คิดอย่างไรถ้าจะต่อต้านไม่ให้มีการจัด analyst meeting ก่อนงบอ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1096
- ผู้ติดตาม: 0
คิดอย่างไรถ้าจะต่อต้านไม่ให้มีการจัด analyst meeting ก่อนงบอ
โพสต์ที่ 1
ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนว่าเป็นแค่ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ อยากลองเอามาแชร์กับเพื่อนๆใน board ดู เห็นเหมือนหรือเห็นต่างอย่างไรร่วมด้วยช่วยแชร์ได้เต็มที่ครับ
จากที่ลงทุนในตลาดมานาน มีพฤติกรรมหนึ่งที่ผมคิดว่าไม่สมควรอย่างยิ่งและเราควรจะช่วยกันรณรงค์ให้หมดสิ้นไปนั่นคือการต่อต้านไม่ให้บจ.จัด analyst meeting ซัก 1 เดือน"ก่อน"การประกาศงบการเงิน อะไรคือตรรกะ ผมขอลองยกข้อสังเกตุส่วนตัวนะครับ
เคยมีใครสังเกตุไหมครับว่าทำไมก่อนประกาศงบการเงิน จะมีอยู่บางวันที่หุ้นที่เราถือจะมีปริมาณการซื้อขายมากผิดปกติ และอีก 2-3 วันถัดมาก็จะมีบทวิเคราะห์จาก broker ทยอย release ออกมา และถ้าเราลองสืบกลับไปจะทราบว่า หลายต่อหลายครั้งทีเดียวที่วันที่ปริมาณซื้อขายผิดปกติไปนั้น บจ.เหล่านั้นมีการจัด analyst meeting นั่นเอง
คือถ้าจะสรุปคร่าวๆจะเป็นประมาณนี้ครับ จะเห็นได้ว่า broker นั้นมี incentive มหาศาลที่จะขอนัดพบผู้บริหารก่อนวันงบออกเพราะ
1) ได้ข้อมูลใกล้เคียงที่สุด ลดโอกาสวิเคราะห์ผิด 2) "อาจ"ทำการซื้อขายได้ก่อนเพราะรู้ข้อมูลก่อนคนอื่น (แม้จะผิดจริยธรรมก็ตาม แต่เรื่องเงินไม่เข้าใครออกใคร) 3) ได้ credit จากการที่สามารถส่งข้อมูลที่สดมากๆให้รายใหญ่ได้ก่อน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่ามีคนกำลังเอาเปรียบรายย่อยอยู่ครับ รายใหญ่นั้นไม่ต้องพูดถึงเพราะเข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่ารายย่อยเนื่องจากเป็นกลุ่มนักลงทุนที่ได้รับการ treat เป็นอย่างดีจาก broker ต่างๆ
ดังนั้น มีใครคิดเหมือนผมไหมครับว่า การจัด analyst meeting ควรจะเกิดขึ้นหลังจากประกาศงบการเงินแล้วเท่านั้นเพราะจะทำให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน
ตัวอย่างที่ง่ายและดีที่สุดคือ Berkshire Hathaway ของ Warren Buffett ถ้าใครติดตามจะทราบว่าเขาจะไม่ยอมให้เกิด analyst meeting ก่อนประกาศงบแบบนี้แต่นอนเพราะ Buffett ทราบดีว่าการกระทำอย่างนั้นจะทำให้เกิด "Information asymmetry"
ส่วนตัวนั้น 90% ของหุ้นที่ผมลงทุนจะเลือกหุ้นที่ไม่มี analyst cover เพราะผมไม่ชอบใจกับพฤติกรรมแบบนี้ นั่นหมายความว่าผมไม่ได้เดือดร้อนอะไรถ้าการจัด meeting แบบนี้จะยังคงมีต่อไป แต่ผมแค่รู้สึกว่านลท.ไม่ควรให้ใครมาเอาเปรียบ ถ้าเราจะช่วยกันทำอะไรได้บ้างเพื่อพัฒนาตลาดทุน การยกเรื่องนี้ขึ้นมาอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆกับการสร้างความยุติธรรมกับการเข้าถึงข้อมูลในการลงทุนนั่นเอง
ถึงเวลาหรือยังครับที่เราควรช่วยกันต่อต้านการจัด analyst meeting ก่อนวันงบออก??
จากที่ลงทุนในตลาดมานาน มีพฤติกรรมหนึ่งที่ผมคิดว่าไม่สมควรอย่างยิ่งและเราควรจะช่วยกันรณรงค์ให้หมดสิ้นไปนั่นคือการต่อต้านไม่ให้บจ.จัด analyst meeting ซัก 1 เดือน"ก่อน"การประกาศงบการเงิน อะไรคือตรรกะ ผมขอลองยกข้อสังเกตุส่วนตัวนะครับ
เคยมีใครสังเกตุไหมครับว่าทำไมก่อนประกาศงบการเงิน จะมีอยู่บางวันที่หุ้นที่เราถือจะมีปริมาณการซื้อขายมากผิดปกติ และอีก 2-3 วันถัดมาก็จะมีบทวิเคราะห์จาก broker ทยอย release ออกมา และถ้าเราลองสืบกลับไปจะทราบว่า หลายต่อหลายครั้งทีเดียวที่วันที่ปริมาณซื้อขายผิดปกติไปนั้น บจ.เหล่านั้นมีการจัด analyst meeting นั่นเอง
คือถ้าจะสรุปคร่าวๆจะเป็นประมาณนี้ครับ จะเห็นได้ว่า broker นั้นมี incentive มหาศาลที่จะขอนัดพบผู้บริหารก่อนวันงบออกเพราะ
1) ได้ข้อมูลใกล้เคียงที่สุด ลดโอกาสวิเคราะห์ผิด 2) "อาจ"ทำการซื้อขายได้ก่อนเพราะรู้ข้อมูลก่อนคนอื่น (แม้จะผิดจริยธรรมก็ตาม แต่เรื่องเงินไม่เข้าใครออกใคร) 3) ได้ credit จากการที่สามารถส่งข้อมูลที่สดมากๆให้รายใหญ่ได้ก่อน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่ามีคนกำลังเอาเปรียบรายย่อยอยู่ครับ รายใหญ่นั้นไม่ต้องพูดถึงเพราะเข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่ารายย่อยเนื่องจากเป็นกลุ่มนักลงทุนที่ได้รับการ treat เป็นอย่างดีจาก broker ต่างๆ
ดังนั้น มีใครคิดเหมือนผมไหมครับว่า การจัด analyst meeting ควรจะเกิดขึ้นหลังจากประกาศงบการเงินแล้วเท่านั้นเพราะจะทำให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน
ตัวอย่างที่ง่ายและดีที่สุดคือ Berkshire Hathaway ของ Warren Buffett ถ้าใครติดตามจะทราบว่าเขาจะไม่ยอมให้เกิด analyst meeting ก่อนประกาศงบแบบนี้แต่นอนเพราะ Buffett ทราบดีว่าการกระทำอย่างนั้นจะทำให้เกิด "Information asymmetry"
ส่วนตัวนั้น 90% ของหุ้นที่ผมลงทุนจะเลือกหุ้นที่ไม่มี analyst cover เพราะผมไม่ชอบใจกับพฤติกรรมแบบนี้ นั่นหมายความว่าผมไม่ได้เดือดร้อนอะไรถ้าการจัด meeting แบบนี้จะยังคงมีต่อไป แต่ผมแค่รู้สึกว่านลท.ไม่ควรให้ใครมาเอาเปรียบ ถ้าเราจะช่วยกันทำอะไรได้บ้างเพื่อพัฒนาตลาดทุน การยกเรื่องนี้ขึ้นมาอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆกับการสร้างความยุติธรรมกับการเข้าถึงข้อมูลในการลงทุนนั่นเอง
ถึงเวลาหรือยังครับที่เราควรช่วยกันต่อต้านการจัด analyst meeting ก่อนวันงบออก??
