดิม ทั้งระบบเครือข่ายและระบบการตลาด
- หรืออำนวยซึ่งกันและกัน โดยทิ้งไว้ให้ทั้ง 3 รายทำต่อ แต่เป็นลักษณะเช่าใช้ แล้วส่งรายได้ จนกว่า 2G มันจะหมดอายุ หรือ obsolete กลายเป็นเศษเหล็กจริงๆ ไปเองไม่มีลูกค้ามีเครื่อง 2G เหลืออยู่อย่าง Analog
ภาพประจำตัวสมาชิก
vim
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2770
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลองหัดทำ Five Force Model มาส่งครับ รบกวนช่วยวิจารณ์ทีคร

โพสต์ที่ 10

โพสต์

navapon เขียน:คุณ vim เอางั้นเลยหรือครับ โห :shock: :shock: :shock:
ผมเห็นต่างคุณvimเล็กน้อยครับ

3) อำนาจต่อรองของลูกค้า
ลูกค้าเปลี่ยนโปรโมชันได้ หรือไม่ก็ย้ายค่ายมือถือ(โดยคงเบอร์เดิม)ได้ง่ายๆ ผมกลัวว่าลูกค้าจะย้ายค่ายมา ais เพิ่มซะมากกว่า
5) ภัยคุกคามจากผู้แข่งขันหน้าใหม่
การที่บริษัทต่างชาติยังเข้ามาลงทุนไม่ได้เพราะติดกฎหมายไม่ให้คนต่างด้าวถือครองเกิน 49%
มองตามจริงผมว่า มันจะยังเป็นอย่างนี้ต่อไปอีกนั่นแหละ คงเปลี่ยนกฎหมายยาก ผมว่ากำแพง barrier of entry นี้ ก็เป็นกำแพงต่อไปเรื่อยๆครับ
ผมอาจมองในแง่ลบไปหน่อยนึง :mrgreen: แต่ถ้าให้คะแนนง่ายๆบริษัทคะแนนดีๆก็เยอะแยะไปหมด ถ้าตรงไหนผมให้คะแนนเต็มแล้วรับรองว่าดีจริง
Vi IMrovised
ภาพประจำตัวสมาชิก
newbie_12
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2912
ผู้ติดตาม: 1

Re: ลองหัดทำ Five Force Model มาส่งครับ รบกวนช่วยวิจารณ์ทีคร

โพสต์ที่ 11

โพสต์

supplier น่าจะเป็น

- พวกอุปกรณ์เครือข่าย (ติดตั้ง network ทั่วไปเช่น หัวเหว่ย โนเกีย)
- ขายเครื่องลูกข่ายเช่น (Apple, Samsung)
- พวกขาย Interconnection bandwidth
.
.
อดีตอันรุ่งโรจน์ ไม่ได้การันตีอนาคตจะรุ่งเรือง

----------------------------
Manopap
Verified User
โพสต์: 72
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลองหัดทำ Five Force Model มาส่งครับ รบกวนช่วยวิจารณ์ทีคร