You get recessions, you have stock market declines. If you don't understand that's going to happen, then you're not ready, you won't do well in the markets. - Peter Lynch
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 379
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คิดอย่างไรถ้าจะต่อต้านไม่ให้มีการจัด analyst meeting ก่อ
โพสต์ที่ 2
BLSH เขียน:ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนว่าเป็นแค่ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ อยากลองเอามาแชร์กับเพื่อนๆใน board ดู เห็นเหมือนหรือเห็นต่างอย่างไรร่วมด้วยช่วยแชร์ได้เต็มที่ครับ
จากที่ลงทุนในตลาดมานาน มีพฤติกรรมหนึ่งที่ผมคิดว่าไม่สมควรอย่างยิ่งและเราควรจะช่วยกันรณรงค์ให้หมดสิ้นไปนั่นคือการต่อต้านไม่ให้บจ.จัด analyst meeting ซัก 1 เดือน"ก่อน"การประกาศงบการเงิน อะไรคือตรรกะ ผมขอลองยกข้อสังเกตุส่วนตัวนะครับ
เคยมีใครสังเกตุไหมครับว่าทำไมก่อนประกาศงบการเงิน จะมีอยู่บางวันที่หุ้นที่เราถือจะมีปริมาณการซื้อขายมากผิดปกติ และอีก 2-3 วันถัดมาก็จะมีบทวิเคราะห์จาก broker ทยอย release ออกมา และถ้าเราลองสืบกลับไปจะทราบว่า หลายต่อหลายครั้งทีเดียวที่วันที่ปริมาณซื้อขายผิดปกติไปนั้น บจ.เหล่านั้นมีการจัด analyst meeting นั่นเอง
คือถ้าจะสรุปคร่าวๆจะเป็นประมาณนี้ครับ
เปิดประเด็น มุมมอง ใด้ " เทพ" มากๆ
จะเห็นได้ว่า broker นั้นมี incentive มหาศาลที่จะขอนัดพบผู้บริหารก่อนวันงบออกเพราะ
1) ได้ข้อมูลใกล้เคียงที่สุด ลดโอกาสวิเคราะห์ผิด 2) "อาจ"ทำการซื้อขายได้ก่อนเพราะรู้ข้อมูลก่อนคนอื่น (แม้จะผิดจริยธรรมก็ตาม แต่เรื่องเงินไม่เข้าใครออกใคร) 3) ได้ credit จากการที่สามารถส่งข้อมูลที่สดมากๆให้รายใหญ่ได้ก่อน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่ามีคนกำลังเอาเปรียบรายย่อยอยู่ครับ รายใหญ่นั้นไม่ต้องพูดถึงเพราะเข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่ารายย่อยเนื่องจากเป็นกลุ่มนักลงทุนที่ได้รับการ treat เป็นอย่างดีจาก broker ต่างๆ
ดังนั้น มีใครคิดเหมือนผมไหมครับว่า การจัด analyst meeting ควรจะเกิดขึ้นหลังจากประกาศงบการเงินแล้วเท่านั้นเพราะจะทำให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน
ตัวอย่างที่ง่ายและดีที่สุดคือ Berkshire Hathaway ของ Warren Buffett ถ้าใครติดตามจะทราบว่าเขาจะไม่ยอมให้เกิด analyst meeting ก่อนประกาศงบแบบนี้แต่นอนเพราะ Buffett ทราบดีว่าการกระทำอย่างนั้นจะทำให้เกิด "Information asymmetry"
ส่วนตัวนั้น 90% ของหุ้นที่ผมลงทุนจะเลือกหุ้นที่ไม่มี analyst cover เพราะผมไม่ชอบใจกับพฤติกรรมแบบนี้ นั่นหมายความว่าผมไม่ได้เดือดร้อนอะไรถ้าการจัด meeting แบบนี้จะยังคงมีต่อไป แต่ผมแค่รู้สึกว่านลท.ไม่ควรให้ใครมาเอาเปรียบ ถ้าเราจะช่วยกันทำอะไรได้บ้างเพื่อพัฒนาตลาดทุน การยกเรื่องนี้ขึ้นมาอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆกับการสร้างความยุติธรรมกับการเข้าถึงข้อมูลในการลงทุนนั่นเอง
ถึงเวลาหรือยังครับที่เราควรช่วยกันต่อต้านการจัด analyst meeting ก่อนวันงบออก??
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 379
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คิดอย่างไรถ้าจะต่อต้านไม่ให้มีการจัด analyst meeting ก่อ
โพสต์ที่ 3
ขออภัย ลากมาไม่หมด ขอแสดงความนับถือ อย่างแรง กับประเด็นนี้
- ส.สลึง
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3750
- ผู้ติดตาม: 1
Re: คิดอย่างไรถ้าจะต่อต้านไม่ให้มีการจัด analyst meeting ก่อ
โพสต์ที่ 5
จาก diagram ทางด้านขวา
ไม่น่าจะหมายถึงนักลงทุนรายย่อยนะครับ
แต่น่าจะหมายถึง นักลงทุนรายละเอียด
เรื่องแบบนี้มันมีนานแล้วละครับ
ทุกวงการเลยครับ
ไม่น่าจะหมายถึงนักลงทุนรายย่อยนะครับ
แต่น่าจะหมายถึง นักลงทุนรายละเอียด
เรื่องแบบนี้มันมีนานแล้วละครับ
ทุกวงการเลยครับ
"วิถีรักษ์โลก บ้าน 1 หลัง รถ 1 คัน สาว 1 คน กางเกงใน 1 ตัว" <( ̄︶ ̄)> ...
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2770
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คิดอย่างไรถ้าจะต่อต้านไม่ให้มีการจัด analyst meeting ก่อ
โพสต์ที่ 6
ประเด็นน่าสนใจครับ ผมเห็นด้วยในหลักความยุติธรรม แต่ไม่เห็นด้วยในประเด็นการให้ข้อมูลครับ
การมี Analyst Meeting ก็มีข้อดีตรงที่ที่ทำให้นักลงทุนได้ข้อมูลเพิ่ม ถ้าตัดตรงนี้ออกไปอาจจะทำให้ช่องทางหาข้อมูลบริษัทลดลง หรือกลายเป็นการส่งเสริมให้นักวิเคราะห์ไปหาข้อมูลกับผู้บริหารเป็นการส่วนตัวแทนที่จะจัดประชุม ซึ่งไม่ดีต่อระบบโดยรวม
โดยสรุปคือ ผมคิดว่าการจัดการประชุมนั้นไม่ผิด แต่ผิดที่ผู้ที่เข้าร่วมประชุมนั้นมีจำนวนจำกัด ไม่สร้างความเท่าเที่ยมให้กับผู้ถือหุ้น ถ้าเป็นไปได้ ผมว่าควรไปรณรงค์ให้เปิดเผยเทปบันทึกการประชุมนักวิเคราะห์ผ่านเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์หลังการประชุมทันที น่าจะเป็นการแก้ไขที่ตรงปัญหามากกว่าครับ
การมี Analyst Meeting ก็มีข้อดีตรงที่ที่ทำให้นักลงทุนได้ข้อมูลเพิ่ม ถ้าตัดตรงนี้ออกไปอาจจะทำให้ช่องทางหาข้อมูลบริษัทลดลง หรือกลายเป็นการส่งเสริมให้นักวิเคราะห์ไปหาข้อมูลกับผู้บริหารเป็นการส่วนตัวแทนที่จะจัดประชุม ซึ่งไม่ดีต่อระบบโดยรวม
โดยสรุปคือ ผมคิดว่าการจัดการประชุมนั้นไม่ผิด แต่ผิดที่ผู้ที่เข้าร่วมประชุมนั้นมีจำนวนจำกัด ไม่สร้างความเท่าเที่ยมให้กับผู้ถือหุ้น ถ้าเป็นไปได้ ผมว่าควรไปรณรงค์ให้เปิดเผยเทปบันทึกการประชุมนักวิเคราะห์ผ่านเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์หลังการประชุมทันที น่าจะเป็นการแก้ไขที่ตรงปัญหามากกว่าครับ
Vi IMrovised
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1096
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คิดอย่างไรถ้าจะต่อต้านไม่ให้มีการจัด analyst meeting ก่อ
โพสต์ที่ 7
ขออภัยที่ทำให้สับสนครับvim เขียน:ประเด็นน่าสนใจครับ ผมเห็นด้วยในหลักความยุติธรรม แต่ไม่เห็นด้วยในประเด็นการให้ข้อมูลครับ
การมี Analyst Meeting ก็มีข้อดีตรงที่ที่ทำให้นักลงทุนได้ข้อมูลเพิ่ม ถ้าตัดตรงนี้ออกไปอาจจะทำให้ช่องทางหาข้อมูลบริษัทลดลง หรือกลายเป็นการส่งเสริมให้นักวิเคราะห์ไปหาข้อมูลกับผู้บริหารเป็นการส่วนตัวแทนที่จะจัดประชุม ซึ่งไม่ดีต่อระบบโดยรวม
โดยสรุปคือ ผมคิดว่าการจัดการประชุมนั้นไม่ผิด แต่ผิดที่ผู้ที่เข้าร่วมประชุมนั้นมีจำนวนจำกัด ไม่สร้างความเท่าเที่ยมให้กับผู้ถือหุ้น ถ้าเป็นไปได้ ผมว่าควรไปรณรงค์ให้เปิดเผยเทปบันทึกการประชุมนักวิเคราะห์ผ่านเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์หลังการประชุมทันที น่าจะเป็นการแก้ไขที่ตรงปัญหามากกว่าครับ
ที่ผมไม่เห็นด้วยคือการจัด analyst meeting "ก่อน" ประกาศงบการเงิน เพราะมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมดังที่กล่าวไปแล้ว
แต่ผมเห็นด้วยที่บริษัทควรจัดให้มี analyst meeting แต่ timing ที่เหมาะสมควรเป็นหลังวันประกาศงบการเงินแล้วเท่านั้น เช่นจัด analyst meeting วันเดียวกับ Oppday ไปเลย
การจัด analyst meeting หลังวันงบออกน่าจะ fair ต่อทุกฝ่ายเพราะ ณ วันงบออก ผลประกอบการ "น่าจะ" สะท้อนราคาหุ้นแก่ทั้งรายใหญ่ สถาบัน และรายย่อยอย่างเท่าเทียมกัน ผมว่ามัน fair ดีครับ
ผมว่าถ้ารายใหญ่อยากจะชนะรายย่อยแบบหล่อๆโดยการเข้าถึงข้อมูลพร้อมๆกันมัน"มีศักดิ์ศรี"ดีครับ
You get recessions, you have stock market declines. If you don't understand that's going to happen, then you're not ready, you won't do well in the markets. - Peter Lynch
- anubist
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1373
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คิดอย่างไรถ้าจะต่อต้านไม่ให้มีการจัด analyst meeting ก่อ
โพสต์ที่ 8
เห็นด้วยอย่างมากครับ
analyst meeting date ผมก็อยากเข้าร่วมด้วยแต่หลายๆบริษัทไม่ให้
ด้วยข้ออ้างว่าศัพท์เทคนิคเยอะ ที่จริงผมถามกูเกิลทีหลังก็ได้
ไม่มีอะไรยากเกินกว่าที่จะเรียนรู้(ถ้ามีเวลาเป็นอนันต์)
อีกทั้งข้อมูลที่ให้analystกับนลท.อาจไม่เหมือนกันหรือไม่เท่ากัน
ความลึกของข้อมูล รายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ทำให้รายย่อยแพ้ข้อมูลรายใหญ่
ที่จริงผมคิดว่าบริษัทควรส่งเสริมให้นลท.ทั่วไปหรือผถห.สามารถเข้าร่วมanalyst meeting dateได้
หรืออย่างน้อยอัดวิดีโอเพื่อให้การเข้าถึงข้อมูลเท่าเทียมกัน แม้ว่าจะช้าไปบ้างอย่างน้อยก็ดีกว่าไม่มี
ผมอยากเห็นสมาคมเข้าไปมีส่วนร่วมกำหนดกฏเกณฑ์หรือให้ความเห็นแก่กลต.
ในการออกกฏต่างๆโดยเฉพาะพวกปั่นหุ้นจ่ายค่าปรับแล้วจบ
ปั่นได้เงินเป็นล้าน จ่าย5แสนก็จบ นี่คือสาเหตุหลักที่ผมไม่ให้ความสำคัญกับกราฟ
ไปเล่นตามเกมส์คนอื่น โอกาสแพ้มีมากกว่าชนะ เลือกเล่นเกมส์ของตัวเองดีกว่า
analyst meeting date ผมก็อยากเข้าร่วมด้วยแต่หลายๆบริษัทไม่ให้
ด้วยข้ออ้างว่าศัพท์เทคนิคเยอะ ที่จริงผมถามกูเกิลทีหลังก็ได้
ไม่มีอะไรยากเกินกว่าที่จะเรียนรู้(ถ้ามีเวลาเป็นอนันต์)
อีกทั้งข้อมูลที่ให้analystกับนลท.อาจไม่เหมือนกันหรือไม่เท่ากัน
ความลึกของข้อมูล รายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ทำให้รายย่อยแพ้ข้อมูลรายใหญ่
ที่จริงผมคิดว่าบริษัทควรส่งเสริมให้นลท.ทั่วไปหรือผถห.สามารถเข้าร่วมanalyst meeting dateได้
หรืออย่างน้อยอัดวิดีโอเพื่อให้การเข้าถึงข้อมูลเท่าเทียมกัน แม้ว่าจะช้าไปบ้างอย่างน้อยก็ดีกว่าไม่มี
ผมอยากเห็นสมาคมเข้าไปมีส่วนร่วมกำหนดกฏเกณฑ์หรือให้ความเห็นแก่กลต.
ในการออกกฏต่างๆโดยเฉพาะพวกปั่นหุ้นจ่ายค่าปรับแล้วจบ
ปั่นได้เงินเป็นล้าน จ่าย5แสนก็จบ นี่คือสาเหตุหลักที่ผมไม่ให้ความสำคัญกับกราฟ
ไปเล่นตามเกมส์คนอื่น โอกาสแพ้มีมากกว่าชนะ เลือกเล่นเกมส์ของตัวเองดีกว่า
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 1583
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คิดอย่างไรถ้าจะต่อต้านไม่ให้มีการจัด analyst meeting ก่อ
โพสต์ที่ 10
anubist เขียน:เห็นด้วยอย่างมากครับ
analyst meeting date ผมก็อยากเข้าร่วมด้วยแต่หลายๆบริษัทไม่ให้
ด้วยข้ออ้างว่าศัพท์เทคนิคเยอะ ที่จริงผมถามกูเกิลทีหลังก็ได้
ไม่มีอะไรยากเกินกว่าที่จะเรียนรู้(ถ้ามีเวลาเป็นอนันต์)
อีกทั้งข้อมูลที่ให้analystกับนลท.อาจไม่เหมือนกันหรือไม่เท่ากัน
ความลึกของข้อมูล รายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ ทำให้รายย่อยแพ้ข้อมูลรายใหญ่
ที่จริงผมคิดว่าบริษัทควรส่งเสริมให้นลท.ทั่วไปหรือผถห.สามารถเข้าร่วมanalyst meeting dateได้
หรืออย่างน้อยอัดวิดีโอเพื่อให้การเข้าถึงข้อมูลเท่าเทียมกัน แม้ว่าจะช้าไปบ้างอย่างน้อยก็ดีกว่าไม่มี
ผมอยากเห็นสมาคมเข้าไปมีส่วนร่วมกำหนดกฏเกณฑ์หรือให้ความเห็นแก่กลต.
ในการออกกฏต่างๆโดยเฉพาะพวกปั่นหุ้นจ่ายค่าปรับแล้วจบ
ปั่นได้เงินเป็นล้าน จ่าย5แสนก็จบ นี่คือสาเหตุหลักที่ผมไม่ให้ความสำคัญกับกราฟ
ไปเล่นตามเกมส์คนอื่น โอกาสแพ้มีมากกว่าชนะ เลือกเล่นเกมส์ของตัวเองดีกว่า
ถ้าเรามีโบรกเกอร์ที่ดี
มีมาร์เกตติ้งที่ดี
เราก็จะได้รับ briefing note สรุปข้อมูลจาก Analyst meeting ณ วันที่เขามีประชุมเลยน่ะครับ
ผมก็จะได้รับอีเมล์ส่งมาทุกที
หรือถ้าวันไหนมีวอลุ่มมากผิดปกติเราถามมาร์เกตติ้ง แล้วถ้าโบรกเราทำวิเคราะห์บริษัทนั้นอยู่ มาร์ก็มักจะหาข้อมูลได้ค่อนข้างรวดเร็วพอสมควร
โอเคเรารายย่อยอาจไม่ได้นั่งมองหุ้นหรือนั่งรอข้อมูลทั้งวัน
สำหับผม ผมว่าผมได้รับข้อมูลช้ากว่ากองทุน ประมาณ 3-4 ชั่วโมงหรือหลังจากตลาดปิด เพราะกว่าเราจะมาดูราคาหุ้น ดูอีเมล์ต่างๆๆก็เกือบจะปิดตลาดอยู่แล้ว
สุดท้ายถ้าเราจะซื้อหรือขาย ก็ได้ราคาไม่ต่างจากกองทุนมากนักหรอกครับ ขึ้นอยู่กับความเอาใจใส่ของเราด้วยว่าโทรถามมาร์ หรือติดตามหุ้นถี่ขนาดไหน
ประเด็นที่เราเสียเปรียบคือเราไม่มีปฏิทิน analyst meeting ล่วงหน้า
ทำให้เราไม่ได้เตรียมพร้อมรอข้อมูล ณ วันที่มี มีตตี้ง เลยอาจทำให้เราไม่ได้ใส่ใจตามเช็คในวันนั้น
เรื่อง analyst meeting ผมรู้สึกว่าได้ข้อมูลเร็วพอๆกัน
แต่เรื่องcompany visit ที่บางครั้งโบรกจัดนัดกันเอง อันนี้ เรามักจะแพ้โบรก เพราะเขาจะไม่ทำบทวิเคราะห์มาเร็ว ปกติจะผ่านไป 2 อาทิตย์ถึงจะเรียบเรียงเนื้อหาแล้วตีพิมพ์ให้เราอ่าน
- crazyrisk
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4562
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คิดอย่างไรถ้าจะต่อต้านไม่ให้มีการจัด analyst meeting ก่อ
โพสต์ที่ 11
ยอดไปเลยครับ คุณ BLSH
ผมเห็นด้วยอย่างมากเลยครับ ว่าสิ่งที่ดีที่สุด คือ ลดการเกิดความเหลื่อมล้ำของข้อมูลให้มากที่สุด
ผมเห็นด้วยอย่างมากเลยครับ ว่าสิ่งที่ดีที่สุด คือ ลดการเกิดความเหลื่อมล้ำของข้อมูลให้มากที่สุด
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
- Linzhi
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1522
- ผู้ติดตาม: 1
Re: คิดอย่างไรถ้าจะต่อต้านไม่ให้มีการจัด analyst meeting ก่อ
โพสต์ที่ 12
ผมว่าปัจจุบันนักวิเคราะห์ที่ไป analyst meeting มาทุกท่านก็พยายามออกบทวิเคราะห์ให้ได้เร็ว จะได้ออกก่อนคนอื่นได้
กลไกนี้ก็จะช่วยคุ้มครองรายย่อยได้ครับ แต่อย่างที่คุณ BLSH ว่าผมเห็นด้วย 100% ว่ามี forerunner เสมอ ๆ ในตลาดครับ
การห้ามจัดในช่วงนี้ ผมว่ายิ่งทำให้ข้อมูลอยู่ในวงแคบกว่าเดิมเสียอีก ปัจจุบันก็มี meeting ย่อยกับนลท.รายใหญ่อยู่แล้วครับ
วิธีการที่ถูกต้องคือ IR รวมถึงบริษัทต้องมีธรรมภิบาลไว้ครับ ไม่ใช่โฆษณาหุ้นโดยให้ข้อมูลที่ไม่เท่าเทียมกันครับ
กลไกนี้ก็จะช่วยคุ้มครองรายย่อยได้ครับ แต่อย่างที่คุณ BLSH ว่าผมเห็นด้วย 100% ว่ามี forerunner เสมอ ๆ ในตลาดครับ
การห้ามจัดในช่วงนี้ ผมว่ายิ่งทำให้ข้อมูลอยู่ในวงแคบกว่าเดิมเสียอีก ปัจจุบันก็มี meeting ย่อยกับนลท.รายใหญ่อยู่แล้วครับ
วิธีการที่ถูกต้องคือ IR รวมถึงบริษัทต้องมีธรรมภิบาลไว้ครับ ไม่ใช่โฆษณาหุ้นโดยให้ข้อมูลที่ไม่เท่าเทียมกันครับ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1284
- ผู้ติดตาม: 1
Re: คิดอย่างไรถ้าจะต่อต้านไม่ให้มีการจัด analyst meeting ก่อ
โพสต์ที่ 13
ชอบประเด็นนี้ครับ เกี่ยวเนื่องกับการ insider trading ซึ่งเป็นกันมากในตลาดหุ้นฝั่งเอเชีย
อีกคำถามที่น่าจะมีการสำรวจคือ การ insider trading บาปมั้ย เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ ปฏิบัติธรรม แต่บางคนพอมี inside information เช่น รู้งบก่อนมหาชน ก็ใช้เป็นโอกาสในการทำเงิน ไม่แน่ใจว่าอย่างนี้บาปมั้ย ถ้าคนส่วนใหญ่มองว่าบาป ผิดศีล การ insider trade น่าจะลดลง แต่ถ้าคนส่วนใหญ่มองว่าไม่ผิด คงแก้ยาก นอกจาก กลต จะแก้กฏหมาย เอาให้หนัก อย่างที่อเมริกา insider trade ที จับได้ติดคุกทันที เมืองไทยไม่เป็นเช่นนั้น กฎหมายยังเอื้อคนรวยอยู่
ถ้าใครรู้จักท่าน ว. วานถามให้ทีว่า insider trading บาปมั้ย...