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ผมเห็นคิดว่าถ้าหากจะวิเคาะห์ ธุรกิจสื่อสารในขณะนี้ ผมว่าคงต้องมองทั้งระบบของการสื่อสารเลย คือ ทั้ง voice และ data.
การแข่งขันในอุตสาหกรรม ถ้าคิดแต่ voice ผมคิดว่าการแข่งขันในการออกโปรโมชั่นอะไรออกมา ไม่น่าจะมีผลทำให้ มาร์เก็ตแชร์ เปลี่ยนไปได้ เหตุผลเพราะเบอร์โทรศัพท์ เป็นเหมือน บัตรประชาชนไปแล้วหรือนามบัตร. สำหรับคนทำงานหรือทำธุรกิจ โอกาสจะย้ายค่ายน้อยมากถ้าไม่โกรธ บริษัท อย่างรุนแรงและขั้นตอนยุ่งยาก( อันนี้เห็นว่าตั้งใจทำให้ยุ่งยาก) ส่วนโอกาสเพิ่มลูกค้ารายใหม่ของแต่ละค่าย ก็น่าจะมีิอัตราการเพิ่มที่ไม่ค่อยสูงมากนัก เพราะสมัยนี้แม้แต่เด็กนักเรียนประถมก็ยังมีเบอร์โทรศัพท์ของตัวเองแล้ว(ลูกสาวผมใช้เบอร์เดิมมา3ปีแล้ว) ผมคิดว่าสำหรับ voice ตลาดน่าจะเกือบเต็มอยู่แล้วครับหรือถ้ายังมีก็ไม่น่าจะมีผลต่อมาร์เก็ตแชร์ครับ ถ้ามองในมุมของ ais ก็เพียงแค่รักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ให้ได้ และก็ลดค่าโฆษณาลงบ้างและออกโปรตามแต่อีก2รายออกมาแค่นี้ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง แชร์ได้แล้วครับ แต่ถ้ามองในมุมของ true และ dtac ผมว่าก็น่าจะไม่สามารถเพิ่มแชร์ในด้าน voice ได้ทัน ais แน่นอน ซึ่งก็จะไม่คุ้มที่จะถมงบลงไปเพื่อต้องการ แชร์เพิ่มและคงจะไม่สามารถไล่ทัน ais แน่นอน แต่คงมีวิธีเดียวที่จะสามารถมี แชร์ที่จะเข้าไปใกล้เคียง ais. ได้เพื่อที่จะทุ่มงบลงไปเพื่อมีโอกาสแย่งแชร์เพื่อเป็นเบอร์ 1 ได้ ก็คือ การรวมกันของเบอร์2 และ เบอร์3 ในตลาด ซึ่งถ้าเป็น modelนี้ ด้วยแชร์ของทั้ง2 ก็จะเท่ากับ 53 % ซึ่งก็จะใกล้เคียงและคงจะมีการแข่งขันที่ดุเดือดขึ้นอีกครั้ง ส่วน3g. นั้นผมมองว่ามันน่าจะอยู่ในส่วนของdata. นะครับแต่เป็น data นอกบ้าน ซึ่งก็คือ wifi ในปัจจุบัน ซึ่งถ้าด้าน dataนอกบ้าน สำหรับ 3 รายนี้ หลังจาก3g. เกิด ก็คงจะเป็น modelเดียวกันกับ voice. ในที่สุด แต่ถ้าจะให้ครบน่าจะต้องรวมเอา net. ในบ้านมารวมด้วย. และแน่นอนถ้านำเน็ตในบ้านมารวม ais ก็จะเสียเปรียบ ทางฝั่ง ture+dtac ทันที เพราะแค่tureออกโปรที่เป็นแพคเกจ ที่รวมทุกอย่างเลยทั้ง voice 3G bb รวมทั้ง ture วิชั่น ออกมาผมว่า ais ก็น่าจะลำบากเหมือนกัน. แต่ก็อีก ais ก็ยังสามารถเพิ่ม net บ้านมาสู้ได้ไม่ยาก และไม่ต้องวางโครงข่ายใหม่อีก เพราะ ais มีเพื่อนสนิท ผมจึงคิดว่าหากอุตสาหกรรมสื่อสารจะมีการแข่งขันที่ดุเดือดขึ้นมาอีกครั้ง ก็คงจะต้องรอให้เหลือเพียง 2 รายที่จะสู้กัน แต่ก็น่าจะรอดทั้งคู่แต่ถ้ายังเป็น 3 ขาอย่างนี้ ยิ่งแข่งยิ่งตายสำหรับเบอร์ 2 และ 3

เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับแค่คิดเล่นๆ ว่าจะมีวิธีไหนบ้างที่จะสามารถทำให้ ais.ต้องระวังนะครับ
โพสต์โพสต์