อีกคำถามที่น่าจะมีการสำรวจคือ การ insider trading บาปมั้ย เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ ปฏิบัติธรรม แต่บางคนพอมี inside information เช่น รู้งบก่อนมหาชน ก็ใช้เป็นโอกาสในการทำเงิน ไม่แน่ใจว่าอย่างนี้บาปมั้ย ถ้าคนส่วนใหญ่มองว่าบาป ผิดศีล การ insider trade น่าจะลดลง แต่ถ้าคนส่วนใหญ่มองว่าไม่ผิด คงแก้ยาก นอกจาก กลต จะแก้กฏหมาย เอาให้หนัก อย่างที่อเมริกา insider trade ที จับได้ติดคุกทันที เมืองไทยไม่เป็นเช่นนั้น กฎหมายยังเอื้อคนรวยอยู่
ถ้าใครรู้จักท่าน ว. วานถามให้ทีว่า insider trading บาปมั้ย...
In search of super stocks
-
- Verified User
- โพสต์: 428
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คิดอย่างไรถ้าจะต่อต้านไม่ให้มีการจัด analyst meeting ก่อ
โพสต์ที่ 14
บาป คือ การทำให้เกิดโทษต่อตนเองและผู้อื่น ทำให้เกิดกิเลสต่อตนเองและผู้อื่น
insider คงไม่ได้มาง่ายๆ ก็ต้องมีการซื้อข้อมูลกัน คนขายก็ต้องขโมยมา
หรือเป็น ผบห ก็ต้องให้ลูกน้อยขโมยมา เพราะข้อมูลมีค่า เมื่อได้มาแล้วก็ต้องทำให้
มีค่ามากที่สุด ก็ต้องมีขบวนการปลิ้นปล้อนหลอกลวง ให้คนอื่นๆเข้าใจผิด
คือการกระทำทุกขั้นตอน ต้องทำได้ทุกอย่าง เพื่อให้ได้เงินมากๆ
การทำทุกอย่างนั้น ก็คือการทำผิดศีล ผิดกฏหมายก็ยินดีทำ
สรุปบาปแหงๆ
insider คงไม่ได้มาง่ายๆ ก็ต้องมีการซื้อข้อมูลกัน คนขายก็ต้องขโมยมา
หรือเป็น ผบห ก็ต้องให้ลูกน้อยขโมยมา เพราะข้อมูลมีค่า เมื่อได้มาแล้วก็ต้องทำให้
มีค่ามากที่สุด ก็ต้องมีขบวนการปลิ้นปล้อนหลอกลวง ให้คนอื่นๆเข้าใจผิด
คือการกระทำทุกขั้นตอน ต้องทำได้ทุกอย่าง เพื่อให้ได้เงินมากๆ
การทำทุกอย่างนั้น ก็คือการทำผิดศีล ผิดกฏหมายก็ยินดีทำ
สรุปบาปแหงๆ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4254
- ผู้ติดตาม: 1
Re: คิดอย่างไรถ้าจะต่อต้านไม่ให้มีการจัด analyst meeting ก่อ
โพสต์ที่ 15
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ
อีกอย่างที่ควรเพิ่ม
ปัจจุบันใช้คอมพิวเตอร์ในการ
ลงบัญชีอยู่แล้ว น่าจะเปลี่ยน
กฎจาก 45 วัน เหลือแค่ 30 วันก็พอครับ
ยิ่งนาน Insider/Outside-In ย่อมได้
เปรียบมากกว่านักลงทุนทั่วไป
อีกอย่างที่ควรเพิ่ม
ปัจจุบันใช้คอมพิวเตอร์ในการ
ลงบัญชีอยู่แล้ว น่าจะเปลี่ยน
กฎจาก 45 วัน เหลือแค่ 30 วันก็พอครับ
ยิ่งนาน Insider/Outside-In ย่อมได้
เปรียบมากกว่านักลงทุนทั่วไป
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1123
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คิดอย่างไรถ้าจะต่อต้านไม่ให้มีการจัด analyst meeting ก่อ
โพสต์ที่ 16
อ้าว แต่ทำไม thaivi ถึงทำซะเองละครับ?crazyrisk เขียน:ยอดไปเลยครับ คุณ BLSH
ผมเห็นด้วยอย่างมากเลยครับ ว่าสิ่งที่ดีที่สุด คือ ลดการเกิดความเหลื่อมล้ำของข้อมูลให้มากที่สุด
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนที่แท้จริง
-
- Verified User
- โพสต์: 1741
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คิดอย่างไรถ้าจะต่อต้านไม่ให้มีการจัด analyst meeting ก่อ
โพสต์ที่ 17
This question is the same as asking people not to use the Bloomberg Terminal!
If retail investors want to have rapid and valuable information, you need to pay for it.
You need to measure the costs and benefits from paying for such superior information.
It is normal.
Again, it is the same as those investors who pay 500 baht a year for ThaiVI.
If retail investors want to have rapid and valuable information, you need to pay for it.
You need to measure the costs and benefits from paying for such superior information.
It is normal.
Again, it is the same as those investors who pay 500 baht a year for ThaiVI.
-
- Verified User
- โพสต์: 1230
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คิดอย่างไรถ้าจะต่อต้านไม่ให้มีการจัด analyst meeting ก่อ
โพสต์ที่ 18
ผมว่าในแง่นักลงทุน ที่เราต้องการคือการตั้งกติกาให้ชัดเจนที่สุด เพื่อทุกคนจะได้อยู่บนเกมเดียวกัน
ดังนั้นกติกาไม่ชัด ไม่ดี มีเหตุผลพอก็น่าจะแก้ได้
สำหรับผม ไม่ค่อยรู้สึกว่า analyst meeting ว่ามีผลต่อการลงทุน ไม่ค่อยเห็นประโยชน์ของบทวิเคราะห์ เพราะว่าเขามักวิเคราะห์หุ้นขนาดใหญ่ ยิ่งเรื่องราคาเป้าหมาย..ก็ไม่เคยใส่ใจ (แต่เอามาคุยในกลุ่มมากกว่าว่า broker ให้ราคาอย่างไร) เพราะว่าหุ้นเกือบทุกตัว นักวิเคราะห์ให้ราคาเป้าหมายห่างกันมาก บางตัวก็มีทั้ง buy hold sell
เดี๋ยวนี้ผู้บริหารส่วนใหญ่ก็รู้ ผมว่าเขาก็ได้พยายามไม่บอกตัวเลขกำไรอยู่แล้ว (ทั้งที่นักลงทุนบางคนชอบถาม) เพราะว่าเขารู้ว่าผิด และอย่างไรก็ดี นักลงทุน vi อย่างเราก็มักหาวิธีการประเมินคร่าว ๆ ได้อยู่แล้วว่าแต่ละไตรมาส ผลประกอบการน่าจะออกมาประมาณไหนก่อนงบออกนานพอสมควร
ส่วนเรื่องการรู้ตัวเลขก่อนงบออก....ก็คงเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร cfo และ auditor ...ที่จะมีจรรยาบรรณขนาดไหน...เข้าใจว่าทุกวันนี้ ย่อมอาจมีรั่วอยู่บ้าง แต่ไม่รู้ว่ามีมากขนาดไหน...อันนี้ผมว่าไม่เหมาะสมมากกว่ามาก และ ผิดกฎ กลต ด้วย
กลับมาเรื่อง timing ของการจัด analyst meeting ผมว่ามันพิจารณายากนะครับ....ปิดงบ สิ้นไตรมาส รับรองงบภายใน 45 วัน หรือ60 วัน (สำหรับงบปี) วันที่ออกงบ รับรองงบ ประกาศงบ มันคนละวันกัน วันจริงจะเป็นวันไหนก็ขึ้นกับ auditor และ management....อยากบอกว่าบริษัทส่วนใหญ่ที่มีระบบบัญชีดี ๆ ตัวเลขยอดขาย กำไร น่าจะเกือบ real time ด้วยซ้ำ ไม่ต้องรองบออก....ผมจึงเห็นว่ามันขึ้นกับการเปิดเผยข้อมูลของผู้บริหารมากกว่า
ท้ายสุด ก็เห็นด้วยว่า ถ้าจัด analyst meeting พร้อมกับ opp day ได้ก็ดีอย่างที่เพื่อน ๆ ว่า เพราะว่ามีการถ่ายทอดด้วย...แต่ เป็นร้อย ๆ บริษัทจะจัดอย่างไรละครับ
ดังนั้นกติกาไม่ชัด ไม่ดี มีเหตุผลพอก็น่าจะแก้ได้
สำหรับผม ไม่ค่อยรู้สึกว่า analyst meeting ว่ามีผลต่อการลงทุน ไม่ค่อยเห็นประโยชน์ของบทวิเคราะห์ เพราะว่าเขามักวิเคราะห์หุ้นขนาดใหญ่ ยิ่งเรื่องราคาเป้าหมาย..ก็ไม่เคยใส่ใจ (แต่เอามาคุยในกลุ่มมากกว่าว่า broker ให้ราคาอย่างไร) เพราะว่าหุ้นเกือบทุกตัว นักวิเคราะห์ให้ราคาเป้าหมายห่างกันมาก บางตัวก็มีทั้ง buy hold sell
เดี๋ยวนี้ผู้บริหารส่วนใหญ่ก็รู้ ผมว่าเขาก็ได้พยายามไม่บอกตัวเลขกำไรอยู่แล้ว (ทั้งที่นักลงทุนบางคนชอบถาม) เพราะว่าเขารู้ว่าผิด และอย่างไรก็ดี นักลงทุน vi อย่างเราก็มักหาวิธีการประเมินคร่าว ๆ ได้อยู่แล้วว่าแต่ละไตรมาส ผลประกอบการน่าจะออกมาประมาณไหนก่อนงบออกนานพอสมควร
ส่วนเรื่องการรู้ตัวเลขก่อนงบออก....ก็คงเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร cfo และ auditor ...ที่จะมีจรรยาบรรณขนาดไหน...เข้าใจว่าทุกวันนี้ ย่อมอาจมีรั่วอยู่บ้าง แต่ไม่รู้ว่ามีมากขนาดไหน...อันนี้ผมว่าไม่เหมาะสมมากกว่ามาก และ ผิดกฎ กลต ด้วย
กลับมาเรื่อง timing ของการจัด analyst meeting ผมว่ามันพิจารณายากนะครับ....ปิดงบ สิ้นไตรมาส รับรองงบภายใน 45 วัน หรือ60 วัน (สำหรับงบปี) วันที่ออกงบ รับรองงบ ประกาศงบ มันคนละวันกัน วันจริงจะเป็นวันไหนก็ขึ้นกับ auditor และ management....อยากบอกว่าบริษัทส่วนใหญ่ที่มีระบบบัญชีดี ๆ ตัวเลขยอดขาย กำไร น่าจะเกือบ real time ด้วยซ้ำ ไม่ต้องรองบออก....ผมจึงเห็นว่ามันขึ้นกับการเปิดเผยข้อมูลของผู้บริหารมากกว่า
ท้ายสุด ก็เห็นด้วยว่า ถ้าจัด analyst meeting พร้อมกับ opp day ได้ก็ดีอย่างที่เพื่อน ๆ ว่า เพราะว่ามีการถ่ายทอดด้วย...แต่ เป็นร้อย ๆ บริษัทจะจัดอย่างไรละครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 46
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คิดอย่างไรถ้าจะต่อต้านไม่ให้มีการจัด analyst meeting ก่อ
โพสต์ที่ 19
เห็นด้วยกับคุณ BLSH และพี่ๆอีกหลายคนเลยครับว่า ถ้าจะจัด analyst meeting
ก็ควรกำหนด timimg ที่ไม่เอาเปรียบรายย่อยเกินไป
แต่ก็นะ ไม่รู้ว่าต่อต้านไปจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรไหม หรือถ้ามีการเปลี่ยนแปลงก็คิดว่าอีกนานพอควร
ดังนั้น ระหว่างนี้รายย่อยอย่างเราๆ(โดยเฉพาะมือใหม่) จะทำยังไงดี?
เท่าที่ผมพอจะนึกออกก็มีประมาณนี้
1.มองผลประกอบการระยะยาวเลย
ยาวในที่นี้คือ ตั้งแต่3 ปี ขึ้นไป ที่จริงกลางๆ 1-3 ปี ก็พอจะป้องกันได้แล้วนะ แต่อย่าไปมองรายไตรมาส
ซึ่งจะทำแบบนั้นได้ก็ต้องเลือกธุรกิจที่เราเข้าใจ มั่นคง เปลี่ยนแปลงช้าๆหน่อย มีอำนาจต่อรองสูงหน่อย
กำหนดชะตาชีวิตตัวเองได้ คือ ไม่ขึ้นกับรัฐมาก อุตสาหกรรมมันยังโต มี barrior to entry เช่น เทคโนโลยี knowhow brand สัมปทาน EOS
แบบนี้ก็พอเดาออกว่าประกาศงบมามันก็ดีอยูแล้ว
หรือ ใครจะเลือกกิจการแบบที่กำลังเป็นกระแส เปลี่ยนแปลงเร็วหน่อยแต่มั่นใจว่าอุตสาหกรรมมันโตสูงแน่ๆในช่วง 1-3 ปี ก็พอได้
แต่พออุตสาหกรรมมันเริ่มเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลง หรือ คู่แข่งมันเริ่มเข้ามาเยอะเกินไปแบบนี้ก็ต้องระวังนะ
เพราะอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนเร็ว ส่วนใหญ่จะไม่มี barrior เท่าไหร่
แบบนี้ต่อให้จะมีหรือไม่มี analyst meeting ก็ไม่เป็นไร คือ ถ้าเกิดมี analyst meeting ก่อนงบออก หุ้นมันขึ้นไป
เราก็มีหุ้นอยู่แล้วเพราะเราซื้อก่อน หรือ ถ้าเกิดไม่มีการจัด analyst meeting หุ้นมันก็ขึ้นตามผลประกอบการอยู่ดี
2.พิจารณาหุ้นขนาดเล็ก หรือ กลางๆ ที่ยังไม่ค่อยมีคนสนใจเท่าไหร่
ถามว่าดูยังไงว่าไม่ค่อยมีคนสนใจ คร่าวๆ ก็ดู volume ที่ trade กัน ถ้าตั้งแต่ 1% ของ market cap
แบบนี้ก็ต้องเริ่มระวังแล้ว แต่ถ้าถึงขั้นติด top gain นี่ ให้ระวังเต็มที่หรืออาจหลีกเลี่ยงเลยก็ได้
เพราะแสดงว่ามันมีคนสนใจแล้วแน่ๆ แบบนี้โอกาสที่รายย่อยจะเสียเปรียบเรื่องข้อมูลมีสูง
3.ระวังหุ้นที่แบบว่ามีพฤติกรรมขึ้นลงแรงๆ ก่อนงบออกไม่กี่วัน
แบบนี้แสดงว่าอาจจะมีคนรู้งบก่อน แสดงว่าผู้บริหารไม่ค่อย fair เท่าไหร่ อันนี้ต้องใช้ประสบการ์ณดูราคาย้อนหลัง
หลายๆปีดูครับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้ลงทุนกับหุ้นแบบนี้เลยนะ ถ้าผ่านข้อ1 ก็ พอ OK
จริงๆสาระสำคัญมันอยู่ที่ข้อ1 แหละ เพราะถ้ามันผ่านข้อ1 แล้ว มันจะตัวเล็ก ตัวใหญ่ จะขึ้นหรือไม่ขึ้นก่อนงบออกหรือไม่
ก็ไม่ใช่ปัญหา
สุดท้าย เดี๋ยวมือใหม่จะเสียกำลังใจว่า เรามีข้อมูลน้อยกว่า เวลาน้อยกว่า แล้วเราจะมาเลือกหุ้นเองทำไม
ไปซื้อกองทุนรวมดีกว่าไหม ? ผมมีบทความของ ดร นิเวศน์ เมื่อประมาณปี 45 ให้อ่านครับ ชื่อว่า จุดแข็งของนักลงทุนรายย่อย
จุดแข็งของนักลงทุนรายย่อย
8/12/45
การลงทุนเป็นเรื่องแปลกที่นักลงทุนมือสมัครเล่นหรือนักลงทุนรายย่อยสามารถเอาชนะนักลงทุน “มืออาชีพ” หรือนักลงทุนสถาบันได้ คิดไปแล้วก็ไม่น่าเชื่อ เพราะนักลงทุนมืออาชีพที่บริหารกองทุนรวมหรือนักลงทุนสถาบันที่บริหารเงินจำนวนมากนั้นน่าจะมีข้อได้เปรียบมหาศาลเมื่อเทียบกับนักลงทุนสมัครเล่น
เริ่มตั้งแต่ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนนั้นแทบจะไม่ต้องพูดถึง นักลงทุนมืออาชีพมักจะต้องเรียนวิชาการลงทุนมาเป็นอย่างดี หลายคนได้วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญซึ่งรวมถึง CFA (Certified Financial Analyst) หรือ CISA ซึ่งเป็นวุฒิบัตรแบบเดียวกันแต่ให้กันในเมืองไทย
นอกจากความรู้แล้ว ผู้บริหารกองทุนรวมหรือกองทุนอื่น ๆ มักจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทจดทะเบียนได้เร็วและมากกว่านักลงทุนรายย่อย เวลามีการพบปะบริษัทหรือที่เรียกว่า Company Visit เพื่อสอบถามข้อมูลก็สามารถทำได้ง่ายในขณะที่นักลงทุนรายย่อยนั้นต้องไปค้นคว้าจากแหล่งอื่น ๆ หรือต้องหาข้อมูลทางอ้อมซึ่งมักจะช้าและคุณภาพด้อยกว่ามาก
ที่สำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือ นักลงทุนสถาบันมีบุคลากรจำนวนมากที่นั่งทำงานวิเคราะห์หุ้นและการลงทุนเต็มเวลา รวมทั้งสามารถปรึกษากับนักวิเคราะห์ของโบรกเกอร์หลาย ๆ แห่งที่ตนเองใช้บริการอยู่ ในขณะที่นักลงทุนมือสมัครเล่นนั้นส่วนมากก็ยังต้องทำงานประจำเต็มเวลา การที่จะวิเคราะห์และติดตามหุ้นเป็นเพียง “งานอดิเรก” เท่านั้น
สุดท้ายก็คือ กองทุน มีเงินลงทุนจำนวนมากหรือเรียกกันว่าเป็นขาใหญ่ซึ่งในตลาดหุ้นแล้วจะถือว่าเป็นคนที่ได้เปรียบในการลงทุนเพราะสามารถชี้นำหรือ “ไล่ราคา” ได้ แต่ข้อได้เปรียบข้อนี้ หลายคนอาจจะบอกว่าไม่จริง เพราะการมีเม็ดเงินลงทุนสูงทำให้ต้องกระจายหุ้นออกไปมากมายหลายตัว ซึ่งทำให้ต้องถือหุ้นที่ “ดี” น้อยลงและทำให้ผลตอบแทนของกองทุนด้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่มีเม็ดเงินลงทุนน้อย
กล่าวโดยสรุปก็คือ ในสายตาของคนทั่วไปแล้ว นักลงทุนสถาบันหรือผู้บริหารการลงทุนมืออาชีพมีความได้เปรียบนักลงทุนรายย่อยทุกด้าน แต่ผลการดำเนินงานที่ผ่านมากลับไม่เป็นเช่นนั้น จากสถิติการบริหารการลงทุนของกองทุนรวมทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยชี้ให้เห็นว่าผลตอบแทนของการลงทุนในกองทุนรวมส่วนใหญ่แล้วต่ำกว่าผลตอบแทนโดยเฉลี่ยของตลาด ว่าที่จริงกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าอัตราเฉลี่ยของตลาดมีน้อยมาก ผมคิดว่าอาจจะมีเพียง 20 – 30% เท่านั้นที่ทำได้เหนือกว่า ส่วนอีก 70 –80% ของกองทุนรวมนั้น ให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของตลาด
ในฐานะของนักลงทุนรายย่อย ผมคิดว่าข้อเสียเปรียบของผมเมื่อเปรียบเทียบกับนักลงทุนสถาบันนั้นมีแน่นอนโดยเฉพาะในด้านของข้อมูลและการเข้าถึงแหล่งข้อมูล รวมทั้งเวลาและทรัพยากรบุคคลที่จะต้องใช้ในการตระเตรียมข้อมูล
แต่ผมก็คิดว่าข้อได้เปรียบของผมในฐานะของนักลงทุนรายย่อยก็มีอยู่ไม่น้อย และข้อได้เปรียบเหล่านั้น อาจจะมีมากจนกระทั่งทำให้ผลตอบแทนของการลงทุนของผมสูงกว่าผลตอบแทนของกองทุนรวมอย่างเห็นได้ชัด ข้อได้เปรียบที่ผมคิดว่ามีความสำคัญมากเป็นดังต่อไปนี้
นักลงทุนรายย่อยสามารถซื้อหุ้นตัวเล็กที่ไม่ค่อยมีคนสนใจ และ “ขาดสภาพคล่อง” ได้และนี่คือสิ่งที่ผมคิดว่ามีความสำคัญต่อความสำเร็จของการลงทุนของผมเป็นอย่างสูง
เพราะหุ้นตัวเล็กและขาดสภาพคล่องหลาย ๆ ตัวในตลาดนั้นเป็นหุ้นที่มีคุณภาพดีเยี่ยมและราคาถูกมาก หุ้นเหล่านี้เมื่อเวลาผ่านไปก็จะค่อย ๆ ปรับตัวขึ้นมา บางช่วงเวลาก็จะปรับตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็ว บางช่วงเวลาราคาก็จะนิ่งอยู่เป็นเวลานาน แต่ตลอดเวลาหรือทุกปีก็จะให้เงินปันผลค่อนข้างดีในระดับ 4 –5 % ขึ้นไป รวม ๆ แล้วก็คือให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจไม่ว่าตลาดหลักทรัพย์จะผันผวนขึ้นลงไปมากน้อยแค่ไหน
ในฐานะที่เป็นนักลงทุนส่วนบุคคล ข้อได้เปรียบก็คือ ผมสามารถถือหุ้นระยะยาวได้อย่างไม่จำกัดในขณะที่กองทุนต่าง ๆ นั้น มักจะมีเวลาว่าจะลงทุนกี่ปี กองทุนบางแห่งก็อาจจะไม่กำหนดระยะเวลา แต่ก็มักจะต้องคำนึงถึงการไถ่ถอนของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยเฉพาะในภาวะที่ตลาดหลักทรัพย์ตกต่ำ ดังนั้นการลงทุนของผมจะมีความ “ใจเย็น” กว่ามาก และความ “ใจเย็น” หรืออดทนนั้นเป็นคุณสมบัติที่สำคัญในการที่จะได้ชัยชนะในการลงทุน
อาจจะมีหลายท่านที่ฟังแล้วงง เพราะความรู้สึกก็คือนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักจะเล่นหุ้นระยะสั้น ในขณะที่นักลงทุนสถาบันเล่นหุ้นแบบถือยาวกว่ามาก แต่นั่นคือพฤติกรรมที่เป็นอยู่ และเป็นข้อเสียเปรียบของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่และอาจจะพูดได้ว่า นักลงทุนรายย่อยไม่ได้ใช้ข้อได้เปรียบนี้ให้เป็นประโยชน์คือตนเองถือยาวได้แต่กลับไปเล่นสั้น
ข้อได้เปรียบของนักลงทุนรายย่อยซึ่งค่อนข้างสำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือ ผมไม่ต้องรายงานใคร หรือแสดงผลงานการลงทุนทุกเดือนให้ใครทราบ นอกจากนั้นผมไม่ต้องประกาศด้วยว่าผมซื้อหุ้นอะไรไว้ในพอร์ตโฟลิโอของผมบ้าง
การที่ผมไม่ต้องรายงานข้อมูลเหล่านี้ทำให้ผมไม่มีแรงกดดันว่าผมจะต้องซื้อหุ้นที่เป็นหุ้นยอดนิยม หรือเป็นหุ้นที่คนรู้จักกันทั่ว หรือเป็นหุ้นที่คนทั่วไปรู้สึกว่าเป็นบริษัทที่ดี มีความมั่นคงสูง หรือเป็นหุ้นกลุ่มที่ทุกคนบอกว่ากำลังฟื้นตัวและเติบโตสูง พูดง่าย ๆ ผมไม่จำเป็นต้องลงทุนในหุ้นกลุ่มแบงค์ ไฟแนนซ์ วัสดุก่อสร้าง หรืออสังหาริมทรัพย์ก็ได้ ผมสามารถลงทุนได้อย่างอิสระและนี่คือข้อได้เปรียบที่ผมคิดว่าสำคัญมากอีกข้อหนึ่งในการลงทุน
เช่นเดียวกับข้างต้นก็คือ ผมไม่ต้องถูกบังคับโดยกลต.หรือโดยเงื่อนไขของกองทุนว่าผมจะต้องกระจายการลงทุนไปในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หรือต้องลงทุนในหุ้นตัวใดตัวหนึ่งไม่เกินกี่เปอร์เซ็นต์ของกองทุน หรือจะต้องถือเงินสดไม่เกินกี่เปอร์เซนต์ ซึ่งทั้งหมดนั้นทำให้ผมสามารถเลือกหุ้นที่ดีที่สุดได้ แทนที่จะต้องลงทุนซื้อหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอนาคตไม่ค่อยดีนัก
ข้อได้เปรียบข้อสุดท้ายที่ผมจะกล่าวถึงก็คือ การเป็นนักลงทุนรายย่อยนั้น เราไม่มีต้นทุนในการดำเนินงาน ในขณะที่กองทุนรวมหุ้นโดยทั่วไปจะคิดค่าบริหารงานค่อนข้างสูง อีกทั้งต้องมีต้นทุนในการทำบัญชีและเอกสารต่าง ๆ รวม ๆ แล้วเข้าใจว่าไม่น้อยกว่า 2% ของเม็ดเงินของกองทุน
การเสียค่าใช้จ่าย 2% ต่อปี เท่ากับว่าผลตอบแทนที่ทำได้จากการลงทุนจะถูกลดลงปีละ 2% ซึ่งผมคิดว่าสูงมาก โดยเฉพาะถ้ามองในระยะยาวแล้วโอกาสที่ผลตอบแทนของกองทุนรวมจะชนะผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดจะมีน้อยมาก ดังนั้น ข้อได้เปรียบของนักลงทุนรายย่อยข้อนี้จึงเป็นตะปูตัวสุดท้ายที่จะตอกย้ำให้เห็นว่านักลงทุนรายย่อยแท้ที่จริงแล้วมีจุดแข็งในการลงทุนมากกว่านักลงทุนสถาบัน ปัญหาของนักลงทุนรายย่อยก็คือไม่รู้จักใช้จุดแข็งให้เป็นประโยชน์ ตรงกันข้าม นักลงทุนรายย่อยชอบคิดและปฏิบัติตามนักลงทุนขาใหญ่ และกลายเป็นการใช้จุดอ่อนมาลงทุน
ก็ควรกำหนด timimg ที่ไม่เอาเปรียบรายย่อยเกินไป
แต่ก็นะ ไม่รู้ว่าต่อต้านไปจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรไหม หรือถ้ามีการเปลี่ยนแปลงก็คิดว่าอีกนานพอควร
ดังนั้น ระหว่างนี้รายย่อยอย่างเราๆ(โดยเฉพาะมือใหม่) จะทำยังไงดี?
เท่าที่ผมพอจะนึกออกก็มีประมาณนี้
1.มองผลประกอบการระยะยาวเลย
ยาวในที่นี้คือ ตั้งแต่3 ปี ขึ้นไป ที่จริงกลางๆ 1-3 ปี ก็พอจะป้องกันได้แล้วนะ แต่อย่าไปมองรายไตรมาส
ซึ่งจะทำแบบนั้นได้ก็ต้องเลือกธุรกิจที่เราเข้าใจ มั่นคง เปลี่ยนแปลงช้าๆหน่อย มีอำนาจต่อรองสูงหน่อย
กำหนดชะตาชีวิตตัวเองได้ คือ ไม่ขึ้นกับรัฐมาก อุตสาหกรรมมันยังโต มี barrior to entry เช่น เทคโนโลยี knowhow brand สัมปทาน EOS
แบบนี้ก็พอเดาออกว่าประกาศงบมามันก็ดีอยูแล้ว
หรือ ใครจะเลือกกิจการแบบที่กำลังเป็นกระแส เปลี่ยนแปลงเร็วหน่อยแต่มั่นใจว่าอุตสาหกรรมมันโตสูงแน่ๆในช่วง 1-3 ปี ก็พอได้
แต่พออุตสาหกรรมมันเริ่มเปลี่ยนไปในทางที่แย่ลง หรือ คู่แข่งมันเริ่มเข้ามาเยอะเกินไปแบบนี้ก็ต้องระวังนะ
เพราะอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนเร็ว ส่วนใหญ่จะไม่มี barrior เท่าไหร่
แบบนี้ต่อให้จะมีหรือไม่มี analyst meeting ก็ไม่เป็นไร คือ ถ้าเกิดมี analyst meeting ก่อนงบออก หุ้นมันขึ้นไป
เราก็มีหุ้นอยู่แล้วเพราะเราซื้อก่อน หรือ ถ้าเกิดไม่มีการจัด analyst meeting หุ้นมันก็ขึ้นตามผลประกอบการอยู่ดี
2.พิจารณาหุ้นขนาดเล็ก หรือ กลางๆ ที่ยังไม่ค่อยมีคนสนใจเท่าไหร่
ถามว่าดูยังไงว่าไม่ค่อยมีคนสนใจ คร่าวๆ ก็ดู volume ที่ trade กัน ถ้าตั้งแต่ 1% ของ market cap
แบบนี้ก็ต้องเริ่มระวังแล้ว แต่ถ้าถึงขั้นติด top gain นี่ ให้ระวังเต็มที่หรืออาจหลีกเลี่ยงเลยก็ได้
เพราะแสดงว่ามันมีคนสนใจแล้วแน่ๆ แบบนี้โอกาสที่รายย่อยจะเสียเปรียบเรื่องข้อมูลมีสูง
3.ระวังหุ้นที่แบบว่ามีพฤติกรรมขึ้นลงแรงๆ ก่อนงบออกไม่กี่วัน
แบบนี้แสดงว่าอาจจะมีคนรู้งบก่อน แสดงว่าผู้บริหารไม่ค่อย fair เท่าไหร่ อันนี้ต้องใช้ประสบการ์ณดูราคาย้อนหลัง
หลายๆปีดูครับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้ลงทุนกับหุ้นแบบนี้เลยนะ ถ้าผ่านข้อ1 ก็ พอ OK
จริงๆสาระสำคัญมันอยู่ที่ข้อ1 แหละ เพราะถ้ามันผ่านข้อ1 แล้ว มันจะตัวเล็ก ตัวใหญ่ จะขึ้นหรือไม่ขึ้นก่อนงบออกหรือไม่
ก็ไม่ใช่ปัญหา
สุดท้าย เดี๋ยวมือใหม่จะเสียกำลังใจว่า เรามีข้อมูลน้อยกว่า เวลาน้อยกว่า แล้วเราจะมาเลือกหุ้นเองทำไม
ไปซื้อกองทุนรวมดีกว่าไหม ? ผมมีบทความของ ดร นิเวศน์ เมื่อประมาณปี 45 ให้อ่านครับ ชื่อว่า จุดแข็งของนักลงทุนรายย่อย
จุดแข็งของนักลงทุนรายย่อย
8/12/45
การลงทุนเป็นเรื่องแปลกที่นักลงทุนมือสมัครเล่นหรือนักลงทุนรายย่อยสามารถเอาชนะนักลงทุน “มืออาชีพ” หรือนักลงทุนสถาบันได้ คิดไปแล้วก็ไม่น่าเชื่อ เพราะนักลงทุนมืออาชีพที่บริหารกองทุนรวมหรือนักลงทุนสถาบันที่บริหารเงินจำนวนมากนั้นน่าจะมีข้อได้เปรียบมหาศาลเมื่อเทียบกับนักลงทุนสมัครเล่น
เริ่มตั้งแต่ความรู้เกี่ยวกับการลงทุนนั้นแทบจะไม่ต้องพูดถึง นักลงทุนมืออาชีพมักจะต้องเรียนวิชาการลงทุนมาเป็นอย่างดี หลายคนได้วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญซึ่งรวมถึง CFA (Certified Financial Analyst) หรือ CISA ซึ่งเป็นวุฒิบัตรแบบเดียวกันแต่ให้กันในเมืองไทย
นอกจากความรู้แล้ว ผู้บริหารกองทุนรวมหรือกองทุนอื่น ๆ มักจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทจดทะเบียนได้เร็วและมากกว่านักลงทุนรายย่อย เวลามีการพบปะบริษัทหรือที่เรียกว่า Company Visit เพื่อสอบถามข้อมูลก็สามารถทำได้ง่ายในขณะที่นักลงทุนรายย่อยนั้นต้องไปค้นคว้าจากแหล่งอื่น ๆ หรือต้องหาข้อมูลทางอ้อมซึ่งมักจะช้าและคุณภาพด้อยกว่ามาก
ที่สำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือ นักลงทุนสถาบันมีบุคลากรจำนวนมากที่นั่งทำงานวิเคราะห์หุ้นและการลงทุนเต็มเวลา รวมทั้งสามารถปรึกษากับนักวิเคราะห์ของโบรกเกอร์หลาย ๆ แห่งที่ตนเองใช้บริการอยู่ ในขณะที่นักลงทุนมือสมัครเล่นนั้นส่วนมากก็ยังต้องทำงานประจำเต็มเวลา การที่จะวิเคราะห์และติดตามหุ้นเป็นเพียง “งานอดิเรก” เท่านั้น
สุดท้ายก็คือ กองทุน มีเงินลงทุนจำนวนมากหรือเรียกกันว่าเป็นขาใหญ่ซึ่งในตลาดหุ้นแล้วจะถือว่าเป็นคนที่ได้เปรียบในการลงทุนเพราะสามารถชี้นำหรือ “ไล่ราคา” ได้ แต่ข้อได้เปรียบข้อนี้ หลายคนอาจจะบอกว่าไม่จริง เพราะการมีเม็ดเงินลงทุนสูงทำให้ต้องกระจายหุ้นออกไปมากมายหลายตัว ซึ่งทำให้ต้องถือหุ้นที่ “ดี” น้อยลงและทำให้ผลตอบแทนของกองทุนด้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่มีเม็ดเงินลงทุนน้อย
กล่าวโดยสรุปก็คือ ในสายตาของคนทั่วไปแล้ว นักลงทุนสถาบันหรือผู้บริหารการลงทุนมืออาชีพมีความได้เปรียบนักลงทุนรายย่อยทุกด้าน แต่ผลการดำเนินงานที่ผ่านมากลับไม่เป็นเช่นนั้น จากสถิติการบริหารการลงทุนของกองทุนรวมทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยชี้ให้เห็นว่าผลตอบแทนของการลงทุนในกองทุนรวมส่วนใหญ่แล้วต่ำกว่าผลตอบแทนโดยเฉลี่ยของตลาด ว่าที่จริงกองทุนรวมที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าอัตราเฉลี่ยของตลาดมีน้อยมาก ผมคิดว่าอาจจะมีเพียง 20 – 30% เท่านั้นที่ทำได้เหนือกว่า ส่วนอีก 70 –80% ของกองทุนรวมนั้น ให้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของตลาด
ในฐานะของนักลงทุนรายย่อย ผมคิดว่าข้อเสียเปรียบของผมเมื่อเปรียบเทียบกับนักลงทุนสถาบันนั้นมีแน่นอนโดยเฉพาะในด้านของข้อมูลและการเข้าถึงแหล่งข้อมูล รวมทั้งเวลาและทรัพยากรบุคคลที่จะต้องใช้ในการตระเตรียมข้อมูล
แต่ผมก็คิดว่าข้อได้เปรียบของผมในฐานะของนักลงทุนรายย่อยก็มีอยู่ไม่น้อย และข้อได้เปรียบเหล่านั้น อาจจะมีมากจนกระทั่งทำให้ผลตอบแทนของการลงทุนของผมสูงกว่าผลตอบแทนของกองทุนรวมอย่างเห็นได้ชัด ข้อได้เปรียบที่ผมคิดว่ามีความสำคัญมากเป็นดังต่อไปนี้
นักลงทุนรายย่อยสามารถซื้อหุ้นตัวเล็กที่ไม่ค่อยมีคนสนใจ และ “ขาดสภาพคล่อง” ได้และนี่คือสิ่งที่ผมคิดว่ามีความสำคัญต่อความสำเร็จของการลงทุนของผมเป็นอย่างสูง
เพราะหุ้นตัวเล็กและขาดสภาพคล่องหลาย ๆ ตัวในตลาดนั้นเป็นหุ้นที่มีคุณภาพดีเยี่ยมและราคาถูกมาก หุ้นเหล่านี้เมื่อเวลาผ่านไปก็จะค่อย ๆ ปรับตัวขึ้นมา บางช่วงเวลาก็จะปรับตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็ว บางช่วงเวลาราคาก็จะนิ่งอยู่เป็นเวลานาน แต่ตลอดเวลาหรือทุกปีก็จะให้เงินปันผลค่อนข้างดีในระดับ 4 –5 % ขึ้นไป รวม ๆ แล้วก็คือให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจไม่ว่าตลาดหลักทรัพย์จะผันผวนขึ้นลงไปมากน้อยแค่ไหน
ในฐานะที่เป็นนักลงทุนส่วนบุคคล ข้อได้เปรียบก็คือ ผมสามารถถือหุ้นระยะยาวได้อย่างไม่จำกัดในขณะที่กองทุนต่าง ๆ นั้น มักจะมีเวลาว่าจะลงทุนกี่ปี กองทุนบางแห่งก็อาจจะไม่กำหนดระยะเวลา แต่ก็มักจะต้องคำนึงถึงการไถ่ถอนของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยเฉพาะในภาวะที่ตลาดหลักทรัพย์ตกต่ำ ดังนั้นการลงทุนของผมจะมีความ “ใจเย็น” กว่ามาก และความ “ใจเย็น” หรืออดทนนั้นเป็นคุณสมบัติที่สำคัญในการที่จะได้ชัยชนะในการลงทุน
อาจจะมีหลายท่านที่ฟังแล้วงง เพราะความรู้สึกก็คือนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่มักจะเล่นหุ้นระยะสั้น ในขณะที่นักลงทุนสถาบันเล่นหุ้นแบบถือยาวกว่ามาก แต่นั่นคือพฤติกรรมที่เป็นอยู่ และเป็นข้อเสียเปรียบของนักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่และอาจจะพูดได้ว่า นักลงทุนรายย่อยไม่ได้ใช้ข้อได้เปรียบนี้ให้เป็นประโยชน์คือตนเองถือยาวได้แต่กลับไปเล่นสั้น
ข้อได้เปรียบของนักลงทุนรายย่อยซึ่งค่อนข้างสำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือ ผมไม่ต้องรายงานใคร หรือแสดงผลงานการลงทุนทุกเดือนให้ใครทราบ นอกจากนั้นผมไม่ต้องประกาศด้วยว่าผมซื้อหุ้นอะไรไว้ในพอร์ตโฟลิโอของผมบ้าง
การที่ผมไม่ต้องรายงานข้อมูลเหล่านี้ทำให้ผมไม่มีแรงกดดันว่าผมจะต้องซื้อหุ้นที่เป็นหุ้นยอดนิยม หรือเป็นหุ้นที่คนรู้จักกันทั่ว หรือเป็นหุ้นที่คนทั่วไปรู้สึกว่าเป็นบริษัทที่ดี มีความมั่นคงสูง หรือเป็นหุ้นกลุ่มที่ทุกคนบอกว่ากำลังฟื้นตัวและเติบโตสูง พูดง่าย ๆ ผมไม่จำเป็นต้องลงทุนในหุ้นกลุ่มแบงค์ ไฟแนนซ์ วัสดุก่อสร้าง หรืออสังหาริมทรัพย์ก็ได้ ผมสามารถลงทุนได้อย่างอิสระและนี่คือข้อได้เปรียบที่ผมคิดว่าสำคัญมากอีกข้อหนึ่งในการลงทุน
เช่นเดียวกับข้างต้นก็คือ ผมไม่ต้องถูกบังคับโดยกลต.หรือโดยเงื่อนไขของกองทุนว่าผมจะต้องกระจายการลงทุนไปในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หรือต้องลงทุนในหุ้นตัวใดตัวหนึ่งไม่เกินกี่เปอร์เซ็นต์ของกองทุน หรือจะต้องถือเงินสดไม่เกินกี่เปอร์เซนต์ ซึ่งทั้งหมดนั้นทำให้ผมสามารถเลือกหุ้นที่ดีที่สุดได้ แทนที่จะต้องลงทุนซื้อหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอนาคตไม่ค่อยดีนัก
ข้อได้เปรียบข้อสุดท้ายที่ผมจะกล่าวถึงก็คือ การเป็นนักลงทุนรายย่อยนั้น เราไม่มีต้นทุนในการดำเนินงาน ในขณะที่กองทุนรวมหุ้นโดยทั่วไปจะคิดค่าบริหารงานค่อนข้างสูง อีกทั้งต้องมีต้นทุนในการทำบัญชีและเอกสารต่าง ๆ รวม ๆ แล้วเข้าใจว่าไม่น้อยกว่า 2% ของเม็ดเงินของกองทุน
การเสียค่าใช้จ่าย 2% ต่อปี เท่ากับว่าผลตอบแทนที่ทำได้จากการลงทุนจะถูกลดลงปีละ 2% ซึ่งผมคิดว่าสูงมาก โดยเฉพาะถ้ามองในระยะยาวแล้วโอกาสที่ผลตอบแทนของกองทุนรวมจะชนะผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดจะมีน้อยมาก ดังนั้น ข้อได้เปรียบของนักลงทุนรายย่อยข้อนี้จึงเป็นตะปูตัวสุดท้ายที่จะตอกย้ำให้เห็นว่านักลงทุนรายย่อยแท้ที่จริงแล้วมีจุดแข็งในการลงทุนมากกว่านักลงทุนสถาบัน ปัญหาของนักลงทุนรายย่อยก็คือไม่รู้จักใช้จุดแข็งให้เป็นประโยชน์ ตรงกันข้าม นักลงทุนรายย่อยชอบคิดและปฏิบัติตามนักลงทุนขาใหญ่ และกลายเป็นการใช้จุดอ่อนมาลงทุน
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 93
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คิดอย่างไรถ้าจะต่อต้านไม่ให้มีการจัด analyst meeting ก่อ
โพสต์ที่ 20
ยังไงหรือครับ ผมไม่เข้าใจsakkaphan เขียน:อ้าว แต่ทำไม thaivi ถึงทำซะเองละครับ?crazyrisk เขียน:ยอดไปเลยครับ คุณ BLSH
ผมเห็นด้วยอย่างมากเลยครับ ว่าสิ่งที่ดีที่สุด คือ ลดการเกิดความเหลื่อมล้ำของข้อมูลให้มากที่สุด
- luangrit
- Verified User
- โพสต์: 376
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คิดอย่างไรถ้าจะต่อต้านไม่ให้มีการจัด analyst meeting ก่อ
โพสต์ที่ 23
ห้ามยากครับเรื่องแบบนี้
ผมเห็นด้วยกับคุณ KP16
ในเรื่องของการลงทุนระยะยาวไปเลย แบบ 3 ปี 5 ปี
ซึ่งควรจะเป็นหุ้นที่สามารถคาดการณ์ได้ค่อนข้างแน่นอนว่า
จะโตทุกๆปี เช่น การขยายสาขา มี Barrier of Entry
ฐานลูกค้าค่อนข้างเยอะ ไม่กระจุกตัวอยู่ที่ลูกค้า 4-5 ราย ฯลฯ
คือลงทุนลักษณะนี้ ค่อนข้างสบายใจครับ
ไม่ค่อยหวือหวา ราคาค่อยเป็นค่อยไปตามผลประกอบการณ์
ผมเห็นด้วยกับคุณ KP16
ในเรื่องของการลงทุนระยะยาวไปเลย แบบ 3 ปี 5 ปี
ซึ่งควรจะเป็นหุ้นที่สามารถคาดการณ์ได้ค่อนข้างแน่นอนว่า
จะโตทุกๆปี เช่น การขยายสาขา มี Barrier of Entry
ฐานลูกค้าค่อนข้างเยอะ ไม่กระจุกตัวอยู่ที่ลูกค้า 4-5 ราย ฯลฯ
คือลงทุนลักษณะนี้ ค่อนข้างสบายใจครับ
ไม่ค่อยหวือหวา ราคาค่อยเป็นค่อยไปตามผลประกอบการณ์
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4366
- ผู้ติดตาม: 1
Re: คิดอย่างไรถ้าจะต่อต้านไม่ให้มีการจัด analyst meeting ก่อ
โพสต์ที่ 24
เชื่อหรือว่าหุ้นตัวเล็กๆ รายย่อยจะได้ข้อมูลเท่าเทียม?BLSH เขียน:ส่วนตัวนั้น 90% ของหุ้นที่ผมลงทุนจะเลือกหุ้นที่ไม่มี analyst cover เพราะผมไม่ชอบใจกับพฤติกรรมแบบนี้ นั่นหมายความว่าผมไม่ได้เดือดร้อนอะไรถ้าการจัด meeting แบบนี้จะยังคงมีต่อไป แต่ผมแค่รู้สึกว่านลท.ไม่ควรให้ใครมาเอาเปรียบ ถ้าเราจะช่วยกันทำอะไรได้บ้างเพื่อพัฒนาตลาดทุน การยกเรื่องนี้ขึ้นมาอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆกับการสร้างความยุติธรรมกับการเข้าถึงข้อมูลในการลงทุนนั่นเอง
เชื่อหรือว่าหุ้นตัวเล็กๆ ไม่มีพฤติกรรมการทำราคาเช่นเดียวกับหุ้นใหญ่?
-
- Verified User
- โพสต์: 131
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คิดอย่างไรถ้าจะต่อต้านไม่ให้มีการจัด analyst meeting ก่อ
โพสต์ที่ 25
ผมว่ามันคงเป็นธรรมเนียมปฏิบัติไปแล้วมั้งครับที่การเข้าถึงข้อมูลบริษัทหรือการได้พูดคุยกับผู้บริหารเป็นสิ่งที่ใครมีโอกาสก็สามารถทำได้ เท่าที่เห็นพี่ๆในthaivi ก็มีการโอกาสไปวิสิทอยู่เสมอๆนี่ครับ ผมว่ามองให้เป็นเรื่องปรกติจะดีกว่าครับ แต่ตอนนี้มีการจัดตั้งเป็นสมาคมแล้วก็ได้แต่หวังว่าสมาชิกท่านอื่นๆจะได้มีโอกาสดีๆแบบนั้นบ้างไรบ้าง
-
- Verified User
- โพสต์: 69
- ผู้ติดตาม: 0
Re: คิดอย่างไรถ้าจะต่อต้านไม่ให้มีการจัด analyst meeting ก่อ
โพสต์ที่ 26
หลายครั้ง แค่กลุ่มรายใหญ่ในเวปนี้ไป visit หรือมีข่าวว่าจะไป visit ก็มี volume แปลกๆ แล้วครับ จะด้วยฝีมือใครก็มิอาจทราบได้ ข้อมูล inside เปรียบเทียบก็คงเป็นสิ่งล้ำค่า คนที่ยังไม่มี จะรู้สึกอยากมี คนที่มีแล้ว ก็เห็นเป็นแค่สิ่งของธรรมดา